งานชิ้นนี้ เป็นงานที่ค่อนข้างแปลกไปชิ้นหนึ่ง เพราะผมจะเขียนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่อ้างถึงพระราชดำรัสแม้แต่น้อย อาจเนื่องมาจากผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับนักวิชาการจำนวนหนึ่ง ที่อธิบายเรื่องนี้ด้วยบทสรุปและความเชื่อของตนเองว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” คืออะไร แล้วไปนำเอาพระราชดำรัสมาอ้าง หรือเอามาช่วยสร้างความชอบธรรมแก่ความเชื่อและความเข้าใจของตนเอง
เราต้องไม่ลืมว่า แต่ละบุคคล แม้จะพูดเรื่องเดียวกัน แต่ความเข้าใจในรายละเอียดเล็กๆ หรือความเข้าใจลึกๆ ก็อาจจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว
แรงบันดาลใจให้ผมเขียนงานชิ้นนี้ขึ้น มีสาเหตุจาก...วันหนึ่งเพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่งเดินทางจากต่างจังหวัดมาพบผม ท่านตั้งคำถามว่า
“คุณยุค ช่วยบอกผมหน่อย อะไร คือ เศรษฐกิจพอเพียง”
ผมตอบว่า
“เรื่องนี้...ผมรู้เรื่องน้อย ท่านน่าจะไปพบผู้รู้อื่นๆ ที่ศึกษาเรื่องนี้โดยตรง”
ท่านกล่าวต่อ ว่าเหตุที่ท่านมาพบผมเพราะท่านคิดไม่ออกว่าสิ่งที่เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียง จะสู้กับกระแสโลกาภิวัตน์ที่เชี่ยวกรากได้อย่างไร
พอพูดถึงคำว่า โลกาภิวัตน์ ผมจึงเข้าใจว่าทำไมท่านจึงมาขอพบผม
ท่านตั้งประเด็นน่าคิดว่า
“ถ้า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงเฉพาะเพียงแค่ปรัชญา ว่าด้วยพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันเท่านั้นละก็ ใครๆในโลกก็พอเพียงกันได้ทั้งนั้น อย่างเช่น บรรดานายทุนที่ละโมบมุ่งแต่แสวงหากำไรก็ต้องคิดแบบนี้ มีใครบ้างที่คิดจะทำอะไรโดยไม่ประเมินกำลังความสามารถของตน หรือคิดทำอะไรโดยไม่ใช้เหตุและผล ทุกคนต้องวางแผนทำธุรกิจอย่างระมัดระวัง และต้องหาทางป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”
ท่านอาจารย์กล่าวโดยสรุปว่า
“หลักการเหล่านี้ดูครอบจักรวาลอย่างยิ่ง”
ผมฟังท่านตั้งประเด็นคำถาม ก็ดูเข้าท่า
ผมจึงตอบว่า
“อย่าคิดว่า ด็อกเตอร์อย่างผมเข้าใจนะ ผมเองก็ไม่เข้าใจคำว่า พอเพียง ว่าคืออะไรแน่ เพราะแนวคิดทางปรัชญาสามารถตีความ และขยายความได้ร้อยแปดพันประการ”
ผมยกตัวอย่างว่า
วันหนึ่ง ผมเจอเพื่อนมหาเศรษฐีคนหนึ่งมีเงินนับพันๆ ล้าน มีบ้านหรูๆ หลายหลัง มีรถยนต์มากกว่า 10 คัน
ผมถามเพื่อนว่า “อะไรคือ ความพอเพียง”
ท่านตอบแบบพูดเล่นๆ ว่า
“วันนี้ ผมรู้สึกว่า พอเพียง ขึ้นมากแล้ว แต่ถ้ามีเงินเพิ่มอีกสักร้อยล้าน ก็น่าจะ “พอเพียง” มากขึ้น”
อีกวันหนึ่ง ผมนั่งแท็กซี่ นั่งไปสักพักหนึ่งก็อดคุยกันไม่ได้ แท็กซี่สอนผมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกเช่นกัน ซึ่งฟังดูเข้าท่ากว่าเพื่อนมหาเศรษฐี
