วานนี้ (24 มิ.ย.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีการจัดประชุมระดมความเห็นเรื่อง "คิดเพื่อประเทศไทย คิดไปข้างหน้า" โดยในช่วงแรก เป็นการระดมความเห็นเรื่อง "คนไทยคิดอย่างไรกับ สถานการณ์ประเทศในปัจจุบัน : มุมมองของคนทำโพลล์" โดย นายสุขุม เฉลยทรัพย์ จากสวนดุสิตโพลล์ และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันคนทำโพลล์ รู้สึกว่าในประเทศไทย ถ้าพูดถึงความแตกต่างทางความคิดจนแตกแยก จะเห็นชัดโดยเฉพาะแง่ลบ ครั้งใดที่ผู้ทำโพลล์ยื่นโพลล์ไป คนที่ถูกถามก็จะถามกลับ เช่นเรื่อง คมช. ก็มี 2 อย่างคือ ให้ออกไป หรือให้อยู่ต่อ ผู้ที่ถูกถามไม่ทันรู้ว่า ผู้ทำโพลล์จะถามอะไร บางคนก็สนับสนุนเต็มที่ เหมือนกับช่วงก่อนการรัฐประหาร บางคนก็ว่าให้กรอกเลยว่า ให้เลือกตั้ง เร็ว ๆ บางคนก็บอกว่า อดีนายกฯทักษิณ ออกไปดี บางคนก็บอกให้อยู่ต่อ อย่างไรก็ตาม คนทำโพลล์จะเห็นว่า คนที่เฉยๆ จะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นคนทำโพลล์ จะตั้งประเด็นเพียง 2 กลุ่มนั้นไม่พอ จะพิจารณาให้มีอีกกลุ่มที่สาม หรือไม่ตรงนี้เป็นในแง่ลบ ถ้าในแง่บวก ถ้ามีกลุ่มนี้มากๆ เราจะเห็นว่าเขาตื่นตัวทางการเมือง
นายสุขุม กล่าวถึงวการทำ วิจัยเรื่อง "ประชาชนกับการมีส่วนร่วมแก้ไขสถานการณ์ความวุ่นวายของประเทศ" จากกลุ่มตัวอย่าง 1,245 คน โดยถามในประเด็น ประชาชนอยากให้ทำโพลล์ในสถานการณ์ใดปัจจุบันโดย ร้อยละ 26.62 อยากให้ทำเรื่องการเมืองไทยควรเป็นอย่างไร ร้อยละ 23.58% ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะแก้ปัญหาอย่างไร, ร้อยละ 15.20 เรื่องปัญหาปัจจัยที่ส่งผลเศรษฐกิจ, ร้อยละ 7.98 ความเห็นของชนในชาติเรื่องการชุมนุม ขับไล่ คมช. ,ร้อยละ 6.08 การร่างรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญไทยดีแล้วหรือ , ร้อยละ 5.32 เรื่องการเลือกตั้ง และเรื่องอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ปัญหาความยากจน ความพึงพอใจของประชาชนต่อหน้าที่ คมช. และเรื่องการทุจริตของนักการเมือง ตามลำดับ
ทั้งนี้ ในหัวข้อประชาชนกับการช่วยลดความวุ่นวาย พบว่า ร้อยละ 42.15 เห็นว่า ควรจะอยู่ในความสงบ ไม่สร้างความวุ่นวาย ทำตัวเป็นกลาง ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง, ร้อยละ 24.15 เห็นว่า ให้อภัยซึ่งกันและกัน หันหน้าคุยกัน เพื่อสมานฉันท์ เป็นต้น
ดังนั้นจะเห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการมีส่วนร่วมในเรื่องการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทำให้พบว่า กลุ่มที่ขัดแย้งเริ่มจะน้อยลง เป็นการตอกย้ำความขัดแย้งจะไม่มากขึ้น แต่ทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีความเห็นแตกต่างก็มีเหตุผล เราจะปฏิบัติตัวอย่างไร ตรงนั้นเป็นปัญหา
"แต่ตรงนี้จะต้องให้ประชาชนเห็นว่า มีอะไรที่มากกว่าโพลล์ จากการได้อ่านได้ฟังผ่านสื่อ เขาจะได้คิดอะไรที่มากกว่า ผมคิดว่าสื่อเป็นที่พึ่งสำคัญ ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนมีกระแสตอบกลับ เพราะเมื่อก่อนโพลล์เป็นแค่แฟชั่นนำ แต่ขณะนี้สื่อมีความจริงจังในเรื่องคุณภาพ ที่เป็นเสียงสะท้อนที่หน่วยงานรับไปมากน้อยเพียงใด" นายสุขุม กล่าว
