คตส.เปิดทาง “แม้ว” กลับประเทศ แต่จะเข้าได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับ คมช. และรัฐบาล โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรมระบุ “แม้ว-อ้อ” ต้องปรากฏตัวต่อศาล หากอัยการสั่งฟ้องคดีที่ดินรัชดาฯ ส่วนจะสืบพยานผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้พิพากษา ด้าน ป.ป.ช.แถลงผลงาน 7 เดือน พิจารณาเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐทุจริตต่อหน้าที่แล้ว กว่า 5 พันเรื่อง เตรียมฟัน “โคตรโกงคลองด่าน” ปลายเดือนนี้ “กล้านรงค์” เผยเร่งเต็มสูบเชือด “แม้ว” ในคดีแปรรูป กฟผ. คาดไม่เกิน 3 เดือนไต่สวนเสร็จ “นาม” ไม่ให้ราคา “หญิงอ้อ” ที่ฟ้องหมิ่นประมาท-อาญา เตือนระวังเจอข้อหาแจ้งความเท็จ ครม.ตีกลับร่างต่ออายุ คตส.ของ สนช.
วานนี้ (15 พ.ค.) นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวนการซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก ของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ คตส.ชี้มูลความผิด และเตรียมส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง กล่าวถึงความคืบหน้าในเรื่องนี้ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเขียนสรุปรายงานสำนวนเพื่อเสนอให้ที่ประชุม คตส.พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 21 พ.ค.นี้ จากนั้นจะส่งสำนวนให้อัยการสูงสุด ซึ่งหากอัยการฯเห็นด้วยกับ คตส.ก็จะส่งสำนวนฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แล้วหากศาลเห็นว่าคดีมีมูล ก็จะออกหมายเรียก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน เพื่อให้มาแก้ข้อกล่าวหา ซึ่งในวันดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมานต้องเดินทางไปยังศาลด้วยตัวเอง ดังนั้น การจะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าประเทศเพื่อปรากฏตัวต่อหน้าศาลหรือไม่ เป็นเรื่องที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลจะต้องพิจารณา ไม่ใช่หน้าที่ของ คตส.
**ศาลชี้เอาผิด “แม้ว” ต้องได้ตัวมาฟ้อง
นายสราวุธ เบญจกุล โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินคดีที่ คตส. ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดว่า เมื่อมีการยื่นฟ้องคดีอาญานักการเมือง พนักงานอัยการจะต้องนำตัวจำเลยมาแสดงต่อศาลว่ามีตัวตนอยู่จริง และให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดว่าการพิจารณาคดีต้องกระทำต่อหน้าจำเลย เพื่อเปิดโอกาสให้จำเลยมีสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ดังนั้น เมื่ออัยการยื่นฟ้องคดี และศาลฎีกาฯ ประทับรับฟ้องคดี ก็เป็นหน้าที่ของอัยการ และพนักงานสอบสวนจะต้องติดตามตัวจำเลยมาขึ้นศาลให้ได้ หากไม่ได้ตัวจำเลยมาแสดงก็ไม่อาจประทับรับฟ้องคดีไว้พิจารณาได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าอัยการฯ จะยื่นฟ้องคดี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นจำเลย จะต้องนำตัวมาส่งต่อศาลฎีกาฯ ใช่หรือไม่ นายสราวุธ ตอบว่า “ตามขั้นตอนกฎหมาย ต้องเป็นเช่นนั้น” ส่วนจะสืบพยานผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ได้หรือไม่ นายสราวุธ กล่าวว่า สามารถทำได้ แต่ที่ผ่านมามีคดีที่ต้องสืบพยานโจทก์-จำเลยผ่านวิดีโอน้อยมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้พิพากษาว่าจะอนุญาตหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยในศาลฎีกาของนักการเมือง ไม่เคยปรากฏว่าจะมีคู่ความขออนุญาตให้มีการสืบพยานโจทก์-จำเลยที่อยู่ต่างประเทศผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ไม่ว่าจะเป็นคดีของนายรักเกียรติ สุขธนะ อดีต รมว.