.
การเปิดเผยในบางส่วนที่เกี่ยวกับ ฮ.แบบ 9 พระราชพาหนะ (SUPER PUMA MK 2) ที่มีการปฏิบัติอันไม่สมควรคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำไปเป็นพาหนะ และในที่สุด ฮ. 9 ที่เหลืออยู่ 2 เครื่อง หลังจากที่ ฮ. 9 หมายเลข 2 ซึ่งจัดเป็น ฮ.พระราชพาหนะสำรอง ประสบอุบัติเหตุชนภูเขาที่บ้านไอกาเปาะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เมื่อ 19.42 น. วันที่ 19 กันยายน 2540 ก็ถูกนำมาตีราคาหรือเรียกว่า “ขาย” คืนให้กับบริษัทผู้ผลิต SUPER PUMA ในฝรั่งเศสคือ บริษัท ยูโร คอปเตอร์ (EURO COPTER) แล้วนำเงินค่า ฮ. 9 สองเครื่องนี้มารวมกับงบประมาณในการจัดหาเครื่องบินประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแบบแอร์บัส 319 (AIR BUS 319) ตั้งชื่อว่า “ไทยคู่ฟ้า”
รายงาน ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ ที่ผ่านมา 2 ตอนนั้น, เป็นเพียงการทวงถามหา “ความสำนึก” ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ 1. การนำไปใช้ และ 2. การนำ ฮ. 9 ไปขายเป็นเงินงวดแรกสำหรับเครื่องบินไทยคู่ฟ้า ว่ามีความรู้สึกอย่างไร และตามความรู้สึกของผู้อ่านด้วยว่า มีความรู้สึกเห็นความเหมาะสมถูกควรในเรื่องนี้อย่างไร ที่มีการปฏิบัติต่อ ฮ. 9 เฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะเช่นนี้
รายงานวันนี้, ไม่ถามถึงสำนึกดังกล่าวอีก เพราะได้ตั้งประเด็นและมีคำถามไปพอแล้ว แต่ต้องการจะเพิ่มเติมให้เห็นว่า เรื่องของอากาศยานที่เป็นพระราชพาหนะนั้น ทางทหารถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีความสำคัญมาก เพราะการใช้อากาศยานจะมีความผิดพลาดใดๆ ไม่ได้เลย ความปลอดภัยจะต้องมีเต็ม 100% ความบกพร่องต้องมีค่าเป็นศูนย์
กองทัพอากาศมีแผนยุทธการเฉพาะอยู่ยุทธการหนึ่งคือ “แผนยุทธการ ทอ. 999” ที่ใช้มาตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2527
การรายงานนี้ มิใช่เป็นการเปิดเผยยุทธการดังกล่าว แต่รวบรวมมาจากหลายๆ แหล่ง เพื่อให้เห็นว่า ลักษณะของแผนยุทธศาสตร์ ทอ. 999 เป็นเช่นใด ทหารหรือกองทัพอากาศมีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบต่อภารกิจอันเป็นการถวายความจงรักภักดีเช่นใด และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีความคลายกังวล มีความมั่นใจว่า มีการถวายความปลอดภัยอย่างสูงสุดในการถวายอากาศยานพระราชพาหนะดังกล่าวนี้
แผนยุทธการ ทอ. 999 มีการแก้ไขหลายครั้งนับตั้งแต่เริ่มใช้แผนยุทธการมา และการแก้ไขครั้งหลังสุดคือ วันที่ 21 กันยายน 2538 เป็นการแก้ไขครั้งที่ 4 มีสาระโดยรวมว่า
“คุณสมบัตินักบินตามประเภทของอากาศยานพระราชพาหนะ” คือ ประเภทของอากาศยานพระราชพาหนะแบ่งตามความเร็วเดินทาง ที่ระบุไว้ในคู่มือการบินของอากาศยานแบบนั้น คือ
ประเภทที่ 1 คืออากาศยานพระราชพาหนะที่มีความเร็วเดินทางไม่เกิน 300 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง ได้แก่ ฮ. หรือเฮลิคอปเตอร์ทุกแบบ หรืออากาศยานแบบอื่นๆ ที่มีความเร็วอยู่ในย่านดังกล่าว
ประเภทที่ 2 หมายถึงอากาศยานพระราชพาหนะที่มีความเร็วเดินทางมากกว่า 300 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมงขึ้นไป หรือยานพาหนะแบบอื่น ที่มีความเร็วอยู่ในย่านดังกล่าว
นักบินของอากาศยานพระราชพาหนะ ทั้งนักบินที่ 1 และนักบินที่ 2 (นบ.ที่ 1-นบ.ที่ 2) จะต้องเป็น “นักบินพร้อมรบประจำหน่วย” ทำหน้าที่นักบินที่ 1 หรือนักบินที่ 2 กับอากาศยานนั้นอย่างต่อเนื่อง
