“ธรรมะอันทำให้งามสองประการ คือ ขันติ อันได้แก่ ความอดทน และโสรัจจะ อันได้แก่ ความเสงี่ยมเจียมตน” นี่คือพุทธพจน์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกหมวดอังคุตตรนิกายทุกนิบาต
โดยนัยแห่งธรรมะสองประการนี้ หมายถึงว่าผู้ใดมีไว้ในตน คือ จำได้ใช้เป็นก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นเป็นคนมีจิตใจงาม เป็นที่เคารพนับถือของผู้ที่ได้พบเห็น และได้คบค้าสมาคมด้วย
เริ่มด้วยขันติ คือ ความอดทนต่ออนิฏฐารมณ์ หรือสิ่งที่ไม่น่าพอใจซึ่งผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ หรือที่เรียกเป็นภาษาธรรมะว่า อายตนะภายใน 6 ประการ
แต่ความอดทนที่น่าจะเข้าข่ายของคำว่า ขันติ ก็คือความอดทนเนื่องจากรู้เท่าทันแห่งอารมณ์ และหักห้ามใจไม่ตอบโต้ด้วยอากัปกิริยาใดๆ อันมีพื้นฐานมาจากความแค้น และมีการให้อภัยต่อผู้ที่เป็นต้นเหตุแห่งอนิฏฐารมณ์นั้น
ดังนั้น การที่ผู้ใหญ่ด้วยวัยหรือผู้ใหญ่ด้วยตำแหน่งที่เหนือกว่าผู้ที่เป็นต้นเหตุแห่งอนิฏฐารมณ์ อดทนได้ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นขันติในข้อนี้
แต่การที่ผู้ซึ่งมีอายุน้อยกว่า และผู้ที่มีตำแหน่งด้อยกว่า อดทนต่ออนิฏฐารมณ์ที่ผู้แก่กว่าหรืออายุน้อยแต่ตำแหน่งสูงกว่า จึงไม่น่าจะเรียกว่า ขันติ เพราะการที่อดทนได้นั้นด้วยเกิดจากความกลัวหรือยำเกรง มากกว่าที่จะเกิดจากการรู้เท่าทัน และการให้อภัย
ส่วนโสรัจจะ ความเสงี่ยมเจียมตนนั้นมีอยู่ในบุคคลใด ไม่ว่าเป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่จะทำให้ผู้นั้นเป็นที่รักเป็นที่พอใจของทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเพศและวัย ซึ่งมีอยู่ในบุคคลผู้มากด้วยอายุ และมากด้วยยศศักดิ์ด้วยแล้วจะยิ่งทำให้บุคคลนั้นเป็นบุคคลน่ารัก น่านับถือเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่นิยมบุคคลผู้อ่อนน้อมถ่อมตนว่าเป็นคนมีวัฒนธรรมด้วยแล้ว ยิ่งมีความจำเป็นที่คนไทยทุกคนต้องมี
การที่ผู้เขียนได้นำเรื่องนี้มาเขียนในยามนี้ ก็ด้วยเหตุจูงใจทั้งในส่วนของการเมืองและสังคม 2 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ในทางสังคม ถ้าท่านผู้อ่านติดตามข่าวจะเห็นได้ว่าในขณะนี้ผู้คนในสังคมมีความอดทนน้อยลง จะเห็นได้จากการที่เกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดเป็นเรื่องใหญ่ขึ้น เช่น ขับรถบนถนนและมีการแซงกันทำให้ฝ่ายถูกแซงไม่พอใจ และลงมาก่อเหตุชกต่อยทำร้ายร่างกาย หรือในบางรายถึงกับฆ่ากันก็มี นี่ก็บ่งบอกชัดเจนว่าคนไทยยุคนี้ขาดขันติเอามากๆ และถ้าเหตุการณ์ยังเป็นอยู่ในทำนองนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สักวันหนึ่งในอนาคตชื่อเสียงของเมืองไทยที่ว่าเป็นสยามเมืองยิ้มจะเลือนหายไป หรือเป็นเมืองแห่งความเคียดแค้น และเกิดการทำร้ายร่างกายด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อยแทน
2. ในทางการเมือง โดยเฉพาะในกรณีของการยุบพรรค 2 พรรคการเมืองใหญ่ คือ ประชาธิปัตย์ และไทยรักไทยเป็นตัวอย่างที่อธิบายเรื่องโสรัจจะได้ดีที่สุด โดยพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมดังนี้
ก่อนการตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้นำทั้งของพรรคไทยรักไทยคือ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรค และคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าพร้อมที่จะยอมรับคำตัดสินชี้ขาดของตุลาการรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาอย่างไรจะไม่เคลื่อนไหวคัดค้าน
