สรรพากรนครศรีธรรมราชเผยตั้ง “ชุดเฉพาะกิจ” เดินเครื่องรีดภาษีนักสร้าง “จตุคามรามเทพ” และ “แผงพระ” แล้ว ชี้ช่องวัดถูกครอบงำเอาเปรียบให้แจ้งเบาะแสเพื่อตลบหลังนายทุน เจ้าของแผงพระเมืองคอนจี้ให้เร่งจัดระเบียบธุรกิจเทวาพาณิชย์ให้ได้ก่อน แล้วค่อยมาคุยเรื่องระบบการจัดเก็บภาษี ระบุเป็นเรื่องจากมากที่จะหาวิธีประเมินจากแผงพระ
แนวคิดในการจัดการกับระบบภาษีต่อนายทุนผู้สร้างวัตถุมงคล “จตุคามรามเทพ” ยังคงมีควบคู่กับการสร้างที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องนับร้อยๆ รุ่น เม็ดเงินสะพัดหลายหมื่นล้านบาท โดยส่วนหนึ่งมีประเด็นที่น่าจับตามอง คือ การแฝงตัวของนายทุนโดยใช้วัตถุประสงค์เพื่อสาธารณะกุศลต่างๆ แล้วมีวัดหรือองค์กรอื่นๆ เป็นหน้าฉาก ขณะเดียวกันปัญหาในหลายแง่มุมต่างๆ ยังคงถูกตีแผ่ให้เห็นในการจัดสร้างวัตถุมงคลเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด วานนี้ (26 เม.ย.) นางศิริพร บุญเจริญ สรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช เปิดเผยถึงการจัดเก็บภาษีกรณีมีการจัดสร้างวัตถุมงคลเหล่านี้ว่า ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาแล้ว 1 คณะ ประกอบด้วยสรรพากรพื้นที่สาขา ชุดสืบสวนฐานภาษี ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมฐานข้อมูลและรวบรวมหลักฐาน รวมทั้งวางแผนการทำงาน เพื่อนำไปสู่การจัดเก็บภาษีให้รัดกุมที่สุด
สำหรับกลุ่มผู้สร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพนั้น เท่าที่พบในขณะนี้มีหลายกลุ่ม ด้วยกัน ไม่เฉพาะที่ จ.นครศรีธรรมราชเท่านั้น ในต่างจังหวัดก็มากมาย ดังนั้น ขั้นตอนการดำเนินการของสรรพากรจะเสมอเหมือนกันหมดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม อีกส่วนหนึ่ง คือ บรรดาแผงพระเครื่องต่างๆ เดิมนั้นมีอยู่ในระบบฐานภาษีแล้ว จำนวนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นใหม่และมีจำนวนมาก สรรพากรกำลังปูทาง เข้าตรวจสอบสำรวจข้อมูลเพื่อดึงกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบฐานภาษีให้ถูกต้อง
“เรื่องนี้ไม่เฉพาะที่นครศรีธรรมราชเท่านั้น ในพื้นที่อื่นทั้ง 2 ลักษณะ คือ ในส่วนของผู้สร้างและแผงพระนั้นเราจะส่งเรื่องไปยังพื้นที่นั้นๆ เพื่อเข้าดำเนินการ ไปตามแนวนโยบายอธิบดีกรมสรรพากรด้วย ในส่วนท้องที่นครศรีธรรมราชกำลังสอบสวนข้อมูลเพิ่มเติม โดยไล่ตั้งแต่รายใหญ่จะเรียกเข้ามาพิสูจน์และถ้าไม่ยอมจะนำไปสู่กระบวนการทางกฎหมาย ถ้าเขายอมรับก็จะไม่ถึงขั้นนั้น แต่ถ้ายอมรับในข้อเท็จจริงระบบก็จะง่ายขึ้น แต่ละกลุ่มนั้นเรารู้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งกำลังติดตามประสนานงานกับวัดและกับส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากผู้ที่รู้ตัวว่าได้ทำธุรกิจก็ต้องเข้าสู่ระบบภาษี ซึ่งจะไม่ทำให้จนลงอย่างแน่นอน ส่วนนี้เราจะค่อยๆ ทำจะประกอบด้วยพยานหลักฐานให้มั่นคง”