ด้านนายนพดล กรรณิการ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า คนไทย มีลักษณะที่คนต่างชาติในหลายประเทศไม่มี ได้แก่ 1. การจงรักภัคดีในพระมหากษัตริย์ คนไทยรักสงบ 2. รัฐบาลปัจจุบันยังได้รับการเชื่อถือในความซื่อสัตย์สุจริต 3. ประชาชนเห็นชัดเจนว่ารัฐบาลทักษิณ ทำเสียหายอย่างไร และ คมช.ก็บอกว่าจะเลือกตั้งโดยเร็ว ไม่มีการสืบทอดอำนาจ ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงความวุ่นวาย 2 ประกาศ คือ เรื่องความละเอียดอ่อน ดังนั้นรัฐบาล และคมช. จึงต้องแก้ปัญหาความละเอียดอ่อน และให้การศึกษา โดยใช้สื่อให้ประชาชนมีสติสัมปชัญญะมากขึ้น แต่พลังเงียบ เราก็ยังทำกันต่อโดยดูข่าวอย่างผิวเผิน และอยู่นอกเขตเทศบาล ที่ต้องการรักความสงบ
สำหรับผลสำรวจเรื่อง "อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อเหตุการณ์บ้านเมือง : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ใน 24 จังหวัดของประเทศ" จำนวนทั้งสิ้น 4,135 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10-23 มิ.ย. 50 พบว่า ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อเรื่องที่ทำให้ปลื้มใจมากที่สุด พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 69.8 ระบุงานเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 60 ปี อันดับ 2 คือร้อยละ 16.0 ระบุเรื่องความรักความสามัคคีของคนในชาติ อันดับ 3 หรือร้อยละ 5.5 ระบุการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อันดับ 4 หรือร้อยละ 3.4 ระบุเป็นเรื่องการเลือกตั้งครั้งใหม่
เมื่อถามถึงเรื่องที่ทำให้ประชาชนเหนื่อยหน่ายใจมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 59.4 ระบุเรื่อง การชุมนุมประท้วง และความขัดแย้งทางการเมือง อันดับ 2 ร้อยละ 31 ระบุเรื่องปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันดับ 3 ร้อยละ 4.9 ระบุปัญหาเศรษฐกิจ อันดับ 4 ร้อยละ 1.8 ระบุข่าวเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ส่วนเรื่องที่ทำให้ประชาชนวิตกกังวลมากที่สุด พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 36.1 ระบุเป็นเรื่องปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันดับ 2 หรือร้อยละ 35.1 ระบุเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล สถานการณ์การเมือง และม็อบต่าง ๆ อันดับ 3 ร้อยละ 13.4 ระบุปัญหาเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ อันดับ 4 ร้อยละ 4.3 ระบุการปฏิวัติใหม่ ปฏิวัติซ้อน
ส่วนข่าวที่ทำให้ประชาชนมีความหวังมากที่สุด พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 40.8 ระบุการเลือกตั้งใหม่ อันดับ 2 ร้อยละ 14.5 เป็นเรื่องความสงบสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รอง ๆ ลงไปคือร้อยละ 10 ระบุหวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น ร้อยละ 6 ระบุความรักความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 4.9 ระบุการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
นายนพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของทุกภูมิภาคในประเทศ ไม่เลือกอยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือเป็นพลังเงียบ โดยเมื่อพิจารณาในภาพรวมนั้นพบว่ามีกลุ่มพลังเงียบ คิดเป็นร้อยละ 79.8 ในขณะที่ร้อยละ 13.6 ระบุเป็นฝ่ายรัฐบาล และเพียงร้อยละ 6.6 เท่านั้น ที่เป็นฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล และเมื่อสอบถามว่า ผิดหวังหรือไม่ต่อเหตุการณ์บ้านเมืองหลังการยึดอำนาจจนถึงปัจจุบัน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.8 รู้สึกผิดหวัง แม้แต่กลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลครึ่งหนึ่งก็ผิดหวังเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมขับไล่รัฐบาลขณะนี้ แม้แต่ในกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม ในขณะที่เพียงร้อยละ 15.5 เห็นด้วย และร้อยละ 13.3 ไม่มีความเห็น
สำหรับเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 96.4 ไม่ต้องการทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่สบายพระทัย รองลงมาคือร้อยละ 95.6 อยากให้คนไทยรักสามัคคีกัน ร้อยละ 94 กลัวเศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก ร้อยละ 93.7 อยากเห็นประเทศชาติสงบสุข ไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายมากกว่านี้ ร้อยละ 92.7 ไม่อยากเห็นคนไทยทำร้ายกันเอง ร้อยละ 89.8 เห็นว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวของอดีตนายกรัฐมนตรี
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72 คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะสามารถช่วยกันนำพาประเทศให้พ้นวิกฤตการเมืองไปได้โดยใช้วิธีเจรจาด้วยสันติวิธี สมานฉันท์ ในขณะที่ร้อยละ 28 คิดว่า ไม่สามารถผ่านพ้นไปได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 ระบุ ควรตำหนิการชุมนุมประท้วงเพราะทำให้เกิดความวุ่นวาย แตกแยก ควรให้โอกาสรัฐบาลได้ทำงานก่อน และเห็นว่าการชุมนุมทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง เป็นต้น
นายนพดล กล่าวว่า ถ้าสถานการณ์การเมืองยังเป็นเช่นนี้ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.5 ไม่ค่อยมั่นใจถึงไม่มั่นใจว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในอีก 6 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลจำนวนมาก ร้อยละ 26.7 ค่อนข้างมั่นใจถึงมั่นใจว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะได้ผลแม้มีปัญหาการเมืองขณะนี้ ประชาชนร้อยละ 49.3 คาดหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุข คนไทยรักสามัคคีกัน มีความสมานฉันท์กันก่อนสิ้นปีนี้ ร้อยละ 31.6 คาดหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว ร้อยละ 29.2 คาดหวังว่าปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดจะคลี่คลาย ร้อยละ 24 คาดหวังว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 11 คาดหวังว่าจะได้รัฐบาลที่ดี และเพียงร้อยละ 8.7 คาดหวังว่าการเมืองไทยจะมีเสถียรภาพก่อนสิ้นปีนี้
ดังนั้นคนทำโพลล์ จะตั้งประเด็นเพียง 2 กลุ่มนั้นไม่พอ จะพิจารณาให้มีอีกกลุ่มที่สาม หรือไม่ตรงนี้เป็นในแง่ลบ ถ้าในแง่บวก ถ้ามีกลุ่มนี้มากๆ เราจะเห็นว่าเขาตื่นตัวทางการเมือง
นายสุขุม กล่าวถึงวการทำ วิจัยเรื่อง "ประชาชนกับการมีส่วนร่วมแก้ไขสถานการณ์ความวุ่นวายของประเทศ" จากกลุ่มตัวอย่าง 1,245 คน โดยถามในประเด็น ประชาชนอยากให้ทำโพลล์ในสถานการณ์ใดปัจจุบันโดย ร้อยละ 26.62 อยากให้ทำเรื่องการเมืองไทยควรเป็นอย่างไร ร้อยละ 23.58% ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะแก้ปัญหาอย่างไร, ร้อยละ 15.20 เรื่องปัญหาปัจจัยที่ส่งผลเศรษฐกิจ, ร้อยละ 7.98 ความเห็นของชนในชาติเรื่องการชุมนุม ขับไล่ คมช. ,ร้อยละ 6.08 การร่างรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญไทยดีแล้วหรือ , ร้อยละ 5.32 เรื่องการเลือกตั้ง และเรื่องอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ปัญหาความยากจน ความพึงพอใจของประชาชนต่อหน้าที่ คมช. และเรื่องการทุจริตของนักการเมือง ตามลำดับ
ทั้งนี้ ในหัวข้อประชาชนกับการช่วยลดความวุ่นวาย พบว่า ร้อยละ 42.15 เห็นว่า ควรจะอยู่ในความสงบ ไม่สร้างความวุ่นวาย ทำตัวเป็นกลาง ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง, ร้อยละ 24.15 เห็นว่า ให้อภัยซึ่งกันและกัน หันหน้าคุยกัน เพื่อสมานฉันท์ เป็นต้น
