ผู้จัดการรายวัน –เฟรชมาร์ทกรุ๊ปโอดครวญ ปัญหาสารพัด การเมือง เศรษฐกิจ กระแทกใส่ธุรกิจซวนเซ น้องใหม่ขายตรง “เฟรชไลฟ์” ไปไม่ถึงฝัน ยอดสมาชิกต่ำเป้ากว่าครึ่ง ขณะที่เฟรชมาร์ทคอนวีเนียนสโตร์ ต้องลดค่าวงเงินลงทุนดูดคนสนใจ ครึ่งปีแรกขายแฟรนไชส์ได้เพียง 18 รายเท่านั้น แต่ยังกัดฟันลุยต่อ
นางสาวนรินทร์ จิยารมณ์ ประธานกรรมการ บริษัท เฟรชมาร์ท อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจร้านสะดวกซื้อเฟรชมาร์ท ขายตรงเฟรชไลฟ์ และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาการเมืองที่เกิดความวุ่นวายได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการทำธุรกิจทั้งหมดของบริษัทฯที่มีอยู่ เกิดความไม่มีเสถียรการและการเติบโตลดลงเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะ กลุ่มธุรกิจน้องใหม่ “ขายตรง” ภายใต้ชื่อแบรนด์ เฟรชไลฟ์ที่เพิ่งเปิดตัวทำธุรกิจอย่างเป็นทางการไปเมื่อต้นปี 2550 ปรากฎว่าไม่เป็นไปตามเป้าหมายเพราะผลกระทบดังกล่าว ทำให้ยอดของฐานสมาชิก(ตัวแทนจำหน่าย) ไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้
ที่ผ่านมาจากการเปิดตัวทำธุรกิจ เฟรชไลฟ์ เป็นระยะเวลาประมาณ 5 เดือน พบว่าการตอบรับจากกลุ่มลูกค้ารวมทั้งจำนวนยอดสมาชิกมีเพียง 10,000 รายทั่วประเทศเท่านั้น จากเดิมที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ในช่วงครึ่งปีแรกจะมีมากถึง 20,000 ราย
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้การดำเนินงานไม่ขยายตัวตามที่วางไว้ นอกจากปัญหาภายนอกที่ควบคุมไม่ได้แล้ว ยังอาจจะเกิดมาจากการที่บริษัทฯยังไม่ได้ทำการตลาดเต็มที่ด้วย ถึงแม้ว่าในช่วงแรกบริษัทฯจะมองว่าธุรกิจขายตรงจะสามารถสวนกระแสตลาดได้ก็ตาม เพราะพิจารณาจากขายตรงหลายบริษัทฯที่มีผลประกอบการดีและมียอดสมาชิกเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามบริษัทฯจะต้องรอดูสถานการณ์ความน่าจะเป็นของตลาดขายตรง แบรนด์ใหม่เฟรชไลฟ์ ไปจนถึงสิ้นปี 2550 ว่าจะเป็นไปได้มากแค่ไหน ถึงขณะนี้บริษัทฯยังไม่กล้าเสี่ยงกับการทำตลาดมากนัก อาจต้องรอดูสถานการณ์ไปช่วงหนึ่งก่อน แม้ว่าช่วงแรกจะมีการทำสื่อผ่านโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโฆษณาขายตรงโดยเฉพาะแล้วก็ตาม
“เราต้องยอมรับว่า การมาแย่งส่วนแบ่งหรือการทำตลาดขายตรงไม่ใช่เรื่องยาก ยิ่งในช่วงข้าวยากหมากแพงและถึงแม้ว่าที่ผ่านมาการนำธุรกิจค้าปลีก เฟรชมาร์ทเข้ามาเชื่อมโยงธุรกิจโดยให้เฟรชมาร์ทเป็นศูนย์สมาชิกเข้ามาเบิกสินค้า ในแต่ละพื้นที่แทนที่เข้ามาเบิกในศูนย์ใหญ่แบบขายตรงทั่วไป ที่บริษัทฯมองว่าจะเป็นจุดที่สะดวกและเป็นจุดแข็งอยู่แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามต้องมุ่งมั่นทำตลาดต่อไป เพราะธุรกิจนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร ทั้งนี้เฟรชไลฟ์มีศูนย์โมบายโดยเฉพาะไม่รวมเฟรชมาร์ทอยู่ 35 แห่ง ทั่วประเทศ ”
ด้านธุรกิจค้าปลีกร้านเฟรชมาร์ท ที่ถือเป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯยังหนีไม่พ้นปัญหาเศรษฐกิจเช่นเดียวกันแต่ยังมองว่าธุรกิจการขายลิขสิทธิ์แฟรนไชส์จากเดิมบริษัทฯได้ตั้งเป้าขยาย 100 สาขาต่อปี แต่ในสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังไม่มีความแน่นอน ส่งต่อให้นักธุรกิจต้องเบรกการลงทุนไปมาก เมื่อดูจากปีที่ผ่านมาบริษัทฯสามารถทำยอดขายแฟรนไชส์ได้เพียง 50 สาขาเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่วางไว้มาก ในขณะเดียวกันปีนี้เมื่อดูจากตัวเลข 5 เดือนมีการขยายแฟรนไชส์เพียง 18 แห่งเท่านั้น
ทั้งนี้การทำตลาดเพื่อกระตุ้นหรือการทำลด แลก แจก แถม บริษัทฯจำเป็นต้องทำถึงขนาดที่ว่าจากราคาการขายแฟรนไชส์ 1 แห่ง ราคาจะตกอยู่ 690,000 บาท ได้ลดราคาแฟรนไชส์ลง 10% หรือราคาขาย 590,000 บาทก็ยังทำมาแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่ลดตายตัวเสมอไปแล้วแต่สภาพตลาด ซึ่งการทำตลาดด้วยการลดราคาขายต้องจำใจรับต่อสภาพปัจจุบันที่มีอยู่ ซึ่งบริษัทฯมองว่าจะเป็นการรักษาการขยายตัวไว้ได้
ในขณะเดียวกันฝั่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องยอมรับว่าได้รับผลกระทบไม่ต่างกับ 2 ธุรกิจที่ได้กล่าวมาข้างต้น ปัจจัยสำคัญเป็นตัวหลักมาจาก ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น 3-4% ทำให้เม็ดเงินในกระเป๋าของกลุ่มเป้าหมายของบริษัทฯ จากเดิมต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 – 40,000 บาท เข้ามาเป็นกลุ่มลูกค้าโดยตรงนั้น หรือกลุ่มนักธุรกิจในระดับสูงที่มีกำลังการซื้อ พบว่ามีจำนวนลดน้อยลงไปมาก ถึงแม้ว่าโครงการที่มีอยู่ 3 โครงการ โครงการแรกจะขายหมดไป 65 หลัง แต่นับจากนี้บริษัทฯยังไม่มีความน่ใจกับโครงการที่เหลืออยู่
“เราก็ได้แต่หวังไว้ว่า ให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ และคณะรัฐบาล ชุดใหม่ที่มีศักยภาพ หาโปรเจกซ์ใหม่ๆหาเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเงินทองจะได้ไหลเวียนในตลาดมากขึ้น การจ้างงานจะเกิดขึ้นส่งต่อให้ทุกอย่างจะต้องดีขึ้นตามมา สิ่งนั้นจะเป็นผลให้ธุรกิจในประเทศกระเตื้อง พร้อมกันนี้เชื่อว่าการทำธุกริจของบริษัทฯจะง่ายขึ้นและน่าจะดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้”
นางสาวนรินทร์ จิยารมณ์ ประธานกรรมการ บริษัท เฟรชมาร์ท อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจร้านสะดวกซื้อเฟรชมาร์ท ขายตรงเฟรชไลฟ์ และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาการเมืองที่เกิดความวุ่นวายได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการทำธุรกิจทั้งหมดของบริษัทฯที่มีอยู่ เกิดความไม่มีเสถียรการและการเติบโตลดลงเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะ กลุ่มธุรกิจน้องใหม่ “ขายตรง” ภายใต้ชื่อแบรนด์ เฟรชไลฟ์ที่เพิ่งเปิดตัวทำธุรกิจอย่างเป็นทางการไปเมื่อต้นปี 2550 ปรากฎว่าไม่เป็นไปตามเป้าหมายเพราะผลกระทบดังกล่าว ทำให้ยอดของฐานสมาชิก(ตัวแทนจำหน่าย) ไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้
ที่ผ่านมาจากการเปิดตัวทำธุรกิจ เฟรชไลฟ์ เป็นระยะเวลาประมาณ 5 เดือน พบว่าการตอบรับจากกลุ่มลูกค้ารวมทั้งจำนวนยอดสมาชิกมีเพียง 10,000 รายทั่วประเทศเท่านั้น จากเดิมที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ในช่วงครึ่งปีแรกจะมีมากถึง 20,000 ราย
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้การดำเนินงานไม่ขยายตัวตามที่วางไว้ นอกจากปัญหาภายนอกที่ควบคุมไม่ได้แล้ว ยังอาจจะเกิดมาจากการที่บริษัทฯยังไม่ได้ทำการตลาดเต็มที่ด้วย ถึงแม้ว่าในช่วงแรกบริษัทฯจะมองว่าธุรกิจขายตรงจะสามารถสวนกระแสตลาดได้ก็ตาม เพราะพิจารณาจากขายตรงหลายบริษัทฯที่มีผลประกอบการดีและมียอดสมาชิกเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามบริษัทฯจะต้องรอดูสถานการณ์ความน่าจะเป็นของตลาดขายตรง แบรนด์ใหม่เฟรชไลฟ์ ไปจนถึงสิ้นปี 2550 ว่าจะเป็นไปได้มากแค่ไหน ถึงขณะนี้บริษัทฯยังไม่กล้าเสี่ยงกับการทำตลาดมากนัก อาจต้องรอดูสถานการณ์ไปช่วงหนึ่งก่อน แม้ว่าช่วงแรกจะมีการทำสื่อผ่านโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโฆษณาขายตรงโดยเฉพาะแล้วก็ตาม