(ขออธิบายความของ “นักบินพร้อมรบประจำหน่วย” คือ ผู้ที่สำเร็จมาจากโรงเรียนการบินของกองทัพอากาศแล้ว ได้เข้าประจำการในกองบินต่างๆ ซึ่งแต่ละกองบินจะมีอากาศยานต่างประเภทกันตามภารกิจของกองบินนั้นๆ นักบินจะต้องทำการบินกับอากาศยานในหน่วยหรือกองบินที่ตนสังกัดอยู่ เป็นการหาความชำนาญกับเครื่องบินเฉพาะแบบ การใช้อาวุธ และยุทธวิธีผ่านเกณฑ์ทดสอบของหน่วยเรียบร้อยแล้ว ยิ่งเป็นนักบินพร้อมรบของหน่วย ถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้เป็นนักบินทหาร คำว่า นักบินพร้อมรบ จึงมีความยิ่งใหญ่มาก)
นักบินที่ 1 และนักบินที่ 2 ประจำอากาศยานพระราชพาหนะ ต้องมี “ชั่วโมงบินรวม” และ “ชั่วโมงบินกับอากาศยานลำเลียงหลายเครื่องยนต์” หรือกับเฮลิคอปเตอร์สำหรับนักบิน ฮ. แยกตามประเภทคือ
นักบิน ฮ. ต้องมีชั่วโมงบินรวมไม่น้อยกว่า 1,600 ชั่วโมงบิน
นักบินอากาศยานประเภท 2 คือ เครื่องบินปีกติด-นักบินที่ 1 และนักบินที่ 2 ต้องมีชั่วโมงบินไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมงบิน
ยังแยกอีกว่า-ชั่วโมงบินเฉพาะกับอากาศยานลำเลียงหลายเครื่องยนต์ หรือกับ ฮ. รวมแล้วต้องมีชั่งโมงบินไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมงบิน สำหรับนักบินเฮลิคอปเตอร์ และไม่น้อยกว่า 700 ชั่วโมงบิน สำหรับเครื่องบินปีกติดหรือปีกตรึง (ฟิกวิง)
อีกทั้งมีข้อสำคัญมากสำหรับการเป็นนักบินอากาศยานพระราชพาหนะ คือไม่นับชั่วโมงบินต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
นักบินจะต้องมีเวลาบินกับอากาศยานเฉพาะแบบ ที่จะทำหน้าที่เป็นนักบินที่ 1 และนักบินที่ 2 คือ นักบินเครื่องบินพระที่นั่ง และเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง (พระราชพาหนะ) ในแบบนั้นๆ เป็นการเฉพาะแบบที่จัดถวายมีชั่วโมงบินกับอากาศเฉพาะแบบที่จะเป็นนักบินพระราชพาหนะไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมงบิน โดยไม่นับชั่วโมงบินรวมกับอากาศยานแบบต่างๆ ที่เคยทำการบินมาก่อนหน้านี้
สำหรับการบินโดยเครื่องบินพระราชพาหนะนั้น เป็นการบินจากสนามบินไปยังสนามบิน หรือท่าอากาศยานที่มีความพร้อมในการบินขึ้น-ลงอยู่แล้ว รายละเอียดของการปฏิบัติจึงมีไม่มากนัก
แต่เคยปรากฏว่าในต้นปี 2527 ได้จัดเครื่องบิน โบอิ้ง 737-200 (BOEING 737-200) มาเป็นเครื่องบินพระราชพาหนะ, นักบินมีชั่วโมงบินมากกว่า 50 ชั่วโมงบิน โดยที่นักบินเคยมีชั่วโมงบินกับเครื่องบินพระราชพาหนะแบบอื่นมาก่อนหลายร้อยชั่วโมง แต่ยังถือว่ามีชั่วโมงบินเฉพาะแบบ คือ โบอิ้ง 737-200 อยู่ในเกณฑ์ต่ำ จึงมีการพิจารณาเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยนักบินได้ปฏิบัติภารกิจเป็นนักบินพระราชพาหนะได้ แต่กองทัพอากาศได้ขอให้ บริษัท การบินไทย จำกัด จัดนักบินระดับกัปตันที่มีประสบการณ์ในการบินกับโบอิ้ง 737-200 มีชั่วโมงบินสูงแล้ว มาปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบินนิรภัย (SAFETY PILOT) ร่วมกับนักบินของกองทัพอากาศด้วย
