รัฐบาล-คมช.หน้าแตก แก้ประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 สภาไม่ยอมให้พิจารณา 3 วาระรวด หลังสนช. รุมอัด ทรท.ยับ ข้อหาปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หวั่นปล่อยผีคืนชีพ ตั้ง 15 กมธ. พิจารณาอย่างรอบคอบ
การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวานนี้ (20 มิ.ย.) มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม ซึ่งเรื่องด่วน ที่ ครม.เสนอ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค. ) ฉบับที่ 15 เรื่องห้ามพรรคการเมืองประชุม หรือดำเนินกิจการอื่นใดทางการเมือง ลงวันที่ 21 ก.ย. 49 โดยนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรม ได้ชี้แจงหลักการ และเหตุผลสำคัญซึ่งเป็นการแก้ไขในข้อ 2 ของประกาศดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการเพื่อจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมืองสามารถดำเนินการได้
จากนั้นสมาชิก สนช.ได้อภิปรายแสดงความคิดเห็น โดย นายไพศาล พืชมงคล สนช. อภิปรายเป็นห่วงว่าในการยกเลิกข้อ 2 ในประกาศดังกล่าวทั้งหมด หากมีความจำเป็นห้ามชุมนุม ครม. ก็อาศัยอำนาจ ตามข้อ 2 ก็ใช้ไม่ได้ ซึ่งในการชุมนุมทางการเมือง และการห้ามจดทะเบียนพรรคการเมือง อาจจะมีปัญหาได้ หากต้องการเพียงให้จัดตั้งพรรคการเมืองเพียงแค่นี้ ควรปรับปรุงแก้ไขใน ประกาศ คปค. ฉบับที่ 27
ขณะนี้มีคนบางกลุ่มได้ยืนยันที่จะจดทะเบียนชื่อพรรคเดิม อีกทั้งในคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญได้ระบุชัดว่า พรรคดังกล่าวที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นความผิดร้ายแรง และเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ถ้าให้จดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นนั้นมาอีก ก็เท่ากับว่า คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ถูกล้มล้าง จึงอยากให้ ครม. ทบทวนและให้ไปแก้ไขข้อ 2 ในประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 จะเหมาะสมกว่า
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช. อภิปรายว่า เมื่อมีการยุบพรรคไทยรักไทย และพรรคบางพรรคไป เมื่อยกเลิกข้อนี้ไป พรรคไทยรักไทย จะไปจดชื่อพรรคเดิมจะเกิดอะไรขึ้น ขณะนี้การตรวจบัญชีทรัพย์ สตง. คงใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน แล้ว กกต. จะวินิจฉัยให้ใช้ชื่อพรรคเดิมหรือไม่ เพราะใน พ.ร.บ.พรรคการเมืองได้ระบุว่า หากชื่อซ้ำ พ้องหรือคล้ายให้นายทะเบียนแจ้งว่า ให้จดชื่อไม่ได้ ขณะนี้เมื่อกำหนดการเลือกตั้งเดือน ธ.ค.อีก 6 เดือนหากพรรคไทยรักไทย สามารถตั้งได้ใน 3 เดือน ก็ฟื้นได้ ถ้าไม่ทันก็ฟื้นไม่ได้ ขอให้สมาชิกพิจารณาด้วย
