อภ.จวก “ยูเอสเอฟอร์อินโนเวชั่น” โคตรโกหก แฉบิดเบือนข้อเท็จจริงตัวเลขดื้อยารักษาเอดส์ “จีพีโอเวียร์” แพทย์รามาฯ เจ้าของผลวิจัยออกมาแจงเอง ชี้หยิบตัวเลขอ้างมั่วแปลงผลผิด “หมอวิชัย”สั่งศึกษาข้อกฎหมายอย่างละเอียด ก่อนรุกยื่นระงับโฆษณาหรือฟ้องร้องต่อไป ขณะที่สหรัฐฯ ตีสองหน้าหวังสยบไทยให้อยู่หมัด ฉากหน้าระบุการประกาศใช้สิทธิผลิตยาที่ติดสิทธิบัตรเป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้ว ไม่อยากพูดถึง แต่หากในอนาคตจะใช้อีกต้องโปร่งใส พร้อมอัดยับไทยปราบของเถื่อนแบบไฟไหม้ฟาง ยันไม่เอามาตรา 301 เป็นข้ออ้างตัดจีเอสพี ขณะที่ฉากหลังส่งอดีตทูตสหรัฐฯ ประณามไทย พร้อมขู่ฟ่อการใช้ซีแอลไม่เป็นผลดีต่อชื่อเสียง การลงทุน และเศรษฐกิจในระยะยาว
วานนี้ (11 พ.ค.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ในฐานะประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม พร้อม นพ.ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าหน่วยไวรัสวิทยาและจุลชีววิทยาโมเลกุล คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ภก.วันชัย ศุภจัตุรัส รักษาการผอ.องค์การเภสัชกรรม นพ.สมบัติ แทนประเสริฐสุข ผู้อำนวยการสำนักโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค ได้ร่วมกันแถลงข่าวตอบโต้องค์การยูเอสเอฟอร์อินโนเวชั่น( USA for Innovation) กรณีโจมตีการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ของไทย โดยเผยแพร่ข้อมูลยาจีพีโอเวียร์ ซึ่งเป็นยารักษาโรคเอดส์ ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมว่าเป็นยาที่ไม่ได้มาตรฐาน และระบุการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ ม.มหิดลเมื่อพ.ศ.2548 จากที่ศึกษากับผู้ป่วย 300 คน พบมีการดื้อยาระหว่าง 39.6-58 % ซึ่งเป็นการดื้อยาเอดส์ที่เลวร้ายที่สุดในโลก
**จ้องล็อบบี้ยิสต์ตัวแสบ
นพ.วิชัย กล่าวว่า สิ่งที่ยูเอสเอฟอร์อินโนเวชั่นพาดพิงถึงยาจีพีโอเวียร์ขององค์การเภสัชกรรมไม่เป็นความจริง และยืนยันว่ายาจีพีโอเวียร์ได้มาตรฐานและไม่มีการดื้อยามากตามที่มีการกล่าวหา ซึ่งมีผลการศึกษายืนยันชัดเจนซึ่งการพัฒนายาจีพีโอเวียร์ ให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นกับผู้ใช้ยาชื่อสามัญที่ผลิตในประเทศ ได้ทำการศึกษาชีวสมมูล(Bioequivalence Study) เทียบกับยาต้นแบบที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง พบได้ผลดีเท่ากัน โดยตัวเลขผู้ป่วยดื้อยาจีพีโอเวียร์ที่องค์การยูเอสเอฯกล่าวหานั้น เป็นการบิดเบือนผลการตรวจ เนื่องจากข้อมูลที่ได้เป็นการตรวจเฉพาะผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะดื้อยา จึงทำให้ตัวเลขสูง
“การที่ยูเอสเอฟอร์อินโนเวชั่นโจมตียาจีโอเวียร์ก็เพื่อเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น เพราะไม่สามารถตอบโต้คุณภาพของยาแอฟฟาไวเร้นท์ได้ เนื่องจากอภ.ไม่ได้เป็นผู้ผลิตยาแอฟฟาไวเร้นท์ แต่ได้นำเข้ายาชนิดดังกล่าวจากประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นยาที่ได้รับมาตรฐานการผลิต (GMP) จากองค์การอนามัยโลก และได้มีการนำมาขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้ว การมาโจมตีจีพีโอเวียร์ จึงไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันเลย”
“น่าประหลาดที่องค์กรฯ นี้ใช้วิธีนี้จับแพะชนแกะ ก่อกวนและพยายามทำให้เราไขว้เขวในการทำซีแอล ซึ่งจุดยืนหลักของเราคือการทำให้คนสามารถเข้าถึงยา และเราคงไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการตอบโต้ทุกๆประเด็น แต่จะให้อภ.ดูข้อกฎหมายอย่างละเอียดว่าเกิดผลกระทบอย่างไรกับไทยบ้าง จากนั้นจึงจะทำหนังสือขอให้มีการระงับโฆษณาชิ้นนี้หรือดำเนินการฟ้องร้องต่อไป รวมทั้งจะส่งข้อมูลข้อเท็จจริงต่างให้กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องด้วย”นพ.วิชัยกล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ใช้ยาจีพีโอเวียร์ตามปกติจะไม่มีการส่งตรวจเชื้อดื้อยาทุกราย เนื่องจากค่าตรวจมีราคาแพงมาก แพทย์จึงพิจารณาส่งตรวจเฉพาะรายที่รับประทานไประยะหนึ่งแล้ว น่าสงสัยว่าจะดื้อยาจึงส่งตรวจ วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาให้ยากลุ่มใหม่ซึ่งมีราคาสูงกว่ามาก จึงทำให้ตัวเลขการดื้อยาสูง และตัวเลขการดื้อยาดังกล่าวไม่ใช่อัตราการดื้อยาจีพีโอเวียร์ แต่เป็นตัวเลขการดื้อยาของผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มที่แพทย์สงสัยว่าดื้อยาเท่านั้น การนำเสนอตัวเลขที่กล่าวมา จึงเป็นการตีความผิด หรือจงใจทำให้เข้าใจผิด จึงขอผู้ป่วยเอดส์ไทยวางใจยาจีพีโอเวียร์ได้
นพ.วิชัย กล่าวต่อไปว่า หากต้องการทราบตัวเลขอัตราการดื้อยาจีพีโอเวียร์จริง จะต้องมีการศึกษาติดตามกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาทั้งกลุ่ม จำนวนมากพอสมควรเช่น 100-200 ราย และตรวจการดื้อยาเป็นระยะ เช่น 1-2-3 ปี จึงจะได้ตัวเลขดื้อยาที่แท้จริง ซึ่งมีการศึกษาแล้วโดยนพ.ถนอมศักดิ์ เขนกธนานนท์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลพบว่าได้ผลดี ไม่แตกต่างจากยาต้นตำรับแต่อย่างใด และรายงานนี้ได้ตีพิมพ์ในจดหมายเหตุทางการแพทย์จากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นการยืนยันคุณภาพยาจีพีโอเวียร์ว่ามิได้เป็นไปตามที่กล่าวหาแต่อย่างใด
**โวยหยิบตัวเลขอ้างมั่วแปลงผลผิด
รศ.ดร.วสันต์ กล่าวว่า งานวิจัยที่ถูกกล่าวอ้างถึงเป็นการตรวจเฝ้าระวังการติดเชื้อการดื้อยาต้านไวรัสเอดส์ ตั้งแต่ปี 2543- 2550 โดยใช้วิธีการตรวจทางชีวโมเลกุล ผู้ป่วย 300 คน พบมีการดื้อยาระหว่าง 39.6-58 %เป็นตัวเลขที่เป็นจริงแต่มีการแปลงข้อมูลผิด ถือว่าไม่ตรงตามข้อเท็จจริงนัก เนื่องจากในช่วงปี 2543 เป็นช่วงที่ผู้ป่วยยังรับประทานยาเม็ดเดี่ยว 3 เม็ด โดยยาที่เป็นที่รู้จัก เช่น ยาเอแซดที ซึ่งในปี 2545 -2546 มีผู้ป่วยดื้อยา 50-60% ขณะที่ยาจีพีโอเวียร์เป็นยาสูตรค็อกเทลที่เพิ่งจะมีการนำมาใช้ในประมาณปี 2547 หรือ 2-3 ปี ที่ผ่านมาเท่านั้น
ดังนั้น จีพีโอเวียร์จึงไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการดื้อยา เนื่องจากไม่สามารถแยกได้ว่า การดื้อยา มาจากยาตัวใด นอกจากนั้นสาเหตุของการดื้อยายังขึ้นอยู่กับระเบียบวินัยในการกินยาของผู้ป่วยที่จะต้องกินยาให้ตรงตามกำหนดด้วย
“ในการศึกษายาที่ผู้ป่วยได้รับช่วงแรกๆ ยาที่ผู้ป่วยได้รับเป็นยาต้นตำรับด้วยซ้ำ ซึ่งการการดื้อยาเป็นเรื่องปกติ ที่เมื่อผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสย่อมมีอาการดื้อยา หลังจากที่ใช้ยา 2-6 ปี ขณะนี้ตัวเลขผู้ป่วยดื้อยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งมีการผู้ป่วยที่ได้รับยาคลอบคุลมเพิ่มมากขึ้น ทำให้อัตราผู้ป่วยเอดส์ดูเหมือนมีการดื้อยาเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นจึงต้องการพัฒนายาสูตรใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา”รศ.ดร.วสันต์กล่าว
**เผยดื้อยาน้อยมาก
นพ.สมบัติกล่าวว่า จากการศึกษาการดื้อยาในจ.อุบลราชธานี เมื่อปี 2548 พบว่า หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาจีพีโอเวียร์ 6 เดือนแรก มีอัตราการดื้อยา 4.9 %รักษานาน 6-12 เดือนอัตราการดื้อยา 7.1 % ใช้ยานาน 12-24 เดือนอัตราการดื้อยา 8.2 % และหากใช้นานกว่า 24 เดือนอัตราการดื้อยาเพียง 14.6 % ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่ได้สูงมาก ถือเป็นตัวเลขที่มีผู้ดื้อยาที่ค่อนข้างน้อย
ขณะที่การศึกษาการดื้อยาในยาตัวอื่นๆ เช่น เนวิลาปีน ลามิวูดีน หรือ สตาวูดีน ที่เป็นยาเดี่ยว มีอัตราการดื้อยาประมาณ 20% ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม หากพบว่าผู้ป่วยดื้อต่อยาพื้นฐานตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ในสูตรของจีพีโอเวียร์ ก็จะพิจารณาใช้ยาสูตรที่ 2 ต่อไป ซึ่งจากการประเมินพบว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยเอดส์จำเป็นต้องใช้ยาสูตร 2 จำนวนไม่ต่ำกว่า 12,000 ราย
“การเปรียบเทียบว่ายาสูตรดั้งเดิมกับยาที่อภ.ผลิตขึ้นนั้นตัวใด ทำให้เกิดการดื้อยามากกว่ากันนั้น เป็นเรื่องลำบาก เพราะนอกจากคุณภาพของยาแล้ว การกินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอ ที่มีไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ ก็เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญด้วย อย่างยาตัวหนึ่ง เนวิลาปีน ซึ่งเป็นยาโดดๆ ดื้อง่ายมาก ปีแรกๆ ก็ 15% ปีต่อไปก็เพิ่มขึ้นเรื่อง ขณะนี้มีการดื้อยามากกว่า 20% ขึ้นไป”นพ.สมบัติกล่าว
