จากรายงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งเฝ้าระวังและปราบปรามโดยด่วน หลังจากพบว่ากลุ่มขบวนการดังกล่าวได้แผ่อิทธิพลเข้ามาทางด้านจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมากขึ้นแล้ว และสร้างปัญหามากมาย ทั้งเรื่องแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองหรืออยู่โดยผิดกฎหมาย ปัญหากลุ่มมาเฟียต่างชาติและปัญหาการลักลอบค้ายาเสพติด โดยที่จังหวัดจันทบุรี มีชาวแอฟริกันนับร้อยไปอาศัยค้าพลอย และเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น โดยพวกนี้จะจ้างคนไทยจดทะเบียนเป็นภรรยาเพื่อให้ได้อยู่อาศัยในประเทศไทยได้ แต่กลับสร้างปัญหาทั้งค้ามนุษย์และค้ายาเสพติด ส่วนจังหวัดตราด มีปัญหาการลักลอบเข้าเมืองและค้ามนุษย์ และการค้ายาเสพติดตามแนวชายแดนกัมพูชา ส่วนที่พัทยากำลังเป็นแหล่งชุมนุมของอาชญากรหลายชาติ โดยเฉพาะ กลุ่มรัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ และสแกนดิเนเวีย โดยแสร้งเปิดธุรกิจบังหน้า แต่เบื้องหลังใช้ไทยเป็นแหล่งฟอกเงิน นำเข้าหญิงต่างชาติและส่งออกหญิงไทยเพื่อขายบริการทางเพศ ค้ายาเสพติด ผลิตสื่อลามกอนาจารและสร้างอิทธิพล ถัดไปคือกลุ่มเอเชียใต้ ได้แก่ปากีสถาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปลอมแปลงหนังสือเดินทาง บัตรเครดิต ค้ามนุษย์ (แก๊งลูกแพะ) และชาวศรีลังกา ซึ่งนำคนเข้าเมือง เพื่อลักลอบส่งไปประเทศที่สาม อีกทั้งใช้บัตรเครดิตปลอม นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาวแอฟริกัน เกาหลีใต้ จีน อิหร่าน อิรัก มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งส่วนใหญ่ปลอมแปลงบัตรเครดิต หนังสือเดินทาง หลอกลวงนักท่องเที่ยวต่างชาติและค้ายาเสพติด
โดยรายงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติยังระบุด้วยว่า “ในเอเชีย ไทยยังคงเป็นทางผ่านของผู้ลักลอบเข้าเมือง จากเกาหลีเหนือไปยังประเทศที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกาหลีใต้มากขึ้น ในห้วงรายงานทางการไทยจับกุมชาวเกาหลีเหนือ 91 คน ที่หลบหนีเข้าเมืองมาซ่อนตัวอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี เพื่อรอการช่วยเหลือไปยังประเทศที่สาม ขณะเดียวกันชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับการปลอมแปลงหนังสือเดินทางยังคงใช้ไทยเป็นศูนย์กลางในการจำหน่ายหนังสือเดินทางปลอม”
**สถานการณ์แนวโน้มกลุ่มลักลอบเข้าเมือง**
พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ( ผบช.สตม.) ให้สัมภาษณ์พิเศษถึงประเด็นปัญหานี้ว่า ในปัจจุบันได้แบ่งกลุ่มคนหลบหนีเข้าเมืองเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มคนต่างด้าวทั่วไป พวกนี้มี เกาหลีเหนือ ใช้เส้นทางโดยนั่งเรือจากจีนและล่องมาตามแม่น้ำโขงมาขึ้นที่แม่สาย หรือเชียงแสน จ.เชียงราย ขณะนี้มีตัวเลขอยู่ประมาณ 500 คน โดยล่าสุดได้พูดคุยกับท่านทูตเกาหลีใต้แล้วว่าให้รับกลุ่มคนเหล่านี้ไปยังเกาหลีใต้ด้วย โดยจะไม่มีการผลักดันไปประเทศที่สาม นอกจากนี้มีพวกจีน, บังคลาเทศ, อินเดีย ปากีสถาน, เนปาล และศรีลังกา 2.กลุ่มที่รัฐดูแลเป็นการเฉพาะ เช่นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ 1-2 แสนคน ชาวม้ง กว่า 6 พันคน บุคคลในความห่วงใยสัญชาติพม่า และอื่นๆ และ3. แรงงานต่างด้าว มี พวกพม่า ลาวและกัมพูชา ซึ่งมีจำนวนประมาณ 2 ล้านคน และล่าสุดพบว่ามีแรงงานต่างด้าวชาวเวียดนามเริ่มเข้ามา นอกจากนี้ยังมีผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญา หรือพม่าอิสลามประมาณ 2 หมื่นคน โดยช่องทางที่คนเหล่านี้ใช้คือ จุดผ่านแดนถาวร 36 จุด , จุดผ่านแดนชั่วคราว,จุดผ่อนปรน 47 จุด และช่องทางธรรมชาติ 732 จุด รวมทั้งช่องทางตามกฎหมายศุลกากร
