xs
xsm
sm
md
lg

เปิดโพย 33 รีสอร์ตหรูเขาค้อ แคะภาพนายทุนในคราบรอส.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รีสอร์ตบนเขาค้อ ที่อยู่ในจุดเห็นวิวสวย บรรยากาศดี ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาในที่ดินของกองทัพภาคที่3
พิษณุโลก/เพชรบูรณ์ - ทภ.3 ยัน "เขาค้อ" เป็นที่ทหาร กองทัพดูแล 100% พร้อมเดินหน้ายึดคืนเต็มที่ เปิดโพย 33 รีสอร์ตหรูมีปัญหา หลังพบใช้วิธีเซ็นสัญญาเงินกู้ซื้อสิทธิ์จากรอส. โดยมีนายทุน-ข้าราชการแห่เข้ากว้านซื้อที่บนเขานับไม่ถ้วน แฉ อบต.แสบขอใช้ที่กองทัพแต่กลับนำออกขายนายทุน

จากพระราชดำริ-ที่ รอส.-นายทุน

"พื้นที่เขาค้อ ได้มีการสู้รบกันมานาน สูญเสียชีวิตทหารและเจ้าหน้าที่ไปจำนวนมาก กองทัพภาคที่ 3 น่าจะคิดหาทางที่จะใช้เส้นทางที่สร้างขึ้นให้เป็นประโยชน์แก่ราษฎรทั่วไป ไม่เฉพาะทหารเท่านั้น พื้นที่ 2 ข้างทางที่ผ่านไป ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ให้ราษฎรที่ยากไร้และยังไม่มีที่ทำกินของตนเองได้เข้ามาทำมาหากิน ผกค.อยู่บนเขาก็ให้เขาอยู่ไป เราก็พัฒนาของเราไป"

นี่คือ พระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เป็นที่มาของกองทัพภาคที่ 3 จัดทำแผนก่อตั้งหมู่บ้านยุทธศาสตร์พัฒนา และจัดตั้ง กอ.โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก พร้อมกับพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งเป็นทุนดำเนินการ ซึ่งได้เริ่มตั้งเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2520

งบประมาณส่วนพระองค์ ได้พระราชทานผ่านมายัง กอ.รมน. ซึ่งมี พตท.1617 ตั้งฐานที่อำเภอหล่มสัก ฝึกอาวุธ และลาดตะเวนแก่ราษฎรอาสา ท่ามกลางเสียงปืนที่ทหารรุกคืบไปด้านหน้า โดยปล่อยให้ราษฎรอาสาเป็นทัพหลัง ซึ่งยุคนั้นชาวบ้านได้เสียชีวิตจำนวนมาก แม้ขณะปลูกพืชไร่ แต่ทหารยังคงช่วยเหลือขุดบ่อ สร้างแหล่งน้ำ หมู่บ้านละ 3 แห่ง พร้อมจัดสรรที่ดินตามแนวถนนข้างละ 1-2 กิโลเมตร แบ่งเป็นที่ทำกินจำนวน 20 ไร่กับ 1 งานสร้างที่พักอาศัย ก่อตั้งหมู่บ้านในปีแรกในปี 25 ที่บ้านนางั่วจำนวน 2 หมู่บ้าน ,เขาค้อ 3 หมู่บ้าน วางเป้าหมายตั้งให้ได้ 2 หมู่บ้านต่อปี

วันนี้ราษฎรอาสาได้บอกว่าที่ดินแห้งแล้ง จึงขอทำรีสอร์ตเล็กๆไว้เป็นที่พัก จากนั้นนายทุนก็เริ่มเข้าไปติดต่อกับชาวบ้านให้ขายสิทธิ์ บ้างเลี่ยงทำสัญญากู้ยืมเงินแทน บ้างก็ร่วมหุ้นลงทุน ภาพที่ปรากฏคือ นายทุนที่มีทั้งข้าราชการในจังหวัดเพชรบูรณ์ รวมถึงนักธุรกิจได้กว้านซื้อที่ดิน รอส.เพื่อสร้างรีสอร์ตหรูหลายสิบแห่งเต็มเขาค้ออยู่ในขณะนี้