ด้านภญ.อัจฉรา เอกแสงศรี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า การศึกษาประสิทธิผลของยาจีพีโอเวียร์ ซึ่งได้มีการศึกษาทดลองทางคลินิกในปี 2545 ซึ่งผลการรักษาจากผู้ป่วย 100 คน ใน 52 สัปดาห์สามารถลดประมาณไวรัสในร่างกาย โดยไม่สามารถตรวจวัดไวรัสได้ 96% ใน 76 สัปดาห์ สามารถกดไวรัสได้สูงถึง 98% ของไวรัสทั้งหมด ในร่างกาย ดังนั้น หากยาไม่มีประสิทธิภาพคงไม่สามารถกดไวรัสได้ ขณะที่ยาจีพีโอเวียร์มีผลข้างเคียงเพียง 20% ซึ่งเท่ากับผลการศึกษายาดั้งเดิมในต่างประเทศ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การดำเนินการของอภ.ในการขอให้องค์การอนามัยโลกรับรองมาตรฐานการผลิต (GMP) ของยาจีพีโอเวียร์ ขณะนี้ดำเนินการถึงขั้นตอนใดแล้ว ภก.วันชัย กล่าวว่า ขณะนี้องค์การเภสัชกรรมได้ยื่นให้องค์การอนามัยโลกตรวจพิจารณาเป็นครั้งที่ 2 โดยจะต้องตอบคำถาม 70 กว่าข้อ ขณะนี้เหลือเพียง 10 ข้อ เท่านั้น และเตรียมเชิญให้องค์การอนามัยโลกมาตรวจสอบอีกครั้งในเดือน ม.ค. 2551นี้ โดยกำลังมีการปรับปรุงสถานที่การผลิตเดิมที่ พระราม 6 เพื่อให้ได้มาตรฐาน และโรงงานใหม่ ซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณจากครม.แล้ว และอยู่ระหว่างการคัดเลือกบริษัทที่ได้เสนอราคาเข้ามา หากราคาที่ประมูลสูงกว่าราคากลางก็จะต้องมีการขออนุมัติงบประมาณใหม่ หากราคาต่ำกว่าก็จะสามารถทำได้ทันที
**ชี้ไทยปราบของเถื่อนแบบไฟไหม้ฟาง
นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยภายหลังการหารือกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ด้านทรัพย์สินทางปัญญา และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย ถึงการแก้ปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสหรัฐฯ เพื่อปลดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) ตามกฎหมายการค้า มาตรา 301 พิเศษว่า สหรัฐฯไม่ได้เรียกร้องให้ไทยจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาการละเมิด แต่ต้องการให้ไทยดำเนินนโยบายปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และปราบปรามการละเมิดอย่างเข้มแข็ง จริงจัง และต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นเพียงไฟไหม้ฟางเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังต้องการให้ไทยจับกุม ดำเนินคดี และลงโทษผู้ค้า ผู้ผลิตสินค้าละเมิดรายใหญ่ๆ ไม่ใช่ดำเนินการกับเฉพาะรายเล็กๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ยังมีการละเมิดอยู่มาก ขณะเดียวกัน สหรัฐฯยังตำหนิไทยว่า ในเรื่องการปราบปรามการละเมิด แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กรมศุลกากร เป็นต้น ต่างคนต่างทำ ไม่มีการประสานงานกัน จึงทำให้การปราบปรามไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร พร้อมกันนั้น สหรัฐฯได้ยกตัวอย่างแผนปฏิบัติการของฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่ทำให้ 2 ประเทศถูกปลดออกจาก PWL มาอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (WL) ในปีนี้
“สหรัฐฯอ้างว่า ไทยไม่จริงจังปราบปราม มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับผิดชอบบ่อยๆ ทำงานไม่ต่อเนื่อง และยังทำงานแบบไฟไหม้ฟาง คือ ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ปราบที สินค้าละเมิดก็จะลดลงที แต่พอไม่สั่งการแล้วของเถื่อนก็จะกลับมาอีกเหมือนเดิม ส่วนเรื่องสถิติการจับกุมดำเนินคดี และยึดของกลางได้ ก็อยากให้มีคุณภาพ โดยจับรายใหญ่ให้มากขึ้น ไม่ใช่มีแค่ปริมาณที่เพิ่มขึ้น จึงต้องการให้ไทยมีนโยบายในเรื่องนี้อย่างยั่งยืนในระยะยาว” นางพวงรัตน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯยืนยันว่า จะไม่นำการที่ไทยถูกเลื่อนสถานะมาเป็นข้ออ้างตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) อย่างแน่นอน แต่หากสินค้าใดที่ไทยถูกตัดสิทธิก็เป็นเพราะสินค้านั้นมีศักยภาพในการแข่งขัน และมีมูลค่าส่งออกเกินเพดานที่สหรัฐฯกำหนด ส่วนเรื่องที่ค้างเจรจามาจากการเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-สหรัฐฯ โดยเฉพาะการคุ้มครองข้อมูลยานั้น ในการหารือครั้งนี้ สหรัฐฯไม่ได้พูดถึงเลย
