ตลาดหลอดไฟยังยิ้มได้ คาดปีนี้เติบโตต่อเนื่องที่ 4-5% หรือกว่า 5,000 ล้านบาท สวนกระแสเศรษฐกิจชะลอตัว เหตุเป็นสินค้าจำเป็นต้องใช้ บวกภาครัฐผุดนโยบายเปลี่ยนการใช้หลอดไส้สู่หลอดประหยัด เสริมทัพด้วยกลุ่มผลัดเปลี่ยนสินค้ามีสูง “ฟิลิปส์”พบแสงสว่าง ชูโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” หวังต่อยอดธุรกิจ ขายพ่วงหลอดฟลูออเรสเซนต์ ขั้วเขียว เจาะกลุ่มบริษัทและโครงการ คาดช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้กลุ่มดังกล่าวเป็น 20% มั่นใจปีนี้มีรายได้เติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักตามเป้าที่วางไว้
นายธนากร วงศ์วิเศษ ผู้จัดการทั่วไป ส่วนกิจการไฟฟ้าและอุปกรณ์แสงสว่างฟิลิปส์ บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ถึงแม้ว่าสภาพเศรษฐกิจและการเมืองในปีนี้จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่างๆก็ตาม แต่สำหรับกลุ่มตลาดหลอดไฟแล้ว กลับไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องจากหลอดไฟถือเป็นสินค้าที่มีจำเป็นต้องใช้ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ก็ตาม
ขณะเดียวกันภาครัฐเองก็ให้การสนับสนุน ในการรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันมาใช้หลอดประหยัดไฟแทนหลอดไส้เช่นที่ผ่านมา นอกจากนี้ในส่วนของกลุ่มลูกค้าที่มีการผลัดเปลี่ยนการใช้หลอดไฟใหม่แทนอันเดิมก็มีมูลค่าตลาดค่อนข้างใหญ่ ดังนั้นจึงมองว่า ปัจจัยดังกล่าวจะยิ่งส่งผลให้ตลาดหลอดไฟรวมยังคงมีทิศทางการเติบโตที่ดีอยู่ อย่างน้อย 4-5% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,000 กว่าล้านบาท มาจาก กลุ่มหลอดฟลูออเรสเซนต์ 40%, กลุ่มหลอดประหยัด 40%, กลุ่มหลอดไส้ 13-15% และที่เหลือเป็นกลุ่มหลอดไฟพิเศษอื่นๆ
ทั้งนี้การเปลี่ยนจากหลอดไส้มาเป็นหลอดประหยัดนั้น จะช่วยส่งเสริมให้ตลาดมีอัตราการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าแนวโน้มความต้องการหลอดประหยัดจะเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้มีระดับราคาเฉลี่ยลดลงก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันหลอดประหยัดมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาท ต่อ 1 หลอด ส่วนหลอดไส้อยู่ที่ 10-20 บาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตามทางบริษัทฯมองความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจในกลุ่มผลัดเปลี่ยนการใช้หลอดไฟใหม่แทนอันเดิมมากกว่า เพราะจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษในปี 2547 พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุกว่า 41 ล้านหลอด ดังนั้นตลาดผลัดเปลี่ยนจึงมีความน่าใจ ในการที่จะนำเอาผลิตภัณฑ์หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขั้วเขียว ที่เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีคุณสมบัติประหยัดไฟ และไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมมานำเนอต่อผู้บริโภค ก็น่าจะช่วยผลักดันให้บริษัทฯมีรายได้จากกลุ่มหลอดไฟเติบโตขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก ตามเป้าที่วางไว้ได้