ด้าน นายประพันธ์ คูณมี สนช. สายพันธมิตร อภิปรายว่า ไม่ขัดข้องในหลักการที่ควรเปิดให้พรรคการเมืองดำเนินการกิจการทาการเมืองได้ และให้ประชาชนรวมตัวเพื่อดำเนินการจดทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตย แต่ไม่เห็นด้วย หากเสนอเพียงให้พรรคการเมืองดำเนินการกิจกรรมโดดๆ เพราะหลังจากตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ไม่นำมาประกอบแล้ว จะขัดต่อหลักนิติธรรม นิติรัฐ หรือไม่
“หากยกเลิกแล้ว พรรคการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และการกระทำการความผิดร้ายแรงต่อความมั่นคงแล้ว ไปตั้งพรรคเดิม และคณะคนเดิมๆอีก ทั้งๆ ที่ถูกตัดสิทธิ์ ก็ยังรวมตัวทำพรรคการเมืองชื่อเดิมอีกโดยมีความคิดที่จะนิรโทษกรรมอีก จะทำให้กรรมการบริหารพรรคลอยหน้าลอยตาในบ้านเมืองทั้งๆ ที่มีความผิด ก็จะมาหัวเราะเยาะคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญได้”
นายประพันธ์ กล่าวด้วยว่า แม้ กกต. มีข้อกังวลใจ หากคนเหล่านี้รวมตัวขอจัดตั้งชื่อเดิม ก็มีข้อจำกัดได้ ถ้ารับหลักการ ควรพิจารณาประเด็นหลักเกณฑ์การขอจดใช้ชื่อพรรคเดิมไปด้วย ในขั้นคณะกรรมาธิการไม่ขัดข้อง ตนไม่ได้อาฆาตพรรคการเมือง แต่อาฆาตกับคนชั่วที่ไม่เคารพกฎหมาย เพราะจะกระทบไปหมดทั้งประเทศ เมื่อจะยกเลิกประกาศข้อนี้ ไม่ควรพิจารณาหลักเกณฑ์รองรับโดยพรรคที่ทำลายต่อระบอบประชาธิปไตยก็พร้อมสนับสนุนเต็มที่ แต่ไม่เห็นด้วยผ่าน 3 วาระรวด เพื่อใช้เวลาพอสมควร ให้ กกต.มาชี้แจงว่า หากแก้เช่นนี้จะมีกฎหมายอะไรมารองรับจะเกิดประโยชน์มากกว่า
“เมื่อ สนช.ได้ถูกตั้งมาเพื่อภารกิจมาเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในอดีต เราจึงไม่อยากให้พิจารณาแค่ยกเลิกประกาศนี้ โดยไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในอดีตเพื่อไม่ให้การเมืองใดอดีตมาสร้างความเสียหายอีก คตส. ตุลาการรัฐธรรมนูญ ได้ทำงานสะสางปัญหาในบ้านเมือง หากเราไม่ได้ทำอะไร ก็ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ในการปฏิรูปบ้านเมือง หากจะยกเลิกประกาศ ก็ควรวางหลักเกณฑ์เพื่อป้องกันปัญหาทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นไม่ควรพิจารณา 3 วาระ แต่ควรมีคณะกรรมาธิการพิจารณาไม่มาก คงใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน เพื่อไม่ให้กลุ่มคนเคลื่อนไหวทางการเมืองได้เพราะเขาสามารถเคลื่อนไหวในนานกลุ่มได้อยู่แล้ว”นายประพันธ์ กล่าว
ด้านนายพชร ยุติธรรมดำรง สนช.ในฐานะอัยการสูงสุด ได้อภิปรายเห็นว่าเป็นการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยแล้วได้เสนอขอปิดอภิปราย แต่นายมีชัย ประธานที่ประชุมชี้ว่า อภิปรายแล้วจะเสนอปิดอภิปรายไม่ได้
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ สนช. อภิปรายเห็นด้วยกับ สนช. หลายคนเห็นว่า ควรเปิดพื้นที่ให้พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แต่ยังเห็นว่าในกรณีที่จะยกเลิกโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบหลักเกณฑ์ต่างๆ จะเกิดปัญหาตามมาในภาวะที่สถานการณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทาการเมืองการชุมนุมต่างๆ จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองที่ตุลาการรัฐธรรมนูญได้ชี้ว่า เป็นพรรคการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองถูกยุบกำลังเกี่ยวบัญชีทรัพย์สิน และปัญหาการเคลื่อนไหวต่างๆ แม้ไม่ยกเลิกก็ยังมีการเคลื่อนไหวอยู่
