.
คำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่บันทึกผ่านวีซีดีมาเปิดให้ผู้ชุมนุมคนเชียร์ทักษิณ ณ ท้องสนามหลวงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นับว่าท้าทาย ทั้ง คมช. รัฐบาล และ คตส.
ถ้าเป็นแฟนงิ้วธรรมศาสตร์ ก็คงได้ยินเสียงตัวละครตัวนี้ตะโกนว่า “กูไม่ผิด...กูถูกแกล้ง...”
ความเป็นนักพูดของทักษิณนั้นยังสื่อสารในการโน้มน้าวให้คล้อยตามได้ดีเช่นเคย ซึ่งคนที่ไม่ติดตามตรวจสอบความเป็นจริงก็อาจเคลิ้มไปได้ เพราะฟังดูดีทุกที
การออกข่าวล่วงหน้าไว้ตอนแรกว่าจะถ่ายทอดสดการพูดผ่านดาวเทียมมาขึ้นที่สนามหลวง จึงสร้างแรงดึงดูดความสนใจให้กับการชุมนุมของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องทักษิณได้คึกคักมากขึ้น
คำพูดครั้งนี้แม้จะมิได้มีคำพูดปลุกระดมสั่งตรงถึงผู้ชุมนุม แต่ก็สอดคล้องกับการรับลูกของแกนนำการชุมนุมที่ได้รับแรงหนุนมาอย่างดี จนมีเวทีขนาดใหญ่ เครื่องเสียงแรงสูง ให้เคลื่อนไหวกดดันคมช.เต็มที่
การอ้างตรรกะว่า คมช. เป็นเผด็จการ เพราะโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยไม่สนใจว่าเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกและมาด้วยการใช้เงิน รวมทั้งมีการแทรกแซงองค์กรตรวจสอบ ทำให้หลักการและกลไกตามรัฐธรรมนูญไม่มีความหมาย
ทั้งๆ ที่การรัฐประหารเกิดขึ้น เพราะเกิดวิกฤตทางการเมือง และการต่อต้านความเสียหายจากการทุจริตคอร์รัปชันที่มากมายในยุครัฐบาลทักษิณ
ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยอมรับการล้มรัฐบาลเดิม เพื่อหวังให้เกิดการสะสางปัญหา และปฏิรูประบบใหม่
เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายต่อรัฐ หรือ คตส. เชื่อมั่นว่ามีหลักฐานแน่นพอที่จะเชื่อได้ว่ามีการทุจริตและประพฤติมิชอบจนรัฐเกิดความเสียหาย จึงยื่นเรื่องให้ดำเนินคดีทางศาล พร้อมกับใช้อำนาจทางกฎหมายสั่งอายัดทรัพย์ที่เป็นบัญชีเงินฝากของ คุณทักษิณ ภรรยา และลูก
เมื่อมองด้านที่เป็นประโยชน์ของสังคม กรณีศึกษาเหล่านี้น่าจะเป็นบทเรียนที่เตือนใจนักการเมืองให้ตระหนัก ไม่สร้างความเสียหายต่อระบบ และละเมิดจริยธรรม
จากการวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่สั่ง “ยุบพรรคไทยรักไทย” ซึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับตีพิมพ์เป็นข่าวพาดหัวตัวโตพิเศษที่หน้าแรกทำนองว่า ประหารระบอบทักษิณ ปิดฉากพรรคไทยรักไทย จึงเป็นบทเรียนที่ต้องจดจำ
ตามมาด้วย ประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 ซึ่งถือเป็นกฎหมายก็ให้ถอดถอนสิทธิ์ทางการเมืองเลือกตั้งกรรมการบริหารเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากพรรคไทยรักไทยถูกลงโทษให้ยุบพรรค
และล่าสุดคือ ที่ คตส. สั่งอายัดทรัพย์เพื่อเป็นหลักประกันรองรับการดำเนินคดีที่รัฐเสียหายมหาศาล
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็คงตระหนักว่า คำวินิจฉัยออกมาอย่างไรก็ย่อมเผชิญกับการวิจารณ์จากผู้มีส่วนได้เสียและวงวิชาการ จึงได้เขียนเหตุผลประกอบอย่างละเอียด ต้องอ่านกันเกือบ 10 ชั่วโมง
รวมทั้งการชี้แจงของ คตส. เกี่ยวกับเหตุปัจจัยที่ต้องสั่งอายัดทรัพย์สินบัญชีเงินฝาก
แต่การที่คุณทักษิณยังกล้าท้าทายศาลว่ากระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซง รวมทั้งมีอำนาจแทรกแซง คตส. ให้ดำเนินการกลั่นแกล้ง
แสดงว่าไม่สำนึกผิด ความผิดที่ถูกเปิดโปงจากคำวินิจฉัยเสมือนเป็น “แผลแตก” ที่ยังไม่ชัดหรืออย่างไร ?
ขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวที่รับใช้และปกป้องระบอบทักษิณ ยังอ้างคำว่า “ขับไล่เผด็จการ” เพียงเพราะต้องการล้มอำนาจใหม่ เพื่อหวังฟื้นอำนาจเก่า
ดังนั้นจึงน่าจะเป็นโอกาสที่ คมช. และรัฐบาล ชี้แจงเอามูลเหตุความผิดหลายคดีของคุณทักษิณ และครอบครัวที่สร้างความเสียหายต่อรัฐ และทำลายหลักความถูกต้องอย่างไร
เป็นการย้ำ “แผลแตก” ให้ชัดขึ้น
การให้ความรู้ ความเข้าใจ จะช่วยให้สังคมรู้จักแยกแยะความถูก ความผิด
ความเห็นที่เคยแตกต่าง หรือเป็นความขัดแย้ง เมื่อเกิด “ปัญญา” คือ “เห็นแก่ความถูกต้อง และผลประโยชน์ประเทศชาติ” เป็นแนวทางเดียวกัน ความขัดแย้งก็จะลดลง
แต่กลุ่มเกเร หากไม่กลับใจ ต้องใช้อำนาจตามกฎหมายจัดการ
คำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่บันทึกผ่านวีซีดีมาเปิดให้ผู้ชุมนุมคนเชียร์ทักษิณ ณ ท้องสนามหลวงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นับว่าท้าทาย ทั้ง คมช. รัฐบาล และ คตส.
ถ้าเป็นแฟนงิ้วธรรมศาสตร์ ก็คงได้ยินเสียงตัวละครตัวนี้ตะโกนว่า “กูไม่ผิด...กูถูกแกล้ง...”
ความเป็นนักพูดของทักษิณนั้นยังสื่อสารในการโน้มน้าวให้คล้อยตามได้ดีเช่นเคย ซึ่งคนที่ไม่ติดตามตรวจสอบความเป็นจริงก็อาจเคลิ้มไปได้ เพราะฟังดูดีทุกที
การออกข่าวล่วงหน้าไว้ตอนแรกว่าจะถ่ายทอดสดการพูดผ่านดาวเทียมมาขึ้นที่สนามหลวง จึงสร้างแรงดึงดูดความสนใจให้กับการชุมนุมของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องทักษิณได้คึกคักมากขึ้น
คำพูดครั้งนี้แม้จะมิได้มีคำพูดปลุกระดมสั่งตรงถึงผู้ชุมนุม แต่ก็สอดคล้องกับการรับลูกของแกนนำการชุมนุมที่ได้รับแรงหนุนมาอย่างดี จนมีเวทีขนาดใหญ่ เครื่องเสียงแรงสูง ให้เคลื่อนไหวกดดันคมช.เต็มที่
การอ้างตรรกะว่า คมช. เป็นเผด็จการ เพราะโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยไม่สนใจว่าเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกและมาด้วยการใช้เงิน รวมทั้งมีการแทรกแซงองค์กรตรวจสอบ ทำให้หลักการและกลไกตามรัฐธรรมนูญไม่มีความหมาย
ทั้งๆ ที่การรัฐประหารเกิดขึ้น เพราะเกิดวิกฤตทางการเมือง และการต่อต้านความเสียหายจากการทุจริตคอร์รัปชันที่มากมายในยุครัฐบาลทักษิณ
ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยอมรับการล้มรัฐบาลเดิม เพื่อหวังให้เกิดการสะสางปัญหา และปฏิรูประบบใหม่
เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายต่อรัฐ หรือ คตส. เชื่อมั่นว่ามีหลักฐานแน่นพอที่จะเชื่อได้ว่ามีการทุจริตและประพฤติมิชอบจนรัฐเกิดความเสียหาย จึงยื่นเรื่องให้ดำเนินคดีทางศาล พร้อมกับใช้อำนาจทางกฎหมายสั่งอายัดทรัพย์ที่เป็นบัญชีเงินฝากของ คุณทักษิณ ภรรยา และลูก
เมื่อมองด้านที่เป็นประโยชน์ของสังคม กรณีศึกษาเหล่านี้น่าจะเป็นบทเรียนที่เตือนใจนักการเมืองให้ตระหนัก ไม่สร้างความเสียหายต่อระบบ และละเมิดจริยธรรม
จากการวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่สั่ง “ยุบพรรคไทยรักไทย” ซึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับตีพิมพ์เป็นข่าวพาดหัวตัวโตพิเศษที่หน้าแรกทำนองว่า ประหารระบอบทักษิณ ปิดฉากพรรคไทยรักไทย จึงเป็นบทเรียนที่ต้องจดจำ
ตามมาด้วย ประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 ซึ่งถือเป็นกฎหมายก็ให้ถอดถอนสิทธิ์ทางการเมืองเลือกตั้งกรรมการบริหารเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากพรรคไทยรักไทยถูกลงโทษให้ยุบพรรค
และล่าสุดคือ ที่ คตส. สั่งอายัดทรัพย์เพื่อเป็นหลักประกันรองรับการดำเนินคดีที่รัฐเสียหายมหาศาล
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็คงตระหนักว่า คำวินิจฉัยออกมาอย่างไรก็ย่อมเผชิญกับการวิจารณ์จากผู้มีส่วนได้เสียและวงวิชาการ จึงได้เขียนเหตุผลประกอบอย่างละเอียด ต้องอ่านกันเกือบ 10 ชั่วโมง
รวมทั้งการชี้แจงของ คตส. เกี่ยวกับเหตุปัจจัยที่ต้องสั่งอายัดทรัพย์สินบัญชีเงินฝาก
แต่การที่คุณทักษิณยังกล้าท้าทายศาลว่ากระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซง รวมทั้งมีอำนาจแทรกแซง คตส. ให้ดำเนินการกลั่นแกล้ง
แสดงว่าไม่สำนึกผิด ความผิดที่ถูกเปิดโปงจากคำวินิจฉัยเสมือนเป็น “แผลแตก” ที่ยังไม่ชัดหรืออย่างไร ?
ขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวที่รับใช้และปกป้องระบอบทักษิณ ยังอ้างคำว่า “ขับไล่เผด็จการ” เพียงเพราะต้องการล้มอำนาจใหม่ เพื่อหวังฟื้นอำนาจเก่า
ดังนั้นจึงน่าจะเป็นโอกาสที่ คมช. และรัฐบาล ชี้แจงเอามูลเหตุความผิดหลายคดีของคุณทักษิณ และครอบครัวที่สร้างความเสียหายต่อรัฐ และทำลายหลักความถูกต้องอย่างไร
เป็นการย้ำ “แผลแตก” ให้ชัดขึ้น
การให้ความรู้ ความเข้าใจ จะช่วยให้สังคมรู้จักแยกแยะความถูก ความผิด
ความเห็นที่เคยแตกต่าง หรือเป็นความขัดแย้ง เมื่อเกิด “ปัญญา” คือ “เห็นแก่ความถูกต้อง และผลประโยชน์ประเทศชาติ” เป็นแนวทางเดียวกัน ความขัดแย้งก็จะลดลง
แต่กลุ่มเกเร หากไม่กลับใจ ต้องใช้อำนาจตามกฎหมายจัดการ