รัฐบาลควัก 1.7 หมื่นล้าน ขึ้นเงินเดือนข้าราชการทุกระดับ 4% มีผล 1 ต.ค. 50 "โฆสิต"แจง รัฐเก็บภาษีได้ต่ำ จึงเพิ่มเงินเดือนให้ได้แค่นี้ แต่ในอนาคตอาจจะปรับฐานให้ใกล้เคียงกับภาคเอกชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของรายได้
วานนี้(5 มิ.ย.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณ 17,000 ล้านบาท เพื่อปรับเพิ่มเงินเดือนแก่ข้าราชการทุกประเภท และทุกระดับขั้นในอัตรา 4% ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) เสนอ โดย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 50 เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับค่าตอบแทนของข้าราชการยังอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับภาคกับเอกชน และที่สำคัญไม่ได้ขึ้นเงินข้าราชการมา 2 ปีแล้ว
"ความจริงแล้วรัฐบาลอยากปรับเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการมากกว่า 4% เพราะครั้งล่าสุดเมื่อปี 48 ได้ปรับเงินเดือนถึง 5% เนื่องจากปีนี้รัฐบาลเก็บรายได้น้อย จึงปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการได้เพียงเท่านี้ แต่ก็ถือว่าช่วยเป็นแรงจูงใจการทำงานของข้าราชการได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การอนุมัติครั้งนี้ที่ประชุมครม.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่างพระราชกฤษฎีกาต่อไป" รองนายกฯ กล่าว
นอกจากจะเพิ่มเงินเดือนข้าราชการแล้ว ที่ประชุมครม. ยังเห็นชอบงบประมาณเพิ่มเติมแก่ประชากรระดับฐานรากอีก 5,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์ อยู่ดีมีสุข จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 10,000 ล้านบาท และเพิ่มเงินอีก 3,000 ล้านบาทในโครงการพัฒนาหมู่บ้าน และชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้าราชการที่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มอีก 4% ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือน, ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย, ข้าราชการทหาร, ข้าราชการตำรวจ, ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม, ตุลาการศาลปกครอง, อัยการ, ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง, ข้าราชการการเมือง, ลูกจ้างประจำ, พนักงานราชการ รวมถึงข้าราชการบำนาญ และเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นๆ พร้อมทั้งปรับอัตราเงินเดือนขั้นสูง และขั้นต่ำของผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ซึ่งจะมีผลให้รายได้ขั้นสูงของผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มเป็น 11,000 บาท และรายได้ขั้นต่ำเพิ่มเป็น 7,700 บาท
นอกจากนี้ในระยะยาวรัฐบาลจะพิจารณาปรับโครงสร้างค่าตอบแทนภาคราชการ เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของค่าตอบแทนข้าราชการประเภทต่างๆ โดยกำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการให้แตกต่างกันตามลักษณะงานและระดับตำแหน่งอย่างเหมาะสมเป็นธรรม รวมทั้งปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการให้ใกล้เคียงกับเงินเดือนภาคเอกชนในตลาดแรงงาน ซึ่งได้มอบหมายให้ ก.พ. ศึกษาเรื่องนี้เป็นการเฉพาะแล้ว
วานนี้(5 มิ.ย.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณ 17,000 ล้านบาท เพื่อปรับเพิ่มเงินเดือนแก่ข้าราชการทุกประเภท และทุกระดับขั้นในอัตรา 4% ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) เสนอ โดย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 50 เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับค่าตอบแทนของข้าราชการยังอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับภาคกับเอกชน และที่สำคัญไม่ได้ขึ้นเงินข้าราชการมา 2 ปีแล้ว
"ความจริงแล้วรัฐบาลอยากปรับเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการมากกว่า 4% เพราะครั้งล่าสุดเมื่อปี 48 ได้ปรับเงินเดือนถึง 5% เนื่องจากปีนี้รัฐบาลเก็บรายได้น้อย จึงปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการได้เพียงเท่านี้ แต่ก็ถือว่าช่วยเป็นแรงจูงใจการทำงานของข้าราชการได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การอนุมัติครั้งนี้ที่ประชุมครม.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่างพระราชกฤษฎีกาต่อไป" รองนายกฯ กล่าว
นอกจากจะเพิ่มเงินเดือนข้าราชการแล้ว ที่ประชุมครม. ยังเห็นชอบงบประมาณเพิ่มเติมแก่ประชากรระดับฐานรากอีก 5,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์ อยู่ดีมีสุข จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 10,000 ล้านบาท และเพิ่มเงินอีก 3,000 ล้านบาทในโครงการพัฒนาหมู่บ้าน และชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้าราชการที่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มอีก 4% ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือน, ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย, ข้าราชการทหาร, ข้าราชการตำรวจ, ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม, ตุลาการศาลปกครอง, อัยการ, ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง, ข้าราชการการเมือง, ลูกจ้างประจำ, พนักงานราชการ รวมถึงข้าราชการบำนาญ และเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นๆ พร้อมทั้งปรับอัตราเงินเดือนขั้นสูง และขั้นต่ำของผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ซึ่งจะมีผลให้รายได้ขั้นสูงของผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มเป็น 11,000 บาท และรายได้ขั้นต่ำเพิ่มเป็น 7,700 บาท
นอกจากนี้ในระยะยาวรัฐบาลจะพิจารณาปรับโครงสร้างค่าตอบแทนภาคราชการ เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของค่าตอบแทนข้าราชการประเภทต่างๆ โดยกำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการให้แตกต่างกันตามลักษณะงานและระดับตำแหน่งอย่างเหมาะสมเป็นธรรม รวมทั้งปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการให้ใกล้เคียงกับเงินเดือนภาคเอกชนในตลาดแรงงาน ซึ่งได้มอบหมายให้ ก.พ. ศึกษาเรื่องนี้เป็นการเฉพาะแล้ว