.
จากหลักการและหลักกฎหมายดังกล่าว พนักงานอัยการจึงไม่สามารถที่จะใช้ดุลพินิจสั่งคดีตามอำเภอใจของตนเองได้ อีกทั้งพนักงานอัยการถูกกำหนดบทบาทโดยกฎหมายให้มีหน้าที่ตรวจกลั่นกรองสำนวนการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวนอีกชั้นหนึ่ง เพื่อแยกแยะผู้บริสุทธิ์ออกจากผู้กระทำความผิด ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทย การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการจึงต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม (RULE OF LAW ) เพื่อคุ้มครองผู้บริสุทธิ์และจัดการให้ผู้กระทำผิดเข้าสู่กลไกของกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค หากพนักงานอัยการสั่งฟ้องคดีอาญาทุกคดีที่พนักงานสอบสวนเสนอขึ้นมาโดยไม่ได้ใช้ดุลพินิจอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว พนักงานอัยการก็คงไม่แตกต่างกับบุรุษไปรษณีย์ที่มีหน้าที่เพียงรับส่งจดหมายเท่านั้น ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วก็คงไม่ต้องมีพนักงานอัยการอีกต่อไป มีแค่พนักงานสอบสวนและศาลเท่านั้นก็พอ
ดังนั้นการท่านผู้พิพากษาอาวุโสหยิบยกเพียงบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มากล่าวอ้างแล้วสรุปว่า “เมื่อกฎหมายมาตรา 141 ไม่ได้บัญญัติกำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่และการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีของพนักงานอัยการว่าจะต้องมีมาตรฐานและขอบเขตอย่างไร พนักงานอัยการจึงสามารถปฏิบัติหน้าที่และใช้ดุลพินิจอย่างไรก็ได้ แม้แต่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ” ทั้งที่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากมายที่เป็นกรอบในการปฏิบัติงานของพนักงานอัยการ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งเล่ม ทั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีโทษทางอาญาทั้งหลาย ความคิดเห็นดังกล่าวจึงเป็นมุมมองที่ไม่ถูกต้องและคับแคบในจิตใจของท่านผู้อาวุโส
2. ที่ท่านผู้พิพากษาอาวุโสอ้างว่าพนักงานอัยการใช้ดุลพินิจอย่างไรก็ได้ โดยที่ไม่มีอำนาจใดมาตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการได้นั้น ก็ไม่เป็นความจริงทั้งสิ้น เพราะความจริงแล้วการใช้ดุลพินิจสั่งคดีของพนักงานอัยการ โดยเฉพาะการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญามีการถูกตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ (CHECK AND BALANCE) หลายลำดับชั้น กล่าวคือ
2.1 การตรวจสอบภายในขององค์กรอัยการเองตามสายงานการบังคับบัญชา โดยในการสั่งคดีของพนักงานอัยการ นอกจากการจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการยังต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการอีกด้วย ซึ่งมี การตรวจสอบการสั่งคดีตามลำดับชั้นของการบังคับบัญชา จากพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนจนถึงหัวหน้าพนักงานอัยการ (ในกรุงเทพมหานครคืออัยการพิเศษฝ่าย ในต่างจังหวัดคืออัยการจังหวัด) การสั่งคดีของอัยการชั้น 2 และชั้น 3 ยังต้องผ่านการกลั่นกรองงานโดยพนักงานอัยการ ที่เป็นผู้กลั่นกรองงานอีกชั้นหนึ่ง ในคดีอาญาที่มีความสำคัญหรือคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป การกำหนดให้หัวหน้าพนักงานอัยการเข้าร่วมดำเนินคดีหรือควบคุมการดำเนิน คดีโดยใกล้ชิด และให้รายงานผลการดำเนินคดีให้อัยการสูงสุดทราบเป็นกรณีพิเศษ ในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นผู้ที่มีอิทธิพล หรือคดีที่ประชาชนสนใจ หรือคดีความผิดบางประเภทที่รัฐมีนโยบายป้องกันและปราบปรามเป็นพิเศษ ในกรณีที่จะมีคำสั่งไม่ฟ้องทุกข้อหาหรือบางข้อหา พนักงานอัยการต้องทำความเห็นเสนอสำนวนตามลำดับชั้นถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง และในคดีที่มีการร้องขอความเป็นธรรม หากพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทุกข้อหาหรือบางข้อหา พนักงานอัยการก็ต้องทำความเห็นเสนอสำนวนตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่งเช่นเดียวกัน กรณีจึงเป็นไปได้ยากที่พนักงานอัยการเจ้าของสำนวนจะใช้ดุลพินิจสั่งคดีตามอำเภอใจของตนได้ โดยเฉพาะคดีที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องด้วยแล้ว พนักงานอัยการเจ้าของสำนวนยิ่งต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการสั่ง และต้องมีเหตุมีผลตามกฎหมายที่ผู้เกี่ยวข้องในคดีสามารถตรวจสอบได้
