.
ผู้เขียนขอออกตัวก่อนว่าบทความนี้เป็นความเห็นทางวิชาการในเรื่องสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของผู้บริสุทธิ์ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นเรื่องที่ประชาชนจะต้องเรียกร้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เอาเอง หรือเป็นเรื่องที่รัฐหรือองค์กรของรัฐ (State Organisation) จะต้องดูแล ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของประชาชน
ข่าวจากสื่อมวลชนเรื่องหมายจับชายสองคนคือนายปรัชญา ปรีชาเวช และนายยุทธพงศ์ กิติศรีวรพันธ์ เป็นตัวอย่างของกรณีศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Procedure Due Process of Law) และอำนาจการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของประชาชนได้เป็นอย่างดี การที่ชายสองคนถูกขอให้ออกหมายจับ โดยเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะมีภาพในทีวีวงจรปิด ในบริเวณใกล้กับสถานที่เกิดเหตุการณ์ระเบิด และศาลซึ่งเป็นองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ออกหมายจับตามคำร้องของเจ้าพนักงานตำรวจ ชายสองคนจึงถูกนำเข้าไปสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยมีหมายจับของศาล และเปลี่ยนสถานะจากบุคคลผู้บริสุทธิ์โดยทั่วไปเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาในทันที
ในทีวีวงจรปิดคงไม่ได้มีเฉพาะภาพชายสองคนที่ปรากฏอยู่ ผู้คนที่เดินในบริเวณนั้นก็คงจะมีภาพปรากฏอยู่ด้วย แต่คนอื่นไม่มีหมายจับ สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของสองคนที่ถูกหมายจับจึงแตกต่างจากสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นที่ปรากฏภาพในทีวีวงจรปิดเช่นเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน หรือไล่เลี่ยกัน
การที่ชายสองคนถูกเจ้าพนักงานตำรวจขอให้ศาลออกหมายจับต้องมีสิ่งผิดปกติและเป็นพิรุธปรากฏในภาพทีวีวงจรปิด และจะต้องมีหลักฐานอื่นที่ได้จากการสืบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ และการที่ศาลออกหมายจับก็จะต้องปรากฏในคำร้องขอให้ออกหมายจับว่า ชายสองคน มีเหตุอันควรสงสัย และเหตุอันควรสงสัยนั้นอย่างน้อยก็คงจะเป็นภาพที่ปรากฏในทีวีวงจรปิดพร้อมทั้งหลักฐานในทางสืบสวน ซึ่งคงต้องนำมาแสดงต่อศาล เพราะการขอออกหมายจับจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 คือ “(1) เมื่อผู้ต้องหาซึ่งถูกสงสัยโดยมีเหตุอันควร หรือจำเลยเป็นผู้ที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง (2) เมื่อความผิดที่ผู้ต้องหาถูกสงสัยโดยมีเหตุอันควร หรือที่จำเลยถูกฟ้องนั้น มีอัตราโทษอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป (3).....(4).....”
เมื่อศาลออกหมายจับ ชายสองคนถูกนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่มีความผิดอัตราโทษอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไปในทันที สิ่งที่เกิดขึ้นแก่ชายสองคนในกรณีที่เขาไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ สิทธิและเสรีภาพตลอดจนศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของเขา จึงกระทบกระเทือนในทันที
เมื่อเห็นภาพของตนที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ว่าถูกออกหมายจับ และมั่นใจว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ สิทธิในชีวิตร่างกายที่จะไปไหนมาไหนเช่นผู้บริสุทธิ์ สิทธิที่จะได้รับความเสมอภาคเยี่ยงผู้บริสุทธิ์อื่นๆ ที่ไม่ต้องมีหมายจับ ทำให้ชายสองคนเรียกร้องสิ่งที่เกิดจากการกระทำของรัฐที่ไม่เป็นธรรมต่อเขาในทันที โดยแสดงตนทั้งในที่สาธารณะต่อสื่อมวลชนต่อหน้าเจ้าพนักงานตำรวจ ยืนยันว่าเขาเป็นบุคคลในทีวีวงจรปิดแต่ไม่ใช่เป็นคนร้ายที่วางระเบิด และไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเลย (ข่าวไทยโพสต์, มติชน, ไทยรัฐ) ชายสองคนไม่ได้โต้แย้งว่าเขาไม่ใช่คนในภาพทีวีวงจรปิด ทั้งไม่ได้โต้แย้งว่าเขาเพียงแต่เหมือนหรือมีใบหน้าคล้ายคนในทีวีวงจรปิด หรือภาพคนในทีวีวงจรปิดไม่ใช่เขาแต่อย่างใดเลย แต่ยืนยันว่าเขาคือคนที่ปรากฏในทีวีวงจรปิด และมีหมายจับจริง แต่เขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด จึงขอให้เจ้าพนักงานตำรวจถอนหมายจับได้
การไปแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจและยืนยันว่าเป็นคนที่ถูกหมายจับ แต่ไม่ใช่คนที่กระทำความผิด จึงเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหาเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ที่มาอยู่ต่อหน้าเจ้าพนักงานเป็นผู้ต้องหา ในกรณีนี้เจ้าพนักงานจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 คือ ต้องถามชื่อตัว นามสกุล ชาติ บังคับ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งข้อหาให้ทราบ และต้องบอกให้ทราบก่อนว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันเขาในการพิจารณาได้ เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใด ก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้
แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานได้สอบปากคำชายสองคนไว้ในฐานะเป็นพยานแล้วชายสองคนก็กลับไป
การที่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้แจ้งข้อหาให้ทราบ และไม่ได้สอบสวนไว้ในฐานะผู้ต้องหา เพราะการเข้าหาเจ้าพนักงานของชายสองคนนั้น เป็นการเข้าหาเพื่อให้ถอนหมายจับ ซึ่งเจ้าพนักงานต้องทราบเป็นอย่างดีว่า การมาแสดงตัวและยืนยัน ขอให้ถอนหมายจับนั้นเป็นการขอให้ตรวจสอบหรือทบทวนการขอออกหมายจับเสียใหม่ เพราะเขาเป็นคนที่ผู้ที่ใช้อำนาจรัฐจะขอออกหมายจับหรือมีหมายจับไม่ได้ เนื่องจากเขาไม่ได้กระทำความผิดใดๆ เลย ปรากฏตามข่าวว่าเจ้าพนักงานตำรวจไม่ดำเนินการถอนหมายจับได้ เพราะคนที่มาแสดงตัวนั้น เหมือนคนในภาพทีวีวงจรปิด หมายจับไม่ได้ออกมาเพื่อจับชายสองคนดังกล่าว การสอบปากคำคนทั้งสองไว้ในฐานะพยานแล้วให้กลับไป ก็เป็นการที่พนักงานสอบสวนได้เปลี่ยนสถานะของผู้ต้องหามาเป็นพยานในคดีที่มีการออกหมายจับชายสองคนที่เหมือนกับสองคนนี้ไปแล้ว
เมื่อมีความเดือดร้อนเพราะมีหมายจับ ซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ ประกอบกับการมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ทั้งมีความปรารถนาที่จะอยู่อย่างเสมอภาคกับบุคคลผู้บริสุทธิ์ทั่วไป มีสิทธิในชีวิตร่างกายที่จะไปไหนมาไหนได้อย่างบุคคลทั่วไป คนทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อศาล โดยขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับที่ศาลได้อนุมัติให้ออกหมายจับคนร้ายตามภาพในวงจรปิด โดยยืนยันว่าภาพคนในทีวีวงจรปิดและภาพถ่ายที่เจ้าพนักงานตำรวจนำออกเผยแพร่ ซึ่งมีหมายจับนั้นเป็นตัวของเขาเอง แต่เขาทั้งสองไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด เขาได้ไปแสดงหลักฐานยืนยันความบริสุทธิ์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว แต่พนักงานสอบสวนไม่ขอถอนหมายจับให้ศาลได้พิจารณาแล้วยกคำร้อง ซึ่งหมายความว่าศาลไม่ถอนหมายจับ
ทันทีที่ศาลได้มีคำสั่ง พนักงานสอบสวนได้นำหมายจับศาลเลขที่ 526-527/2550 จับกุมคนทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ความผิดต่อชีวิต (พยายาม) ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสองไปสอบสวนในทันที
คนทั้งสองจะคิดอย่างไรก็ตาม แต่ผลของการยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับนั้น เป็นการเรียกร้องหรือร้องขอต่อศาลขอให้ตรวจสอบหรือทบทวนการใช้อำนาจรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ได้ออกหมายจับมาบังคับใช้กับเขา ซึ่งก็คือขอให้ตรวจสอบว่า การยื่นคำร้องขอให้ออกหมายจับของพนักงานตำรวจว่าตัวเขาทั้งสองมีเหตุอันควรสงสัยอย่างไร ในการที่เขาไปเดินอยู่ที่ซีคอนสแควร์ และไปปรากฏภาพทีวีวงจรปิดในที่ดังกล่าว และการออกหมายจับของศาลมีเหตุสงสัยอันสมควรอย่างไรที่ได้ออกหมายจับตามคำร้องขอของเจ้าพนักงานตำรวจ