**ภัยคุกคามความมั่นคงชาติ**
ผบช.สตม.ยอมรับว่า แน่นอนกลุ่มคนต่างด้าวเหล่านี้ย่อมสร้างปัญหาและเป็นภาระให้แก่ประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความมั่นคงภายใน ปัญหาด้านอาชญากรรมและการไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย ปัญหาชุมชนต่างด้าว ปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาผู้ติดตามและเด็กไร้สัญชาติ ปัญหาการแย่งอาชีพคนไทย และปัญหางบประมาณและรายจ่ายของรัฐ โดยแนวโน้มของสถานการณ์ดังกล่าวนับวันจะเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถดูจากตัวเลขการผลักดันออกนอกประเทศ ปี 2547 รัฐได้ผลักดันออกจำนวน 228,074 คน ปี 2548 ผลักดันจำนวน 232,425 คน และปี 2549 มีการผลักดันออกนอกประเทศจำนน 292,503 คน ทั้งนี้หากสถานการณ์ประเทศไทยยังประสบปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมืองเพิ่มขึ้นเช่นนี้ แน่นอนว่าย่อมเกิดปัญหาภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง และจำนวนคนต่างด้าวที่เพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบต่อปัญหาของชาติในระยะยาว
**มาตรการป้องกันลักลอบเข้าเมือง**
สำหรับมาตรการป้องกันการลักลอบเข้าเมือง พล.ต.ท.บุญเรือง กล่าวว่า ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยล่าสุด สตม.ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยมีทุกหน่วยงานทั้งทหาร ตำรวจ หน่วยงานด้านความมั่นคง ภาคประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อระดมสมองแก้ปัญหาลักลอบเข้าเมืองจนได้ข้อสรุปคือ
1. สกัดกั้นไม่ให้เข้ามาในราชอาณาจักร โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ลดจำนวนจุดผ่อนปรนในลักษณะประเพณีปฏิบัติ การทำข้อตกลงระหว่างประเทศให้ยึดผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก ฐานข้อมูลต้องทันสมัยตรวจสอบคนเข้าออกราชอาณาจักรได้ และการค้าขายตามแนวชายแดนต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน
2.จัดระเบียบคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยยอมเอาใต้ดินขึ้นมาบนดิน หรือการยอมให้พวกเข้าเมืองผิดกฎหมายออกมารายงานตัวโดยไม่ผิดกฎหมาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่จัดระเบียบก่อนที่จะเข้มงวดจับกุมต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายต่อไปเพื่อที่จะผลักดันออกนอกประเทศ สตม.ต้องมีศูนย์ข้อมูล IT และต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และด่านตม.ทั่วประเทศได้ และการออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการที่ตั้งโรงงานตามแนวชายแดน เพื่อไม่ให้กลุ่มแรงงานต่างด้าวทะลักเข้ามาในเมือง
3.เมื่อจัดระเบียบเสร็จต้องเข้มงวดในการกวดขันปรามปรามจับกุม โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและแก้ไขกฎหมายให้มีบทลงโทษหนักขึ้น
4. สถานที่ควบคุม ควรสร้างความไม่สะดวกให้กับผู้กระทำผิดกฎหมายหลบหนีเข้าเมือง 5. มาตรการผลักดันส่งกลับไปนอกราชอาณาจักร โดยประสานส่งกลับประเทศต้นทางเพื่อไม่ให้ลักลอบเข้ามาได้อีก 6. เมื่อผลักดันแรงงานผิดกฎหมายออก รัฐบาลต้องติดต่อกับรัฐบาลหรือ G to Go เพื่อจัดส่งแรงงานที่ถูกกฎหมายเข้ามาชดเชยต่อไป