ทภ.3 ยันทุกตารางนิ้วเป็นที่กองทัพ

พันเอกบรรยงค์ สิรสุนทร อดีตหัวหน้าแผนกเครื่องจักรกลและยานพาหนะ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก ทหารสังกัดกองทัพภาคที่ 3 เปิดเผยถึงที่ดินที่มอบให้แก่ราษฎรอาสาสมัคร (รอส.) ที่อำเภอเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ที่กองพลทหารม้า 1 ตรวจสอบที่ดินถือครอง แต่ปัจจุบันราษฎรที่นำที่ดินไปขายให้นายทุน ว่า เป็นการผิดเงื่อนไขการถือครอง กองทัพมีสิทธิ์ยึดคืน

"ทุกตารางนิ้วของเขาค้อเป็นของกองทัพ วันนี้กองทัพยังไม่ได้ส่งคืนให้แก่กรมป่าไม้ ความรับผิดชอบจึงอยู่ที่กองทัพภาคที่ 3 ใครทำผิดก็ต้องยึดคืน สำหรับหน่วยราชการที่ก่อตั้งได้ก็ต้องขออนุญาตจากกองทัพภาคที่ 3"

เสธ.บรรยงค์ กล่าวอีกว่า สมัยก่อนยุทธภูมิเขาค้อ เมื่อเสียงปืนใกล้สงบ ทหารรุกเข้าไปตัดถนน ขณะที่ให้ชาวบ้านตั้งบ้านเรือนตามแนวถนนข้างละ 1-2 กิโลเมตร แบ่งเป็นที่ทำกินจำนวน 20 ไร่กับอีก 1 งานสร้างที่พักอาศัย กระทั่งเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านในปีแรกในปี 25 ที่บ้านนางั่วจำนวน 2 หมู่บ้าน เขาค้อ 3 หมู่บ้าน โดยแต่ละปีจะต้องเปิดรับสมัครราษฎรขึ้นมาจากหล่มสัก หล่มเก่า ปีละ 2 หมู่บ้าน ยุคนั้นก่อตั้งหมู่บ้านไม่ถึง 10 หมู่บ้าน ต่อมาชาวบ้านบอกว่า ที่ดินแห้งแล้ง จึงขอทำรีสอร์ตเล็กๆ ไว้เป็นที่พัก เมื่อทหารยึดพื้นที่ได้เบ็ดเสร็จ นายทุนก็เริ่มเข้าไปติดต่อกับชาวบ้านให้ขายสิทธิ์ โดยเลี่ยงทำสัญญากู้ยืมเงินแทน ถือว่า ผิดวัตถุประสงค์ วันนี้นายทุน ข้าราชการแห่ไปกว้านซื้อและก่อสร้างทำธุรกิจรีสอร์ตนับไม่ถ้วน

แฉ อบต.เขาค้อลักไก่ขอใช้ที่ รอส.แต่กลับขายให้นายทุน

เสธ.บรรยงค์ เผยอีกว่า ไม่นานมานี้กองพลทหารม้าที่ 1 สำรวจข้อมูลและตรวจสอบการถือครองที่ดินของราษฎรอาสา ว่า เจ้าของที่ดินเป็นผู้ใดก่อสร้างรีสอร์ตจริงหรือไม่ เกษตรกรที่ระบุว่า เป็นผู้ยากไร้ ทำไมถึงมีเงินจำนวนมากสร้างรีสอร์ต กระทั่งพบมีนายทุนกว่า 30 รายครอบครองพื้นที่ดิน สทก. โดยผิดวัตถุประสงค์ และตามนโยบายของกองทัพ เมื่อใครทำผิดก็ต้องยึด ทุกพื้นที่มีรายชื่อและหมายเลขระบุชัดเจน

ยกตัวอย่าง ที่บ้านปางสุขุม มีอดีตกำนัน บุกรุกเอาที่ดินใกล้ๆเรือนร่มเกล้า ไปขายนายทุนเพื่อทำรีสอร์ต เพราะวิวดี จากเดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ เมื่อกองทัพตรวจสอบ กำนันคนดังกล่าวก็โวยวาย ทุกวันนี้คนที่เดือดร้อนคือพวกที่เสียผลประโยชน์ เพราะนำที่ดินไปขายให้แก่นายทุน

