.
แม้ว่าจะมีสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่ควรจะเป็นรายงาน “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” ในวันนี้, เช่นการปฏิบัติการ “ม็อบทักษิณ” ในวันเสาร์นี้ ที่จะเป็นม็อบแบบสะสมความสำเร็จอีกครั้ง ก่อนจะถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2550 ที่ทางม็อบว่าจะเป็นวันแตกหัก แต่ดูเหมือนว่า จะต้องมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็น “ครั้งสำคัญ” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะในวันที่ 19 มิถุนายนที่ “หญิงอ้อ” จะต้องไปศาลในคดีที่ดินรัชดาภิเษก...รวมทั้งการอายัดทรัพย์
เรื่องการเรียกร้อง ประชาธิปไตยแบบ “ทักษิณ” นั้น จะมีการปรับกลยุทธ์ใหม่ โดยถือว่าวันที่ 9 มิถุนายน เป็นบทเรียนสำคัญที่กลายเป็นการเรียกร้องให้คืนอำนาจแก่ “ทักษิณ” ที่ถือว่าจุดนี้มาเร็วไป และทำให้เกิดช่องโหว่ขึ้น
รายงานวันนี้, ต้องละวางจากประเด็นอื่นๆ มาสู่เรื่องของ “นายพลวังเปา” กับพวก ซึ่งถูกตำรวจจับกุมที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในข้อหาสะสมอาวุธและมีแผนการล้มล้างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.) โดยมีเป้าหมายการปฏิบัติการจู่โจมยึดสถานที่สำคัญในนครเวียงจันทน์ และสะหวันเขตก่อน, การที่ต้องรายงานเรื่องนี้ก็เพราะเป็นช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปิดเผยสิ่งที่เป็นความลับอยู่มานานปี หรือความลับในปัจจุบัน เป็นการขยายความตามเนื้อหาของข่าวที่เกิดขึ้นให้มีความชัดเจนแบบสรุปย่อเป็นข้อๆ ไป โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคืออดีตและปัจจุบันดังนี้:-
1. “นายพลวังเปา” เป็นผู้นำเชื้อสายม้ง (แม้ว) ที่มีสัญชาติลาว (ปัจจุบันวังเปาเป็นพลเมืองอเมริกันเหมือนกับผู้นำอื่นๆ ที่ลี้ภัยไปจากลาว) โดยที่ลาวเรียกชนกลุ่มน้อยนี้ว่า “ลาวเทิง” (เทิง-แปลว่าข้างบนหรือที่สูง) ส่วนคนลาวตามพื้นราบเรียกว่า “ลาวลุ่ม” นายพลวังเปามียศทางทหารของรัฐบาลลาวฝ่ายขวาเป็น “พลโท” ตำแหน่งแม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 มีกองบัญชาการอยู่ที่ “วังเวียง” ใกล้กับทุ่งไหหิน ความรับผิดชอบอยู่ที่พื้นที่ลาวเหนือทั้งหมด คือด้านเหนือติดกับจีน ตะวันออกติดเวียดนาม ตะวันตกติดพม่าและไทย ซึ่งเป็นพื้นที่กว้างใหญ่มาก โดยเฉพาะความรับผิดชอบอย่างสำคัญที่นครหลวงพระบาง ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต
2. ลาวในขณะนั้นมีฝ่ายขวาที่ พล.อ.ภูมี หน่อสะหวัน เป็นผู้นำขุมกำลังสำคัญอยู่ที่ลาวตอนใต้ โดยมี เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก เป็นผู้นำทางมวลชน, ลาวฝ่ายซ้าย-มี เจ้าสุภานุวงศ์ เป็นผู้นำทางมวลชน แต่ผู้นำทางพรรคแนวลาวฮักชาด คือ ท้าวไกสอน พมวิหาน และลาวฝ่ายเป็นกลาง-เจ้าสุวรรณภูมา พระเชษฐาต่างมารดาของ เจ้าสุภานุวงศ์ เป็นผู้นำ และเป็นนายกรัฐมนตรีกุมอำนาจทางสากลอยู่นครเวียงจันทน์
3. สาธารณรัฐสังคมนิยมอินโดจีนตามแนวทางของโฮจิมินห์ คือ เวียดนาม เขมร ลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีการสู้รบระหว่างฝ่ายซ้าย (กองบัญชาการอยู่เชียงขวาง) กับลาวฝ่ายขวา ไปพร้อมๆ กับสงครามเวียดนาม, ญวนได้สนับสนุนฝ่ายซ้ายเป็นแนวร่วมเดียวกัน ทางสหรัฐอเมริกาจึงเข้าสนับสนุนลาวฝ่ายขวาอย่างเต็มตัว และเปิดฉากสงครามที่ไม่มีการประกาศ (แต่ไม่ลับ) ในลาว โดย ซีไอเอของสหรัฐฯ เข้ามาเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมดเหมือนกับว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย
4. ซีไอเอจัดกำลังเสมือนกองทัพของตัวเอง มีกำลังทางอากาศที่ใช้สนับสนุนการลำเลียง ทั้งเครื่องบินลำเลียงปอร์ตเตอร์ เครื่องบินซี-123 และซี-47 (ดาโกต้า) รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์ โดย บริษัทแอร์อเมริกา เป็นผู้มารับจ้างในภารกิจนี้ มีนักบินเป็นฟิลิปปินส์และไต้หวันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเครื่องบินรบนั้นยังเป็นของกองทัพอากาศลาว ใช้เครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดแบบ T-28 เป็นหลัก มีสนามบินหลักอยู่ที่วังเวียง คือที่มั่นของนายพลวังเปา ที่สนามบินวัดไตในเวียงจันทน์ และขอใช้สนามบินอุดรธานีด้วยในบางห้วงเวลา โดยที่ “นักบิน” นั้น มีทั้งนักบินลาวและนักบินไทย ที่ทำเรื่องลาออกจากราชการไปแล้ว ถือเป็นการไปกระทำการส่วนตัว กองทัพไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และนักบินไทยที่ว่านี้ ก็มีชื่อเรียกแบบลาวด้วย เช่น “ท้าวฟ้าลั่น” เป็นต้น, สำหรับสนามบินที่วังเวียงนั้น มีชื่อที่รู้จักกันในนามสนามบินซำทองร่องแจ้ง
5. มีการประสานภารกิจดังกล่าวในระดับรัฐบาลไทยกับลาว โดยนายทหารติดต่อประสานงานกับทางเวียงจันทน์ คือ พล.อ.ไพฑูรย์ อิงคตาบุวัฒน์ ซึ่งต่อมาเป็นแกนนำผู้ก่อตั้งพรรคชาติไทย และมีการตั้งกองบัญชาการทางทหารสำหรับภารกิจ คือ บภ. 33 อยู่ที่ค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ตัวอาคารกองบัญชาการเป็นตึกสีขาว จึงเรียกว่า “บก.ตึกขาว” มีผู้ใช้รหัส “เทพ” เป็น ผบ.บก. 33 นี้ ซึ่งต่อมาก็ไม่มีการปิดบังว่า “เทพ” หรือ “เทพ 33” คือ พล.อ.วิทูร ยะสวัสดิ์ โดยที่ “เทพ 33” นี้เป็นผู้ได้รับมอบอำนาจหรือกุมอำนาจการบังคับบัญชาอย่างสูงมาก สำหรับภารกิจในลาว เช่น สามารถเรียกเครื่องบิน B-52 จากเกาะกวม หรือจากฐานทัพอื่นๆ เช่น ไต้หวัน หรือฟิลิปปินส์ รวมทั้งจากสนามบินอู่ตะเภา มาปฏิบัติการทิ้งระเบิดในลาวได้
6. การส่งกำลังภาคพื้นดินไปปฏิบัติการในลาว ต่อสงครามที่ไม่มีการเปิดเผยนี้ ในระยะแรกๆ มีการจัดกำลังไปจาก “กองพันพิเศษ” ค่ายสฤษดิ์เสนา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก, กองพันพิเศษหรือพัน.พิเศษนี้มีอยู่กองพันเดียวที่ตั้งขึ้นมาในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีทหารพลร่มเป็นผู้บังคับกองพัน และตำรวจพลร่ม เป็นรองผู้บังคับกองพันจัดกำลังผสมเหล่าระหว่างทหารพลร่ม และตำรวจพลร่ม ทางตำรวจพลร่มนั้น ผู้ที่เคยไปปฏิบัติการในลาวรวม 2 รอบคือ พล.ต.อ.ไกรสุข สินศุข (อดีตรอง ผบ.ตร.) เป็นต้น, โดยกำลังจากพัน.พิเศษนี้ก็ลาออกจากราชการก่อนไปลาวเช่นกัน
7. พล.อ.วิมล วงศ์วานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก รวมทั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ต่างก็เคยไป “ราชการพิเศษ” ที่สมรภูมิลาว เมื่อครั้งอยู่กองพันพิเศษ ผู้ที่ผ่านการรบอย่างเจียนอยู่เจียนตาย คือพล.อ.วิมล ที่นำทหารแทรกซึมเข้าไปเพื่อจะโจมตีกองบัญชาการของฝ่ายตรงข้ามด้วย การพายเรือไปตามลำน้ำเล็กๆ ในเวลากลางคืนเดือนมืด และถูกซุ่มโจมตีก่อนถึงที่หมาย ขณะที่อยู่ในเรือพาย ต้องว่ายน้ำเข้าฝั่งและทำการรบถึงขั้นประจันบานแบบตัวต่อตัว, ปัจจุบันกองพันพิเศษคือ กรบรบพิเศษที่ 4 กองพลรบพิเศษที่ 1