**หุบปากเงียบ CL บอกไม่อยากพูดถึง
ส่วนในประเด็นที่ไทยประกาศบังคับใช้ซีแอล สหรัฐฯเพียงแค่กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้วจึงไม่อยากพูดถึงอีก แต่หากในอนาคต ไทยจะใช้สิทธิซีแอลอีกก็ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส และหารือกับเจ้าของสิทธิบัตรก่อน พร้อมกันนั้น สหรัฐฯได้เสนอตัวที่จะช่วยเหลือไทยในด้านต่างๆ เช่น ในการสืบสวนสอบสวนเพื่อให้รู้ถึงผู้ผลิต ผู้ค้าสินค้าละเมิดรายใหญ่ และนำไปสู่การจับกุมดำเนินคดี เพราะมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเอฟบีไอประจำอยู่ในไทย หรืออาจจะให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมบุคลากรด้านการ
นางพวงรัตน์ กล่าวต่อว่า หลังการหารือครั้งนี้ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะกลับไปรายงานให้สำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ประเมินสถานะประเทศคู่ค้าสหรัฐฯในแต่ละปี ภายใต้กฎหมายการค้า มาตรา 301 พิเศษว่า ไทยมีความจริงใจแก้ปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ และยูเอสทีอาร์อาจจะมาหารือกับไทยเองในภายหลัง
ขณะเดียวกัน กรมจะทำรายงานสิ่งที่ได้หารือกับสหรัฐฯเสนอต่อรมว.พาณิชย์ พร้อมกับขอหารือว่า จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีรมว.พาณิชย์ หรือนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาการละเมิดหรือไม่ ซึ่งตนมองว่า หากไทยไม่ทำแผนปฏิบัติการ จะต้องดำเนินการปกป้องคุ้มครอง และปราบปรามการละเมิดอย่างจริงจังมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้สินค้าละเมิดลดลงให้ได้
**อดีตทูตสหรัฐฯประณามไทยใช้ CL
วันเดียวกัน นายอี. แอชลีย์ วิลส์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท วิลเมอร์เฮลล์ จำกัด ซึ่งเป็นสำนักงานกฎหมายชื่อดังของสหรัฐอเมริกา และเคยดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในหลายประเทศ รวมถึงเคยเป็นผู้แทนสำนักงานการค้าสหรัฐฯ(USTR)ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กรณีไทยประกาศใช้ซีแอล ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียา
นายอี. แอชลีย์ วิลส์ กล่าวออกตัวก่อนว่า การเดินทางมาไทยในครั้งนี้ไม่ได้มาในนามรัฐบาลสหรัฐฯ และไม่ได้มาในนามบริษัทยาแต่อย่างใดถึงแม้บริษัทยาในสหรัฐฯจะเป็นลูกค้าสำนักงานกฎหมายของตนก็ตาม แต่มาในฐานะกลุ่มนักธุรกิจในสหรัฐฯ ที่เป็นห่วงมิตรภาพที่เคยมีต่อกันของทั้งสองประเทศ
เขากล่าวว่า ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาชื่อเสียงและความเชื่อมั่นต่อไทย ในสายตาของนักลงทุนสหรัฐฯ ลดลงไปมาก ทั้งกรณีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ซีแอล ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว
“หากประเทศไทยยกเลิกการใช้ซีแอล เชื่อว่าทางสหรัฐฯ รวมถึงประชาคมโลก จะต้องแสดงความตอบรับที่ดี และมีความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ต้องมีมาตรการที่จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงตัวยาด้วย”
นายอี. แอชลีย์ วิลส์ กล่าวอีกว่า ทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งทางบริษัทยาและกระทรวงสาธารณสุขของไทย ควรจะมีการเจรจาพูดคุยกันให้มากขึ้น เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน เพราะที่ผ่านมาปัญหาเกิดจากทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้พูดคุยกันมากเท่าที่ควร ซึ่งทางบริษัทยาก็มีแนวทางที่สุดโต่ง ขณะที่รัฐบาลไทยก็ใช้มาตรการที่สุดโต่งเช่นกัน จึงไม่สมดุลกัน
“การดำเนินการของไทยในครั้งนี้ไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมายและไม่ผิดหลักการขององค์การการค้าโลก แต่ต้องถามว่ารัฐบาลไทยดำเนินนโยบายที่ดีที่สุดในระยะยาวแล้วหรือ เพราะมันจะมีผลต่อชื่อเสียง การลงทุนและเศรษฐกิจของไทย”
