ตอนที่ฝ่ายซ้ายรุ่งเรืองหลัง 14 ตุลาและ 6 ตุลาอยู่นั้น เวลาที่ฝ่ายซ้ายพูดคุยสื่อสารกันเป็นวงใหญ่ในหมู่พวกเดียวกัน ฝ่ายซ้ายมักจะเรียกกันและกันด้วยคำว่า “เพื่อนๆ” อยู่เสมอ ซึ่งฟังดูแล้วก็เข้าทีดี
และคงเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง ที่ทุกวันนี้ผมยังได้ยินนิสิต-นักศึกษาใช้คำนี้กันอยู่เวลาที่สื่อสารกันเองในคนหมู่ใหญ่ ถึงแม้ว่าเรื่องที่สื่อสารกันนั้นจะไม่เกี่ยวกับการเมืองหรือเรื่องซ้ายๆ อย่างอดีตก็ตาม
แต่จริงๆ แล้วมันจะเกี่ยวอะไรกับความเป็นซ้ายหรือไม่นั้นผมไม่รู้ เพราะตอนที่ผมเข้ามหาวิทยาลัยก็เป็นไปในช่วงที่ฝ่ายซ้ายกำลังรุ่งเรืองพอดี และเมื่อได้ยินนักศึกษาเรียกกันเองว่า “เพื่อนๆ” ก็รู้สึกชอบทันที
ที่ชอบก็เพราะตอนนั้นผมเข้ามหาวิทยาลัยด้วยความคิดที่เป็นซ้ายอยู่แล้ว (ส่วนจะซ้ายแบบไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) ตอนที่เข้าไปใหม่ๆ ยังคิดเล่นๆ อยู่เลยว่า ถ้าได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีอุดมการณ์เดียวกันแล้วละก็ จะเรียกเขาหรือเธอให้หายอยากว่า “สหาย” ด้วยซ้ำไป
นั่นคิดแบบไร้เดียงสาจริงๆ นะครับ เพราะถึงยังไงก็รู้อยู่เต็มอกว่าคงเป็นไปไม่ได้
แต่พอเข้าไปและเห็นเขาใช้คำว่า “เพื่อนๆ” มาเรียกกันและกัน ก็รู้สึกชอบขึ้นมาทันที และนึกชมในใจว่า ใครกันหนอที่ช่างคิดค้นคำนี้ขึ้นมาใช้ เพราะแม้จะเป็นคนละคำกับคำว่า “สหาย” ก็ตาม แต่คำที่ว่าก็เข้ามาชดเชยความรู้สึกซ้ายๆ ของผมได้ไม่น้อย
อย่างน้อยมันก็สนองอุดมคติเบื้องต้นของผม ที่เริ่มเห็นสังคมที่มีความเสมอภาคเกิดขึ้นอยู่ ณ เบื้องหน้าแล้ว ด้วยคำว่า “เพื่อนๆ” นั้นสะท้อนสถานะที่เท่าเทียมกันได้ดีไม่น้อย คือไม่ต้องมาแบ่งรุ่นพี่รุ่นน้องผ่านระบบโซตัสอีกต่อไป ถึงแม้จะเป็นคำที่ยังไม่สะใจเท่ากับคำว่า “สหาย” ก็ตาม
และจากที่ชอบ พอใช้ๆ ไปนานวันเข้า ผมก็ชินกับคำว่า “เพื่อนๆ” ไปในที่สุด จนไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไรอีก ตอนนั้นรู้สึกอยู่อย่างเดียวว่า เพื่อนๆ ที่อยู่ตรงหน้าต่างล้วนมีอุดมการณ์เดียวกัน ที่สำคัญคือ ต่างก็รอวันที่จะได้ใช้คำว่า “สหาย” เรียกกันและกันแทบทั้งนั้น ด้วยทุกคนต่างก็เชื่อว่า วันนั้นจะมาถึงในอีกไม่ช้า
ผมจะรู้สึกหงุดหงิดอยู่บ้างก็ตอนที่เหตุการณ์ 6 ตุลาผ่านไประยะหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เข้าป่าและทำให้ไม่มีโอกาสได้ใช้คำว่า “สหาย” ให้หายอยาก ได้แต่นึกอิจฉา “เพื่อนๆ” ที่เข้าไปแล้วได้ใช้คำว่า “สหาย” กันจนสุขใจทั่วหน้า ผมและพรรคพวกเพื่อนฝูงจึงยังคงใช้คำว่า “เพื่อนๆ” ต่อไป และเฝ้ารอวันแห่งชัยชนะเรื่อยมา โดยไม่นึกว่าป่าจะแตกเข้าในวันหนึ่ง