**ทิศทางการพัฒนาสตม.เพื่อบรรลุเป้าหมาย**
พล.ต.ท.บุญเรือง กล่าวว่า ในระยะสั้นได้จัดโครงการฝึกภาษาเพื่อนบ้านให้ตำรวจสตม.เพราะคนต่างด้าวพวกนี้เวลาถูกจับมาแล้วก็พูดคุยกันไม่รู้เรื่อง และอยู่ระหว่างเตรียมลงนามข้อตกลงร่วมระหว่างกรมการปกครอง และกรมการจัดหางานเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดระหว่างกัน นอกจากนี้จะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศ หรือไอที ซึ่งปัจจุบันสตม.ใช้อยู่ทั้งสิ้น 3 ระบบ โดยต้องพัฒนาให้เป็นระบบเดียวกัน โดยให้สตม.เป็นเจ้าภาพจัดการฐานข้อมูลกลาง ส่วนระยะเร่งด่วนได้จัดการระบบออนไลน์เชื่อมโยงกันได้ทั้ง 58 ด่านทั่วประเทศ
นอกจากนี้ทุกด่านจะสามารถตรวจสอบแบ็คลิสต์ของบุคคลทั้งหมดได้ในเดือนพฤษภาคมนี้ ขณะที่ในระยะยาว ได้วางระบบตรวจสอบบุคคลและบัญชีต้องห้าม หรือระบบ PIBIC โดยสามารถตรวจสอบบุคคลเชื่อมโยงกับ ป.ป.ส.กระทรวงการต่างประเทศในเรื่องการออกพาสปอร์ต วีซ่า สายการบินที่จะพาผู้โดยสารเข้ามา การผ่านเข้าออกบอร์ดเดอร์พาส ทั้ง 58 ด่าน หรือหน่วยงานอื่นที่จะใช้ข้อมูลของสตม.ก็จะเข้ามาได้ ถ้า สตม.อนุญาตให้เข้ามา โดย สตม.จะเป็นเจ้าของระบบดังกล่าว โดยขณะนี้สตม.มีงบประมาณอยู่แล้ว 388 ล้าน โดยได้เขียนโครงการเพื่อของบประมาณเพิ่มเติมจากรัฐบาลอีก 574 ล้าน ซี่งจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 962 ล้าน โดยจะจ้างจุฬาลงกรณ์เป็นที่ปรึกษาโครงการ และระยะเวลาแล้วเสร็จภายใน 2 ปี หากเขียนโครงการแล้วเสร็จก็จะเสนอขอเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติต่อไป ทั้งนี้สตม.ไทยต้องมีระบบไอทีที่สมบูรณ์เพื่อความมั่นคงของชาติ
**แก้กฎหมายเพิ่มโทษผู้นำพา**
นอกจากนี้ในการพัฒนาระยะยาว สตม.ได้เสนอขอแก้ไขกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยขอให้เพิ่มโทษผู้กระทำความผิด โดยผู้อยู่ในกระบวนการนำพาให้ที่พักพิง ซ่อนเร้นโดยให้มีอัตราโทษเทียบเท่ายาเสพติด เช่นเพิ่มจากจำคุกไม่เกิน 10 ปี เป็นจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 15 ปี และโทษปรับจาก 1 แสนบาท เป็นปรับตั้งแต่ 8 หมื่นบาทถึง 3 แสนบาท ส่วนข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หากเป็นผู้กระทำผิดเอง ต้องได้รับโทษเพิ่มขึ้น 3 เท่า และกรณีที่ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีได้ แต่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินการทางวินัยก็อาจให้ไล่ออก
“จากการศึกษารูปแบบการแก้ปัญหาลักลอบเข้าเมืองของหลายๆ ประเทศ อย่างเช่นญี่ปุ่น มีมาตรการเด็ดขาด ในการลดจำนวนผู้ลักลอบเข้าเมืองและอยู่อย่างผิดกฎหมาย โดยยึดหลัก ไม่ให้มา ไม่ให้เข้า ไม่ให้อยู่ โดยจะมีทีมพิจารณาและตรวจสอบก่อนอนุญาตวีซ่าก่อนที่จะให้มา แต่เมื่อได้เข้ามาแล้วหากเจ้าหน้าที่คิดว่าบุคคลนี้อาจจะเป็นภัยต่อความสงบสุข สาธารณสุข หรือความมั่นคง โดยพิจารณาบนพื้นฐานผลประโยชน์ของสังคมญี่ปุ่น ก็สามารถไม่อนุญาตให้เข้า หรือไม่ให้อยู่ได้” “ส่วนอเมริกาก็เช่นกัน ให้ความสำคัญในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการหลบหนีเข้าเมือง โดยใช้หลัก More people เพิ่มทีมเจ้าหน้าที่เพื่อเสริมกำลังป้องกันและปราบปราม- Modern Technology ใช้ Sky Box และอากาศยานขนาดเล็ก เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง รั้วแนวชายแดน และ IT เพื่อความทันสมัยในการตรวจสอบ” ผบช.สตม. กล่าว
