.
สำหรับคำว่า Patent ซึ่งไทยได้แปลว่าสิทธิบัตรนั้น มาจากคำภาษาละติน มีความหมายว่า “การเปิดเผย” ซึ่งหมายความว่าเป็นมาตรการจูงใจให้เปิดเผยข้อมูลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวคือ แทนที่ผู้ประดิษฐ์จะพยายามปิดบังเทคโนโลยีของตนเอาไว้เป็นความลับ ก็เปลี่ยนมาเป็นการตีพิมพ์เผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบ โดยรัฐบาลมีสิ่งจูงใจกระตุ้นให้เปิดเผยข้อมูล คือ จะหยิบยื่นสิทธิผูกขาดแก่บุคคลที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรไประยะหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย จะกำหนดอายุการผูกขาดเอาไว้ประมาณ 20 ปี
ความจริงแล้ว สิทธิบัตรไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ทัศนะว่าสิทธิบัตรน่าจะถือกำเนิดขึ้นประมาณช่วงทศวรรษที่ 1200 (ปี พ.ศ.1743 - 1752) ในประเทศอิตาลี เมื่อนครเวนิชได้มอบสิทธิบัตรแก่นักประดิษฐ์เกี่ยวกับอุปกรณ์ผลิตเส้นไหม ต่อมานครแห่งนี้ได้ออกประกาศเมื่อปี 2017 ว่ากรณีมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ จะต้องมายื่นจดทะเบียนต่อหน่วยราชการเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นดำเนินการลอกเลียนแบบ
ต่อมาประเทศอังกฤษได้รับจดทะเบียนเป็นครั้งแรกในปี 1992 เกี่ยวกับวิธีผลิตกระจกสี อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลอังกฤษได้มอบสิทธิบัตรแก่สิ่งที่ใช้เทคโนโลยีแบบพื้นๆ ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่แต่อย่างใด นับเป็นการดำเนินการอย่างไม่โปร่งใส โดยแทนที่จะส่งเสริมนวัตกรรม กลับเป็นการส่งเสริมการผูกขาด ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาข้อถกเถียงข้างต้น จึงมีการออกกฎหมายว่าด้วยสิทธิของการผูกขาด (Statute of Monopolies) ขึ้นเมื่อปี 2166 ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 1ซึ่งนับเป็นพื้นฐานสำคัญของกฎหมายสิทธิบัตรสมัยใหม่ในเวลาต่อมา
สำหรับกรณีของสหรัฐฯ ได้มีการมอบสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกในปี 2333 แก่โปแตซ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตสบู่และปุ๋ย ต่อมาได้มอบสิทธิบัตรอีกมากมาย เป็นต้นว่า หลอดไฟที่ประดิษฐ์โดยนายเอดิสัน โทรเลขประดิษฐ์โดยนายแซมมวล มอส ฯลฯ โดยเฉพาะนายเอดิสันมีสิทธิบัตรที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นจำนวนมากถึง 1,093 ชิ้น
ผู้เชี่ยวชาญได้ประมาณการว่าในปี 2548 รายได้ในส่วนการขายเทคโนโลยีทั่วโลกเป็นเงินรวมกันประมาณ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ประเทศเดียว มีรายได้จากการขายเทคโนโลยีในปี 2548 เป็นเงินมากถึง 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้นว่า บริษัทไอบีเอ็มมีรายได้เฉพาะในส่วนการขายสิทธิบัตรเป็นเงินมากถึงปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท
ปัจจุบันมีการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ขณะเดียวกันเทคโนโลยีในปัจจุบันก็ทวีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ทำให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งไม่สามารถที่จะใช้สินทรัพย์ทางปัญญาเฉพาะจากภายในบริษัทเท่านั้น จะต้องดำเนินการทั้งซื้อและขายสิทธิบัตรควบคู่กันไป