ตอนที่ป่าแตกใหม่ๆ นั้น พรรคพวกเพื่อนฝูงที่ออกจากป่ายังคงเกาะกลุ่มและไปมาหาสู่กันอยู่ หลายคนยังคงยืนยันในอุดมการณ์ซ้ายๆ ของตนอยู่ ฟังแล้วทำให้รู้สึกดี ผิดกับอีกกลุ่มหนึ่งที่ชีวิตสวิงไป 180 องศาชนิดที่กู่ไม่กลับ เพื่อนกลุ่มนี้บอกว่า ที่ผ่านมานั้นพวกเราคิดผิด คือผิดที่ยังไม่ทันได้ข้ามขั้นตอนทุนนิยมอย่างเต็มที่ ก็ริอ่านข้ามไปสู่สังคมนิยมเสียแล้ว และเพื่อทำให้ถูกขั้นตอน เขาจึงประกาศใช้ชีวิตแบบทุนนิยมเต็มที่
ตอนที่ได้ยินเช่นนั้น ผมได้แต่ทำตาปริบๆ พูดอะไรไม่ออก เหตุผลหนึ่งก็เพราะเพื่อนที่พูดนั้นเป็นรุ่นพี่ (เห็นไหมว่า ถึงผมจะเสน่หากับคำว่า “เพื่อนๆ” หรือ “สหาย” ยังไง ก็ยังทิ้งระบบอาวุโสไปไม่ได้อยู่ดี) อีกเหตุผลหนึ่งเพราะผมไม่ได้เข้าป่าไปกับเขาด้วย จึงคิดว่า บางทีที่เขาพูดนั้นอาจจะถูก
ยังไงก็ตาม เพื่อนคนที่ว่าคนนั้นผมไม่ได้เจออีกเลยนานนับสิบปี จึงไม่รู้ว่าเขาได้ใช้ชีวิตแบบทุนนิยมอย่างไร แต่รู้ต่อมาว่าเขาไปผิดอะไรเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ จนต้องติดคุก ซึ่งเอาเข้าจริงผมก็ไม่รู้ตื้นลึกหนาบางอยู่ดี
ผมอดรู้สึกไม่ได้ว่า ถ้าตัดประเด็นเรื่องที่เขาติดคุกออกไปแล้ว สิ่งที่เขาพูดให้ผมฟังนั้นช่างไม่ต่างกับที่ อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ จากเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ พูดอยู่ในขณะนี้แม้แต่น้อย เป็นอยู่แต่ว่าของ พิชิต นั้น “ช้า” กว่าเพื่อนผม
เพราะตอนที่เพื่อนผมพูดนั้น อ.พิชิต ยังพูดอะไรแบบเดิมที่ฝ่ายซ้าย (ที่ออกจากป่ามาแล้ว) ยังพูดกันอยู่ โดยเฉพาะในเวทีวิชาการของกลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่ตอนนั้นยังขึ้นต่อสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ซึ่งผมฟังแล้วก็ชอบใจมาก ตอนนี้ อ.พิชิต ไม่พูดแบบนั้นอีกแล้ว แต่หันมาพูดแบบเพื่อนผมคนที่ว่า
จะอย่างไรก็ตาม หลังจากป่าแตกไปแล้ว อดีตฝ่ายซ้ายต่างก็ได้นำตัวเองเข้ามาอยู่ในขั้นตอนของทุนนิยมอย่างที่เพื่อนผมว่าไว้จนยากที่จะปฏิเสธ ชั่วอยู่แต่ว่าแต่ละคนจะวางท่าที จุดยืน และวิธีคิดของตนอย่างไรเท่านั้น