การใช้สิทธิขอให้ตรวจสอบหรือทบทวนการใช้อำนาจของรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหาหรือผู้เคราะห์ร้ายมีสิทธิกระทำได้ เพราะกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพตลอดจนศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลโดยตรง ซึ่งได้มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่า บุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และมีบทสันนิษฐานว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ดังนั้น เมื่อมีการใช้อำนาจรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งมีผลต่อสิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างกายของเขาที่เขาจะต้องถูกจับ ถูกสอบสวน ถูกคุมขัง ถูกดำเนินคดีต่อไปในอนาคต และกระทบต่อสิทธิในความเสมอภาคที่เขาไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างผู้อื่นซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว จึงเป็นเรื่องที่คนทั้งสองมีสิทธิโดยชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมายที่จะขอให้ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทั้งของเจ้าพนักงานตำรวจผู้ขอออกหมายจับ และศาลที่ให้ออกหมายจับได้
นอกจากฝ่ายผู้ต้องหาจะมีสิทธิที่จะร้องขอให้ทำการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้แล้ว ศาลและเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญายังมีหน้าที่และความผูกพันต้องตรวจสอบการใช้อำนาจของตนเองอีกด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลซึ่งเป็นสถาบันที่มีความผูกพันที่จะต้องให้หลักประกันความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคของประชาชนผู้บริสุทธิ์ หลักประกันความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เป็นหลักพื้นฐานสำคัญของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่ยึดถือระบบนิติรัฐ
และในระบบนิติรัฐนั้น การดำเนินการของรัฐหรือองค์กรของรัฐต้องเป็นการดำเนินการโดยมีประชาชนเป็นเป้าหมาย คือต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มิใช่ถือว่าประชาชนเป็นเพียงเครื่องมือของการดำเนินการของรัฐ โดยจะเอาการดำเนินการของรัฐมาเป็นเป้าหมาย หรือจะเอาประชาชนมาเป็นวัตถุแห่งการกระทำหาได้ไม่
นอกจากนี้การใช้อำนาจศาลยังมีความผูกพันถึงการใช้ดุลพินิจโดยปราศจากข้อบกพร่องอีกด้วย ความผูกพันของศาลดังกล่าว ประชาชนย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้มีการใช้กฎหมายให้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงของเขาได้ และเรียกร้องให้ศาลใช้ดุลพินิจโดยปราศจากข้อบกพร่องใดๆ ได้ทั้งสิ้น
การที่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ตรวจสอบการใช้อำนาจของตนเอง โดยไม่ขอให้ศาลถอนหมายจับ เมื่อคนทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาล ศาลจึงมีอำนาจและหน้าที่ในการตรวจสอบหมายจับว่าหมายจับดังกล่าวนั้น ได้ออกมาโดยถูกต้องตามกระบวนการตามกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องตามกระบวนการตามกฎหมายหรือไม่ (Due Process of Law หรือ Without Due Process of Law) อำนาจในการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของศาล ได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 3 วรรคสองซึ่งบัญญัติว่า ให้ศาลและเจ้าพนักงานทั้งหลายผู้ดำเนินคดีอาญาตลอดราชอาณาจักรปฏิบัติการตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กฎหมายมาตรานี้เป็นบทบัญญัติที่บังคับให้ศาลและเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญา หรือทุกฝ่ายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต้องปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งสิ้น ศาลซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงมีอำนาจและหน้าที่โดยตรงที่ต้องตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญา รวมทั้งตรวจสอบการดำเนินการทางอาญาของศาลเองด้วย กระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงสามารถถูกต้องตรวจสอบว่าได้มีการกระทำโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่ เพราะกระบวนการทางอาญานั้นจะต้องเป็นกระบวนการที่ยุติธรรมตลอดสายในการดำเนินการทางอาญากับผู้ต้องหาหรือจำเลย ถ้าการดำเนินการทางอาญาขั้นตอนใดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ก็ไม่อายถือได้ว่าเป็น “กระบวนการยุติธรรมทางอาญา” ซึ่งจะต้องถูกเพิกถอนหรือต้องให้กระบวนการที่ไม่ยุติธรรมนั้นต้องยุติลง เพราะการดำเนินการต่อไปย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของประชาชนได้ และจะนำไปดำเนินการทางอาญาหรือลงโทษผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้ ตามทฤษฎีต้นไม้รากเน่า (Rotten Root) หรือผลไม้ของต้นไม้ที่เป็นพิษ (Fruit of the Poisonous Tree)
เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติว่า การออกหมายต้องเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัย การตรวจสอบจึงต้องตรวจสอบเหตุอันควรสงสัย ซึ่งมิใช่เหตุที่ว่าชายสองคนเป็นบุคคลเดียวกับทีวีวงจรปิดหรือไม่ เพราะทั้งสองคนได้ยอมรับ เขาเป็นคนเดียวกับภาพที่ปรากฏในทีวีวงจรปิด แต่เหตุสงสัยนั้นมีหลักฐานในการสืบสวนหรือไม่ การที่เขาไปในบริเวณนั้นเพราะมีสถานที่ทำงานอยู่ในบริเวณนั้น มีหลักฐานการทำงานมีการไปรับประทานอาหาร หรือไปดูภาพยนตร์อันเป็นชีวิตตามปกติของเขาที่เขาได้ปฏิบัติเยี่ยงผู้บริสุทธิ์คนอื่นๆ แล้ว และถ้าไม่มีเหตุอันควรสงสัยอื่นอีก ก็จะต้องคืนสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ให้แก่คนทั้งสองทันที จะดำเนินการใดๆ กับเขาอีกไม่ได้เลย เพราะการดำเนินการใดๆ ต่อไปนั้นมิใช่เป็นการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นการก้าวล่วงละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของเขา
การออกหมายจับหรือหมายจับที่ได้ออกไปแล้วไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้แต่อย่างใดไม่เพราะทั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญาและศาลสามารถถอนหมายจับได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 68 ซึ่งบัญญัติว่า “หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความ หรือเจ้าพนักงาน หรือศาลผู้ออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน”
สิทธิของประชาชนที่จะตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญาและศาลซึ่งพิจารณาคดีนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงสิทธิของประชาชนดังกล่าวไว้โดยตรง แต่เป็นหลักปรัชญาหรือทฤษฎีทางกฎหมาย ทั้งๆ ที่กระบวนการดำเนินคดีอาญาทั้งระบบนั้นกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของประชาชนโดยตรงและรุนแรง การใช้อำนาจของศาลและเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญาจึงปราศจากการตรวจสอบจากประชาชนโดยสิ้นเชิง แม้แต่ผู้เคราะห์ร้ายเองก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นยังได้มีคำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยไปในทำนองให้เห็นได้ว่า การกระทำในการดำเนินการทางอาญาที่ได้กระทำไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญานั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องสาระสำคัญและศาลไม่นำมาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลย และไม่ตรวจสอบให้ เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 2699/2516 คำพิพากษาฎีกาที่ 1560/2531 ฯลฯ อันเป็นการยืนยันให้เห็นว่ากระบวนการดำเนินคดีอาญาของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญานั้น ไม่ได้รับการตรวจสอบเพื่อให้กระบวนการทางอาญานั้นเป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างแท้จริงแต่อย่างใดไม่
เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า การใช้อำนาจของรัฐ หรือองค์กรของรัฐนั้น เป็นการใช้อำนาจของปวงชนชาวไทย แต่เหตุไฉนประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจและมีส่วนได้เสียหรือเป็นผู้เคราะห์ร้ายเอง ไม่สามารถตรวจสอบผู้ใช้อำนาจของประชาชนเองได้เลย และไม่มีวิธีการใดที่จะบังคับให้ผู้ใช้อำนาจรัฐตรวจสอบการใช้อำนาจของตนเองได้อีกด้วย