ส่วนรีสอร์ตทั้งหมดหลายสิบ แห่ง ต้องตรวจสอบว่า เป็นราษฎรผู้ยากไร้จริงหรือไม่ ตัวอย่างไร่จันทน์แรม เจ้าของนั้นเป็นราษฎรอาสาสมัคร บังเอิญมีความคิดก่อสร้างที่พักในยุคแรกๆ ต่อมาได้พัฒนาทำอาหารรองรับนักท่องเที่ยว กระทั่งรีสอร์ตเกิดขึ้นอีกหลายสิบแห่งต่อๆกันมา

แต่ปัญหาเร่งด่วน ณ วันนี้คือ แปลงที่ดินใกล้กับเรือนร่มเกล้า บ้านปางสุขุม มีอดีตกำนันแจ้งต่อกองทัพว่า จะใช้พื้นที่ในนาม อบต.เขาค้อ แต่กลับนำที่ดินไปขายแก่นายทุนเพื่อทำรีสอร์ต เพราะวิวดี ทั้งที่ อบต.เขาค้อ ก็ใช้เรือนร่มเกล้าเป็นสถานที่ทำงาน อบต.เดิม เมื่อกองทัพตรวจสอบ กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ก็เดือดร้อน วันนี้กองทัพยังไม่ได้ส่งคืนพื้นที่ทั้งหมดแก่กรมป่าไม้ ความรับผิดชอบจึงอยู่ที่กองทัพภาคที่ 3

33 รีสอร์ตหรู/นายทุนในคราบ รอส.

แหล่งข่าวจากกองพลทหารม้าที่ 1 ระบุว่า พื้นที่ป่าเขาค้อทั้งหมด 120,000 ไร่ กองทัพได้ขอยืมมาจากกรมป่าไม้ จึงถือว่ากองทัพเป็นผู้เสียหายหรือเจ้าทุกข์ และได้แจ้งความดำเนินคดีต่อกลุ่มคนที่นำที่ดินไปขายต่อ อย่างผิดเงื่อนไข โดยที่ผ่านมาได้ตรวจสอบลักษณะปูพรม พบว่า มีราษฎรอาสาปรากฏตัวอยู่ แต่มักแกล้งเข้ามาอยู่อาศัย หลังจากทำสัญญาขายที่ดินแก่นายทุนไปแล้ว

หลังจากที่เชิญผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาทำความเข้าใจ 33 ราย โดยแจ้งให้ทราบถึงข้อตกลงของราษฎรอาสา ที่จะต้องไม่ละทิ้งถิ่นฐาน จึงพบว่า มีจำนวน 28 รายที่เข้าข่ายผิดข้อตกลง จึงนำเสนอรายงานปลดจากการเป็น ร.อ.ส.ต่อกองทัพภาคที่ 3 เพื่อดำเนินการต่อ ส่วนกองพลทหารม้าฯ จะดำเนินการตรวจสอบต่อไปอีกใน 4 ตำบล 32 หมู่บ้าน คือ สะเดาะพง ริมสีม่วง เขาค้อ และหนองแม่นา

สำหรับรายชื่อราษฎรอาสาที่บุกรุกพื้นที่ ถูกสอบสวน 33 ราย คือ

1.นางจำปา ราศีชัย (รอส.) แต่ปัจจุบันนายบุญส่ง ขุนทอง (กทม.)เป็นผู้ครอบครองพร้อมคฤหาศน์"ไร่ภูชิดฟ้า"ต.หนองแม่นา

2.นายนวล รัตนะ (รอส.)แต่ปัจจุบันนาย ขวัญยืน เตมีย์สุด(ปลัด อ.เขาค้อ)เป็นผู้ครอบครองพร้อมรีสอร์ต"สวนสนสวย"ต.หนองแม่นา

3.นายไพบูลย์ เมืองเป้ (รอส.)แต่ปัจจุบันนาย ธนวัฒน์ ปิ่นรอด เป็นผู้ครอบครอง เขต ต.หนองแม่นา

4.นายตี๋ ฤทธิ์รอด(รอส.)ปัจจุบันนายพูนศักดิ์ รังสิจัมภูมิ(ผอ.กองช่างเทศบาลพช.)เป็นผู้ครอบครองสอร์ต"บ้านเนินน้ำ" เขตต.เขาค้อ

