สตง.ตรวจสอบพบ “ทักษิณ” จัดตั้ง สบร.โดยมิชอบด้วยกฎหมาย แถมองค์กรยังใช้เงิน สุรุ้ยสุร่าย ใช้จ่ายตามใจชอบ ทั้งการเช่าอาคาร การตกแต่ง ไม่มีการประมูล ว่าจ้างที่ปรึกษาแพงเกินเหตุ
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้จัดทำรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผล ของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์กรมหาชน)หรือ สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยผู้ผลักดันคนสำคัญคือ นายพันธ์ศักดิ์ วิญญรัตน์ อดีตประธานที่ปรึกษานโยบาย ฝ่ายเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรี ซึ่งเนื้อหารายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวของ สตง.ระบุว่า จากการตรวจสอบองค์กรแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2547-2549 พบจุดสำคัญ 5 ประเด็นคือ
1.ประกาศจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านของคณะกรรมการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ไม่เป็นไปตามประกาศ พ.ร.ฎ.จัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ พ.ศ.2547 และพ.ร.ฎ.ไม่เป็นไปตามพ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ.2542 เนื่องจาก สบร.จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฏ.จัดตั้งสบร. ซึ่งในกฎหมาย ได้ให้อำนาจคณะกรรมการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดตั้งและยุบเลิกหน่วยงานเฉพาะด้านขึ้นใน สบร.แต่ พ.ต.ท.ทักษิณในฐานะประธานกรรมการ นโยบายการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ได้ออกประกาศจัดตั้ง 7 ฉบับ จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้าน 7 หน่วยงานมีผลเมื่อ 18 มิ.ย. 2547 คือสำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย, ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ, สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (ทีเคปาร์ค),สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม, สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ และยังกำหนดอำนาจหน้าที่และการบริหารงานไว้ด้วย ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วประธานกรรมการนโยบาย(พ.ต.ท.ทักษิณ) ไม่สามารถกำหนดให้หน่วยงานเฉพาะด้านมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทน สบร.ในการจัดตั้งเช่นนั้นได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของสบร.เท่านั้น
นอกจากนี้ข้อกำหนดในการออก พ.ร.ฏ.จัดตั้ง สบร.มีข้อความที่ขัดแย้ง หรือไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.องค์การมหาชนอีกหลายประการเช่น ในพ.ร.ฏ. ไม่ได้กำหนดฐานะของ สบร.ให้เป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นนิติบุคคล ทำให้หน่วยงานเฉพาะด้านของ สบร.ไม่ได้เป็นองค์กรมหาชนและไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จนทำให้เกิดความเข้าใจว่าหน่วยงานเฉพาะด้านมีฐานะเช่นเดียวกับ สบร.ซึ่งเป็นองค์กรมหาชน ทั้งที่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น จนทำให้เกิดปัญหาและข้อบกพร่องหลายประการเช่น ขาดความชัดเจนในการบริหาร จัดสรรงบประมาณให้กับ สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้านไว้เป็นจำนวนมาก
กำหนดเงินเดือนของหัวหน้าหน่วยงานเฉพาะด้านในอัตราสูงสุดเท่ากับหรือใกล้เคียงกับผู้อำนวยการ สบร.ซึ่งเป็นองค์กรมหาชน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการประเมินค่างานอย่างแท้จริง เช่น ผอ.สำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ได้เดือนละ 3 แสนบาท ผอ.ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติเดือนละ 280,000 บาท ดังนั้นการท ี่พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกประกาศจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านที่ไม่เป็นไปตามพ.ร.ฏ.ที่กำหนดไว้ ทำให้เกิดปัญหาและข้อบกพร่องดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.การใช้จ่ายเงินขอ งสบร.ไม่ประหยัดและไม่คุ้มค่า ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่า สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้าน 7 หน่วยงานได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547-2549 และใช้ไปแล้ว 3,215,014,475 บาท พบว่าไม่ประหยัดและไม่คุ้มค่า โดยส่วนใหญ่ใช้ไปกับค่าเช่าสำนักงาน ที่ไปเช่าพื้นที่ของอาคารและศูนย์การค้าในราคาค่อนข้างสูง และยังเป็นสัญญาระยะสั้น เช่น สบร. ซึ่งเช่าอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 17 ที่เสียค่าเช่า 5 แสนบาทต่อเดือน
สำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เช่าตึกดิเอ็มโพเรียม ชั้น 24 และชั้น 6 รวม 3 ล้านบาทต่อเดือน สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ เช่าตึกคิวเฮ้าส์ ลุมพินี อัตรา 9 แสนกว่าบาทต่อเดือน อันพบว่าบางหน่วยงานเช่าพื้นที่ทั้งชั้นและหลายชั้น ทั้งที่มีผู้ปฏิบัติงานไม่มาก อาทิศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถแห่งชาติ มีคนทำงานแค่ 22 คนแต่เช่าพื้นที่ชั้น 47 ของอาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ ถึง 1,630 ตารางเมตร และหลายองค์กรลงทุนปรับปรุงตกแต่งสำนักงานโดยไม่ได้คำนึงถึง ความประหวัดและคุ้มค่า ทำให้ค่าเช่าของหน่วยงานใน สบร.ทั้งหมดมีค่าเช่า ค่อนข้างสูงเช่นปี 2549 เสียรายจ่ายไปกับค่าเช่าและค่าปรับปรุงตกแต่งสำนักงานเกือบ 485 ล้านบาท
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ มีการปรับปรุงตกแต่งสำนักงานครั้งแรก ในปีงบประมาณ 2547 ซึ่งนางสิริกร มณีรินทร์ ประธานกรรมการสอร. อนุญาตให้ใช้บ้านของตัวเองเลขที่ 11/1 ถนนรามคำแหง กรุงเทพฯเป็นสำนักงานชั่วคราว ประมาณ 4 เดือนโดยไม่คิดเงินแต่ สอร.ต้องรับผิดชอบค่าตกแต่ง ซึ่งได้มีการปรับปรุงตกแต่งบ้านหลังดังกล่าวเป็นเงิน 887,449 บาทโดยไม่มีรายละเอียดว่าเป็นการปรับปรุงบริเวณส่วนใดบ้าง ต่อมาได้มีการย้ายสำนักงานไปที่ อาคารเซ็นทรัล เวิลด์ และมีการขอปรับปรุงสำนักงานชั่วคราวที่บ้านหลังดังกล่าวให้กลับคืนสภาพบ้านดังเดิมโดยมีค่ารื้อถอน 826,950 บาทโดยไม่มีการทำจัดทำบัญชีวัสดุในการรื้อถอน การให้ใช้บ้านประธาน สอร.เป็นสำนักงานชั่วคราวแม้จะไม่ต้องเสียค่าเช่า แต่ต้องมีค่าปรับปรุงตกแต่งและค่ารื้อถอนสองครั้งรวมเป็นเงิน 1,714,399 บาท จึงเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าและไม่ประหยัดเพราะเป็นเพียงสำนักงานชั่วคราวและเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งและอาจเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากบ้านดังกล่าวเป็นบ้านส่วนตัวของนางสิริกร มณีรินทร์ ประธานสอร. ซึ่งมีส่วนร่วมในการอนุมัติการจ้างิผลการตรวจสอบของสตง.ระบุชัดเจน
นอกจากนี้สตง.ยังระบุอีกว่า สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้านทั้ง 7 แห่ง มีการจ้าง ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญที่เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เช่นจ้างที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ เดือนละ 2 แสนบาท และยังจ้างงานแบบซ้ำซ้อนไม่มีขอบงานชัดเจน
นอกจากนี้ในส่วน ค่าใช้จ่ายของสำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ที่นายพันธ์ศักดิ์ วิญญรัตน์ เคยเป็นผู้บริหาร สตง.พบว่าในส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานของศูนย์ดังกล่าวฯ ในปีงบประมาณ 2548 และ 2549 มีการจ้างก่อสร้างติดตั้งและรื้อถอนนิทรรศการ ทั้งสองปีเป็นเงินเกือบ 57 ล้านบาทโดยพบว่าการจัดนิทรรศการ แต่ละครั้ง เมื่อสิ้นสุดก็ต้องรื้อถอนนิทรรศการออกไป โดยพบว่าทรัพย์สินส่วนใหญ่จะถูกรื้อถอนเสียหายและไม่มีการตรวจสอบรายละเอียดทรัพย์สินว่ามีมูลค่าเท่าใดและเสียหายจากการใช้งานจริงหรือไม่ ทำให้การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งค่าใช้จ่ายสูงมาก และเป็นการใช้จ่ายที่ไม่มีความประหยัดและไม่มีการควบคุมที่รัดกุม นอกจากนี้สำนักงานฯดังกล่าวยังมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงตกแต่งสำนักงานรวมเป็นเงิน กว่า 102 ล้านบาทโดยที่สัญญาเช่ามีอายุสัญญาเพียง 3