ถือว่าเป็นความรอบคอบ รัดกุม และเป็นทางออกที่ดีที่สุด ในการปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วง และการถวายความปลอดภัยมีอย่างสูงสุด รวมทั้งเครื่องบินพระราชพาหนะลำใหม่ โบอิ้ง 737-800 ที่เพิ่งได้รับเข้าประจำการ ก็อยู่ในยุทธการ ทอ. 999 นี้, สำหรับการเสด็จฯ โดย ฮ. พระราชพาหนะนั้น ถือว่ามีความพิเศษในลักษณะของการเสด็จฯ คือ ตำบลที่หมายนั้น มิใช่สนามบินหรือท่าอากาศยาน แต่ละที่หมายมีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันออกไป ยุทธการ ทอ. 999 จึงมีขั้นตอนมาก คือการสำรวจพื้นที่ โดยนักบินที่จะทำการบินถวายฯ จะต้องนำ ฮ. ที่ทำการบินไปสำรวจพื้นที่การขึ้น-ลง จุดจอด ทิศทางบิน และสภาพภูมิประเทศก่อนวันเสด็จฯ โดยมีนักบินพระราชพาหนะ นักบินพระราชพาหนะสำรอง นักบินเครื่องติดตาม นักบินเครื่องล่วงหน้า และนักบินเครื่องค้นหา มาร่วมทำการบิน เช่นเดียวกับวันที่จะทำการบินเป็น ฮ. พระราชพาหนะจริง ทั้งพิกัดที่ตั้งขึ้น-ลง ทิศทาง (องศา) การบิน ระยะทางการบิน ความเร็วการบิน และเวลารวมการปฏิบัติ มีการสำรวจพื้นที่ หากว่าจะใช้เป็นสนามบินสำรองหากเกิดกรณีฉุกเฉิน จุดเติมเชื้อเพลิง รวมทั้งการประสานกับเครื่องบินคุ้มกัน (ถ้ามี) จัดข่ายการสื่อสารรวม 6 ระบบ ความถี่หลัก และความถี่รองของระบบสื่อสารต่างๆ
ติดต่อประสานกับเครื่องช่วยเดินอากาศ คือ สนามบินที่อยู่ใกล้เคียงในย่านความถี่ 3 ระบบ
มีชุดควบคุมอากาศยานที่มีความถี่หลัก และสำรองรวม 4 แม่ข่าย
การพยากรณ์อากาศในเส้นทางบิน เช่น ทัศนวิสัย ลักษณะอากาศ เวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตก
สำรวจอากาศลมชั้นบนที่ระดับ 2,000 ฟุต 5,000 ฟุต และ 7,000 ฟุต ทิศทางของลมและความเร็วลม อุณหภูมิโดยเฉลี่ย
สถานการณ์ด้านการข่าวในพื้นที่เสด็จพระราชดำเนิน
ทุกอย่างเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ฯ พ.ศ. 2521
ยังมีสิ่งที่ควรรู้ ทหารได้จัดการถวายความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ที่สุด เช่น การบินเดินทางของ ฮ. ในขบวนเสด็จฯ นั้น เป็นการบินหมู่ที่เรียกว่า หมู่ห่าง
โดยที่ ฮ. ลูกหมู่จะต้องบินต่ำกว่า ฮ. พระราชพาหนะเสมอ (ประมาณ 300-500 ฟุต) และต้องรักษาระยะห่างด้านข้างไม่น้อยกว่า 500 ฟุต ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ภูมิประเทศ และสถานการณ์ทางยุทธวิธี และหากมีเครื่องบินคุ้มกัน จะต้องอยู่ห่างจากอากาศยานพระราชพาหนะไม่น้อยกว่า 1,000 ฟุต ทั้งด้านข้างและทางสูง
สำหรับรูปขบวนบินนั้น มีภาพประกอบอยู่ในรายงานนี้ด้วยแล้ว เพื่อให้เห็นภาพความชัดเจนขึ้น
ทั้งหมดที่ได้รายงานมานี้ มุ่งให้เห็นว่า ได้มีการจัดยุทธการ ทอ. 999 ในบางส่วน เท่าที่ควรจะเปิดเผย เพื่อให้เห็นว่า การถวายความปลอดภัยนั้น เป็นสิ่งละเอียดอ่อน รัดกุม เป็นไปด้วยความจงรักภักดี โดยสิ่งที่ได้เปิดเผยนี้จะทำให้ประชาชนได้เห็นว่า มีการถวายความปลอดภัยอย่างเต็มที่ ไม่มีสิ่งใดน่าห่วงใย
กองทัพอากาศเรียกว่า-การปฏิบัติการบิน สนับสนุนพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ โดยอากาศยานพระราชพาหนะที่ ทอ.จัดถวายให้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ และถวายความปลอดภัยสูงสุด
พระราชพาหนะคือ เครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งนั้น เป็นการจัดถวายให้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ และมีความปลอดภัยสูงสุดดังกล่าว อันอยู่ในยุทธการ ทอ. 999
ก็ต้องย้อนกลับมาสู่คำถาม โดยถามหา “ความสำนึก” กันอีกว่า
การที่มีการนำเฮลิคอปเตอร์ซูเปอร์ พูม่า ไปใช้-แม้ว่าจะเป็นการบินไป-กลับกรุงเทพฯ หัวหิน เพียงครั้งเดียวก็ตาม เป็นความบังควรหรือ? เพราะเท่ากับว่า ฮ. แบบนี้ได้ขึ้นถวายเป็นพระราชพาหนะ โดยมีเลขรัชกาลมาเป็นเลขแบบ คือ ฮ. แบบ 9 เช่นเดียวกับรถยนต์พระที่นั่ง เรือพระที่นั่ง ช้างทรง ม้าทรง ที่ขึ้นระวางเป็นพระราชพาหนะแล้ว เช่น โบอิ้ง 737-800 เครื่องบินพระราชพาหนะที่เพิ่งเดินทางมาถึงดอนเมือง เมื่อต้นสัปดาห์นี้