5.นายลือ เป็งยา (รอส.)แต่ปัจจุบันนายมาโนช จันทร์เหม เป็นผู้ครอบครอง พร้อมรีสอร์ต"ภูทะเลหมอก"ในเขต ต.เขาค้อ
6.นายลือ เป็งยา (รอส.)แต่ปัจจุบันนายเชิง รักษ์หาญ เป็นผู้ครอบครอง ในเขต ต.เขาค้อ

7.นายสุนทร จันดาหาร(รอส.)แต่ปัจจุบัน ด.ต.สุวัจชัย วงศ์ผัน เป็นผู้ครอบครอง พร้อมรีสอร์ต"ภูแสงจันทร์"ต.เขาค้อ

8.นางแอ็ด จวนรุ่ง(รอส.)แต่ปัจจุบัน พล.ร.ท.บุญเชิด จูกาวัง เป็นผู้ครอบครอง พร้อมรีสอร์ต"ดอกจำปี'ต.เขาค้อ

9.นายระเวียง จิตถนอม (รอส.)แต่ปัจจุบันนายสุเมท เดียวสุรินทร์ เป็นผู้ครอบครองพร้อมรีสอร์ต "วิวเขาค้อ"อ.เขาค้อ
10.นายคำ- นางบุญชู-นายลำพึง (รอส.) แต่ปัจจุบันนางธติญาพร สิงห์วงค์ เป็นผู้ครอบครองพร้อมรีสอร์ต"เล็กๆเจดีย์ขาวอ.เขาค้อ

11.นางสมหมาย ขันเงิน (รอส.)แต่ปัจจุบัน นายพรชัย บุญเพ็ง(อดีตผบ.เรือนจำ)เป็นผู้ครอบครอง"ดอยข้าวกล้า"อ.เขาค้อ

12.นายบุญช่วย วังศิริ (รอส.)แต่ปัจจุบัน นายลิขิต พลับพลา เป็นผู้ครอบครองพร้อมรีสอร์ต"บ้านรัชดา"อ.เขาค้อ

13.นางสุชาวดี สังคีต (รอส.) แต่ปัจจุบัน นายสมชัย บุญแก้ว เป็นผู้ครอบครองพร้อมรีสอร์ต"สุชาวดี รีสอร์ท"อ.เขาค้อ

14.นายประมูล เวชกามา(รอส.)แต่ปัจจุบัน นายสมพงษ์ พลีเวียง เป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

15.นายประมูล เวชกามา (รอส.)แต่ปัจจุบัน นายสุกรีย์ สนธิญาติ เป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

16.นายจันทร์ โสดาราง (รอส.) แต่ปัจจุบัน นายโบ ไม่ทราบนามสกุลเป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

17.นายแม ขันธนะ (รอส.) แต่ปัจจุบัน นายโบ ไม่ทราบนามสกุลเป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

18.นางทองกาย ทองเปลว (รอส.) แต่ปัจจุบัน นางสุพรรณ จันทสารวิวัฒน์ เป็นผู้ครอบครองในเขต อ.เขาค้อ
พันเอกบรรยงค์ สิรสุนทร อดีตหัวหน้าแผนกเครื่องจักรกลและยานพาหนะ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก ทหารสังกัดกองทัพภาคที่ 3
19.นายทองใบ สิบท์สาร (รอส.) แต่ปัจจุบัน นางศิริวรรณ เจียงเต็ม เป็นผู้ครอบครองอ.เขาค้อ

20.นายเซ็นต์ ดีสุข (รอส.) แต่ปัจจุบัน นายกวิน เนตรแสงศรี เป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

21.นางเลี้ยง กี่หมื่น (รอส.) แต่ปัจจุบัน นางสุภาพร แผงมา เป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

22.นายทองใบ พิมพ์สังข์ (รอส.) แต่ปัจุบัน นางศริวรรณ เจียงเต็ม เป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

23.นายปรีชา อุ้ยวงค์ษา (รอส.) แต่ปัจจุบัน ด.ต.สังวร บำบัณทิตย์ เป็นผู้ครอบครองบ้านพัก 1 หลัง อ.เขาค้อ

24.นายสะอาด สะทานนอก (รอส.)แต่ปัจจุบัน นายนันท์ ห้องสินลาภ เป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

25.นายบรรจง ขันศรี (รอส.)แต่ปัจจุบัน นายปริญญา คำวิเศษ เป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

26.นายยงยุทธ ทองคำดี (รอส.)แต่ปัจจุบัน นายหยอง ไม่ทราบนามสกุล เป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