เขายังกล่าวถึงกรณีที่มีข่าวผ่านสื่อมวลชนในไทยระบุว่าทางการสหรัฐฯ เองก็มีการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาในประเทศของตนเช่นกันว่า ประเทศสหรัฐฯ ไม่เคยใช้ซีแอล แต่เป็นการใช้ความยินยอม ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯกับบริษัทยา ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่รัฐบาลเห็นว่าบริษัทอาจผลิตยาได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงนำอีกบริษัทมาช่วยในการผลิต แต่ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นกรณีไป
วานนี้ (11 พ.ค.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ในฐานะประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม พร้อม นพ.ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าหน่วยไวรัสวิทยาและจุลชีววิทยาโมเลกุล คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ภก.วันชัย ศุภจัตุรัส รักษาการผอ.องค์การเภสัชกรรม นพ.สมบัติ แทนประเสริฐสุข ผู้อำนวยการสำนักโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค ได้ร่วมกันแถลงข่าวตอบโต้องค์การยูเอสเอฟอร์อินโนเวชั่น( USA for Innovation) กรณีโจมตีการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ของไทย โดยเผยแพร่ข้อมูลยาจีพีโอเวียร์ ซึ่งเป็นยารักษาโรคเอดส์ ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมว่าเป็นยาที่ไม่ได้มาตรฐาน และระบุการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ ม.มหิดลเมื่อพ.ศ.2548 จากที่ศึกษากับผู้ป่วย 300 คน พบมีการดื้อยาระหว่าง 39.6-58 % ซึ่งเป็นการดื้อยาเอดส์ที่เลวร้ายที่สุดในโลก
**จ้องล็อบบี้ยิสต์ตัวแสบ
นพ.วิชัย กล่าวว่า สิ่งที่ยูเอสเอฟอร์อินโนเวชั่นพาดพิงถึงยาจีพีโอเวียร์ขององค์การเภสัชกรรมไม่เป็นความจริง และยืนยันว่ายาจีพีโอเวียร์ได้มาตรฐานและไม่มีการดื้อยามากตามที่มีการกล่าวหา ซึ่งมีผลการศึกษายืนยันชัดเจนซึ่งการพัฒนายาจีพีโอเวียร์ ให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นกับผู้ใช้ยาชื่อสามัญที่ผลิตในประเทศ ได้ทำการศึกษาชีวสมมูล(Bioequivalence Study) เทียบกับยาต้นแบบที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง พบได้ผลดีเท่ากัน โดยตัวเลขผู้ป่วยดื้อยาจีพีโอเวียร์ที่องค์การยูเอสเอฯกล่าวหานั้น เป็นการบิดเบือนผลการตรวจ เนื่องจากข้อมูลที่ได้เป็นการตรวจเฉพาะผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะดื้อยา จึงทำให้ตัวเลขสูง
“การที่ยูเอสเอฟอร์อินโนเวชั่นโจมตียาจีโอเวียร์ก็เพื่อเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น เพราะไม่สามารถตอบโต้คุณภาพของยาแอฟฟาไวเร้นท์ได้ เนื่องจากอภ.ไม่ได้เป็นผู้ผลิตยาแอฟฟาไวเร้นท์ แต่ได้นำเข้ายาชนิดดังกล่าวจากประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นยาที่ได้รับมาตรฐานการผลิต (GMP) จากองค์การอนามัยโลก และได้มีการนำมาขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้ว การมาโจมตีจีพีโอเวียร์ จึงไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันเลย”
“น่าประหลาดที่องค์กรฯ นี้ใช้วิธีนี้จับแพะชนแกะ ก่อกวนและพยายามทำให้เราไขว้เขวในการทำซีแอล ซึ่งจุดยืนหลักของเราคือการทำให้คนสามารถเข้าถึงยา และเราคงไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการตอบโต้ทุกๆประเด็น แต่จะให้อภ.ดูข้อกฎหมายอย่างละเอียดว่าเกิดผลกระทบอย่างไรกับไทยบ้าง จากนั้นจึงจะทำหนังสือขอให้มีการระงับโฆษณาชิ้นนี้หรือดำเนินการฟ้องร้องต่อไป รวมทั้งจะส่งข้อมูลข้อเท็จจริงต่างให้กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องด้วย”นพ.วิชัยกล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ใช้ยาจีพีโอเวียร์ตามปกติจะไม่มีการส่งตรวจเชื้อดื้อยาทุกราย เนื่องจากค่าตรวจมีราคาแพงมาก แพทย์จึงพิจารณาส่งตรวจเฉพาะรายที่รับประทานไประยะหนึ่งแล้ว น่าสงสัยว่าจะดื้อยาจึงส่งตรวจ วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาให้ยากลุ่มใหม่ซึ่งมีราคาสูงกว่ามาก จึงทำให้ตัวเลขการดื้อยาสูง และตัวเลขการดื้อยาดังกล่าวไม่ใช่อัตราการดื้อยาจีพีโอเวียร์ แต่เป็นตัวเลขการดื้อยาของผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มที่แพทย์สงสัยว่าดื้อยาเท่านั้น การนำเสนอตัวเลขที่กล่าวมา จึงเป็นการตีความผิด หรือจงใจทำให้เข้าใจผิด จึงขอผู้ป่วยเอดส์ไทยวางใจยาจีพีโอเวียร์ได้