โดยกลยุทธ์ทางการตลาดที่วางไว้นั้น จะทำผ่านโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” บริการสำหรับลูกค้ากลุ่มโครงการและบริษัทต่างๆที่มีจำนวนการใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในปริมาณมากๆ ในการบริหารจัดการหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุอย่างถูกวิธี ด้วยวิธีการรีไซเคิล ผ่านโรงงานรีไซเคิลของบริษัท โดยลูกค้าจะไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
“ขณะที่ราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขั้วเขียว เทียบกับ ภัณฑ์หลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดาของฟิลิปส์เอง จะมีราคาสูงกว่าประมาณ 40% ดังนั้นจากเดิมสัดส่วนการขายภัณฑ์หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขั้วเขียวที่มีเพียง 10% ของการจำหน่ายหลอดไฟทั้งหมด น่าจะเพิ่มเป็น 20% ได้ไม่ยาก จากการขายผ่านโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” ที่ประชาสัมพันธ์ออกไปยังกลุ่มลูกค้าบริษัทต่างๆ นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจำหน่ายอีก 4 รายใหญ่ ครอบคลุมทั่วประเทศ ที่จะช่วยดูแลจัดการจัดเก็บหลอดไฟที่หมดอายุจากลูกค้ามารีไซเคิลยังโรงงานอีกทางหนึ่งด้วย”
พร้อมผลักดันให้สัดส่วนการขายหลอดฟลูออเรสเซนต์ ขั้วเขียว ผ่านช่องทางบริษัทและโครงการต่างๆ เพิ่มเป็น 40% และอีก 60% เป็นกลุ่มคอนซูเมอร์อยู่ มั่นใจว่าการผลักดันการขายดังกล่าวไม่เกิน 5 ปี สัดส่วนรายได้ระหว่างคอนซูเมอร์และบริษัทจะเท่ากัน
**หลอดไฟแอลอีดีไปได้สวย**
อย่างไรก็ตามนายธนากร ยังได้กล่าวถึงการทำตลาดในกลุ่มหลอดไฟพิเศษประเภทเทคโนโลยีแอลอีดีว่า ปีนี้ยังคงได้รับการตอบรับที่ดี โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มโครงการต่างๆ ซึ่งล่าสุดขณะนี้มีโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ประมาณ 10 โครงการทั้งขนาดใหญ่และเล็ก นอกจากนี้ช่วงไตรมาสสามเป็นต้นไปทางบริษัทฯจะเริ่มทำตลาดหลอดไฟแอลอีดีในกลุ่มคอนซูเมอร์อย่างจริงจัง หลังได้ทดลองทำตลาดนำเอาหลอดไฟแอลอีดีประเภทไฟประดับมามำตลาดในปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค
นายธนากร วงศ์วิเศษ ผู้จัดการทั่วไป ส่วนกิจการไฟฟ้าและอุปกรณ์แสงสว่างฟิลิปส์ บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ถึงแม้ว่าสภาพเศรษฐกิจและการเมืองในปีนี้จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่างๆก็ตาม แต่สำหรับกลุ่มตลาดหลอดไฟแล้ว กลับไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องจากหลอดไฟถือเป็นสินค้าที่มีจำเป็นต้องใช้ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ก็ตาม
ขณะเดียวกันภาครัฐเองก็ให้การสนับสนุน ในการรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันมาใช้หลอดประหยัดไฟแทนหลอดไส้เช่นที่ผ่านมา นอกจากนี้ในส่วนของกลุ่มลูกค้าที่มีการผลัดเปลี่ยนการใช้หลอดไฟใหม่แทนอันเดิมก็มีมูลค่าตลาดค่อนข้างใหญ่ ดังนั้นจึงมองว่า ปัจจัยดังกล่าวจะยิ่งส่งผลให้ตลาดหลอดไฟรวมยังคงมีทิศทางการเติบโตที่ดีอยู่ อย่างน้อย 4-5% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,000 กว่าล้านบาท มาจาก กลุ่มหลอดฟลูออเรสเซนต์ 40%, กลุ่มหลอดประหยัด 40%, กลุ่มหลอดไส้ 13-15% และที่เหลือเป็นกลุ่มหลอดไฟพิเศษอื่นๆ