จึงจะเห็นได้ว่าระบบการทำงานของพนักงานอัยการมีความแตกต่างกับระบบการทำงานของศาล โดยในการใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเป็นอำนาจโดยเฉพาะขององค์คณะผู้พิพากษาในแต่ละคดี ซึ่งแม้แต่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรืออธิบดีศาลก็ไม่อาจก้าวล่วงหรือแทรกแซงได้ หากคดีใดไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกา คดีนั้นก็เป็นอันเสร็จเด็ดขาดไป และคดีบางจำพวกก็มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ทำให้คดีเสร็จสิ้นไปในศาลล่าง
2.2 การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจโดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (กรณีคดีที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (กรณีคดีที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด) ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ให้อำนาจผู้บัญชาการตำรวจแห่ง ชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแย้งคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการได้ และในกรณีมีการแย้งคำสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ก็ต้องมีการส่งสำนวนคดีดังกล่าวนั้นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาดต่อไป ซึ่งในปัจจุบันจะพบว่าองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ ในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการดังกล่าว มีการทำหน้าที่กันอย่างมีประสิทธิภาพโดยแท้จริง ไม่มีการเกรงใจกันอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่พนักงานอัยการจะใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาตามอำเภอใจเพื่อให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดโต้แย้งคำสั่ง เพราะสำนวนคดีจะถูกส่งไปที่อัยการสูงสุดเพื่อการชี้ขาดคดี และหากอัยการสูงสุดชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งนั้น กรณีก็คงไม่เป็นผลดีต่อพนักงานอัยการคนนั้นติดตามมาอย่างแน่นอน
ซึ่งคดีที่อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาสั่งไม่ฟ้องอดีตนายกรัฐมนตรีในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เป็นอีกคดีหนึ่งที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจะได้ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา145 ในการตรวจสอบและถ่วงดุลการทำงานของพนักงานอัยการได้อย่างเต็มที่
2.3 การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจโดยผู้เสียหาย กล่าวคือ ในทางปฏิบัติแล้วนับ ตั้งแต่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนสอบสวนให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ผู้เสียหายในคดีอาญาก็มีสิทธิที่จะตรวจสอบและติดตามผลการสั่งคดีกับพนักงานอัยการได้ตลอดเวลา ผู้เสียหายสามารถเข้าพบพูดคุยกับพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนได้ง่ายและเปิดเผย ยิ่งบ้านเมืองทุกวันนี้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาชนฉลาดขึ้นและรู้จักใช้สิทธิของตนมากยิ่งขึ้น การใช้อำนาจรัฐของเจ้าพนักงานของรัฐลดน้อยลง หากว่าพนักงานอัยการคนใดมีพฤติการณ์ในการสั่งคดีโดยทุจริตหรือไม่ชอบมาพากลเพื่อช่วยเหลือผู้หนึ่งผู้ใด ผู้เสียหายซึ่งมีอำนาจในทางปฏิบัติในการตรวจสอบการทำงานของพนักงานอัยการอยู่ตลอดเวลาก็มีอำนาจที่จะยื่นเรื่องราวร้องเรียนพนักงานอัยการคนนั้นต่อผู้บังคับบัญชาได้ และหากการสอบสวนพบว่ามีการกระทำที่เป็นความผิดตามที่ถูกร้องเรียนจริง พนักงานอัยการคนนั้นก็จะถูกลงโทษทางวินัยอย่างหนักจนถึงขั้นไล่ออกได้ ซึ่งเคยมีตัวอย่างมาหลายรายแล้วเพียงแต่ไม่มีการให้ข่าวต่อสื่อมวลชนเหมือนของศาลยุติธรรม
ในคดีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาแล้ว พนักงานอัยการยังมีหน้าที่ตามกฎหมายและตามระเบียบที่จะต้องแจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีให้ผู้เสียหายทราบทุกกรณี ทั้งยังต้องสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสั่งคดีให้ผู้เสียหายทราบด้วย หากผู้เสียหายไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ผู้เสีย หายก็มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 34 ซึ่งก็มีตัวอย่างคดีมากมายที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องแล้วผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาเสียเองและศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง นี่คือระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของพนักงานอัยการโดยผู้เสียหายตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
2.4 คำสั่งฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการยังอาจถูกตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจโดยศาลยุติธรรมได้ กล่าวคือ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 (2) ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องก่อน เหมือนดังเช่นคดีที่ราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ก็ได้ ซึ่งเป็นดุลพินิจตามที่ศาลเห็นสมควร แต่โดยปกติแล้วในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน เหตุผลก็เพราะคดีดังกล่าวได้ผ่านการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนมาแล้ว และได้ผ่านการตรวจกลั่นกรองสำนวนการสอบสวนโดยพนักงานอัยการซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในข้อกฎหมายเท่าๆ กับศาลมาอีกชั้นหนึ่งแล้ว ในทางปฏิบัติศาลจึงไม่ทำการไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ทั้งๆ ที่ในบางคดีที่มีความก่ำกึ่งว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่หรือการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ที่พนักงานอัยการจำต้องยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเพื่อให้ศาลวินิจฉัย พนักงานอัยการเองก็อยากจะให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อนเหมือนกัน
ดังนั้นการที่ท่านผู้พิพากษาอาวุโสมีความต้องการที่จะให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องทุกคดี ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง เพื่อให้ศาลได้ตรวจสอบว่าคดีที่พนักงานอัยการนำมาฟ้องนั้นมีความชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ทางพนักงานอัยการไม่ขัดข้องอยู่แล้ว เพราะกรณีดังกล่าวเป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาล เพียงแต่ว่าผู้พิพากษาท่านอื่นๆที่มีอยู่ทั่วประเทศจะมีความเห็นเช่นเดียวกันกับท่านหรือไม่เท่านั้นเอง เพราะลำพังคดีที่มีการพิจารณาอยู่ทุกวันนี้ก็มีมากมายจนแทบจะทำกันไม่ทันอยู่แล้ว หากให้ศาลต้องมานั่งไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาทุกเรื่องที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ท่านคิดหรือไม่ว่าผู้พิพากษาท่านอื่นๆ จะเอาด้วย และคิดหรือว่าการใช้อำนาจดังกล่าวของศาลจะเป็นผลดีแก่ราชการและประชาชนอย่างแท้จริงตามที่ท่านกล่าวอ้าง
บทสรุป....“การสั่งฟ้องคดี” และ “การสั่งไม่ฟ้องคดี” ของพนักงานอัยการในกระบวน การยุติธรรมทางอาญา เป็นอำนาจที่มีการควบคุมแลตรวจสอบได้ พนักงานอัยการจึงไม่อาจที่จะใช้ดุลพินิจสั่งคดีตามอำเภอใจได้ นอกจากนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของพนักงานอัยการ นอกจากพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว ในการปฏิบัติหน้าที่และการดำรงตน พนักงานอัยการยังต้องปฏิบัติตนตาม “ประมวลจริยธรรมข้าราชการอัยการ” ซึ่งมีทั้งสิ้น 27 ข้อ แบ่งเป็น 5 หมวด เริ่มตั้งแต่อุดมการณ์ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ จริยธรรมต่อผู้บังคับบัญชา/ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว และจริยธรรมต่อประชาชนและสาธารณชน เช่น เดียวกันกับศาลที่มีจริยธรรมตุลาการเป็นหลักยึดในการปฏิบัติหน้าที่และในการดำรงตน ดังนั้น ด้วยความเคารพผู้เขียนจึงเห็นว่า บทความพิเศษของท่านยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ ในหัวข้อที่ว่า “อำนาจสั่งคดีของอัยการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่มีกฎหมายควบคุมและไม่มีการตรวจสอบ” นั้น ไม่เป็นความจริงโดยสิ้นเชิง