ตอนนั้น อดีตฝ่ายซ้ายทั้งที่เป็นแบบ “เพื่อนๆ” และแบบ “สหาย” ต่างก็ช่วยเหลือกันและกัน ที่น่าประทับใจก็คือ วันดีคืนดีก็นัดพบปะสังสรรค์กันที การพบปะที่ว่านี้ไม่ใช่พบกันแต่ในหมู่เพื่อนฝูงที่รู้จักกันเป็นทางส่วนตัวเท่านั้น แต่เป็นการพบปะกันแบบเป็นหมู่คณะนับร้อยคน
ดังนั้น คนที่ไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัวจึงมาอยู่ในที่เดียวกัน และต่างก็มาด้วยเหตุผลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน (หรืออย่างน้อยก็เคยมี) ที่ผมต้องชอบใจ (อีกครั้ง) ก็คือ ชื่อที่เรียกการพบปะกันในงานนี้ที่เรียกการพบปะกันแบบ “เพื่อนพ้องน้องพี่” ซึ่งฟังดูเข้าทีดีเช่นกัน ถึงแม้จะติดระบบอาวุโสอยู่บ้าง แต่คำว่า “เพื่อนพ้อง” ที่แทรกอยู่นั้นก็ทำให้รู้สึกอบอุ่นมากโขอยู่
ผมเคยไปร่วมงานนี้อยู่ครั้งสองครั้ง ครั้งหนึ่งบนเรือที่ล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา ในครั้งนี้มี คุณวีระ มุสิกพงศ์ ไปร่วมด้วย ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับฝ่ายซ้าย แต่ด้วยตอนนั้น คุณวีระ กำลังมีตำแหน่งใหญ่โตในทางการเมือง และมีสายสัมพันธ์กับอดีตฝ่ายซ้ายบางคน จึงไม่มีอะไรน่าขัดข้อง แต่กลับน่ายินดีเสียมากกว่า
ครั้งต่อมา ถ้าจำไม่ผิดดูเหมือนจะจัดที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ เวลานั้นอดีตฝ่ายซ้ายหลายคนได้เข้าสู่วงจรการเมืองในระบบรัฐสภาไปแล้ว ยังจำได้ว่า โฆษกบนเวทีได้ขอให้ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง จับมือกันฉันท์สหายกับ คุณพินิจ จารุสมบัติ ด้วยว่ากันว่าทั้งสองเกิดขัดแย้งกันขึ้นในระหว่างที่ต่างหาเสียงเลือกตั้งเพื่อเป็น ส.ส. อย่างหน้าดำคร่ำเครียด และทั้งสองก็จับมือกันด้วยดี (ถึงแม้พอจับเสร็จต่างก็แยกย้ายกันไปนั่งโต๊ะของตัวเองก็ตาม)
จากนั้นผมก็ไม่ได้ไปงาน “เพื่อนพ้องน้องพี่” อีกเลย แต่ได้ยินและได้รับการชักชวนให้ไปอยู่เป็นระยะ จนหลังๆ มานี้ไม่เห็นได้ข่าวมาหลายปีแล้ว ข่าวที่ได้ยินแทนที่ก็คือ การที่ “เพื่อนพ้องน้องพี่” จำนวนไม่น้อยหันไปเอาดีในทางการเมืองมากขึ้น ที่ได้ดิบได้ดีก็มีไม่น้อย
บรรดา “เพื่อนพ้องน้องพี่” ของผมที่ลงไปเล่นการเมืองนั้นมีกระจายอยู่แทบทุกพรรค และในบรรดาพรรคทั้งหมดที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ผมเดาว่า พรรคไทยรักไทยน่าจะเป็นที่รวมของ “เพื่อนพ้องน้องพี่” เอาไว้ได้มากที่สุด