แท็กซี่บอกว่าเรื่องนี้ง่ายนิดเดียว
“ถ้าเราจนก็ต้องเจียม ถ้าจนไม่เจียมใช้เงินฟุ่มเฟือยก็ฉิบหายแน่ๆ”
ผมเองกลับคิดว่า พอเพียงแบบมหาเศรษฐี กับ พอแบบชาวบ้าน มันคนละ “พอ” กัน และอาจกล่าวได้ว่า ทั้งมหาเศรษฐี และยาจก ที่แท้แล้ว “ไม่พอ”
“พอ” แบบมหาเศรษฐี เกิดจากความรู้สึกว่า ตัวเองมีมาก มากจนรู้สึกว่า มีพอแล้ว แต่ยังโลภอยู่ เพราะถ้ายังมีโอกาสดีๆ สามารถหาเงินได้อีก ก็จะหาเพิ่มขึ้น ส่วน “พอ” แบบยาจกนั้นจำต้อง “พอ” แต่ลึกๆ จะรู้สึกว่าที่มีอยู่ยัง “ไม่พอ”
“พอ” แบบพุทธศาสนา คือการสลัดหลุดจากโซ่ตรวนแห่งอวิชชา ตัวตน และบรรดากิเลสตัณหาที่ครอบงำและบงการชีวิตเรา
“พอ” แบบเต๋า คือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงช่วงชีวิตที่เรารู้ตัวว่าแก่แล้วจึงทิ้งชีวิตแบบเก่าในวัยหนุ่ม (การต่อสู้ คือ ชีวิต) หันกลับไปใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และอยู่กับธรรมชาติ
คนที่ “พอ” ทั้งแบบพุทธ แบบเต๋านี้ จะพออย่างมีความสุข
ดังนั้น คำว่า “พอ” จริงๆ ทั้งแบบพุทธ และเต๋าจึงไม่สามารถอธิบายเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้มากนัก เพราะผมสงสัยว่า “พอ” ในที่นี้คือ พออยู่ พอกิน ไม่อดอยาก ไม่เป็นหนี้ใคร และมีเงินเหลือ “พอ” สำหรับลูกๆ ที่จะใช้จ่ายในการศึกษาและสิ่งจำเป็นอื่นๆ
ถือได้ว่าเป็น ความ “พอ” ที่ต้องถูกสร้างขึ้น เพราะคนจำนวนมาก โดยเฉพาะคนยากคนจน ในประเทศไทยยังมีชีวิตที่ “ไม่พอ” เพราะหลงตกอยู่ภายใต้วัฏจักรของหนี้สินที่ล้นพ้นตัว และกระแสวัฒนธรรมบริโภคนิยม
ผมหันบอกเพื่อนอาจารย์ว่า ข้าราชการ โดยเฉพาะอาจารย์ ก็น่าเห็นใจ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงต้องกู้เงินมาใช้
คำพูดนี้เล่นเอาท่านอาจารย์หน้าเสียเพราะท่านเองก็ต้องกู้ เงินจำนวนมาก
ขณะกำลังคุยกันอย่างออกรส มองไปเห็นเด็กเล็กคนหนึ่งร้องไห้อยู่ และดิ้นไปดิ้นมาตรงกลางห้องจนพ่อแม่ต้องช่วยกันปลอบ เด็กก็ไม่หยุดร้อง
ท่านบ่นกับผมว่า
“เด็กๆ ปัจจุบันไม่เหมือนสมัยเก่า”
เด็กอยากได้ของเล่น แต่พ่อไม่ยอมซื้อให้เพราะราคาแพง แม่เลยบอกให้พ่อไปซื้อมาให้ เพื่อลูกจะได้หยุดร้อง
ผมมองหน้าอาจารย์ และกล่าวว่า
“เดี๋ยวนี้เราต้องเลี้ยงลูกด้วยเงินกันทั้งนั้น เราทุกคนต้องใช้เงินในยุคนี้มากกว่าที่รุ่นพ่อรุ่นแม่ใช้นับสิบๆ เท่า”
ไม่ใช่ความผิดของใคร หรือความผิดปกติของเด็กๆ เพราะเราทุกคนไม่มีใครคิดว่า สื่อโฆษณา และภาพยนตร์มีอันตรายใหญ่หลวงต่อความนึกคิดของผู้คนและเยาวชน
เราไม่เคยคิดว่า ทุกวันนี้สื่อโฆษณามีอิทธิพลมหาศาล เพราะสามารถโปรแกรมจิตใจมนุษย์ทุกคนได้
