.
คำวินิจฉัยคดี “ยุบพรรรค” โดยตุลาการรัฐธรรมนูญที่อ่านยาวนานเกือบ 10 ชั่วโมง นับวันก็ยิ่งมีประโยชน์
เพราะการถ่ายทอดสดทางวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งลงข่าวใหญ่ทางหน้าหนังสือพิมพ์ คำพิพากษานี้จึงมีน้ำหนักยืนยันเรื่องราวความไม่ถูกต้องที่ถูกวิจารณ์มาตลอด
สังคมโดยรวมมีความเข้าใจและได้เรียนรู้ว่าผู้ก่อเหตุปัจจัยที่ไม่ถูกต้อง ย่อมได้รับผลกรรมและการลงโทษตามกฎหมาย
การตัดสินคดีครั้งนี้นับว่าใช้ความเด็ดขาดชนิดที่ผู้ถูกร้องไม่นึกว่าจะโดนหนักขนาดยุบ 4 พรรคการเมือง และลงโทษกรรมการบริหารพรรคด้วยการตัดสิทธิการเลือกตั้ง 5 ปี
ก่อนวันประกาศคำตัดสินคดี คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ยังบอกว่าพร้อมที่จะน้อมรับคำวินิจฉัย เพราะคงทำใจไว้ว่าถ้าพรรคไทยรักไทยถูกยุบ ก็เตรียมยื่นขอจดทะเบียนตั้งพรรคใหม่ และจะขอจองใช้ชื่อพรรคเดิม
แต่นี่กรรมการบริหาร 111 คน โดนตัดสิทธิ์ทางการเมืองเลือกตั้ง 5 ปี ถ้ารัฐบาลหลังเลือกตั้งอยู่ครบวาระ 4 ปี ก็คงต้องรอไป 8 ปี หมดอนาคตทางการเมืองตามๆ กัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแกนนำตั้งแต่ “นายใหญ่” พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลงมารวมทั้งคุณจาตุรนต์ด้วย โดนกันออกจากเวทีหมด จนมีความหวังว่าการเมืองไทยจะได้โอกาสล้างระบบ “ผูกขาด” ทำให้เกิดการถ่วงดุลย์ตรวจสอบดีขึ้น
ก็เลยหลุดอาการไม่ยอมรับคำวินิจฉัยและโจมตีการใช้กฎหมาย ว่าเป็นการตัดสินของกลไกจากอำนาจรัฐประหาร
แต่การตัดสินคดีดังกล่าวของตุลาการรัฐธรรมนูญเพิ่งผ่านไปแค่ 2 วัน พล.อ.สนธิ ประธาน คมช.ก็ออกมาบอกว่า เห็นด้วยที่มีผู้เสนอให้ “นิรโทษกรรม” กรรมการบริหารไทยรักไทยทั้ง 111 คน เพื่อ“ความสมานฉันท์”
อีกทั้งมีการหารือกับผู้นำรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่เตรียมจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 17 ที่ห้ามการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองช่วงนี้ และห้ามกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบไปตั้งพรรคหรือลงสมัครรับเลือกตั้ง
สำหรับประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 นั้น ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ที่ชี้ข้อดีว่า เหมือนเป็นการกำหนดคุณสมบัติของผู้จะสมัครรับเลือกตั้งครั้งต่อไปและในอนาคตก็จะป้องกันไม่ให้นักการเมืองที่เคยทำความผิดหรือมีพฤติกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมายลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติและประชาชน
ส่วนการยกเลิก คปค.ฉบับที่ 15 เพื่อเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมนั้น คงไม่มีปัญหา และประธาน คปค.ก็ดูจะมั่นใจในแผนรักษาความมั่นคงเตรียมอยู่แล้ว
แต่ คปค.ฉบับที่ 27 หากคิดถึงประโยชน์ในการกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อป้องกันคนไม่ดีเข้ามามีอำนาจทางการเมือง การยกเลิกไปเลยก็อาจมีผลไปยกเลิกคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญเรื่องการจำกัดสิทธิ์เลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบหรือไม่
ดังนั้น จึงอาจเป็นการปรับปรุงถ้อยคำ
ส่วนการ “โยนหินถามทาง” ของประธาน คมช.ที่แสดงท่าทีจะไฟเขียวให้มีการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย ซึ่งถูกสั่งยุบทั้ง 111 คนนั้น
ผมเชื่อว่ามีปัญหาโต้แย้งแน่
เริ่มมีนักวิชาการด้านกฎหมายบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการอ้างประกาศ คปค.ไปวินิจฉัย โดยให้มีผลย้อนหลังแล้วลงโทษกรรมการบริหารทั้งหมด