และถ้าที่ผมเดาไม่ผิด ก็แสดงว่าบรรดาอดีตฝ่ายซ้ายคงจะเห็นเหมือนกับที่เพื่อนคนที่เล่าข้างต้นมากขึ้น และคงเห็นว่า จุดยืนเดิมสมัยอยู่ป่าเมื่อครั้งยังเป็นซ้ายนั้นไม่น่าจะถูก เพราะ “เพื่อนพ้องน้องพี่” หลายคนได้แสดงจุดยืนในอันที่จะอยู่เคียงข้าง คุณทักษิณ ชินวัตร อย่างแจ่มชัด ไม่โลเล
ยิ่งเห็น คุณวีระกับพรรคพวกทั้งที่เคยซ้ายและไม่ซ้ายไปตั้งบริษัทโดยใช้ชื่อ “เพื่อนพ้องน้องพี่” เพื่อผลิตสื่อออกโทรทัศน์ด้วยแล้ว (ถึงแม้จะยังไม่ได้ออกก็ตาม) ก็ยิ่งเท่ากับตอกย้ำในจุดยืนที่ว่าจริงๆ
แม้ผมจะรู้ว่าคำว่า “เพื่อนพ้องน้องพี่” ไม่ได้เป็นคำที่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างไรก็จริง แต่ตั้งแต่ที่ชื่อนี้ไปปรากฏเป็นชื่อบริษัทของ คุณวีระ และกับพรรคพวกแล้ว ผมก็เขินที่จะใช้ชื่อนี้อีก
อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ผมต้องทักทายสวัสดีกับเพื่อนพ้องน้องพี่ของผมในที่ทำงานเก่าของผม ผมยังมิกล้าที่จะเอ่ยคำคำนี้ขึ้นมาทักทายสวัสดี แต่เลี่ยงไปใช้คำว่า “พี่ๆ น้องๆ และเพื่อนๆ” แทน ซึ่งเป็นคำที่เยิ่นเย้อ ไม่กระชับเหมือนคำที่เอ่ยมาก่อนหน้านี้
ผมได้แต่ภาวนาว่า คนที่รักเพื่อนอย่างผมนั้น แม้คำว่า “สหาย” คำว่า “เพื่อนๆ” และคำว่า “เพื่อนพ้องน้องพี่” จะหายไปเพราะการเมืองแล้วก็ตาม ยังไงก็ขอให้คนที่เป็นเพื่อนอย่าได้หายไปด้วยก็แล้วกัน และถ้ายังไม่หาย ก็ขอให้อยู่อย่างมีตัวมีตนด้วย
อย่าได้ “ตาย” จากกันเหมือนกับคำที่ขานเรียกกันนั้นเลย
และคงเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง ที่ทุกวันนี้ผมยังได้ยินนิสิต-นักศึกษาใช้คำนี้กันอยู่เวลาที่สื่อสารกันเองในคนหมู่ใหญ่ ถึงแม้ว่าเรื่องที่สื่อสารกันนั้นจะไม่เกี่ยวกับการเมืองหรือเรื่องซ้ายๆ อย่างอดีตก็ตาม
แต่จริงๆ แล้วมันจะเกี่ยวอะไรกับความเป็นซ้ายหรือไม่นั้นผมไม่รู้ เพราะตอนที่ผมเข้ามหาวิทยาลัยก็เป็นไปในช่วงที่ฝ่ายซ้ายกำลังรุ่งเรืองพอดี และเมื่อได้ยินนักศึกษาเรียกกันเองว่า “เพื่อนๆ” ก็รู้สึกชอบทันที
ที่ชอบก็เพราะตอนนั้นผมเข้ามหาวิทยาลัยด้วยความคิดที่เป็นซ้ายอยู่แล้ว (ส่วนจะซ้ายแบบไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) ตอนที่เข้าไปใหม่ๆ ยังคิดเล่นๆ อยู่เลยว่า ถ้าได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีอุดมการณ์เดียวกันแล้วละก็ จะเรียกเขาหรือเธอให้หายอยากว่า “สหาย” ด้วยซ้ำไป
นั่นคิดแบบไร้เดียงสาจริงๆ นะครับ เพราะถึงยังไงก็รู้อยู่เต็มอกว่าคงเป็นไปไม่ได้