ทั้งนี้การเปลี่ยนจากหลอดไส้มาเป็นหลอดประหยัดนั้น จะช่วยส่งเสริมให้ตลาดมีอัตราการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าแนวโน้มความต้องการหลอดประหยัดจะเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้มีระดับราคาเฉลี่ยลดลงก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันหลอดประหยัดมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาท ต่อ 1 หลอด ส่วนหลอดไส้อยู่ที่ 10-20 บาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตามทางบริษัทฯมองความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจในกลุ่มผลัดเปลี่ยนการใช้หลอดไฟใหม่แทนอันเดิมมากกว่า เพราะจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษในปี 2547 พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุกว่า 41 ล้านหลอด ดังนั้นตลาดผลัดเปลี่ยนจึงมีความน่าใจ ในการที่จะนำเอาผลิตภัณฑ์หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขั้วเขียว ที่เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีคุณสมบัติประหยัดไฟ และไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมมานำเนอต่อผู้บริโภค ก็น่าจะช่วยผลักดันให้บริษัทฯมีรายได้จากกลุ่มหลอดไฟเติบโตขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก ตามเป้าที่วางไว้ได้
โดยกลยุทธ์ทางการตลาดที่วางไว้นั้น จะทำผ่านโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” บริการสำหรับลูกค้ากลุ่มโครงการและบริษัทต่างๆที่มีจำนวนการใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในปริมาณมากๆ ในการบริหารจัดการหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุอย่างถูกวิธี ด้วยวิธีการรีไซเคิล ผ่านโรงงานรีไซเคิลของบริษัท โดยลูกค้าจะไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
“ขณะที่ราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขั้วเขียว เทียบกับ ภัณฑ์หลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดาของฟิลิปส์เอง จะมีราคาสูงกว่าประมาณ 40% ดังนั้นจากเดิมสัดส่วนการขายภัณฑ์หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขั้วเขียวที่มีเพียง 10% ของการจำหน่ายหลอดไฟทั้งหมด น่าจะเพิ่มเป็น 20% ได้ไม่ยาก จากการขายผ่านโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” ที่ประชาสัมพันธ์ออกไปยังกลุ่มลูกค้าบริษัทต่างๆ นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจำหน่ายอีก 4 รายใหญ่ ครอบคลุมทั่วประเทศ ที่จะช่วยดูแลจัดการจัดเก็บหลอดไฟที่หมดอายุจากลูกค้ามารีไซเคิลยังโรงงานอีกทางหนึ่งด้วย”
พร้อมผลักดันให้สัดส่วนการขายหลอดฟลูออเรสเซนต์ ขั้วเขียว ผ่านช่องทางบริษัทและโครงการต่างๆ เพิ่มเป็น 40% และอีก 60% เป็นกลุ่มคอนซูเมอร์อยู่ มั่นใจว่าการผลักดันการขายดังกล่าวไม่เกิน 5 ปี สัดส่วนรายได้ระหว่างคอนซูเมอร์และบริษัทจะเท่ากัน
**หลอดไฟแอลอีดีไปได้สวย**
อย่างไรก็ตามนายธนากร ยังได้กล่าวถึงการทำตลาดในกลุ่มหลอดไฟพิเศษประเภทเทคโนโลยีแอลอีดีว่า ปีนี้ยังคงได้รับการตอบรับที่ดี โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มโครงการต่างๆ ซึ่งล่าสุดขณะนี้มีโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ประมาณ 10 โครงการทั้งขนาดใหญ่และเล็ก นอกจากนี้ช่วงไตรมาสสามเป็นต้นไปทางบริษัทฯจะเริ่มทำตลาดหลอดไฟแอลอีดีในกลุ่มคอนซูเมอร์อย่างจริงจัง หลังได้ทดลองทำตลาดนำเอาหลอดไฟแอลอีดีประเภทไฟประดับมามำตลาดในปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค