ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน
ราชบัณฑิต
การศึกษา (education) ต่างจากการฝึกอบรม (training) การฝึกอบรมคือการสร้างทักษะเฉพาะด้าน และสามารถใช้ทักษะดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ได้เฉพาะอย่าง เช่น มีการฝึกให้ผลิตตู้อันสวยงาม ผู้ผลิตตู้ก็สามารถจะทำตู้ที่สวยที่สุดจนมีชื่อเลื่องลือไปไกล เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องตู้โดยเฉพาะ แต่ไม่สามารถจะขยายทักษะดังกล่าวไปผลิตตั่ง ผลิตเตียง ผลิตเก้าอี้ ได้อย่างสวยงาม เพราะทักษะที่ได้มาจากการฝึกอบรมเฉพาะเรื่องไม่สามารถอิสระเป็นตัวของตัวเองได้ แต่ถ้าเป็นการศึกษาก็จะถูกสอนให้รู้จักเข้ามุมไม้ ทำรูปร่างต่างๆ ของไม้ อ่านพิมพ์เขียว แบบตู้ แบบตั่ง แบบเตียง สามารถจะผลิตตามพิมพ์เขียวได้ จึงสามารถผลิตได้มากกว่าเพียงชิ้นเดียว ข้อสำคัญถึงจุดๆ หนึ่งสามารถจะออกแบบและเขียนพิมพ์เขียวได้เอง ลักษณะที่กล่าวมานี้ไม่ใช่การฝึกอบรมหรือฝึกทักษะแต่เป็นการศึกษาเพราะมีความสามารถสร้างความรู้ขึ้นมาได้เอง
การศึกษาที่จะเป็นประโยชน์จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ได้ทราบข้อมูล (information หรือ data) ที่สำคัญและจำเป็น เช่น ทราบข้อมูลว่าประเทศไทยประกอบด้วยประชากรเท่าไหร่ รายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่าใด สินค้าส่งออกมีกี่ประเภท มีสัดส่วนเป็นอย่างไร ฯลฯ อันเป็นข้อมูลเบื้องต้นทางเศรษฐกิจและธุรกิจของประเทศ แต่ไม่จำเป็นต้องจำรายละเอียดทุกเรื่อง รวมไปถึงการส่งออกถั่วเขียว ถั่วเหลือง ผักผลไม้ อย่างละเอียดลออ ยกเว้นมีการทำวิจัยเฉพาะเรื่องในส่วนนั้น แต่ที่สำคัญจะต้องรู้วิธีการเข้าถึงข้อมูลและการหาข้อมูลเมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการ การรู้ข้อมูลคือการจำตัวเลข ไม่ใช่ความรู้ (knowledge) ในตัวของมันเอง การจำตัวเลขเป็นเพียงการรู้ข่าวสารข้อมูล (information or data) ซึ่งเป็นประโยชน์ในระดับหนึ่ง แต่ไม่มีใครสามารถจะจำข้อมูลได้ทั้งหมด ดังนั้น เพียงแต่รู้วิธีการหาข้อมูลก็พอเพียง
การศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นให้จำข้อมูล และการวัดผลก็ไม่ได้วัดผลความจำข้อมูล แต่มุ่งเน้นที่การตีความข้อมูลหรือการคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดวิเคราะห์ที่ทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสองตัวขึ้นไป เช่น ข้อมูลเรื่องระดับการศึกษาของคน กับความถี่ในการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งซึ่งมีระดับต่างกัน ถ้ามีข้อมูลบ่งชี้ว่าคนที่ได้รับการศึกษาสูง เช่น จบปริญญาตรีไปใช้สิทธิใช้เสียงในการเลือกตั้งบ่อยครั้งกว่าคนที่ไม่จบปริญญาตรี มีข้อมูลซ้ำๆ เช่นนี้อยู่หลายชุดก็พอจะกล่าวได้ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษาและการตื่นตัวทางการเมือง อันวัดได้จากการไปใช้สิทธิใช้เสียงในการเลือกตั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรนี้มาจากการวิเคราะห์และถือได้ว่าเป็นความรู้ ไม่ใช่ข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว ขณะเดียวกันการวิเคราะห์เช่นนี้ต้องมีการอ้างอิงด้วยข้อมูลของประเทศอื่น ของนักวิชาการอื่น และทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาและความตื่นตัวทางการเมือง