27.นายตุ๊ แซ่สัว (รอส.) แต่ปัจจุบัน นายไสว เมืองจันทน์ เป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

28.นายลือ เป็งยา (รอส.) แต่ปัจจุบัน นายธีรเศรษฐ์ ไม่ทราบนามสกุล เป็นผู้ครอบครอง ในเขต อ.เขาค้อ

29.นายสมทรง จันทรี แต่ปัจจุบันบริษัทเพชรประเสริฐ เพชรบูรณ์ ทัวร์รายใหญ่รายเดียว ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ครอบครองพร้อม"ภูเพชรลดา" (แต่ชี้แจงต่อกองพลทหารม้าที่ 1 ว่าเป็นบุคคล ไม่ใช่ในนามบริษัท)

30.นายโซ แซ่ลี(รอส.) แต่ปัจจุบัน อดีต รอง ผบก.ภาค 6 อ.เขาค้อ ครอบครองอยู่ ในเขต อ.เขาค้อ

31.นางทิ้ง อ้นชาวนา(รอส.) แต่ปัจจุบัน นางสาว ทวีพร ปิ่นตาคำ เป็นผู้ครอบครอง พร้อมรีสอร์ต"กุหลาบดอย"อ.เขาค้อ

32.นายตาล ปิ่นพุด(รอส.) แต่ปัจจุบัน นายตัน ไม่ทราบนามสกุล ครอบครองอยู่ในเขต อ.เขาค้อ

33.นายอุทัย แก่นนาค (รอส.) บุกรุกพื้นที่ทางราชการ อ.เขาค้อ

ซึ่งทั้ง 33 รายนี้ มีเพียง 5 รายเท่านั้น ที่แจ้งยืนยันว่า เป็น "ญาติ" กับเจ้าของที่ดิน รอส.ดั้งเดิม เมื่อมีเงินทุนจึงนำมาพัฒนาเป็นรีสอร์ต

ส่วนอีก 28 ราย กองพลทหารม้าที่ 1 ได้รายงานมายังกองทัพภาคที่3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 เพื่อขอปลดราษฎรอาสาให้พ้นจากสภาพการเป็นรอส.และคัดชื่อออกจากสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บุกรุกที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่โดยมิได้รับอนุญาต

อ้าง"ร่วมทุน"ทำรีสอร์ตเลี่ยงข้อตกลง

อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มชาวบ้านกองเนียมหมู่ 4 ต.เขาค้อ ส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปขายแก่นายทุน ชาวบ้านหลายคนมักบอกว่า "เป็นการร่วมทุน" มากกว่าขายขาด โดยอ้างว่า ชาวบ้านเป็นหนี้พอกพูน พืชผลขายไม่ได้ราคา ขาดทุนทุกปี พืชเมืองหนาวไม่มีตลาดรับซื้อ เมื่อประสบปัญหาเรื่องเงินก็ต้องยินยอมขายที่ดิน แต่ก็มีบางข้อตกลง คือ ให้นายทุนมาก่อสร้างบ้านบนผืนดินของตนเอง โดยทำสัญญา 10-20 ปีว่า หากครบสัญญาบ้านกี่หลังจะตกเป็นของเจ้าของที่ดิน บางรายก็ให้เงินเดือนแก่เจ้าของที่ดิน บางรายก็แบ่งค่าที่พักรีสอร์ตให้ถือว่า เป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน ส่วนกรณีบ้านภูชิดดาว ถือว่า สร้างใหญ่โตเกินเหตุ

นายชาญ ค้อกองเงิน หนึ่งในราษฎรอาสา กล่าวว่า ตนรับสมัครเป็นราษฎรอาสารุ่นแรกๆ เข้ามาเมื่อปี 2520 ต่อสู้กับ ผกค.จนได้รับบาดเจ็บ ปัจจุบันยังได้เงินจากกองทัพทุกเดือน โดยปี 25 ได้รับจัดสรรที่ดินจำนวน 20 ไร่บริเวณบ้านส่งคุ้ม บุกเบิกจากผืนป่า กระทั่งลูกสาวมีฐานะจึงได้พัฒนาลงทุนก่อสร้างรีสอร์ต "จินตนาลอดจ์"เมื่อ 10 ปีก่อน ทำให้วันนี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
กำลังโหลดความคิดเห็น