“เราต้องยอมรับว่า การมาแย่งส่วนแบ่งหรือการทำตลาดขายตรงไม่ใช่เรื่องยาก ยิ่งในช่วงข้าวยากหมากแพงและถึงแม้ว่าที่ผ่านมาการนำธุรกิจค้าปลีก เฟรชมาร์ทเข้ามาเชื่อมโยงธุรกิจโดยให้เฟรชมาร์ทเป็นศูนย์สมาชิกเข้ามาเบิกสินค้า ในแต่ละพื้นที่แทนที่เข้ามาเบิกในศูนย์ใหญ่แบบขายตรงทั่วไป ที่บริษัทฯมองว่าจะเป็นจุดที่สะดวกและเป็นจุดแข็งอยู่แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามต้องมุ่งมั่นทำตลาดต่อไป เพราะธุรกิจนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร ทั้งนี้เฟรชไลฟ์มีศูนย์โมบายโดยเฉพาะไม่รวมเฟรชมาร์ทอยู่ 35 แห่ง ทั่วประเทศ ”
ด้านธุรกิจค้าปลีกร้านเฟรชมาร์ท ที่ถือเป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯยังหนีไม่พ้นปัญหาเศรษฐกิจเช่นเดียวกันแต่ยังมองว่าธุรกิจการขายลิขสิทธิ์แฟรนไชส์จากเดิมบริษัทฯได้ตั้งเป้าขยาย 100 สาขาต่อปี แต่ในสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังไม่มีความแน่นอน ส่งต่อให้นักธุรกิจต้องเบรกการลงทุนไปมาก เมื่อดูจากปีที่ผ่านมาบริษัทฯสามารถทำยอดขายแฟรนไชส์ได้เพียง 50 สาขาเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่วางไว้มาก ในขณะเดียวกันปีนี้เมื่อดูจากตัวเลข 5 เดือนมีการขยายแฟรนไชส์เพียง 18 แห่งเท่านั้น
ทั้งนี้การทำตลาดเพื่อกระตุ้นหรือการทำลด แลก แจก แถม บริษัทฯจำเป็นต้องทำถึงขนาดที่ว่าจากราคาการขายแฟรนไชส์ 1 แห่ง ราคาจะตกอยู่ 690,000 บาท ได้ลดราคาแฟรนไชส์ลง 10% หรือราคาขาย 590,000 บาทก็ยังทำมาแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่ลดตายตัวเสมอไปแล้วแต่สภาพตลาด ซึ่งการทำตลาดด้วยการลดราคาขายต้องจำใจรับต่อสภาพปัจจุบันที่มีอยู่ ซึ่งบริษัทฯมองว่าจะเป็นการรักษาการขยายตัวไว้ได้
ในขณะเดียวกันฝั่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องยอมรับว่าได้รับผลกระทบไม่ต่างกับ 2 ธุรกิจที่ได้กล่าวมาข้างต้น ปัจจัยสำคัญเป็นตัวหลักมาจาก ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น 3-4% ทำให้เม็ดเงินในกระเป๋าของกลุ่มเป้าหมายของบริษัทฯ จากเดิมต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 – 40,000 บาท เข้ามาเป็นกลุ่มลูกค้าโดยตรงนั้น หรือกลุ่มนักธุรกิจในระดับสูงที่มีกำลังการซื้อ พบว่ามีจำนวนลดน้อยลงไปมาก ถึงแม้ว่าโครงการที่มีอยู่ 3 โครงการ โครงการแรกจะขายหมดไป 65 หลัง แต่นับจากนี้บริษัทฯยังไม่มีความน่ใจกับโครงการที่เหลืออยู่
“เราก็ได้แต่หวังไว้ว่า ให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ และคณะรัฐบาล ชุดใหม่ที่มีศักยภาพ หาโปรเจกซ์ใหม่ๆหาเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเงินทองจะได้ไหลเวียนในตลาดมากขึ้น การจ้างงานจะเกิดขึ้นส่งต่อให้ทุกอย่างจะต้องดีขึ้นตามมา สิ่งนั้นจะเป็นผลให้ธุรกิจในประเทศกระเตื้อง พร้อมกันนี้เชื่อว่าการทำธุกริจของบริษัทฯจะง่ายขึ้นและน่าจะดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้”