.
ทุกวันนี้ การรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันได้กลายเป็นเรื่องปกติของเมืองไทยไปแล้ว
แต่บนความปกติที่ว่านี้หากคิดให้ลึกแล้วจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างยิ่ง
มีประเทศไหนบ้างในโลกนี้ที่ทางการจะต้องตั้งเป้าการรณรงค์ด้วยตัวเลขผู้เสียชีวิต ว่าช่วงหยุดยาวของในปีนั้นปีนี้จะต้องไม่ให้มีคนตายเกินเท่านั้นเท่านี้ โดยตัวเลขที่ตั้งเอาไว้นั้นก็สูงเป็นหลักร้อย หรือพูดให้ตรงๆ ก็คือหลายร้อย
ผมว่านี่เป็นการสะท้อนให้เห็นด้านอัปลักษณ์ของสังคมไทยในอีกแง่มุมหนึ่งก็ว่าได้
ที่ว่าอัปลักษณ์ก็เพราะการตั้งเป้าตัวเลขที่ว่านั้นเป็นการตั้งเหมือนรู้อยู่เต็มอกอยู่แล้วว่า ยังไงก็ต้องมีคนตายแหงๆ ชั่วอยู่แต่ว่าจะตายเท่าไหร่เท่านั้น
อย่างช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 ที่ผ่านมานั้นก็มีคนตายเกินเป้าที่ตั้งเอาไว้สูงเอาการ ซึ่งถ้าหากมองการตั้งเป้าในแง่ธุรกิจแล้ว ก็ต้องถือว่าการรณรงค์นี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะทำไม่ได้ตามเป้าที่ตั้งเอาไว้
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงรู้สึกเห็นใจหน่วยงานที่รณรงค์เรื่องนี้ เห็นใจเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องอดตาหลับขับตานอนมาคอยเฝ้าระวังอุบัติเหตุ เห็นใจเจ้าหน้าที่องค์กรการกุศลที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเห็นใจผู้ใช้รถใช้ถนนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่แต่ต้องมาเจ็บมาตายกับอุบัติเหตุที่ก่อโดยคนไร้จิตสำนึกจำพวกหนึ่ง
แต่แม้จะเห็นใจ ผมก็ยังเห็นว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนก็คือ การไม่ใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดจริงจังของเจ้าหน้าที่ แถมที่มีใช้อยู่นั้นบทลงโทษหลายข้อก็เบาเกินเหตุ
หลายคนอาจเถียงว่า ขนาดตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์กันเป็นระยะๆ และเอาผิดกับผู้กระทำผิดกฎจราจรอย่างจริงจังยังไม่นับว่าเอาจริงอีกหรือ? ต่อประเด็นนี้แม้ผมจะเห็นด้วยว่าเจ้าหน้าที่เอาจริงก็จริง แต่ก็เอาจริงเพียงแค่ในช่วงเทศกาลเท่านั้น พอพ้นไปจากเทศกาลแล้ว ความจริงจังที่ว่าก็ค่อยๆ เลือนหายไป
ทุกอย่างกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ที่เคยซิ่งรถนอกเทศกาลยังไงก็ซิ่งต่อไป ที่ขับรถผิดกฎจราจรหรือไร้มารยาทไร้น้ำใจยังไงก็ยังคงผิดต่อไป เหมือนเดิม....ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
และด้วยเหตุนี้ ประเด็นการใช้กฎหมายไม่จริงจังของผมจึงไม่ได้หมายความแต่เพียงในช่วงเทศกาลเท่านั้น หากยังรวมถึงช่วงเวลาปกติในชีวิตประจำวันอีกด้วย ซึ่งผมเห็นว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ ถ้าหากเจ้าหน้าที่จริงจังกับการใช้กฎหมายแม้แต่ในยามปกติแล้ว ผมเชื่อว่า ความจริงจังนั้นจะส่งผลต่อการใช้รถใช้ถนนในช่วงเทศกาลด้วย ที่สำคัญก็คือว่า การใช้กฎหมายอย่างจริงจังในความหมายของผมนั้น ผมไม่ได้หมายความเฉพาะใช้กับการทำผิดอย่างแรงเท่านั้น หากใช้แม้แต่กับการทำผิดในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ (ซึ่งขอย้ำว่าเล็กน้อยในที่นี้ไม่ใช่เล็กน้อยสำหรับผม แต่เป็นเล็กน้อยของคนมักง่าย) อีกด้วย