แต่พอเข้าไปและเห็นเขาใช้คำว่า “เพื่อนๆ” มาเรียกกันและกัน ก็รู้สึกชอบขึ้นมาทันที และนึกชมในใจว่า ใครกันหนอที่ช่างคิดค้นคำนี้ขึ้นมาใช้ เพราะแม้จะเป็นคนละคำกับคำว่า “สหาย” ก็ตาม แต่คำที่ว่าก็เข้ามาชดเชยความรู้สึกซ้ายๆ ของผมได้ไม่น้อย
อย่างน้อยมันก็สนองอุดมคติเบื้องต้นของผม ที่เริ่มเห็นสังคมที่มีความเสมอภาคเกิดขึ้นอยู่ ณ เบื้องหน้าแล้ว ด้วยคำว่า “เพื่อนๆ” นั้นสะท้อนสถานะที่เท่าเทียมกันได้ดีไม่น้อย คือไม่ต้องมาแบ่งรุ่นพี่รุ่นน้องผ่านระบบโซตัสอีกต่อไป ถึงแม้จะเป็นคำที่ยังไม่สะใจเท่ากับคำว่า “สหาย” ก็ตาม
และจากที่ชอบ พอใช้ๆ ไปนานวันเข้า ผมก็ชินกับคำว่า “เพื่อนๆ” ไปในที่สุด จนไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไรอีก ตอนนั้นรู้สึกอยู่อย่างเดียวว่า เพื่อนๆ ที่อยู่ตรงหน้าต่างล้วนมีอุดมการณ์เดียวกัน ที่สำคัญคือ ต่างก็รอวันที่จะได้ใช้คำว่า “สหาย” เรียกกันและกันแทบทั้งนั้น ด้วยทุกคนต่างก็เชื่อว่า วันนั้นจะมาถึงในอีกไม่ช้า
ผมจะรู้สึกหงุดหงิดอยู่บ้างก็ตอนที่เหตุการณ์ 6 ตุลาผ่านไประยะหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เข้าป่าและทำให้ไม่มีโอกาสได้ใช้คำว่า “สหาย” ให้หายอยาก ได้แต่นึกอิจฉา “เพื่อนๆ” ที่เข้าไปแล้วได้ใช้คำว่า “สหาย” กันจนสุขใจทั่วหน้า ผมและพรรคพวกเพื่อนฝูงจึงยังคงใช้คำว่า “เพื่อนๆ” ต่อไป และเฝ้ารอวันแห่งชัยชนะเรื่อยมา โดยไม่นึกว่าป่าจะแตกเข้าในวันหนึ่ง
ตอนที่ป่าแตกใหม่ๆ นั้น พรรคพวกเพื่อนฝูงที่ออกจากป่ายังคงเกาะกลุ่มและไปมาหาสู่กันอยู่ หลายคนยังคงยืนยันในอุดมการณ์ซ้ายๆ ของตนอยู่ ฟังแล้วทำให้รู้สึกดี ผิดกับอีกกลุ่มหนึ่งที่ชีวิตสวิงไป 180 องศาชนิดที่กู่ไม่กลับ เพื่อนกลุ่มนี้บอกว่า ที่ผ่านมานั้นพวกเราคิดผิด คือผิดที่ยังไม่ทันได้ข้ามขั้นตอนทุนนิยมอย่างเต็มที่ ก็ริอ่านข้ามไปสู่สังคมนิยมเสียแล้ว และเพื่อทำให้ถูกขั้นตอน เขาจึงประกาศใช้ชีวิตแบบทุนนิยมเต็มที่
ตอนที่ได้ยินเช่นนั้น ผมได้แต่ทำตาปริบๆ พูดอะไรไม่ออก เหตุผลหนึ่งก็เพราะเพื่อนที่พูดนั้นเป็นรุ่นพี่ (เห็นไหมว่า ถึงผมจะเสน่หากับคำว่า “เพื่อนๆ” หรือ “สหาย” ยังไง ก็ยังทิ้งระบบอาวุโสไปไม่ได้อยู่ดี) อีกเหตุผลหนึ่งเพราะผมไม่ได้เข้าป่าไปกับเขาด้วย จึงคิดว่า บางทีที่เขาพูดนั้นอาจจะถูก
ยังไงก็ตาม เพื่อนคนที่ว่าคนนั้นผมไม่ได้เจออีกเลยนานนับสิบปี จึงไม่รู้ว่าเขาได้ใช้ชีวิตแบบทุนนิยมอย่างไร แต่รู้ต่อมาว่าเขาไปผิดอะไรเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ จนต้องติดคุก ซึ่งเอาเข้าจริงผมก็ไม่รู้ตื้นลึกหนาบางอยู่ดี