นายอดัม สมิธ ซึ่งได้รับฉายาว่าบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์นั้น ได้เคยให้ทัศนะเมื่อประมาณ 200 กว่าปีมาแล้วว่าสิทธิบัตรเป็นสิ่งชั่วช้าที่จำเป็น ดังนั้น จะต้องพินิจพิเคราะห์อย่างระมัดระวังก่อนรับจดทะเบียน เนื่องจากสิทธิบัตรจะก่อให้เกิดการผูกขาดขึ้นเป็นการชั่วคราว ซึ่งจะกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าการมีสิทธิบัตรได้ส่งผลดีหลายประการ
ประการแรก ช่วยกระตุ้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
ประการที่สอง การจดทะเบียนสิทธิบัตรจะต้องระบุรายละเอียดในการผลิต นับเป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้เกิดการกระจายเทคโนโลยีไปสู่สาธารณะชนภายหลังสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองสิทธิบัตร
ประการที่สาม ช่วยอำนวยความสะดวกให้เกิดการแบ่งงานกันทำในระบบเศรษฐกิจ โดยผู้ที่เชี่ยวชาญด้านวิจัยและพัฒนาก็จะเน้นดำเนินการเฉพาะในด้านนี้ จากนั้นจะขายสิทธิบัตรให้แก่ผู้อื่นที่เชี่ยวชาญในด้านการผลิตเชิงพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญได้เริ่มตั้งคำถามแก่ตนเองว่าปัจจุบันที่มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรมากมาย จะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อนวัตกรรมกันแน่ เนื่องจากเทคโนโลยีสลับซับซ้อนมากขื้น เป็นต้นว่า จากเดิมการพัฒนาเครื่องเล่นวิดีโอจะต้องได้รับอนุมัติสิทธิบัตรเพียงแค่ 3 รายการ แต่ต่อมาการพัฒนาเครื่องเล่น DVD จะต้องได้รับอนุมัติสิทธิบัตรจำนวนมากถึง 35 รายการ
จากความยุ่งยากสลับซับซ้อนดังกล่าวข้างต้น ทำให้ปัจจุบันการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ จะต้องใช้เวลามากมายในการเจรจาต่อรองเพื่อซื้อสิทธิบัตร ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อนวัตกรรม โดยผู้เชี่ยวชาญได้อุปมาอุปไมยเปรียบเสมือนกับสมัยยุคกลางของยุโรปภายหลังการโค่นล้มอาณาจักรโรมัน ผู้ปกครองแต่ละท้องถิ่นต่างเป็นอิสระ ได้เก็บค่าผ่านทางมากมาย ก่อให้เกิดอุปสรรคอย่างมากต่อการค้าขาย
ขณะเดียวกันบริษัทต่างๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในด้านจ้างทนายสู้คดีในด้านนี้ เป็นต้นว่า บริษัทไมโครซอฟท์ต้องจ่ายเงินเป็นค่าที่ปรึกษากฎหมายเพื่อสู้คดีสิทธิบัตรเป็นเงินมากถึงปีละประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
ศ. Lawrence Lessig แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จึงให้ทัศนะเมื่อปี 2548 ว่าสิทธิบัตรได้กลายเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อนวัตกรรม ส่วน ศ. Brian Wright แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กเลย์ ก็ได้กล่าวเช่นกันว่าปัจจุบันมีบริษัทก่อตั้งใหม่ในธุรกิจเทคโนโลยีด้านการเกษตรน้อยมาก เนื่องจากหน่วยราชการของสหรัฐฯ ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรเกี่ยวกับยีนและวิธีการวิจัยเอาไว้อย่างกว้างจนเกินไป ดังนั้น หากทำการวิจัยในด้านนี้ ก็เกรงว่าจะถูกฟ้องว่าละเมิดสิทธิบัตร
อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆ ไม่สามารถละเลยความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของสิทธิบัตรได้ เพราะถึงแม้จะไม่สนใจที่จะซื้อสิทธิบัตรจากบริษัทอื่นๆ และไม่สนใจจะขายสิทธิบัตรของตนเองให้แก่บริษัทอื่นๆ ก็ตาม แต่อาจจะละเมิดสิทธิบัตรของบริษัทอื่นๆ อย่างไม่ตั้งใจ ดังนั้น หากไม่มีสิทธิบัตรของตนเองเพื่อเป็นอาวุธในการต่อรองเกี่ยวกับ Cross-Licensing Agreement กล่าวคือ เป็นการแลกเปลี่ยนการใช้สิทธิบัตรกับคู่สัญญาแล้ว ตนเองจะอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างหนึ่ง คือ ศาลสหรัฐฯ ได้พิพากษาเมื่อปี 2540 ว่าบริษัท GE ละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ Magnetic Resonance Imaging (MRI) โดยต้องจ่ายค่าเสียหายแก่ ดร.Raymond Damadian และบริษัท Fonar Corp เป็นเงินมากถึง 128.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
บริษัทโพลารอยด์ได้ฟ้องบริษัทโกดักเมื่อปี 2519 ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตร 12 รายการเกี่ยวกับกล้องถ่ายรูปแบบ Instant Photography ซึ่งศาลพิพากษาให้บริษัทโพลารอยด์ชนะคดี ทำให้บริษัทโกดักจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินมากถึง 925 ล้านบาท และส่งผลให้บริษัทโกดักได้ยุติธุรกิจกล้องแบบนี้โดยทันที
ส่วนบริษัทโกดักได้ซื้อกิจการบริษัท Wang Laboratories เมื่อปี 2540 ซึ่งครอบคลุมถึงสิทธิบัตรเกี่ยวกับซอฟต์แวร์หลายรายการ จากนั้นได้ฟ้องร้องบริษัท Sun Microsystems ว่าซอฟต์แวร์ Java ละเมิดสิทธิบัตรของอดีตบริษัท Wang Laboratories ข้างต้น ซึ่งศาลพิพากษาให้บริษัทโกดักชนะคดี โดยได้รับเงินค่าเสียหาย 92 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปัจจุบันหลายบริษัทจึงได้จัดซื้อสิทธิบัตรจำนวนมากโดยมีวัตถุประสงค์เป็นเพียงเพื่อเป็นอาวุธป้องกันตัวเท่านั้น เพื่อไม่ให้บริษัทอื่นมาข่มขู่เรื่องสิทธิบัตร เป็นต้นว่า บริษัทอินเทลของสหรัฐฯ ได้ซื้อสิทธิบัตรเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นอาวุธต่อรองในการแลกเปลี่ยนการอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรกับบริษัทอื่นๆ
ส่วนบริษัทไมโครซอฟท์ได้มีนโยบายยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้จะเป็นอิสระที่จะทำได้ แต่ดูแล้วก็ไม่ค่อยจะมีสาระเท่าใดนัก เป็นเพียงอาวุธป้องกันตัว โดยได้ประกาศเมื่อปี 2547 จะเพิ่มจำนวนสิทธิบัตรที่ยื่นขอจดทะเบียนจากเดิมปีละ 2,000 รายการ เป็น 3,000 รายการ
มีตัวอย่างมากมายเกี่ยวกับสงครามสิทธิบัตร เป็นต้นว่า บริษัทมัตสุชิตะของญี่ปุ่นได้ฟ้องร้องต่อศาลญี่ปุ่นเกี่ยวกับบริษัท LG ของเกาหลีใต้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับจอภาพพลาสมา ส่วนบริษัท LG ก็ได้ฟ้องกลับบริษัทมัตสุชิตะว่าละเมิดสิทธิบัตรเช่นเดียวกัน ซึ่งต่อมาในเดือนเมษายน 2548 ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงยอมความกันได้ โดยถอนฟ้องซึ่งกันและกัน รวมถึงตกลงที่จะแลกเปลี่ยนการใช้สิทธิบัตรในส่วนจอภาพพลาสมา เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องเล่นดีวีดี
สำหรับบริษัทนิคอนซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่อง Stepper ซึ่งเป็นเครื่องจักรในการผลิตเวเฟอร์วงจรรวม รายใหญ่อันดับ 1 ของโลก และบริษัท ASML ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่อง Stepper รายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ได้ฟ้องร้องซึ่งกันและกันในคดีละเมิดสิทธิบัตรต่อศาลใน 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ในที่สุดเมื่อปลายปี 2547 ทั้ง 2 ฝ่ายได้ลงนามในสัญญาสงบศึก โดยต่างฝ่ายต่างอนุญาตให้อีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบัตรของตนเอง
นอกจากนี้ สิ่งที่บริษัทต่างๆ หวั่นเกรงกันมากในปัจจุบัน คือ สิทธิบัตรแบบเรือดำน้ำ (Submarine Patent) กล่าวคือ มีบุคคลที่หัวใสยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเด็นต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยปิดบังเป็นความลับเอาไว้ ไม่ได้ประสงค์จะนำสิทธิบัตรนั้นๆ มาใช้เชิงพาณิชย์แต่อย่างใด และเมื่อบริษัทอื่นที่ดำเนินธุรกิจได้ละเมิดสิทธิบัตรที่จดทะเบียนเอาไว้อย่างไม่ตั้งใจ ก็จะดำเนินคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจำนวนมาก
สำหรับกรณีสิทธิบัตรแบบเรือดำน้ำนี้ บริษัทที่ตกเป็นเหยื่อไม่สามารถจะฟ้องกลับเพื่อแลกเปลี่ยนการอนุญาตสิทธิบัตรแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรแบบเรือดำน้ำจะไม่ได้ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าอย่างเป็นชิ้นเป็นอันแต่อย่างใดเลย
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th
สำหรับคำว่า Patent ซึ่งไทยได้แปลว่าสิทธิบัตรนั้น มาจากคำภาษาละติน มีความหมายว่า “การเปิดเผย” ซึ่งหมายความว่าเป็นมาตรการจูงใจให้เปิดเผยข้อมูลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวคือ แทนที่ผู้ประดิษฐ์จะพยายามปิดบังเทคโนโลยีของตนเอาไว้เป็นความลับ ก็เปลี่ยนมาเป็นการตีพิมพ์เผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบ โดยรัฐบาลมีสิ่งจูงใจกระตุ้นให้เปิดเผยข้อมูล คือ จะหยิบยื่นสิทธิผูกขาดแก่บุคคลที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรไประยะหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย จะกำหนดอายุการผูกขาดเอาไว้ประมาณ 20 ปี
ความจริงแล้ว สิทธิบัตรไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ทัศนะว่าสิทธิบัตรน่าจะถือกำเนิดขึ้นประมาณช่วงทศวรรษที่ 1200 (ปี พ.ศ.1743 - 1752) ในประเทศอิตาลี เมื่อนครเวนิชได้มอบสิทธิบัตรแก่นักประดิษฐ์เกี่ยวกับอุปกรณ์ผลิตเส้นไหม ต่อมานครแห่งนี้ได้ออกประกาศเมื่อปี 2017 ว่ากรณีมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ จะต้องมายื่นจดทะเบียนต่อหน่วยราชการเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นดำเนินการลอกเลียนแบบ
