.
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จะมีอายุครบ 10 ปี ในวันที่ 4 กรกฎาคม นี้แล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องก็มักจะเจอคำถามทำนองประเมินผลงานว่า “บรรลุเป้าหมายแค่ไหน”
แน่ละครับตัวเลข 10 ปี นับว่ามากพอที่น่าจะเกิดการรับรู้ เข้าใจ และยอมรับของสังคมในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะเริ่มที่วงในสุด คือ วงการหนังสือพิมพ
์
เพราะก่อนหน้านี้หลายสิบปี ผู้อาวุโสในวงการหนังสือพิมพ์ พยายามต่อสู้เรียกร้องให้เกิดการจัดตั้ง “สภาวิชาชีพ” แบบนี้ เพื่อเป็นองค์กรควบคุมกันเองของผู้ประกอบวิชาชีพ คัดค้านการใช้กฎหมายและอำนาจทางการเมืองที่ควบคุมเสรีภาพการทำหน้าที่สื่อมวลชน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ซึ่งมีเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 25 ฉบับ รวมถึงองค์กรที่เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ 10 องค์กร ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกเจตนารมณ์จัดตั้ง “สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ” โดยมีตัวแทนสถานเอกอัครราชทูต ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อินเดีย และกรรมการสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ร่วมเป็นสักขีพยาน
นั่นเป็น ปรากฏการณ์ประวัติศาสตร์ ที่วงการหนังสือพิมพ์ประกาศต่อสังคมว่า จะมีองค์กรกลางในการควบคุมกันเองด้านจริยธรรม ส่งเสริมเสรีภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคม และยกระดับคุณภาพ คุณธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์
ในวันนั้นมีการลงนามท้ายบันทึกว่าจะผูกพันตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และมีข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 เป็นหลักเกณฑ์ที่เสมือน “ศีลของนักข่าวนักหนังสือพิมพ์”
สภาการหนังสือพิมพ์นั้นบริหารโดย คณะกรรมการ 21 คน ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือ เจ้าของ หรือผู้บริหารหนังสือพิมพ์ เลือกกันเองมา 5 คน บรรณาธิการ หรือตัวแทนผู้มีอำนาจจากกองบรรณาธิการ ซึ่งเลือกกันเอง 5 คน ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม 4 คน ซึ่งเลือกโดยกรรมการสรรหา จากนั้นกรรมการ 3 ส่วนแรกจะร่วมกันสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นกรรมการอีก 7 คน
หลักในการควบคุมกันเองของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ก็คือ การวินิจฉัยข้อร้องเรียนจากสังคม หรือหยิบยกประเด็นเพื่อพิจารณาว่า หนังสือพิมพ์ที่เป็นสมาชิกได้เผยแพร่ข่าว ภาพข่าว หรือข้อเขียน หรือพฤติกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพในสังกัดสมาชิกเป็นการละเมิด หรือผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพหรือไม่
ถ้าเป็นความผิดของหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ก็จะแจ้งให้หนังสือพิมพ์ฉบับที่ถูกร้องตีพิมพ์คำวินิจฉัยภายใน 7 วัน และอาจแจ้งให้ตีพิมพ์ข้อความคำขอโทษผู้เสียหายด้วย
แต่ถ้าเป็นกรณีตัวบุคคลประพฤติผิดจริยธรรม สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จะแจ้งผลการวินิจฉัยไปยังต้นสังกัด เพื่อให้ดำเนินการลงโทษต่อไป
ขณะเดียวกันสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ก็อาจเผยแพร่คำวินิจฉัยต่อสื่อสาธารณะ และตีพิมพ์ในจดหมายข่าวของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ด้วย
นอกจากนี้สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ยังมีการออกแนวปฏิบัติในเรื่องที่สำคัญ เช่น
• แนวปฏิบัติตนของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันการหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ได้แก่
1. ไม่รับจ้างเขียนข่าวหรือบทความให้กับหน่วยงานด้านประชาสัมพันธ
์
2. ไม่รับตำแหน่งเป็นกรรมการและที่ปรึกษาแก่นักการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3. ไม่รับเป็นกรรมการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานของรัฐ
4. ไม่รับเป็นกรรมการ หรือที่ปรึกษาในหน่วยงานที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับสายงานข่าวที่ตนรับผิดชอบ