ผมอดรู้สึกไม่ได้ว่า ถ้าตัดประเด็นเรื่องที่เขาติดคุกออกไปแล้ว สิ่งที่เขาพูดให้ผมฟังนั้นช่างไม่ต่างกับที่ อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ จากเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ พูดอยู่ในขณะนี้แม้แต่น้อย เป็นอยู่แต่ว่าของ พิชิต นั้น “ช้า” กว่าเพื่อนผม
เพราะตอนที่เพื่อนผมพูดนั้น อ.พิชิต ยังพูดอะไรแบบเดิมที่ฝ่ายซ้าย (ที่ออกจากป่ามาแล้ว) ยังพูดกันอยู่ โดยเฉพาะในเวทีวิชาการของกลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่ตอนนั้นยังขึ้นต่อสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ซึ่งผมฟังแล้วก็ชอบใจมาก ตอนนี้ อ.พิชิต ไม่พูดแบบนั้นอีกแล้ว แต่หันมาพูดแบบเพื่อนผมคนที่ว่า
จะอย่างไรก็ตาม หลังจากป่าแตกไปแล้ว อดีตฝ่ายซ้ายต่างก็ได้นำตัวเองเข้ามาอยู่ในขั้นตอนของทุนนิยมอย่างที่เพื่อนผมว่าไว้จนยากที่จะปฏิเสธ ชั่วอยู่แต่ว่าแต่ละคนจะวางท่าที จุดยืน และวิธีคิดของตนอย่างไรเท่านั้น
ตอนนั้น อดีตฝ่ายซ้ายทั้งที่เป็นแบบ “เพื่อนๆ” และแบบ “สหาย” ต่างก็ช่วยเหลือกันและกัน ที่น่าประทับใจก็คือ วันดีคืนดีก็นัดพบปะสังสรรค์กันที การพบปะที่ว่านี้ไม่ใช่พบกันแต่ในหมู่เพื่อนฝูงที่รู้จักกันเป็นทางส่วนตัวเท่านั้น แต่เป็นการพบปะกันแบบเป็นหมู่คณะนับร้อยคน
ดังนั้น คนที่ไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัวจึงมาอยู่ในที่เดียวกัน และต่างก็มาด้วยเหตุผลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน (หรืออย่างน้อยก็เคยมี) ที่ผมต้องชอบใจ (อีกครั้ง) ก็คือ ชื่อที่เรียกการพบปะกันในงานนี้ที่เรียกการพบปะกันแบบ “เพื่อนพ้องน้องพี่” ซึ่งฟังดูเข้าทีดีเช่นกัน ถึงแม้จะติดระบบอาวุโสอยู่บ้าง แต่คำว่า “เพื่อนพ้อง” ที่แทรกอยู่นั้นก็ทำให้รู้สึกอบอุ่นมากโขอยู่
ผมเคยไปร่วมงานนี้อยู่ครั้งสองครั้ง ครั้งหนึ่งบนเรือที่ล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา ในครั้งนี้มี คุณวีระ มุสิกพงศ์ ไปร่วมด้วย ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับฝ่ายซ้าย แต่ด้วยตอนนั้น คุณวีระ กำลังมีตำแหน่งใหญ่โตในทางการเมือง และมีสายสัมพันธ์กับอดีตฝ่ายซ้ายบางคน จึงไม่มีอะไรน่าขัดข้อง แต่กลับน่ายินดีเสียมากกว่า