ต่อมาประเทศอังกฤษได้รับจดทะเบียนเป็นครั้งแรกในปี 1992 เกี่ยวกับวิธีผลิตกระจกสี อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลอังกฤษได้มอบสิทธิบัตรแก่สิ่งที่ใช้เทคโนโลยีแบบพื้นๆ ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่แต่อย่างใด นับเป็นการดำเนินการอย่างไม่โปร่งใส โดยแทนที่จะส่งเสริมนวัตกรรม กลับเป็นการส่งเสริมการผูกขาด ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาข้อถกเถียงข้างต้น จึงมีการออกกฎหมายว่าด้วยสิทธิของการผูกขาด (Statute of Monopolies) ขึ้นเมื่อปี 2166 ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 1ซึ่งนับเป็นพื้นฐานสำคัญของกฎหมายสิทธิบัตรสมัยใหม่ในเวลาต่อมา
สำหรับกรณีของสหรัฐฯ ได้มีการมอบสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกในปี 2333 แก่โปแตซ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตสบู่และปุ๋ย ต่อมาได้มอบสิทธิบัตรอีกมากมาย เป็นต้นว่า หลอดไฟที่ประดิษฐ์โดยนายเอดิสัน โทรเลขประดิษฐ์โดยนายแซมมวล มอส ฯลฯ โดยเฉพาะนายเอดิสันมีสิทธิบัตรที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นจำนวนมากถึง 1,093 ชิ้น
ผู้เชี่ยวชาญได้ประมาณการว่าในปี 2548 รายได้ในส่วนการขายเทคโนโลยีทั่วโลกเป็นเงินรวมกันประมาณ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ประเทศเดียว มีรายได้จากการขายเทคโนโลยีในปี 2548 เป็นเงินมากถึง 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้นว่า บริษัทไอบีเอ็มมีรายได้เฉพาะในส่วนการขายสิทธิบัตรเป็นเงินมากถึงปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท
ปัจจุบันมีการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ขณะเดียวกันเทคโนโลยีในปัจจุบันก็ทวีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ทำให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งไม่สามารถที่จะใช้สินทรัพย์ทางปัญญาเฉพาะจากภายในบริษัทเท่านั้น จะต้องดำเนินการทั้งซื้อและขายสิทธิบัตรควบคู่กันไป
นายอดัม สมิธ ซึ่งได้รับฉายาว่าบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์นั้น ได้เคยให้ทัศนะเมื่อประมาณ 200 กว่าปีมาแล้วว่าสิทธิบัตรเป็นสิ่งชั่วช้าที่จำเป็น ดังนั้น จะต้องพินิจพิเคราะห์อย่างระมัดระวังก่อนรับจดทะเบียน เนื่องจากสิทธิบัตรจะก่อให้เกิดการผูกขาดขึ้นเป็นการชั่วคราว ซึ่งจะกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าการมีสิทธิบัตรได้ส่งผลดีหลายประการ
ประการแรก ช่วยกระตุ้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
ประการที่สอง การจดทะเบียนสิทธิบัตรจะต้องระบุรายละเอียดในการผลิต นับเป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้เกิดการกระจายเทคโนโลยีไปสู่สาธารณะชนภายหลังสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองสิทธิบัตร
ประการที่สาม ช่วยอำนวยความสะดวกให้เกิดการแบ่งงานกันทำในระบบเศรษฐกิจ โดยผู้ที่เชี่ยวชาญด้านวิจัยและพัฒนาก็จะเน้นดำเนินการเฉพาะในด้านนี้ จากนั้นจะขายสิทธิบัตรให้แก่ผู้อื่นที่เชี่ยวชาญในด้านการผลิตเชิงพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญได้เริ่มตั้งคำถามแก่ตนเองว่าปัจจุบันที่มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรมากมาย จะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อนวัตกรรมกันแน่ เนื่องจากเทคโนโลยีสลับซับซ้อนมากขื้น เป็นต้นว่า จากเดิมการพัฒนาเครื่องเล่นวิดีโอจะต้องได้รับอนุมัติสิทธิบัตรเพียงแค่ 3 รายการ แต่ต่อมาการพัฒนาเครื่องเล่น DVD จะต้องได้รับอนุมัติสิทธิบัตรจำนวนมากถึง 35 รายการ