“ยอมรับว่าการพัฒนาระบบต่าง ๆ ให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อแก้ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองนั้นยังเป็นเรื่องยากลำบาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนคนไทยด้วยกันเองด้วย อย่าไปเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเพียงเล็กน้อย เช่นรับจ้างจดทะเบียน ให้ที่พักพิงหลบซ่อนแรงงานต่างด้าว แต่คนไทยต้องมุ่งเน้นถึงความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก จึงอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติ โดยตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเองได้ยึดความปลอดภัยและผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลักในการทำงาน และคิดว่าถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกคนต้องมาสร้างสำนึกแห่งความรักชาติด้วยกัน”
โดยรายงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติยังระบุด้วยว่า “ในเอเชีย ไทยยังคงเป็นทางผ่านของผู้ลักลอบเข้าเมือง จากเกาหลีเหนือไปยังประเทศที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกาหลีใต้มากขึ้น ในห้วงรายงานทางการไทยจับกุมชาวเกาหลีเหนือ 91 คน ที่หลบหนีเข้าเมืองมาซ่อนตัวอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี เพื่อรอการช่วยเหลือไปยังประเทศที่สาม ขณะเดียวกันชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับการปลอมแปลงหนังสือเดินทางยังคงใช้ไทยเป็นศูนย์กลางในการจำหน่ายหนังสือเดินทางปลอม”
**สถานการณ์แนวโน้มกลุ่มลักลอบเข้าเมือง**
พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ( ผบช.สตม.) ให้สัมภาษณ์พิเศษถึงประเด็นปัญหานี้ว่า ในปัจจุบันได้แบ่งกลุ่มคนหลบหนีเข้าเมืองเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มคนต่างด้าวทั่วไป พวกนี้มี เกาหลีเหนือ ใช้เส้นทางโดยนั่งเรือจากจีนและล่องมาตามแม่น้ำโขงมาขึ้นที่แม่สาย หรือเชียงแสน จ.เชียงราย ขณะนี้มีตัวเลขอยู่ประมาณ 500 คน โดยล่าสุดได้พูดคุยกับท่านทูตเกาหลีใต้แล้วว่าให้รับกลุ่มคนเหล่านี้ไปยังเกาหลีใต้ด้วย โดยจะไม่มีการผลักดันไปประเทศที่สาม นอกจากนี้มีพวกจีน, บังคลาเทศ, อินเดีย ปากีสถาน, เนปาล และศรีลังกา 2.กลุ่มที่รัฐดูแลเป็นการเฉพาะ เช่นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ 1-2 แสนคน ชาวม้ง กว่า 6 พันคน บุคคลในความห่วงใยสัญชาติพม่า และอื่นๆ และ3. แรงงานต่างด้าว มี พวกพม่า ลาวและกัมพูชา ซึ่งมีจำนวนประมาณ 2 ล้านคน และล่าสุดพบว่ามีแรงงานต่างด้าวชาวเวียดนามเริ่มเข้ามา นอกจากนี้ยังมีผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญา หรือพม่าอิสลามประมาณ 2 หมื่นคน โดยช่องทางที่คนเหล่านี้ใช้คือ จุดผ่านแดนถาวร 36 จุด , จุดผ่านแดนชั่วคราว,จุดผ่อนปรน 47 จุด และช่องทางธรรมชาติ 732 จุด รวมทั้งช่องทางตามกฎหมายศุลกากร
**ภัยคุกคามความมั่นคงชาติ**
ผบช.สตม.ยอมรับว่า แน่นอนกลุ่มคนต่างด้าวเหล่านี้ย่อมสร้างปัญหาและเป็นภาระให้แก่ประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความมั่นคงภายใน ปัญหาด้านอาชญากรรมและการไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย ปัญหาชุมชนต่างด้าว ปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาผู้ติดตามและเด็กไร้สัญชาติ ปัญหาการแย่งอาชีพคนไทย และปัญหางบประมาณและรายจ่ายของรัฐ โดยแนวโน้มของสถานการณ์ดังกล่าวนับวันจะเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถดูจากตัวเลขการผลักดันออกนอกประเทศ ปี 2547 รัฐได้ผลักดันออกจำนวน 228,074 คน ปี 2548 ผลักดันจำนวน 232,425 คน และปี 2549 มีการผลักดันออกนอกประเทศจำนน 292,503 คน ทั้งนี้หากสถานการณ์ประเทศไทยยังประสบปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมืองเพิ่มขึ้นเช่นนี้ แน่นอนว่าย่อมเกิดปัญหาภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง และจำนวนคนต่างด้าวที่เพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบต่อปัญหาของชาติในระยะยาว
**มาตรการป้องกันลักลอบเข้าเมือง**
สำหรับมาตรการป้องกันการลักลอบเข้าเมือง พล.ต.ท.บุญเรือง กล่าวว่า ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยล่าสุด สตม.ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยมีทุกหน่วยงานทั้งทหาร ตำรวจ หน่วยงานด้านความมั่นคง ภาคประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อระดมสมองแก้ปัญหาลักลอบเข้าเมืองจนได้ข้อสรุปคือ
1. สกัดกั้นไม่ให้เข้ามาในราชอาณาจักร โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ลดจำนวนจุดผ่อนปรนในลักษณะประเพณีปฏิบัติ การทำข้อตกลงระหว่างประเทศให้ยึดผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก ฐานข้อมูลต้องทันสมัยตรวจสอบคนเข้าออกราชอาณาจักรได้ และการค้าขายตามแนวชายแดนต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน
2.จัดระเบียบคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยยอมเอาใต้ดินขึ้นมาบนดิน หรือการยอมให้พวกเข้าเมืองผิดกฎหมายออกมารายงานตัวโดยไม่ผิดกฎหมาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่จัดระเบียบก่อนที่จะเข้มงวดจับกุมต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายต่อไปเพื่อที่จะผลักดันออกนอกประเทศ สตม.ต้องมีศูนย์ข้อมูล IT และต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และด่านตม.ทั่วประเทศได้ และการออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการที่ตั้งโรงงานตามแนวชายแดน เพื่อไม่ให้กลุ่มแรงงานต่างด้าวทะลักเข้ามาในเมือง
3.เมื่อจัดระเบียบเสร็จต้องเข้มงวดในการกวดขันปรามปรามจับกุม โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและแก้ไขกฎหมายให้มีบทลงโทษหนักขึ้น
4. สถานที่ควบคุม ควรสร้างความไม่สะดวกให้กับผู้กระทำผิดกฎหมายหลบหนีเข้าเมือง 5. มาตรการผลักดันส่งกลับไปนอกราชอาณาจักร โดยประสานส่งกลับประเทศต้นทางเพื่อไม่ให้ลักลอบเข้ามาได้อีก 6. เมื่อผลักดันแรงงานผิดกฎหมายออก รัฐบาลต้องติดต่อกับรัฐบาลหรือ G to Go เพื่อจัดส่งแรงงานที่ถูกกฎหมายเข้ามาชดเชยต่อไป
**ทิศทางการพัฒนาสตม.เพื่อบรรลุเป้าหมาย**
พล.ต.ท.บุญเรือง กล่าวว่า ในระยะสั้นได้จัดโครงการฝึกภาษาเพื่อนบ้านให้ตำรวจสตม.เพราะคนต่างด้าวพวกนี้เวลาถูกจับมาแล้วก็พูดคุยกันไม่รู้เรื่อง และอยู่ระหว่างเตรียมลงนามข้อตกลงร่วมระหว่างกรมการปกครอง และกรมการจัดหางานเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดระหว่างกัน นอกจากนี้จะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศ หรือไอที ซึ่งปัจจุบันสตม.ใช้อยู่ทั้งสิ้น 3 ระบบ โดยต้องพัฒนาให้เป็นระบบเดียวกัน โดยให้สตม.เป็นเจ้าภาพจัดการฐานข้อมูลกลาง ส่วนระยะเร่งด่วนได้จัดการระบบออนไลน์เชื่อมโยงกันได้ทั้ง 58 ด่านทั่วประเทศ