ซึ่งทหาร ต้องเป็นภาระ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา และมีข่าวเสนอให้พิจารณา 3 วาระ ต้องปลีกตัวจากร่างรัฐธรรมนูญเพื่อมาชี้แจงว่าในเรื่องการพิจารณา 3 วาระ ถ้ารัฐบาลเสนอตั้ง กรรมาธิการประกอบด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้อง อาทิ จาก กกต.ที่ต้องดูรายละเอียดก็น่าจะรอบคอบเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมากกว่า จะคิดอ่านทำประโยชน์เพื่อพรรคการเมือง ในระหว่างที่ น.ต.ประสงค์อภิปรายได้เกิดไมค์ขัดข้องถึง 2 ครั้ง ทำให้ น.ต.ประสงค์ พูดเปรยว่า คิดว่าอยู่อังกฤษยังตามมาถึงที่นี้อีก
ขณะที่นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธ์ สนช. เห็นด้วยในการเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันเหมือนในการขึ้นเล่นบนดินสามารถเช็คบิลได้ ดีกว่าเล่นใต้ดิน เดี๋ยวถูกหาว่าถูกลั่นแกล้งไม่ให้ทำกิจกรรมการเมือง หรือไม่ให้จดทะเบียนจัดตั้งพรรคได้ ส่วนจะใช้ชื่อพรรคซ้ำ จะไปกลัวทำไม หากเชื่อว่าสิ่งที่ศาลตัดสินเป็นธรรม ประชาชนก็เชื่อ หากพรรคใช้ชื่อนั้นประชาชนคงไม่เลือก ทุกอย่างอยู่ที่ประชาชน
ต่อมา ที่ประชุมมีมติรับหลักการของร่าง พ.ร.บ.แก้ไขดังกล่าวด้วยเสียง 139 ต่อ 4 จากนั้น นายชาญชัย ลิขิตจิตตถะ รมว.ยุติธรรม ในนามรัฐบาลได้เสนอขอให้ตั้งกรรมาธิการเต็มสภา เพื่อพิจารณา 3 วาระรวด
แต่ปรากฏว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง สนช. สายพันธมิตร ลุกขึ้นอภิปรายไม่เห็นด้วย โดยระบุว่าเป็นการรวบรัด ควรพิจารณาตามขั้นตอนโดยการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาให้รอบคอบ แม้รัฐบาลมีความปรารถนาดี อยากให้ผ่านโดยเร็วก็ตาม ก็น่าเห็นใจรัฐบาล ไม่ว่าพวกเราจะมาจากแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง เราก็เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่ใช่ตัวแทนรัฐบาล หรือคณะใดคณะหนึ่ง ซึ่งการที่จะให้พิจารณาไปตามขั้นตอน ไม่ใช่เป็นความขัดแย้งแต่อย่างใด
จากนั้นนายตวง อันทะไชย พล.อ.ปานเทพ ภูวนาถนุรักษ์ นายคำนูญ สิทธิสมาน อภิปรายสนับสนุนที่ พล.ต.จำลองเสนอ ให้ตั้ง กมธ.และควรนำข้อเสนอมาพิจารณาให้รอบคอบ เมื่อรัฐบาลประกาศจะให้มีการเลือกตั้ง ต้องให้พรรคการเมืองดำเนินกิจการ
โดยนายสำราญ รอดเพชร สนช.สายพันธมิตร ได้เห็นแย้งว่า หาก สนช.ผ่าน 3 วาระรวดวันนี้ แล้วก็สามารถไปตั้งพรรคไทยรักไทยได้ จะเป็นการทำร้ายความรู้สึกของประชาชน เหมือนการเล่นปาหี่ มองการปฏิวัติเป็นขอเล่น เมื่อมีการยุบพรรคแล้วก็ไม่ควรใช้ชื่อซ้ำอีก อย่างไรก็ตาม เมื่อตั้ง กมธ.ก็ควรให้ กกต.เข้ามาเป็น กมธ.