จากความยุ่งยากสลับซับซ้อนดังกล่าวข้างต้น ทำให้ปัจจุบันการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ จะต้องใช้เวลามากมายในการเจรจาต่อรองเพื่อซื้อสิทธิบัตร ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อนวัตกรรม โดยผู้เชี่ยวชาญได้อุปมาอุปไมยเปรียบเสมือนกับสมัยยุคกลางของยุโรปภายหลังการโค่นล้มอาณาจักรโรมัน ผู้ปกครองแต่ละท้องถิ่นต่างเป็นอิสระ ได้เก็บค่าผ่านทางมากมาย ก่อให้เกิดอุปสรรคอย่างมากต่อการค้าขาย
ขณะเดียวกันบริษัทต่างๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในด้านจ้างทนายสู้คดีในด้านนี้ เป็นต้นว่า บริษัทไมโครซอฟท์ต้องจ่ายเงินเป็นค่าที่ปรึกษากฎหมายเพื่อสู้คดีสิทธิบัตรเป็นเงินมากถึงปีละประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
ศ. Lawrence Lessig แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จึงให้ทัศนะเมื่อปี 2548 ว่าสิทธิบัตรได้กลายเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อนวัตกรรม ส่วน ศ. Brian Wright แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กเลย์ ก็ได้กล่าวเช่นกันว่าปัจจุบันมีบริษัทก่อตั้งใหม่ในธุรกิจเทคโนโลยีด้านการเกษตรน้อยมาก เนื่องจากหน่วยราชการของสหรัฐฯ ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรเกี่ยวกับยีนและวิธีการวิจัยเอาไว้อย่างกว้างจนเกินไป ดังนั้น หากทำการวิจัยในด้านนี้ ก็เกรงว่าจะถูกฟ้องว่าละเมิดสิทธิบัตร
อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆ ไม่สามารถละเลยความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของสิทธิบัตรได้ เพราะถึงแม้จะไม่สนใจที่จะซื้อสิทธิบัตรจากบริษัทอื่นๆ และไม่สนใจจะขายสิทธิบัตรของตนเองให้แก่บริษัทอื่นๆ ก็ตาม แต่อาจจะละเมิดสิทธิบัตรของบริษัทอื่นๆ อย่างไม่ตั้งใจ ดังนั้น หากไม่มีสิทธิบัตรของตนเองเพื่อเป็นอาวุธในการต่อรองเกี่ยวกับ Cross-Licensing Agreement กล่าวคือ เป็นการแลกเปลี่ยนการใช้สิทธิบัตรกับคู่สัญญาแล้ว ตนเองจะอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างหนึ่ง คือ ศาลสหรัฐฯ ได้พิพากษาเมื่อปี 2540 ว่าบริษัท GE ละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ Magnetic Resonance Imaging (MRI) โดยต้องจ่ายค่าเสียหายแก่ ดร.Raymond Damadian และบริษัท Fonar Corp เป็นเงินมากถึง 128.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
บริษัทโพลารอยด์ได้ฟ้องบริษัทโกดักเมื่อปี 2519 ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตร 12 รายการเกี่ยวกับกล้องถ่ายรูปแบบ Instant Photography ซึ่งศาลพิพากษาให้บริษัทโพลารอยด์ชนะคดี ทำให้บริษัทโกดักจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินมากถึง 925 ล้านบาท และส่งผลให้บริษัทโกดักได้ยุติธุรกิจกล้องแบบนี้โดยทันที