8. ทหารพลร่มไทยที่เข้าปฏิบัติการชุดแรกๆ คือ พล.อ.ปรีชา โรจนเสน (ขณะเป็นร้อยโท) ขณะนั้น พล.อ.ปรีชา เป็นทหารพลร่มอยู่กองพันส่งทางอากาศ (พัน.สอ.) ศูนย์สงครามพิเศษ ค่ายเอราวัณ และเป็นผู้ริเริ่มในการตั้ง “ทหารพราน” ในลาวขึ้นที่เรียกว่า “ทหารพรานลาว” พล.อ.ปรีชา มีตำแหน่งทางทหารหลังสุดคือรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
9. ผู้ที่นำกำลังปฏิบัติการในลาวเข้าไปลึกที่สุด คือไปถึง “เดียนเบียนฟู” แดนญวน คือ พล.อ.อรพันธุ์ วัฒนวิบูลย์ และเป็นทหารไทยคนสุดท้ายที่ออกมาจากลาว คือนำชุดสุดท้ายกลับออกมามีกำลังพล 27 คน พล.อ.อรพันธุ์ มีตำแหน่งหลังสุดเป็นเสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด
ข้างต้นเป็นการสรุปย่อถึงอดีต...ซึ่งในปัจจุบันการสรุปย่อหัวข้อที่น่าสนใจคือ
1. หลังจากที่ฝ่ายซ้ายเข้ายึดอำนาจในเวียงจันทน์ได้ โดยผู้นำการปฏิบัติทางทหารคือ พล.อ.ประดิษฐ์ เที่ยงธรรม ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของลาวฝ่ายซ้าย (พล.อ.ประดิษฐ์ เป็นคนไทย บ้านเกิดอยู่อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร) และ พล.อ.คำไต สีพันดอน รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (เป็นคนไทยบ้านนาหว้า จังหวัดมุกดาหาร) เจ้ามหาชีวิตพระเจ้าศรีสว่างฯ ถูกกักตัวอยู่ในพระราชวังที่หลวงพระบาง ทรงมีฐานะอย่างสามัญชน แต่ทางพรรคแนวลาวฮักชาด ได้แต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการฝ่ายปรองดองชาติของพรรค (ก็คงเหมือนกับการสมานฉันท์) กลุ่มลาวขวาได้ลี้ภัยเข้ามาในไทย และผู้ที่มีฐานะดี รวมทั้งฝ่าย ราชวงศ์ศรีสว่างวงศ์ ไปอยู่ที่ฝรั่งเศสเป็นส่วนใหญ่ และตั้งกลุ่มกู้ชาติขึ้นอย่างลับๆ ส่วนนายพลวังเปาและครอบครัว รวมทั้งผู้นำทางทหารของเขา ได้รับการดูแลจากซีโอเอ สหรัฐอเมริกา ให้ไปพำนักที่สหรัฐอเมริกา พร้อมกับรับตัวทั้งลาวเทิงลาวลุ่มเป็นจำนวนมากไปอยู่สหรัฐฯ และได้เป็นพลเมืองอเมริกันด้วย ลาวฝ่ายขวาส่วนหนึ่งไปอยู่ที่ออสเตรเลีย ทั้งที่อยู่ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียมีการประสานงานกันใกล้ชิด
2. บก. 333 ที่ “ตึกขาว” อุดรธานีนั้น ยังไม่ปิดตัวทันที เมื่อ “ลาวแตก” ใน พ.ศ. 2518 แต่ลดบทบาทลง, ในขณะเดียวกันที่ลาวก็มี กลุ่มต่อต้านรัฐบาลใหม่ คือรัฐบาลสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในลาว เรียกว่า กตต. (กลุ่มต่อต้าน) มีรหัสเรียกขานกลุ่มต่อต้านนี้ว่า เอบี-13 (AB-13) และเชื่อว่าซีไอเอของสหรัฐฯ ยังไม่ได้ละทิ้งมิตรที่เคยร่วมรบกันมาเสียเลยทีเดียว รัฐบาลใหม่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีปัญหามากในการปราบปราม กตต.ที่กระจายอยู่ทั่วทุกแขวง มีการปฏิบัติการรุนแรงที่สุดในแขวงจำปาสักและสะหวันเขตทางภาคใต้ที่แขวงหลวงน้ำทา แขวงบ่อแก้วในภาคเหนือ และแขวงไชยะบุรีทางตะวันตก
3. กตต.หรือ AB-13 มีอยู่ทั้งประเทศประมาณ 3 หมื่นคน มีการปฏิบัติการอย่างแข็งขันในระยะแรกๆ แต่เบามือลงในระยะ พ.