ประธานกกต. ระบุแก้ไขประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 ยังไม่เสร็จ พรรคการเมืองทำกิจกรรมการเมืองไม่ได้ ชี้มีสิทธิเข้าข่ายผิด กม. ขณะที่ดำเนินคดีอาญาอดีต กก.บห.ทรท. ตั้ง “ยุทธนา ไทยภักดี” ร่วมเป็นอนุ กก. เผยอาจฟันซ้ำ คดีแพ่งเรียกค่าเสียหายฐานเป็นต้นเหตุให้เลือกตั้งไม่สุจริตหากหลักฐานถึง ด้านวิปสนช. คาดนำร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกประกาศ คปค. ฉบับ 15 เข้า ที่ประชุมได้ 20 มิ.ย.นี้
วานนี้ ( 11 มิ.ย.) นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. พร้อมด้วยนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. และนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. ร่วมกันแถลงผลงานกกต.ในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา โดยนายอภิชาติ ระบุว่า 8 เดือนหลังเข้ารับตำแหน่ง กกต.สามารถจัดการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้วจำนวน 1,593 แห่ง มีผู้ได้รับเลือกตั้ง 4,894 คน และสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 19 ราย จำนวน3 แห่ง พร้อมทั้งจัดให้มีการเลือกตั้งจำนวน 36 ราย 9 แห่ง สั่งให้มีการนับคะแนนใหม่จำนวน 3 แห่ง และจัดให้มีการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนนายกฯ อบต. 3 แห่ง รวมทั้งยังปรับปรุงระบบการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลพรรคการเมือง หลังเกิดเหตุกรณียุบพรรค และเตรียมความพร้อมจัดการออกเสียงประชามติ และจัดการเลือกตั้งหลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้
นายประพันธ์ กล่าวว่า เช้าวันเดียวกัน (11 มิ.ย.) ได้หารืออย่างไม่เป็นทางการกับนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ถึงการกำหนดวันออกเสียงประชามติที่จะเลื่อนให้เร็วขึ้นจากวันที่ 2 ก.ย. เป็นวันที่ 19 ส.ค. ซึ่งนายนรนิติ เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะติดปัญหาระยะเวลาที่ ส.ส.ร.จะสิ้นสภาพ เนื่องจากมีการตีความเป็น 2 นัยยะ ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการโต้แย้งได้ในภายหลัง หากวันสุดท้ายของ ส.ส.ร. คือวันที่ 20 ส.ค. การกำหนดวันทำประชามติ เป็นวันที่ 19 ส.ค.ก็จะปลอดภัยที่สุด โดยการเลื่อนวันขึ้นมา ไม่ใช่เพื่อต้องการให้ใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ และเมื่อมีการเลื่อนวันทำประชามติ วันเลือกตั้งก็อาจจะเลื่อนจากวันที่ 16 ธ.ค.ขึ้นมาได้อีกประมาณ 10 วัน
ส่วนผู้ที่เกรงว่าจะจัดตั้งพรรคการเมืองไม่ทันกับการเลือกตั้งนั้น เมื่อประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 แก้ไขแล้วเสร็จในกลางเดือนนี้ ขั้นตอนการรับจดจัดตั้งของนายทะเบียนพรรคการเมือง จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่จะออกมาบังคับใช้ ในบทเฉพาะกาลจะระบุให้การเลือกตั้งครั้งแรก ผู้ที่จะลงสมัครต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง เมื่อพิจารณาระยะเวลาแล้วเห็นว่า ผู้ที่จะจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อรองรับการเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะดำเนินการได้ทัน
นายอภิชาต ยังกล่าวเสริมว่า แม้ ครม.จะมีมติแก้ไขประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 แต่ขั้นตอนการแก้ไขต้องมีการออกเป็นกฎหมาย ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะต้องส่งให้ สนช. ดังนั้นเมื่อการดำเนินการดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น ขณะนี้ จึงถือว่าประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 ยังมีผลบังคับใช้อยู่ กกต.ก็ไม่สามารถรับจดทะเบียนพรรคได้เช่นกัน หากมีการดำเนินการในลักษณะเข้าข่ายผิดประกาศ คปค. ทาง คมช. ก็ต้องเข้าไปดูแล อย่างไรก็ตาม อยากให้พรรคการเมืองอดใจรออีกสักระยะหนึ่ง คิดว่ารัฐบาลคงใช้เวลาไม่นานกับการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว
สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินการคดีอาญากับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคนั้น ได้เช็นต์คำสั่งแต่งตั้ง พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี เข้าไปเป็น 1 ในคณะอนุกรรมการวินิจฉัยเรื่องร้องเรียน และปัญหา หรือข้อโต้แย้งคณะที่ 4 แทน พล.ต.ท.ธีรยุทธ บุตรศรีภูมิ ที่ไปรับตำแหน่ง รมช.มหาดไทย ซึ่งการพิจารณาน่าจะทำได้เร็ว และคาดว่าจะเสนอที่ประชุม กกต.ได้ในสัปดาห์นี้ เพราะมีความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ ชุดนายนาม ยิ้มแย้ม เป็นแนวทางอยู่แล้ว เพียงแต่ กกต.ต้องการให้เกิดความรอบครอบจึงให้พิจารณาอีกครั้ง ว่าพยานหลักฐานที่มีอยู่เพียงพอที่จะเอาผิดกรรมการบริหารพรรคและผู้เกี่ยวข้องทั้ง 9 คนหรือไม่ รวมทั้งถ้าจะเอาผิดทางแพ่ง เรียกค่าเสียหายที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต จะสามารถทำได้หรือไม่ด้วย
ด้านนายบัญญัติ จัทนเสนะ รมช.มหาดไทย ในฐานะคณะกรรมการประสานงานร่วมรัฐบาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ปนช.) หรือ วิป สนช. เปิดเผยว่า ในที่ประชุม ปนช. ได้รายงานว่าในสัปดาห์นี้จะไม่มีการประชุม สนช. ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะนำมติ คณะรัฐมนตรี ที่เห็นชอบใน ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 เข้าสู่ที่ประชุมสนช.ได้
"เท่าที่ผมทราบ ตอนนี้ ส.ส.ร. ขอใช้ห้องประชุม ดังนั้นก็จะเลื่อนไปอีกสัปดาห์หนึ่ง ก็จะต้องรอดูว่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมได้ในวันไหน จะเป็นสัปดาห์หน้าเลยหรือไม่ ที่แน่ๆพุธ พฤหัสนี้ จะเลื่อนไป สัปดาห์ถัดไป ก็จะต้องมาดู อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการพูดถึงการพิจารณา 3 วาระรวด เพื่อผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ คงจะต้องไปดูเรื่องต่อเรื่อง" นายบัญญัติ กล่าว
ด้านนายสมชาย สกุลรัตน์ วิป สนช. กล่าวว่าในสัปดาห์นี้จะไม่มีการประชุมสนช. ดังนั้นคาดว่าจะมีการนำ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมสนช.ได้ระหว่างวันที่ 20-22 มิ.ย. นี้
วานนี้ ( 11 มิ.ย.) นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. พร้อมด้วยนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. และนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. ร่วมกันแถลงผลงานกกต.ในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา โดยนายอภิชาติ ระบุว่า 8 เดือนหลังเข้ารับตำแหน่ง กกต.สามารถจัดการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้วจำนวน 1,593 แห่ง มีผู้ได้รับเลือกตั้ง 4,894 คน และสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 19 ราย จำนวน3 แห่ง พร้อมทั้งจัดให้มีการเลือกตั้งจำนวน 36 ราย 9 แห่ง สั่งให้มีการนับคะแนนใหม่จำนวน 3 แห่ง และจัดให้มีการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนนายกฯ อบต. 3 แห่ง รวมทั้งยังปรับปรุงระบบการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลพรรคการเมือง หลังเกิดเหตุกรณียุบพรรค และเตรียมความพร้อมจัดการออกเสียงประชามติ และจัดการเลือกตั้งหลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้
นายประพันธ์ กล่าวว่า เช้าวันเดียวกัน (11 มิ.ย.) ได้หารืออย่างไม่เป็นทางการกับนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ถึงการกำหนดวันออกเสียงประชามติที่จะเลื่อนให้เร็วขึ้นจากวันที่ 2 ก.ย. เป็นวันที่ 19 ส.ค. ซึ่งนายนรนิติ เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะติดปัญหาระยะเวลาที่ ส.ส.ร.จะสิ้นสภาพ เนื่องจากมีการตีความเป็น 2 นัยยะ ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการโต้แย้งได้ในภายหลัง หากวันสุดท้ายของ ส.ส.ร. คือวันที่ 20 ส.ค. การกำหนดวันทำประชามติ เป็นวันที่ 19 ส.ค.ก็จะปลอดภัยที่สุด โดยการเลื่อนวันขึ้นมา ไม่ใช่เพื่อต้องการให้ใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ และเมื่อมีการเลื่อนวันทำประชามติ วันเลือกตั้งก็อาจจะเลื่อนจากวันที่ 16 ธ.ค.ขึ้นมาได้อีกประมาณ 10 วัน
ส่วนผู้ที่เกรงว่าจะจัดตั้งพรรคการเมืองไม่ทันกับการเลือกตั้งนั้น เมื่อประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 แก้ไขแล้วเสร็จในกลางเดือนนี้ ขั้นตอนการรับจดจัดตั้งของนายทะเบียนพรรคการเมือง จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่จะออกมาบังคับใช้ ในบทเฉพาะกาลจะระบุให้การเลือกตั้งครั้งแรก ผู้ที่จะลงสมัครต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง เมื่อพิจารณาระยะเวลาแล้วเห็นว่า ผู้ที่จะจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อรองรับการเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะดำเนินการได้ทัน
นายอภิชาต ยังกล่าวเสริมว่า แม้ ครม.จะมีมติแก้ไขประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 แต่ขั้นตอนการแก้ไขต้องมีการออกเป็นกฎหมาย ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะต้องส่งให้ สนช. ดังนั้นเมื่อการดำเนินการดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น ขณะนี้ จึงถือว่าประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 ยังมีผลบังคับใช้อยู่ กกต.ก็ไม่สามารถรับจดทะเบียนพรรคได้เช่นกัน หากมีการดำเนินการในลักษณะเข้าข่ายผิดประกาศ คปค. ทาง คมช. ก็ต้องเข้าไปดูแล อย่างไรก็ตาม อยากให้พรรคการเมืองอดใจรออีกสักระยะหนึ่ง คิดว่ารัฐบาลคงใช้เวลาไม่นานกับการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว
สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินการคดีอาญากับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคนั้น ได้เช็นต์คำสั่งแต่งตั้ง พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี เข้าไปเป็น 1 ในคณะอนุกรรมการวินิจฉัยเรื่องร้องเรียน และปัญหา หรือข้อโต้แย้งคณะที่ 4 แทน พล.ต.ท.ธีรยุทธ บุตรศรีภูมิ ที่ไปรับตำแหน่ง รมช.มหาดไทย ซึ่งการพิจารณาน่าจะทำได้เร็ว และคาดว่าจะเสนอที่ประชุม กกต.ได้ในสัปดาห์นี้ เพราะมีความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ ชุดนายนาม ยิ้มแย้ม เป็นแนวทางอยู่แล้ว เพียงแต่ กกต.ต้องการให้เกิดความรอบครอบจึงให้พิจารณาอีกครั้ง ว่าพยานหลักฐานที่มีอยู่เพียงพอที่จะเอาผิดกรรมการบริหารพรรคและผู้เกี่ยวข้องทั้ง 9 คนหรือไม่ รวมทั้งถ้าจะเอาผิดทางแพ่ง เรียกค่าเสียหายที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต จะสามารถทำได้หรือไม่ด้วย
ด้านนายบัญญัติ จัทนเสนะ รมช.มหาดไทย ในฐานะคณะกรรมการประสานงานร่วมรัฐบาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ปนช.) หรือ วิป สนช. เปิดเผยว่า ในที่ประชุม ปนช. ได้รายงานว่าในสัปดาห์นี้จะไม่มีการประชุม สนช. ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะนำมติ คณะรัฐมนตรี ที่เห็นชอบใน ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 เข้าสู่ที่ประชุมสนช.ได้
"เท่าที่ผมทราบ ตอนนี้ ส.ส.ร. ขอใช้ห้องประชุม ดังนั้นก็จะเลื่อนไปอีกสัปดาห์หนึ่ง ก็จะต้องรอดูว่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมได้ในวันไหน จะเป็นสัปดาห์หน้าเลยหรือไม่ ที่แน่ๆพุธ พฤหัสนี้ จะเลื่อนไป สัปดาห์ถัดไป ก็จะต้องมาดู อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการพูดถึงการพิจารณา 3 วาระรวด เพื่อผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ คงจะต้องไปดูเรื่องต่อเรื่อง" นายบัญญัติ กล่าว
ด้านนายสมชาย สกุลรัตน์ วิป สนช. กล่าวว่าในสัปดาห์นี้จะไม่มีการประชุมสนช. ดังนั้นคาดว่าจะมีการนำ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมสนช.ได้ระหว่างวันที่ 20-22 มิ.ย. นี้