ส่วนบริษัทโกดักได้ซื้อกิจการบริษัท Wang Laboratories เมื่อปี 2540 ซึ่งครอบคลุมถึงสิทธิบัตรเกี่ยวกับซอฟต์แวร์หลายรายการ จากนั้นได้ฟ้องร้องบริษัท Sun Microsystems ว่าซอฟต์แวร์ Java ละเมิดสิทธิบัตรของอดีตบริษัท Wang Laboratories ข้างต้น ซึ่งศาลพิพากษาให้บริษัทโกดักชนะคดี โดยได้รับเงินค่าเสียหาย 92 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปัจจุบันหลายบริษัทจึงได้จัดซื้อสิทธิบัตรจำนวนมากโดยมีวัตถุประสงค์เป็นเพียงเพื่อเป็นอาวุธป้องกันตัวเท่านั้น เพื่อไม่ให้บริษัทอื่นมาข่มขู่เรื่องสิทธิบัตร เป็นต้นว่า บริษัทอินเทลของสหรัฐฯ ได้ซื้อสิทธิบัตรเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นอาวุธต่อรองในการแลกเปลี่ยนการอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรกับบริษัทอื่นๆ
ส่วนบริษัทไมโครซอฟท์ได้มีนโยบายยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้จะเป็นอิสระที่จะทำได้ แต่ดูแล้วก็ไม่ค่อยจะมีสาระเท่าใดนัก เป็นเพียงอาวุธป้องกันตัว โดยได้ประกาศเมื่อปี 2547 จะเพิ่มจำนวนสิทธิบัตรที่ยื่นขอจดทะเบียนจากเดิมปีละ 2,000 รายการ เป็น 3,000 รายการ
มีตัวอย่างมากมายเกี่ยวกับสงครามสิทธิบัตร เป็นต้นว่า บริษัทมัตสุชิตะของญี่ปุ่นได้ฟ้องร้องต่อศาลญี่ปุ่นเกี่ยวกับบริษัท LG ของเกาหลีใต้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับจอภาพพลาสมา ส่วนบริษัท LG ก็ได้ฟ้องกลับบริษัทมัตสุชิตะว่าละเมิดสิทธิบัตรเช่นเดียวกัน ซึ่งต่อมาในเดือนเมษายน 2548 ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงยอมความกันได้ โดยถอนฟ้องซึ่งกันและกัน รวมถึงตกลงที่จะแลกเปลี่ยนการใช้สิทธิบัตรในส่วนจอภาพพลาสมา เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องเล่นดีวีดี
สำหรับบริษัทนิคอนซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่อง Stepper ซึ่งเป็นเครื่องจักรในการผลิตเวเฟอร์วงจรรวม รายใหญ่อันดับ 1 ของโลก และบริษัท ASML ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่อง Stepper รายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ได้ฟ้องร้องซึ่งกันและกันในคดีละเมิดสิทธิบัตรต่อศาลใน 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ในที่สุดเมื่อปลายปี 2547 ทั้ง 2 ฝ่ายได้ลงนามในสัญญาสงบศึก โดยต่างฝ่ายต่างอนุญาตให้อีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบัตรของตนเอง
นอกจากนี้ สิ่งที่บริษัทต่างๆ หวั่นเกรงกันมากในปัจจุบัน คือ สิทธิบัตรแบบเรือดำน้ำ (Submarine Patent) กล่าวคือ มีบุคคลที่หัวใสยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเด็นต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยปิดบังเป็นความลับเอาไว้ ไม่ได้ประสงค์จะนำสิทธิบัตรนั้นๆ มาใช้เชิงพาณิชย์แต่อย่างใด และเมื่อบริษัทอื่นที่ดำเนินธุรกิจได้ละเมิดสิทธิบัตรที่จดทะเบียนเอาไว้อย่างไม่ตั้งใจ ก็จะดำเนินคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจำนวนมาก
สำหรับกรณีสิทธิบัตรแบบเรือดำน้ำนี้ บริษัทที่ตกเป็นเหยื่อไม่สามารถจะฟ้องกลับเพื่อแลกเปลี่ยนการอนุญาตสิทธิบัตรแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรแบบเรือดำน้ำจะไม่ได้ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าอย่างเป็นชิ้นเป็นอันแต่อย่างใดเลย
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th