ผมเคยเขียนหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่งชื่อ “มัชฌิมทฤษฎี” ไม่นึกว่าจะมีคนนำไปตั้งชื่อกลุ่มการเมือง คือ กลุ่มมัชฌิมา หัวหน้ากลุ่มโทรศัพท์มาขอให้ผมไปพูดให้ฟังว่ามีความหมายอย่างไร โดยบอกว่าขอให้ผมไป “ปลุกเสก” ให้หน่อย ฟังดูแล้วคล้ายๆ ว่าผมเป็นเกจิอาจารย์อะไรทำนองนี้
มัชฌิมทฤษฎีนี้คือ Fuzzy Logic นั่นเอง โดยปกติคนเราจะชอบเปรียบเทียบสิ่งสองสิ่ง หรือปรากฏการณ์ในลักษณะที่เป็นคู่ตรงข้าม เช่น ขาวกับดำ มืดกับสว่าง เทพกับมาร เป็นต้น แต่ Fuzzy Logic บอกว่า สรรพสิ่งส่วนใหญ่ไม่ได้แตกต่าง หรืออยู่ตรงข้ามกันอย่างเด็ดขาด แต่จะเป็นกลางๆ ผมจึงเรียกว่า “มัชฌิมทฤษฎี”
ในทางการเมืองนั้น มีคนกล่าวว่า “การเมืองคือศิลปะของความเป็นไปได้” (Politics is the Art of the Possible) มีความหมายว่าในการเมืองนั้น ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้สามารถตกลงต่อรองประนีประนอมกันได้เสมอ
แนวคิดนี้สำคัญตรงที่ว่ามันไปกำหนดความคิดย่อยอื่นๆ ถ้าเราเห็นว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องที่มีความแตกต่างกันอย่างสุดโต่ง ลงรอยกันไม่ได้แล้ว โอกาสที่จะมีสันติภาพและความสมานฉันท์ก็จะมีสูงขึ้น ที่พูดว่า “แตกต่างแต่ไม่แตกแยก” ก็คือแนวคิดนี้
ในสังคมหนึ่งๆ มีคนหลายเชื้อชาติ ศาสนา มีความเชื่อ มีผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน เรียกง่ายๆ ว่า มีความหลากหลายในความหลากหลายนี้ หากอยู่ร่วมกันได้ ความไม่เหมือนกันคงอยู่ได้ และก่อให้เกิดผลรวมที่ดีไว้ ถ้าหาความพอดีหรือความลงตัวที่ให้ส่วนย่อยแต่ละส่วนคงอยู่ได้ ผมชอบยกตัวอย่างความลงตัวของต้มยำ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องปรุงหลายๆ อย่าง ที่มีลักษณะเฉพาะตัวต่างกัน เมื่อนำมาผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม ก็เกิดสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้น
นอกจากนั้น มัชฌิมายังหมายถึง ทางสายกลางอีกด้วย โลกเราเคยแบ่งออกเป็นสองค่าย ก่อให้เกิดความขัดแย้ง เกิดสงคราม ในทางเศรษฐกิจทุนนิยมสุดโต่งมีผลทำให้มีการทำลายสิ่งแวดล้อม และมีผลกระทบต่อผู้ด้อยโอกาส การดำเนินตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางสายกลางที่มุ่งหาความพอเพียง และความพอดี มัชฌิมาจึงเป็นการแสวงหาความสมดุล อยู่กึ่งกลางระหว่างจุดหลายๆ จุดที่อยู่ห่างจากกัน
กลุ่มการเมืองไทยส่วนใหญ่มักจะชื่อที่ไม่ได้มีความหมายเชิงทฤษฎีหรือปรัชญา ดังนั้น การที่กลุ่มมัชฌิมาซึ่งต่อไปคงจะกลายเป็นพรรคการเมือง เลือกชื่อที่มีความหมายเช่นนี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า ต่อไปการเสนอนโยบายของพรรคนี้จะเป็นไปในทางสายกลางหรือไม่ ที่สำคัญก็คือ แล้วพฤติกรรมทางการเมืองของผู้อยู่ในกลุ่มนี้จะเป็นอย่างไร
ในเชิงปรัชญาการเมือง ความพอดีของสิ่งที่ขัดกันเป็นปัญหาทางการเมืองมาโดยตลอด อย่างเช่น อำนาจกับเสรีภาพ เป็นต้น ทำอย่างไรจึงจะจัดการปกครองที่ให้มีความสมดุลระหว่างอำนาจบังคับ กับการให้เสรีภาพอย่างกว้างขวาง ในการพัฒนาก็เช่นกัน เราพูดถึงการทำให้การเติบโตของเมืองไม่ให้เกิดผลเสียหายต่อสภาพแวดล้อม การพัฒนาที่สนใจชนบทพอๆ กับเมือง โดยสรุปแล้ว การเมืองคือ วิธีการที่หาทางให้สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน หรือแตกต่างกันมีพื้นที่ที่อยู่ได้ โดยไม่ถูกขจัดออกไป หรือถูกครอบงำ โดยส่วนที่ใหญ่กว่ามีจำนวนมากกว่า มีทุนสูงกว่า ปัญหาความขัดแย้งระหว่างห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ กับร้านชำย่อยๆ ก็เป็นตัวอย่างที่ดี หากกลุ่มมัชฌิมาต้องการเสนอนโยบายที่เป็นทางสายกลางจริงแล้ว ก็จะต้องมีท่าทีที่ชัดเจนในเรื่องการค้ารายย่อยด้วย