ศ. 2525 เนื่องจากถูกปราบปรามไปมาก และขาดการสนับสนุนจากภายนอก เรียกว่า AB-13 ของกลุ่มลาวแทบจะสลายตัวในปีนั้น แต่ทางกลุ่มลาวเทิง เผ่าม้ง ที่อยู่ตามป่าเขา ยังมีเรี่ยวแรงดำเนินการต่อไป และย้ายเขตปฏิบัติการมาเคลื่อนไหวอยู่ทางแขวงไชยะบุรี เป็นส่วนใหญ่ โดยสภาพที่ตั้งของแขวงนี้อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำโขง ทางเหนือติดอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และทางตะวันตกก็ติดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ มาจนถึงอุตรดิตถ์ พิษณุโลก ทางด้านใต้ติดกับอำเภอนาแห้ว อำเภอท่าลี่ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มีเขตปฏิบัติการที่สำคัญอยู่ทางอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ โดย AB-13 เผ่าลาวม้งเกาะติดอยู่ตามตะเข็บชายแดน ยังมีการปราบปรามสู้รบกับทหารรัฐบาลอยู่จนทุกวันนี้ โดยลาวม้งได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากลาวอพยพที่ไปตั้งรกรากอยู่ต่างประเทศ มีอาวุธซึ่งมีอยู่เดิมและได้รับเพิ่มเติมหมู่บ้านลาวม้งหลายแห่งในแขวงไชยะบุรีนี้ ยังใช้ธงชาติแบบเดิมของลาว คือธงพื้นสีแดง มีรูปช้างสามเศียร สีขาวอยู่ตรงกลาง ไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของรัฐบาลที่เวียงจันทน์
4. AB-13 (กตต.) มีการปฏิบัติการอยู่ในหลายๆ แขวง โดยใช้ยุทธวิธีแบบกองโจร ก่อกวนสร้างความไม่สงบ มีการวางระเบิดทำลายเส้นทางคมนาคม และมีการวางระเบิดในนครเวียงจันทน์ด้วยหลายครั้ง มีการปลุกระดมว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีสมเด็จเจ้ามหาชีวิตทรงเป็นประมุขจะกลับมา มีการเปิดเผยตัวพระรัชทายาทซึ่งทรงมีสิทธิใน พระราชบัลลังก์ล้านช้างร่มขาว (แต่ถูกลอบปลงพระชนม์พร้อมพระชายาที่จังหวัดหนองคาย เมื่อ 2 ปีที่แล้ว) มีการแบ่งหน้าที่กัน คือเรื่องพระราชวงศ์และรัฐบาลเป็นหน้าที่ของผู้ลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศส ส่วนการปฏิบัติการด้านอื่นๆ เป็นของ AB-13 ที่มีการเร่งมือขึ้นในแขวงไชยะบุรี และจำปาสัก ทั้งสองแขวงนี้อำนาจของรัฐบาลที่เวียงจันทน์ยังเข้าไปไม่ได้เต็มพื้นที่ โดยเฉพาะที่แขวงไชยะบุรีที่มีปัญหาเรื่องนี้มาก
5. ลาวฝ่ายขวาในฐานะผู้อพยพ หรือผู้ต้องการอพยพมีอยู่ 95% ที่เป็นลาวม้ง ถือว่าตัวเองเป็นผู้พลัดถิ่น ได้มาอยู่ที่ วัดถ้ำกระบอก อำเภอขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นจำนวนมากนับพันคน เป็นปัญหาที่สะสมกันมานานประมาณ 15 ปีแล้ว ที่เริ่มมาจากมีผู้มารักษาให้เลิกยาเสพติด และมีพี่น้องตามมาแล้วตั้งครอบครัวขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ ชาวลาวม้งที่ถ้ำกระบอกมีญาติพี่น้องไปอยู่สหรัฐอเมริกาอยู่มาก ได้ส่งเงินมาช่วยเหลือ และมีบางช่วงที่เดินทางจากสหรัฐฯ มาเยี่ยมเยียนกันเป็นคณะใหญ่ๆ ม้งลาวที่ถ้ำกระบอกถือว่าเป็นผู้ “รอสัมภาษณ์” ในการอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกา หรือออสเตรเลีย มีสภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) ดูแลอยู่, และยังมีม้งลาวอีก ประมาณ 8 พันคน ได้อพยพจากแขวงไชยะบุรี เดินมาตามเทือกเขาจากลาวเข้าไทย และมีปลายทางอยู่ที่บ้านน้ำขาว บ้านเช็กน้อย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ม้งลาวชุดใหม่มีปัญหามากเพราะขัดแย้งกับม้งไทยที่อยู่ในศูนย์อพยพบ้านเช็กน้อย ที่เคยเป็นแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จึงเกิดความขัดแย้งทางความคิดการเมืองแบบขวาปัจจุบันกับซ้ายเก่า, ทางรัฐบาลลาวมีความกังวลมากเกี่ยวกับม้งอพยพที่ น้ำขาว-เช็กน้อย เพราะเป็นผู้ที่สามารถเคลื่อนไหวกลับไปที่แขวงไชยะบุรีได้โดยง่าย มีการระบุว่าเป็นกองกำลังของ AB-13 ที่หลบหนีการโจมตีกวาดล้างของรัฐบาลลาวเข้ามาพักพิงในไทย และระบุได้เต็มปากว่า ม้งลาวส่วนนี้หรือรวมทั้งที่วัดถ้ำกระบอก สระบุรี เป็น “ม้งวังเปา”