นางศิริพร กล่าว ว่า อีกส่วนหนึ่งที่สรรพากรจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว คือ รายได้ที่เข้าสู่วัด หรือเข้าสู่องค์กรต่างๆ เพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ดี วัตถุประสงค์ที่ดำเนินการเราจะติดตามจากส่วนนี้เป็นหลักว่า เป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่จะดูหลักฐานกัน ซึ่งตรงนี้วัดต่างๆ นั้นจะรู้ดีวัดหรือองค์กรไหนที่ถูกนายทุนเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งเราทราบว่ามีมากเสียด้วย
“เรื่องนี้หากใครรู้สามารถแจ้งข้อมูลมาได้เลย ซึ่งทุกอย่างจะเก็บไว้เป็นความลับโดยให้ส่งข้อมูลมาที่ สรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช 20/2 ม.1 ถ.นครศรี-ปากพนัง ต.ท่าไร่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 ข้อมูลที่ได้มาจะนำไปสู่การดำเนินการจัดเก็บภาษีกับบุคลเหล่านี้อย่างแน่นอน”
นายอภิโชติ วัฒนะประเสริฐกุล เจ้าของศูนย์พระเครื่องพิพิธภัณฑ์พระ ปากซอยโชคดี ถ.พัฒนาการคูขวาง ต.ในเมือง อ.เมืองนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ทางศูนย์พระเครื่องได้มีการปรึกษาหารือกันแล้วสรุปว่าทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดระเบียบในส่วนต่างๆ ให้เข้ารูปเข้ารอยเสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะมาหารือกันในการจัดเก็บภาษี โดยควรจะจัดเก็บจากผู้จัดสร้างในแบบเหมาจ่าย โดยวางหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนตายตัวไปเลยว่า ใครจัดสร้างจะต้องจ่ายภาษีเป็นเงินรุ่นละเท่าไร ซึ่งจะช่วยป้องกันกลุ่มที่คิดจัดสร้างแบบสุกเอาเผากิน หรือคิดจับเสือมือเปล่าได้ด้วย
“หากไปตามจัดเก็บภาษีจากศูนย์พระเครื่องคงวุ่นวายแน่ เพราะวัตถุมงคลในแต่ละองค์ที่ซื้อเข้าไปนั้นยากที่จะจัดเก็บข้อมูลตามความเป็นจริงได้ เพราะมีรายละเอียดในการซื้อเข้าและขายออกที่ปลีกย่อยมากมาย หลายรุ่นอาจจะซื้อมาไว้ในศูนย์เป็นปีๆ ยังขายไม่ได้ก็มี ”
แนวคิดในการจัดการกับระบบภาษีต่อนายทุนผู้สร้างวัตถุมงคล “จตุคามรามเทพ” ยังคงมีควบคู่กับการสร้างที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องนับร้อยๆ รุ่น เม็ดเงินสะพัดหลายหมื่นล้านบาท โดยส่วนหนึ่งมีประเด็นที่น่าจับตามอง คือ การแฝงตัวของนายทุนโดยใช้วัตถุประสงค์เพื่อสาธารณะกุศลต่างๆ แล้วมีวัดหรือองค์กรอื่นๆ เป็นหน้าฉาก ขณะเดียวกันปัญหาในหลายแง่มุมต่างๆ ยังคงถูกตีแผ่ให้เห็นในการจัดสร้างวัตถุมงคลเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด วานนี้ (26 เม.ย.) นางศิริพร บุญเจริญ สรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช เปิดเผยถึงการจัดเก็บภาษีกรณีมีการจัดสร้างวัตถุมงคลเหล่านี้ว่า ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาแล้ว 1 คณะ ประกอบด้วยสรรพากรพื้นที่สาขา ชุดสืบสวนฐานภาษี ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมฐานข้อมูลและรวบรวมหลักฐาน รวมทั้งวางแผนการทำงาน เพื่อนำไปสู่การจัดเก็บภาษีให้รัดกุมที่สุด
สำหรับกลุ่มผู้สร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพนั้น เท่าที่พบในขณะนี้มีหลายกลุ่ม ด้วยกัน ไม่เฉพาะที่ จ.นครศรีธรรมราชเท่านั้น ในต่างจังหวัดก็มากมาย ดังนั้น ขั้นตอนการดำเนินการของสรรพากรจะเสมอเหมือนกันหมดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม อีกส่วนหนึ่ง คือ บรรดาแผงพระเครื่องต่างๆ เดิมนั้นมีอยู่ในระบบฐานภาษีแล้ว จำนวนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นใหม่และมีจำนวนมาก สรรพากรกำลังปูทาง เข้าตรวจสอบสำรวจข้อมูลเพื่อดึงกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบฐานภาษีให้ถูกต้อง