การทำผิดกฎจราจรอย่างแรงในความหมายของผมก็เช่นการขับรถฝ่าไฟแดง ส่วนการทำผิดที่มองว่าเล็กๆ น้อยๆ ก็เช่นการขับรถบนไหล่ทาง เป็นต้น
หลายสิบปีที่ผ่านมา เราต้องยอมรับความจริงอยู่อย่างว่า การทำผิดกฎจราจรเล็กๆ น้อยๆ นั้นได้เกิดขึ้นเป็นปกติทุกเมื่อเชื่อวัน พูดให้ตรงๆ ไม่อ้อมค้อมก็คือ ไม่มีวันไหนที่ไม่เกิด
ใครบ้างที่ไม่เคยเห็นคนขับรถมักง่ายที่ขับรถบนไหล่ทางโดยไม่รู้สึกกระดาก แถมบ่อยครั้งยังเห็นขับกันเป็นทิวเป็นแถวเรียงกันไปตลอดทางอีกต่างหาก
ใครบ้างที่ไม่เคยเห็นคนขับรถด้วยความเร็วที่เกินกำหนด อันเป็นภาพที่สามารถเห็นได้เป็นปกติไม่เว้นแม้แต่บนทางด่วน ทางที่ซึ่งรถทุกคันวิ่งกันอย่างฉลุยโดยรถไม่ติด
ใครบ้างที่ไม่เคยเห็นคนขับรถในเลนขวาที่ขับอย่างช้าๆ เหมือนกำลังกินลมชมวิว โดยไม่อนาทรร้อนใจว่าตนกำลังทำให้รถติด และทำให้รถอีกหลายคันจำต้องแซงซ้ายขึ้นไปอย่างผิดๆ
ใครบ้างที่ไม่เคยเห็นคนขับรถกำลังใช้โทรศัพท์มือถือในมือข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งจับพวงมาลัย ที่มีโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ
พูดถึงการใช้มือถือขณะขับรถแล้วทำให้ผมคิดถึงข่าวๆ หนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อนไม่ได้ เป็นข่าวของหญิงสาวคนหนึ่งกำลังขับรถบนทางด่วนโดยใช้มือถือคุยกับเพื่อนของเธอ และพอขับมาถึงช่วงจังหวะหนึ่งเธอก็เสียหลัก (เพราะมือถือ) พุ่งเข้าชนกำแพงทางด่วนลงไปยังด้านล่าง
เพื่อนที่คุยโทรศัพท์กับเธออยู่นั้นเล่าว่า ตัวเธอได้ยินเสียงร้องอย่างตกใจของผู้เป็นเพื่อน และจากนั้นก็ได้ยินเสียงรถกระแทกกับกำแพงทางด่วนโครมใหญ่ พร้อมกับเสียงกรีดร้องของเพื่อนเธอ และพอดังโครมอีกครั้งหนึ่งเมื่อรถถึงพื้น ทุกอย่างก็เงียบเสียงลง....ทุกอย่างเกิดขึ้นในชั่วเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น
คิดถึงเรื่องนี้ทีไรแล้วอดสยองและหดหู่ใจไม่ได้ และเฝ้าถามตัวเองอยู่เรื่อยว่า ถ้าผมเป็นเพื่อนของหญิงสาวคนนั้น ก็คงยากที่จะลบเลือนเสียงกรีดร้องที่ว่าออกจากความทรงจำไปได้ตราบจนกระทั่งตายไป
และด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ผมมักปฏิบัติเป็นประจำก็คือ หากรู้ว่ากำลังคุยโทรศัพท์กับเพื่อนที่กำลังขับรถอยู่ผมจะพยายามตัดบท หรือถ้าตัดไม่ขาดก็จะบอกเพื่อนให้จอดรถคุย และถ้ายังไม่สำเร็จอีก ผมก็ต้องเป็นฝ่ายวิงวอนขอร้องเอง
คือยังไงๆ ก็ต้องวางหูให้ได้ เพื่อนหลายคนสงสัยว่า ทำไมผมจึงไม่เชื่อมือการขับรถของเขาในขณะใช้มือถือ ไม่ต้องสงสัยหรอกครับถ้าอ่านบทความนี้ของผม คำตอบง่ายๆ ก็คือ ผมไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์แบบที่เล่าข้างต้น เพราะไม่อยากได้ยินเสียงเพื่อน (ที่อาจพิการหรือตาย) ก้องติดรูหูผมไปจนตาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมทำใจไม่ได้จริงๆ
นอกจากการทำผิดกฎจราจรเล็กๆ น้อยๆ ข้างต้นแล้ว ที่ทำผิดในทำนองเดียวกันและทำให้ผมรู้สึกหงุดหงิดและ “เซ็งเป็ด” อย่างแรงก็คือ การไม่ชะลอรถเมื่อขับมาถึงทางม้าลาย บางคนถึงกับซิ่งหรือไม่ก็บีบแตรไล่ให้คนข้ามถนนรีบข้ามไปไวๆ
จนกระทั่งทางม้าลายกลายเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายว่า ให้รีบข้ามถนนโดยเร็ว ไม่งั้น...ตาย!
