.
ช่วงนี้เป็นช่วงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก การจัดงานอะไรต่อมิอะไรก็จะเน้นการสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญที่เป็นของคนไทยอย่างแท้จริง
หน่วยงานต่างๆ ทั้งสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ให้ความสำคัญกับการจัดสัมมนาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นเรื่องอนาคตรัฐธรรมนูญ ทิศทางรัฐธรรมนูญ ก็แล้วแต่จะตั้งชื่อกันไป
วันที่ 8 พฤษภาคม พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค มาร่วมหารือรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นความพยายามที่จะส่งสัญญาณออกไปว่ารัฐบาลมีแนวความคิดที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญของคนทุกระดับ ความเห็นทั้งหมดนี้จะมีการรวบรวมส่งต่อไปยังสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
แต่การรับฟังคราวนี้คงจะไม่ธรรมดาแน่ๆ ครับ หลายพรรคเตรียมข้อเสนอไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง การลดจำนวน ส.ส. การจำกัดการทำงานของฝ่ายบริหาร
ทั้งนี้ทั้งนั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องของการเข้าสู่อำนาจของนักการเมืองทั้งนั้น ประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเลย
นอกจากนี้ เนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญร่างแรก มีหลายท่านออกมาชำแหละกันอย่างละเอียด และตอนนี้มีการถกเถียงอภิปรายจนขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ
เสียงชม เสียงตำหนิมีผสมปนเปกัน ก็อย่างนี้แหล่ะครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง บทบัญญัติมาตรา 68 วรรค 2 ว่าด้วยการมีองค์กรแก้วิกฤตชาติ, การให้ประธานศาลฎีกาเข้าไปร่วมสรรหาองค์กรอิสระ, การบรรจุพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ, การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นต้น
ถ้าต้องมีการแก้ไขตามข้อเรียกร้องของทุกกลุ่มทุกฝ่าย อาจจะต้องถึงขั้นร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่หรือไม่
ไม่แน่ใจว่า ท่านเคยคิดถึงสิ่งเหล่านี้กันบ้างหรือเปล่า
ลำพังปัจจัยที่เอื้อให้การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ประสบความสำเร็จ เป็นที่ถูกอกถูกใจของทุกฝ่าย ก็มีไม่มาก
ยังมีแรงต่อต้านจากกลุ่มคนที่ไม่เอารัฐบาล และ คมช. โดยสุจริตใจและคนของกลุ่มอำนาจเก่าอำนาจใหม่เข้ามาสร้างสถานการณ์ให้บ้านเมืองร้อนระอุมากขึ้น
สถานการณ์การเมือง เริ่มเข้าสู่จุดแหลมคม สิ้นเดือนนี้ก็จะมีการวินิจฉัยว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองสองพรรคใหญ่หรือไม่
การตรวจสอบการทุจริตเข้มข้นขึ้น
คนที่เกี่ยวข้องเริ่มดิ้นเอาตัวรอด ในเมื่อเขาไม่มีทางต่อสู้ได้โดยตรง สุภาษิตไทยยังคงใช้ได้ดีเสมอ
“ตีวัวกระทบคราด”
การลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ กลายเป็นจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
นาทีนี้แล้ว เสียงที่บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญมีโอกาสที่จะไม่ผ่านการลงประชามติสูงมาก
ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน คมช.ก็จำเป็นต้องหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาแก้ไข แรงต่อต้านก็จะมากขึ้นอีก
เข้าล็อกของฝ่ายที่ไม่ต้องการให้บ้านเมืองอยู่ในภาวะที่สงบ ถูกใจกลุ่มอำนาจเก่า
ทำเอากรรมาธิการยกร่างบางท่านกลัวว่าจะไม่ผ่าน ออกมาเตือนว่า หากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อ คมช. หยิบเอารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งออกมาใช้ จะเกิดความวุ่นวายอาจถึงขั้นนองเลือดจริงๆ
ดูแล้ว ชักจะไปกันใหญ่
และถ้าเกิดมีการลงประชามติแล้ว ไม่ผ่านจริงๆ
ผลที่ออกจะเป็นการยืนยันถึงความล้มเหลวของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่สามารถร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนทั้งประเทศยอมรับได้ และสิ่งที่สูญเสียคืองบประมาณเกือบ 5 พันล้านบาท
ผมเคยเสนอความคิดเห็นไว้หลายต่อหลายครั้งว่า เป็นไปได้ไหมที่เราจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้ไม่ต้องมีการลงประชามติ
มี ส.ส.ร.บางท่านออกมาบอกว่าไม่ทันแล้วครับ นาทีนี้ และถ้าไม่มีการลงประชามติประชาชนอาจไม่พอใจก็เป็นได้
