นายกฯแถลงผลงานรัฐบาลต่อสภาวันนี้ คุยผลงานเพียบ ไม่หวั่นสนช. ซักฟอก เชื่อนายกฯพลิ้วพอตัว ด้านสนช.ยันอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นต่อมทำงานของรัฐบาล ไม่ใช่มาไล่นายกฯ "มีชัย"พร้อมเปิดกว้างให้สมาชิกอภิปรายเต็มที่
ร.อ.นพ. ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการแถลงผลงานรัฐบาล ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะมีขึ้นในวันนี้(24พ.ค.) ว่า รัฐบาลได้จัดพิมพ์เอกสารรายงานผลการดำเนินการตาม นโยบายของคณะรัฐมนตรี รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่จะแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเนื้อหาประกอบด้วย 4 ส่วน 154 หน้า จัดพิมพ์ 1,500 เล่ม เพื่อส่งให้กับครม. และสนช. เพื่อนำไปทำความเข้าใจก่อนที่จะมีการแถลงโดยเอกสารดังกล่าว สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้จัดทำ
ทั้งนี้ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะแถลงรายงานผลการปฏิบัติงานตั้งแต่เดือน ต.ค.49 จนถึงปัจจุบัน โดยจะเน้นผลงานสำคัญที่ได้ประกาศเป็นวาระสำคัญ และวาระแห่งชาติของรัฐบาล การดำเนินการที่ผ่านมา ในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง รวมทั้งแนวทางการทำงานในช่วงเวลาที่เหลือของรัฐบาล
ส่วนกรอบการอภิปรายของสนช. จะอยู่ที่ดุลยพินิจของประธานสภาว่า จะมีรูปแบบในการอภิปรายอย่างไร อาจจะเป็นไปในลักษณะรายกลุ่ม เช่น เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น หรือเป็นไปตามลักษณะที่รัฐบาลได้นำเสนอในหนังสือที่ได้จัดเตรียมไว้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประธานสภา ซึ่งจากการหารือกับวิป สนช. ตกลงว่าจะใช้เวลาในการอภิปราย 1 วัน
ส่วนที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่มีผลงานที่เป็นรูปธรรมทำนั้น ร.อ.นพ. ยงยุทธ กล่าวว่า รัฐบาลมีผลงานที่เป็นรูปธรรมหลายเรื่อง ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะได้ชี้แจงให้ทราบ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การผลักดันตัวงบประมาณให้ได้เร็วกว่าที่กำหนด เรื่องนโยบายการแก้ปัญหาสถานการณ์ภาคใต้ ส่วนนโยบายด้านสังคม ก็ชัดเจนมีวาระด้านสังคมมากมายที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องดำเนินการอยู่ในขณะนี้
เมื่อถามว่า จะมีสนช.บางส่วนจะใช้การแถลงผลงานเป็นเวทีซักฟอกนายกรัฐมนตรี ร.อ.นพ. ยงยุทธ กล่าวว่า เปิดกว้าง ยินดี และพร้อมที่จะชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ขอให้เป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง เป็นการอภิปรายในเชิงสร้างสรรค์
ส่วนที่มีการมองว่าการอภิปรายจะเป็นเวทีเพื่อการต่อรองผลประโยชน์ของสนช. บางส่วนนั้นเราไม่ได้มีเจตนาที่จะต่อรองกับใครอยู่แล้ว การอภิปรายในวันนี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลเป็นผู้เสนอ เชื่อว่า น่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ทำความเข้าใจในสิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการไป คงไม่ใช่เวทีที่จะต่อรองอะไร
สำหรับการชี้แจงในส่วนของกฎหมาย หลังจากที่ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลด้านนี้ได้ลาออกไปแล้วนั้น นายกรัฐมนตรี และนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกฯ และรมว.พัฒนาสังคมฯ จะเป็นผู้ชี้แจง เชื่อว่าคงไม่มีปัญหาอะไร
ทั้งนี้ หลังการอภิปราย จะมีการปรับครม.ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือไม่ อยู่ที่ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งตนคิดว่าช่วงเวลาเหลือไม่นาน ถ้าถึงกับล้างไพ่เอาคนใหม่เข้ามาจะทำให้เสียเวลาติดตามงานและศึกษางานในช่วงเวลาหนึ่งทำให้เวลาหายไปพอสมควร จึงคิดว่าการปรับครม.ใหญ่คงไม่เกิดขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื้อหาทั้ง 4 ส่วนของรายงานผลงานรัฐบาล คือ ส่วนที่ 1 เรื่องสถานการณ์ทั่วไปก่อนการเข้าบริหารงานของรัฐบาล โดยมีเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินการตามนโยบายของครม. เช่น นโยบายปฏิรูปการเมือง การปกครอง การบริหาร นโยบายด้านเศรษฐกิจ และสังคม ส่วนที่ 3 . ประกอบด้วยวาระแห่งชาติและวาระสำคัญของรัฐบาล อาทิ การจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรม ธรรมมาภิบาล ปราบทุจริต ความไม่เป็นธรรมในสังคม และส่วนที่ 4 . แนวทางการดำเนินตามนโยบายของครม.ในระยะ 6 เดือนต่อไป กับ ภาคผนวก แยกเป็นเรื่องกม. และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้ดำเนินการไป