อีกทั้งเป็นเรื่องที่ต้องถามว่า มีความคิดอย่างไรในการนำ ฮ. ซูเปอร์ พูม่า 2 เครื่องที่เหลืออยู่ คือ ฮ. หมายเลข 1 (หมายเลขประจำเครื่อง 2388) ซึ่งเป็น ฮ. พระราชพาหนะ และ ฮ. หมายเลข 3 แบบเดียวกัน ซึ่งจัดเป็น ฮ. ติดตามในขบวนไปตีราคาเป็นมูลค่าแล้วนำไปรวมกับงบประมาณในการจัดหาเครื่องบินแอร์บัส 319 ที่มีชื่อว่า “ไทยคู่ฟ้า” ให้กับสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นขณะที่ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ, แม้ว่าวันนี้ เครื่องบินแอร์บัส 319 “ไทยคู่ฟ้า” ลำนั้น จะถูกลบชื่อทั้งภาษาไทย และอังกฤษที่ข้างลำตัวออกพร้อมเครื่องหมายสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว โดยพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศได้สั่งให้รับเข้ามาเป็นเครื่องบินพระราชพาหานะสำรอง สังกัดกองบิน 6 ดอนเมือง
“ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” เมื่อฉบับวันศุกร์ที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงเครื่องบิน “ไทยคู่ฟ้า” ว่าควรจะมีการโอนมาให้เป็นของกองทัพอากาศเสีย แล้วจัดเข้าประจำการที่กองบิน 6 ดอนเมือง โดยที่เครื่องบินลำนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจเก่าอยู่ ทั้งที่การได้มาไม่เหมาะสมเลย เพราะส่วนหนึ่งมาจากการขาย ฮ. 9 เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง
การที่กองทัพอากาศดำเนินการต่อเครื่องบิน “ไทยคู่ฟ้า” ดังกล่าว ในเวลาต่อมานั้น คงมิใช่เป็นเพราะการกระตุกหรือการกระตุ้นของ “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” นี้อย่างแน่นอน เพราะเรื่องอย่างนี้ น่าจะได้มีการเตรียมการกันมานานพอประมาณ จากการที่เกี่ยวข้องกับการโอนทรัพย์สินระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกัน รวมทั้งเรื่องการจัดงบประมาณในการบำรุงรักษา ซึ่งเวลามาพ้องกันพอดีกับที่มีการกล่าวถึงความถูกต้องและสิ่งที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับเรื่องนี้
บัดนี้-ไม่มีเครื่องบินหรูหรา “ไทยคู่ฟ้า” แอร์บัส 319 อยู่อีกแล้ว และเป็นเวลาเดียวกับที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังรอเครื่องบินส่วนตัวลำใหม่ที่สั่งซื้อด้วยเงิน 52 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ที่จะได้รับในราวเดือนธันวาคมปีนี้, เครื่องบินส่วนตัวระดับมหาเศรษฐีของโลกใช้กันนี้ คงจะทำให้การเดินทางของเขาในต่างประเทศมีความสะดวกและเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น
หรือจะเตรียมไว้สำหรับการเดินทางกลับไทยมารับข้อหา
หรือจะเป็นเครื่องบินส่วนตัวที่จะมาแวะจอดเติมเชื้อเพลิง หรือซ่อมอุปกรณ์การบินบางอย่างเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และจำเป็นต้องขอลงจอด โดยสนามบินที่อยู่ใกล้ที่สุดจะปฏิเสธการลงจอดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ดอนเมือง หรือเชียงใหม่ อย่างที่มีข่าวอันน่าเกาะติดแว่วออกมาว่า-จะแวะพักโดยไม่ลงจากเครื่อง หรือลงจากเครื่องเท่าที่จำเป็น แต่ก็จะอยู่ภายในไม่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง คือ ไม่ถือว่าเดินทางกลับประเทศไทย