ดังนั้นจะเห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการมีส่วนร่วมในเรื่องการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทำให้พบว่า กลุ่มที่ขัดแย้งเริ่มจะน้อยลง เป็นการตอกย้ำความขัดแย้งจะไม่มากขึ้น แต่ทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีความเห็นแตกต่างก็มีเหตุผล เราจะปฏิบัติตัวอย่างไร ตรงนั้นเป็นปัญหา
"แต่ตรงนี้จะต้องให้ประชาชนเห็นว่า มีอะไรที่มากกว่าโพลล์ จากการได้อ่านได้ฟังผ่านสื่อ เขาจะได้คิดอะไรที่มากกว่า ผมคิดว่าสื่อเป็นที่พึ่งสำคัญ ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนมีกระแสตอบกลับ เพราะเมื่อก่อนโพลล์เป็นแค่แฟชั่นนำ แต่ขณะนี้สื่อมีความจริงจังในเรื่องคุณภาพ ที่เป็นเสียงสะท้อนที่หน่วยงานรับไปมากน้อยเพียงใด" นายสุขุม กล่าว
ด้านนายนพดล กรรณิการ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า คนไทย มีลักษณะที่คนต่างชาติในหลายประเทศไม่มี ได้แก่ 1. การจงรักภัคดีในพระมหากษัตริย์ คนไทยรักสงบ 2. รัฐบาลปัจจุบันยังได้รับการเชื่อถือในความซื่อสัตย์สุจริต 3. ประชาชนเห็นชัดเจนว่ารัฐบาลทักษิณ ทำเสียหายอย่างไร และ คมช.ก็บอกว่าจะเลือกตั้งโดยเร็ว ไม่มีการสืบทอดอำนาจ ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงความวุ่นวาย 2 ประกาศ คือ เรื่องความละเอียดอ่อน ดังนั้นรัฐบาล และคมช. จึงต้องแก้ปัญหาความละเอียดอ่อน และให้การศึกษา โดยใช้สื่อให้ประชาชนมีสติสัมปชัญญะมากขึ้น แต่พลังเงียบ เราก็ยังทำกันต่อโดยดูข่าวอย่างผิวเผิน และอยู่นอกเขตเทศบาล ที่ต้องการรักความสงบ
สำหรับผลสำรวจเรื่อง "อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อเหตุการณ์บ้านเมือง : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ใน 24 จังหวัดของประเทศ" จำนวนทั้งสิ้น 4,135 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10-23 มิ.ย. 50 พบว่า ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อเรื่องที่ทำให้ปลื้มใจมากที่สุด พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 69.8 ระบุงานเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 60 ปี อันดับ 2 คือร้อยละ 16.0 ระบุเรื่องความรักความสามัคคีของคนในชาติ อันดับ 3 หรือร้อยละ 5.5 ระบุการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อันดับ 4 หรือร้อยละ 3.4 ระบุเป็นเรื่องการเลือกตั้งครั้งใหม่
เมื่อถามถึงเรื่องที่ทำให้ประชาชนเหนื่อยหน่ายใจมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 59.4 ระบุเรื่อง การชุมนุมประท้วง และความขัดแย้งทางการเมือง อันดับ 2 ร้อยละ 31 ระบุเรื่องปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันดับ 3 ร้อยละ 4.9 ระบุปัญหาเศรษฐกิจ อันดับ 4 ร้อยละ 1.8 ระบุข่าวเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ส่วนเรื่องที่ทำให้ประชาชนวิตกกังวลมากที่สุด พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 36.1 ระบุเป็นเรื่องปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันดับ 2 หรือร้อยละ 35.1 ระบุเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล สถานการณ์การเมือง และม็อบต่าง ๆ อันดับ 3 ร้อยละ 13.4 ระบุปัญหาเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ อันดับ 4 ร้อยละ 4.3 ระบุการปฏิวัติใหม่ ปฏิวัติซ้อน