นพ.วิชัย กล่าวต่อไปว่า หากต้องการทราบตัวเลขอัตราการดื้อยาจีพีโอเวียร์จริง จะต้องมีการศึกษาติดตามกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาทั้งกลุ่ม จำนวนมากพอสมควรเช่น 100-200 ราย และตรวจการดื้อยาเป็นระยะ เช่น 1-2-3 ปี จึงจะได้ตัวเลขดื้อยาที่แท้จริง ซึ่งมีการศึกษาแล้วโดยนพ.ถนอมศักดิ์ เขนกธนานนท์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลพบว่าได้ผลดี ไม่แตกต่างจากยาต้นตำรับแต่อย่างใด และรายงานนี้ได้ตีพิมพ์ในจดหมายเหตุทางการแพทย์จากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นการยืนยันคุณภาพยาจีพีโอเวียร์ว่ามิได้เป็นไปตามที่กล่าวหาแต่อย่างใด
**โวยหยิบตัวเลขอ้างมั่วแปลงผลผิด
รศ.ดร.วสันต์ กล่าวว่า งานวิจัยที่ถูกกล่าวอ้างถึงเป็นการตรวจเฝ้าระวังการติดเชื้อการดื้อยาต้านไวรัสเอดส์ ตั้งแต่ปี 2543- 2550 โดยใช้วิธีการตรวจทางชีวโมเลกุล ผู้ป่วย 300 คน พบมีการดื้อยาระหว่าง 39.6-58 %เป็นตัวเลขที่เป็นจริงแต่มีการแปลงข้อมูลผิด ถือว่าไม่ตรงตามข้อเท็จจริงนัก เนื่องจากในช่วงปี 2543 เป็นช่วงที่ผู้ป่วยยังรับประทานยาเม็ดเดี่ยว 3 เม็ด โดยยาที่เป็นที่รู้จัก เช่น ยาเอแซดที ซึ่งในปี 2545 -2546 มีผู้ป่วยดื้อยา 50-60% ขณะที่ยาจีพีโอเวียร์เป็นยาสูตรค็อกเทลที่เพิ่งจะมีการนำมาใช้ในประมาณปี 2547 หรือ 2-3 ปี ที่ผ่านมาเท่านั้น
ดังนั้น จีพีโอเวียร์จึงไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการดื้อยา เนื่องจากไม่สามารถแยกได้ว่า การดื้อยา มาจากยาตัวใด นอกจากนั้นสาเหตุของการดื้อยายังขึ้นอยู่กับระเบียบวินัยในการกินยาของผู้ป่วยที่จะต้องกินยาให้ตรงตามกำหนดด้วย
“ในการศึกษายาที่ผู้ป่วยได้รับช่วงแรกๆ ยาที่ผู้ป่วยได้รับเป็นยาต้นตำรับด้วยซ้ำ ซึ่งการการดื้อยาเป็นเรื่องปกติ ที่เมื่อผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสย่อมมีอาการดื้อยา หลังจากที่ใช้ยา 2-6 ปี ขณะนี้ตัวเลขผู้ป่วยดื้อยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งมีการผู้ป่วยที่ได้รับยาคลอบคุลมเพิ่มมากขึ้น ทำให้อัตราผู้ป่วยเอดส์ดูเหมือนมีการดื้อยาเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นจึงต้องการพัฒนายาสูตรใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา”รศ.ดร.วสันต์กล่าว
**เผยดื้อยาน้อยมาก
นพ.สมบัติกล่าวว่า จากการศึกษาการดื้อยาในจ.อุบลราชธานี เมื่อปี 2548 พบว่า หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาจีพีโอเวียร์ 6 เดือนแรก มีอัตราการดื้อยา 4.9 %รักษานาน 6-12 เดือนอัตราการดื้อยา 7.1 % ใช้ยานาน 12-24 เดือนอัตราการดื้อยา 8.2 % และหากใช้นานกว่า 24 เดือนอัตราการดื้อยาเพียง 14.6 % ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่ได้สูงมาก ถือเป็นตัวเลขที่มีผู้ดื้อยาที่ค่อนข้างน้อย
ขณะที่การศึกษาการดื้อยาในยาตัวอื่นๆ เช่น เนวิลาปีน ลามิวูดีน หรือ สตาวูดีน ที่เป็นยาเดี่ยว มีอัตราการดื้อยาประมาณ 20% ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม หากพบว่าผู้ป่วยดื้อต่อยาพื้นฐานตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ในสูตรของจีพีโอเวียร์ ก็จะพิจารณาใช้ยาสูตรที่ 2 ต่อไป ซึ่งจากการประเมินพบว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยเอดส์จำเป็นต้องใช้ยาสูตร 2 จำนวนไม่ต่ำกว่า 12,000 ราย
“การเปรียบเทียบว่ายาสูตรดั้งเดิมกับยาที่อภ.ผลิตขึ้นนั้นตัวใด ทำให้เกิดการดื้อยามากกว่ากันนั้น เป็นเรื่องลำบาก เพราะนอกจากคุณภาพของยาแล้ว การกินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอ ที่มีไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ ก็เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญด้วย อย่างยาตัวหนึ่ง เนวิลาปีน ซึ่งเป็นยาโดดๆ ดื้อง่ายมาก ปีแรกๆ ก็ 15% ปีต่อไปก็เพิ่มขึ้นเรื่อง ขณะนี้มีการดื้อยามากกว่า 20% ขึ้นไป”นพ.สมบัติกล่าว