สาธารณสุข จำเลยคดีทุจริตการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งคดีที่ ป.ป.ช.ทั้งคณะจำนวน 9 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีออกระเบียบขึ้นค่าตอบแทนและเงินเดือนให้ตนเอง
**ธปท.แจงให้ข้อมูลที่ดินรัชดาฯ ครบถ้วน
นางธาริษา วัตนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณี คตส.ได้ข้อสรุปว่ากรณีการซื้อขายที่ดินย่านรัชดาฯ ของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ผิดกฎหมาย ป.ป.ช.ในมาตรา 100 และได้เตรียมส่งเรื่องให้ป.ป.ช. และดีเอสไอ สอบวินัยเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ ว่าในส่วนของกองทุนฯ ได้ให้ข้อมูลกับ คตส.ไปหมดแล้ว และมีการทำหนังสือกล่าวโทษไปก่อนหน้านี้ ถือว่าเรื่องได้จบลงแล้ว ซึ่งกระบวนการหลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของ คตส. ที่จะดำเนินการต่อไปซึ่งหาก คตส.จะให้ ป.ป.ช. และดีเอสไอมาสอบวินัยหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกองทุนฯ ก็ยินดีที่จะให้ข้อมูลอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการขอข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามาจากหน่วยงานใด
**ดีเอสไอเตรียมเรียกสอบ “ลูกแม้ว”
นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงการตรวจสอบเส้นทางการเงิน การปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้กับผู้บริหารเครือกฤษดามหานครว่า มีความคืบหน้าไปมาก ส่วนเครือข่ายเส้นทางการเงิน ทางเจ้าหน้าที่ ปปง.ก็กำลังตรวจสอบเช่นกัน เพราะคดีการฟอกเงินจะใช้พยานหลักฐานเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเอกสารทุกอย่างมีที่มาที่ไปชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานการโอนเงินของแต่ละธนาคาร ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้สอบปากคำบุคคลที่มีรายชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับเงินไปบ้างแล้ว
นายสุนัย กล่าวด้วยว่า ดีเอสไออยู่ระหว่างตรวจสอบเอกสารและรับรองความถูกต้องตามกฎหมาย ตอนนี้จึงยังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหากับใคร ส่วนผู้บริหารธนาคาร เจ้าหน้าที่ก็เตรียมเรียกมาสอบปากคำเพิ่มเติม เพื่อดูเจตนาว่าร่วมกระทำผิดหรือไม่
ส่วนลูกชายอดีตนายกรัฐมนตรีก็เป็นหนึ่งในรายชื่อที่เจ้าหน้าที่ต้องเรียกมาสอบปากคำ แต่จะแจ้งข้อกล่าวหาหรือไม่ ต้องตรวจสอบพยานหลักฐานและความเกี่ยวข้องในการกระทำผิดอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ยังตอบไม่ได้ แต่ถ้าหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงใคร ก็จะมีการแจ้งข้อหา คาดว่าอีกไม่นานจะรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อแจ้งข้อกล่าวหากับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้
สำหรับสำนวนการซื้อขายที่ดินย่านรัชดาฯ ที่ คตส.ส่งมาให้ดีเอสไอนั้น ดีเอสไอต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ในการประชุมเดือนนี้ เพื่อตัดสินว่าจะรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่
