ทรท.แตกแยกหนัก “หญิงหน่อย-เจ๊แดง” แยกวง “จาตุรนต์” เรียกอดีต ส.ส.ประชุมตึกไอเอฟซีที ขณะที่ “เสี่ยอ๋อย” นัดแถลงข่าวตึกนวสร แฉแผน 2 หญิงหวังฟื้นฟูซากเน่า “ระบอบทักษิณ” กุมบังเหียน ทรท. ส่วน ปชป.-ชท.เดินหน้ารณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเอาใจรากหญ้า ประชาธิปัตย์ประกาศ “ประชาชนต้องมาก่อน” ชู “มันสำปะหลังแก้จน” ด้านชาติไทย “ปลูกต้นไม้ปลดหนี้”
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มไทยรักไทยว่า ในวันนี้ (2 ก.ค.) เวลา 10.00 น. นายจาตุรนต์ ฉายแสง หัวหน้ากลุ่มไทยรักไทยจะแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่อาคารนวสร ถนนพระราม 3 ภายหลังเดินทางกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในเวลาเดียวกัน คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้นัดประชุมอดีต ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคทั่วประเทศที่อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โดยที่นายจาตุรนต์ไม่ได้ร่วมประชุมด้วย แม้จะมีการทำหนังสือไปถึงอดีต ส.ส.ในนามของรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยก็ตาม
ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้เกิดความขัดแย้งขึ้นในกลุ่มไทยรักไทย เกิดสภาวะไร้เอกภาพขึ้นภายในกลุ่มแกนนำไทยรักไทยเอง โดยปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว โดยคุณหญิงสุดารัตน์ และนางเยาวภานั้นมักจะเรียกประชุมอดีตแกนนำพรรคและอดีต ส.ส.ที่อาคารไอเอฟซีทีโดยที่นายจาตุรนต์ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วยเสมอ ทำให้การประชุมแกนนำกลุ่มไทยรักไทยรวมทั้งการแถลงข่าวในนามของกลุ่มที่อาคารนวสรทุกครั้งซึ่งมีนายจาตุรนต์ และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยเป็นแกนหลักนั้น คุณหญิงสุดารัตน์ และนางเยาวภาแทบจะไม่เคยไปร่วมด้วยเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นายจาตุรนต์พยายามจะสร้างพรรคไทยรักไทยขึ้นมาใหม่ ด้วยการสลัดภาพลักษณ์ที่ยึดโยงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคให้หมดไป เช่น การย้ายที่ทำการกลุ่ม ซึ่งสวนทางกับแนวคิดของคุณหญิงสุดารัตน์ และนางเยาวภา ที่พยายามดึงอดีต ส.ส.ให้มาร่วมงานกับพวกตน โดยมีปัจจัยต่างๆ สนับสนุนอดีต ส.ส.อย่างมากมาย โดยในขณะนี้คุณหญิงสุดารัตน์ และนางเยาวภากำลังเตรียมทีมผู้บริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนในกลุ่มของคุณหญิงสุดารัตน์ นางเยาวภา และสายวังจันทร์ส่องหล้า ทำให้ทีมงานในสายของนายจาตุรนต์แทบจะไม่มีโอกาสเข้ามาร่วมงานได้เลย
ขณะที่ กลุ่มไทยรักไทยเริ่มแตกแยกปรากฏว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย ต่างเตรียมการเลือกตั้งอย่างขะมักเขม้น โดยพยายามวางนโยบายเอาใจคนรากหญ้า ซึ่งเป็นฐานคะแนนที่สำคัญเพราะมีเป็นจำนวนมาก
โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เผยแพร่บทความ วานนี้ (1 ก.ค.) เรื่อง “วาระประชาชนภาค 2 ประชาชนต้องมาก่อน” ผ่านทางเว็บไซต์ของพรรคประชาธิปัตย์ว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่หลายฝ่ายทั้งนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และกลุ่มการเมืองต่างๆ มีความมุ่งมั่นในการฟื้นฟูประชาธิปไตย และเดินหน้าสู่การเลือกตั้งชัดเจนขึ้น
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ได้มีคณะทำงานสังเคราะห์โจทย์ที่เป็นปัญหาของบ้านเมือง เพื่อเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคในวันที่ 20-21 ก.ค.นี้ และจะจัดกิจกรรมในจังหวัดต่างๆ ทุกภาคอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การได้ “วาระประชาชน” ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ การยึดแนวทางตามคำขวัญ “ประชาชนต้องมาก่อน” ซึ่งเป็น แนวทางที่จะทำให้คำตอบในเชิงนโยบายของทุกเรื่องมีความชัดเจนในเรื่องผลประโยชน์ของประชาชน