2. การวิเคราะห์ (analysis) จึงเป็นกุญแจสำคัญของการศึกษา คำว่า analysis ในภาษาอังกฤษซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินแปลว่าฉีกออกมาเป็นชิ้นๆ ตัวอย่างเช่น มีวัสดุก้อนหนึ่งหนัก 2.8 ปอนด์ ถ้าต้องการจะวิเคราะห์ว่าวัสดุก้อนนี้ประกอบด้วยอะไรบ้างก็นำไปละลายในน้ำ ซึ่งอาจจะค้นพบว่าประกอบด้วย ดิน 50% กรวด 11% หิน 9% เหล็ก .07% ทองแดง .02% ฯลฯ โดยทั้งหมดนี้ประกอบเป็นวัสดุก้อนดังกล่าว ในทางสังคมศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองเช่นเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ส่วนใหญ่ก็จะมีการพรรณนาถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยการให้ข่าวสารข้อมูล ไม่ค่อยมีการวิเคราะห์หาสาเหตุว่าอะไรเป็นตัวแปรที่นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อันอาจประกอบด้วย การเสียดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาการเมือง ความขัดแย้งในหมู่ผู้นำ การเสียความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐบาลสมัยนั้น ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน บทบาทของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ฯลฯ ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้อาจจะวิเคราะห์ว่าเป็นตัวแปรที่นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในลักษณะเดียวกับการหาส่วนประกอบของวัสดุที่กล่าวมาเบื้องต้น
การตอบคำถามว่าทำไมสิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น ประกอบด้วยตัวแปรอะไรบ้าง คือการพยายามวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ
ระบบการศึกษาที่ดีจะต้องมุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์ ไม่ใช่เน้นที่ท่องจำแต่เพียงอย่างเดียว แต่คำถามที่มีต่อไปคือ ทำอย่างไรจึงจะวิเคราะห์เป็น คำตอบก็คือ การวิเคราะห์จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีจิตวิเคราะห์ (analytical mind) หรือคิดแบบวิเคราะห์ (analytical thinkingหรือ critical thinking) ซึ่งโดยธรรมชาติมนุษย์ใฝ่ที่จะตั้งคำถามและหาคำตอบอยู่แล้ว แต่บ่อยครั้งที่วัฒนธรรมและระบบการศึกษาไม่เอื้ออำนวย ถูกสอนให้ว่านอนสอนง่าย ไม่ซอกแซก ให้ท่องจำข้อมูล และการสอบในการวัดผลก็ใช้วิธีการวัดความจำ ทำให้ประโยชน์จากการคิดวิเคราะห์ลดน้อยลงจนถึงจุดๆ หนึ่งก็กลายเป็นนิสัยเลียนแบบท่องจำแบบนกแก้วนกขุนนกทองมากกว่าการคิดแบบอิสระ และนี่คือจุดบอดของระบบการศึกษาของหลายประเทศ เมื่อคิดวิเคราะห์ไม่เป็นก็ได้ข้อมูลจำกัด ความรู้ไม่งอกเงย ไม่สามารถจะก้าวกระโดดได้ และมีความเป็นตัวของตัวเอง ปัญหาอันใดที่อยู่นอกกรอบความรู้ก็ขบปัญหาไม่แตก ที่สำคัญเมื่อวิเคราะห์ไม่เป็นก็จะไม่สามารถสร้างความคิดและความรู้ใหม่ๆ ได้ คำกล่าวที่ว่า ยิ่งเรียนยิ่งโง่ จึงเป็นความจริงถ้าระบบการศึกษานั้นผิด ยิ่งเรียนมากเท่าไหร่ก็ยิ่งอยู่ภายใต้กรอบที่กำหนดตายตัวเท่านั้น คือการท่องจำข้อมูลเป็นหลัก