**“นาม” ไม่ให้ราคา “หญิงอ้อ”
นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวถึงกรณีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ฟ้องประธาน คตส.ว่า เรื่องดังกล่าวตนอาจไม่ฟ้องกลับ ถือว่าอโหสิกรรมให้ แต่หากจะดำเนินการฟ้องก็จะฟ้องในฐานะที่ตนเป็นผู้เสียหาย แต่อยากเตือนว่าการฟ้องร้องดังกล่าวจะเป็นการฟ้องเท็จ และการฟ้องเท็จก็มีโทษทางอาญา ยอมความไม่ได้ โดยขั้นตอนการฟ้องตนจะแจ้งความที่ตำรวจและให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรวบรวมหลักฐานและทำการฟ้อง
“ความจริงแล้วผมไม่ได้ข่มขู่ เพียงแต่ผมแค่แจ้งให้กองทุนมาร้องทุกข์กล่าวโทษเท่านั้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องไร้สาระ และเป็นการทำลายสมาธิของผม ใครจะทำอะไรต้องระวังเรื่องของกฎหมาย เพราะการฟ้องเท็จมีโทษหนัก เรื่องนี้เป็นกระบวนการหาเรื่องฟ้องมากกว่า ผมทำงานเพราะได้รับการแต่งตั้งมา และ คตส.ทำงานตามหน้าที่ ซึ่งมีกฎระเบียบชัดเจน ทำไปก็ไม่ได้กลั่นแกล้งใคร เพราะ คตส.ไม่ได้พิจารณาพียงลำพังแต่ต้องออกมาโดยมีมติ ดังนั้นจะมาแทรกแทรงใครได้อย่างไร ขนาดอนุกรรมการในแต่ละชุดยังแทรกแทรงไม่ได้เลย” นายนาม กล่าว
ส่วนที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอของ พ.ต.ท.ท.ทักษิณ ผ่านเว็บไฮทักษิณ โดยอ้างว่าที่ผ่านมาได้กระทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่กลับถูกกลั่นแกล้งนั้น นายนาม กล่าวว่า พูดไปเรื่อยเปื่อย ใครจะไปกลั่นแกล้งได้ คตส.ก็ทำตามหน้าที่ ตามระเบียบข้องบังคับที่ได้มีการร่างขึ้นมา ถ้าเราไม่ทำตามหน้าที่ก็เป็นคนเลวแล้ว เราจะไปแกล้งทำไม คตส.ทุกคนล้วนมีความรู้ มีการศึกษา หากไปกลั่นแกล้งเขาบาปกรรมเปล่าๆ อายุก็ปูนนี้แล้ว
**ฟันโคตรโกง “คลองด่าน” สิ้นเดือนนี้
เมื่อวานนี้ (15 พ.ค.) นาย ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พร้อมด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้แถลงผลงานในรอบ 7 เดือนของ ป.ป.ช.ว่า ที่ผ่านมาได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวน จำนวน 245 คณะ และมีมติชี้มูลความิดทางวินัย อาญา ร่ำรวยผิดปกติ 52 เรื่อง และได้พิจารณาเรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการแล้ว 5,576 เรื่อง
สำหรับเรื่องการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ได้พิจารณาแล้วเสร็จ 13,490 บัญชี จากทั้งหมด 38,833 บัญชี ขณะเดียวกัน กรรมการ ป.ป.ช.ได้เน้นการป้องกันการทุจริต ควบคู่ไปกับการปราบปราม อาทิ จัดตั้งอนุกรรมการประสานงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด จัดโครงการสัมมนาติดตามผลการเสริมสร้างทัศนคติค่านิยมในความซื่อสัตย์สุจริตในสถานศึกษา เป็นต้น
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันทุจริตเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิที่ดินใช้จัดทำโครงการจัดการน้ำเสีย เขตควบคุมมลพิษ จ.สมุทรปราการ หรือโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า ได้สอบปากคำพยานครบหมดทุกปาก มีพยานหลักฐานครบถ้วน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประชุมสรุปสำนวน ก่อนนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่พิจารณาสำนวนชี้มูลภายในเดือนพ.ค. นี้
**“กล้านรงค์” เร่งคดี “แม้ว” แปรรูป กฟผ.
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีชุดที่ผ่านมา กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอเอกสารจากทางราชการต่างๆ อาทิ ศาลปกครองสูงสุด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องใช้เวลานาน คาดว่าภายใน 2-3 เดือนจะสามารถดำเนินการไต่สวนได้แล้วเสร็จ ขณะนี้กำลังดูว่ารายงานการประชุมว่ามีรัฐมนตรีคนไหนเกี่ยวข้องบ้าง
นายกล้านรงค์ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีการร่ำรวยผิดปกติ และการตรวจสอบการถือครองที่ดินเขายายเที่ยง จ.นครราชสีมา ของนายกรัฐมนตรี ว่าเรื่องนี้มีประเด็นเกี่ยวข้องที่ต้องพิจารณา คือ การเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นการผิดกฎหมายหรือไม่ และหากเป็นความผิดนั้น ผิดในฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ แต่ถ้าไม่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก็จะเป็นหน้าที่หน่วยงานอื่นที่ต้องดูแล เช่น กรมที่ดิน เป็นต้น สำหรับเรื่องทรัพย์สิน ต้องตรวจสอบความมีอยู่จริงของทรัพย์สินนายกรัฐมนตรี ต้องดูตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายกรัฐมนตรี ว่ามีเพิ่มมากผิดปกติหรือไม่
**ครม.ไม่รับร่างต่ออายุ คตส.ของ สนช.
นางเนตรปรียา ชุมไชโย ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม.วานนี้ว่า ที่ประชุมไม่รับร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) 30 กันยายน 2549 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกาได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ปรากฏว่าหน่วยงานต่างๆ มีความเห็นแตกต่างกัน จึงเสนอว่าไม่ควรรับหลักการ
“สำหรับความเห็นที่แตกต่างกัน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เห็นควรรับหลักการ แต่มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการแต่งตั้ง คตส. และไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดของ คตส. เป็นต้น แต่หน่วยงานที่เห็นว่าไม่ควรรับหลักการเลย ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงบประมาณ” นางเนตรปรียา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามขั้นตอนหลังจากนี้ ทางรัฐบาลจะต้องทำหนังสือตอบกลับมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถึงเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขกฎหมายเพื่อต่ออายุของ คตส. หลังจากนั้นเมื่อเรื่องดังกล่าวถูกบรรจุในระเบียบวาระการประชุม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจะต้องมาชี้แจงต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถึงเหตุผลที่รัฐบาลไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว ซึ่งหากที่ประชุม สนช.ยังยืนยันให้กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ แล้วลงมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ ก็จะถือว่าร่างแก้ไขกฎหมายการต่ออายุของ สนช.มีผลบังคับใช้ทันที
วานนี้ (15 พ.ค.) นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวนการซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก ของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ คตส.ชี้มูลความผิด และเตรียมส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง กล่าวถึงความคืบหน้าในเรื่องนี้ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเขียนสรุปรายงานสำนวนเพื่อเสนอให้ที่ประชุม คตส.พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 21 พ.ค.นี้ จากนั้นจะส่งสำนวนให้อัยการสูงสุด ซึ่งหากอัยการฯเห็นด้วยกับ คตส.ก็จะส่งสำนวนฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แล้วหากศาลเห็นว่าคดีมีมูล ก็จะออกหมายเรียก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน เพื่อให้มาแก้ข้อกล่าวหา ซึ่งในวันดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมานต้องเดินทางไปยังศาลด้วยตัวเอง ดังนั้น การจะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าประเทศเพื่อปรากฏตัวต่อหน้าศาลหรือไม่ เป็นเรื่องที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลจะต้องพิจารณา ไม่ใช่หน้าที่ของ คตส.