แต่เมื่อผลปรากฏออกมาว่าพรรคไทยรักไทยถูกยุบ และมีผลให้กรรมการบริหารพรรคทุกคนมีอันต้องเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี ตามนัยแห่งประกาศของคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 27 และพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบ ทั้งคณะกรรมการบริหารพรรคไม่ต้องรับโทษในทำนองเดียวกับพรรคไทยรักไทยแม้แต่คนเดียว
จากผลตัดสินดังกล่าวข้างต้น ที่ผู้นำทั้งสองพรรคใหญ่บอกว่าจะยอมรับก่อนหน้านี้ได้กลายเป็นเครื่องพิสูจน์พฤติกรรมนักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยว่าขาดขันติ เมื่อผลการตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญออกมากลายเป็นอนิฏฐารมณ์ คือ ไม่เป็นที่ถูกใจ จะเห็นได้จากคำพูดที่ไปแถลงต่อผู้ที่ชุมนุมอยู่ที่พรรคไทยรักไทย ในทำนองที่ว่าไม่ถือว่ามีความผิด และจะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในนามกลุ่มไทยรักไทยต่อไป ในขณะเดียวกับที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งไม่ถูกยุบพรรค ผู้นำพรรคกลับไปด้วยอาการไม่หยิ่งผยองและลำพองในชัยชนะจนเกินเหตุถึงกับทำให้พูดได้ว่าขาดโสรัจจะ
โดยนัยแห่งความหมายของธรรมะ 2 ข้อดังกล่าวแล้ว เมื่อนำมาตรวจสอบพฤติกรรมของผู้นำทั้ง 2 พรรค ท่านผู้อ่านก็พอมองได้เองว่า ใครอยู่ในภาวะสง่างาม และไม่สง่างามในฐานะที่บุคคลสาธารณะควรจะเป็น
เมื่อผลการตัดสินพรรคการเมืองถูกยุบ และไม่ถูกยุบแล้วมีผลให้บุคลากรทางการเมืองแสดงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นเช่นที่ว่ามาแล้ว ทิศทางการเมืองของทั้ง 2 พรรคจะเป็นอย่างไร?
เพื่อให้มองเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองทั้งโดยปัจเจกและโดยรวม ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูที่มาของแต่ละพรรคดังต่อไปนี้
1. พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ตั้งมาแล้ว 60 ปี และมีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในยุคที่มีการเลือกตั้งและไม่มีการเลือกตั้ง จึงเรียกพรรคการเมืองพรรคนี้ได้ว่าเป็นสถาบันการเมืองควบคู่การเมืองไทยมาช้านาน
ส่วนผลงานที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่เด่นชัดเห็นจะได้แก่ การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย และการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้เน้นความซื่อสัตย์สุจริตเป็นด้านหลัก ถึงในบางยุคบางสมัยบุคลากรทางการเมืองจะแปดเปื้อนด้วยข้อหาทุจริตบ้าง ก็ไม่หนักถึงกับมีการนำไปอ้างเพื่อทำการยึดอำนาจรัฐ
ดังนั้น เมื่อมีการเปิดใจการให้มีการเลือกตั้งอีกครั้งในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า เชื่อได้ว่าพรรคนี้จะมีโอกาสทางการเมืองเหนือพรรคอื่นๆ อีก 2 พรรค คือ พรรคชาติไทย และพรรคมวลชน
ส่วนว่าจะเหนือมากหรือน้อย คงจะต้องดูจากปัจจัยประกอบอื่นๆ เช่น นโยบายที่จะนำมาใช้ในการบริหารประเทศในแต่ละด้าน และบุคลากรทางการเมืองที่พรรคจะแสวงหามาเพื่อดำเนินการตามนโยบายในแต่ละด้านว่าสอดคล้อง และเหมาะสมมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