สตง.จึงมีข้อเสนอแนะว่าสมควรต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าปรับปรุงตกแต่งสำนักงานของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้เป็นเงิน 237,327,057 บาท ซึ่งเป็นการปรับปรุงตกแต่งและรื้อถอนที่บ้านส่วนตัวของประธานกรรมการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้โดยไม่เหมาะสม และการปรับปรุงตกแต่งพื้นที่ชั้น 6 อาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซา ที่ไม่ได้รับการต่อสัญญาเช่าจนต้องถูกรื้อถอน และยึดสิ่งที่ได้ลงทุนปรับปรุงตกแต่งไปแล้ว หากพบว่าผู้ใดทำให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบก็ให้พิจารณาดำเนินการกับผู้นั้นตามสมควรแก่กรณี และให้สำนักงาน สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้านทั้ง 7 แห่งพิจารณาทบทวนสัญญาจ้าง ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด หากพบว่าไม่มีประโยชน์หรือไม่มีความจำเป็น ก็ให้ดำเนินการแจ้ยกเลิกสัญญา
สำหรับประเด็นที่ 3 คือเรื่องการบริหารงานของสบร.และหน่วยงานเฉพาะด้านทั้ง 7 แห่งที่สตง.พบว่าไม่มีประสิทธิภาพ เช่นเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างพบว่า ทำได้โดยง่าย ไม่มีการตรวจสอบและไม่รัดกุม และมักใช้วิธีการจัดหาโดยวิธีพิเศษ อยู่เสมือ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์ และมีการจัดซื้อจัดจ้างแพงเกินสมควร เช่นศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ มีการจ้างบริษัท อาร์ซิเทค 110 จำกัด ปรับปรุงตกแต่งสำนักงานเป็นเงินประมาณ 10 ล้านบาท โดยไม่มีได้การลงนามสัญญาจ้างแต่อย่างใด หรือการทำสัญญาจ้างบางหน่วยงาน ที่มูลค่าถึง 150 ล้านบาทแต่กลับไม่มีสัญญาฉบับภาษาไทย
ประเด็นที่ 4 เรื่องการบริหารของ สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้านทั้ง 7 แห่ง ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงาน ประเด็นที่ 5 คือพบว่า การกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้และหัวหน้าหน่วยงานเฉพาะด้านไม่เหมาะสม เช่น ผอ.สำนักงานศูนย์สร้างสรรค์ งานออกแบบและผอ.สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ได้อัตราเงินเดือน 3 แสนบาท อันเป็นการกำหนดเงินเดือนโดยที่ไม่คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่มีมากเกินควร จึงขอมีการพิจารณาทบทวนด้วย
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้จัดทำรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผล ของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์กรมหาชน)หรือ สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยผู้ผลักดันคนสำคัญคือ นายพันธ์ศักดิ์ วิญญรัตน์ อดีตประธานที่ปรึกษานโยบาย ฝ่ายเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรี ซึ่งเนื้อหารายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวของ สตง.ระบุว่า จากการตรวจสอบองค์กรแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2547-2549 พบจุดสำคัญ 5 ประเด็นคือ
1.ประกาศจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านของคณะกรรมการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ไม่เป็นไปตามประกาศ พ.ร.ฎ.จัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ พ.ศ.2547 และพ.ร.ฎ.ไม่เป็นไปตามพ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ.2542 เนื่องจาก สบร.จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฏ.จัดตั้งสบร. ซึ่งในกฎหมาย ได้ให้อำนาจคณะกรรมการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดตั้งและยุบเลิกหน่วยงานเฉพาะด้านขึ้นใน สบร.แต่ พ.ต.ท.ทักษิณในฐานะประธานกรรมการ นโยบายการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ได้ออกประกาศจัดตั้ง 7 ฉบับ จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้าน 7 หน่วยงานมีผลเมื่อ 18 มิ.ย. 2547 คือสำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย, ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ, สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (ทีเคปาร์ค),สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม, สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ และยังกำหนดอำนาจหน้าที่และการบริหารงานไว้ด้วย ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วประธานกรรมการนโยบาย(พ.ต.ท.ทักษิณ) ไม่สามารถกำหนดให้หน่วยงานเฉพาะด้านมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทน สบร.ในการจัดตั้งเช่นนั้นได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของสบร.เท่านั้น