ที่ผ่านมา ผมยังไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดๆ และในอนาคตผมก็คงไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง
แต่การที่ไปพูดหรือให้คำปรึกษาในทางเรื่องแก่พรรคการเมืองเป็นเรื่องธรรมดา เวลานี้ลูกศิษย์ของผมบางคนก็ไปเป็นนักการเมือง เวลาพบกันก็ถามความเห็นผมเสมอ
พรรคการเมืองเป็นกลไกสำคัญของระบอบประชาธิปไตย หากพรรคการเมืองไม่มีการพัฒนาแล้ว การเมืองไทยก็คงไปไม่ถึงไหน พรรคการเมืองคงจะต้องคิดการจัดระบบ จัดองค์กรแบบใหม่ ไม่ใช่เป็นเพียงกลไกในการรณรงค์หาเสียงอย่างเดียว หลังการเลือกตั้ง ก็จะต้องจัดระบบงานทั้งภายใน และภายนอกสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเชื่อมต่อกับการเมืองภาคพลเมืองซึ่งองค์กรเอกชนอาสาสมัครมีบทบาทในการเป็นตัวแทนให้กับกลุ่มประชาชนที่มีความเดือดร้อน รอยต่อนี้มีความสำคัญเท่าที่ผ่านมา พรรคการเมืองไม่ได้ให้ความสนใจ หรือความสำคัญของการสร้างพันธมิตรกับภาคประชาชนมากเท่าใดนัก นอกจากนี้ พรรคการเมืองยังจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กับสื่อมวลชนอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
อีกไม่นาน เราก็จะมีรัฐธรรมนูญใหม่ รัฐธรรมนูญเป็นกติกา แต่ลักษณะของรัฐธรรมนูญจะเป็น “มัชฌิมา” หรือไม่จะต้องดูกันต่อไป กล่าวคือ จะมีความพอดีลงตัว แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแนวคิดหลักของ ส.ส.ร. เราแสวงหาความลงตัวของกติกาหลักมานานแล้ว คราวนี้ก็คงจะไม่ได้ความลงตัว และจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงกันต่อไป
มัชฌิมทฤษฎีนี้คือ Fuzzy Logic นั่นเอง โดยปกติคนเราจะชอบเปรียบเทียบสิ่งสองสิ่ง หรือปรากฏการณ์ในลักษณะที่เป็นคู่ตรงข้าม เช่น ขาวกับดำ มืดกับสว่าง เทพกับมาร เป็นต้น แต่ Fuzzy Logic บอกว่า สรรพสิ่งส่วนใหญ่ไม่ได้แตกต่าง หรืออยู่ตรงข้ามกันอย่างเด็ดขาด แต่จะเป็นกลางๆ ผมจึงเรียกว่า “มัชฌิมทฤษฎี”
ในทางการเมืองนั้น มีคนกล่าวว่า “การเมืองคือศิลปะของความเป็นไปได้” (Politics is the Art of the Possible) มีความหมายว่าในการเมืองนั้น ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้สามารถตกลงต่อรองประนีประนอมกันได้เสมอ
แนวคิดนี้สำคัญตรงที่ว่ามันไปกำหนดความคิดย่อยอื่นๆ ถ้าเราเห็นว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องที่มีความแตกต่างกันอย่างสุดโต่ง ลงรอยกันไม่ได้แล้ว โอกาสที่จะมีสันติภาพและความสมานฉันท์ก็จะมีสูงขึ้น ที่พูดว่า “แตกต่างแต่ไม่แตกแยก” ก็คือแนวคิดนี้
ในสังคมหนึ่งๆ มีคนหลายเชื้อชาติ ศาสนา มีความเชื่อ มีผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน เรียกง่ายๆ ว่า มีความหลากหลายในความหลากหลายนี้ หากอยู่ร่วมกันได้ ความไม่เหมือนกันคงอยู่ได้ และก่อให้เกิดผลรวมที่ดีไว้ ถ้าหาความพอดีหรือความลงตัวที่ให้ส่วนย่อยแต่ละส่วนคงอยู่ได้ ผมชอบยกตัวอย่างความลงตัวของต้มยำ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องปรุงหลายๆ อย่าง ที่มีลักษณะเฉพาะตัวต่างกัน เมื่อนำมาผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม ก็เกิดสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้น