ผมอธิบายต่อว่า
“รัฐไทยปัจจุบันประกาศ นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง แต่ท่านไม่ได้ทำอะไรมากนักในด้านนี้ เพราะทีมเศรษฐกิจทั้งหมดเรียนมาจากตำราเศรษฐศาสตร์กระแสหลักด้วยกันทั้งนั้น คนพวกนี้จึงยังหลงเชื่อลัทธิเศรษฐศาสตร์การตลาดอยู่ ส่งผลทำให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปรัชญานามธรรม”
สรุปแล้ว รัฐบาลชุดนี้ จึงไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรม ที่จะอภิวัฒน์เกษตรกรรมไทยทั้งระบบสู่ระบบการผลิตแบบพอเพียง ไม่มีนโยบายแก้ปัญหาบริโภคนิยม และแก้ปัญหาหนี้สินคนจน และช่วยข้าราชการชั้นล่างให้พออยู่พอกิน
ที่สำคัญรัฐบาลไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรมที่จะสกัดกระแสบริโภคนิยมที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงในหมู่เยาวชน
ผมคิดว่า “รัฐ” แม้ว่าจะมีเวลาจำกัด แต่ก็ต้องเริ่มวางนโยบายแก้ปัญหาหนี้สินอย่างเป็นรูปธรรม รัฐควรปรับฐานเงินเดือนข้าราชการใหม่ทั้งหมด อย่างน้อยที่สุดต้องให้ข้าราชการชั้นล่างสุดสามารถมีชีวิตอย่างพอเพียงได้จริง และควรยกเลิกระบบลูกจ้างชั่วคราว เพื่อให้ทุกคนมีฐานะเป็นข้าราชการอย่างเท่าเทียมกัน
ในเวลาเดียวกัน รัฐต้องเริ่มสร้าง “วัฒนธรรมพอเพียง” ในระดับกว้าง อย่างมีคลื่นกระแส ต่อเนื่อง และมุ่งเป้าสู่การสร้าง “วัฒนธรรมและเยาวชนพอเพียง” เพื่อช่วยสกัดกระแสบริโภคนิยมแบบสุดขั้ว ที่แพร่ระบาดในหมู่วัยรุ่นสมัยใหม่
คุยไป คุยมา เดี๋ยวจะนอกประเด็นไป
ผมขอหันกลับมาอธิบายคำว่า เศรษฐกิจพอเพียง ผมจะอธิบายตามความเข้าใจของผมเอง ซึ่งจะต่างจากนักวิชาการคนอื่นๆ ที่อธิบายกันมาพอสมควร และผมจะอธิบายเรื่องนี้ในมิติ หรือในกรอบของระบบโลกทั้งใบ ไม่ใช่มิติประเทศไทยเท่านั้น
“อะไร” แน่คือ เศรษฐกิจพอเพียง
ผู้อ่านคงได้ยินเรื่องราวของบรรดาปราชญ์ชาวบ้านที่มีชื่อเสียง และผลงานของท่านเหล่านี้มาบ้าง อย่างเช่น เรื่องราวของผู้ใหญ่วิบูลย์ ผู้ใหญ่อัมพร พระอาจารย์สุบิน เรื่องราวของครูชก พี่ประยงค์ พระเทพคุณาภรณ์ และพ่อท่านโพธิรักษ์ เป็นต้น ปราชญ์ชาวบ้านเหล่านี้เป็นทั้งนักคิดและนักจัดตั้งองค์กรในเวลาเดียวกัน พวกเขาได้สร้างระบบชุมชนแบบใหม่ๆขึ้นมาหลายแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน (โดยไม่ใช้สารเคมี) รวมทั้งชุมชนทำการผลิตสินค้าพื้นบ้าน และยาสมุนไพร
หลักพื้นฐานประการแรกคือ พวกเขาจะผลิตทุกอย่างที่ต้องใช้ในการบริโภคเอง ผลผลิตที่เหลือใช้จึงจะนำออกขาย
ประการที่สอง พวกเขาจะอยู่อย่างประหยัด โดยพยายามลดการบริโภคสินค้าที่ไม่จำเป็น หรือฟุ่มเฟือย ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะไม่ดื่มเหล้า และสูบบุหรี่