การเปิดเผยในบางส่วนที่เกี่ยวกับ ฮ.แบบ 9 พระราชพาหนะ (SUPER PUMA MK 2) ที่มีการปฏิบัติอันไม่สมควรคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำไปเป็นพาหนะ และในที่สุด ฮ. 9 ที่เหลืออยู่ 2 เครื่อง หลังจากที่ ฮ. 9 หมายเลข 2 ซึ่งจัดเป็น ฮ.พระราชพาหนะสำรอง ประสบอุบัติเหตุชนภูเขาที่บ้านไอกาเปาะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เมื่อ 19.42 น. วันที่ 19 กันยายน 2540 ก็ถูกนำมาตีราคาหรือเรียกว่า “ขาย” คืนให้กับบริษัทผู้ผลิต SUPER PUMA ในฝรั่งเศสคือ บริษัท ยูโร คอปเตอร์ (EURO COPTER) แล้วนำเงินค่า ฮ. 9 สองเครื่องนี้มารวมกับงบประมาณในการจัดหาเครื่องบินประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแบบแอร์บัส 319 (AIR BUS 319) ตั้งชื่อว่า “ไทยคู่ฟ้า”
รายงาน ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ ที่ผ่านมา 2 ตอนนั้น, เป็นเพียงการทวงถามหา “ความสำนึก” ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ 1. การนำไปใช้ และ 2. การนำ ฮ. 9 ไปขายเป็นเงินงวดแรกสำหรับเครื่องบินไทยคู่ฟ้า ว่ามีความรู้สึกอย่างไร และตามความรู้สึกของผู้อ่านด้วยว่า มีความรู้สึกเห็นความเหมาะสมถูกควรในเรื่องนี้อย่างไร ที่มีการปฏิบัติต่อ ฮ. 9 เฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะเช่นนี้
รายงานวันนี้, ไม่ถามถึงสำนึกดังกล่าวอีก เพราะได้ตั้งประเด็นและมีคำถามไปพอแล้ว แต่ต้องการจะเพิ่มเติมให้เห็นว่า เรื่องของอากาศยานที่เป็นพระราชพาหนะนั้น ทางทหารถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีความสำคัญมาก เพราะการใช้อากาศยานจะมีความผิดพลาดใดๆ ไม่ได้เลย ความปลอดภัยจะต้องมีเต็ม 100% ความบกพร่องต้องมีค่าเป็นศูนย์
กองทัพอากาศมีแผนยุทธการเฉพาะอยู่ยุทธการหนึ่งคือ “แผนยุทธการ ทอ. 999” ที่ใช้มาตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2527
การรายงานนี้ มิใช่เป็นการเปิดเผยยุทธการดังกล่าว แต่รวบรวมมาจากหลายๆ แหล่ง เพื่อให้เห็นว่า ลักษณะของแผนยุทธศาสตร์ ทอ. 999 เป็นเช่นใด ทหารหรือกองทัพอากาศมีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบต่อภารกิจอันเป็นการถวายความจงรักภักดีเช่นใด และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีความคลายกังวล มีความมั่นใจว่า มีการถวายความปลอดภัยอย่างสูงสุดในการถวายอากาศยานพระราชพาหนะดังกล่าวนี้
แผนยุทธการ ทอ. 999 มีการแก้ไขหลายครั้งนับตั้งแต่เริ่มใช้แผนยุทธการมา และการแก้ไขครั้งหลังสุดคือ วันที่ 21 กันยายน 2538 เป็นการแก้ไขครั้งที่ 4 มีสาระโดยรวมว่า
“คุณสมบัตินักบินตามประเภทของอากาศยานพระราชพาหนะ” คือ ประเภทของอากาศยานพระราชพาหนะแบ่งตามความเร็วเดินทาง ที่ระบุไว้ในคู่มือการบินของอากาศยานแบบนั้น คือ
ประเภทที่ 1 คืออากาศยานพระราชพาหนะที่มีความเร็วเดินทางไม่เกิน 300 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง ได้แก่ ฮ. หรือเฮลิคอปเตอร์ทุกแบบ หรืออากาศยานแบบอื่นๆ ที่มีความเร็วอยู่ในย่านดังกล่าว
ประเภทที่ 2 หมายถึงอากาศยานพระราชพาหนะที่มีความเร็วเดินทางมากกว่า 300 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมงขึ้นไป หรือยานพาหนะแบบอื่น ที่มีความเร็วอยู่ในย่านดังกล่าว
นักบินของอากาศยานพระราชพาหนะ ทั้งนักบินที่ 1 และนักบินที่ 2 (นบ.ที่ 1-นบ.ที่ 2) จะต้องเป็น “นักบินพร้อมรบประจำหน่วย” ทำหน้าที่นักบินที่ 1 หรือนักบินที่ 2 กับอากาศยานนั้นอย่างต่อเนื่อง