ครั้งต่อมา ถ้าจำไม่ผิดดูเหมือนจะจัดที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ เวลานั้นอดีตฝ่ายซ้ายหลายคนได้เข้าสู่วงจรการเมืองในระบบรัฐสภาไปแล้ว ยังจำได้ว่า โฆษกบนเวทีได้ขอให้ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง จับมือกันฉันท์สหายกับ คุณพินิจ จารุสมบัติ ด้วยว่ากันว่าทั้งสองเกิดขัดแย้งกันขึ้นในระหว่างที่ต่างหาเสียงเลือกตั้งเพื่อเป็น ส.ส. อย่างหน้าดำคร่ำเครียด และทั้งสองก็จับมือกันด้วยดี (ถึงแม้พอจับเสร็จต่างก็แยกย้ายกันไปนั่งโต๊ะของตัวเองก็ตาม)
จากนั้นผมก็ไม่ได้ไปงาน “เพื่อนพ้องน้องพี่” อีกเลย แต่ได้ยินและได้รับการชักชวนให้ไปอยู่เป็นระยะ จนหลังๆ มานี้ไม่เห็นได้ข่าวมาหลายปีแล้ว ข่าวที่ได้ยินแทนที่ก็คือ การที่ “เพื่อนพ้องน้องพี่” จำนวนไม่น้อยหันไปเอาดีในทางการเมืองมากขึ้น ที่ได้ดิบได้ดีก็มีไม่น้อย
บรรดา “เพื่อนพ้องน้องพี่” ของผมที่ลงไปเล่นการเมืองนั้นมีกระจายอยู่แทบทุกพรรค และในบรรดาพรรคทั้งหมดที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ผมเดาว่า พรรคไทยรักไทยน่าจะเป็นที่รวมของ “เพื่อนพ้องน้องพี่” เอาไว้ได้มากที่สุด
และถ้าที่ผมเดาไม่ผิด ก็แสดงว่าบรรดาอดีตฝ่ายซ้ายคงจะเห็นเหมือนกับที่เพื่อนคนที่เล่าข้างต้นมากขึ้น และคงเห็นว่า จุดยืนเดิมสมัยอยู่ป่าเมื่อครั้งยังเป็นซ้ายนั้นไม่น่าจะถูก เพราะ “เพื่อนพ้องน้องพี่” หลายคนได้แสดงจุดยืนในอันที่จะอยู่เคียงข้าง คุณทักษิณ ชินวัตร อย่างแจ่มชัด ไม่โลเล
ยิ่งเห็น คุณวีระกับพรรคพวกทั้งที่เคยซ้ายและไม่ซ้ายไปตั้งบริษัทโดยใช้ชื่อ “เพื่อนพ้องน้องพี่” เพื่อผลิตสื่อออกโทรทัศน์ด้วยแล้ว (ถึงแม้จะยังไม่ได้ออกก็ตาม) ก็ยิ่งเท่ากับตอกย้ำในจุดยืนที่ว่าจริงๆ
แม้ผมจะรู้ว่าคำว่า “เพื่อนพ้องน้องพี่” ไม่ได้เป็นคำที่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างไรก็จริง แต่ตั้งแต่ที่ชื่อนี้ไปปรากฏเป็นชื่อบริษัทของ คุณวีระ และกับพรรคพวกแล้ว ผมก็เขินที่จะใช้ชื่อนี้อีก
อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ผมต้องทักทายสวัสดีกับเพื่อนพ้องน้องพี่ของผมในที่ทำงานเก่าของผม ผมยังมิกล้าที่จะเอ่ยคำคำนี้ขึ้นมาทักทายสวัสดี แต่เลี่ยงไปใช้คำว่า “พี่ๆ น้องๆ และเพื่อนๆ” แทน ซึ่งเป็นคำที่เยิ่นเย้อ ไม่กระชับเหมือนคำที่เอ่ยมาก่อนหน้านี้
ผมได้แต่ภาวนาว่า คนที่รักเพื่อนอย่างผมนั้น แม้คำว่า “สหาย” คำว่า “เพื่อนๆ” และคำว่า “เพื่อนพ้องน้องพี่” จะหายไปเพราะการเมืองแล้วก็ตาม ยังไงก็ขอให้คนที่เป็นเพื่อนอย่าได้หายไปด้วยก็แล้วกัน และถ้ายังไม่หาย ก็ขอให้อยู่อย่างมีตัวมีตนด้วย
อย่าได้ “ตาย” จากกันเหมือนกับคำที่ขานเรียกกันนั้นเลย