2. พรรคไทยรักไทย เกิดขึ้นจากการรวบรวมบุคลากรทางการเมืองจากพรรคการเมืองหลายพรรค และมีอายุการจัดตั้งเพียง 10 ปี โดยประมาณจากวันที่ตั้งพรรคจนถึงวันถูกยุบ จึงถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองที่ตั้งใหม่ ประกอบกับการรวมตัวของกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในพรรคเป็นไปอย่างหลวมๆ ไม่แน่นแฟ้นด้วยอุดมการณ์เดียวกัน แต่รวมกันได้โดยอาศัยผลประโยชน์ร่วมกันภายใต้กลุ่มทุนที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำ จึงง่ายต่อการแตกแยกเมื่อผลประโยชน์ที่เคยมีเคยได้จากกลุ่มทุนร่อยหรอหรือหมดลงไป
ดังนั้น เมื่อกรรมการบริหารพรรคถูกลงโทษให้เว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี ซึ่งถือได้ว่ายาวนานมากสำหรับการลงทุนเพื่อการเมือง จึงไม่น่าจะมีนายทุนคนใดลงทุนต่อ และนี่เองจะเป็นสาเหตุให้บุคลากรทางการเมืองกลุ่มนี้ที่มิได้รับโทษให้เว้นวรรคทางการเมือง จะนั่งคอยให้เวลา 5 ปีผ่านไปโดยที่ตัวเองไม่แสวงหาโอกาสทางการเมืองภายใต้ร่มเงาของพรรคอื่นไม่ได้
ด้วยเหตุที่ว่านี้จึงอนุมานได้ว่า นักการเมืองในกลุ่มนี้จะวิ่งเข้าหาพรรคอื่นเพื่อลงรับเลือกตั้ง และพรรคที่นักการเมืองเหล่านี้จะไปมากที่สุดเรียงลำดับไปหาน้อยที่สุดก็คือ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเอง
จากการอนุมานดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ารัฐบาลที่จะเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งก็คงหนีไม่พ้น 3 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ส่วนว่าใครจะได้เป็นแกนนำนั้นขึ้นอยู่กับจำนวน ส.ส.ที่แต่ละพรรคจะได้รับเลือกเข้ามา
แต่ถ้าจะให้คาดเดาในขณะนี้ก็พอจะบอกได้ว่าคงจะเป็นประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคอื่น และนายกรัฐมนตรีก็คงเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากคนชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
แต่อย่าเพิ่งปักใจเชื่อในตอนนี้ ขอให้ดูรัฐธรรมนูญว่าจะกำหนดที่มาของนายกฯ อย่างไร เปิดพื้นที่ให้คนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ ถ้าเปิดได้ชื่อนายกฯ อาจเปลี่ยนจาก อ. เป็น ส. ก็เป็นได้
โดยนัยแห่งธรรมะสองประการนี้ หมายถึงว่าผู้ใดมีไว้ในตน คือ จำได้ใช้เป็นก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นเป็นคนมีจิตใจงาม เป็นที่เคารพนับถือของผู้ที่ได้พบเห็น และได้คบค้าสมาคมด้วย
เริ่มด้วยขันติ คือ ความอดทนต่ออนิฏฐารมณ์ หรือสิ่งที่ไม่น่าพอใจซึ่งผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ หรือที่เรียกเป็นภาษาธรรมะว่า อายตนะภายใน 6 ประการ
แต่ความอดทนที่น่าจะเข้าข่ายของคำว่า ขันติ ก็คือความอดทนเนื่องจากรู้เท่าทันแห่งอารมณ์ และหักห้ามใจไม่ตอบโต้ด้วยอากัปกิริยาใดๆ อันมีพื้นฐานมาจากความแค้น และมีการให้อภัยต่อผู้ที่เป็นต้นเหตุแห่งอนิฏฐารมณ์นั้น
ดังนั้น การที่ผู้ใหญ่ด้วยวัยหรือผู้ใหญ่ด้วยตำแหน่งที่เหนือกว่าผู้ที่เป็นต้นเหตุแห่งอนิฏฐารมณ์ อดทนได้ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นขันติในข้อนี้
แต่การที่ผู้ซึ่งมีอายุน้อยกว่า และผู้ที่มีตำแหน่งด้อยกว่า อดทนต่ออนิฏฐารมณ์ที่ผู้แก่กว่าหรืออายุน้อยแต่ตำแหน่งสูงกว่า จึงไม่น่าจะเรียกว่า ขันติ เพราะการที่อดทนได้นั้นด้วยเกิดจากความกลัวหรือยำเกรง มากกว่าที่จะเกิดจากการรู้เท่าทัน และการให้อภัย
ส่วนโสรัจจะ ความเสงี่ยมเจียมตนนั้นมีอยู่ในบุคคลใด ไม่ว่าเป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่จะทำให้ผู้นั้นเป็นที่รักเป็นที่พอใจของทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเพศและวัย ซึ่งมีอยู่ในบุคคลผู้มากด้วยอายุ และมากด้วยยศศักดิ์ด้วยแล้วจะยิ่งทำให้บุคคลนั้นเป็นบุคคลน่ารัก น่านับถือเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่นิยมบุคคลผู้อ่อนน้อมถ่อมตนว่าเป็นคนมีวัฒนธรรมด้วยแล้ว ยิ่งมีความจำเป็นที่คนไทยทุกคนต้องมี