ถ้าอย่างนั้น เราจะมีทางลัดอะไรได้บ้าง
ผมเคยเสนออีกทางเลือกหนึ่ง เป็นไปได้ไหมที่จะให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทิ้ง
ช่วยกันเกิดเอง สร้างเอง แล้วร่วมกันทำแท้งเอง ช่างบาปกรรมแท้ๆ
แล้ว คมช. ก็จะหยิบเอารัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนยอมรับมากกว่าอาจเป็นรัฐธรรมนูญ 2540 นำมาแก้ไขบางมาตราแล้วประกาศใช้
ทางเลือก 2 แบบนี้เหมือนกันตรงที่มีการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญเหมือนกัน คมช.หยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก็ได้เหมือนกัน
แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกัน คือการที่ประเทศชาติประหยัดงบประมาณค่าลงประชามติประมาณ 2 พันกว่าล้านบาท
คนเสียหน้าย่อมมีทั้งนั้น
ทางเลือกที่ 1 คมช. รัฐบาล สภาร่างรัฐธรรมนูญ เสียหน้า
ทางเลือกที่ 2 กรรมาธิการยกร่างเสียหน้า
แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว เมื่อเรารู้กันอยู่แล้วว่าปลายทางจะเป็นเช่นไร ทำไมเราไม่เลือกทางที่เสียน้อยที่สุด
ที่ผมเสนอทางเลือกแบบนี้ เป็นเพราะผมเป็นห่วงไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร แต่สิ่งที่เสียมากที่สุดคือประเทศชาติ
ต่อไปนี้ ท่านที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบ้านเมือง น่าจะใช้โอกาสนี้ปฏิรูปการเมืองกันอย่างจริงจังสักครั้ง ไม่ใช่ทำกันไปแบบลูบหน้าปะจมูกหรือแบบขอไปที
ก่อนอื่นสิ่งที่จะเริ่มต้นการปฏิรูปการเมืองแบบง่ายๆ คือให้รัฐบาลมีความจริงใจกับการจัดการปัญหาขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นการเอาจริงเอาจังเรื่องการตรวจสอบการทุจริต การทำงานในเชิงรุกไม่ใช่ทำงานแบบรูทีนหรืองานประจำไปวันๆ และสิ่งที่สำคัญคือ ท่านต้องมีการใช้คนให้ถูกกับงาน
หลักการ put the right man on the right job การวางคนให้เหมาะสมกับงานยังใช้ได้เสมอครับ และสถานการณ์การเมืองขณะนี้ที่มีการแทรกแซงของกลุ่มอำนาจเก่า การก่อกวนรายวัน ท่านต้องหาคนที่สามารถทำงานได้แบบ at the right time คือ คำนึงถึงกาลเทศะด้วยครับ
ช่วงนี้เป็นช่วงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก การจัดงานอะไรต่อมิอะไรก็จะเน้นการสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญที่เป็นของคนไทยอย่างแท้จริง
หน่วยงานต่างๆ ทั้งสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ให้ความสำคัญกับการจัดสัมมนาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นเรื่องอนาคตรัฐธรรมนูญ ทิศทางรัฐธรรมนูญ ก็แล้วแต่จะตั้งชื่อกันไป
วันที่ 8 พฤษภาคม พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค มาร่วมหารือรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นความพยายามที่จะส่งสัญญาณออกไปว่ารัฐบาลมีแนวความคิดที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญของคนทุกระดับ ความเห็นทั้งหมดนี้จะมีการรวบรวมส่งต่อไปยังสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
แต่การรับฟังคราวนี้คงจะไม่ธรรมดาแน่ๆ ครับ หลายพรรคเตรียมข้อเสนอไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง การลดจำนวน ส.ส. การจำกัดการทำงานของฝ่ายบริหาร
ทั้งนี้ทั้งนั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องของการเข้าสู่อำนาจของนักการเมืองทั้งนั้น ประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเลย
นอกจากนี้ เนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญร่างแรก มีหลายท่านออกมาชำแหละกันอย่างละเอียด และตอนนี้มีการถกเถียงอภิปรายจนขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ
เสียงชม เสียงตำหนิมีผสมปนเปกัน ก็อย่างนี้แหล่ะครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง บทบัญญัติมาตรา 68 วรรค 2 ว่าด้วยการมีองค์กรแก้วิกฤตชาติ, การให้ประธานศาลฎีกาเข้าไปร่วมสรรหาองค์กรอิสระ, การบรรจุพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ, การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นต้น
ถ้าต้องมีการแก้ไขตามข้อเรียกร้องของทุกกลุ่มทุกฝ่าย อาจจะต้องถึงขั้นร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่หรือไม่
ไม่แน่ใจว่า ท่านเคยคิดถึงสิ่งเหล่านี้กันบ้างหรือเปล่า