นอกจากนี้ข้อกำหนดในการออก พ.ร.ฏ.จัดตั้ง สบร.มีข้อความที่ขัดแย้ง หรือไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.องค์การมหาชนอีกหลายประการเช่น ในพ.ร.ฏ. ไม่ได้กำหนดฐานะของ สบร.ให้เป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นนิติบุคคล ทำให้หน่วยงานเฉพาะด้านของ สบร.ไม่ได้เป็นองค์กรมหาชนและไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จนทำให้เกิดความเข้าใจว่าหน่วยงานเฉพาะด้านมีฐานะเช่นเดียวกับ สบร.ซึ่งเป็นองค์กรมหาชน ทั้งที่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น จนทำให้เกิดปัญหาและข้อบกพร่องหลายประการเช่น ขาดความชัดเจนในการบริหาร จัดสรรงบประมาณให้กับ สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้านไว้เป็นจำนวนมาก
กำหนดเงินเดือนของหัวหน้าหน่วยงานเฉพาะด้านในอัตราสูงสุดเท่ากับหรือใกล้เคียงกับผู้อำนวยการ สบร.ซึ่งเป็นองค์กรมหาชน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการประเมินค่างานอย่างแท้จริง เช่น ผอ.สำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ได้เดือนละ 3 แสนบาท ผอ.ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติเดือนละ 280,000 บาท ดังนั้นการท ี่พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกประกาศจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านที่ไม่เป็นไปตามพ.ร.ฏ.ที่กำหนดไว้ ทำให้เกิดปัญหาและข้อบกพร่องดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.การใช้จ่ายเงินขอ งสบร.ไม่ประหยัดและไม่คุ้มค่า ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่า สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้าน 7 หน่วยงานได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547-2549 และใช้ไปแล้ว 3,215,014,475 บาท พบว่าไม่ประหยัดและไม่คุ้มค่า โดยส่วนใหญ่ใช้ไปกับค่าเช่าสำนักงาน ที่ไปเช่าพื้นที่ของอาคารและศูนย์การค้าในราคาค่อนข้างสูง และยังเป็นสัญญาระยะสั้น เช่น สบร. ซึ่งเช่าอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 17 ที่เสียค่าเช่า 5 แสนบาทต่อเดือน
สำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เช่าตึกดิเอ็มโพเรียม ชั้น 24 และชั้น 6 รวม 3 ล้านบาทต่อเดือน สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ เช่าตึกคิวเฮ้าส์ ลุมพินี อัตรา 9 แสนกว่าบาทต่อเดือน อันพบว่าบางหน่วยงานเช่าพื้นที่ทั้งชั้นและหลายชั้น ทั้งที่มีผู้ปฏิบัติงานไม่มาก อาทิศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถแห่งชาติ มีคนทำงานแค่ 22 คนแต่เช่าพื้นที่ชั้น 47 ของอาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ ถึง 1,630 ตารางเมตร และหลายองค์กรลงทุนปรับปรุงตกแต่งสำนักงานโดยไม่ได้คำนึงถึง ความประหวัดและคุ้มค่า ทำให้ค่าเช่าของหน่วยงานใน สบร.ทั้งหมดมีค่าเช่า ค่อนข้างสูงเช่นปี 2549 เสียรายจ่ายไปกับค่าเช่าและค่าปรับปรุงตกแต่งสำนักงานเกือบ 485 ล้านบาท
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ มีการปรับปรุงตกแต่งสำนักงานครั้งแรก ในปีงบประมาณ 2547 ซึ่งนางสิริกร มณีรินทร์ ประธานกรรมการสอร. อนุญาตให้ใช้บ้านของตัวเองเลขที่ 11/1 ถนนรามคำแหง กรุงเทพฯเป็นสำนักงานชั่วคราว ประมาณ 4 เดือนโดยไม่คิดเงินแต่ สอร.ต้องรับผิดชอบค่าตกแต่ง ซึ่งได้มีการปรับปรุงตกแต่งบ้านหลังดังกล่าวเป็นเงิน 887,449 บาทโดยไม่มีรายละเอียดว่าเป็นการปรับปรุงบริเวณส่วนใดบ้าง ต่อมาได้มีการย้ายสำนักงานไปที่ อาคารเซ็นทรัล เวิลด์ และมีการขอปรับปรุงสำนักงานชั่วคราวที่บ้านหลังดังกล่าวให้กลับคืนสภาพบ้านดังเดิมโดยมีค่ารื้อถอน 826,950 บาทโดยไม่มีการทำจัดทำบัญชีวัสดุในการรื้อถอน การให้ใช้บ้านประธาน สอร.เป็นสำนักงานชั่วคราวแม้จะไม่ต้องเสียค่าเช่า แต่ต้องมีค่าปรับปรุงตกแต่งและค่ารื้อถอนสองครั้งรวมเป็นเงิน 1,714,399 บาท จึงเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าและไม่ประหยัดเพราะเป็นเพียงสำนักงานชั่วคราวและเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งและอาจเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากบ้านดังกล่าวเป็นบ้านส่วนตัวของนางสิริกร มณีรินทร์ ประธานสอร. ซึ่งมีส่วนร่วมในการอนุมัติการจ้างิผลการตรวจสอบของสตง.ระบุชัดเจน