(ขออธิบายความของ “นักบินพร้อมรบประจำหน่วย” คือ ผู้ที่สำเร็จมาจากโรงเรียนการบินของกองทัพอากาศแล้ว ได้เข้าประจำการในกองบินต่างๆ ซึ่งแต่ละกองบินจะมีอากาศยานต่างประเภทกันตามภารกิจของกองบินนั้นๆ นักบินจะต้องทำการบินกับอากาศยานในหน่วยหรือกองบินที่ตนสังกัดอยู่ เป็นการหาความชำนาญกับเครื่องบินเฉพาะแบบ การใช้อาวุธ และยุทธวิธีผ่านเกณฑ์ทดสอบของหน่วยเรียบร้อยแล้ว ยิ่งเป็นนักบินพร้อมรบของหน่วย ถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้เป็นนักบินทหาร คำว่า นักบินพร้อมรบ จึงมีความยิ่งใหญ่มาก)
นักบินที่ 1 และนักบินที่ 2 ประจำอากาศยานพระราชพาหนะ ต้องมี “ชั่วโมงบินรวม” และ “ชั่วโมงบินกับอากาศยานลำเลียงหลายเครื่องยนต์” หรือกับเฮลิคอปเตอร์สำหรับนักบิน ฮ. แยกตามประเภทคือ
นักบิน ฮ. ต้องมีชั่วโมงบินรวมไม่น้อยกว่า 1,600 ชั่วโมงบิน
นักบินอากาศยานประเภท 2 คือ เครื่องบินปีกติด-นักบินที่ 1 และนักบินที่ 2 ต้องมีชั่วโมงบินไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมงบิน
ยังแยกอีกว่า-ชั่วโมงบินเฉพาะกับอากาศยานลำเลียงหลายเครื่องยนต์ หรือกับ ฮ. รวมแล้วต้องมีชั่งโมงบินไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมงบิน สำหรับนักบินเฮลิคอปเตอร์ และไม่น้อยกว่า 700 ชั่วโมงบิน สำหรับเครื่องบินปีกติดหรือปีกตรึง (ฟิกวิง)
อีกทั้งมีข้อสำคัญมากสำหรับการเป็นนักบินอากาศยานพระราชพาหนะ คือไม่นับชั่วโมงบินต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
นักบินจะต้องมีเวลาบินกับอากาศยานเฉพาะแบบ ที่จะทำหน้าที่เป็นนักบินที่ 1 และนักบินที่ 2 คือ นักบินเครื่องบินพระที่นั่ง และเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง (พระราชพาหนะ) ในแบบนั้นๆ เป็นการเฉพาะแบบที่จัดถวายมีชั่วโมงบินกับอากาศเฉพาะแบบที่จะเป็นนักบินพระราชพาหนะไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมงบิน โดยไม่นับชั่วโมงบินรวมกับอากาศยานแบบต่างๆ ที่เคยทำการบินมาก่อนหน้านี้
สำหรับการบินโดยเครื่องบินพระราชพาหนะนั้น เป็นการบินจากสนามบินไปยังสนามบิน หรือท่าอากาศยานที่มีความพร้อมในการบินขึ้น-ลงอยู่แล้ว รายละเอียดของการปฏิบัติจึงมีไม่มากนัก
แต่เคยปรากฏว่าในต้นปี 2527 ได้จัดเครื่องบิน โบอิ้ง 737-200 (BOEING 737-200) มาเป็นเครื่องบินพระราชพาหนะ, นักบินมีชั่วโมงบินมากกว่า 50 ชั่วโมงบิน โดยที่นักบินเคยมีชั่วโมงบินกับเครื่องบินพระราชพาหนะแบบอื่นมาก่อนหลายร้อยชั่วโมง แต่ยังถือว่ามีชั่วโมงบินเฉพาะแบบ คือ โบอิ้ง 737-200 อยู่ในเกณฑ์ต่ำ จึงมีการพิจารณาเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยนักบินได้ปฏิบัติภารกิจเป็นนักบินพระราชพาหนะได้ แต่กองทัพอากาศได้ขอให้ บริษัท การบินไทย จำกัด จัดนักบินระดับกัปตันที่มีประสบการณ์ในการบินกับโบอิ้ง 737-200 มีชั่วโมงบินสูงแล้ว มาปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบินนิรภัย (SAFETY PILOT) ร่วมกับนักบินของกองทัพอากาศด้วย
