ตารางแสดง ข้อปัญหาอันเกิดจาก อพท. และ การดำเนินการแก้ไข โดยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
หมายเหตุ ประมวลจากเอกสารของ "เครือข่ายชุมชนยกเลิก อพท." และ ภาคีคนฮักเจียงใหม่
หมายเหตุ ประมวลจากเอกสารของ "เครือข่ายชุมชนยกเลิก อพท." และ ภาคีคนฮักเจียงใหม่
ปัญหาด้านข้อกฎหมายและหลักธรรมาภิบาล | การดำเนินการ | หมายเหตุ |
1. พรฎ.ก่อตั้งอพท. มีสถานะเป็นเพียง พระราชกฤษฎีกา แต่ในทางปฏิบัติเมื่อประกาศเขต อพท.แล้ว กลับมีการดำเนินการที่ละเมิดกฎหมายเดิมที่ใหญ่กว่า เช่น พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย ซึ่งห้ามนำพรรณพืชและสัตว์ต่างถิ่นเข้ามา ขณะที่ไนท์ซาฟารีละเมิดข้อห้ามดังกล่าว | ยังไม่มีการดำเนินการตรวจสอบ พิจารณาชี้ชัดว่า ผิดหรือถูก | เกิดบรรทัดฐานที่ลักลั่นให้กับรัฐบาลชุดต่อๆ ไป ขณะที่ประเด็นที่ส่อว่า อพท. ละเมิดกฎหมายไม่ได้รับการพิจารณาสะสาง |
2. โครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ออกมาทำโครงการนอกพื้นที่ของตนเอง ด้วยการนำเครื่องจักรไถป่าในเขตอุทยานฯ ตัดไม้ใหญ่เป็นแนวยาวตลอดแนวหุบเขา เพื่อทำอ่างเก็บน้ำบริเวณใกล้กับบ้านแม่เหียะใน ในระหว่างการก่อสร้างโครงการ แต่ต่อมาระงับโครงการนี้เพราะแม้แต่กรมอุทยานแห่งชาติก็ไม่มีอำนาจก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลักษณะนี้ | ไม่มีการตรวจสอบ และเอาผิด | กรมอุทยานฯ เป็นผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนั้นนายปลอดประสพ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงฯ และต่อมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเดียวกัน |
3.นายปลอดประสพ สุรัสวดี ดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด อพท. และยังมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีอีกตำแหน่งหนึ่ง ตำแหน่งที่เหลื่อมซ้อนเช่นนี้ ทำให้บุคคลหนึ่งที่เป็นทั้งฝ่ายบริหารและตรวจสอบ และยังดำรงตำแหน่งผู้ปฏิบัติพร้อมกันไป ไม่เพียงเท่านั้นยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีฯซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมืองพร้อมกันไป ตามกฎหมายของ อพท. ห้ามมิให้ผู้มีตำแหน่งทางการเมืองมาดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารบอร์ด อพท. แม้จะมีบทเฉพาะกาลเปิดช่องไว้ แต่โดยหลักธรรมาภิบาลแล้ว ไม่ควรกระทำ | นายปลอดประสพ พ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการบอร์ด ตามวาระเมื่อเดือนเมษายน 2550 | เท่ากับว่า รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ ไม่ได้แตะต้องปมปัญหาดังกล่าว ใช้วิธีการตัดปัญหาด้วยการใช้เงื่อนเวลาของการหมดวาระเป็นหลัก ทำให้บรรทัดฐานดังกล่าวยังเป็นปมปริศนาต่อไป หากในรัฐบาลหน้ามีการกระทำเช่นนี้โดยอ้างบรรทัดฐานเดิม จะทำได้หรือไม่? |
4.โครงการก่อสร้างสุขา 8 แห่งมูลค่าประมาณ 11 ล้านบาท ที่เกาะช้างจังหวัดตราด มีมูลค่าสูงเกินจริง ราคาค่าก่อสร้างไม่ควรเกินหลังละ 3.5 แสนบาท แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่อพท. บางคนเองก็ยอมรับว่าสูงมาก มีรายงานข่าวว่า โครงการนี้ อพท. มอบให้ ทหารช่างก่อสร้าง แต่ในทางปฏิบัติมีการเหมาช่วงให้เอกชนรับดำเนินการต่ออีก 2 ทอด | ล่าสุด ยังไม่มีการส่งมอบ และ อพท. ปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ และไม่มีการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรื อ เอาผิดแต่อย่างใด | เอกสารเผยแพร่ของ อพท. ระบุว่า เป็นโครงการของ อพท. |
5.การดำเนินการขาดความโปร่งใส และข้ามขั้นตอน ร่วมมือกับ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ บางรายละเมิดกฎหมายพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ โดย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 มีการนำรถไถไปไถป่าทำแนวถนนกว้าง 3 เมตรในเขตอุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย ซึ่งอยู่นอกเขตพื้นที่อพท. จุดดังกล่าวทับซ้อนกับแนวเขตเตรียมประกาศอุทยานช้างฯ ทางอุทยานฯ แก้เกี้ยวว่า เป็นการทำแนวกันไฟ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลเพราะในช่วงดังกล่าวเข้าฤดูฝนแล้ว | ในช่วงดังกล่าว อพท. พยายามผลักดันให้มีการประกาศเขต อพท.เพิ่มเติมเพื่อทำอุทยานช้างฯ | แสดงให้เห็นส่อว่าอาจมีการใช้อำนาจหน้าที่ทางการเมือง บังคับให้ข้าราชการกรมอุทยานฯ ละเมิดกฎหมายเอง |
6. แต่งตั้งบุคคลใกล้ชิด เข้ารับตำแหน่งใน อพท. ทั้งแบบเป็นเจ้าหน้าที่เต็มเวลา และ แบบยืมตัว ซึ่งมีเงินเดือนสูงกว่าปกติอย่างน้อย 30% ขณะที่ฝ่ายบริหารระดับเงินเดือนตั้งแต่ 80,000-200,000 บาท ขณะที่ภารกิจและกิจกรรมขององค์กรไม่ได้ก่อให้เกิดกำไร | ||
7.ขาดการเปิดเผยข้อมูลเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างและสัญญาเข้าทำประโยชน์ในเขต อพท.เช่น ร้านอาหาร / ของที่ระลึก รวมถึงข้อมูลการดำเนินการอื่นๆ | เครือข่ายองค์กรเอกชนเคยทำหนังสือขอข้อมูลแต่เงียบหาย | |
8. แผนการดำเนินการไม่ชัดเจน กำกวม โดยเฉพาะโครงการเชียงใหม่เวิลด์ ที่ประกอบด้วย กระเช้าไฟฟ้า/อุทยานช้าง ก่อนหน้านั้นเคยมีการประกาศผ่านสื่อจะทำ ชิงช้าสวรรค์ยักษ์ และ สวนสนุก ต่อมาก็ปฏิเสธ ขณะที่ ในแผนการทำอุทยานช้างมีการซ่อนโครงการลงทุนอื่นๆ เช่น โรงแรมที่พัก -ร้านอาหาร -สวนเสือ สวนจระเข้ เอาไว้ โดยไม่ระบุชัดเจนว่าจะศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการศึกษาความเหมาะสม | ||
9. อพท. ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน/ไม่ตรงกับความจริง เช่น ได้มีหนังสือตอบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ลงวันที่ 18 มีนาคม 2549 ชี้แจงข้อซักถามเรื่องอุทยานช้างโดยอ้างว่า ได้มีการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ.) และขอความเห็นจากประชาชนรอบๆ โครงการอุทยานช้างหลายครั้ง | ไม่น่าเชื่อว่ามีการทำ อีไอเอ.จริง เพราะตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 นั้นกำหนดไว้ชัดเจนว่า การศึกษาจะต้องมีจุดที่ตั้งของโครงการที่ชัดเจน แต่โครงการนี้ไม่มีแนวเขตของอุทยานช้างที่ชัดเจนมาตั้งแต่ต้น เพิ่งมีข้อสรุปเมื่อต้นปี 2549 อีกทั้งการศึกษาผลกระทบจะต้องมีรายละเอียดโครงการที่เป็นDetail Design เช่น มีสิ่งปลูกสร้างอะไรบ้าง มีกิจกรรมทั้งหมดอย่างไร ปรากฏเป็นเอกสารให้สาธารณะรับทราบ แต่ไม่มีเอกสารและรายละเอียดดังกล่าวออกสู่สาธารณะแต่อย่างใด |