จากหลักการและหลักกฎหมายดังกล่าว พนักงานอัยการจึงไม่สามารถที่จะใช้ดุลพินิจสั่งคดีตามอำเภอใจของตนเองได้ อีกทั้งพนักงานอัยการถูกกำหนดบทบาทโดยกฎหมายให้มีหน้าที่ตรวจกลั่นกรองสำนวนการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวนอีกชั้นหนึ่ง เพื่อแยกแยะผู้บริสุทธิ์ออกจากผู้กระทำความผิด ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทย การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการจึงต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม (RULE OF LAW ) เพื่อคุ้มครองผู้บริสุทธิ์และจัดการให้ผู้กระทำผิดเข้าสู่กลไกของกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค หากพนักงานอัยการสั่งฟ้องคดีอาญาทุกคดีที่พนักงานสอบสวนเสนอขึ้นมาโดยไม่ได้ใช้ดุลพินิจอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว พนักงานอัยการก็คงไม่แตกต่างกับบุรุษไปรษณีย์ที่มีหน้าที่เพียงรับส่งจดหมายเท่านั้น ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วก็คงไม่ต้องมีพนักงานอัยการอีกต่อไป มีแค่พนักงานสอบสวนและศาลเท่านั้นก็พอ
ดังนั้นการท่านผู้พิพากษาอาวุโสหยิบยกเพียงบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มากล่าวอ้างแล้วสรุปว่า “เมื่อกฎหมายมาตรา 141 ไม่ได้บัญญัติกำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่และการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีของพนักงานอัยการว่าจะต้องมีมาตรฐานและขอบเขตอย่างไร พนักงานอัยการจึงสามารถปฏิบัติหน้าที่และใช้ดุลพินิจอย่างไรก็ได้ แม้แต่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ” ทั้งที่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากมายที่เป็นกรอบในการปฏิบัติงานของพนักงานอัยการ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งเล่ม ทั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีโทษทางอาญาทั้งหลาย ความคิดเห็นดังกล่าวจึงเป็นมุมมองที่ไม่ถูกต้องและคับแคบในจิตใจของท่านผู้อาวุโส
2. ที่ท่านผู้พิพากษาอาวุโสอ้างว่าพนักงานอัยการใช้ดุลพินิจอย่างไรก็ได้ โดยที่ไม่มีอำนาจใดมาตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการได้นั้น ก็ไม่เป็นความจริงทั้งสิ้น เพราะความจริงแล้วการใช้ดุลพินิจสั่งคดีของพนักงานอัยการ โดยเฉพาะการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญามีการถูกตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ (CHECK AND BALANCE) หลายลำดับชั้น กล่าวคือ
2.1 การตรวจสอบภายในขององค์กรอัยการเองตามสายงานการบังคับบัญชา โดยในการสั่งคดีของพนักงานอัยการ นอกจากการจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการยังต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการอีกด้วย ซึ่งมี การตรวจสอบการสั่งคดีตามลำดับชั้นของการบังคับบัญชา จากพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนจนถึงหัวหน้าพนักงานอัยการ (ในกรุงเทพมหานครคืออัยการพิเศษฝ่าย ในต่างจังหวัดคืออัยการจังหวัด) การสั่งคดีของอัยการชั้น 2 และชั้น 3 ยังต้องผ่านการกลั่นกรองงานโดยพนักงานอัยการ ที่เป็นผู้กลั่นกรองงานอีกชั้นหนึ่ง ในคดีอาญาที่มีความสำคัญหรือคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป การกำหนดให้หัวหน้าพนักงานอัยการเข้าร่วมดำเนินคดีหรือควบคุมการดำเนิน คดีโดยใกล้ชิด และให้รายงานผลการดำเนินคดีให้อัยการสูงสุดทราบเป็นกรณีพิเศษ ในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นผู้ที่มีอิทธิพล หรือคดีที่ประชาชนสนใจ หรือคดีความผิดบางประเภทที่รัฐมีนโยบายป้องกันและปราบปรามเป็นพิเศษ ในกรณีที่จะมีคำสั่งไม่ฟ้องทุกข้อหาหรือบางข้อหา พนักงานอัยการต้องทำความเห็นเสนอสำนวนตามลำดับชั้นถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง และในคดีที่มีการร้องขอความเป็นธรรม หากพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทุกข้อหาหรือบางข้อหา พนักงานอัยการก็ต้องทำความเห็นเสนอสำนวนตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่งเช่นเดียวกัน กรณีจึงเป็นไปได้ยากที่พนักงานอัยการเจ้าของสำนวนจะใช้ดุลพินิจสั่งคดีตามอำเภอใจของตนได้ โดยเฉพาะคดีที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องด้วยแล้ว พนักงานอัยการเจ้าของสำนวนยิ่งต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการสั่ง และต้องมีเหตุมีผลตามกฎหมายที่ผู้เกี่ยวข้องในคดีสามารถตรวจสอบได้
