ปิดฉากโรงงานยาสูบ "แม้ว-เหยียนปิน" ประธานบอร์ดฯ เตรียมเสนอ ครม.ทบทวนมติก่อสร้างโรงงานยาสูบเชียงใหม่ คาดเข้า ครม.ภายในเดือนหน้า กำหนดสเป็คสร้างแห่งเดียวจาก กทม.รัศมีไม่เกิน 200 กิโลเมตร กำลังการผลิต 3.5 หมื่นล้านมวนต่อปี ให้เหตุผลด้านต้นทุนขนส่งถูกกว่าสร้างที่เชียงใหม่ เผยอยู่ระหว่างหารือกับอัยการสูงสุดหวั่นขัดแย้งข้อกฎหมายและป้องกันกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-จีน
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมสรรพสามิต ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบ เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการโรงงานยาสูบได้ส่งเรื่องโครงการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ทดแทนโรงงานเดิมย่านถนนพระราม 4 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมือง โดยจะให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาลชุดที่แล้วที่ให้ก่อสร้างที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ และที่จ.สระบุรีให้เหลือเพียงแห่งเดียว
โดยโรงงานยาสูบได้กำหนดโครงการก่อสร้างไว้ให้เหลือเพียงแห่งเดียวตั้งอยู่ในพื้นที่รัศมีไม่เกิน 200 กิโลเมตรจากกรุงเทพมหานครแต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นที่ใด เนื่องจากจะทำให้เกิดการเก็งกำไรที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างโรงงานยาสูบ ทั้งนี้การกำหนดพื้นที่ก่อสร้างในรัศมี 200 กิโลเมตรจากกรุงเทพมหานครเนื่องจากเมื่อคำนวณต้นทุนขนส่งด้านการกระจายสินค้าแล้วพบว่าถูกกว่าการก่อสร้างที่จ.เชียงใหม่มาก
“เมื่อพิจารณาต้นทุนด้านการขนส่งแล้วหากมีการก่อสร้างโรงงานที่เชียงใหม่ต้นทุนขนส่งวัตถุดิบจะถูกกว่าแต่ในแง่การกระจายสินค้าหากโรงงานตั้งอยู่ภาคกลางซึ่งผู้บริโภคยาสูบ 60-70% อยู่ในพื้นที่นี้จะพบว่าต้นทุนการกระจายสินค้าจะถูกกว่าและมีความคุ้มค่าในการลงทุนกว่ามาก ซึ่งโรงงานยาสูบจะพยายามผลักดันเข้าสู่ที่ประชุมครม.ให้ได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้” นายวิสุทธิ์ กล่าว
นายวิสุทธิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับงบประมาณการก่อสร้างอาจมีการปรับลดลงบ้างเนื่องจากการก่อสร้างเหลือเพียงแห่งเดียวและให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมที่รณรงค์ให้มีการลดการบริโภคยาสูบ โดยกำลังการผลิตของโรงงานแห่งใหม่จะอยู่ที่ 35,000 ล้านมวนต่อปี นอกจากนี้ในการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่จะไม่ให้มีผลกระทบต่อชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงและไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
โดยในระหว่างที่รอการพิจารณาของกระทรวงการคลังเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการอำนวยการโรงงายยาสูบได้หารือกับอัยการสูงสุดว่าการทบทวนมติครม.เดิมหรือไม่อย่างไร แต่ที่ผ่านมาเป็นเพียงการลงนามความเข้าใจกับรัฐบาลจีนในเบื้องต้นเท่านั้นยังไม่มีการเซ็นสัญญาว่าจ้างให้มีการก่อสร้างแต่อย่างใดซึ่งคาดว่าคงไม่มีปัญหาด้านกฎหมายตามมา
“ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างหารือข้อกฎหมายกับอัยการสูงสุดว่าจะมีปัญหาอะไรหรือไม่และในระหว่างที่รอนี้ได้ให้ที่ปรึกษาดูว่าการก่อสร้างจะให้เป็นโครงการเดียวกันทั้งหมดทั้งตัวอาคารและเครื่องจักร หรือให้แยกกันเพราะในส่วนของตัวอาคารผู้ประกอบการไทยสามารถก่อสร้างได้หรืออาจให้ตั้งเป็นบริษัทร่วมทุนกับประเทศผู้ผลิตเครื่องจักรแล้วเข้าร่วมประมูลอยากให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างโปร่งใส” นายวิสุทธิ์ กล่าว