ด้านภญ.อัจฉรา เอกแสงศรี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า การศึกษาประสิทธิผลของยาจีพีโอเวียร์ ซึ่งได้มีการศึกษาทดลองทางคลินิกในปี 2545 ซึ่งผลการรักษาจากผู้ป่วย 100 คน ใน 52 สัปดาห์สามารถลดประมาณไวรัสในร่างกาย โดยไม่สามารถตรวจวัดไวรัสได้ 96% ใน 76 สัปดาห์ สามารถกดไวรัสได้สูงถึง 98% ของไวรัสทั้งหมด ในร่างกาย ดังนั้น หากยาไม่มีประสิทธิภาพคงไม่สามารถกดไวรัสได้ ขณะที่ยาจีพีโอเวียร์มีผลข้างเคียงเพียง 20% ซึ่งเท่ากับผลการศึกษายาดั้งเดิมในต่างประเทศ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การดำเนินการของอภ.ในการขอให้องค์การอนามัยโลกรับรองมาตรฐานการผลิต (GMP) ของยาจีพีโอเวียร์ ขณะนี้ดำเนินการถึงขั้นตอนใดแล้ว ภก.วันชัย กล่าวว่า ขณะนี้องค์การเภสัชกรรมได้ยื่นให้องค์การอนามัยโลกตรวจพิจารณาเป็นครั้งที่ 2 โดยจะต้องตอบคำถาม 70 กว่าข้อ ขณะนี้เหลือเพียง 10 ข้อ เท่านั้น และเตรียมเชิญให้องค์การอนามัยโลกมาตรวจสอบอีกครั้งในเดือน ม.ค. 2551นี้ โดยกำลังมีการปรับปรุงสถานที่การผลิตเดิมที่ พระราม 6 เพื่อให้ได้มาตรฐาน และโรงงานใหม่ ซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณจากครม.แล้ว และอยู่ระหว่างการคัดเลือกบริษัทที่ได้เสนอราคาเข้ามา หากราคาที่ประมูลสูงกว่าราคากลางก็จะต้องมีการขออนุมัติงบประมาณใหม่ หากราคาต่ำกว่าก็จะสามารถทำได้ทันที
**ชี้ไทยปราบของเถื่อนแบบไฟไหม้ฟาง
นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยภายหลังการหารือกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ด้านทรัพย์สินทางปัญญา และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย ถึงการแก้ปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสหรัฐฯ เพื่อปลดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) ตามกฎหมายการค้า มาตรา 301 พิเศษว่า สหรัฐฯไม่ได้เรียกร้องให้ไทยจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาการละเมิด แต่ต้องการให้ไทยดำเนินนโยบายปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และปราบปรามการละเมิดอย่างเข้มแข็ง จริงจัง และต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นเพียงไฟไหม้ฟางเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังต้องการให้ไทยจับกุม ดำเนินคดี และลงโทษผู้ค้า ผู้ผลิตสินค้าละเมิดรายใหญ่ๆ ไม่ใช่ดำเนินการกับเฉพาะรายเล็กๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ยังมีการละเมิดอยู่มาก ขณะเดียวกัน สหรัฐฯยังตำหนิไทยว่า ในเรื่องการปราบปรามการละเมิด แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กรมศุลกากร เป็นต้น ต่างคนต่างทำ ไม่มีการประสานงานกัน จึงทำให้การปราบปรามไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร พร้อมกันนั้น สหรัฐฯได้ยกตัวอย่างแผนปฏิบัติการของฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่ทำให้ 2 ประเทศถูกปลดออกจาก PWL มาอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (WL) ในปีนี้
“สหรัฐฯอ้างว่า ไทยไม่จริงจังปราบปราม มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับผิดชอบบ่อยๆ ทำงานไม่ต่อเนื่อง และยังทำงานแบบไฟไหม้ฟาง คือ ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ปราบที สินค้าละเมิดก็จะลดลงที แต่พอไม่สั่งการแล้วของเถื่อนก็จะกลับมาอีกเหมือนเดิม ส่วนเรื่องสถิติการจับกุมดำเนินคดี และยึดของกลางได้ ก็อยากให้มีคุณภาพ โดยจับรายใหญ่ให้มากขึ้น ไม่ใช่มีแค่ปริมาณที่เพิ่มขึ้น จึงต้องการให้ไทยมีนโยบายในเรื่องนี้อย่างยั่งยืนในระยะยาว” นางพวงรัตน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯยืนยันว่า จะไม่นำการที่ไทยถูกเลื่อนสถานะมาเป็นข้ออ้างตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) อย่างแน่นอน แต่หากสินค้าใดที่ไทยถูกตัดสิทธิก็เป็นเพราะสินค้านั้นมีศักยภาพในการแข่งขัน และมีมูลค่าส่งออกเกินเพดานที่สหรัฐฯกำหนด ส่วนเรื่องที่ค้างเจรจามาจากการเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-สหรัฐฯ โดยเฉพาะการคุ้มครองข้อมูลยานั้น ในการหารือครั้งนี้ สหรัฐฯไม่ได้พูดถึงเลย