3. วิจัย (research) คือการรู้วิธีหาข้อมูล เพื่อนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ในการตอบคำถาม เมื่อมีการวิเคราะห์ตามที่กล่าวมาในข้อ 2 จะต้องพิสูจน์ว่ามีเหตุผลอันน่าเชื่อฟังด้วยข้อมูลประจักษ์ การวิจัยก็คือการหาข้อมูลมาสนับสนุนการวิเคราะห์ มิฉะนั้นจะเป็นการกล่าวอ้างโดยลอยๆ จะเห็นได้ว่า จากข้อมูลเบื้องต้นจนนำไปสู่การวิเคราะห์ และตามมาด้วยการเสริมการวิเคราะห์โดยรู้วิธีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมนั้นคือกระบวนการเรียนรู้ทำความเข้าใจและสร้างความรู้ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยยังอาจขยายขอบข่ายความรู้กว้างออกไปอีก ดังนั้น ผู้ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและวิจัย ก็คือผู้ซึ่งจะสร้างความรู้ใหม่ได้ โดยนอกเหนือจากข้อมูลที่เก็บจากการวิจัยแล้วนี้ยังต้องอ้างข้อมูลที่คนอื่นศึกษาในที่อื่นรวมทั้งทฤษฎีทางสังคมศาสตร์มาทำให้น้ำหนักการวิเคราะห์น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น กระบวนการทั้งหมดนี้คือ การมีข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยหาข้อมูล อันนำไปสู่การสร้างความรู้ (knowledge)
4. การศึกษาเพื่อข้อมูลและเพื่อความรู้ และมีความสามารถในการวิเคราะห์และวิจัยดังกล่าวมาแล้วนั้น ยังตามมาด้วยการรับค่านิยมบางอย่างจากระบบการศึกษา เช่น ถ้ามีการศึกษาเรื่องจริยธรรมก็อาจมีส่วนหล่อหลอมให้กลายเป็นคนที่ตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรม และมีจริยธรรมประจำตัว หรือถ้ามีการศึกษาเรื่องระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็อาจจะกลายเป็นบุคคลที่มีความศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย พัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นประชาธิปไตย ถ้าเป็นนักกฎหมายก็อาจจะทำให้เกิดความรู้เรื่องนิติปรัชญาและจริยธรรมของนักกฎหมายขึ้นได้
5. ความรู้ที่ได้มาจากกระบวนการ 4 ข้อที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้น จะต้องสามารถนำไปประยุกต์เพื่อประกอบการงาน ประกอบอาชีพ เข้าใจปัญหา และแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น ความรู้เรื่องสสารเมื่อได้รับความร้อนจะเกิดการขยายตัว ก็จะนำไปสู่การวางรางรถไฟให้ห่าง 1 เซนติเมตร เมื่อเหล็กได้รับความร้อนจากแสงแดด หรือการแล่นของรถจักรและขบวนรถก็จะขยายตัว แต่เนื่องจากมีช่องว่างจึงไม่โก่งขึ้นจนอาจทำให้รถตกรางได้ และที่สำคัญความรู้นั้นต้องสามารถนำไปประยุกต์ เข้าใจตัวเอง เข้าใจสภาพแวดล้อม และเข้าใจชีวิต เพื่อสามารถนำไปแก้ปัญหาชีวิตทั้งในส่วนตนเองและครอบครัว และความสัมพันธ์กับคนอื่น คนยิ่งมีความรู้ควรยิ่งมีความสามารถในการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตมากขึ้นและมีความสุขมากขึ้น มิฉะนั้นจะกลายเป็นความล้มเหลวของการศึกษา ยิ่งรู้มากยิ่งมีความทุกข์