นอกจากนี้ในการทบทวนมติครม.เดิมจะต้องพิจารณารูปแบบการก่อสร้างทั้งหมดทั้งการก่อสร้างเครื่องจักรที่เดิมตกลงว่าจ้างบริษัท CHINA YUNNAN CORPORATION FOR INTERNATIONAL TECNO-ECONOMIC COOPERATIVE (CYC) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และการจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบบาร์เตอร์เทรดแลกสินค้าเกษตรกับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต
ส่วนความคืบหน้าในการสรรหาผู้อำนวยการโรงงานยาสูบนั้นเดิมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2550 คณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบกำหนดให้ผู้ผ่านการคัดเลือก 3 คนสุดท้ายที่คณะกรรมการสรรหาส่งรายชื่อมาเข้าแสดงวิสัยทัศน์ แต่ในวันดังกล่าวกรรมการโรงงานยาสูบหลายรายติดภารกิจในต่างประเทศจึงต้องเลื่อนการแสดงวิสัยทัศน์ออกไปและจะนัดให้มีการเข้าแสดงวิสัยทัศน์ใหม่ในวันที่ 26 มิถุนายนนี้
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2547 ครม.ชุดเดิมได้มีมติให้ก่อสร้างโรงงานผลิตยาสูบแห่งใหม่บนที่ดินราชพัสดุ ตำบลแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยการดำเนินการในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ระหว่างรัฐบาลไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีน การก่อสร้างโรงงานและการติดตั้งเครื่องจักรได้มอบหมายให้บริษัท CYC เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ เริ่มก่อสร้างประมาณต้นปี 2548 แล้วเสร็จภายใน 1,220 วัน
โรงงานผลิตยาสูบ จังหวัดเชียงใหม่ กำลังการผลิต 25,000 ล้านมวนต่อปี ทำงาน 2 ผลัด เป็นโรงงาน ที่ทันสมัย มาตรฐานเดียวกับประเทศชั้นนำ มีระบบกำจัดมลภาวะ (PLASMA CAT) ที่ทันสมัยใช้ในยุโรปตะวันออก เป็นที่ยอมรับของภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าเป็นระบบที่ดีที่สุด และยังมีห้องทดลอง สำหรับตรวจสอบทุกระบบในการผลิต ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม
โดยเหตุผลที่รัฐบาลชุดที่แล้วเลือกพื้นที่ดังกล่าวได้ให้เหตุผลว่าใกล้แหล่งเพาะปลูกใบยา เนื่องจากใบยาสูบของไทยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตบุหรี่ซิกาแรตของโรงงานยาสูบ 80% แหล่งเพาะปลูกใบยาส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเลือกพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่จะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งใบยาสูบ
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว มีความไม่ชอบมาพากล เข้าข่ายทุจริตในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยรัฐบาลทักษิณใช้สายสัมพันธ์ผ่านนักธุรกิจจีนคือนายชาญชัย รวยรุ่งเรือง หรือ เหยียนปิน ซึ่งขณะนั้นเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ พ.ต.ท.ทักษิณ ดึง CYC เข้ามาก่อสร้างและติดตั้งครื่องจักรจากจีน โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เป็นคนเปิดโปง ทำให้โครงการดังกล่าวชะงัก กระทั่งเกิดการยุบสภาผู้แทนราษฎรและล่าช้ามาจนทุกวันนี้
"คำถามที่ พล.ต.ท.ทักษิณต้องตอบก็คือ ทำไมราคาค่าก่อสร้างและเครื่องจักรโรงงานยาสูบที่เชียงใหม่จึงสูงถึง 1.8 หมื่นล้านบาท แพงกว่าราคาเฉลี่ยในต่างประเทศถึง 6 พันล้านบาท ทำไมจึงใช้บริษัท CYC ที่ไม่เคยมีประสบการณ์และเทคโนโลยีล้าหลัง ที่สำคัญมีการวิ่งเต้นจากเครือญาติ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้มีการเปลี่ยนจุดก่อสร้าง ไปยังที่ดินแปลงใหม่ที่มีการกว้านซื้อไว้ก่อนหน้านี้ที่ ต .แม่โจ้ อ. สันทราย จ. เชียงใหม่ และยังวิ่งเต้นให้เปลี่ยนเครื่องจักรจากเยอรมัน มาเป็นเครื่องจักรจากจีนโดยหวังค่าคอมมิชชั่นใช่หรือไม่"นายสนธิ กล่าวในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร เมื่อปลายปี 2548
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมสรรพสามิต ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบ เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการโรงงานยาสูบได้ส่งเรื่องโครงการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ทดแทนโรงงานเดิมย่านถนนพระราม 4 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมือง โดยจะให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาลชุดที่แล้วที่ให้ก่อสร้างที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ และที่จ.สระบุรีให้เหลือเพียงแห่งเดียว
โดยโรงงานยาสูบได้กำหนดโครงการก่อสร้างไว้ให้เหลือเพียงแห่งเดียวตั้งอยู่ในพื้นที่รัศมีไม่เกิน 200 กิโลเมตรจากกรุงเทพมหานครแต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นที่ใด เนื่องจากจะทำให้เกิดการเก็งกำไรที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างโรงงานยาสูบ ทั้งนี้การกำหนดพื้นที่ก่อสร้างในรัศมี 200 กิโลเมตรจากกรุงเทพมหานครเนื่องจากเมื่อคำนวณต้นทุนขนส่งด้านการกระจายสินค้าแล้วพบว่าถูกกว่าการก่อสร้างที่จ.เชียงใหม่มาก
“เมื่อพิจารณาต้นทุนด้านการขนส่งแล้วหากมีการก่อสร้างโรงงานที่เชียงใหม่ต้นทุนขนส่งวัตถุดิบจะถูกกว่าแต่ในแง่การกระจายสินค้าหากโรงงานตั้งอยู่ภาคกลางซึ่งผู้บริโภคยาสูบ 60-70% อยู่ในพื้นที่นี้จะพบว่าต้นทุนการกระจายสินค้าจะถูกกว่าและมีความคุ้มค่าในการลงทุนกว่ามาก ซึ่งโรงงานยาสูบจะพยายามผลักดันเข้าสู่ที่ประชุมครม.ให้ได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้” นายวิสุทธิ์ กล่าว
นายวิสุทธิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับงบประมาณการก่อสร้างอาจมีการปรับลดลงบ้างเนื่องจากการก่อสร้างเหลือเพียงแห่งเดียวและให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมที่รณรงค์ให้มีการลดการบริโภคยาสูบ โดยกำลังการผลิตของโรงงานแห่งใหม่จะอยู่ที่ 35,000 ล้านมวนต่อปี นอกจากนี้ในการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่จะไม่ให้มีผลกระทบต่อชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงและไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
โดยในระหว่างที่รอการพิจารณาของกระทรวงการคลังเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการอำนวยการโรงงายยาสูบได้หารือกับอัยการสูงสุดว่าการทบทวนมติครม.เดิมหรือไม่อย่างไร แต่ที่ผ่านมาเป็นเพียงการลงนามความเข้าใจกับรัฐบาลจีนในเบื้องต้นเท่านั้นยังไม่มีการเซ็นสัญญาว่าจ้างให้มีการก่อสร้างแต่อย่างใดซึ่งคาดว่าคงไม่มีปัญหาด้านกฎหมายตามมา
“ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างหารือข้อกฎหมายกับอัยการสูงสุดว่าจะมีปัญหาอะไรหรือไม่และในระหว่างที่รอนี้ได้ให้ที่ปรึกษาดูว่าการก่อสร้างจะให้เป็นโครงการเดียวกันทั้งหมดทั้งตัวอาคารและเครื่องจักร หรือให้แยกกันเพราะในส่วนของตัวอาคารผู้ประกอบการไทยสามารถก่อสร้างได้หรืออาจให้ตั้งเป็นบริษัทร่วมทุนกับประเทศผู้ผลิตเครื่องจักรแล้วเข้าร่วมประมูลอยากให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างโปร่งใส” นายวิสุทธิ์ กล่าว