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 26 บัญญัติว่า การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เป็นบทบัญญัติแห่งปรัชญาทางกฎหมาย แต่หากผู้ปฏิบัติหรือผู้ใช้อำนาจรัฐปราศจากซึ่งจิตวิญญาณของความเป็นผู้มีวิชาชีพแห่งความเป็นนักกฎหมายมืออาชีพ (Legal Mind หรือ Legal Profession) เสียแล้ว การที่จะหวังให้องค์กรของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยยึดประชาชนเป็นเป้าหมาย โดยไม่เอาประชาชนมาเป็นเครื่องมือหรือเป็นเพียงวัตถุที่จะถูกกระทำนั้น ก็คงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งอย่างเหลือเกิน
รัฐธรรมนูญปี 2550 จึงควรบัญญัติให้สิทธิประชาชนที่จะตรวจสอบกระบวนการทางอาญาได้ทุกขั้นตอน เพื่อให้กระบวนการทางอาญานั้นเป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างแท้จริง โดยตราไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน
ทั้งนี้เพื่อให้ศาลและเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต้องดำเนินการตรวจสอบทบทวนการใช้อำนาจรัฐ เมื่อผู้ต้องหา จำเลย หรือประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร้องขอให้ทำการตรวจสอบและแก้ไขการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ชอบนั้นใหม่ได้
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และขอแก้ไขการใช้อำนาจรัฐให้ถูกต้องนั้น เป็นการให้ประชาชนเข้าถึงซึ่งความยุติธรรม (Accessability to Justice) ได้โดยง่ายและรวดเร็ว อันเป็นหลักการที่ยอมรับและปฏิบัติกันในสากลโลก และเป็นหลักขั้นพื้นฐานของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย
ผู้เขียนขอออกตัวก่อนว่าบทความนี้เป็นความเห็นทางวิชาการในเรื่องสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของผู้บริสุทธิ์ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นเรื่องที่ประชาชนจะต้องเรียกร้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เอาเอง หรือเป็นเรื่องที่รัฐหรือองค์กรของรัฐ (State Organisation) จะต้องดูแล ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของประชาชน
ข่าวจากสื่อมวลชนเรื่องหมายจับชายสองคนคือนายปรัชญา ปรีชาเวช และนายยุทธพงศ์ กิติศรีวรพันธ์ เป็นตัวอย่างของกรณีศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Procedure Due Process of Law) และอำนาจการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของประชาชนได้เป็นอย่างดี การที่ชายสองคนถูกขอให้ออกหมายจับ โดยเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะมีภาพในทีวีวงจรปิด ในบริเวณใกล้กับสถานที่เกิดเหตุการณ์ระเบิด และศาลซึ่งเป็นองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ออกหมายจับตามคำร้องของเจ้าพนักงานตำรวจ ชายสองคนจึงถูกนำเข้าไปสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยมีหมายจับของศาล และเปลี่ยนสถานะจากบุคคลผู้บริสุทธิ์โดยทั่วไปเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาในทันที
ในทีวีวงจรปิดคงไม่ได้มีเฉพาะภาพชายสองคนที่ปรากฏอยู่ ผู้คนที่เดินในบริเวณนั้นก็คงจะมีภาพปรากฏอยู่ด้วย แต่คนอื่นไม่มีหมายจับ สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของสองคนที่ถูกหมายจับจึงแตกต่างจากสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นที่ปรากฏภาพในทีวีวงจรปิดเช่นเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน หรือไล่เลี่ยกัน
การที่ชายสองคนถูกเจ้าพนักงานตำรวจขอให้ศาลออกหมายจับต้องมีสิ่งผิดปกติและเป็นพิรุธปรากฏในภาพทีวีวงจรปิด และจะต้องมีหลักฐานอื่นที่ได้จากการสืบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ และการที่ศาลออกหมายจับก็จะต้องปรากฏในคำร้องขอให้ออกหมายจับว่า ชายสองคน มีเหตุอันควรสงสัย และเหตุอันควรสงสัยนั้นอย่างน้อยก็คงจะเป็นภาพที่ปรากฏในทีวีวงจรปิดพร้อมทั้งหลักฐานในทางสืบสวน ซึ่งคงต้องนำมาแสดงต่อศาล เพราะการขอออกหมายจับจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 คือ “(1) เมื่อผู้ต้องหาซึ่งถูกสงสัยโดยมีเหตุอันควร หรือจำเลยเป็นผู้ที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง (2) เมื่อความผิดที่ผู้ต้องหาถูกสงสัยโดยมีเหตุอันควร หรือที่จำเลยถูกฟ้องนั้น มีอัตราโทษอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป (3).....(4).....”