**ศาลชี้เอาผิด “แม้ว” ต้องได้ตัวมาฟ้อง
นายสราวุธ เบญจกุล โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินคดีที่ คตส. ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดว่า เมื่อมีการยื่นฟ้องคดีอาญานักการเมือง พนักงานอัยการจะต้องนำตัวจำเลยมาแสดงต่อศาลว่ามีตัวตนอยู่จริง และให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดว่าการพิจารณาคดีต้องกระทำต่อหน้าจำเลย เพื่อเปิดโอกาสให้จำเลยมีสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ดังนั้น เมื่ออัยการยื่นฟ้องคดี และศาลฎีกาฯ ประทับรับฟ้องคดี ก็เป็นหน้าที่ของอัยการ และพนักงานสอบสวนจะต้องติดตามตัวจำเลยมาขึ้นศาลให้ได้ หากไม่ได้ตัวจำเลยมาแสดงก็ไม่อาจประทับรับฟ้องคดีไว้พิจารณาได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าอัยการฯ จะยื่นฟ้องคดี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นจำเลย จะต้องนำตัวมาส่งต่อศาลฎีกาฯ ใช่หรือไม่ นายสราวุธ ตอบว่า “ตามขั้นตอนกฎหมาย ต้องเป็นเช่นนั้น” ส่วนจะสืบพยานผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ได้หรือไม่ นายสราวุธ กล่าวว่า สามารถทำได้ แต่ที่ผ่านมามีคดีที่ต้องสืบพยานโจทก์-จำเลยผ่านวิดีโอน้อยมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้พิพากษาว่าจะอนุญาตหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยในศาลฎีกาของนักการเมือง ไม่เคยปรากฏว่าจะมีคู่ความขออนุญาตให้มีการสืบพยานโจทก์-จำเลยที่อยู่ต่างประเทศผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ไม่ว่าจะเป็นคดีของนายรักเกียรติ สุขธนะ อดีต รมว.สาธารณสุข จำเลยคดีทุจริตการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งคดีที่ ป.ป.ช.ทั้งคณะจำนวน 9 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีออกระเบียบขึ้นค่าตอบแทนและเงินเดือนให้ตนเอง
**ธปท.แจงให้ข้อมูลที่ดินรัชดาฯ ครบถ้วน
นางธาริษา วัตนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณี คตส.ได้ข้อสรุปว่ากรณีการซื้อขายที่ดินย่านรัชดาฯ ของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ผิดกฎหมาย ป.ป.ช.ในมาตรา 100 และได้เตรียมส่งเรื่องให้ป.ป.ช. และดีเอสไอ สอบวินัยเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ ว่าในส่วนของกองทุนฯ ได้ให้ข้อมูลกับ คตส.ไปหมดแล้ว และมีการทำหนังสือกล่าวโทษไปก่อนหน้านี้ ถือว่าเรื่องได้จบลงแล้ว ซึ่งกระบวนการหลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของ คตส. ที่จะดำเนินการต่อไปซึ่งหาก คตส.จะให้ ป.ป.ช. และดีเอสไอมาสอบวินัยหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกองทุนฯ ก็ยินดีที่จะให้ข้อมูลอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการขอข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามาจากหน่วยงานใด
**ดีเอสไอเตรียมเรียกสอบ “ลูกแม้ว”
นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงการตรวจสอบเส้นทางการเงิน การปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้กับผู้บริหารเครือกฤษดามหานครว่า มีความคืบหน้าไปมาก ส่วนเครือข่ายเส้นทางการเงิน ทางเจ้าหน้าที่ ปปง.ก็กำลังตรวจสอบเช่นกัน เพราะคดีการฟอกเงินจะใช้พยานหลักฐานเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเอกสารทุกอย่างมีที่มาที่ไปชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานการโอนเงินของแต่ละธนาคาร ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้สอบปากคำบุคคลที่มีรายชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับเงินไปบ้างแล้ว