นอกจากนี้ในการทบทวนมติครม.เดิมจะต้องพิจารณารูปแบบการก่อสร้างทั้งหมดทั้งการก่อสร้างเครื่องจักรที่เดิมตกลงว่าจ้างบริษัท CHINA YUNNAN CORPORATION FOR INTERNATIONAL TECNO-ECONOMIC COOPERATIVE (CYC) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และการจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบบาร์เตอร์เทรดแลกสินค้าเกษตรกับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต
ส่วนความคืบหน้าในการสรรหาผู้อำนวยการโรงงานยาสูบนั้นเดิมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2550 คณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบกำหนดให้ผู้ผ่านการคัดเลือก 3 คนสุดท้ายที่คณะกรรมการสรรหาส่งรายชื่อมาเข้าแสดงวิสัยทัศน์ แต่ในวันดังกล่าวกรรมการโรงงานยาสูบหลายรายติดภารกิจในต่างประเทศจึงต้องเลื่อนการแสดงวิสัยทัศน์ออกไปและจะนัดให้มีการเข้าแสดงวิสัยทัศน์ใหม่ในวันที่ 26 มิถุนายนนี้
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2547 ครม.ชุดเดิมได้มีมติให้ก่อสร้างโรงงานผลิตยาสูบแห่งใหม่บนที่ดินราชพัสดุ ตำบลแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยการดำเนินการในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ระหว่างรัฐบาลไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีน การก่อสร้างโรงงานและการติดตั้งเครื่องจักรได้มอบหมายให้บริษัท CYC เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ เริ่มก่อสร้างประมาณต้นปี 2548 แล้วเสร็จภายใน 1,220 วัน
โรงงานผลิตยาสูบ จังหวัดเชียงใหม่ กำลังการผลิต 25,000 ล้านมวนต่อปี ทำงาน 2 ผลัด เป็นโรงงาน ที่ทันสมัย มาตรฐานเดียวกับประเทศชั้นนำ มีระบบกำจัดมลภาวะ (PLASMA CAT) ที่ทันสมัยใช้ในยุโรปตะวันออก เป็นที่ยอมรับของภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าเป็นระบบที่ดีที่สุด และยังมีห้องทดลอง สำหรับตรวจสอบทุกระบบในการผลิต ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม
โดยเหตุผลที่รัฐบาลชุดที่แล้วเลือกพื้นที่ดังกล่าวได้ให้เหตุผลว่าใกล้แหล่งเพาะปลูกใบยา เนื่องจากใบยาสูบของไทยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตบุหรี่ซิกาแรตของโรงงานยาสูบ 80% แหล่งเพาะปลูกใบยาส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเลือกพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่จะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งใบยาสูบ
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว มีความไม่ชอบมาพากล เข้าข่ายทุจริตในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยรัฐบาลทักษิณใช้สายสัมพันธ์ผ่านนักธุรกิจจีนคือนายชาญชัย รวยรุ่งเรือง หรือ เหยียนปิน ซึ่งขณะนั้นเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ พ.ต.ท.ทักษิณ ดึง CYC เข้ามาก่อสร้างและติดตั้งครื่องจักรจากจีน โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เป็นคนเปิดโปง ทำให้โครงการดังกล่าวชะงัก กระทั่งเกิดการยุบสภาผู้แทนราษฎรและล่าช้ามาจนทุกวันนี้
"คำถามที่ พล.ต.ท.ทักษิณต้องตอบก็คือ ทำไมราคาค่าก่อสร้างและเครื่องจักรโรงงานยาสูบที่เชียงใหม่จึงสูงถึง 1.8 หมื่นล้านบาท แพงกว่าราคาเฉลี่ยในต่างประเทศถึง 6 พันล้านบาท ทำไมจึงใช้บริษัท CYC ที่ไม่เคยมีประสบการณ์และเทคโนโลยีล้าหลัง ที่สำคัญมีการวิ่งเต้นจากเครือญาติ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้มีการเปลี่ยนจุดก่อสร้าง ไปยังที่ดินแปลงใหม่ที่มีการกว้านซื้อไว้ก่อนหน้านี้ที่ ต .แม่โจ้ อ. สันทราย จ. เชียงใหม่ และยังวิ่งเต้นให้เปลี่ยนเครื่องจักรจากเยอรมัน มาเป็นเครื่องจักรจากจีนโดยหวังค่าคอมมิชชั่นใช่หรือไม่"นายสนธิ กล่าวในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร เมื่อปลายปี 2548