5. ไม่มีส่วนได้เสียในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์และอื่นๆ เช่น ไม่ควรรับเป็นที่ปรึกษา กรรมการ หรือมีหุ้น จนถึงมีผลประโยชน์ในบริษัทที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ หรือที่อาจเกิดความเสื่อมเสียทางศีลธรรม หรือวัฒนธรรมอันใดของไทย
• การเสนอข่าวเกี่ยวกับผู้หญิงและเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
• การตีพิมพ์ภาพข่าวการข่มขืนและฆ่าในหนังสือพิมพ์
นั่นเป็นกฎกติกาองค์กรที่วงการหนังสือพิมพ์ร่วมกันจัดตั้ง และยอมรับที่จะร่วมมือกันดำเนินการตามระบบควบคุมกันเอง เพราะถ้าวงการหนังสือพิมพ์ไม่ตระหนักในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ คือ ใช้เสรีภาพที่เกิดขอบเขตจนไปละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล หรือเผยแพร่ข้อเขียนที่มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้เสียหายก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับอยู่แล้ว
โดยสรุปแล้ว สภาการนักหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จึงเป็นแกนกลางของระบบ “การควบคุมโดยสังคม” ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งหมายถึง เจ้าของ บรรณาธิการ นักข่าว นักเขียน ผู้บริโภค ผู้อ่าน และองค์กรทางสังคมต่างๆ จะต้องร่วมมือกัน
เพื่อให้ “เสรีภาพของสื่อมวลชน” ซึ่งเป็นความจำเป็นสำหรับ “สิทธิในการรับรู้ของประชาชน” มีหลักประกัน “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ด้วยการมีจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
การฉลองวาระครบ 10 ปี ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ในวันที่ 4 กรกฎาคมนี้ ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน ตั้งแต่ 13:00-17:00 น. จึงเป็นรายการที่น่าสนใจมาก
นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์ เช่น นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ รัฐศาสตร์ ไม่น่าจะพลาดงานนี้ เพราะจะเป็นการทบทวนตรวจสอบ “การใช้เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อมวลชน ท่ามกลางวิกฤตประเทศ” (มีเอกสารวิชาการอย่างดีแจก)
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จะมีอายุครบ 10 ปี ในวันที่ 4 กรกฎาคม นี้แล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องก็มักจะเจอคำถามทำนองประเมินผลงานว่า “บรรลุเป้าหมายแค่ไหน”
แน่ละครับตัวเลข 10 ปี นับว่ามากพอที่น่าจะเกิดการรับรู้ เข้าใจ และยอมรับของสังคมในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะเริ่มที่วงในสุด คือ วงการหนังสือพิมพ
์
เพราะก่อนหน้านี้หลายสิบปี ผู้อาวุโสในวงการหนังสือพิมพ์ พยายามต่อสู้เรียกร้องให้เกิดการจัดตั้ง “สภาวิชาชีพ” แบบนี้ เพื่อเป็นองค์กรควบคุมกันเองของผู้ประกอบวิชาชีพ คัดค้านการใช้กฎหมายและอำนาจทางการเมืองที่ควบคุมเสรีภาพการทำหน้าที่สื่อมวลชน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ซึ่งมีเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 25 ฉบับ รวมถึงองค์กรที่เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ 10 องค์กร ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกเจตนารมณ์จัดตั้ง “สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ” โดยมีตัวแทนสถานเอกอัครราชทูต ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อินเดีย และกรรมการสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ร่วมเป็นสักขีพยาน
นั่นเป็น ปรากฏการณ์ประวัติศาสตร์ ที่วงการหนังสือพิมพ์ประกาศต่อสังคมว่า จะมีองค์กรกลางในการควบคุมกันเองด้านจริยธรรม ส่งเสริมเสรีภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคม และยกระดับคุณภาพ คุณธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์
ในวันนั้นมีการลงนามท้ายบันทึกว่าจะผูกพันตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และมีข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 เป็นหลักเกณฑ์ที่เสมือน “ศีลของนักข่าวนักหนังสือพิมพ์”