การที่ผู้เขียนได้นำเรื่องนี้มาเขียนในยามนี้ ก็ด้วยเหตุจูงใจทั้งในส่วนของการเมืองและสังคม 2 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ในทางสังคม ถ้าท่านผู้อ่านติดตามข่าวจะเห็นได้ว่าในขณะนี้ผู้คนในสังคมมีความอดทนน้อยลง จะเห็นได้จากการที่เกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดเป็นเรื่องใหญ่ขึ้น เช่น ขับรถบนถนนและมีการแซงกันทำให้ฝ่ายถูกแซงไม่พอใจ และลงมาก่อเหตุชกต่อยทำร้ายร่างกาย หรือในบางรายถึงกับฆ่ากันก็มี นี่ก็บ่งบอกชัดเจนว่าคนไทยยุคนี้ขาดขันติเอามากๆ และถ้าเหตุการณ์ยังเป็นอยู่ในทำนองนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สักวันหนึ่งในอนาคตชื่อเสียงของเมืองไทยที่ว่าเป็นสยามเมืองยิ้มจะเลือนหายไป หรือเป็นเมืองแห่งความเคียดแค้น และเกิดการทำร้ายร่างกายด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อยแทน
2. ในทางการเมือง โดยเฉพาะในกรณีของการยุบพรรค 2 พรรคการเมืองใหญ่ คือ ประชาธิปัตย์ และไทยรักไทยเป็นตัวอย่างที่อธิบายเรื่องโสรัจจะได้ดีที่สุด โดยพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมดังนี้
ก่อนการตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้นำทั้งของพรรคไทยรักไทยคือ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรค และคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าพร้อมที่จะยอมรับคำตัดสินชี้ขาดของตุลาการรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาอย่างไรจะไม่เคลื่อนไหวคัดค้าน
แต่เมื่อผลปรากฏออกมาว่าพรรคไทยรักไทยถูกยุบ และมีผลให้กรรมการบริหารพรรคทุกคนมีอันต้องเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี ตามนัยแห่งประกาศของคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 27 และพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบ ทั้งคณะกรรมการบริหารพรรคไม่ต้องรับโทษในทำนองเดียวกับพรรคไทยรักไทยแม้แต่คนเดียว
จากผลตัดสินดังกล่าวข้างต้น ที่ผู้นำทั้งสองพรรคใหญ่บอกว่าจะยอมรับก่อนหน้านี้ได้กลายเป็นเครื่องพิสูจน์พฤติกรรมนักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยว่าขาดขันติ เมื่อผลการตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญออกมากลายเป็นอนิฏฐารมณ์ คือ ไม่เป็นที่ถูกใจ จะเห็นได้จากคำพูดที่ไปแถลงต่อผู้ที่ชุมนุมอยู่ที่พรรคไทยรักไทย ในทำนองที่ว่าไม่ถือว่ามีความผิด และจะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในนามกลุ่มไทยรักไทยต่อไป ในขณะเดียวกับที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งไม่ถูกยุบพรรค ผู้นำพรรคกลับไปด้วยอาการไม่หยิ่งผยองและลำพองในชัยชนะจนเกินเหตุถึงกับทำให้พูดได้ว่าขาดโสรัจจะ
โดยนัยแห่งความหมายของธรรมะ 2 ข้อดังกล่าวแล้ว เมื่อนำมาตรวจสอบพฤติกรรมของผู้นำทั้ง 2 พรรค ท่านผู้อ่านก็พอมองได้เองว่า ใครอยู่ในภาวะสง่างาม และไม่สง่างามในฐานะที่บุคคลสาธารณะควรจะเป็น
เมื่อผลการตัดสินพรรคการเมืองถูกยุบ และไม่ถูกยุบแล้วมีผลให้บุคลากรทางการเมืองแสดงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นเช่นที่ว่ามาแล้ว ทิศทางการเมืองของทั้ง 2 พรรคจะเป็นอย่างไร?