ประการที่สาม พวกเขาจะรวมกลุ่มกันจัดตั้งชุมชนเพื่อช่วยเหลือกันเองในหลายลักษณะ เช่น รวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ จัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ มีการวางแผนแม่บทชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกัน บางแห่งมีการผลิตและใช้เงินของตนเองที่เรียกว่า “เบี้ยกุดชุม” และรวมทั้งมีการสร้างระบบเครือข่ายชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันในระหว่างชุมชนต่างๆ
หลักเศรษฐกิจพอเพียงฉบับชาวบ้านทุกฉบับ ไม่ว่าจะเป็นของ ผู้ใหญ่วิบูลย์ หรือของคนอื่นๆ จะนำเสนอแบบเป็นรูปธรรมมากๆ กล่าวคือ จะเสนอเป็นแบบ how to หรือหลักการปฏิบัติที่ชัดเจน
ที่สำคัญ บรรดากลุ่มชาวชุมชนพอเพียงจะมีการสรุปบทเรียนแลกเปลี่ยนกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และพัฒนารูปแบบ รวมถึงวิธีการอย่างต่อเนื่อง
คำว่า “พอเพียง” ของปราชญ์ชาวบ้าน จึงน่าจะหมายถึง “พออยู่พอกิน ไม่เป็นหนี้ใคร”
“พอเพียง” ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงบุคคลแต่ละบุคคลเท่านั้น แต่มุ่งหมายถึงชุมชน ทั้งชุมชน และปัจจุบันคำว่า พอเพียง ในที่นี้ กินความไปถึงการดำเนินชีวิตอย่างมี “ความสุข” ด้วย
ความสุข ในที่นี้น่าจะหมายถึงการใช้ชีวิตง่ายๆ อยู่กับธรรมชาติอย่างสงบเย็น (แบบพุทธ) และการมีชีวิตที่ยั่งยืน และมีสุขภาพที่ดี (แบบเต๋า)
ที่กล่าวมาข้างต้นคือ พัฒนาการขั้นแรกของการสร้างฐานเศรษฐกิจระดับครอบครัว และชุมชน ที่มีความพอมีพอกินเป็นฐาน (ยังมีต่อ)
เราต้องไม่ลืมว่า แต่ละบุคคล แม้จะพูดเรื่องเดียวกัน แต่ความเข้าใจในรายละเอียดเล็กๆ หรือความเข้าใจลึกๆ ก็อาจจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว
แรงบันดาลใจให้ผมเขียนงานชิ้นนี้ขึ้น มีสาเหตุจาก...วันหนึ่งเพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่งเดินทางจากต่างจังหวัดมาพบผม ท่านตั้งคำถามว่า
“คุณยุค ช่วยบอกผมหน่อย อะไร คือ เศรษฐกิจพอเพียง”
ผมตอบว่า
“เรื่องนี้...ผมรู้เรื่องน้อย ท่านน่าจะไปพบผู้รู้อื่นๆ ที่ศึกษาเรื่องนี้โดยตรง”
ท่านกล่าวต่อ ว่าเหตุที่ท่านมาพบผมเพราะท่านคิดไม่ออกว่าสิ่งที่เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียง จะสู้กับกระแสโลกาภิวัตน์ที่เชี่ยวกรากได้อย่างไร
พอพูดถึงคำว่า โลกาภิวัตน์ ผมจึงเข้าใจว่าทำไมท่านจึงมาขอพบผม
ท่านตั้งประเด็นน่าคิดว่า