ขณะที่คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่า เมื่อกรรมการบริหาร 2 คน คือ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และคุณพงษ์ศักดิ์?รักตพงศ์ไพศาล สนับสนุนให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูล คุณสมบัติสมาชิกพรรคเล็กพรรคหนึ่งเพื่อให้ลงสมัครได้ หรือสนับสนุนเงินเพื่อส่งผู้สมัครเป็นความผิดที่พรรคยอมต้องรับผิดชอบด้วย โดยระบุในคำวินิจฉัยว่า
“ดังนั้น หากมีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการบริหารพรรคหรือหัวหน้าพรรคมอบหมายยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจด้วยการดำเนินกิจการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น ก็ย่อมมีผลผูกพันพรรคการเมือง”
แล้วทำไมต้องรีบร้อนแสดงท่าทีจะนิรโทษกรรม ถึงขนาดจะยกโทษให้ทั้ง 111 คนเชียวหรือ ด้วยข้ออ้างว่าจะได้เกิด “ความสมานฉันท์” อีกแล้ว
เท่าที่ผ่านมาก็ไม่ได้เอาจริงกับการใช้อำนาจคณะรัฐประหาร จึงมีการชุมนุมเคลื่อนไหวขนาดใช้วิธีการหยามศักดิ์ศรีทหาร เพื่อยั่วยุให้ใช้ความรุนแรง แต่ทหารก็อดทนอย่างน่าชมเชย ก็ยังถูกฝ่ายสูญเสียอำนาจโจมตีว่าเป็นเผด็จการ
การใช้หลักกฎหมายด้วยความเป็นธรรมอย่างที่ทำอยู่กำลังพิสูจน์ผล ซึ่งต้องสื่อสารให้สังคมเข้าใจเพื่อจะแยกแยะความถูกผิดได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
จึงน่าจะน้อมรำลึกถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่เนติบัณฑิตสมัยที่ 33 ดังนี้
“กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น
การใช้กฎหมาย จึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรม ไมใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุและผลตามเป็นจริงด้วย”
คำวินิจฉัยคดี “ยุบพรรรค” โดยตุลาการรัฐธรรมนูญที่อ่านยาวนานเกือบ 10 ชั่วโมง นับวันก็ยิ่งมีประโยชน์
เพราะการถ่ายทอดสดทางวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งลงข่าวใหญ่ทางหน้าหนังสือพิมพ์ คำพิพากษานี้จึงมีน้ำหนักยืนยันเรื่องราวความไม่ถูกต้องที่ถูกวิจารณ์มาตลอด
สังคมโดยรวมมีความเข้าใจและได้เรียนรู้ว่าผู้ก่อเหตุปัจจัยที่ไม่ถูกต้อง ย่อมได้รับผลกรรมและการลงโทษตามกฎหมาย
การตัดสินคดีครั้งนี้นับว่าใช้ความเด็ดขาดชนิดที่ผู้ถูกร้องไม่นึกว่าจะโดนหนักขนาดยุบ 4 พรรคการเมือง และลงโทษกรรมการบริหารพรรคด้วยการตัดสิทธิการเลือกตั้ง 5 ปี
ก่อนวันประกาศคำตัดสินคดี คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ยังบอกว่าพร้อมที่จะน้อมรับคำวินิจฉัย เพราะคงทำใจไว้ว่าถ้าพรรคไทยรักไทยถูกยุบ ก็เตรียมยื่นขอจดทะเบียนตั้งพรรคใหม่ และจะขอจองใช้ชื่อพรรคเดิม
แต่นี่กรรมการบริหาร 111 คน โดนตัดสิทธิ์ทางการเมืองเลือกตั้ง 5 ปี ถ้ารัฐบาลหลังเลือกตั้งอยู่ครบวาระ 4 ปี ก็คงต้องรอไป 8 ปี หมดอนาคตทางการเมืองตามๆ กัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแกนนำตั้งแต่ “นายใหญ่” พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลงมารวมทั้งคุณจาตุรนต์ด้วย โดนกันออกจากเวทีหมด จนมีความหวังว่าการเมืองไทยจะได้โอกาสล้างระบบ “ผูกขาด” ทำให้เกิดการถ่วงดุลย์ตรวจสอบดีขึ้น
ก็เลยหลุดอาการไม่ยอมรับคำวินิจฉัยและโจมตีการใช้กฎหมาย ว่าเป็นการตัดสินของกลไกจากอำนาจรัฐประหาร
แต่การตัดสินคดีดังกล่าวของตุลาการรัฐธรรมนูญเพิ่งผ่านไปแค่ 2 วัน พล.อ.สนธิ ประธาน คมช.ก็ออกมาบอกว่า เห็นด้วยที่มีผู้เสนอให้ “นิรโทษกรรม” กรรมการบริหารไทยรักไทยทั้ง 111 คน เพื่อ“ความสมานฉันท์”