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช.อภิปรายสนับสนุนพิจารณา 3 วาระรวดโดยเห็นว่า การพิจารณา 3 วาระไม่ใช่ประเด็น แต่สิ่งที่สมาชิกห่วงใย คือ จะมีการไปตั้งชื่อเดิมและสร้างความหนักใจกับ กกต.ในการพิจารณาเมื่อมีคำสั่งจะมีการเลือกตั้งในเดือน ธ.ค. ก็ควรให้พรรคการเมืองไปตั้งพรรค และพิจารณาตามที่รัฐบาลเสนอ 3 วาระรวด จะเป็นการปิดการเดินบนถนน เพราะคำวินิจฉัย ตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นข้อหาที่ฉกาจฉกรรจ์ ซึ่งชื่อพรรคนี้ได้ตายไปแล้ว ไม่สามารถนำกลับมาได้แล้ว ถ้าไม่เช่นนั้นก็ควรบัญญัติให้ชัดเจนไปเลยว่า ยกเว้นชื่อที่พรรคการเมืองตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค
ภายหลังอภิปรายใช้เวลานานประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ เวลา 12.55 น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สนช. ได้เสนอปิดอภิปราย จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นด้วยตามที่รัฐบาลเสนอให้ใช้กรรมาธิการเต็มสภาพิจารณา 3 วารรวด ด้วยเสียง112 ต่อ 31 งดออดเสียง 2 และที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 15 คน โดยประกอบด้วยสัดส่วนรัฐบาล คือ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ นายบัญญัติ จันเสนนะ นายประพันธ์ นัยโกวิท ส่วนสัดส่วน สนช. 12 คน อาทิ นายประพันธ์ คูณมี นายคำนูญ สิทธิสมาน นายอรรคพล สรสุชาติ นายสำราญ รอดเพชร นายเจตน์ โทณะวณิก พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง พล.อ.โสภณ ศรีพิพัฒน์ พล.อ.วรเดช ภูมิจิตร นางจุรี วิจิตรวาทการ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายพูนศักดิ์ อยู่ประเสริฐ นายพรเพชร วิชิตชลชัย กำหนดแปรญัตติภายใน 7 วัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุม นายมีชัย ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การพิจารณา 3 วาระรวด ก็ไม่ช่วยให้คลี่คลายปัญหาทางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้ เพราะการตั้งพรรคการเมือง จะใช้ชื่อเก่า ก็จะเป็นปัญหา ต้องไปถามคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะอนุญาตให้ได้หรือไม่ ทั้งนี้ ตนเห็นว่าการจดใช้ชื่อเก่า ก็ไม่ได้มีกฎหมายห้าม เพียงแต่ว่าจะจดตั้งได้เมื่อไร
“ถ้าตามความเห็นของ กกต.ก็เห็นว่า ตราบใดที่พรรคเดิมยังมีอยู่ ก็ไปจดทับชื่อเดิมไม่ได้ และการยุบพรรคการเมืองพรรคนั้นก็ยังจะดำรงอยู่ ตราบเท่าเอื้อประโยชน์แห่งการชำระบัญชี ซึ่ง กกต.ก็ยืนยันว่า จดตั้งพรรคไม่ได้ หากยังชำระบัญชีไม่เสร็จ แต่ทั้งนี้ก็เป็นแค่ความเห็นของ กกต. หากใครจะเห็นแย้งก็สามารถทำได้”นายมีชัย กล่าว
การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวานนี้ (20 มิ.ย.) มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม ซึ่งเรื่องด่วน ที่ ครม.เสนอ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค. ) ฉบับที่ 15 เรื่องห้ามพรรคการเมืองประชุม หรือดำเนินกิจการอื่นใดทางการเมือง ลงวันที่ 21 ก.ย. 49 โดยนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรม ได้ชี้แจงหลักการ และเหตุผลสำคัญซึ่งเป็นการแก้ไขในข้อ 2 ของประกาศดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการเพื่อจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมืองสามารถดำเนินการได้
จากนั้นสมาชิก สนช.ได้อภิปรายแสดงความคิดเห็น โดย นายไพศาล พืชมงคล สนช. อภิปรายเป็นห่วงว่าในการยกเลิกข้อ 2 ในประกาศดังกล่าวทั้งหมด หากมีความจำเป็นห้ามชุมนุม ครม. ก็อาศัยอำนาจ ตามข้อ 2 ก็ใช้ไม่ได้ ซึ่งในการชุมนุมทางการเมือง และการห้ามจดทะเบียนพรรคการเมือง อาจจะมีปัญหาได้ หากต้องการเพียงให้จัดตั้งพรรคการเมืองเพียงแค่นี้ ควรปรับปรุงแก้ไขใน ประกาศ คปค. ฉบับที่ 27