จึงจะเห็นได้ว่าระบบการทำงานของพนักงานอัยการมีความแตกต่างกับระบบการทำงานของศาล โดยในการใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเป็นอำนาจโดยเฉพาะขององค์คณะผู้พิพากษาในแต่ละคดี ซึ่งแม้แต่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรืออธิบดีศาลก็ไม่อาจก้าวล่วงหรือแทรกแซงได้ หากคดีใดไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกา คดีนั้นก็เป็นอันเสร็จเด็ดขาดไป และคดีบางจำพวกก็มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ทำให้คดีเสร็จสิ้นไปในศาลล่าง
2.2 การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจโดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (กรณีคดีที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (กรณีคดีที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด) ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ให้อำนาจผู้บัญชาการตำรวจแห่ง ชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแย้งคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการได้ และในกรณีมีการแย้งคำสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ก็ต้องมีการส่งสำนวนคดีดังกล่าวนั้นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาดต่อไป ซึ่งในปัจจุบันจะพบว่าองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ ในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการดังกล่าว มีการทำหน้าที่กันอย่างมีประสิทธิภาพโดยแท้จริง ไม่มีการเกรงใจกันอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่พนักงานอัยการจะใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาตามอำเภอใจเพื่อให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดโต้แย้งคำสั่ง เพราะสำนวนคดีจะถูกส่งไปที่อัยการสูงสุดเพื่อการชี้ขาดคดี และหากอัยการสูงสุดชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งนั้น กรณีก็คงไม่เป็นผลดีต่อพนักงานอัยการคนนั้นติดตามมาอย่างแน่นอน
ซึ่งคดีที่อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาสั่งไม่ฟ้องอดีตนายกรัฐมนตรีในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เป็นอีกคดีหนึ่งที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจะได้ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา145 ในการตรวจสอบและถ่วงดุลการทำงานของพนักงานอัยการได้อย่างเต็มที่
2.3 การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจโดยผู้เสียหาย กล่าวคือ ในทางปฏิบัติแล้วนับ ตั้งแต่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนสอบสวนให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ผู้เสียหายในคดีอาญาก็มีสิทธิที่จะตรวจสอบและติดตามผลการสั่งคดีกับพนักงานอัยการได้ตลอดเวลา ผู้เสียหายสามารถเข้าพบพูดคุยกับพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนได้ง่ายและเปิดเผย ยิ่งบ้านเมืองทุกวันนี้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาชนฉลาดขึ้นและรู้จักใช้สิทธิของตนมากยิ่งขึ้น การใช้อำนาจรัฐของเจ้าพนักงานของรัฐลดน้อยลง หากว่าพนักงานอัยการคนใดมีพฤติการณ์ในการสั่งคดีโดยทุจริตหรือไม่ชอบมาพากลเพื่อช่วยเหลือผู้หนึ่งผู้ใด ผู้เสียหายซึ่งมีอำนาจในทางปฏิบัติในการตรวจสอบการทำงานของพนักงานอัยการอยู่ตลอดเวลาก็มีอำนาจที่จะยื่นเรื่องราวร้องเรียนพนักงานอัยการคนนั้นต่อผู้บังคับบัญชาได้ และหากการสอบสวนพบว่ามีการกระทำที่เป็นความผิดตามที่ถูกร้องเรียนจริง พนักงานอัยการคนนั้นก็จะถูกลงโทษทางวินัยอย่างหนักจนถึงขั้นไล่ออกได้ ซึ่งเคยมีตัวอย่างมาหลายรายแล้วเพียงแต่ไม่มีการให้ข่าวต่อสื่อมวลชนเหมือนของศาลยุติธรรม
ในคดีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาแล้ว พนักงานอัยการยังมีหน้าที่ตามกฎหมายและตามระเบียบที่จะต้องแจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีให้ผู้เสียหายทราบทุกกรณี ทั้งยังต้องสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสั่งคดีให้ผู้เสียหายทราบด้วย หากผู้เสียหายไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ผู้เสีย หายก็มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 34 ซึ่งก็มีตัวอย่างคดีมากมายที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องแล้วผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาเสียเองและศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง นี่คือระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของพนักงานอัยการโดยผู้เสียหายตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
2.4 คำสั่งฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการยังอาจถูกตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจโดยศาลยุติธรรมได้ กล่าวคือ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 (2) ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องก่อน เหมือนดังเช่นคดีที่ราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ก็ได้ ซึ่งเป็นดุลพินิจตามที่ศาลเห็นสมควร แต่โดยปกติแล้วในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน เหตุผลก็เพราะคดีดังกล่าวได้ผ่านการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนมาแล้ว และได้ผ่านการตรวจกลั่นกรองสำนวนการสอบสวนโดยพนักงานอัยการซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในข้อกฎหมายเท่าๆ กับศาลมาอีกชั้นหนึ่งแล้ว ในทางปฏิบัติศาลจึงไม่ทำการไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ทั้งๆ ที่ในบางคดีที่มีความก่ำกึ่งว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่หรือการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ที่พนักงานอัยการจำต้องยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเพื่อให้ศาลวินิจฉัย พนักงานอัยการเองก็อยากจะให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อนเหมือนกัน
ดังนั้นการที่ท่านผู้พิพากษาอาวุโสมีความต้องการที่จะให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องทุกคดี ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง เพื่อให้ศาลได้ตรวจสอบว่าคดีที่พนักงานอัยการนำมาฟ้องนั้นมีความชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ทางพนักงานอัยการไม่ขัดข้องอยู่แล้ว เพราะกรณีดังกล่าวเป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาล เพียงแต่ว่าผู้พิพากษาท่านอื่นๆที่มีอยู่ทั่วประเทศจะมีความเห็นเช่นเดียวกันกับท่านหรือไม่เท่านั้นเอง เพราะลำพังคดีที่มีการพิจารณาอยู่ทุกวันนี้ก็มีมากมายจนแทบจะทำกันไม่ทันอยู่แล้ว หากให้ศาลต้องมานั่งไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาทุกเรื่องที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ท่านคิดหรือไม่ว่าผู้พิพากษาท่านอื่นๆ จะเอาด้วย และคิดหรือว่าการใช้อำนาจดังกล่าวของศาลจะเป็นผลดีแก่ราชการและประชาชนอย่างแท้จริงตามที่ท่านกล่าวอ้าง
บทสรุป....“การสั่งฟ้องคดี” และ “การสั่งไม่ฟ้องคดี” ของพนักงานอัยการในกระบวน การยุติธรรมทางอาญา เป็นอำนาจที่มีการควบคุมแลตรวจสอบได้ พนักงานอัยการจึงไม่อาจที่จะใช้ดุลพินิจสั่งคดีตามอำเภอใจได้ นอกจากนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของพนักงานอัยการ นอกจากพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว ในการปฏิบัติหน้าที่และการดำรงตน พนักงานอัยการยังต้องปฏิบัติตนตาม “ประมวลจริยธรรมข้าราชการอัยการ” ซึ่งมีทั้งสิ้น 27 ข้อ แบ่งเป็น 5 หมวด เริ่มตั้งแต่อุดมการณ์ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ จริยธรรมต่อผู้บังคับบัญชา/ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว และจริยธรรมต่อประชาชนและสาธารณชน เช่น เดียวกันกับศาลที่มีจริยธรรมตุลาการเป็นหลักยึดในการปฏิบัติหน้าที่และในการดำรงตน ดังนั้น ด้วยความเคารพผู้เขียนจึงเห็นว่า บทความพิเศษของท่านยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ ในหัวข้อที่ว่า “อำนาจสั่งคดีของอัยการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่มีกฎหมายควบคุมและไม่มีการตรวจสอบ” นั้น ไม่เป็นความจริงโดยสิ้นเชิง