แม้ว่าจะมีสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่ควรจะเป็นรายงาน “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” ในวันนี้, เช่นการปฏิบัติการ “ม็อบทักษิณ” ในวันเสาร์นี้ ที่จะเป็นม็อบแบบสะสมความสำเร็จอีกครั้ง ก่อนจะถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2550 ที่ทางม็อบว่าจะเป็นวันแตกหัก แต่ดูเหมือนว่า จะต้องมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็น “ครั้งสำคัญ” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะในวันที่ 19 มิถุนายนที่ “หญิงอ้อ” จะต้องไปศาลในคดีที่ดินรัชดาภิเษก...รวมทั้งการอายัดทรัพย์
เรื่องการเรียกร้อง ประชาธิปไตยแบบ “ทักษิณ” นั้น จะมีการปรับกลยุทธ์ใหม่ โดยถือว่าวันที่ 9 มิถุนายน เป็นบทเรียนสำคัญที่กลายเป็นการเรียกร้องให้คืนอำนาจแก่ “ทักษิณ” ที่ถือว่าจุดนี้มาเร็วไป และทำให้เกิดช่องโหว่ขึ้น
รายงานวันนี้, ต้องละวางจากประเด็นอื่นๆ มาสู่เรื่องของ “นายพลวังเปา” กับพวก ซึ่งถูกตำรวจจับกุมที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในข้อหาสะสมอาวุธและมีแผนการล้มล้างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.) โดยมีเป้าหมายการปฏิบัติการจู่โจมยึดสถานที่สำคัญในนครเวียงจันทน์ และสะหวันเขตก่อน, การที่ต้องรายงานเรื่องนี้ก็เพราะเป็นช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปิดเผยสิ่งที่เป็นความลับอยู่มานานปี หรือความลับในปัจจุบัน เป็นการขยายความตามเนื้อหาของข่าวที่เกิดขึ้นให้มีความชัดเจนแบบสรุปย่อเป็นข้อๆ ไป โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคืออดีตและปัจจุบันดังนี้:-
1. “นายพลวังเปา” เป็นผู้นำเชื้อสายม้ง (แม้ว) ที่มีสัญชาติลาว (ปัจจุบันวังเปาเป็นพลเมืองอเมริกันเหมือนกับผู้นำอื่นๆ ที่ลี้ภัยไปจากลาว) โดยที่ลาวเรียกชนกลุ่มน้อยนี้ว่า “ลาวเทิง” (เทิง-แปลว่าข้างบนหรือที่สูง) ส่วนคนลาวตามพื้นราบเรียกว่า “ลาวลุ่ม” นายพลวังเปามียศทางทหารของรัฐบาลลาวฝ่ายขวาเป็น “พลโท” ตำแหน่งแม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 มีกองบัญชาการอยู่ที่ “วังเวียง” ใกล้กับทุ่งไหหิน ความรับผิดชอบอยู่ที่พื้นที่ลาวเหนือทั้งหมด คือด้านเหนือติดกับจีน ตะวันออกติดเวียดนาม ตะวันตกติดพม่าและไทย ซึ่งเป็นพื้นที่กว้างใหญ่มาก โดยเฉพาะความรับผิดชอบอย่างสำคัญที่นครหลวงพระบาง ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต
2. ลาวในขณะนั้นมีฝ่ายขวาที่ พล.อ.ภูมี หน่อสะหวัน เป็นผู้นำขุมกำลังสำคัญอยู่ที่ลาวตอนใต้ โดยมี เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก เป็นผู้นำทางมวลชน, ลาวฝ่ายซ้าย-มี เจ้าสุภานุวงศ์ เป็นผู้นำทางมวลชน แต่ผู้นำทางพรรคแนวลาวฮักชาด คือ ท้าวไกสอน พมวิหาน และลาวฝ่ายเป็นกลาง-เจ้าสุวรรณภูมา พระเชษฐาต่างมารดาของ เจ้าสุภานุวงศ์ เป็นผู้นำ และเป็นนายกรัฐมนตรีกุมอำนาจทางสากลอยู่นครเวียงจันทน์
3. สาธารณรัฐสังคมนิยมอินโดจีนตามแนวทางของโฮจิมินห์ คือ เวียดนาม เขมร ลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีการสู้รบระหว่างฝ่ายซ้าย (กองบัญชาการอยู่เชียงขวาง) กับลาวฝ่ายขวา ไปพร้อมๆ กับสงครามเวียดนาม, ญวนได้สนับสนุนฝ่ายซ้ายเป็นแนวร่วมเดียวกัน ทางสหรัฐอเมริกาจึงเข้าสนับสนุนลาวฝ่ายขวาอย่างเต็มตัว และเปิดฉากสงครามที่ไม่มีการประกาศ (แต่ไม่ลับ) ในลาว โดย ซีไอเอของสหรัฐฯ เข้ามาเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมดเหมือนกับว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย
4. ซีไอเอจัดกำลังเสมือนกองทัพของตัวเอง มีกำลังทางอากาศที่ใช้สนับสนุนการลำเลียง ทั้งเครื่องบินลำเลียงปอร์ตเตอร์ เครื่องบินซี-123 และซี-47 (ดาโกต้า) รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์ โดย บริษัทแอร์อเมริกา เป็นผู้มารับจ้างในภารกิจนี้ มีนักบินเป็นฟิลิปปินส์และไต้หวันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเครื่องบินรบนั้นยังเป็นของกองทัพอากาศลาว ใช้เครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดแบบ T-28 เป็นหลัก มีสนามบินหลักอยู่ที่วังเวียง คือที่มั่นของนายพลวังเปา ที่สนามบินวัดไตในเวียงจันทน์ และขอใช้สนามบินอุดรธานีด้วยในบางห้วงเวลา โดยที่ “นักบิน” นั้น มีทั้งนักบินลาวและนักบินไทย ที่ทำเรื่องลาออกจากราชการไปแล้ว ถือเป็นการไปกระทำการส่วนตัว กองทัพไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และนักบินไทยที่ว่านี้ ก็มีชื่อเรียกแบบลาวด้วย เช่น “ท้าวฟ้าลั่น” เป็นต้น, สำหรับสนามบินที่วังเวียงนั้น มีชื่อที่รู้จักกันในนามสนามบินซำทองร่องแจ้ง
5. มีการประสานภารกิจดังกล่าวในระดับรัฐบาลไทยกับลาว โดยนายทหารติดต่อประสานงานกับทางเวียงจันทน์ คือ พล.อ.ไพฑูรย์ อิงคตาบุวัฒน์ ซึ่งต่อมาเป็นแกนนำผู้ก่อตั้งพรรคชาติไทย และมีการตั้งกองบัญชาการทางทหารสำหรับภารกิจ คือ บภ. 33 อยู่ที่ค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ตัวอาคารกองบัญชาการเป็นตึกสีขาว จึงเรียกว่า “บก.ตึกขาว” มีผู้ใช้รหัส “เทพ” เป็น ผบ.บก. 33 นี้ ซึ่งต่อมาก็ไม่มีการปิดบังว่า “เทพ” หรือ “เทพ 33” คือ พล.อ.วิทูร ยะสวัสดิ์ โดยที่ “เทพ 33” นี้เป็นผู้ได้รับมอบอำนาจหรือกุมอำนาจการบังคับบัญชาอย่างสูงมาก สำหรับภารกิจในลาว เช่น สามารถเรียกเครื่องบิน B-52 จากเกาะกวม หรือจากฐานทัพอื่นๆ เช่น ไต้หวัน หรือฟิลิปปินส์ รวมทั้งจากสนามบินอู่ตะเภา มาปฏิบัติการทิ้งระเบิดในลาวได้
6. การส่งกำลังภาคพื้นดินไปปฏิบัติการในลาว ต่อสงครามที่ไม่มีการเปิดเผยนี้ ในระยะแรกๆ มีการจัดกำลังไปจาก “กองพันพิเศษ” ค่ายสฤษดิ์เสนา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก, กองพันพิเศษหรือพัน.พิเศษนี้มีอยู่กองพันเดียวที่ตั้งขึ้นมาในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีทหารพลร่มเป็นผู้บังคับกองพัน และตำรวจพลร่ม เป็นรองผู้บังคับกองพันจัดกำลังผสมเหล่าระหว่างทหารพลร่ม และตำรวจพลร่ม ทางตำรวจพลร่มนั้น ผู้ที่เคยไปปฏิบัติการในลาวรวม 2 รอบคือ พล.ต.อ.ไกรสุข สินศุข (อดีตรอง ผบ.ตร.) เป็นต้น, โดยกำลังจากพัน.พิเศษนี้ก็ลาออกจากราชการก่อนไปลาวเช่นกัน
7. พล.อ.วิมล วงศ์วานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก รวมทั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ต่างก็เคยไป “ราชการพิเศษ” ที่สมรภูมิลาว เมื่อครั้งอยู่กองพันพิเศษ ผู้ที่ผ่านการรบอย่างเจียนอยู่เจียนตาย คือพล.อ.วิมล ที่นำทหารแทรกซึมเข้าไปเพื่อจะโจมตีกองบัญชาการของฝ่ายตรงข้ามด้วย การพายเรือไปตามลำน้ำเล็กๆ ในเวลากลางคืนเดือนมืด และถูกซุ่มโจมตีก่อนถึงที่หมาย ขณะที่อยู่ในเรือพาย ต้องว่ายน้ำเข้าฝั่งและทำการรบถึงขั้นประจันบานแบบตัวต่อตัว, ปัจจุบันกองพันพิเศษคือ กรบรบพิเศษที่ 4 กองพลรบพิเศษที่ 1
8. ทหารพลร่มไทยที่เข้าปฏิบัติการชุดแรกๆ คือ พล.อ.ปรีชา โรจนเสน (ขณะเป็นร้อยโท) ขณะนั้น พล.อ.ปรีชา เป็นทหารพลร่มอยู่กองพันส่งทางอากาศ (พัน.สอ.) ศูนย์สงครามพิเศษ ค่ายเอราวัณ และเป็นผู้ริเริ่มในการตั้ง “ทหารพราน” ในลาวขึ้นที่เรียกว่า “ทหารพรานลาว” พล.อ.ปรีชา มีตำแหน่งทางทหารหลังสุดคือรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
9. ผู้ที่นำกำลังปฏิบัติการในลาวเข้าไปลึกที่สุด คือไปถึง “เดียนเบียนฟู” แดนญวน คือ พล.อ.อรพันธุ์ วัฒนวิบูลย์ และเป็นทหารไทยคนสุดท้ายที่ออกมาจากลาว คือนำชุดสุดท้ายกลับออกมามีกำลังพล 27 คน พล.อ.อรพันธุ์ มีตำแหน่งหลังสุดเป็นเสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด
ข้างต้นเป็นการสรุปย่อถึงอดีต...ซึ่งในปัจจุบันการสรุปย่อหัวข้อที่น่าสนใจคือ
1. หลังจากที่ฝ่ายซ้ายเข้ายึดอำนาจในเวียงจันทน์ได้ โดยผู้นำการปฏิบัติทางทหารคือ พล.อ.ประดิษฐ์ เที่ยงธรรม ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของลาวฝ่ายซ้าย (พล.อ.ประดิษฐ์ เป็นคนไทย บ้านเกิดอยู่อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร) และ พล.อ.คำไต สีพันดอน รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (เป็นคนไทยบ้านนาหว้า จังหวัดมุกดาหาร) เจ้ามหาชีวิตพระเจ้าศรีสว่างฯ ถูกกักตัวอยู่ในพระราชวังที่หลวงพระบาง ทรงมีฐานะอย่างสามัญชน แต่ทางพรรคแนวลาวฮักชาด ได้แต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการฝ่ายปรองดองชาติของพรรค (ก็คงเหมือนกับการสมานฉันท์) กลุ่มลาวขวาได้ลี้ภัยเข้ามาในไทย และผู้ที่มีฐานะดี รวมทั้งฝ่าย ราชวงศ์ศรีสว่างวงศ์ ไปอยู่ที่ฝรั่งเศสเป็นส่วนใหญ่ และตั้งกลุ่มกู้ชาติขึ้นอย่างลับๆ ส่วนนายพลวังเปาและครอบครัว รวมทั้งผู้นำทางทหารของเขา ได้รับการดูแลจากซีโอเอ สหรัฐอเมริกา ให้ไปพำนักที่สหรัฐอเมริกา พร้อมกับรับตัวทั้งลาวเทิงลาวลุ่มเป็นจำนวนมากไปอยู่สหรัฐฯ และได้เป็นพลเมืองอเมริกันด้วย ลาวฝ่ายขวาส่วนหนึ่งไปอยู่ที่ออสเตรเลีย ทั้งที่อยู่ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียมีการประสานงานกันใกล้ชิด
2. บก. 333 ที่ “ตึกขาว” อุดรธานีนั้น ยังไม่ปิดตัวทันที เมื่อ “ลาวแตก” ใน พ.ศ. 2518 แต่ลดบทบาทลง, ในขณะเดียวกันที่ลาวก็มี กลุ่มต่อต้านรัฐบาลใหม่ คือรัฐบาลสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในลาว เรียกว่า กตต. (กลุ่มต่อต้าน) มีรหัสเรียกขานกลุ่มต่อต้านนี้ว่า เอบี-13 (AB-13) และเชื่อว่าซีไอเอของสหรัฐฯ ยังไม่ได้ละทิ้งมิตรที่เคยร่วมรบกันมาเสียเลยทีเดียว รัฐบาลใหม่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีปัญหามากในการปราบปราม กตต.ที่กระจายอยู่ทั่วทุกแขวง มีการปฏิบัติการรุนแรงที่สุดในแขวงจำปาสักและสะหวันเขตทางภาคใต้ที่แขวงหลวงน้ำทา แขวงบ่อแก้วในภาคเหนือ และแขวงไชยะบุรีทางตะวันตก
3. กตต.หรือ AB-13 มีอยู่ทั้งประเทศประมาณ 3 หมื่นคน มีการปฏิบัติการอย่างแข็งขันในระยะแรกๆ แต่เบามือลงในระยะ พ.