อีกทั้งมีการหารือกับผู้นำรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่เตรียมจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 17 ที่ห้ามการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองช่วงนี้ และห้ามกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบไปตั้งพรรคหรือลงสมัครรับเลือกตั้ง
สำหรับประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 นั้น ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ที่ชี้ข้อดีว่า เหมือนเป็นการกำหนดคุณสมบัติของผู้จะสมัครรับเลือกตั้งครั้งต่อไปและในอนาคตก็จะป้องกันไม่ให้นักการเมืองที่เคยทำความผิดหรือมีพฤติกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมายลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติและประชาชน
ส่วนการยกเลิก คปค.ฉบับที่ 15 เพื่อเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมนั้น คงไม่มีปัญหา และประธาน คปค.ก็ดูจะมั่นใจในแผนรักษาความมั่นคงเตรียมอยู่แล้ว
แต่ คปค.ฉบับที่ 27 หากคิดถึงประโยชน์ในการกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อป้องกันคนไม่ดีเข้ามามีอำนาจทางการเมือง การยกเลิกไปเลยก็อาจมีผลไปยกเลิกคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญเรื่องการจำกัดสิทธิ์เลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบหรือไม่
ดังนั้น จึงอาจเป็นการปรับปรุงถ้อยคำ
ส่วนการ “โยนหินถามทาง” ของประธาน คมช.ที่แสดงท่าทีจะไฟเขียวให้มีการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย ซึ่งถูกสั่งยุบทั้ง 111 คนนั้น
ผมเชื่อว่ามีปัญหาโต้แย้งแน่
เริ่มมีนักวิชาการด้านกฎหมายบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการอ้างประกาศ คปค.ไปวินิจฉัย โดยให้มีผลย้อนหลังแล้วลงโทษกรรมการบริหารทั้งหมด
ขณะที่คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่า เมื่อกรรมการบริหาร 2 คน คือ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และคุณพงษ์ศักดิ์?รักตพงศ์ไพศาล สนับสนุนให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูล คุณสมบัติสมาชิกพรรคเล็กพรรคหนึ่งเพื่อให้ลงสมัครได้ หรือสนับสนุนเงินเพื่อส่งผู้สมัครเป็นความผิดที่พรรคยอมต้องรับผิดชอบด้วย โดยระบุในคำวินิจฉัยว่า
“ดังนั้น หากมีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการบริหารพรรคหรือหัวหน้าพรรคมอบหมายยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจด้วยการดำเนินกิจการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น ก็ย่อมมีผลผูกพันพรรคการเมือง”
แล้วทำไมต้องรีบร้อนแสดงท่าทีจะนิรโทษกรรม ถึงขนาดจะยกโทษให้ทั้ง 111 คนเชียวหรือ ด้วยข้ออ้างว่าจะได้เกิด “ความสมานฉันท์” อีกแล้ว
เท่าที่ผ่านมาก็ไม่ได้เอาจริงกับการใช้อำนาจคณะรัฐประหาร จึงมีการชุมนุมเคลื่อนไหวขนาดใช้วิธีการหยามศักดิ์ศรีทหาร เพื่อยั่วยุให้ใช้ความรุนแรง แต่ทหารก็อดทนอย่างน่าชมเชย ก็ยังถูกฝ่ายสูญเสียอำนาจโจมตีว่าเป็นเผด็จการ
การใช้หลักกฎหมายด้วยความเป็นธรรมอย่างที่ทำอยู่กำลังพิสูจน์ผล ซึ่งต้องสื่อสารให้สังคมเข้าใจเพื่อจะแยกแยะความถูกผิดได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
จึงน่าจะน้อมรำลึกถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่เนติบัณฑิตสมัยที่ 33 ดังนี้
“กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น
การใช้กฎหมาย จึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรม ไมใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุและผลตามเป็นจริงด้วย”