“ถ้า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงเฉพาะเพียงแค่ปรัชญา ว่าด้วยพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันเท่านั้นละก็ ใครๆในโลกก็พอเพียงกันได้ทั้งนั้น อย่างเช่น บรรดานายทุนที่ละโมบมุ่งแต่แสวงหากำไรก็ต้องคิดแบบนี้ มีใครบ้างที่คิดจะทำอะไรโดยไม่ประเมินกำลังความสามารถของตน หรือคิดทำอะไรโดยไม่ใช้เหตุและผล ทุกคนต้องวางแผนทำธุรกิจอย่างระมัดระวัง และต้องหาทางป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”
ท่านอาจารย์กล่าวโดยสรุปว่า
“หลักการเหล่านี้ดูครอบจักรวาลอย่างยิ่ง”
ผมฟังท่านตั้งประเด็นคำถาม ก็ดูเข้าท่า
ผมจึงตอบว่า
“อย่าคิดว่า ด็อกเตอร์อย่างผมเข้าใจนะ ผมเองก็ไม่เข้าใจคำว่า พอเพียง ว่าคืออะไรแน่ เพราะแนวคิดทางปรัชญาสามารถตีความ และขยายความได้ร้อยแปดพันประการ”
ผมยกตัวอย่างว่า
วันหนึ่ง ผมเจอเพื่อนมหาเศรษฐีคนหนึ่งมีเงินนับพันๆ ล้าน มีบ้านหรูๆ หลายหลัง มีรถยนต์มากกว่า 10 คัน
ผมถามเพื่อนว่า “อะไรคือ ความพอเพียง”
ท่านตอบแบบพูดเล่นๆ ว่า
“วันนี้ ผมรู้สึกว่า พอเพียง ขึ้นมากแล้ว แต่ถ้ามีเงินเพิ่มอีกสักร้อยล้าน ก็น่าจะ “พอเพียง” มากขึ้น”
อีกวันหนึ่ง ผมนั่งแท็กซี่ นั่งไปสักพักหนึ่งก็อดคุยกันไม่ได้ แท็กซี่สอนผมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกเช่นกัน ซึ่งฟังดูเข้าท่ากว่าเพื่อนมหาเศรษฐี
แท็กซี่บอกว่าเรื่องนี้ง่ายนิดเดียว
“ถ้าเราจนก็ต้องเจียม ถ้าจนไม่เจียมใช้เงินฟุ่มเฟือยก็ฉิบหายแน่ๆ”
ผมเองกลับคิดว่า พอเพียงแบบมหาเศรษฐี กับ พอแบบชาวบ้าน มันคนละ “พอ” กัน และอาจกล่าวได้ว่า ทั้งมหาเศรษฐี และยาจก ที่แท้แล้ว “ไม่พอ”
“พอ” แบบมหาเศรษฐี เกิดจากความรู้สึกว่า ตัวเองมีมาก มากจนรู้สึกว่า มีพอแล้ว แต่ยังโลภอยู่ เพราะถ้ายังมีโอกาสดีๆ สามารถหาเงินได้อีก ก็จะหาเพิ่มขึ้น ส่วน “พอ” แบบยาจกนั้นจำต้อง “พอ” แต่ลึกๆ จะรู้สึกว่าที่มีอยู่ยัง “ไม่พอ”
“พอ” แบบพุทธศาสนา คือการสลัดหลุดจากโซ่ตรวนแห่งอวิชชา ตัวตน และบรรดากิเลสตัณหาที่ครอบงำและบงการชีวิตเรา
“พอ” แบบเต๋า คือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงช่วงชีวิตที่เรารู้ตัวว่าแก่แล้วจึงทิ้งชีวิตแบบเก่าในวัยหนุ่ม (การต่อสู้ คือ ชีวิต) หันกลับไปใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และอยู่กับธรรมชาติ
คนที่ “พอ” ทั้งแบบพุทธ แบบเต๋านี้ จะพออย่างมีความสุข
ดังนั้น คำว่า “พอ” จริงๆ ทั้งแบบพุทธ และเต๋าจึงไม่สามารถอธิบายเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้มากนัก เพราะผมสงสัยว่า “พอ” ในที่นี้คือ พออยู่ พอกิน ไม่อดอยาก ไม่เป็นหนี้ใคร และมีเงินเหลือ “พอ” สำหรับลูกๆ ที่จะใช้จ่ายในการศึกษาและสิ่งจำเป็นอื่นๆ
ถือได้ว่าเป็น ความ “พอ” ที่ต้องถูกสร้างขึ้น เพราะคนจำนวนมาก โดยเฉพาะคนยากคนจน ในประเทศไทยยังมีชีวิตที่ “ไม่พอ” เพราะหลงตกอยู่ภายใต้วัฏจักรของหนี้สินที่ล้นพ้นตัว และกระแสวัฒนธรรมบริโภคนิยม