“เรื่องนี้ไม่เฉพาะที่นครศรีธรรมราชเท่านั้น ในพื้นที่อื่นทั้ง 2 ลักษณะ คือ ในส่วนของผู้สร้างและแผงพระนั้นเราจะส่งเรื่องไปยังพื้นที่นั้นๆ เพื่อเข้าดำเนินการ ไปตามแนวนโยบายอธิบดีกรมสรรพากรด้วย ในส่วนท้องที่นครศรีธรรมราชกำลังสอบสวนข้อมูลเพิ่มเติม โดยไล่ตั้งแต่รายใหญ่จะเรียกเข้ามาพิสูจน์และถ้าไม่ยอมจะนำไปสู่กระบวนการทางกฎหมาย ถ้าเขายอมรับก็จะไม่ถึงขั้นนั้น แต่ถ้ายอมรับในข้อเท็จจริงระบบก็จะง่ายขึ้น แต่ละกลุ่มนั้นเรารู้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งกำลังติดตามประสนานงานกับวัดและกับส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากผู้ที่รู้ตัวว่าได้ทำธุรกิจก็ต้องเข้าสู่ระบบภาษี ซึ่งจะไม่ทำให้จนลงอย่างแน่นอน ส่วนนี้เราจะค่อยๆ ทำจะประกอบด้วยพยานหลักฐานให้มั่นคง”
นางศิริพร กล่าว ว่า อีกส่วนหนึ่งที่สรรพากรจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว คือ รายได้ที่เข้าสู่วัด หรือเข้าสู่องค์กรต่างๆ เพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ดี วัตถุประสงค์ที่ดำเนินการเราจะติดตามจากส่วนนี้เป็นหลักว่า เป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่จะดูหลักฐานกัน ซึ่งตรงนี้วัดต่างๆ นั้นจะรู้ดีวัดหรือองค์กรไหนที่ถูกนายทุนเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งเราทราบว่ามีมากเสียด้วย
“เรื่องนี้หากใครรู้สามารถแจ้งข้อมูลมาได้เลย ซึ่งทุกอย่างจะเก็บไว้เป็นความลับโดยให้ส่งข้อมูลมาที่ สรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช 20/2 ม.1 ถ.นครศรี-ปากพนัง ต.ท่าไร่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 ข้อมูลที่ได้มาจะนำไปสู่การดำเนินการจัดเก็บภาษีกับบุคลเหล่านี้อย่างแน่นอน”
นายอภิโชติ วัฒนะประเสริฐกุล เจ้าของศูนย์พระเครื่องพิพิธภัณฑ์พระ ปากซอยโชคดี ถ.พัฒนาการคูขวาง ต.ในเมือง อ.เมืองนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ทางศูนย์พระเครื่องได้มีการปรึกษาหารือกันแล้วสรุปว่าทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดระเบียบในส่วนต่างๆ ให้เข้ารูปเข้ารอยเสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะมาหารือกันในการจัดเก็บภาษี โดยควรจะจัดเก็บจากผู้จัดสร้างในแบบเหมาจ่าย โดยวางหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนตายตัวไปเลยว่า ใครจัดสร้างจะต้องจ่ายภาษีเป็นเงินรุ่นละเท่าไร ซึ่งจะช่วยป้องกันกลุ่มที่คิดจัดสร้างแบบสุกเอาเผากิน หรือคิดจับเสือมือเปล่าได้ด้วย
“หากไปตามจัดเก็บภาษีจากศูนย์พระเครื่องคงวุ่นวายแน่ เพราะวัตถุมงคลในแต่ละองค์ที่ซื้อเข้าไปนั้นยากที่จะจัดเก็บข้อมูลตามความเป็นจริงได้ เพราะมีรายละเอียดในการซื้อเข้าและขายออกที่ปลีกย่อยมากมาย หลายรุ่นอาจจะซื้อมาไว้ในศูนย์เป็นปีๆ ยังขายไม่ได้ก็มี ”