เพื่อให้มองเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองทั้งโดยปัจเจกและโดยรวม ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูที่มาของแต่ละพรรคดังต่อไปนี้
1. พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ตั้งมาแล้ว 60 ปี และมีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในยุคที่มีการเลือกตั้งและไม่มีการเลือกตั้ง จึงเรียกพรรคการเมืองพรรคนี้ได้ว่าเป็นสถาบันการเมืองควบคู่การเมืองไทยมาช้านาน
ส่วนผลงานที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่เด่นชัดเห็นจะได้แก่ การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย และการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้เน้นความซื่อสัตย์สุจริตเป็นด้านหลัก ถึงในบางยุคบางสมัยบุคลากรทางการเมืองจะแปดเปื้อนด้วยข้อหาทุจริตบ้าง ก็ไม่หนักถึงกับมีการนำไปอ้างเพื่อทำการยึดอำนาจรัฐ
ดังนั้น เมื่อมีการเปิดใจการให้มีการเลือกตั้งอีกครั้งในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า เชื่อได้ว่าพรรคนี้จะมีโอกาสทางการเมืองเหนือพรรคอื่นๆ อีก 2 พรรค คือ พรรคชาติไทย และพรรคมวลชน
ส่วนว่าจะเหนือมากหรือน้อย คงจะต้องดูจากปัจจัยประกอบอื่นๆ เช่น นโยบายที่จะนำมาใช้ในการบริหารประเทศในแต่ละด้าน และบุคลากรทางการเมืองที่พรรคจะแสวงหามาเพื่อดำเนินการตามนโยบายในแต่ละด้านว่าสอดคล้อง และเหมาะสมมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
2. พรรคไทยรักไทย เกิดขึ้นจากการรวบรวมบุคลากรทางการเมืองจากพรรคการเมืองหลายพรรค และมีอายุการจัดตั้งเพียง 10 ปี โดยประมาณจากวันที่ตั้งพรรคจนถึงวันถูกยุบ จึงถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองที่ตั้งใหม่ ประกอบกับการรวมตัวของกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในพรรคเป็นไปอย่างหลวมๆ ไม่แน่นแฟ้นด้วยอุดมการณ์เดียวกัน แต่รวมกันได้โดยอาศัยผลประโยชน์ร่วมกันภายใต้กลุ่มทุนที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำ จึงง่ายต่อการแตกแยกเมื่อผลประโยชน์ที่เคยมีเคยได้จากกลุ่มทุนร่อยหรอหรือหมดลงไป
ดังนั้น เมื่อกรรมการบริหารพรรคถูกลงโทษให้เว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี ซึ่งถือได้ว่ายาวนานมากสำหรับการลงทุนเพื่อการเมือง จึงไม่น่าจะมีนายทุนคนใดลงทุนต่อ และนี่เองจะเป็นสาเหตุให้บุคลากรทางการเมืองกลุ่มนี้ที่มิได้รับโทษให้เว้นวรรคทางการเมือง จะนั่งคอยให้เวลา 5 ปีผ่านไปโดยที่ตัวเองไม่แสวงหาโอกาสทางการเมืองภายใต้ร่มเงาของพรรคอื่นไม่ได้
ด้วยเหตุที่ว่านี้จึงอนุมานได้ว่า นักการเมืองในกลุ่มนี้จะวิ่งเข้าหาพรรคอื่นเพื่อลงรับเลือกตั้ง และพรรคที่นักการเมืองเหล่านี้จะไปมากที่สุดเรียงลำดับไปหาน้อยที่สุดก็คือ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเอง
จากการอนุมานดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ารัฐบาลที่จะเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งก็คงหนีไม่พ้น 3 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ส่วนว่าใครจะได้เป็นแกนนำนั้นขึ้นอยู่กับจำนวน ส.ส.ที่แต่ละพรรคจะได้รับเลือกเข้ามา
แต่ถ้าจะให้คาดเดาในขณะนี้ก็พอจะบอกได้ว่าคงจะเป็นประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคอื่น และนายกรัฐมนตรีก็คงเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากคนชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
แต่อย่าเพิ่งปักใจเชื่อในตอนนี้ ขอให้ดูรัฐธรรมนูญว่าจะกำหนดที่มาของนายกฯ อย่างไร เปิดพื้นที่ให้คนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ ถ้าเปิดได้ชื่อนายกฯ อาจเปลี่ยนจาก อ. เป็น ส. ก็เป็นได้