ผมหันบอกเพื่อนอาจารย์ว่า ข้าราชการ โดยเฉพาะอาจารย์ ก็น่าเห็นใจ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงต้องกู้เงินมาใช้
คำพูดนี้เล่นเอาท่านอาจารย์หน้าเสียเพราะท่านเองก็ต้องกู้ เงินจำนวนมาก
ขณะกำลังคุยกันอย่างออกรส มองไปเห็นเด็กเล็กคนหนึ่งร้องไห้อยู่ และดิ้นไปดิ้นมาตรงกลางห้องจนพ่อแม่ต้องช่วยกันปลอบ เด็กก็ไม่หยุดร้อง
ท่านบ่นกับผมว่า
“เด็กๆ ปัจจุบันไม่เหมือนสมัยเก่า”
เด็กอยากได้ของเล่น แต่พ่อไม่ยอมซื้อให้เพราะราคาแพง แม่เลยบอกให้พ่อไปซื้อมาให้ เพื่อลูกจะได้หยุดร้อง
ผมมองหน้าอาจารย์ และกล่าวว่า
“เดี๋ยวนี้เราต้องเลี้ยงลูกด้วยเงินกันทั้งนั้น เราทุกคนต้องใช้เงินในยุคนี้มากกว่าที่รุ่นพ่อรุ่นแม่ใช้นับสิบๆ เท่า”
ไม่ใช่ความผิดของใคร หรือความผิดปกติของเด็กๆ เพราะเราทุกคนไม่มีใครคิดว่า สื่อโฆษณา และภาพยนตร์มีอันตรายใหญ่หลวงต่อความนึกคิดของผู้คนและเยาวชน
เราไม่เคยคิดว่า ทุกวันนี้สื่อโฆษณามีอิทธิพลมหาศาล เพราะสามารถโปรแกรมจิตใจมนุษย์ทุกคนได้
ผมอธิบายต่อว่า
“รัฐไทยปัจจุบันประกาศ นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง แต่ท่านไม่ได้ทำอะไรมากนักในด้านนี้ เพราะทีมเศรษฐกิจทั้งหมดเรียนมาจากตำราเศรษฐศาสตร์กระแสหลักด้วยกันทั้งนั้น คนพวกนี้จึงยังหลงเชื่อลัทธิเศรษฐศาสตร์การตลาดอยู่ ส่งผลทำให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปรัชญานามธรรม”
สรุปแล้ว รัฐบาลชุดนี้ จึงไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรม ที่จะอภิวัฒน์เกษตรกรรมไทยทั้งระบบสู่ระบบการผลิตแบบพอเพียง ไม่มีนโยบายแก้ปัญหาบริโภคนิยม และแก้ปัญหาหนี้สินคนจน และช่วยข้าราชการชั้นล่างให้พออยู่พอกิน
ที่สำคัญรัฐบาลไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรมที่จะสกัดกระแสบริโภคนิยมที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงในหมู่เยาวชน
ผมคิดว่า “รัฐ” แม้ว่าจะมีเวลาจำกัด แต่ก็ต้องเริ่มวางนโยบายแก้ปัญหาหนี้สินอย่างเป็นรูปธรรม รัฐควรปรับฐานเงินเดือนข้าราชการใหม่ทั้งหมด อย่างน้อยที่สุดต้องให้ข้าราชการชั้นล่างสุดสามารถมีชีวิตอย่างพอเพียงได้จริง และควรยกเลิกระบบลูกจ้างชั่วคราว เพื่อให้ทุกคนมีฐานะเป็นข้าราชการอย่างเท่าเทียมกัน
ในเวลาเดียวกัน รัฐต้องเริ่มสร้าง “วัฒนธรรมพอเพียง” ในระดับกว้าง อย่างมีคลื่นกระแส ต่อเนื่อง และมุ่งเป้าสู่การสร้าง “วัฒนธรรมและเยาวชนพอเพียง” เพื่อช่วยสกัดกระแสบริโภคนิยมแบบสุดขั้ว ที่แพร่ระบาดในหมู่วัยรุ่นสมัยใหม่
คุยไป คุยมา เดี๋ยวจะนอกประเด็นไป