**ยันอภิปรายสร้างสรรค์ไม่ใช่ไล่นายกฯ
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าว ถึงการอภิปรายของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการแถลงผลงานของรัฐบาลในรอบ 6 เดือนต่อสนช. ในวันนี้(24 พ.ค.) ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการ กำหนดรูปแบบระยะเวลา ในการอภิปรายของสมาชิก เพราะคงต้องรอสมาชิกมาแสดงความจำนงว่าใครต้องการเข้าร่วมการอภิปรายมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากมีมาก คง ต้องมีการจำกัดเวลา อย่างไรก็ตามคงจะไม่มีการแบ่งหัวข้อการอภิปรายเป็นด้านต่างๆ เพื่อจะได้เปิดกว้างให้สมาชิกได้อภิปรายอย่างทั้วถึง ส่วนบรรยากาศในการอภิปราย คง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เมื่อนายกรัฐมนตรีได้กล่าวนำแล้ว จากนั้นจะเป็นการ อภิปรายของสมาชิก ตามที่ได้จัดลำดับไว้ซึ่งสมาชิกคงจะได้เสนอความคิดเห็นและข้อ เสนอแนะในแต่ละด้านให้สมาชิกอภิปรายต่อไป
นายประพันธ์ คูณมี กรรมาธิการกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) กล่าวว่า การอภิปรายในวันนี้ ไม่ได้เป็นการอภิปรายเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี หรือล้มล้างรัฐบาล แต่เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลเร่งทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนกรณีของการจำกัดเวลาการอภิปรายนั้น ตนเห็นว่าสมาชิก สนช. ควรจะเป็นผู้กำหนดกรอบเวลาได้เอง เพื่อให้ได้เกิดสาระประโยชน์ต่อการบริหารบ้านเมืองอย่างแท้จริง
"จะเป็นการอภิปรายถึงข้อบกพร่องในการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมา ว่า นอกจากมีผลงานที่ไม่เป็นรูปธรรมแล้ว ยังทำให้กลุ่มอำนาจเก่ามีความเข้มแข็ง และท้าทายรัฐบาลรุนแรงขึ้น ส่วนการจำกัดเวลาของการอภิปราย ไม่เกินคนละ 15 นาทีนั้น ผมว่าไม่น่าได้ประโยชน์ เพราะจะไม่สามารถเสนออะไรแก่รัฐบาลได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นสมาชิกที่จะอภิปรายควรจะสามารถกำหนดกรอบในการอภิปรายได้เอง แต่ไม่ควรเกินคนละ 40 นาที ซึ่งเชื่อว่าอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง นายกรัฐมนตรีจะนำกลับไปพิจารณาเพื่อแก้ไขในการทำงาน" นายประพันธ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่นายประสิทธิ์ โฆวิไลกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลาออกไป สาเหตุหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการชี้แจงในวันนี้ (24 พ.ค.) ใช่หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า การลาออกของนายประสิทธิ์ น่าจะเกิดจากความอึดอัดใจจากการทำงาน อีกทั้งยังจะต้องมาชี้แจงร่างกฎหมายที่มีปัญหาของคนอื่นต่อ สนช. โดยที่ผ่านมา นายประสิทธิ์ ก็ถูกตำหนิมามาก บวกกับการที่นายประสิทธิ์ เองก็เป็นโรคหัวใจ ดังนั้นการที่จะมาถูกอภิปรายอย่างหนักในวันนี้คงจะรับไม่ไหว
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ วิป สนช. กล่าวว่า ในการอภิปรายในวันนี้ จะเริ่มจากการหมวดทั่วไป , เศรษฐกิจ, การเมือง, ความมั่นคง, และวาระเร่งด่วนโดยจะให้สมาชิกได้มีการอภิปรายคนละ 10 นาที ซึ่งขณะนี้ได้มีสมาชิกลงรายชื่อขออภิปรายแล้วเกือบ 60 คน ทั้งนี้ คาดว่าอภิปรายคงไม่ดุเดือดเหมือนการอภิปรายของระบบสภาที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ในสนช. ก็เป็นข้าราชการประจำ ดังนั้นการอภิปรายคงเป็นการวิจารณ์ และเสนอแนะทางวิชาการมากกว่า แต่เบื้องต้นคาดว่า คงมีเพียงสมาชิก สนช.แค่ 2 คนเท่านั้นที่จะมีการอภิปรายแบบไล่บี้ให้นายกรัฐมนตรีลาออก