นอกจากนี้ทุกด่านจะสามารถตรวจสอบแบ็คลิสต์ของบุคคลทั้งหมดได้ในเดือนพฤษภาคมนี้ ขณะที่ในระยะยาว ได้วางระบบตรวจสอบบุคคลและบัญชีต้องห้าม หรือระบบ PIBIC โดยสามารถตรวจสอบบุคคลเชื่อมโยงกับ ป.ป.ส.กระทรวงการต่างประเทศในเรื่องการออกพาสปอร์ต วีซ่า สายการบินที่จะพาผู้โดยสารเข้ามา การผ่านเข้าออกบอร์ดเดอร์พาส ทั้ง 58 ด่าน หรือหน่วยงานอื่นที่จะใช้ข้อมูลของสตม.ก็จะเข้ามาได้ ถ้า สตม.อนุญาตให้เข้ามา โดย สตม.จะเป็นเจ้าของระบบดังกล่าว โดยขณะนี้สตม.มีงบประมาณอยู่แล้ว 388 ล้าน โดยได้เขียนโครงการเพื่อของบประมาณเพิ่มเติมจากรัฐบาลอีก 574 ล้าน ซี่งจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 962 ล้าน โดยจะจ้างจุฬาลงกรณ์เป็นที่ปรึกษาโครงการ และระยะเวลาแล้วเสร็จภายใน 2 ปี หากเขียนโครงการแล้วเสร็จก็จะเสนอขอเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติต่อไป ทั้งนี้สตม.ไทยต้องมีระบบไอทีที่สมบูรณ์เพื่อความมั่นคงของชาติ
**แก้กฎหมายเพิ่มโทษผู้นำพา**
นอกจากนี้ในการพัฒนาระยะยาว สตม.ได้เสนอขอแก้ไขกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยขอให้เพิ่มโทษผู้กระทำความผิด โดยผู้อยู่ในกระบวนการนำพาให้ที่พักพิง ซ่อนเร้นโดยให้มีอัตราโทษเทียบเท่ายาเสพติด เช่นเพิ่มจากจำคุกไม่เกิน 10 ปี เป็นจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 15 ปี และโทษปรับจาก 1 แสนบาท เป็นปรับตั้งแต่ 8 หมื่นบาทถึง 3 แสนบาท ส่วนข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หากเป็นผู้กระทำผิดเอง ต้องได้รับโทษเพิ่มขึ้น 3 เท่า และกรณีที่ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีได้ แต่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินการทางวินัยก็อาจให้ไล่ออก
“จากการศึกษารูปแบบการแก้ปัญหาลักลอบเข้าเมืองของหลายๆ ประเทศ อย่างเช่นญี่ปุ่น มีมาตรการเด็ดขาด ในการลดจำนวนผู้ลักลอบเข้าเมืองและอยู่อย่างผิดกฎหมาย โดยยึดหลัก ไม่ให้มา ไม่ให้เข้า ไม่ให้อยู่ โดยจะมีทีมพิจารณาและตรวจสอบก่อนอนุญาตวีซ่าก่อนที่จะให้มา แต่เมื่อได้เข้ามาแล้วหากเจ้าหน้าที่คิดว่าบุคคลนี้อาจจะเป็นภัยต่อความสงบสุข สาธารณสุข หรือความมั่นคง โดยพิจารณาบนพื้นฐานผลประโยชน์ของสังคมญี่ปุ่น ก็สามารถไม่อนุญาตให้เข้า หรือไม่ให้อยู่ได้” “ส่วนอเมริกาก็เช่นกัน ให้ความสำคัญในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการหลบหนีเข้าเมือง โดยใช้หลัก More people เพิ่มทีมเจ้าหน้าที่เพื่อเสริมกำลังป้องกันและปราบปราม- Modern Technology ใช้ Sky Box และอากาศยานขนาดเล็ก เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง รั้วแนวชายแดน และ IT เพื่อความทันสมัยในการตรวจสอบ” ผบช.สตม. กล่าว
“ยอมรับว่าการพัฒนาระบบต่าง ๆ ให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อแก้ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองนั้นยังเป็นเรื่องยากลำบาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนคนไทยด้วยกันเองด้วย อย่าไปเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเพียงเล็กน้อย เช่นรับจ้างจดทะเบียน ให้ที่พักพิงหลบซ่อนแรงงานต่างด้าว แต่คนไทยต้องมุ่งเน้นถึงความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก จึงอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติ โดยตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเองได้ยึดความปลอดภัยและผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลักในการทำงาน และคิดว่าถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกคนต้องมาสร้างสำนึกแห่งความรักชาติด้วยกัน”