ผมขอหันกลับมาอธิบายคำว่า เศรษฐกิจพอเพียง ผมจะอธิบายตามความเข้าใจของผมเอง ซึ่งจะต่างจากนักวิชาการคนอื่นๆ ที่อธิบายกันมาพอสมควร และผมจะอธิบายเรื่องนี้ในมิติ หรือในกรอบของระบบโลกทั้งใบ ไม่ใช่มิติประเทศไทยเท่านั้น
“อะไร” แน่คือ เศรษฐกิจพอเพียง
ผู้อ่านคงได้ยินเรื่องราวของบรรดาปราชญ์ชาวบ้านที่มีชื่อเสียง และผลงานของท่านเหล่านี้มาบ้าง อย่างเช่น เรื่องราวของผู้ใหญ่วิบูลย์ ผู้ใหญ่อัมพร พระอาจารย์สุบิน เรื่องราวของครูชก พี่ประยงค์ พระเทพคุณาภรณ์ และพ่อท่านโพธิรักษ์ เป็นต้น ปราชญ์ชาวบ้านเหล่านี้เป็นทั้งนักคิดและนักจัดตั้งองค์กรในเวลาเดียวกัน พวกเขาได้สร้างระบบชุมชนแบบใหม่ๆขึ้นมาหลายแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน (โดยไม่ใช้สารเคมี) รวมทั้งชุมชนทำการผลิตสินค้าพื้นบ้าน และยาสมุนไพร
หลักพื้นฐานประการแรกคือ พวกเขาจะผลิตทุกอย่างที่ต้องใช้ในการบริโภคเอง ผลผลิตที่เหลือใช้จึงจะนำออกขาย
ประการที่สอง พวกเขาจะอยู่อย่างประหยัด โดยพยายามลดการบริโภคสินค้าที่ไม่จำเป็น หรือฟุ่มเฟือย ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะไม่ดื่มเหล้า และสูบบุหรี่
ประการที่สาม พวกเขาจะรวมกลุ่มกันจัดตั้งชุมชนเพื่อช่วยเหลือกันเองในหลายลักษณะ เช่น รวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ จัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ มีการวางแผนแม่บทชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกัน บางแห่งมีการผลิตและใช้เงินของตนเองที่เรียกว่า “เบี้ยกุดชุม” และรวมทั้งมีการสร้างระบบเครือข่ายชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันในระหว่างชุมชนต่างๆ
หลักเศรษฐกิจพอเพียงฉบับชาวบ้านทุกฉบับ ไม่ว่าจะเป็นของ ผู้ใหญ่วิบูลย์ หรือของคนอื่นๆ จะนำเสนอแบบเป็นรูปธรรมมากๆ กล่าวคือ จะเสนอเป็นแบบ how to หรือหลักการปฏิบัติที่ชัดเจน
ที่สำคัญ บรรดากลุ่มชาวชุมชนพอเพียงจะมีการสรุปบทเรียนแลกเปลี่ยนกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และพัฒนารูปแบบ รวมถึงวิธีการอย่างต่อเนื่อง
คำว่า “พอเพียง” ของปราชญ์ชาวบ้าน จึงน่าจะหมายถึง “พออยู่พอกิน ไม่เป็นหนี้ใคร”
“พอเพียง” ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงบุคคลแต่ละบุคคลเท่านั้น แต่มุ่งหมายถึงชุมชน ทั้งชุมชน และปัจจุบันคำว่า พอเพียง ในที่นี้ กินความไปถึงการดำเนินชีวิตอย่างมี “ความสุข” ด้วย
ความสุข ในที่นี้น่าจะหมายถึงการใช้ชีวิตง่ายๆ อยู่กับธรรมชาติอย่างสงบเย็น (แบบพุทธ) และการมีชีวิตที่ยั่งยืน และมีสุขภาพที่ดี (แบบเต๋า)
ที่กล่าวมาข้างต้นคือ พัฒนาการขั้นแรกของการสร้างฐานเศรษฐกิจระดับครอบครัว และชุมชน ที่มีความพอมีพอกินเป็นฐาน (ยังมีต่อ)