ร.อ.นพ. ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการแถลงผลงานรัฐบาล ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะมีขึ้นในวันนี้(24พ.ค.) ว่า รัฐบาลได้จัดพิมพ์เอกสารรายงานผลการดำเนินการตาม นโยบายของคณะรัฐมนตรี รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่จะแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเนื้อหาประกอบด้วย 4 ส่วน 154 หน้า จัดพิมพ์ 1,500 เล่ม เพื่อส่งให้กับครม. และสนช. เพื่อนำไปทำความเข้าใจก่อนที่จะมีการแถลงโดยเอกสารดังกล่าว สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้จัดทำ
ทั้งนี้ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะแถลงรายงานผลการปฏิบัติงานตั้งแต่เดือน ต.ค.49 จนถึงปัจจุบัน โดยจะเน้นผลงานสำคัญที่ได้ประกาศเป็นวาระสำคัญ และวาระแห่งชาติของรัฐบาล การดำเนินการที่ผ่านมา ในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง รวมทั้งแนวทางการทำงานในช่วงเวลาที่เหลือของรัฐบาล
ส่วนกรอบการอภิปรายของสนช. จะอยู่ที่ดุลยพินิจของประธานสภาว่า จะมีรูปแบบในการอภิปรายอย่างไร อาจจะเป็นไปในลักษณะรายกลุ่ม เช่น เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น หรือเป็นไปตามลักษณะที่รัฐบาลได้นำเสนอในหนังสือที่ได้จัดเตรียมไว้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประธานสภา ซึ่งจากการหารือกับวิป สนช. ตกลงว่าจะใช้เวลาในการอภิปราย 1 วัน
ส่วนที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่มีผลงานที่เป็นรูปธรรมทำนั้น ร.อ.นพ. ยงยุทธ กล่าวว่า รัฐบาลมีผลงานที่เป็นรูปธรรมหลายเรื่อง ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะได้ชี้แจงให้ทราบ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การผลักดันตัวงบประมาณให้ได้เร็วกว่าที่กำหนด เรื่องนโยบายการแก้ปัญหาสถานการณ์ภาคใต้ ส่วนนโยบายด้านสังคม ก็ชัดเจนมีวาระด้านสังคมมากมายที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องดำเนินการอยู่ในขณะนี้
เมื่อถามว่า จะมีสนช.บางส่วนจะใช้การแถลงผลงานเป็นเวทีซักฟอกนายกรัฐมนตรี ร.อ.นพ. ยงยุทธ กล่าวว่า เปิดกว้าง ยินดี และพร้อมที่จะชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ขอให้เป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง เป็นการอภิปรายในเชิงสร้างสรรค์
ส่วนที่มีการมองว่าการอภิปรายจะเป็นเวทีเพื่อการต่อรองผลประโยชน์ของสนช. บางส่วนนั้นเราไม่ได้มีเจตนาที่จะต่อรองกับใครอยู่แล้ว การอภิปรายในวันนี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลเป็นผู้เสนอ เชื่อว่า น่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ทำความเข้าใจในสิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการไป คงไม่ใช่เวทีที่จะต่อรองอะไร
สำหรับการชี้แจงในส่วนของกฎหมาย หลังจากที่ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลด้านนี้ได้ลาออกไปแล้วนั้น นายกรัฐมนตรี และนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกฯ และรมว.พัฒนาสังคมฯ จะเป็นผู้ชี้แจง เชื่อว่าคงไม่มีปัญหาอะไร
ทั้งนี้ หลังการอภิปราย จะมีการปรับครม.ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือไม่ อยู่ที่ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งตนคิดว่าช่วงเวลาเหลือไม่นาน ถ้าถึงกับล้างไพ่เอาคนใหม่เข้ามาจะทำให้เสียเวลาติดตามงานและศึกษางานในช่วงเวลาหนึ่งทำให้เวลาหายไปพอสมควร จึงคิดว่าการปรับครม.ใหญ่คงไม่เกิดขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื้อหาทั้ง 4 ส่วนของรายงานผลงานรัฐบาล คือ ส่วนที่ 1 เรื่องสถานการณ์ทั่วไปก่อนการเข้าบริหารงานของรัฐบาล โดยมีเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินการตามนโยบายของครม. เช่น นโยบายปฏิรูปการเมือง การปกครอง การบริหาร นโยบายด้านเศรษฐกิจ และสังคม ส่วนที่ 3 . ประกอบด้วยวาระแห่งชาติและวาระสำคัญของรัฐบาล อาทิ การจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรม ธรรมมาภิบาล ปราบทุจริต ความไม่เป็นธรรมในสังคม และส่วนที่ 4 . แนวทางการดำเนินตามนโยบายของครม.ในระยะ 6 เดือนต่อไป กับ ภาคผนวก แยกเป็นเรื่องกม. และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้ดำเนินการไป
**ยันอภิปรายสร้างสรรค์ไม่ใช่ไล่นายกฯ
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าว ถึงการอภิปรายของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการแถลงผลงานของรัฐบาลในรอบ 6 เดือนต่อสนช. ในวันนี้(24 พ.ค.) ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการ กำหนดรูปแบบระยะเวลา ในการอภิปรายของสมาชิก เพราะคงต้องรอสมาชิกมาแสดงความจำนงว่าใครต้องการเข้าร่วมการอภิปรายมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากมีมาก คง ต้องมีการจำกัดเวลา อย่างไรก็ตามคงจะไม่มีการแบ่งหัวข้อการอภิปรายเป็นด้านต่างๆ เพื่อจะได้เปิดกว้างให้สมาชิกได้อภิปรายอย่างทั้วถึง ส่วนบรรยากาศในการอภิปราย คง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เมื่อนายกรัฐมนตรีได้กล่าวนำแล้ว จากนั้นจะเป็นการ อภิปรายของสมาชิก ตามที่ได้จัดลำดับไว้ซึ่งสมาชิกคงจะได้เสนอความคิดเห็นและข้อ เสนอแนะในแต่ละด้านให้สมาชิกอภิปรายต่อไป
นายประพันธ์ คูณมี กรรมาธิการกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) กล่าวว่า การอภิปรายในวันนี้ ไม่ได้เป็นการอภิปรายเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี หรือล้มล้างรัฐบาล แต่เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลเร่งทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนกรณีของการจำกัดเวลาการอภิปรายนั้น ตนเห็นว่าสมาชิก สนช. ควรจะเป็นผู้กำหนดกรอบเวลาได้เอง เพื่อให้ได้เกิดสาระประโยชน์ต่อการบริหารบ้านเมืองอย่างแท้จริง
"จะเป็นการอภิปรายถึงข้อบกพร่องในการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมา ว่า นอกจากมีผลงานที่ไม่เป็นรูปธรรมแล้ว ยังทำให้กลุ่มอำนาจเก่ามีความเข้มแข็ง และท้าทายรัฐบาลรุนแรงขึ้น ส่วนการจำกัดเวลาของการอภิปราย ไม่เกินคนละ 15 นาทีนั้น ผมว่าไม่น่าได้ประโยชน์ เพราะจะไม่สามารถเสนออะไรแก่รัฐบาลได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นสมาชิกที่จะอภิปรายควรจะสามารถกำหนดกรอบในการอภิปรายได้เอง แต่ไม่ควรเกินคนละ 40 นาที ซึ่งเชื่อว่าอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง นายกรัฐมนตรีจะนำกลับไปพิจารณาเพื่อแก้ไขในการทำงาน" นายประพันธ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่นายประสิทธิ์ โฆวิไลกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลาออกไป สาเหตุหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการชี้แจงในวันนี้ (24 พ.ค.) ใช่หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า การลาออกของนายประสิทธิ์ น่าจะเกิดจากความอึดอัดใจจากการทำงาน อีกทั้งยังจะต้องมาชี้แจงร่างกฎหมายที่มีปัญหาของคนอื่นต่อ สนช. โดยที่ผ่านมา นายประสิทธิ์ ก็ถูกตำหนิมามาก บวกกับการที่นายประสิทธิ์ เองก็เป็นโรคหัวใจ ดังนั้นการที่จะมาถูกอภิปรายอย่างหนักในวันนี้คงจะรับไม่ไหว
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ วิป สนช. กล่าวว่า ในการอภิปรายในวันนี้ จะเริ่มจากการหมวดทั่วไป , เศรษฐกิจ, การเมือง, ความมั่นคง, และวาระเร่งด่วนโดยจะให้สมาชิกได้มีการอภิปรายคนละ 10 นาที ซึ่งขณะนี้ได้มีสมาชิกลงรายชื่อขออภิปรายแล้วเกือบ 60 คน ทั้งนี้ คาดว่าอภิปรายคงไม่ดุเดือดเหมือนการอภิปรายของระบบสภาที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ในสนช. ก็เป็นข้าราชการประจำ ดังนั้นการอภิปรายคงเป็นการวิจารณ์ และเสนอแนะทางวิชาการมากกว่า แต่เบื้องต้นคาดว่า คงมีเพียงสมาชิก สนช.แค่ 2 คนเท่านั้นที่จะมีการอภิปรายแบบไล่บี้ให้นายกรัฐมนตรีลาออก