นอกจากนั้น มัชฌิมายังหมายถึง ทางสายกลางอีกด้วย โลกเราเคยแบ่งออกเป็นสองค่าย ก่อให้เกิดความขัดแย้ง เกิดสงคราม ในทางเศรษฐกิจทุนนิยมสุดโต่งมีผลทำให้มีการทำลายสิ่งแวดล้อม และมีผลกระทบต่อผู้ด้อยโอกาส การดำเนินตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางสายกลางที่มุ่งหาความพอเพียง และความพอดี มัชฌิมาจึงเป็นการแสวงหาความสมดุล อยู่กึ่งกลางระหว่างจุดหลายๆ จุดที่อยู่ห่างจากกัน
กลุ่มการเมืองไทยส่วนใหญ่มักจะชื่อที่ไม่ได้มีความหมายเชิงทฤษฎีหรือปรัชญา ดังนั้น การที่กลุ่มมัชฌิมาซึ่งต่อไปคงจะกลายเป็นพรรคการเมือง เลือกชื่อที่มีความหมายเช่นนี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า ต่อไปการเสนอนโยบายของพรรคนี้จะเป็นไปในทางสายกลางหรือไม่ ที่สำคัญก็คือ แล้วพฤติกรรมทางการเมืองของผู้อยู่ในกลุ่มนี้จะเป็นอย่างไร
ในเชิงปรัชญาการเมือง ความพอดีของสิ่งที่ขัดกันเป็นปัญหาทางการเมืองมาโดยตลอด อย่างเช่น อำนาจกับเสรีภาพ เป็นต้น ทำอย่างไรจึงจะจัดการปกครองที่ให้มีความสมดุลระหว่างอำนาจบังคับ กับการให้เสรีภาพอย่างกว้างขวาง ในการพัฒนาก็เช่นกัน เราพูดถึงการทำให้การเติบโตของเมืองไม่ให้เกิดผลเสียหายต่อสภาพแวดล้อม การพัฒนาที่สนใจชนบทพอๆ กับเมือง โดยสรุปแล้ว การเมืองคือ วิธีการที่หาทางให้สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน หรือแตกต่างกันมีพื้นที่ที่อยู่ได้ โดยไม่ถูกขจัดออกไป หรือถูกครอบงำ โดยส่วนที่ใหญ่กว่ามีจำนวนมากกว่า มีทุนสูงกว่า ปัญหาความขัดแย้งระหว่างห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ กับร้านชำย่อยๆ ก็เป็นตัวอย่างที่ดี หากกลุ่มมัชฌิมาต้องการเสนอนโยบายที่เป็นทางสายกลางจริงแล้ว ก็จะต้องมีท่าทีที่ชัดเจนในเรื่องการค้ารายย่อยด้วย
ที่ผ่านมา ผมยังไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดๆ และในอนาคตผมก็คงไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง
แต่การที่ไปพูดหรือให้คำปรึกษาในทางเรื่องแก่พรรคการเมืองเป็นเรื่องธรรมดา เวลานี้ลูกศิษย์ของผมบางคนก็ไปเป็นนักการเมือง เวลาพบกันก็ถามความเห็นผมเสมอ
พรรคการเมืองเป็นกลไกสำคัญของระบอบประชาธิปไตย หากพรรคการเมืองไม่มีการพัฒนาแล้ว การเมืองไทยก็คงไปไม่ถึงไหน พรรคการเมืองคงจะต้องคิดการจัดระบบ จัดองค์กรแบบใหม่ ไม่ใช่เป็นเพียงกลไกในการรณรงค์หาเสียงอย่างเดียว หลังการเลือกตั้ง ก็จะต้องจัดระบบงานทั้งภายใน และภายนอกสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเชื่อมต่อกับการเมืองภาคพลเมืองซึ่งองค์กรเอกชนอาสาสมัครมีบทบาทในการเป็นตัวแทนให้กับกลุ่มประชาชนที่มีความเดือดร้อน รอยต่อนี้มีความสำคัญเท่าที่ผ่านมา พรรคการเมืองไม่ได้ให้ความสนใจ หรือความสำคัญของการสร้างพันธมิตรกับภาคประชาชนมากเท่าใดนัก นอกจากนี้ พรรคการเมืองยังจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กับสื่อมวลชนอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
อีกไม่นาน เราก็จะมีรัฐธรรมนูญใหม่ รัฐธรรมนูญเป็นกติกา แต่ลักษณะของรัฐธรรมนูญจะเป็น “มัชฌิมา” หรือไม่จะต้องดูกันต่อไป กล่าวคือ จะมีความพอดีลงตัว แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแนวคิดหลักของ ส.ส.ร. เราแสวงหาความลงตัวของกติกาหลักมานานแล้ว คราวนี้ก็คงจะไม่ได้ความลงตัว และจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงกันต่อไป