ยังมีตัวอย่างอีกมากมายเกี่ยวกับการทำผิดกฎจราจรเล็กๆ น้อยๆ ตามที่ผมว่ามา และหากว่ากันให้ถึงที่สุดแล้ว ไม่เฉพาะแต่เรื่องทางม้าลายหรอกครับที่ทำให้ผมเซ็งเป็ด หากเป็นทุกเรื่องแหละครับ
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงไม่ขับรถมาจนทุกวันนี้ เพราะรู้จักตัวเองดีพอว่าไม่มีความอดทนให้กับคนที่ทำผิดเช่นว่าได้นานๆ และพาลจะทำให้มีเรื่องบนท้องถนนเอาได้ง่ายๆ แต่ถึงผมจะไม่ขับรถ ผมก็สามารถดูถูกคนที่ขับรถอย่างผิดๆ อย่างที่ว่าด้วยความภูมิใจ
ผมเชื่อว่า หากจราจรเอาจริงกับความผิดเล็กๆ น้อยๆ อย่างที่ผมว่ามา และหามาตรการลงโทษที่แรงพอที่จะทำให้คนทำผิดมีจิตสำนึกในการขับรถมากขึ้นแล้ว ไม่เพียงตำรวจจราจรจะไม่ต้องเหนื่อยดังที่เห็นในวันนี้เท่านั้น หากแต่ยังมีอีกหลายหน่วยงานและหลายคนที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ต้องเหนื่อยอีกด้วย
แต่ถึงกระนั้น วิธีแก้ที่ดีที่สุดก็ยังคงหนีไม่พ้นคนขับรถเองที่ต้องปรับยกระดับจิตสำนึกของตัวเองให้มีความเป็นอารยะบนท้องถนนให้มากขึ้น
ซึ่ง (ประทานเถิดครับ) ผมมองยังไงๆ ก็ยังเห็นว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก คือยากพอๆ กับการเรียกร้องให้ตำรวจจราจรจริงจังต่อการใช้กฎหมาย
ทุกวันนี้ การรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันได้กลายเป็นเรื่องปกติของเมืองไทยไปแล้ว
แต่บนความปกติที่ว่านี้หากคิดให้ลึกแล้วจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างยิ่ง
มีประเทศไหนบ้างในโลกนี้ที่ทางการจะต้องตั้งเป้าการรณรงค์ด้วยตัวเลขผู้เสียชีวิต ว่าช่วงหยุดยาวของในปีนั้นปีนี้จะต้องไม่ให้มีคนตายเกินเท่านั้นเท่านี้ โดยตัวเลขที่ตั้งเอาไว้นั้นก็สูงเป็นหลักร้อย หรือพูดให้ตรงๆ ก็คือหลายร้อย
ผมว่านี่เป็นการสะท้อนให้เห็นด้านอัปลักษณ์ของสังคมไทยในอีกแง่มุมหนึ่งก็ว่าได้
ที่ว่าอัปลักษณ์ก็เพราะการตั้งเป้าตัวเลขที่ว่านั้นเป็นการตั้งเหมือนรู้อยู่เต็มอกอยู่แล้วว่า ยังไงก็ต้องมีคนตายแหงๆ ชั่วอยู่แต่ว่าจะตายเท่าไหร่เท่านั้น
อย่างช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 ที่ผ่านมานั้นก็มีคนตายเกินเป้าที่ตั้งเอาไว้สูงเอาการ ซึ่งถ้าหากมองการตั้งเป้าในแง่ธุรกิจแล้ว ก็ต้องถือว่าการรณรงค์นี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะทำไม่ได้ตามเป้าที่ตั้งเอาไว้
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงรู้สึกเห็นใจหน่วยงานที่รณรงค์เรื่องนี้ เห็นใจเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องอดตาหลับขับตานอนมาคอยเฝ้าระวังอุบัติเหตุ เห็นใจเจ้าหน้าที่องค์กรการกุศลที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเห็นใจผู้ใช้รถใช้ถนนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่แต่ต้องมาเจ็บมาตายกับอุบัติเหตุที่ก่อโดยคนไร้จิตสำนึกจำพวกหนึ่ง
แต่แม้จะเห็นใจ ผมก็ยังเห็นว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนก็คือ การไม่ใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดจริงจังของเจ้าหน้าที่ แถมที่มีใช้อยู่นั้นบทลงโทษหลายข้อก็เบาเกินเหตุ