สภาการหนังสือพิมพ์นั้นบริหารโดย คณะกรรมการ 21 คน ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือ เจ้าของ หรือผู้บริหารหนังสือพิมพ์ เลือกกันเองมา 5 คน บรรณาธิการ หรือตัวแทนผู้มีอำนาจจากกองบรรณาธิการ ซึ่งเลือกกันเอง 5 คน ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม 4 คน ซึ่งเลือกโดยกรรมการสรรหา จากนั้นกรรมการ 3 ส่วนแรกจะร่วมกันสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นกรรมการอีก 7 คน
หลักในการควบคุมกันเองของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ก็คือ การวินิจฉัยข้อร้องเรียนจากสังคม หรือหยิบยกประเด็นเพื่อพิจารณาว่า หนังสือพิมพ์ที่เป็นสมาชิกได้เผยแพร่ข่าว ภาพข่าว หรือข้อเขียน หรือพฤติกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพในสังกัดสมาชิกเป็นการละเมิด หรือผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพหรือไม่
ถ้าเป็นความผิดของหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ก็จะแจ้งให้หนังสือพิมพ์ฉบับที่ถูกร้องตีพิมพ์คำวินิจฉัยภายใน 7 วัน และอาจแจ้งให้ตีพิมพ์ข้อความคำขอโทษผู้เสียหายด้วย
แต่ถ้าเป็นกรณีตัวบุคคลประพฤติผิดจริยธรรม สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จะแจ้งผลการวินิจฉัยไปยังต้นสังกัด เพื่อให้ดำเนินการลงโทษต่อไป
ขณะเดียวกันสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ก็อาจเผยแพร่คำวินิจฉัยต่อสื่อสาธารณะ และตีพิมพ์ในจดหมายข่าวของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ด้วย
นอกจากนี้สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ยังมีการออกแนวปฏิบัติในเรื่องที่สำคัญ เช่น
• แนวปฏิบัติตนของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันการหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ได้แก่
1. ไม่รับจ้างเขียนข่าวหรือบทความให้กับหน่วยงานด้านประชาสัมพันธ
์
2. ไม่รับตำแหน่งเป็นกรรมการและที่ปรึกษาแก่นักการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3. ไม่รับเป็นกรรมการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานของรัฐ
4. ไม่รับเป็นกรรมการ หรือที่ปรึกษาในหน่วยงานที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับสายงานข่าวที่ตนรับผิดชอบ
5. ไม่มีส่วนได้เสียในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์และอื่นๆ เช่น ไม่ควรรับเป็นที่ปรึกษา กรรมการ หรือมีหุ้น จนถึงมีผลประโยชน์ในบริษัทที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ หรือที่อาจเกิดความเสื่อมเสียทางศีลธรรม หรือวัฒนธรรมอันใดของไทย
• การเสนอข่าวเกี่ยวกับผู้หญิงและเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
• การตีพิมพ์ภาพข่าวการข่มขืนและฆ่าในหนังสือพิมพ์
นั่นเป็นกฎกติกาองค์กรที่วงการหนังสือพิมพ์ร่วมกันจัดตั้ง และยอมรับที่จะร่วมมือกันดำเนินการตามระบบควบคุมกันเอง เพราะถ้าวงการหนังสือพิมพ์ไม่ตระหนักในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ คือ ใช้เสรีภาพที่เกิดขอบเขตจนไปละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล หรือเผยแพร่ข้อเขียนที่มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้เสียหายก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับอยู่แล้ว
โดยสรุปแล้ว สภาการนักหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จึงเป็นแกนกลางของระบบ “การควบคุมโดยสังคม” ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งหมายถึง เจ้าของ บรรณาธิการ นักข่าว นักเขียน ผู้บริโภค ผู้อ่าน และองค์กรทางสังคมต่างๆ จะต้องร่วมมือกัน
เพื่อให้ “เสรีภาพของสื่อมวลชน” ซึ่งเป็นความจำเป็นสำหรับ “สิทธิในการรับรู้ของประชาชน” มีหลักประกัน “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ด้วยการมีจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
การฉลองวาระครบ 10 ปี ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ในวันที่ 4 กรกฎาคมนี้ ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน ตั้งแต่ 13:00-17:00 น. จึงเป็นรายการที่น่าสนใจมาก
นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์ เช่น นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ รัฐศาสตร์ ไม่น่าจะพลาดงานนี้ เพราะจะเป็นการทบทวนตรวจสอบ “การใช้เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อมวลชน ท่ามกลางวิกฤตประเทศ” (มีเอกสารวิชาการอย่างดีแจก)