ส่วนข่าวที่ทำให้ประชาชนมีความหวังมากที่สุด พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 40.8 ระบุการเลือกตั้งใหม่ อันดับ 2 ร้อยละ 14.5 เป็นเรื่องความสงบสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รอง ๆ ลงไปคือร้อยละ 10 ระบุหวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น ร้อยละ 6 ระบุความรักความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 4.9 ระบุการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
นายนพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของทุกภูมิภาคในประเทศ ไม่เลือกอยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือเป็นพลังเงียบ โดยเมื่อพิจารณาในภาพรวมนั้นพบว่ามีกลุ่มพลังเงียบ คิดเป็นร้อยละ 79.8 ในขณะที่ร้อยละ 13.6 ระบุเป็นฝ่ายรัฐบาล และเพียงร้อยละ 6.6 เท่านั้น ที่เป็นฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล และเมื่อสอบถามว่า ผิดหวังหรือไม่ต่อเหตุการณ์บ้านเมืองหลังการยึดอำนาจจนถึงปัจจุบัน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.8 รู้สึกผิดหวัง แม้แต่กลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลครึ่งหนึ่งก็ผิดหวังเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมขับไล่รัฐบาลขณะนี้ แม้แต่ในกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม ในขณะที่เพียงร้อยละ 15.5 เห็นด้วย และร้อยละ 13.3 ไม่มีความเห็น
สำหรับเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 96.4 ไม่ต้องการทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่สบายพระทัย รองลงมาคือร้อยละ 95.6 อยากให้คนไทยรักสามัคคีกัน ร้อยละ 94 กลัวเศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก ร้อยละ 93.7 อยากเห็นประเทศชาติสงบสุข ไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายมากกว่านี้ ร้อยละ 92.7 ไม่อยากเห็นคนไทยทำร้ายกันเอง ร้อยละ 89.8 เห็นว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวของอดีตนายกรัฐมนตรี
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72 คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะสามารถช่วยกันนำพาประเทศให้พ้นวิกฤตการเมืองไปได้โดยใช้วิธีเจรจาด้วยสันติวิธี สมานฉันท์ ในขณะที่ร้อยละ 28 คิดว่า ไม่สามารถผ่านพ้นไปได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 ระบุ ควรตำหนิการชุมนุมประท้วงเพราะทำให้เกิดความวุ่นวาย แตกแยก ควรให้โอกาสรัฐบาลได้ทำงานก่อน และเห็นว่าการชุมนุมทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง เป็นต้น
นายนพดล กล่าวว่า ถ้าสถานการณ์การเมืองยังเป็นเช่นนี้ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.5 ไม่ค่อยมั่นใจถึงไม่มั่นใจว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในอีก 6 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลจำนวนมาก ร้อยละ 26.7 ค่อนข้างมั่นใจถึงมั่นใจว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะได้ผลแม้มีปัญหาการเมืองขณะนี้ ประชาชนร้อยละ 49.3 คาดหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุข คนไทยรักสามัคคีกัน มีความสมานฉันท์กันก่อนสิ้นปีนี้ ร้อยละ 31.6 คาดหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว ร้อยละ 29.2 คาดหวังว่าปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดจะคลี่คลาย ร้อยละ 24 คาดหวังว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 11 คาดหวังว่าจะได้รัฐบาลที่ดี และเพียงร้อยละ 8.7 คาดหวังว่าการเมืองไทยจะมีเสถียรภาพก่อนสิ้นปีนี้