นอกจากนี้สตง.ยังระบุอีกว่า สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้านทั้ง 7 แห่ง มีการจ้าง ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญที่เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เช่นจ้างที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ เดือนละ 2 แสนบาท และยังจ้างงานแบบซ้ำซ้อนไม่มีขอบงานชัดเจน
นอกจากนี้ในส่วน ค่าใช้จ่ายของสำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ที่นายพันธ์ศักดิ์ วิญญรัตน์ เคยเป็นผู้บริหาร สตง.พบว่าในส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานของศูนย์ดังกล่าวฯ ในปีงบประมาณ 2548 และ 2549 มีการจ้างก่อสร้างติดตั้งและรื้อถอนนิทรรศการ ทั้งสองปีเป็นเงินเกือบ 57 ล้านบาทโดยพบว่าการจัดนิทรรศการ แต่ละครั้ง เมื่อสิ้นสุดก็ต้องรื้อถอนนิทรรศการออกไป โดยพบว่าทรัพย์สินส่วนใหญ่จะถูกรื้อถอนเสียหายและไม่มีการตรวจสอบรายละเอียดทรัพย์สินว่ามีมูลค่าเท่าใดและเสียหายจากการใช้งานจริงหรือไม่ ทำให้การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งค่าใช้จ่ายสูงมาก และเป็นการใช้จ่ายที่ไม่มีความประหยัดและไม่มีการควบคุมที่รัดกุม นอกจากนี้สำนักงานฯดังกล่าวยังมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงตกแต่งสำนักงานรวมเป็นเงิน กว่า 102 ล้านบาทโดยที่สัญญาเช่ามีอายุสัญญาเพียง 3
สตง.จึงมีข้อเสนอแนะว่าสมควรต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าปรับปรุงตกแต่งสำนักงานของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้เป็นเงิน 237,327,057 บาท ซึ่งเป็นการปรับปรุงตกแต่งและรื้อถอนที่บ้านส่วนตัวของประธานกรรมการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้โดยไม่เหมาะสม และการปรับปรุงตกแต่งพื้นที่ชั้น 6 อาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซา ที่ไม่ได้รับการต่อสัญญาเช่าจนต้องถูกรื้อถอน และยึดสิ่งที่ได้ลงทุนปรับปรุงตกแต่งไปแล้ว หากพบว่าผู้ใดทำให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบก็ให้พิจารณาดำเนินการกับผู้นั้นตามสมควรแก่กรณี และให้สำนักงาน สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้านทั้ง 7 แห่งพิจารณาทบทวนสัญญาจ้าง ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด หากพบว่าไม่มีประโยชน์หรือไม่มีความจำเป็น ก็ให้ดำเนินการแจ้ยกเลิกสัญญา
สำหรับประเด็นที่ 3 คือเรื่องการบริหารงานของสบร.และหน่วยงานเฉพาะด้านทั้ง 7 แห่งที่สตง.พบว่าไม่มีประสิทธิภาพ เช่นเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างพบว่า ทำได้โดยง่าย ไม่มีการตรวจสอบและไม่รัดกุม และมักใช้วิธีการจัดหาโดยวิธีพิเศษ อยู่เสมือ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์ และมีการจัดซื้อจัดจ้างแพงเกินสมควร เช่นศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ มีการจ้างบริษัท อาร์ซิเทค 110 จำกัด ปรับปรุงตกแต่งสำนักงานเป็นเงินประมาณ 10 ล้านบาท โดยไม่มีได้การลงนามสัญญาจ้างแต่อย่างใด หรือการทำสัญญาจ้างบางหน่วยงาน ที่มูลค่าถึง 150 ล้านบาทแต่กลับไม่มีสัญญาฉบับภาษาไทย
ประเด็นที่ 4 เรื่องการบริหารของ สบร.และหน่วยงานเฉพาะด้านทั้ง 7 แห่ง ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงาน ประเด็นที่ 5 คือพบว่า การกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้และหัวหน้าหน่วยงานเฉพาะด้านไม่เหมาะสม เช่น ผอ.สำนักงานศูนย์สร้างสรรค์ งานออกแบบและผอ.สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ได้อัตราเงินเดือน 3 แสนบาท อันเป็นการกำหนดเงินเดือนโดยที่ไม่คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่มีมากเกินควร จึงขอมีการพิจารณาทบทวนด้วย