ผู้จัดการรายวัน - จับตาหุ้นการเมืองเชื่อมโยงกลุ่มทุนไทยรักไทย หลังรัฐบาลขิงแก่เล่นบทโหด สั่งอายัดทรัพย์สิน "พ.ต.ท.ทักษิณ" หลายหมื่นล้าน ใกล้ถึงคิวรัฐมนตรีที่เชื่อมโยงคดีทุจริตโดนเชือด พบหุ้นสุดฮิตในรัฐบาลทักษิณ "IEC-APURE-LIVE-EVER" สวิงแรงเหมือนรู้ตัวใกล้หมดรอบ โดย LIVE นำโด่งพุ่งไปแล้วกว่า 200% ขณะที่ APURE ไม่น้อยหน้าพุ่ง 50% เตือนนักลงทุนอย่าเป็นตกเป็นเหยื่อ ระบุพฤติกรรมปั่นหุ้นในปัจจุบันเปลี่ยนไปมากทั้งกระจายการส่งคำสั่งซื้อขาย รวมถึงจังหวะในการไล่ราคาที่ไม่ดุเดือดเหมือนในอดีตหวังตบตาตลาดหลักทรัพย์ฯ
หลังที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้มีคำสั่งอายัดทรัพย์สินบางส่วนของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของหุ้นที่มีความเกี่ยวโยงทางตรง คือ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC ที่ราคาปรับตัวลดลงอย่างชัดเจน
ขณะที่หุ้นที่มีความเกี่ยวข้องทางอ้อม โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตระกูลชินวัตรเคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งภายหลังได้มีการขายหุ้นออกมาให้กับเทมาเส็กจากสิงคโปร์ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC, บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SATTEL และบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) หรือ CSL ต่างถูกจับตามมองว่าจะเคลื่อนไหวไปทิศทางใด
นอกจากนี้ นักลงทุนยังได้จับตามองหุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจในรัฐบาลชุดที่ผ่านมาอย่างใกล้ชิด เพราะอาจจะต้องเผชิญกับสถานการณ์เดียวกันกับอดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจจะฉุดให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงตามด้วย โดยเฉพาะรัฐมนตรีที่เข้าข่ายและเกี่ยวข้องในคดีทุจริตต่างๆ อาทิ โครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร และเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX 9000 การทุจริตในการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย, โครงการจัดซื้อที่ดินรัชดา จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) การออกสลากเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว รวมถึง โครงการจัดซื้อกล้ายางของกรมวิชาการเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น
ทั้งนี้ ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าหากมีการดำเนินการต่อเนื่องจนทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรีต้องโดนอายัดทรัพย์จะส่งผลต่อหุ้นที่ถือครองอยู่ เช่น บมจ.อกริเพียว โฮลดิ้งส์ หรือ APURE, บมจ.ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น หรือ LIVE, บมจ.เอเวอร์แลนด์ หรือ EVER, บมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง หรือ IEC, บมจ.อีสเทิร์นไวร์ หรือ EWC เป็นต้นอย่างไร
สำหรับความเคลื่อนไหวของหุ้นในกลุ่มดังกล่าวช่วงวันที่ 30 พ.ค. 50 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มมีคำสั่งอายัดทรัพย์ของอดีตนายกรัฐมนตรีนั้น เทียบกับราคาหุ้นล่าสุด (22 มิ.ย.) พบว่า หุ้น APURE ราคาปิดที่ 1.89 บาท เพิ่มขึ้น 0.63 บาท หรือ 50%, หุ้น LIVE ราคาปิดที่ 5.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.72 บาท หรือ 208.98%, หุ้น IEC ราคาปิดที่ 1.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.21 บาท หรือ 26.58%, หุ้น EVER ราคาปิดที่ 2.08 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 บาท หรือ 16.85%, หุ้น EWC ราคาปิดที่ 7.85 บาท หรือ 24.60%
แหล่งข่าวนักลงทุนรายใหญ่ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตลาดหุ้นถือว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของกลุ่มทุนทางการเมือง การเข้ามาเรืองอำนาจของกลุ่มทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งย่อมมีผลต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทุนทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจทางด้านอสังหาริมทรัพย์ สินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง สถาบันการเงิน เป็นต้น
"ช่วงที่ผ่านมาหากกลุ่มการเมืองใดเข้ามามีอำนาจเครือข่ายอำนาจ จะส่งผลเอื้อต่อธุรกิจของพวกพ้อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้รับผลดีจากการช่วยเหลือทางตรงต่อธุรกิจ"