หลายคนอาจเถียงว่า ขนาดตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์กันเป็นระยะๆ และเอาผิดกับผู้กระทำผิดกฎจราจรอย่างจริงจังยังไม่นับว่าเอาจริงอีกหรือ? ต่อประเด็นนี้แม้ผมจะเห็นด้วยว่าเจ้าหน้าที่เอาจริงก็จริง แต่ก็เอาจริงเพียงแค่ในช่วงเทศกาลเท่านั้น พอพ้นไปจากเทศกาลแล้ว ความจริงจังที่ว่าก็ค่อยๆ เลือนหายไป
ทุกอย่างกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ที่เคยซิ่งรถนอกเทศกาลยังไงก็ซิ่งต่อไป ที่ขับรถผิดกฎจราจรหรือไร้มารยาทไร้น้ำใจยังไงก็ยังคงผิดต่อไป เหมือนเดิม....ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
และด้วยเหตุนี้ ประเด็นการใช้กฎหมายไม่จริงจังของผมจึงไม่ได้หมายความแต่เพียงในช่วงเทศกาลเท่านั้น หากยังรวมถึงช่วงเวลาปกติในชีวิตประจำวันอีกด้วย ซึ่งผมเห็นว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ ถ้าหากเจ้าหน้าที่จริงจังกับการใช้กฎหมายแม้แต่ในยามปกติแล้ว ผมเชื่อว่า ความจริงจังนั้นจะส่งผลต่อการใช้รถใช้ถนนในช่วงเทศกาลด้วย ที่สำคัญก็คือว่า การใช้กฎหมายอย่างจริงจังในความหมายของผมนั้น ผมไม่ได้หมายความเฉพาะใช้กับการทำผิดอย่างแรงเท่านั้น หากใช้แม้แต่กับการทำผิดในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ (ซึ่งขอย้ำว่าเล็กน้อยในที่นี้ไม่ใช่เล็กน้อยสำหรับผม แต่เป็นเล็กน้อยของคนมักง่าย) อีกด้วย
การทำผิดกฎจราจรอย่างแรงในความหมายของผมก็เช่นการขับรถฝ่าไฟแดง ส่วนการทำผิดที่มองว่าเล็กๆ น้อยๆ ก็เช่นการขับรถบนไหล่ทาง เป็นต้น
หลายสิบปีที่ผ่านมา เราต้องยอมรับความจริงอยู่อย่างว่า การทำผิดกฎจราจรเล็กๆ น้อยๆ นั้นได้เกิดขึ้นเป็นปกติทุกเมื่อเชื่อวัน พูดให้ตรงๆ ไม่อ้อมค้อมก็คือ ไม่มีวันไหนที่ไม่เกิด
ใครบ้างที่ไม่เคยเห็นคนขับรถมักง่ายที่ขับรถบนไหล่ทางโดยไม่รู้สึกกระดาก แถมบ่อยครั้งยังเห็นขับกันเป็นทิวเป็นแถวเรียงกันไปตลอดทางอีกต่างหาก
ใครบ้างที่ไม่เคยเห็นคนขับรถด้วยความเร็วที่เกินกำหนด อันเป็นภาพที่สามารถเห็นได้เป็นปกติไม่เว้นแม้แต่บนทางด่วน ทางที่ซึ่งรถทุกคันวิ่งกันอย่างฉลุยโดยรถไม่ติด
ใครบ้างที่ไม่เคยเห็นคนขับรถในเลนขวาที่ขับอย่างช้าๆ เหมือนกำลังกินลมชมวิว โดยไม่อนาทรร้อนใจว่าตนกำลังทำให้รถติด และทำให้รถอีกหลายคันจำต้องแซงซ้ายขึ้นไปอย่างผิดๆ
ใครบ้างที่ไม่เคยเห็นคนขับรถกำลังใช้โทรศัพท์มือถือในมือข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งจับพวงมาลัย ที่มีโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ
พูดถึงการใช้มือถือขณะขับรถแล้วทำให้ผมคิดถึงข่าวๆ หนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อนไม่ได้ เป็นข่าวของหญิงสาวคนหนึ่งกำลังขับรถบนทางด่วนโดยใช้มือถือคุยกับเพื่อนของเธอ และพอขับมาถึงช่วงจังหวะหนึ่งเธอก็เสียหลัก (เพราะมือถือ) พุ่งเข้าชนกำแพงทางด่วนลงไปยังด้านล่าง