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า เมื่อการพิจารณารัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ซึ่งจะเหลือเวลาสำหรับการเลือกตั้ง 5-6 เดือน พรรคประชาธิปัตย์จะจัดทำร่างนโยบายและดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งกิจกรรมที่พรรคจะทำมีหลายเรื่องคือ 1. กำหนดนโยบายพรรค นโยบายเชิงข้อมูลจากการรับฟังความเห็นของประชาชนจากเวทีต่างๆ มีความพร้อมแล้วเหลือเพียงการสรุปความเห็น จากกลุ่มต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2. การเตรียมความพร้อมของพรรค เช่น การเตรียมคนและการระดมทุน
3. การลงพื้นที่ด้วยการคิกออฟ ออกแคมเปญพบปะประชาชน ซึ่งเป็นปฎิบัติการเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ของพรรค โดยพบตัวแทนเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังที่จ.ชัยภูมิ ในวันที่ 3 ก.ค.นี้ ภายใต้ชื่อ “มันสำปะหลังแก้จน” โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคจะลงพื้นที่เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนปัญหากับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ผู้ประกอบการโรงงานและลานมัน เพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาพร้อมทั้งนำนโยบายของพรรคไปแลกเปลี่ยนกับเกษตรกร หลังจากได้ข้อสรุปแล้วจะมีการเขียนสัญญาทางนโยบายร่วมกัน
นายสาทิตย์ กล่าวว่า หลังจากนั้นหัวหน้าพรรคจะทะยอยเดินทางไปพบปะประชาชนในพื้นที่ต่างๆ โดยในระหว่างวันยที่ 12-13 ก.ค.จะเดินทางไปภาคเหนือ 14-15 ก.ค.จะเดินทางไปจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะนำรูปแบบการพบปะที่จ.ชัยภูมิเป็นต้นแบบ จากนั้นวันที่ 21 ก.ค.จะเดินทางไปในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งพรรคจะดำเนินกิจกรรมรูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง นอกจากนี้หัวหน้าพรรคจะมีกำหนดเดินทางไปต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและนโยบายกับประเทศต่างๆ โดยเริ่มต้นวันที่ 5 ก.ค.นี้ที่ประเทศฮ่องกง โดยนายอภิสิทธิ์จะไปพบกับผู้บริหารธนาคาร HSBC เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
“นับจากนี้พรรคประชาธิปัตย์จะทำงานหนักต่อไป เพราะเราไม่คิดว่าจะมีแผนบันไดสามสี่ขั้นของใครให้พรรคประชาธิปะตย์ได้รับฉันทานุมัติโดยพรรคไม่ต้องทำอะไรเลย เราจึงต้องทำงานกับประชาชนมากกว่าการกำหนดนโยบายเพื่อประชาชนเท่านั้น”
ด้าน นายประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรคชาติไทย เปิดเผยถึงแนวนโยบายด้านการเกษตรของพรรคที่จะใช้รณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า เกษตรกรไทย ส่วนใหญ่ค่อนข้างยากจน ต้องกู้เงินจากสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) และนายทุนนอกระบบ ขณะที่สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติปัจจุบัน ถูกทำลาย ทำให้ฤดูกาลต่างๆ ผันผวน ทำให้เกษตรกรไม่มีรายได้พอที่จะชำระหนี้สิน ให้แก่สถาบันการเงินและนายทุนนอกระบบ จึงมีหนี้ค้างชำระในฐานะผู้รับผิดชอบ นโยบายด้านการเกษตรกรของพรรคจึงคิด โครงการ “ปลูกป่า 15 ปี ใช้หนี้แทนเกษตรกร” ขึ้น
นายประภัตร อธิบายว่า พรรคชาติไทยจะให้เกษตรกรปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ ยืนต้นของแต่ละภูมิภาค ในอัตราแสนละไร่ คือคนที่เป็นหนี้ 1 แสนบาทต้องปลูกไม้ยืนต้นในที่ดินของตัวเอง 1 ไร่ เป็นหนี้ 2 แสนก็ปลูก 2 ไร่ โดยเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการต้องดูแลพันธุ์ไม้ 15 ปี เมื่อครบกำหนดก็ตัดไม้ดังกล่าวขาย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่สถาบันการเงิน โดยเวลา 15 ปีที่ปลูกป่า รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายชดเชยค่าดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งหมดกับสถาบันการเงิน แต่เกษตรกรห้ามตัดขายโดยไม่ได้รับอนุญาต หากฝ่าฝืนจะถูกตัดออกจากโครงการ ซึ่งนโยบายนี้จะเริ่มรณรงค์ใช้ในการเลือกตั้งครั้งนี้เพราะพรรคมั่นใจว่านโยบายนี้จะช่วยเกษตรกรรายย่อยให้มีชีวิตที่ดีขึ้น สามารถปลดและลดหนี้สินที่ติดกับ ธ.ก.ส.ได้จริง