**หุบปากเงียบ CL บอกไม่อยากพูดถึง
ส่วนในประเด็นที่ไทยประกาศบังคับใช้ซีแอล สหรัฐฯเพียงแค่กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้วจึงไม่อยากพูดถึงอีก แต่หากในอนาคต ไทยจะใช้สิทธิซีแอลอีกก็ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส และหารือกับเจ้าของสิทธิบัตรก่อน พร้อมกันนั้น สหรัฐฯได้เสนอตัวที่จะช่วยเหลือไทยในด้านต่างๆ เช่น ในการสืบสวนสอบสวนเพื่อให้รู้ถึงผู้ผลิต ผู้ค้าสินค้าละเมิดรายใหญ่ และนำไปสู่การจับกุมดำเนินคดี เพราะมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเอฟบีไอประจำอยู่ในไทย หรืออาจจะให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมบุคลากรด้านการ
นางพวงรัตน์ กล่าวต่อว่า หลังการหารือครั้งนี้ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะกลับไปรายงานให้สำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ประเมินสถานะประเทศคู่ค้าสหรัฐฯในแต่ละปี ภายใต้กฎหมายการค้า มาตรา 301 พิเศษว่า ไทยมีความจริงใจแก้ปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ และยูเอสทีอาร์อาจจะมาหารือกับไทยเองในภายหลัง
ขณะเดียวกัน กรมจะทำรายงานสิ่งที่ได้หารือกับสหรัฐฯเสนอต่อรมว.พาณิชย์ พร้อมกับขอหารือว่า จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีรมว.พาณิชย์ หรือนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาการละเมิดหรือไม่ ซึ่งตนมองว่า หากไทยไม่ทำแผนปฏิบัติการ จะต้องดำเนินการปกป้องคุ้มครอง และปราบปรามการละเมิดอย่างจริงจังมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้สินค้าละเมิดลดลงให้ได้
**อดีตทูตสหรัฐฯประณามไทยใช้ CL
วันเดียวกัน นายอี. แอชลีย์ วิลส์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท วิลเมอร์เฮลล์ จำกัด ซึ่งเป็นสำนักงานกฎหมายชื่อดังของสหรัฐอเมริกา และเคยดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในหลายประเทศ รวมถึงเคยเป็นผู้แทนสำนักงานการค้าสหรัฐฯ(USTR)ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กรณีไทยประกาศใช้ซีแอล ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียา
นายอี. แอชลีย์ วิลส์ กล่าวออกตัวก่อนว่า การเดินทางมาไทยในครั้งนี้ไม่ได้มาในนามรัฐบาลสหรัฐฯ และไม่ได้มาในนามบริษัทยาแต่อย่างใดถึงแม้บริษัทยาในสหรัฐฯจะเป็นลูกค้าสำนักงานกฎหมายของตนก็ตาม แต่มาในฐานะกลุ่มนักธุรกิจในสหรัฐฯ ที่เป็นห่วงมิตรภาพที่เคยมีต่อกันของทั้งสองประเทศ
เขากล่าวว่า ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาชื่อเสียงและความเชื่อมั่นต่อไทย ในสายตาของนักลงทุนสหรัฐฯ ลดลงไปมาก ทั้งกรณีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ซีแอล ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว
“หากประเทศไทยยกเลิกการใช้ซีแอล เชื่อว่าทางสหรัฐฯ รวมถึงประชาคมโลก จะต้องแสดงความตอบรับที่ดี และมีความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ต้องมีมาตรการที่จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงตัวยาด้วย”
นายอี. แอชลีย์ วิลส์ กล่าวอีกว่า ทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งทางบริษัทยาและกระทรวงสาธารณสุขของไทย ควรจะมีการเจรจาพูดคุยกันให้มากขึ้น เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน เพราะที่ผ่านมาปัญหาเกิดจากทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้พูดคุยกันมากเท่าที่ควร ซึ่งทางบริษัทยาก็มีแนวทางที่สุดโต่ง ขณะที่รัฐบาลไทยก็ใช้มาตรการที่สุดโต่งเช่นกัน จึงไม่สมดุลกัน
“การดำเนินการของไทยในครั้งนี้ไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมายและไม่ผิดหลักการขององค์การการค้าโลก แต่ต้องถามว่ารัฐบาลไทยดำเนินนโยบายที่ดีที่สุดในระยะยาวแล้วหรือ เพราะมันจะมีผลต่อชื่อเสียง การลงทุนและเศรษฐกิจของไทย”
เขายังกล่าวถึงกรณีที่มีข่าวผ่านสื่อมวลชนในไทยระบุว่าทางการสหรัฐฯ เองก็มีการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาในประเทศของตนเช่นกันว่า ประเทศสหรัฐฯ ไม่เคยใช้ซีแอล แต่เป็นการใช้ความยินยอม ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯกับบริษัทยา ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่รัฐบาลเห็นว่าบริษัทอาจผลิตยาได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงนำอีกบริษัทมาช่วยในการผลิต แต่ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นกรณีไป