ขณะเดียวกันการสร้างผลกำไรในทางอ้อม คือ การปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงของหุ้นบริษัทนั้นๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะข่าวที่อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการเข้ามาเป็นเจ้าของการเข้าร่วมประมูลงาน หรือโอกาสในทางธุรกิจที่มีมากกว่ากลุ่มทุนที่ไม่มีความใกล้ชิดกับทุนทางการเมืองย่อมส่งผลดีต่อราคาหุ้น ทำให้เป็นช่องทางในการทำกำไรสร้างผลตอบแทนเพื่อไปใช้ในการขยายผลทางการเมืองต่อไป
ทั้งนี้ หากสังเกตความเคลื่อนไหวของหุ้นในกลุ่มที่มีความใกล้ชิดกับนักลงทุนกลุ่มไทยรักไทยในช่วงประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า หลายบริษัทที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น LIVE หรือ APURE ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบนี้อาจจะเป็นรอบสุดท้ายที่หุ้นในกลุ่มดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักลงทุนรายย่อยหรือรายใหญ่เข้ามาลงทุน เนื่องจากความไม่ชัดเจนในเรื่องการอายัดทรัพย์หรือไปจนถึงการยึดทรัพย์ของรัฐมนตรีที่มีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตในหลายโครงการจะเกิดขึ้นหรือไม่ และหากเกิดขึ้นจริงจะเป็นตัวเลขเท่าไหร่และจะมีผลต่อสินทรัพย์ที่ถือครองโดยเฉพาะหลักทรัพย์หรือไม่อย่างไร
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า รูปแบบและพฤติกรรมในการเข้ามาลงทุนในกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมืองในแต่ละยุคแต่ละสมัยมีความคล้ายคลึง และความแตกต่างกันออกไป นักลงทุนจะต้องเข้าใจรูปแบบที่เปลี่ยนไปให้ทันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อในการสร้างผลกำไรของนักลงทุนรายใหญ่
ทั้งนี้ พฤติกรรมการสร้างราคาหุ้นที่ผ่านมามักจะใช้ความใกล้ชิดมาปล่อยข่าวที่ดีของบริษัทเพื่อดันให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปก่อนจะขายทำกำไร ซึ่งนักลงทุนหลายรายอาจจะได้รับกำไรที่มากจากการเข้ามาลงทุน แต่นักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ต้องขาดทุนจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
"พฤติกรรมการลงทุนที่เปลี่ยนไปทั้งเรื่องการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่ง การค่อยๆ ไล่ราคาหุ้นและค่อยๆ ทยอยขาย แม้ว่าจะไม่สามารถทำกำไรได้มากเหมือนในอดีต แต่การตรวจสอบของหน่วยงานที่ดูแลก็ทำได้ยากมากขึ้น"
หลังที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้มีคำสั่งอายัดทรัพย์สินบางส่วนของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของหุ้นที่มีความเกี่ยวโยงทางตรง คือ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC ที่ราคาปรับตัวลดลงอย่างชัดเจน
ขณะที่หุ้นที่มีความเกี่ยวข้องทางอ้อม โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตระกูลชินวัตรเคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งภายหลังได้มีการขายหุ้นออกมาให้กับเทมาเส็กจากสิงคโปร์ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC, บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SATTEL และบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) หรือ CSL ต่างถูกจับตามมองว่าจะเคลื่อนไหวไปทิศทางใด
นอกจากนี้ นักลงทุนยังได้จับตามองหุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจในรัฐบาลชุดที่ผ่านมาอย่างใกล้ชิด เพราะอาจจะต้องเผชิญกับสถานการณ์เดียวกันกับอดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจจะฉุดให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงตามด้วย โดยเฉพาะรัฐมนตรีที่เข้าข่ายและเกี่ยวข้องในคดีทุจริตต่างๆ อาทิ โครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร และเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX 9000 การทุจริตในการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย, โครงการจัดซื้อที่ดินรัชดา จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) การออกสลากเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว รวมถึง โครงการจัดซื้อกล้ายางของกรมวิชาการเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น