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มไทยรักไทยว่า ในวันนี้ (2 ก.ค.) เวลา 10.00 น. นายจาตุรนต์ ฉายแสง หัวหน้ากลุ่มไทยรักไทยจะแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่อาคารนวสร ถนนพระราม 3 ภายหลังเดินทางกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในเวลาเดียวกัน คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้นัดประชุมอดีต ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคทั่วประเทศที่อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โดยที่นายจาตุรนต์ไม่ได้ร่วมประชุมด้วย แม้จะมีการทำหนังสือไปถึงอดีต ส.ส.ในนามของรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยก็ตาม
ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้เกิดความขัดแย้งขึ้นในกลุ่มไทยรักไทย เกิดสภาวะไร้เอกภาพขึ้นภายในกลุ่มแกนนำไทยรักไทยเอง โดยปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว โดยคุณหญิงสุดารัตน์ และนางเยาวภานั้นมักจะเรียกประชุมอดีตแกนนำพรรคและอดีต ส.ส.ที่อาคารไอเอฟซีทีโดยที่นายจาตุรนต์ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วยเสมอ ทำให้การประชุมแกนนำกลุ่มไทยรักไทยรวมทั้งการแถลงข่าวในนามของกลุ่มที่อาคารนวสรทุกครั้งซึ่งมีนายจาตุรนต์ และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยเป็นแกนหลักนั้น คุณหญิงสุดารัตน์ และนางเยาวภาแทบจะไม่เคยไปร่วมด้วยเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นายจาตุรนต์พยายามจะสร้างพรรคไทยรักไทยขึ้นมาใหม่ ด้วยการสลัดภาพลักษณ์ที่ยึดโยงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคให้หมดไป เช่น การย้ายที่ทำการกลุ่ม ซึ่งสวนทางกับแนวคิดของคุณหญิงสุดารัตน์ และนางเยาวภา ที่พยายามดึงอดีต ส.ส.ให้มาร่วมงานกับพวกตน โดยมีปัจจัยต่างๆ สนับสนุนอดีต ส.ส.อย่างมากมาย โดยในขณะนี้คุณหญิงสุดารัตน์ และนางเยาวภากำลังเตรียมทีมผู้บริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนในกลุ่มของคุณหญิงสุดารัตน์ นางเยาวภา และสายวังจันทร์ส่องหล้า ทำให้ทีมงานในสายของนายจาตุรนต์แทบจะไม่มีโอกาสเข้ามาร่วมงานได้เลย
ขณะที่ กลุ่มไทยรักไทยเริ่มแตกแยกปรากฏว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย ต่างเตรียมการเลือกตั้งอย่างขะมักเขม้น โดยพยายามวางนโยบายเอาใจคนรากหญ้า ซึ่งเป็นฐานคะแนนที่สำคัญเพราะมีเป็นจำนวนมาก
โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เผยแพร่บทความ วานนี้ (1 ก.ค.) เรื่อง “วาระประชาชนภาค 2 ประชาชนต้องมาก่อน” ผ่านทางเว็บไซต์ของพรรคประชาธิปัตย์ว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่หลายฝ่ายทั้งนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และกลุ่มการเมืองต่างๆ มีความมุ่งมั่นในการฟื้นฟูประชาธิปไตย และเดินหน้าสู่การเลือกตั้งชัดเจนขึ้น
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ได้มีคณะทำงานสังเคราะห์โจทย์ที่เป็นปัญหาของบ้านเมือง เพื่อเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคในวันที่ 20-21 ก.ค.นี้ และจะจัดกิจกรรมในจังหวัดต่างๆ ทุกภาคอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การได้ “วาระประชาชน” ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ การยึดแนวทางตามคำขวัญ “ประชาชนต้องมาก่อน” ซึ่งเป็น แนวทางที่จะทำให้คำตอบในเชิงนโยบายของทุกเรื่องมีความชัดเจนในเรื่องผลประโยชน์ของประชาชน