ถือว่าเป็นความรอบคอบ รัดกุม และเป็นทางออกที่ดีที่สุด ในการปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วง และการถวายความปลอดภัยมีอย่างสูงสุด รวมทั้งเครื่องบินพระราชพาหนะลำใหม่ โบอิ้ง 737-800 ที่เพิ่งได้รับเข้าประจำการ ก็อยู่ในยุทธการ ทอ. 999 นี้, สำหรับการเสด็จฯ โดย ฮ. พระราชพาหนะนั้น ถือว่ามีความพิเศษในลักษณะของการเสด็จฯ คือ ตำบลที่หมายนั้น มิใช่สนามบินหรือท่าอากาศยาน แต่ละที่หมายมีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันออกไป ยุทธการ ทอ. 999 จึงมีขั้นตอนมาก คือการสำรวจพื้นที่ โดยนักบินที่จะทำการบินถวายฯ จะต้องนำ ฮ. ที่ทำการบินไปสำรวจพื้นที่การขึ้น-ลง จุดจอด ทิศทางบิน และสภาพภูมิประเทศก่อนวันเสด็จฯ โดยมีนักบินพระราชพาหนะ นักบินพระราชพาหนะสำรอง นักบินเครื่องติดตาม นักบินเครื่องล่วงหน้า และนักบินเครื่องค้นหา มาร่วมทำการบิน เช่นเดียวกับวันที่จะทำการบินเป็น ฮ. พระราชพาหนะจริง ทั้งพิกัดที่ตั้งขึ้น-ลง ทิศทาง (องศา) การบิน ระยะทางการบิน ความเร็วการบิน และเวลารวมการปฏิบัติ มีการสำรวจพื้นที่ หากว่าจะใช้เป็นสนามบินสำรองหากเกิดกรณีฉุกเฉิน จุดเติมเชื้อเพลิง รวมทั้งการประสานกับเครื่องบินคุ้มกัน (ถ้ามี) จัดข่ายการสื่อสารรวม 6 ระบบ ความถี่หลัก และความถี่รองของระบบสื่อสารต่างๆ
ติดต่อประสานกับเครื่องช่วยเดินอากาศ คือ สนามบินที่อยู่ใกล้เคียงในย่านความถี่ 3 ระบบ
มีชุดควบคุมอากาศยานที่มีความถี่หลัก และสำรองรวม 4 แม่ข่าย
การพยากรณ์อากาศในเส้นทางบิน เช่น ทัศนวิสัย ลักษณะอากาศ เวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตก
สำรวจอากาศลมชั้นบนที่ระดับ 2,000 ฟุต 5,000 ฟุต และ 7,000 ฟุต ทิศทางของลมและความเร็วลม อุณหภูมิโดยเฉลี่ย
สถานการณ์ด้านการข่าวในพื้นที่เสด็จพระราชดำเนิน
ทุกอย่างเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ฯ พ.ศ. 2521
ยังมีสิ่งที่ควรรู้ ทหารได้จัดการถวายความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ที่สุด เช่น การบินเดินทางของ ฮ. ในขบวนเสด็จฯ นั้น เป็นการบินหมู่ที่เรียกว่า หมู่ห่าง
โดยที่ ฮ. ลูกหมู่จะต้องบินต่ำกว่า ฮ. พระราชพาหนะเสมอ (ประมาณ 300-500 ฟุต) และต้องรักษาระยะห่างด้านข้างไม่น้อยกว่า 500 ฟุต ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ภูมิประเทศ และสถานการณ์ทางยุทธวิธี และหากมีเครื่องบินคุ้มกัน จะต้องอยู่ห่างจากอากาศยานพระราชพาหนะไม่น้อยกว่า 1,000 ฟุต ทั้งด้านข้างและทางสูง
สำหรับรูปขบวนบินนั้น มีภาพประกอบอยู่ในรายงานนี้ด้วยแล้ว เพื่อให้เห็นภาพความชัดเจนขึ้น
ทั้งหมดที่ได้รายงานมานี้ มุ่งให้เห็นว่า ได้มีการจัดยุทธการ ทอ. 999 ในบางส่วน เท่าที่ควรจะเปิดเผย เพื่อให้เห็นว่า การถวายความปลอดภัยนั้น เป็นสิ่งละเอียดอ่อน รัดกุม เป็นไปด้วยความจงรักภักดี โดยสิ่งที่ได้เปิดเผยนี้จะทำให้ประชาชนได้เห็นว่า มีการถวายความปลอดภัยอย่างเต็มที่ ไม่มีสิ่งใดน่าห่วงใย
กองทัพอากาศเรียกว่า-การปฏิบัติการบิน สนับสนุนพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ โดยอากาศยานพระราชพาหนะที่ ทอ.จัดถวายให้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ และถวายความปลอดภัยสูงสุด
พระราชพาหนะคือ เครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งนั้น เป็นการจัดถวายให้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ และมีความปลอดภัยสูงสุดดังกล่าว อันอยู่ในยุทธการ ทอ. 999
ก็ต้องย้อนกลับมาสู่คำถาม โดยถามหา “ความสำนึก” กันอีกว่า
การที่มีการนำเฮลิคอปเตอร์ซูเปอร์ พูม่า ไปใช้-แม้ว่าจะเป็นการบินไป-กลับกรุงเทพฯ หัวหิน เพียงครั้งเดียวก็ตาม เป็นความบังควรหรือ? เพราะเท่ากับว่า ฮ. แบบนี้ได้ขึ้นถวายเป็นพระราชพาหนะ โดยมีเลขรัชกาลมาเป็นเลขแบบ คือ ฮ. แบบ 9 เช่นเดียวกับรถยนต์พระที่นั่ง เรือพระที่นั่ง ช้างทรง ม้าทรง ที่ขึ้นระวางเป็นพระราชพาหนะแล้ว เช่น โบอิ้ง 737-800 เครื่องบินพระราชพาหนะที่เพิ่งเดินทางมาถึงดอนเมือง เมื่อต้นสัปดาห์นี้