จุดบอดของการศึกษาในหลายสังคมคือการมุ่งเน้นในการจำข้อมูลจนคิดไม่เป็น จึงได้ประโยชน์เฉพาะความรู้ในลักษณะการฝึกอบรม (training) ซึ่งมีขอบเขตจำกัด ไม่ใช่การศึกษา (education) ซึ่งเป็นการเปิดประตูไปสู่การคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการสร้างความรู้ ความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ นำไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การศึกษาที่มุ่งแต่การท่องจำ วัดผลโดยการถามการจำข้อมูล นำไปสู่การเกิดของอาจารย์แบบคาราโอเกะ คือแปลจากคำสอนของฝรั่งให้นักศึกษาฟัง จากนั้นก็ถามข้อสอบให้นักศึกษาตอบตามความจำ นักศึกษาจะขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ใช้เหตุใช้ผลเป็นตัวของตัวเอง เมื่อโตขึ้นจนประกอบอาชีพก็ยังคงรักษานิสัยดังกล่าวไว้ พอรับข่าวสารข้อมูลใดก็ไม่คิดวิเคราะห์เหมือนกินอาหารไม่มีการเคี้ยวใช้กลืนแทน ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย และสามารถปลุกเป็นกระแสทางการเมืองได้ หรือถ้าต้องการจะวิเคราะห์ก็ขาดภูมิปัญญาเนื่องจากข้อมูลความรู้ที่เรียนมามีจำกัด ประกอบกับการไม่ชอบอ่านหนังสือ อ่านเฉพาะหนังสือพิมพ์รายวันและที่เกี่ยวกับวิชาชีพของตนจึงมักจะวิเคราะห์ปัญหาโดยขาดองค์ความรู้ที่มีอยู่จำกัดนั้น ถ้าไม่เพียงพอก็ใช้สามัญสำนึกและความเชื่อทางศาสนาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ และผลสุดท้ายก็ใช้วิธีแบบที่เรียกว่า ที่บรรพบุรุษเคยทำมา สภาวะดังกล่าวนี้ทำให้ขาดความสามารถในการเข้าใจปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ วางแนวทางแก้ไข จนบางครั้งเกิดความรู้สึกว่าปัญหาที่สังคมเผชิญอยู่เหลือความสามารถของผู้รับผิดชอบโดยตรงในสังคม และความรู้สึกดังกล่าวเลยไปถึงองค์กรที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงด้วย
ราชบัณฑิต
การศึกษา (education) ต่างจากการฝึกอบรม (training) การฝึกอบรมคือการสร้างทักษะเฉพาะด้าน และสามารถใช้ทักษะดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ได้เฉพาะอย่าง เช่น มีการฝึกให้ผลิตตู้อันสวยงาม ผู้ผลิตตู้ก็สามารถจะทำตู้ที่สวยที่สุดจนมีชื่อเลื่องลือไปไกล เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องตู้โดยเฉพาะ แต่ไม่สามารถจะขยายทักษะดังกล่าวไปผลิตตั่ง ผลิตเตียง ผลิตเก้าอี้ ได้อย่างสวยงาม เพราะทักษะที่ได้มาจากการฝึกอบรมเฉพาะเรื่องไม่สามารถอิสระเป็นตัวของตัวเองได้ แต่ถ้าเป็นการศึกษาก็จะถูกสอนให้รู้จักเข้ามุมไม้ ทำรูปร่างต่างๆ ของไม้ อ่านพิมพ์เขียว แบบตู้ แบบตั่ง แบบเตียง สามารถจะผลิตตามพิมพ์เขียวได้ จึงสามารถผลิตได้มากกว่าเพียงชิ้นเดียว ข้อสำคัญถึงจุดๆ หนึ่งสามารถจะออกแบบและเขียนพิมพ์เขียวได้เอง ลักษณะที่กล่าวมานี้ไม่ใช่การฝึกอบรมหรือฝึกทักษะแต่เป็นการศึกษาเพราะมีความสามารถสร้างความรู้ขึ้นมาได้เอง
การศึกษาที่จะเป็นประโยชน์จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ได้ทราบข้อมูล (information หรือ data) ที่สำคัญและจำเป็น เช่น ทราบข้อมูลว่าประเทศไทยประกอบด้วยประชากรเท่าไหร่ รายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่าใด สินค้าส่งออกมีกี่ประเภท มีสัดส่วนเป็นอย่างไร ฯลฯ อันเป็นข้อมูลเบื้องต้นทางเศรษฐกิจและธุรกิจของประเทศ แต่ไม่จำเป็นต้องจำรายละเอียดทุกเรื่อง รวมไปถึงการส่งออกถั่วเขียว ถั่วเหลือง ผักผลไม้ อย่างละเอียดลออ ยกเว้นมีการทำวิจัยเฉพาะเรื่องในส่วนนั้น แต่ที่สำคัญจะต้องรู้วิธีการเข้าถึงข้อมูลและการหาข้อมูลเมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการ การรู้ข้อมูลคือการจำตัวเลข ไม่ใช่ความรู้ (knowledge) ในตัวของมันเอง การจำตัวเลขเป็นเพียงการรู้ข่าวสารข้อมูล (information or data) ซึ่งเป็นประโยชน์ในระดับหนึ่ง แต่ไม่มีใครสามารถจะจำข้อมูลได้ทั้งหมด ดังนั้น เพียงแต่รู้วิธีการหาข้อมูลก็พอเพียง
การศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นให้จำข้อมูล และการวัดผลก็ไม่ได้วัดผลความจำข้อมูล แต่มุ่งเน้นที่การตีความข้อมูลหรือการคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดวิเคราะห์ที่ทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสองตัวขึ้นไป เช่น ข้อมูลเรื่องระดับการศึกษาของคน กับความถี่ในการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งซึ่งมีระดับต่างกัน ถ้ามีข้อมูลบ่งชี้ว่าคนที่ได้รับการศึกษาสูง เช่น จบปริญญาตรีไปใช้สิทธิใช้เสียงในการเลือกตั้งบ่อยครั้งกว่าคนที่ไม่จบปริญญาตรี มีข้อมูลซ้ำๆ เช่นนี้อยู่หลายชุดก็พอจะกล่าวได้ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษาและการตื่นตัวทางการเมือง อันวัดได้จากการไปใช้สิทธิใช้เสียงในการเลือกตั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรนี้มาจากการวิเคราะห์และถือได้ว่าเป็นความรู้ ไม่ใช่ข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว ขณะเดียวกันการวิเคราะห์เช่นนี้ต้องมีการอ้างอิงด้วยข้อมูลของประเทศอื่น ของนักวิชาการอื่น และทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาและความตื่นตัวทางการเมือง
2. การวิเคราะห์ (analysis) จึงเป็นกุญแจสำคัญของการศึกษา คำว่า analysis ในภาษาอังกฤษซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินแปลว่าฉีกออกมาเป็นชิ้นๆ ตัวอย่างเช่น มีวัสดุก้อนหนึ่งหนัก 2.8 ปอนด์ ถ้าต้องการจะวิเคราะห์ว่าวัสดุก้อนนี้ประกอบด้วยอะไรบ้างก็นำไปละลายในน้ำ ซึ่งอาจจะค้นพบว่าประกอบด้วย ดิน 50% กรวด 11% หิน 9% เหล็ก .07% ทองแดง .02% ฯลฯ โดยทั้งหมดนี้ประกอบเป็นวัสดุก้อนดังกล่าว ในทางสังคมศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองเช่นเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ส่วนใหญ่ก็จะมีการพรรณนาถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยการให้ข่าวสารข้อมูล ไม่ค่อยมีการวิเคราะห์หาสาเหตุว่าอะไรเป็นตัวแปรที่นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อันอาจประกอบด้วย การเสียดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาการเมือง ความขัดแย้งในหมู่ผู้นำ การเสียความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐบาลสมัยนั้น ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน บทบาทของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ฯลฯ ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้อาจจะวิเคราะห์ว่าเป็นตัวแปรที่นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในลักษณะเดียวกับการหาส่วนประกอบของวัสดุที่กล่าวมาเบื้องต้น