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า เมื่อการพิจารณารัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ซึ่งจะเหลือเวลาสำหรับการเลือกตั้ง 5-6 เดือน พรรคประชาธิปัตย์จะจัดทำร่างนโยบายและดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งกิจกรรมที่พรรคจะทำมีหลายเรื่องคือ 1. กำหนดนโยบายพรรค นโยบายเชิงข้อมูลจากการรับฟังความเห็นของประชาชนจากเวทีต่างๆ มีความพร้อมแล้วเหลือเพียงการสรุปความเห็น จากกลุ่มต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2. การเตรียมความพร้อมของพรรค เช่น การเตรียมคนและการระดมทุน
3. การลงพื้นที่ด้วยการคิกออฟ ออกแคมเปญพบปะประชาชน ซึ่งเป็นปฎิบัติการเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ของพรรค โดยพบตัวแทนเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังที่จ.ชัยภูมิ ในวันที่ 3 ก.ค.นี้ ภายใต้ชื่อ “มันสำปะหลังแก้จน” โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคจะลงพื้นที่เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนปัญหากับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ผู้ประกอบการโรงงานและลานมัน เพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาพร้อมทั้งนำนโยบายของพรรคไปแลกเปลี่ยนกับเกษตรกร หลังจากได้ข้อสรุปแล้วจะมีการเขียนสัญญาทางนโยบายร่วมกัน
นายสาทิตย์ กล่าวว่า หลังจากนั้นหัวหน้าพรรคจะทะยอยเดินทางไปพบปะประชาชนในพื้นที่ต่างๆ โดยในระหว่างวันยที่ 12-13 ก.ค.จะเดินทางไปภาคเหนือ 14-15 ก.ค.จะเดินทางไปจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะนำรูปแบบการพบปะที่จ.ชัยภูมิเป็นต้นแบบ จากนั้นวันที่ 21 ก.ค.จะเดินทางไปในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งพรรคจะดำเนินกิจกรรมรูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง นอกจากนี้หัวหน้าพรรคจะมีกำหนดเดินทางไปต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและนโยบายกับประเทศต่างๆ โดยเริ่มต้นวันที่ 5 ก.ค.นี้ที่ประเทศฮ่องกง โดยนายอภิสิทธิ์จะไปพบกับผู้บริหารธนาคาร HSBC เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
“นับจากนี้พรรคประชาธิปัตย์จะทำงานหนักต่อไป เพราะเราไม่คิดว่าจะมีแผนบันไดสามสี่ขั้นของใครให้พรรคประชาธิปะตย์ได้รับฉันทานุมัติโดยพรรคไม่ต้องทำอะไรเลย เราจึงต้องทำงานกับประชาชนมากกว่าการกำหนดนโยบายเพื่อประชาชนเท่านั้น”
ด้าน นายประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรคชาติไทย เปิดเผยถึงแนวนโยบายด้านการเกษตรของพรรคที่จะใช้รณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า เกษตรกรไทย ส่วนใหญ่ค่อนข้างยากจน ต้องกู้เงินจากสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) และนายทุนนอกระบบ ขณะที่สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติปัจจุบัน ถูกทำลาย ทำให้ฤดูกาลต่างๆ ผันผวน ทำให้เกษตรกรไม่มีรายได้พอที่จะชำระหนี้สิน ให้แก่สถาบันการเงินและนายทุนนอกระบบ จึงมีหนี้ค้างชำระในฐานะผู้รับผิดชอบ นโยบายด้านการเกษตรกรของพรรคจึงคิด โครงการ “ปลูกป่า 15 ปี ใช้หนี้แทนเกษตรกร” ขึ้น
นายประภัตร อธิบายว่า พรรคชาติไทยจะให้เกษตรกรปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ ยืนต้นของแต่ละภูมิภาค ในอัตราแสนละไร่ คือคนที่เป็นหนี้ 1 แสนบาทต้องปลูกไม้ยืนต้นในที่ดินของตัวเอง 1 ไร่ เป็นหนี้ 2 แสนก็ปลูก 2 ไร่ โดยเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการต้องดูแลพันธุ์ไม้ 15 ปี เมื่อครบกำหนดก็ตัดไม้ดังกล่าวขาย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่สถาบันการเงิน โดยเวลา 15 ปีที่ปลูกป่า รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายชดเชยค่าดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งหมดกับสถาบันการเงิน แต่เกษตรกรห้ามตัดขายโดยไม่ได้รับอนุญาต หากฝ่าฝืนจะถูกตัดออกจากโครงการ ซึ่งนโยบายนี้จะเริ่มรณรงค์ใช้ในการเลือกตั้งครั้งนี้เพราะพรรคมั่นใจว่านโยบายนี้จะช่วยเกษตรกรรายย่อยให้มีชีวิตที่ดีขึ้น สามารถปลดและลดหนี้สินที่ติดกับ ธ.ก.ส.ได้จริง