ขณะนี้มีคนบางกลุ่มได้ยืนยันที่จะจดทะเบียนชื่อพรรคเดิม อีกทั้งในคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญได้ระบุชัดว่า พรรคดังกล่าวที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นความผิดร้ายแรง และเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ถ้าให้จดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นนั้นมาอีก ก็เท่ากับว่า คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ถูกล้มล้าง จึงอยากให้ ครม. ทบทวนและให้ไปแก้ไขข้อ 2 ในประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 จะเหมาะสมกว่า
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช. อภิปรายว่า เมื่อมีการยุบพรรคไทยรักไทย และพรรคบางพรรคไป เมื่อยกเลิกข้อนี้ไป พรรคไทยรักไทย จะไปจดชื่อพรรคเดิมจะเกิดอะไรขึ้น ขณะนี้การตรวจบัญชีทรัพย์ สตง. คงใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน แล้ว กกต. จะวินิจฉัยให้ใช้ชื่อพรรคเดิมหรือไม่ เพราะใน พ.ร.บ.พรรคการเมืองได้ระบุว่า หากชื่อซ้ำ พ้องหรือคล้ายให้นายทะเบียนแจ้งว่า ให้จดชื่อไม่ได้ ขณะนี้เมื่อกำหนดการเลือกตั้งเดือน ธ.ค.อีก 6 เดือนหากพรรคไทยรักไทย สามารถตั้งได้ใน 3 เดือน ก็ฟื้นได้ ถ้าไม่ทันก็ฟื้นไม่ได้ ขอให้สมาชิกพิจารณาด้วย
ด้าน นายประพันธ์ คูณมี สนช. สายพันธมิตร อภิปรายว่า ไม่ขัดข้องในหลักการที่ควรเปิดให้พรรคการเมืองดำเนินการกิจการทาการเมืองได้ และให้ประชาชนรวมตัวเพื่อดำเนินการจดทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตย แต่ไม่เห็นด้วย หากเสนอเพียงให้พรรคการเมืองดำเนินการกิจกรรมโดดๆ เพราะหลังจากตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ไม่นำมาประกอบแล้ว จะขัดต่อหลักนิติธรรม นิติรัฐ หรือไม่
“หากยกเลิกแล้ว พรรคการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และการกระทำการความผิดร้ายแรงต่อความมั่นคงแล้ว ไปตั้งพรรคเดิม และคณะคนเดิมๆอีก ทั้งๆ ที่ถูกตัดสิทธิ์ ก็ยังรวมตัวทำพรรคการเมืองชื่อเดิมอีกโดยมีความคิดที่จะนิรโทษกรรมอีก จะทำให้กรรมการบริหารพรรคลอยหน้าลอยตาในบ้านเมืองทั้งๆ ที่มีความผิด ก็จะมาหัวเราะเยาะคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญได้”
นายประพันธ์ กล่าวด้วยว่า แม้ กกต. มีข้อกังวลใจ หากคนเหล่านี้รวมตัวขอจัดตั้งชื่อเดิม ก็มีข้อจำกัดได้ ถ้ารับหลักการ ควรพิจารณาประเด็นหลักเกณฑ์การขอจดใช้ชื่อพรรคเดิมไปด้วย ในขั้นคณะกรรมาธิการไม่ขัดข้อง ตนไม่ได้อาฆาตพรรคการเมือง แต่อาฆาตกับคนชั่วที่ไม่เคารพกฎหมาย เพราะจะกระทบไปหมดทั้งประเทศ เมื่อจะยกเลิกประกาศข้อนี้ ไม่ควรพิจารณาหลักเกณฑ์รองรับโดยพรรคที่ทำลายต่อระบอบประชาธิปไตยก็พร้อมสนับสนุนเต็มที่ แต่ไม่เห็นด้วยผ่าน 3 วาระรวด เพื่อใช้เวลาพอสมควร ให้ กกต.มาชี้แจงว่า หากแก้เช่นนี้จะมีกฎหมายอะไรมารองรับจะเกิดประโยชน์มากกว่า
“เมื่อ สนช.ได้ถูกตั้งมาเพื่อภารกิจมาเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในอดีต เราจึงไม่อยากให้พิจารณาแค่ยกเลิกประกาศนี้ โดยไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในอดีตเพื่อไม่ให้การเมืองใดอดีตมาสร้างความเสียหายอีก คตส. ตุลาการรัฐธรรมนูญ ได้ทำงานสะสางปัญหาในบ้านเมือง หากเราไม่ได้ทำอะไร ก็ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ในการปฏิรูปบ้านเมือง หากจะยกเลิกประกาศ ก็ควรวางหลักเกณฑ์เพื่อป้องกันปัญหาทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นไม่ควรพิจารณา 3 วาระ แต่ควรมีคณะกรรมาธิการพิจารณาไม่มาก คงใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน เพื่อไม่ให้กลุ่มคนเคลื่อนไหวทางการเมืองได้เพราะเขาสามารถเคลื่อนไหวในนานกลุ่มได้อยู่แล้ว”นายประพันธ์ กล่าว
ด้านนายพชร ยุติธรรมดำรง สนช.ในฐานะอัยการสูงสุด ได้อภิปรายเห็นว่าเป็นการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยแล้วได้เสนอขอปิดอภิปราย แต่นายมีชัย ประธานที่ประชุมชี้ว่า อภิปรายแล้วจะเสนอปิดอภิปรายไม่ได้
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ สนช. อภิปรายเห็นด้วยกับ สนช. หลายคนเห็นว่า ควรเปิดพื้นที่ให้พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แต่ยังเห็นว่าในกรณีที่จะยกเลิกโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบหลักเกณฑ์ต่างๆ จะเกิดปัญหาตามมาในภาวะที่สถานการณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทาการเมืองการชุมนุมต่างๆ จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองที่ตุลาการรัฐธรรมนูญได้ชี้ว่า เป็นพรรคการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองถูกยุบกำลังเกี่ยวบัญชีทรัพย์สิน และปัญหาการเคลื่อนไหวต่างๆ แม้ไม่ยกเลิกก็ยังมีการเคลื่อนไหวอยู่
ซึ่งทหาร ต้องเป็นภาระ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา และมีข่าวเสนอให้พิจารณา 3 วาระ ต้องปลีกตัวจากร่างรัฐธรรมนูญเพื่อมาชี้แจงว่าในเรื่องการพิจารณา 3 วาระ ถ้ารัฐบาลเสนอตั้ง กรรมาธิการประกอบด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้อง อาทิ จาก กกต.ที่ต้องดูรายละเอียดก็น่าจะรอบคอบเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมากกว่า จะคิดอ่านทำประโยชน์เพื่อพรรคการเมือง ในระหว่างที่ น.ต.ประสงค์อภิปรายได้เกิดไมค์ขัดข้องถึง 2 ครั้ง ทำให้ น.ต.ประสงค์ พูดเปรยว่า คิดว่าอยู่อังกฤษยังตามมาถึงที่นี้อีก
ขณะที่นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธ์ สนช. เห็นด้วยในการเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันเหมือนในการขึ้นเล่นบนดินสามารถเช็คบิลได้ ดีกว่าเล่นใต้ดิน เดี๋ยวถูกหาว่าถูกลั่นแกล้งไม่ให้ทำกิจกรรมการเมือง หรือไม่ให้จดทะเบียนจัดตั้งพรรคได้ ส่วนจะใช้ชื่อพรรคซ้ำ จะไปกลัวทำไม หากเชื่อว่าสิ่งที่ศาลตัดสินเป็นธรรม ประชาชนก็เชื่อ หากพรรคใช้ชื่อนั้นประชาชนคงไม่เลือก ทุกอย่างอยู่ที่ประชาชน
ต่อมา ที่ประชุมมีมติรับหลักการของร่าง พ.ร.บ.แก้ไขดังกล่าวด้วยเสียง 139 ต่อ 4 จากนั้น นายชาญชัย ลิขิตจิตตถะ รมว.ยุติธรรม ในนามรัฐบาลได้เสนอขอให้ตั้งกรรมาธิการเต็มสภา เพื่อพิจารณา 3 วาระรวด
แต่ปรากฏว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง สนช. สายพันธมิตร ลุกขึ้นอภิปรายไม่เห็นด้วย โดยระบุว่าเป็นการรวบรัด ควรพิจารณาตามขั้นตอนโดยการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาให้รอบคอบ แม้รัฐบาลมีความปรารถนาดี อยากให้ผ่านโดยเร็วก็ตาม ก็น่าเห็นใจรัฐบาล ไม่ว่าพวกเราจะมาจากแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง เราก็เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่ใช่ตัวแทนรัฐบาล หรือคณะใดคณะหนึ่ง ซึ่งการที่จะให้พิจารณาไปตามขั้นตอน ไม่ใช่เป็นความขัดแย้งแต่อย่างใด
จากนั้นนายตวง อันทะไชย พล.อ.ปานเทพ ภูวนาถนุรักษ์ นายคำนูญ สิทธิสมาน อภิปรายสนับสนุนที่ พล.ต.จำลองเสนอ ให้ตั้ง กมธ.และควรนำข้อเสนอมาพิจารณาให้รอบคอบ เมื่อรัฐบาลประกาศจะให้มีการเลือกตั้ง ต้องให้พรรคการเมืองดำเนินกิจการ
โดยนายสำราญ รอดเพชร สนช.สายพันธมิตร ได้เห็นแย้งว่า หาก สนช.ผ่าน 3 วาระรวดวันนี้ แล้วก็สามารถไปตั้งพรรคไทยรักไทยได้ จะเป็นการทำร้ายความรู้สึกของประชาชน เหมือนการเล่นปาหี่ มองการปฏิวัติเป็นขอเล่น เมื่อมีการยุบพรรคแล้วก็ไม่ควรใช้ชื่อซ้ำอีก อย่างไรก็ตาม เมื่อตั้ง กมธ.ก็ควรให้ กกต.เข้ามาเป็น กมธ.
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช.อภิปรายสนับสนุนพิจารณา 3 วาระรวดโดยเห็นว่า การพิจารณา 3 วาระไม่ใช่ประเด็น แต่สิ่งที่สมาชิกห่วงใย คือ จะมีการไปตั้งชื่อเดิมและสร้างความหนักใจกับ กกต.ในการพิจารณาเมื่อมีคำสั่งจะมีการเลือกตั้งในเดือน ธ.ค. ก็ควรให้พรรคการเมืองไปตั้งพรรค และพิจารณาตามที่รัฐบาลเสนอ 3 วาระรวด จะเป็นการปิดการเดินบนถนน เพราะคำวินิจฉัย ตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นข้อหาที่ฉกาจฉกรรจ์ ซึ่งชื่อพรรคนี้ได้ตายไปแล้ว ไม่สามารถนำกลับมาได้แล้ว ถ้าไม่เช่นนั้นก็ควรบัญญัติให้ชัดเจนไปเลยว่า ยกเว้นชื่อที่พรรคการเมืองตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค
ภายหลังอภิปรายใช้เวลานานประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ เวลา 12.55 น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สนช. ได้เสนอปิดอภิปราย จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นด้วยตามที่รัฐบาลเสนอให้ใช้กรรมาธิการเต็มสภาพิจารณา 3 วารรวด ด้วยเสียง112 ต่อ 31 งดออดเสียง 2 และที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 15 คน โดยประกอบด้วยสัดส่วนรัฐบาล คือ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ นายบัญญัติ จันเสนนะ นายประพันธ์ นัยโกวิท ส่วนสัดส่วน สนช. 12 คน อาทิ นายประพันธ์ คูณมี นายคำนูญ สิทธิสมาน นายอรรคพล สรสุชาติ นายสำราญ รอดเพชร นายเจตน์ โทณะวณิก พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง พล.อ.โสภณ ศรีพิพัฒน์ พล.อ.วรเดช ภูมิจิตร นางจุรี วิจิตรวาทการ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายพูนศักดิ์ อยู่ประเสริฐ นายพรเพชร วิชิตชลชัย กำหนดแปรญัตติภายใน 7 วัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุม นายมีชัย ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การพิจารณา 3 วาระรวด ก็ไม่ช่วยให้คลี่คลายปัญหาทางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้ เพราะการตั้งพรรคการเมือง จะใช้ชื่อเก่า ก็จะเป็นปัญหา ต้องไปถามคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะอนุญาตให้ได้หรือไม่ ทั้งนี้ ตนเห็นว่าการจดใช้ชื่อเก่า ก็ไม่ได้มีกฎหมายห้าม เพียงแต่ว่าจะจดตั้งได้เมื่อไร
“ถ้าตามความเห็นของ กกต.ก็เห็นว่า ตราบใดที่พรรคเดิมยังมีอยู่ ก็ไปจดทับชื่อเดิมไม่ได้ และการยุบพรรคการเมืองพรรคนั้นก็ยังจะดำรงอยู่ ตราบเท่าเอื้อประโยชน์แห่งการชำระบัญชี ซึ่ง กกต.ก็ยืนยันว่า จดตั้งพรรคไม่ได้ หากยังชำระบัญชีไม่เสร็จ แต่ทั้งนี้ก็เป็นแค่ความเห็นของ กกต. หากใครจะเห็นแย้งก็สามารถทำได้”นายมีชัย กล่าว