การตอบคำถามว่าทำไมสิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น ประกอบด้วยตัวแปรอะไรบ้าง คือการพยายามวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ
ระบบการศึกษาที่ดีจะต้องมุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์ ไม่ใช่เน้นที่ท่องจำแต่เพียงอย่างเดียว แต่คำถามที่มีต่อไปคือ ทำอย่างไรจึงจะวิเคราะห์เป็น คำตอบก็คือ การวิเคราะห์จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีจิตวิเคราะห์ (analytical mind) หรือคิดแบบวิเคราะห์ (analytical thinkingหรือ critical thinking) ซึ่งโดยธรรมชาติมนุษย์ใฝ่ที่จะตั้งคำถามและหาคำตอบอยู่แล้ว แต่บ่อยครั้งที่วัฒนธรรมและระบบการศึกษาไม่เอื้ออำนวย ถูกสอนให้ว่านอนสอนง่าย ไม่ซอกแซก ให้ท่องจำข้อมูล และการสอบในการวัดผลก็ใช้วิธีการวัดความจำ ทำให้ประโยชน์จากการคิดวิเคราะห์ลดน้อยลงจนถึงจุดๆ หนึ่งก็กลายเป็นนิสัยเลียนแบบท่องจำแบบนกแก้วนกขุนนกทองมากกว่าการคิดแบบอิสระ และนี่คือจุดบอดของระบบการศึกษาของหลายประเทศ เมื่อคิดวิเคราะห์ไม่เป็นก็ได้ข้อมูลจำกัด ความรู้ไม่งอกเงย ไม่สามารถจะก้าวกระโดดได้ และมีความเป็นตัวของตัวเอง ปัญหาอันใดที่อยู่นอกกรอบความรู้ก็ขบปัญหาไม่แตก ที่สำคัญเมื่อวิเคราะห์ไม่เป็นก็จะไม่สามารถสร้างความคิดและความรู้ใหม่ๆ ได้ คำกล่าวที่ว่า ยิ่งเรียนยิ่งโง่ จึงเป็นความจริงถ้าระบบการศึกษานั้นผิด ยิ่งเรียนมากเท่าไหร่ก็ยิ่งอยู่ภายใต้กรอบที่กำหนดตายตัวเท่านั้น คือการท่องจำข้อมูลเป็นหลัก
3. วิจัย (research) คือการรู้วิธีหาข้อมูล เพื่อนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ในการตอบคำถาม เมื่อมีการวิเคราะห์ตามที่กล่าวมาในข้อ 2 จะต้องพิสูจน์ว่ามีเหตุผลอันน่าเชื่อฟังด้วยข้อมูลประจักษ์ การวิจัยก็คือการหาข้อมูลมาสนับสนุนการวิเคราะห์ มิฉะนั้นจะเป็นการกล่าวอ้างโดยลอยๆ จะเห็นได้ว่า จากข้อมูลเบื้องต้นจนนำไปสู่การวิเคราะห์ และตามมาด้วยการเสริมการวิเคราะห์โดยรู้วิธีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมนั้นคือกระบวนการเรียนรู้ทำความเข้าใจและสร้างความรู้ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยยังอาจขยายขอบข่ายความรู้กว้างออกไปอีก ดังนั้น ผู้ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและวิจัย ก็คือผู้ซึ่งจะสร้างความรู้ใหม่ได้ โดยนอกเหนือจากข้อมูลที่เก็บจากการวิจัยแล้วนี้ยังต้องอ้างข้อมูลที่คนอื่นศึกษาในที่อื่นรวมทั้งทฤษฎีทางสังคมศาสตร์มาทำให้น้ำหนักการวิเคราะห์น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น กระบวนการทั้งหมดนี้คือ การมีข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยหาข้อมูล อันนำไปสู่การสร้างความรู้ (knowledge)
4. การศึกษาเพื่อข้อมูลและเพื่อความรู้ และมีความสามารถในการวิเคราะห์และวิจัยดังกล่าวมาแล้วนั้น ยังตามมาด้วยการรับค่านิยมบางอย่างจากระบบการศึกษา เช่น ถ้ามีการศึกษาเรื่องจริยธรรมก็อาจมีส่วนหล่อหลอมให้กลายเป็นคนที่ตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรม และมีจริยธรรมประจำตัว หรือถ้ามีการศึกษาเรื่องระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็อาจจะกลายเป็นบุคคลที่มีความศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย พัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นประชาธิปไตย ถ้าเป็นนักกฎหมายก็อาจจะทำให้เกิดความรู้เรื่องนิติปรัชญาและจริยธรรมของนักกฎหมายขึ้นได้