นายสุนัย กล่าวด้วยว่า ดีเอสไออยู่ระหว่างตรวจสอบเอกสารและรับรองความถูกต้องตามกฎหมาย ตอนนี้จึงยังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหากับใคร ส่วนผู้บริหารธนาคาร เจ้าหน้าที่ก็เตรียมเรียกมาสอบปากคำเพิ่มเติม เพื่อดูเจตนาว่าร่วมกระทำผิดหรือไม่
ส่วนลูกชายอดีตนายกรัฐมนตรีก็เป็นหนึ่งในรายชื่อที่เจ้าหน้าที่ต้องเรียกมาสอบปากคำ แต่จะแจ้งข้อกล่าวหาหรือไม่ ต้องตรวจสอบพยานหลักฐานและความเกี่ยวข้องในการกระทำผิดอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ยังตอบไม่ได้ แต่ถ้าหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงใคร ก็จะมีการแจ้งข้อหา คาดว่าอีกไม่นานจะรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อแจ้งข้อกล่าวหากับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้
สำหรับสำนวนการซื้อขายที่ดินย่านรัชดาฯ ที่ คตส.ส่งมาให้ดีเอสไอนั้น ดีเอสไอต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ในการประชุมเดือนนี้ เพื่อตัดสินว่าจะรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่
**“นาม” ไม่ให้ราคา “หญิงอ้อ”
นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวถึงกรณีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ฟ้องประธาน คตส.ว่า เรื่องดังกล่าวตนอาจไม่ฟ้องกลับ ถือว่าอโหสิกรรมให้ แต่หากจะดำเนินการฟ้องก็จะฟ้องในฐานะที่ตนเป็นผู้เสียหาย แต่อยากเตือนว่าการฟ้องร้องดังกล่าวจะเป็นการฟ้องเท็จ และการฟ้องเท็จก็มีโทษทางอาญา ยอมความไม่ได้ โดยขั้นตอนการฟ้องตนจะแจ้งความที่ตำรวจและให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรวบรวมหลักฐานและทำการฟ้อง
“ความจริงแล้วผมไม่ได้ข่มขู่ เพียงแต่ผมแค่แจ้งให้กองทุนมาร้องทุกข์กล่าวโทษเท่านั้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องไร้สาระ และเป็นการทำลายสมาธิของผม ใครจะทำอะไรต้องระวังเรื่องของกฎหมาย เพราะการฟ้องเท็จมีโทษหนัก เรื่องนี้เป็นกระบวนการหาเรื่องฟ้องมากกว่า ผมทำงานเพราะได้รับการแต่งตั้งมา และ คตส.ทำงานตามหน้าที่ ซึ่งมีกฎระเบียบชัดเจน ทำไปก็ไม่ได้กลั่นแกล้งใคร เพราะ คตส.ไม่ได้พิจารณาพียงลำพังแต่ต้องออกมาโดยมีมติ ดังนั้นจะมาแทรกแทรงใครได้อย่างไร ขนาดอนุกรรมการในแต่ละชุดยังแทรกแทรงไม่ได้เลย” นายนาม กล่าว
ส่วนที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอของ พ.ต.ท.ท.ทักษิณ ผ่านเว็บไฮทักษิณ โดยอ้างว่าที่ผ่านมาได้กระทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่กลับถูกกลั่นแกล้งนั้น นายนาม กล่าวว่า พูดไปเรื่อยเปื่อย ใครจะไปกลั่นแกล้งได้ คตส.ก็ทำตามหน้าที่ ตามระเบียบข้องบังคับที่ได้มีการร่างขึ้นมา ถ้าเราไม่ทำตามหน้าที่ก็เป็นคนเลวแล้ว เราจะไปแกล้งทำไม คตส.ทุกคนล้วนมีความรู้ มีการศึกษา หากไปกลั่นแกล้งเขาบาปกรรมเปล่าๆ อายุก็ปูนนี้แล้ว
**ฟันโคตรโกง “คลองด่าน” สิ้นเดือนนี้
เมื่อวานนี้ (15 พ.ค.) นาย ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พร้อมด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้แถลงผลงานในรอบ 7 เดือนของ ป.ป.ช.ว่า ที่ผ่านมาได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวน จำนวน 245 คณะ และมีมติชี้มูลความิดทางวินัย อาญา ร่ำรวยผิดปกติ 52 เรื่อง และได้พิจารณาเรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการแล้ว 5,576 เรื่อง
สำหรับเรื่องการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ได้พิจารณาแล้วเสร็จ 13,490 บัญชี จากทั้งหมด 38,833 บัญชี ขณะเดียวกัน กรรมการ ป.ป.ช.ได้เน้นการป้องกันการทุจริต ควบคู่ไปกับการปราบปราม อาทิ จัดตั้งอนุกรรมการประสานงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด จัดโครงการสัมมนาติดตามผลการเสริมสร้างทัศนคติค่านิยมในความซื่อสัตย์สุจริตในสถานศึกษา เป็นต้น
