"วรากรณ์"ระบุสังคมไทยยังจำเป็นต้องมีหวยบนดิน เพื่อแข่งกับหวยใต้ดิน แต่ต้องควบคู่การปราบเจ้ามือหวยใต้ดินจริงจัง และให้การศึกษาสร้างค่านิยมการเล่นหวยเป็นสิ่งแปลกแยก พร้อมประกาศไม่สนใช้ทุนหวยเป็นทุนการศึกษา ชี้มีงบประมาณอื่นเพียงพอ ขณะที่ รมช.พม. ค้านหวยบนดิน รัฐได้ไม่คุ้มเสีย เตรียมเสนอให้ครม.ชี้ขาด
วานนี้ (7พ.ค.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ แผนงานส่งเสริมความมั่นคงปลอดอบายมุข จัดเสวนาเรื่อง "การกลับมาของหวยบนดิน" โดยมีผู้ร่วมเสวนา อาทิ รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รมช.ศึกษาธิการ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รมช.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ศ.นพ ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานกรรมการอำนวยการ แผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข นายฉิ้น บัวบาน ตัวแทนเครือข่ายชุมชน จากพื้นที่นำร่องส่งเสริมชีวิตมั่นคง
รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวยอมรับว่า คนไทยมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับหวยหรือกับการพนันอย่างมาก มีเงินหมุนเวียนในระบบหวยปีละกว่า 300,000 ล้านบาท ประชากร ร้อยละ 50 ซื้อสลากกินแบ่ง และร้อยละ 40 เล่นหวยบนดินไปด้วย ส่วนที่เหลือเล่นหวยใต้ดิน ดังนั้น หวยบนดินเป็นความจำเป็นที่ทำให้คนสามารถซื้อหวยได้โดยที่ประโยชน์ไม่ไปตกกับเจ้ามือหวยใต้ดิน แต่ที่ดีที่สุดคือต้องไม่มีหวยไม่มีลอตเตอรี่เลย
รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวว่า จะต้องปราบการเล่นหวยใต้ดินอย่างจริงจัง แม้จะปราบยาก เนื่องจากมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย แต่ก็เชื่อว่าทำได้ เพราะตำรวจน่าจะรู้รายชื่อเจ้ามือหวยใต้ดินแล้ว ขณะที่ต้องไม่มอมเมาประชาชน และตอบสนองความต้องการของคนไทยที่ต้องการเล่นหวย ในระยะยาวควรมีมาตรการแก้ปัญหาสังคม เช่น ออกรางวัลน้อยลง พร้อมต่อสู้ด้วยการสอนปลูกฝังผ่านการศึกษาให้นักเรียนเห็นพิษภัยของอบายมุข ซึ่งเชื่อว่าใช้เวลาไม่นาน
รศ.ดร.วรากรณ์ ยังเสนอให้การออกหวยปรับเปลี่ยนเป็นการส่งเสริมการออมเงิน สามารถนำสลากไปขึ้นเงินคืนได้ เช่นเดียวกับสลากออมสิน พร้อมรณรงค์ให้การเล่นหวย และการพนันเป็นเรื่องแปลกแยก เหมือนกับการทำให้คนสูบบุหรี่เป็นคนส่วนน้อยของสังคม
สำหรับการใช้เงินหวยเพื่อเป็นทุนการศึกษา ตนคิดว่ากระทรวงศึกษาธิการไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินหวยแต่อย่างใด รัฐบาลสามารถจัดสรรเงินอื่นสนับสนุนแทนได้ และประเทศของเราก็อยู่ได้มาอย่างยาวนานโดยไม่ต้องพึ่งเงินหวยบนดิน ที่แม้จะช่วยคนจนได้บ้าง แต่เป็นการทำร้ายคนจนมากกว่า
นพ.พลเดช กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการออกหวยบนดิน และรัฐบาลควรมีการป้องกันทางสังคม ปรับค่านิยม ลด ละ เลิก ไม่สนับสนุนการเล่นหวย พร้อมปกป้องคนรุ่นใหม่ไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตนเห็นว่ารัฐบาลไม่ควรตามใจสังคมไปเรื่อย ๆ แต่ต้องฝึกสังคมให้อยู่ในกรอบกติกาที่เหมาะสม ซึ่งการตั้งเงื่อนไขให้เข้าถึงยากก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง
"เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันกับการออกหวยบนดินในขณะนี้ ซึ่งเป็นช่วงท้ายของรัฐบาลชั่วคราวเฉพาะกิจ ดูแล้วผมคิดว่า เราจะได้ไม่คุ้มเสีย ถามว่าจะทำให้ได้เงินมากขึ้นหรือไม่ ก็ไม่แน่ใจ ถามว่าจะแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้หรือไม่ ก็ไม่แน่ใจ ถามว่าประชาชนพอใจหรือไม่ ทั้งผู้ซื้อผู้ขายก็เริ่มไม่พอใจ และถามว่าจะได้ประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ ก็ยังไม่แน่นัก ซึ่งผมก็ยังไม่รู้เหตุผลที่ชัดเจนของการรื้อฟื้นหวยบนดินอีกครั้ง พรุ่งนี้จะหยิบมาหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีดู แต่ถ้าทั้งคณะเห็นด้วย ผมก็ต้องทำใจ และไปด้วยเป็นทีมเดียวกัน แพ้ชนะด้วยกัน แต่จุดยืนของ พม.ยังเป็นเป้าหมายอุดมคติ คือ มีชีวิตมั่นคงและปลอดอบายมุข และการรณรงค์ต่าง ๆ ก็ต้องทำคู่กันไป" นพ.พลเดช กล่าว
ด้านนายฉิ้น กล่าวว่า หวยบนดินแบบใหม่นี้แม้รัฐบาลตั้งใจจะให้แข่งกับหวยใต้ดิน แต่ดูรูปแบบแล้วดึงดูดใจน้อยกว่าหวยใต้ดินเสียอีก บางแห่งมีการให้เครดิต 3-4 งวด ซึ่งน่าสนใจกว่า ทั้งนี้ รัฐควรทำความเข้าใจวิถีชีวิตประชาชนมากขึ้น ที่ชาวบ้านยังเล่นหวยเพราะมีให้เล่น แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เล่นได้ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าการออกหวยบนดินไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาลแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเสวนา ยังมีกลุ่มสื่อเยาวชนปลอดอบายมุขยื่นแถลงการณ์ โดยระบุว่า ทางกลุ่ม ต้องการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการดำเนินนโยบายออกหวยบนดินของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชนทั่วไป จึงไม่ต้องการให้เพียงกลุ่มหนึ่งมาตัดสินใจแทน และเห็นว่าการออกหวยทุกชนิด เป็นความหวังร่ำรวยที่ไม่เป็นจริง รัฐบาลไม่ควรส่งเสริมให้คนหวังรวยในเรื่องที่ไม่เป็นจริง และเป็นการนำไปสู่ปัญหาสังคมอื่น
ดังนั้น กลุ่มสื่อเยาวชนปลอดอบายมุขจึงขอเรียกร้องให้ยกเลิกหวยรัฐบาลทุกชนิด เพื่อไม่ให้ประชาชนมีตัวเลขไปเล่นหวยใดๆ อีก และรัฐบาลควร ปราบปรามหวยใต้ดินอย่างจริงจัง
ส่วนกรณีที่เด็กนักเรียนที่เคยได้รับทุนการศึกษาหวยจากรัฐบาลและถูกยกเลิกทุนนั้น ขอให้รัฐบาลสนับสนุนการศึกษาของเด็กๆ ต่อไปในทางอื่น รวมทั้งรัฐบาลต้องส่งเสริมอาชีพการศึกษาแก่ประชาชนให้มีสติปัญญาและสัมมาชีพในการพึ่งพาตนเองได้
วานนี้ (7พ.ค.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ แผนงานส่งเสริมความมั่นคงปลอดอบายมุข จัดเสวนาเรื่อง "การกลับมาของหวยบนดิน" โดยมีผู้ร่วมเสวนา อาทิ รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รมช.ศึกษาธิการ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รมช.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ศ.นพ ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานกรรมการอำนวยการ แผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข นายฉิ้น บัวบาน ตัวแทนเครือข่ายชุมชน จากพื้นที่นำร่องส่งเสริมชีวิตมั่นคง
รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวยอมรับว่า คนไทยมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับหวยหรือกับการพนันอย่างมาก มีเงินหมุนเวียนในระบบหวยปีละกว่า 300,000 ล้านบาท ประชากร ร้อยละ 50 ซื้อสลากกินแบ่ง และร้อยละ 40 เล่นหวยบนดินไปด้วย ส่วนที่เหลือเล่นหวยใต้ดิน ดังนั้น หวยบนดินเป็นความจำเป็นที่ทำให้คนสามารถซื้อหวยได้โดยที่ประโยชน์ไม่ไปตกกับเจ้ามือหวยใต้ดิน แต่ที่ดีที่สุดคือต้องไม่มีหวยไม่มีลอตเตอรี่เลย
รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวว่า จะต้องปราบการเล่นหวยใต้ดินอย่างจริงจัง แม้จะปราบยาก เนื่องจากมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย แต่ก็เชื่อว่าทำได้ เพราะตำรวจน่าจะรู้รายชื่อเจ้ามือหวยใต้ดินแล้ว ขณะที่ต้องไม่มอมเมาประชาชน และตอบสนองความต้องการของคนไทยที่ต้องการเล่นหวย ในระยะยาวควรมีมาตรการแก้ปัญหาสังคม เช่น ออกรางวัลน้อยลง พร้อมต่อสู้ด้วยการสอนปลูกฝังผ่านการศึกษาให้นักเรียนเห็นพิษภัยของอบายมุข ซึ่งเชื่อว่าใช้เวลาไม่นาน