ทั้งนี้ ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าหากมีการดำเนินการต่อเนื่องจนทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรีต้องโดนอายัดทรัพย์จะส่งผลต่อหุ้นที่ถือครองอยู่ เช่น บมจ.อกริเพียว โฮลดิ้งส์ หรือ APURE, บมจ.ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น หรือ LIVE, บมจ.เอเวอร์แลนด์ หรือ EVER, บมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง หรือ IEC, บมจ.อีสเทิร์นไวร์ หรือ EWC เป็นต้นอย่างไร
สำหรับความเคลื่อนไหวของหุ้นในกลุ่มดังกล่าวช่วงวันที่ 30 พ.ค. 50 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มมีคำสั่งอายัดทรัพย์ของอดีตนายกรัฐมนตรีนั้น เทียบกับราคาหุ้นล่าสุด (22 มิ.ย.) พบว่า หุ้น APURE ราคาปิดที่ 1.89 บาท เพิ่มขึ้น 0.63 บาท หรือ 50%, หุ้น LIVE ราคาปิดที่ 5.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.72 บาท หรือ 208.98%, หุ้น IEC ราคาปิดที่ 1.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.21 บาท หรือ 26.58%, หุ้น EVER ราคาปิดที่ 2.08 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 บาท หรือ 16.85%, หุ้น EWC ราคาปิดที่ 7.85 บาท หรือ 24.60%
แหล่งข่าวนักลงทุนรายใหญ่ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตลาดหุ้นถือว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของกลุ่มทุนทางการเมือง การเข้ามาเรืองอำนาจของกลุ่มทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งย่อมมีผลต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทุนทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจทางด้านอสังหาริมทรัพย์ สินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง สถาบันการเงิน เป็นต้น
"ช่วงที่ผ่านมาหากกลุ่มการเมืองใดเข้ามามีอำนาจเครือข่ายอำนาจ จะส่งผลเอื้อต่อธุรกิจของพวกพ้อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้รับผลดีจากการช่วยเหลือทางตรงต่อธุรกิจ"
ขณะเดียวกันการสร้างผลกำไรในทางอ้อม คือ การปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงของหุ้นบริษัทนั้นๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะข่าวที่อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการเข้ามาเป็นเจ้าของการเข้าร่วมประมูลงาน หรือโอกาสในทางธุรกิจที่มีมากกว่ากลุ่มทุนที่ไม่มีความใกล้ชิดกับทุนทางการเมืองย่อมส่งผลดีต่อราคาหุ้น ทำให้เป็นช่องทางในการทำกำไรสร้างผลตอบแทนเพื่อไปใช้ในการขยายผลทางการเมืองต่อไป
ทั้งนี้ หากสังเกตความเคลื่อนไหวของหุ้นในกลุ่มที่มีความใกล้ชิดกับนักลงทุนกลุ่มไทยรักไทยในช่วงประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า หลายบริษัทที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น LIVE หรือ APURE ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบนี้อาจจะเป็นรอบสุดท้ายที่หุ้นในกลุ่มดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักลงทุนรายย่อยหรือรายใหญ่เข้ามาลงทุน เนื่องจากความไม่ชัดเจนในเรื่องการอายัดทรัพย์หรือไปจนถึงการยึดทรัพย์ของรัฐมนตรีที่มีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตในหลายโครงการจะเกิดขึ้นหรือไม่ และหากเกิดขึ้นจริงจะเป็นตัวเลขเท่าไหร่และจะมีผลต่อสินทรัพย์ที่ถือครองโดยเฉพาะหลักทรัพย์หรือไม่อย่างไร
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า รูปแบบและพฤติกรรมในการเข้ามาลงทุนในกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมืองในแต่ละยุคแต่ละสมัยมีความคล้ายคลึง และความแตกต่างกันออกไป นักลงทุนจะต้องเข้าใจรูปแบบที่เปลี่ยนไปให้ทันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อในการสร้างผลกำไรของนักลงทุนรายใหญ่
ทั้งนี้ พฤติกรรมการสร้างราคาหุ้นที่ผ่านมามักจะใช้ความใกล้ชิดมาปล่อยข่าวที่ดีของบริษัทเพื่อดันให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปก่อนจะขายทำกำไร ซึ่งนักลงทุนหลายรายอาจจะได้รับกำไรที่มากจากการเข้ามาลงทุน แต่นักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ต้องขาดทุนจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
"พฤติกรรมการลงทุนที่เปลี่ยนไปทั้งเรื่องการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่ง การค่อยๆ ไล่ราคาหุ้นและค่อยๆ ทยอยขาย แม้ว่าจะไม่สามารถทำกำไรได้มากเหมือนในอดีต แต่การตรวจสอบของหน่วยงานที่ดูแลก็ทำได้ยากมากขึ้น"