อีกทั้งเป็นเรื่องที่ต้องถามว่า มีความคิดอย่างไรในการนำ ฮ. ซูเปอร์ พูม่า 2 เครื่องที่เหลืออยู่ คือ ฮ. หมายเลข 1 (หมายเลขประจำเครื่อง 2388) ซึ่งเป็น ฮ. พระราชพาหนะ และ ฮ. หมายเลข 3 แบบเดียวกัน ซึ่งจัดเป็น ฮ. ติดตามในขบวนไปตีราคาเป็นมูลค่าแล้วนำไปรวมกับงบประมาณในการจัดหาเครื่องบินแอร์บัส 319 ที่มีชื่อว่า “ไทยคู่ฟ้า” ให้กับสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นขณะที่ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ, แม้ว่าวันนี้ เครื่องบินแอร์บัส 319 “ไทยคู่ฟ้า” ลำนั้น จะถูกลบชื่อทั้งภาษาไทย และอังกฤษที่ข้างลำตัวออกพร้อมเครื่องหมายสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว โดยพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศได้สั่งให้รับเข้ามาเป็นเครื่องบินพระราชพาหานะสำรอง สังกัดกองบิน 6 ดอนเมือง
“ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” เมื่อฉบับวันศุกร์ที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงเครื่องบิน “ไทยคู่ฟ้า” ว่าควรจะมีการโอนมาให้เป็นของกองทัพอากาศเสีย แล้วจัดเข้าประจำการที่กองบิน 6 ดอนเมือง โดยที่เครื่องบินลำนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจเก่าอยู่ ทั้งที่การได้มาไม่เหมาะสมเลย เพราะส่วนหนึ่งมาจากการขาย ฮ. 9 เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง
การที่กองทัพอากาศดำเนินการต่อเครื่องบิน “ไทยคู่ฟ้า” ดังกล่าว ในเวลาต่อมานั้น คงมิใช่เป็นเพราะการกระตุกหรือการกระตุ้นของ “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” นี้อย่างแน่นอน เพราะเรื่องอย่างนี้ น่าจะได้มีการเตรียมการกันมานานพอประมาณ จากการที่เกี่ยวข้องกับการโอนทรัพย์สินระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกัน รวมทั้งเรื่องการจัดงบประมาณในการบำรุงรักษา ซึ่งเวลามาพ้องกันพอดีกับที่มีการกล่าวถึงความถูกต้องและสิ่งที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับเรื่องนี้
บัดนี้-ไม่มีเครื่องบินหรูหรา “ไทยคู่ฟ้า” แอร์บัส 319 อยู่อีกแล้ว และเป็นเวลาเดียวกับที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังรอเครื่องบินส่วนตัวลำใหม่ที่สั่งซื้อด้วยเงิน 52 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ที่จะได้รับในราวเดือนธันวาคมปีนี้, เครื่องบินส่วนตัวระดับมหาเศรษฐีของโลกใช้กันนี้ คงจะทำให้การเดินทางของเขาในต่างประเทศมีความสะดวกและเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น
หรือจะเตรียมไว้สำหรับการเดินทางกลับไทยมารับข้อหา
หรือจะเป็นเครื่องบินส่วนตัวที่จะมาแวะจอดเติมเชื้อเพลิง หรือซ่อมอุปกรณ์การบินบางอย่างเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และจำเป็นต้องขอลงจอด โดยสนามบินที่อยู่ใกล้ที่สุดจะปฏิเสธการลงจอดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ดอนเมือง หรือเชียงใหม่ อย่างที่มีข่าวอันน่าเกาะติดแว่วออกมาว่า-จะแวะพักโดยไม่ลงจากเครื่อง หรือลงจากเครื่องเท่าที่จำเป็น แต่ก็จะอยู่ภายในไม่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง คือ ไม่ถือว่าเดินทางกลับประเทศไทย