รศ.ดร.วรากรณ์ ยังเสนอให้การออกหวยปรับเปลี่ยนเป็นการส่งเสริมการออมเงิน สามารถนำสลากไปขึ้นเงินคืนได้ เช่นเดียวกับสลากออมสิน พร้อมรณรงค์ให้การเล่นหวย และการพนันเป็นเรื่องแปลกแยก เหมือนกับการทำให้คนสูบบุหรี่เป็นคนส่วนน้อยของสังคม
สำหรับการใช้เงินหวยเพื่อเป็นทุนการศึกษา ตนคิดว่ากระทรวงศึกษาธิการไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินหวยแต่อย่างใด รัฐบาลสามารถจัดสรรเงินอื่นสนับสนุนแทนได้ และประเทศของเราก็อยู่ได้มาอย่างยาวนานโดยไม่ต้องพึ่งเงินหวยบนดิน ที่แม้จะช่วยคนจนได้บ้าง แต่เป็นการทำร้ายคนจนมากกว่า
นพ.พลเดช กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการออกหวยบนดิน และรัฐบาลควรมีการป้องกันทางสังคม ปรับค่านิยม ลด ละ เลิก ไม่สนับสนุนการเล่นหวย พร้อมปกป้องคนรุ่นใหม่ไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตนเห็นว่ารัฐบาลไม่ควรตามใจสังคมไปเรื่อย ๆ แต่ต้องฝึกสังคมให้อยู่ในกรอบกติกาที่เหมาะสม ซึ่งการตั้งเงื่อนไขให้เข้าถึงยากก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง
"เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันกับการออกหวยบนดินในขณะนี้ ซึ่งเป็นช่วงท้ายของรัฐบาลชั่วคราวเฉพาะกิจ ดูแล้วผมคิดว่า เราจะได้ไม่คุ้มเสีย ถามว่าจะทำให้ได้เงินมากขึ้นหรือไม่ ก็ไม่แน่ใจ ถามว่าจะแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้หรือไม่ ก็ไม่แน่ใจ ถามว่าประชาชนพอใจหรือไม่ ทั้งผู้ซื้อผู้ขายก็เริ่มไม่พอใจ และถามว่าจะได้ประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ ก็ยังไม่แน่นัก ซึ่งผมก็ยังไม่รู้เหตุผลที่ชัดเจนของการรื้อฟื้นหวยบนดินอีกครั้ง พรุ่งนี้จะหยิบมาหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีดู แต่ถ้าทั้งคณะเห็นด้วย ผมก็ต้องทำใจ และไปด้วยเป็นทีมเดียวกัน แพ้ชนะด้วยกัน แต่จุดยืนของ พม.ยังเป็นเป้าหมายอุดมคติ คือ มีชีวิตมั่นคงและปลอดอบายมุข และการรณรงค์ต่าง ๆ ก็ต้องทำคู่กันไป" นพ.พลเดช กล่าว
ด้านนายฉิ้น กล่าวว่า หวยบนดินแบบใหม่นี้แม้รัฐบาลตั้งใจจะให้แข่งกับหวยใต้ดิน แต่ดูรูปแบบแล้วดึงดูดใจน้อยกว่าหวยใต้ดินเสียอีก บางแห่งมีการให้เครดิต 3-4 งวด ซึ่งน่าสนใจกว่า ทั้งนี้ รัฐควรทำความเข้าใจวิถีชีวิตประชาชนมากขึ้น ที่ชาวบ้านยังเล่นหวยเพราะมีให้เล่น แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เล่นได้ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าการออกหวยบนดินไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาลแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเสวนา ยังมีกลุ่มสื่อเยาวชนปลอดอบายมุขยื่นแถลงการณ์ โดยระบุว่า ทางกลุ่ม ต้องการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการดำเนินนโยบายออกหวยบนดินของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชนทั่วไป จึงไม่ต้องการให้เพียงกลุ่มหนึ่งมาตัดสินใจแทน และเห็นว่าการออกหวยทุกชนิด เป็นความหวังร่ำรวยที่ไม่เป็นจริง รัฐบาลไม่ควรส่งเสริมให้คนหวังรวยในเรื่องที่ไม่เป็นจริง และเป็นการนำไปสู่ปัญหาสังคมอื่น
ดังนั้น กลุ่มสื่อเยาวชนปลอดอบายมุขจึงขอเรียกร้องให้ยกเลิกหวยรัฐบาลทุกชนิด เพื่อไม่ให้ประชาชนมีตัวเลขไปเล่นหวยใดๆ อีก และรัฐบาลควร ปราบปรามหวยใต้ดินอย่างจริงจัง
ส่วนกรณีที่เด็กนักเรียนที่เคยได้รับทุนการศึกษาหวยจากรัฐบาลและถูกยกเลิกทุนนั้น ขอให้รัฐบาลสนับสนุนการศึกษาของเด็กๆ ต่อไปในทางอื่น รวมทั้งรัฐบาลต้องส่งเสริมอาชีพการศึกษาแก่ประชาชนให้มีสติปัญญาและสัมมาชีพในการพึ่งพาตนเองได้