ลำพังปัจจัยที่เอื้อให้การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ประสบความสำเร็จ เป็นที่ถูกอกถูกใจของทุกฝ่าย ก็มีไม่มาก
ยังมีแรงต่อต้านจากกลุ่มคนที่ไม่เอารัฐบาล และ คมช. โดยสุจริตใจและคนของกลุ่มอำนาจเก่าอำนาจใหม่เข้ามาสร้างสถานการณ์ให้บ้านเมืองร้อนระอุมากขึ้น
สถานการณ์การเมือง เริ่มเข้าสู่จุดแหลมคม สิ้นเดือนนี้ก็จะมีการวินิจฉัยว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองสองพรรคใหญ่หรือไม่
การตรวจสอบการทุจริตเข้มข้นขึ้น
คนที่เกี่ยวข้องเริ่มดิ้นเอาตัวรอด ในเมื่อเขาไม่มีทางต่อสู้ได้โดยตรง สุภาษิตไทยยังคงใช้ได้ดีเสมอ
“ตีวัวกระทบคราด”
การลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ กลายเป็นจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
นาทีนี้แล้ว เสียงที่บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญมีโอกาสที่จะไม่ผ่านการลงประชามติสูงมาก
ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน คมช.ก็จำเป็นต้องหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาแก้ไข แรงต่อต้านก็จะมากขึ้นอีก
เข้าล็อกของฝ่ายที่ไม่ต้องการให้บ้านเมืองอยู่ในภาวะที่สงบ ถูกใจกลุ่มอำนาจเก่า
ทำเอากรรมาธิการยกร่างบางท่านกลัวว่าจะไม่ผ่าน ออกมาเตือนว่า หากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อ คมช. หยิบเอารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งออกมาใช้ จะเกิดความวุ่นวายอาจถึงขั้นนองเลือดจริงๆ
ดูแล้ว ชักจะไปกันใหญ่
และถ้าเกิดมีการลงประชามติแล้ว ไม่ผ่านจริงๆ
ผลที่ออกจะเป็นการยืนยันถึงความล้มเหลวของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่สามารถร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนทั้งประเทศยอมรับได้ และสิ่งที่สูญเสียคืองบประมาณเกือบ 5 พันล้านบาท
ผมเคยเสนอความคิดเห็นไว้หลายต่อหลายครั้งว่า เป็นไปได้ไหมที่เราจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้ไม่ต้องมีการลงประชามติ
มี ส.ส.ร.บางท่านออกมาบอกว่าไม่ทันแล้วครับ นาทีนี้ และถ้าไม่มีการลงประชามติประชาชนอาจไม่พอใจก็เป็นได้
ถ้าอย่างนั้น เราจะมีทางลัดอะไรได้บ้าง
ผมเคยเสนออีกทางเลือกหนึ่ง เป็นไปได้ไหมที่จะให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทิ้ง
ช่วยกันเกิดเอง สร้างเอง แล้วร่วมกันทำแท้งเอง ช่างบาปกรรมแท้ๆ
แล้ว คมช. ก็จะหยิบเอารัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนยอมรับมากกว่าอาจเป็นรัฐธรรมนูญ 2540 นำมาแก้ไขบางมาตราแล้วประกาศใช้
ทางเลือก 2 แบบนี้เหมือนกันตรงที่มีการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญเหมือนกัน คมช.หยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก็ได้เหมือนกัน
แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกัน คือการที่ประเทศชาติประหยัดงบประมาณค่าลงประชามติประมาณ 2 พันกว่าล้านบาท
คนเสียหน้าย่อมมีทั้งนั้น
ทางเลือกที่ 1 คมช. รัฐบาล สภาร่างรัฐธรรมนูญ เสียหน้า
ทางเลือกที่ 2 กรรมาธิการยกร่างเสียหน้า
แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว เมื่อเรารู้กันอยู่แล้วว่าปลายทางจะเป็นเช่นไร ทำไมเราไม่เลือกทางที่เสียน้อยที่สุด
ที่ผมเสนอทางเลือกแบบนี้ เป็นเพราะผมเป็นห่วงไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร แต่สิ่งที่เสียมากที่สุดคือประเทศชาติ
ต่อไปนี้ ท่านที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบ้านเมือง น่าจะใช้โอกาสนี้ปฏิรูปการเมืองกันอย่างจริงจังสักครั้ง ไม่ใช่ทำกันไปแบบลูบหน้าปะจมูกหรือแบบขอไปที
ก่อนอื่นสิ่งที่จะเริ่มต้นการปฏิรูปการเมืองแบบง่ายๆ คือให้รัฐบาลมีความจริงใจกับการจัดการปัญหาขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นการเอาจริงเอาจังเรื่องการตรวจสอบการทุจริต การทำงานในเชิงรุกไม่ใช่ทำงานแบบรูทีนหรืองานประจำไปวันๆ และสิ่งที่สำคัญคือ ท่านต้องมีการใช้คนให้ถูกกับงาน
หลักการ put the right man on the right job การวางคนให้เหมาะสมกับงานยังใช้ได้เสมอครับ และสถานการณ์การเมืองขณะนี้ที่มีการแทรกแซงของกลุ่มอำนาจเก่า การก่อกวนรายวัน ท่านต้องหาคนที่สามารถทำงานได้แบบ at the right time คือ คำนึงถึงกาลเทศะด้วยครับ