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันทุจริตเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิที่ดินใช้จัดทำโครงการจัดการน้ำเสีย เขตควบคุมมลพิษ จ.สมุทรปราการ หรือโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า ได้สอบปากคำพยานครบหมดทุกปาก มีพยานหลักฐานครบถ้วน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประชุมสรุปสำนวน ก่อนนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่พิจารณาสำนวนชี้มูลภายในเดือนพ.ค. นี้
**“กล้านรงค์” เร่งคดี “แม้ว” แปรรูป กฟผ.
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีชุดที่ผ่านมา กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอเอกสารจากทางราชการต่างๆ อาทิ ศาลปกครองสูงสุด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องใช้เวลานาน คาดว่าภายใน 2-3 เดือนจะสามารถดำเนินการไต่สวนได้แล้วเสร็จ ขณะนี้กำลังดูว่ารายงานการประชุมว่ามีรัฐมนตรีคนไหนเกี่ยวข้องบ้าง
นายกล้านรงค์ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีการร่ำรวยผิดปกติ และการตรวจสอบการถือครองที่ดินเขายายเที่ยง จ.นครราชสีมา ของนายกรัฐมนตรี ว่าเรื่องนี้มีประเด็นเกี่ยวข้องที่ต้องพิจารณา คือ การเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นการผิดกฎหมายหรือไม่ และหากเป็นความผิดนั้น ผิดในฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ แต่ถ้าไม่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก็จะเป็นหน้าที่หน่วยงานอื่นที่ต้องดูแล เช่น กรมที่ดิน เป็นต้น สำหรับเรื่องทรัพย์สิน ต้องตรวจสอบความมีอยู่จริงของทรัพย์สินนายกรัฐมนตรี ต้องดูตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายกรัฐมนตรี ว่ามีเพิ่มมากผิดปกติหรือไม่
**ครม.ไม่รับร่างต่ออายุ คตส.ของ สนช.
นางเนตรปรียา ชุมไชโย ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม.วานนี้ว่า ที่ประชุมไม่รับร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) 30 กันยายน 2549 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกาได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ปรากฏว่าหน่วยงานต่างๆ มีความเห็นแตกต่างกัน จึงเสนอว่าไม่ควรรับหลักการ
“สำหรับความเห็นที่แตกต่างกัน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เห็นควรรับหลักการ แต่มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการแต่งตั้ง คตส. และไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดของ คตส. เป็นต้น แต่หน่วยงานที่เห็นว่าไม่ควรรับหลักการเลย ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงบประมาณ” นางเนตรปรียา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามขั้นตอนหลังจากนี้ ทางรัฐบาลจะต้องทำหนังสือตอบกลับมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถึงเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขกฎหมายเพื่อต่ออายุของ คตส. หลังจากนั้นเมื่อเรื่องดังกล่าวถูกบรรจุในระเบียบวาระการประชุม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจะต้องมาชี้แจงต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถึงเหตุผลที่รัฐบาลไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว ซึ่งหากที่ประชุม สนช.ยังยืนยันให้กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ แล้วลงมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ ก็จะถือว่าร่างแก้ไขกฎหมายการต่ออายุของ สนช.มีผลบังคับใช้ทันที