ศ. 2525 เนื่องจากถูกปราบปรามไปมาก และขาดการสนับสนุนจากภายนอก เรียกว่า AB-13 ของกลุ่มลาวแทบจะสลายตัวในปีนั้น แต่ทางกลุ่มลาวเทิง เผ่าม้ง ที่อยู่ตามป่าเขา ยังมีเรี่ยวแรงดำเนินการต่อไป และย้ายเขตปฏิบัติการมาเคลื่อนไหวอยู่ทางแขวงไชยะบุรี เป็นส่วนใหญ่ โดยสภาพที่ตั้งของแขวงนี้อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำโขง ทางเหนือติดอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และทางตะวันตกก็ติดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ มาจนถึงอุตรดิตถ์ พิษณุโลก ทางด้านใต้ติดกับอำเภอนาแห้ว อำเภอท่าลี่ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มีเขตปฏิบัติการที่สำคัญอยู่ทางอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ โดย AB-13 เผ่าลาวม้งเกาะติดอยู่ตามตะเข็บชายแดน ยังมีการปราบปรามสู้รบกับทหารรัฐบาลอยู่จนทุกวันนี้ โดยลาวม้งได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากลาวอพยพที่ไปตั้งรกรากอยู่ต่างประเทศ มีอาวุธซึ่งมีอยู่เดิมและได้รับเพิ่มเติมหมู่บ้านลาวม้งหลายแห่งในแขวงไชยะบุรีนี้ ยังใช้ธงชาติแบบเดิมของลาว คือธงพื้นสีแดง มีรูปช้างสามเศียร สีขาวอยู่ตรงกลาง ไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของรัฐบาลที่เวียงจันทน์
4. AB-13 (กตต.) มีการปฏิบัติการอยู่ในหลายๆ แขวง โดยใช้ยุทธวิธีแบบกองโจร ก่อกวนสร้างความไม่สงบ มีการวางระเบิดทำลายเส้นทางคมนาคม และมีการวางระเบิดในนครเวียงจันทน์ด้วยหลายครั้ง มีการปลุกระดมว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีสมเด็จเจ้ามหาชีวิตทรงเป็นประมุขจะกลับมา มีการเปิดเผยตัวพระรัชทายาทซึ่งทรงมีสิทธิใน พระราชบัลลังก์ล้านช้างร่มขาว (แต่ถูกลอบปลงพระชนม์พร้อมพระชายาที่จังหวัดหนองคาย เมื่อ 2 ปีที่แล้ว) มีการแบ่งหน้าที่กัน คือเรื่องพระราชวงศ์และรัฐบาลเป็นหน้าที่ของผู้ลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศส ส่วนการปฏิบัติการด้านอื่นๆ เป็นของ AB-13 ที่มีการเร่งมือขึ้นในแขวงไชยะบุรี และจำปาสัก ทั้งสองแขวงนี้อำนาจของรัฐบาลที่เวียงจันทน์ยังเข้าไปไม่ได้เต็มพื้นที่ โดยเฉพาะที่แขวงไชยะบุรีที่มีปัญหาเรื่องนี้มาก
5. ลาวฝ่ายขวาในฐานะผู้อพยพ หรือผู้ต้องการอพยพมีอยู่ 95% ที่เป็นลาวม้ง ถือว่าตัวเองเป็นผู้พลัดถิ่น ได้มาอยู่ที่ วัดถ้ำกระบอก อำเภอขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นจำนวนมากนับพันคน เป็นปัญหาที่สะสมกันมานานประมาณ 15 ปีแล้ว ที่เริ่มมาจากมีผู้มารักษาให้เลิกยาเสพติด และมีพี่น้องตามมาแล้วตั้งครอบครัวขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ ชาวลาวม้งที่ถ้ำกระบอกมีญาติพี่น้องไปอยู่สหรัฐอเมริกาอยู่มาก ได้ส่งเงินมาช่วยเหลือ และมีบางช่วงที่เดินทางจากสหรัฐฯ มาเยี่ยมเยียนกันเป็นคณะใหญ่ๆ ม้งลาวที่ถ้ำกระบอกถือว่าเป็นผู้ “รอสัมภาษณ์” ในการอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกา หรือออสเตรเลีย มีสภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) ดูแลอยู่, และยังมีม้งลาวอีก ประมาณ 8 พันคน ได้อพยพจากแขวงไชยะบุรี เดินมาตามเทือกเขาจากลาวเข้าไทย และมีปลายทางอยู่ที่บ้านน้ำขาว บ้านเช็กน้อย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ม้งลาวชุดใหม่มีปัญหามากเพราะขัดแย้งกับม้งไทยที่อยู่ในศูนย์อพยพบ้านเช็กน้อย ที่เคยเป็นแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จึงเกิดความขัดแย้งทางความคิดการเมืองแบบขวาปัจจุบันกับซ้ายเก่า, ทางรัฐบาลลาวมีความกังวลมากเกี่ยวกับม้งอพยพที่ น้ำขาว-เช็กน้อย เพราะเป็นผู้ที่สามารถเคลื่อนไหวกลับไปที่แขวงไชยะบุรีได้โดยง่าย มีการระบุว่าเป็นกองกำลังของ AB-13 ที่หลบหนีการโจมตีกวาดล้างของรัฐบาลลาวเข้ามาพักพิงในไทย และระบุได้เต็มปากว่า ม้งลาวส่วนนี้หรือรวมทั้งที่วัดถ้ำกระบอก สระบุรี เป็น “ม้งวังเปา”