5. ความรู้ที่ได้มาจากกระบวนการ 4 ข้อที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้น จะต้องสามารถนำไปประยุกต์เพื่อประกอบการงาน ประกอบอาชีพ เข้าใจปัญหา และแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น ความรู้เรื่องสสารเมื่อได้รับความร้อนจะเกิดการขยายตัว ก็จะนำไปสู่การวางรางรถไฟให้ห่าง 1 เซนติเมตร เมื่อเหล็กได้รับความร้อนจากแสงแดด หรือการแล่นของรถจักรและขบวนรถก็จะขยายตัว แต่เนื่องจากมีช่องว่างจึงไม่โก่งขึ้นจนอาจทำให้รถตกรางได้ และที่สำคัญความรู้นั้นต้องสามารถนำไปประยุกต์ เข้าใจตัวเอง เข้าใจสภาพแวดล้อม และเข้าใจชีวิต เพื่อสามารถนำไปแก้ปัญหาชีวิตทั้งในส่วนตนเองและครอบครัว และความสัมพันธ์กับคนอื่น คนยิ่งมีความรู้ควรยิ่งมีความสามารถในการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตมากขึ้นและมีความสุขมากขึ้น มิฉะนั้นจะกลายเป็นความล้มเหลวของการศึกษา ยิ่งรู้มากยิ่งมีความทุกข์
จุดบอดของการศึกษาในหลายสังคมคือการมุ่งเน้นในการจำข้อมูลจนคิดไม่เป็น จึงได้ประโยชน์เฉพาะความรู้ในลักษณะการฝึกอบรม (training) ซึ่งมีขอบเขตจำกัด ไม่ใช่การศึกษา (education) ซึ่งเป็นการเปิดประตูไปสู่การคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการสร้างความรู้ ความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ นำไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การศึกษาที่มุ่งแต่การท่องจำ วัดผลโดยการถามการจำข้อมูล นำไปสู่การเกิดของอาจารย์แบบคาราโอเกะ คือแปลจากคำสอนของฝรั่งให้นักศึกษาฟัง จากนั้นก็ถามข้อสอบให้นักศึกษาตอบตามความจำ นักศึกษาจะขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ใช้เหตุใช้ผลเป็นตัวของตัวเอง เมื่อโตขึ้นจนประกอบอาชีพก็ยังคงรักษานิสัยดังกล่าวไว้ พอรับข่าวสารข้อมูลใดก็ไม่คิดวิเคราะห์เหมือนกินอาหารไม่มีการเคี้ยวใช้กลืนแทน ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย และสามารถปลุกเป็นกระแสทางการเมืองได้ หรือถ้าต้องการจะวิเคราะห์ก็ขาดภูมิปัญญาเนื่องจากข้อมูลความรู้ที่เรียนมามีจำกัด ประกอบกับการไม่ชอบอ่านหนังสือ อ่านเฉพาะหนังสือพิมพ์รายวันและที่เกี่ยวกับวิชาชีพของตนจึงมักจะวิเคราะห์ปัญหาโดยขาดองค์ความรู้ที่มีอยู่จำกัดนั้น ถ้าไม่เพียงพอก็ใช้สามัญสำนึกและความเชื่อทางศาสนาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ และผลสุดท้ายก็ใช้วิธีแบบที่เรียกว่า ที่บรรพบุรุษเคยทำมา สภาวะดังกล่าวนี้ทำให้ขาดความสามารถในการเข้าใจปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ วางแนวทางแก้ไข จนบางครั้งเกิดความรู้สึกว่าปัญหาที่สังคมเผชิญอยู่เหลือความสามารถของผู้รับผิดชอบโดยตรงในสังคม และความรู้สึกดังกล่าวเลยไปถึงองค์กรที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงด้วย