เพื่อนที่คุยโทรศัพท์กับเธออยู่นั้นเล่าว่า ตัวเธอได้ยินเสียงร้องอย่างตกใจของผู้เป็นเพื่อน และจากนั้นก็ได้ยินเสียงรถกระแทกกับกำแพงทางด่วนโครมใหญ่ พร้อมกับเสียงกรีดร้องของเพื่อนเธอ และพอดังโครมอีกครั้งหนึ่งเมื่อรถถึงพื้น ทุกอย่างก็เงียบเสียงลง....ทุกอย่างเกิดขึ้นในชั่วเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น
คิดถึงเรื่องนี้ทีไรแล้วอดสยองและหดหู่ใจไม่ได้ และเฝ้าถามตัวเองอยู่เรื่อยว่า ถ้าผมเป็นเพื่อนของหญิงสาวคนนั้น ก็คงยากที่จะลบเลือนเสียงกรีดร้องที่ว่าออกจากความทรงจำไปได้ตราบจนกระทั่งตายไป
และด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ผมมักปฏิบัติเป็นประจำก็คือ หากรู้ว่ากำลังคุยโทรศัพท์กับเพื่อนที่กำลังขับรถอยู่ผมจะพยายามตัดบท หรือถ้าตัดไม่ขาดก็จะบอกเพื่อนให้จอดรถคุย และถ้ายังไม่สำเร็จอีก ผมก็ต้องเป็นฝ่ายวิงวอนขอร้องเอง
คือยังไงๆ ก็ต้องวางหูให้ได้ เพื่อนหลายคนสงสัยว่า ทำไมผมจึงไม่เชื่อมือการขับรถของเขาในขณะใช้มือถือ ไม่ต้องสงสัยหรอกครับถ้าอ่านบทความนี้ของผม คำตอบง่ายๆ ก็คือ ผมไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์แบบที่เล่าข้างต้น เพราะไม่อยากได้ยินเสียงเพื่อน (ที่อาจพิการหรือตาย) ก้องติดรูหูผมไปจนตาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมทำใจไม่ได้จริงๆ
นอกจากการทำผิดกฎจราจรเล็กๆ น้อยๆ ข้างต้นแล้ว ที่ทำผิดในทำนองเดียวกันและทำให้ผมรู้สึกหงุดหงิดและ “เซ็งเป็ด” อย่างแรงก็คือ การไม่ชะลอรถเมื่อขับมาถึงทางม้าลาย บางคนถึงกับซิ่งหรือไม่ก็บีบแตรไล่ให้คนข้ามถนนรีบข้ามไปไวๆ
จนกระทั่งทางม้าลายกลายเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายว่า ให้รีบข้ามถนนโดยเร็ว ไม่งั้น...ตาย!
ยังมีตัวอย่างอีกมากมายเกี่ยวกับการทำผิดกฎจราจรเล็กๆ น้อยๆ ตามที่ผมว่ามา และหากว่ากันให้ถึงที่สุดแล้ว ไม่เฉพาะแต่เรื่องทางม้าลายหรอกครับที่ทำให้ผมเซ็งเป็ด หากเป็นทุกเรื่องแหละครับ
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงไม่ขับรถมาจนทุกวันนี้ เพราะรู้จักตัวเองดีพอว่าไม่มีความอดทนให้กับคนที่ทำผิดเช่นว่าได้นานๆ และพาลจะทำให้มีเรื่องบนท้องถนนเอาได้ง่ายๆ แต่ถึงผมจะไม่ขับรถ ผมก็สามารถดูถูกคนที่ขับรถอย่างผิดๆ อย่างที่ว่าด้วยความภูมิใจ
ผมเชื่อว่า หากจราจรเอาจริงกับความผิดเล็กๆ น้อยๆ อย่างที่ผมว่ามา และหามาตรการลงโทษที่แรงพอที่จะทำให้คนทำผิดมีจิตสำนึกในการขับรถมากขึ้นแล้ว ไม่เพียงตำรวจจราจรจะไม่ต้องเหนื่อยดังที่เห็นในวันนี้เท่านั้น หากแต่ยังมีอีกหลายหน่วยงานและหลายคนที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ต้องเหนื่อยอีกด้วย
แต่ถึงกระนั้น วิธีแก้ที่ดีที่สุดก็ยังคงหนีไม่พ้นคนขับรถเองที่ต้องปรับยกระดับจิตสำนึกของตัวเองให้มีความเป็นอารยะบนท้องถนนให้มากขึ้น
ซึ่ง (ประทานเถิดครับ) ผมมองยังไงๆ ก็ยังเห็นว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก คือยากพอๆ กับการเรียกร้องให้ตำรวจจราจรจริงจังต่อการใช้กฎหมาย