เมื่อศาลออกหมายจับ ชายสองคนถูกนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่มีความผิดอัตราโทษอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไปในทันที สิ่งที่เกิดขึ้นแก่ชายสองคนในกรณีที่เขาไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ สิทธิและเสรีภาพตลอดจนศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของเขา จึงกระทบกระเทือนในทันที
เมื่อเห็นภาพของตนที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ว่าถูกออกหมายจับ และมั่นใจว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ สิทธิในชีวิตร่างกายที่จะไปไหนมาไหนเช่นผู้บริสุทธิ์ สิทธิที่จะได้รับความเสมอภาคเยี่ยงผู้บริสุทธิ์อื่นๆ ที่ไม่ต้องมีหมายจับ ทำให้ชายสองคนเรียกร้องสิ่งที่เกิดจากการกระทำของรัฐที่ไม่เป็นธรรมต่อเขาในทันที โดยแสดงตนทั้งในที่สาธารณะต่อสื่อมวลชนต่อหน้าเจ้าพนักงานตำรวจ ยืนยันว่าเขาเป็นบุคคลในทีวีวงจรปิดแต่ไม่ใช่เป็นคนร้ายที่วางระเบิด และไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเลย (ข่าวไทยโพสต์, มติชน, ไทยรัฐ) ชายสองคนไม่ได้โต้แย้งว่าเขาไม่ใช่คนในภาพทีวีวงจรปิด ทั้งไม่ได้โต้แย้งว่าเขาเพียงแต่เหมือนหรือมีใบหน้าคล้ายคนในทีวีวงจรปิด หรือภาพคนในทีวีวงจรปิดไม่ใช่เขาแต่อย่างใดเลย แต่ยืนยันว่าเขาคือคนที่ปรากฏในทีวีวงจรปิด และมีหมายจับจริง แต่เขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด จึงขอให้เจ้าพนักงานตำรวจถอนหมายจับได้
การไปแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจและยืนยันว่าเป็นคนที่ถูกหมายจับ แต่ไม่ใช่คนที่กระทำความผิด จึงเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหาเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ที่มาอยู่ต่อหน้าเจ้าพนักงานเป็นผู้ต้องหา ในกรณีนี้เจ้าพนักงานจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 คือ ต้องถามชื่อตัว นามสกุล ชาติ บังคับ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งข้อหาให้ทราบ และต้องบอกให้ทราบก่อนว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันเขาในการพิจารณาได้ เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใด ก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้
แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานได้สอบปากคำชายสองคนไว้ในฐานะเป็นพยานแล้วชายสองคนก็กลับไป
การที่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้แจ้งข้อหาให้ทราบ และไม่ได้สอบสวนไว้ในฐานะผู้ต้องหา เพราะการเข้าหาเจ้าพนักงานของชายสองคนนั้น เป็นการเข้าหาเพื่อให้ถอนหมายจับ ซึ่งเจ้าพนักงานต้องทราบเป็นอย่างดีว่า การมาแสดงตัวและยืนยัน ขอให้ถอนหมายจับนั้นเป็นการขอให้ตรวจสอบหรือทบทวนการขอออกหมายจับเสียใหม่ เพราะเขาเป็นคนที่ผู้ที่ใช้อำนาจรัฐจะขอออกหมายจับหรือมีหมายจับไม่ได้ เนื่องจากเขาไม่ได้กระทำความผิดใดๆ เลย ปรากฏตามข่าวว่าเจ้าพนักงานตำรวจไม่ดำเนินการถอนหมายจับได้ เพราะคนที่มาแสดงตัวนั้น เหมือนคนในภาพทีวีวงจรปิด หมายจับไม่ได้ออกมาเพื่อจับชายสองคนดังกล่าว การสอบปากคำคนทั้งสองไว้ในฐานะพยานแล้วให้กลับไป ก็เป็นการที่พนักงานสอบสวนได้เปลี่ยนสถานะของผู้ต้องหามาเป็นพยานในคดีที่มีการออกหมายจับชายสองคนที่เหมือนกับสองคนนี้ไปแล้ว
เมื่อมีความเดือดร้อนเพราะมีหมายจับ ซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ ประกอบกับการมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ทั้งมีความปรารถนาที่จะอยู่อย่างเสมอภาคกับบุคคลผู้บริสุทธิ์ทั่วไป มีสิทธิในชีวิตร่างกายที่จะไปไหนมาไหนได้อย่างบุคคลทั่วไป คนทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อศาล โดยขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับที่ศาลได้อนุมัติให้ออกหมายจับคนร้ายตามภาพในวงจรปิด โดยยืนยันว่าภาพคนในทีวีวงจรปิดและภาพถ่ายที่เจ้าพนักงานตำรวจนำออกเผยแพร่ ซึ่งมีหมายจับนั้นเป็นตัวของเขาเอง แต่เขาทั้งสองไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด เขาได้ไปแสดงหลักฐานยืนยันความบริสุทธิ์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว แต่พนักงานสอบสวนไม่ขอถอนหมายจับให้ศาลได้พิจารณาแล้วยกคำร้อง ซึ่งหมายความว่าศาลไม่ถอนหมายจับ
ทันทีที่ศาลได้มีคำสั่ง พนักงานสอบสวนได้นำหมายจับศาลเลขที่ 526-527/2550 จับกุมคนทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ความผิดต่อชีวิต (พยายาม) ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสองไปสอบสวนในทันที
คนทั้งสองจะคิดอย่างไรก็ตาม แต่ผลของการยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับนั้น เป็นการเรียกร้องหรือร้องขอต่อศาลขอให้ตรวจสอบหรือทบทวนการใช้อำนาจรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ได้ออกหมายจับมาบังคับใช้กับเขา ซึ่งก็คือขอให้ตรวจสอบว่า การยื่นคำร้องขอให้ออกหมายจับของพนักงานตำรวจว่าตัวเขาทั้งสองมีเหตุอันควรสงสัยอย่างไร ในการที่เขาไปเดินอยู่ที่ซีคอนสแควร์ และไปปรากฏภาพทีวีวงจรปิดในที่ดังกล่าว และการออกหมายจับของศาลมีเหตุสงสัยอันสมควรอย่างไรที่ได้ออกหมายจับตามคำร้องขอของเจ้าพนักงานตำรวจ
การใช้สิทธิขอให้ตรวจสอบหรือทบทวนการใช้อำนาจของรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหาหรือผู้เคราะห์ร้ายมีสิทธิกระทำได้ เพราะกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพตลอดจนศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลโดยตรง ซึ่งได้มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่า บุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และมีบทสันนิษฐานว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ดังนั้น เมื่อมีการใช้อำนาจรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งมีผลต่อสิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างกายของเขาที่เขาจะต้องถูกจับ ถูกสอบสวน ถูกคุมขัง ถูกดำเนินคดีต่อไปในอนาคต และกระทบต่อสิทธิในความเสมอภาคที่เขาไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างผู้อื่นซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว จึงเป็นเรื่องที่คนทั้งสองมีสิทธิโดยชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมายที่จะขอให้ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทั้งของเจ้าพนักงานตำรวจผู้ขอออกหมายจับ และศาลที่ให้ออกหมายจับได้
นอกจากฝ่ายผู้ต้องหาจะมีสิทธิที่จะร้องขอให้ทำการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้แล้ว ศาลและเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญายังมีหน้าที่และความผูกพันต้องตรวจสอบการใช้อำนาจของตนเองอีกด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลซึ่งเป็นสถาบันที่มีความผูกพันที่จะต้องให้หลักประกันความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคของประชาชนผู้บริสุทธิ์ หลักประกันความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เป็นหลักพื้นฐานสำคัญของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่ยึดถือระบบนิติรัฐ
และในระบบนิติรัฐนั้น การดำเนินการของรัฐหรือองค์กรของรัฐต้องเป็นการดำเนินการโดยมีประชาชนเป็นเป้าหมาย คือต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มิใช่ถือว่าประชาชนเป็นเพียงเครื่องมือของการดำเนินการของรัฐ โดยจะเอาการดำเนินการของรัฐมาเป็นเป้าหมาย หรือจะเอาประชาชนมาเป็นวัตถุแห่งการกระทำหาได้ไม่
นอกจากนี้การใช้อำนาจศาลยังมีความผูกพันถึงการใช้ดุลพินิจโดยปราศจากข้อบกพร่องอีกด้วย ความผูกพันของศาลดังกล่าว ประชาชนย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้มีการใช้กฎหมายให้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงของเขาได้ และเรียกร้องให้ศาลใช้ดุลพินิจโดยปราศจากข้อบกพร่องใดๆ ได้ทั้งสิ้น
การที่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ตรวจสอบการใช้อำนาจของตนเอง โดยไม่ขอให้ศาลถอนหมายจับ เมื่อคนทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาล ศาลจึงมีอำนาจและหน้าที่ในการตรวจสอบหมายจับว่าหมายจับดังกล่าวนั้น ได้ออกมาโดยถูกต้องตามกระบวนการตามกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องตามกระบวนการตามกฎหมายหรือไม่ (Due Process of Law หรือ Without Due Process of Law) อำนาจในการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของศาล ได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 3 วรรคสองซึ่งบัญญัติว่า ให้ศาลและเจ้าพนักงานทั้งหลายผู้ดำเนินคดีอาญาตลอดราชอาณาจักรปฏิบัติการตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กฎหมายมาตรานี้เป็นบทบัญญัติที่บังคับให้ศาลและเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญา หรือทุกฝ่ายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต้องปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งสิ้น ศาลซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงมีอำนาจและหน้าที่โดยตรงที่ต้องตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญา รวมทั้งตรวจสอบการดำเนินการทางอาญาของศาลเองด้วย กระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงสามารถถูกต้องตรวจสอบว่าได้มีการกระทำโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่ เพราะกระบวนการทางอาญานั้นจะต้องเป็นกระบวนการที่ยุติธรรมตลอดสายในการดำเนินการทางอาญากับผู้ต้องหาหรือจำเลย ถ้าการดำเนินการทางอาญาขั้นตอนใดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ก็ไม่อายถือได้ว่าเป็น “กระบวนการยุติธรรมทางอาญา” ซึ่งจะต้องถูกเพิกถอนหรือต้องให้กระบวนการที่ไม่ยุติธรรมนั้นต้องยุติลง เพราะการดำเนินการต่อไปย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของประชาชนได้ และจะนำไปดำเนินการทางอาญาหรือลงโทษผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้ ตามทฤษฎีต้นไม้รากเน่า (Rotten Root) หรือผลไม้ของต้นไม้ที่เป็นพิษ (Fruit of the Poisonous Tree)
เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติว่า การออกหมายต้องเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัย การตรวจสอบจึงต้องตรวจสอบเหตุอันควรสงสัย ซึ่งมิใช่เหตุที่ว่าชายสองคนเป็นบุคคลเดียวกับทีวีวงจรปิดหรือไม่ เพราะทั้งสองคนได้ยอมรับ เขาเป็นคนเดียวกับภาพที่ปรากฏในทีวีวงจรปิด แต่เหตุสงสัยนั้นมีหลักฐานในการสืบสวนหรือไม่ การที่เขาไปในบริเวณนั้นเพราะมีสถานที่ทำงานอยู่ในบริเวณนั้น มีหลักฐานการทำงานมีการไปรับประทานอาหาร หรือไปดูภาพยนตร์อันเป็นชีวิตตามปกติของเขาที่เขาได้ปฏิบัติเยี่ยงผู้บริสุทธิ์คนอื่นๆ แล้ว และถ้าไม่มีเหตุอันควรสงสัยอื่นอีก ก็จะต้องคืนสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ให้แก่คนทั้งสองทันที จะดำเนินการใดๆ กับเขาอีกไม่ได้เลย เพราะการดำเนินการใดๆ ต่อไปนั้นมิใช่เป็นการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นการก้าวล่วงละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของเขา
การออกหมายจับหรือหมายจับที่ได้ออกไปแล้วไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้แต่อย่างใดไม่เพราะทั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญาและศาลสามารถถอนหมายจับได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 68 ซึ่งบัญญัติว่า “หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความ หรือเจ้าพนักงาน หรือศาลผู้ออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน”
สิทธิของประชาชนที่จะตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญาและศาลซึ่งพิจารณาคดีนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงสิทธิของประชาชนดังกล่าวไว้โดยตรง แต่เป็นหลักปรัชญาหรือทฤษฎีทางกฎหมาย ทั้งๆ ที่กระบวนการดำเนินคดีอาญาทั้งระบบนั้นกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของประชาชนโดยตรงและรุนแรง การใช้อำนาจของศาลและเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญาจึงปราศจากการตรวจสอบจากประชาชนโดยสิ้นเชิง แม้แต่ผู้เคราะห์ร้ายเองก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นยังได้มีคำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยไปในทำนองให้เห็นได้ว่า การกระทำในการดำเนินการทางอาญาที่ได้กระทำไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญานั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องสาระสำคัญและศาลไม่นำมาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลย และไม่ตรวจสอบให้ เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 2699/2516 คำพิพากษาฎีกาที่ 1560/2531 ฯลฯ อันเป็นการยืนยันให้เห็นว่ากระบวนการดำเนินคดีอาญาของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินคดีอาญานั้น ไม่ได้รับการตรวจสอบเพื่อให้กระบวนการทางอาญานั้นเป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างแท้จริงแต่อย่างใดไม่
เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า การใช้อำนาจของรัฐ หรือองค์กรของรัฐนั้น เป็นการใช้อำนาจของปวงชนชาวไทย แต่เหตุไฉนประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจและมีส่วนได้เสียหรือเป็นผู้เคราะห์ร้ายเอง ไม่สามารถตรวจสอบผู้ใช้อำนาจของประชาชนเองได้เลย และไม่มีวิธีการใดที่จะบังคับให้ผู้ใช้อำนาจรัฐตรวจสอบการใช้อำนาจของตนเองได้อีกด้วย
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 26 บัญญัติว่า การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เป็นบทบัญญัติแห่งปรัชญาทางกฎหมาย แต่หากผู้ปฏิบัติหรือผู้ใช้อำนาจรัฐปราศจากซึ่งจิตวิญญาณของความเป็นผู้มีวิชาชีพแห่งความเป็นนักกฎหมายมืออาชีพ (Legal Mind หรือ Legal Profession) เสียแล้ว การที่จะหวังให้องค์กรของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยยึดประชาชนเป็นเป้าหมาย โดยไม่เอาประชาชนมาเป็นเครื่องมือหรือเป็นเพียงวัตถุที่จะถูกกระทำนั้น ก็คงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งอย่างเหลือเกิน
รัฐธรรมนูญปี 2550 จึงควรบัญญัติให้สิทธิประชาชนที่จะตรวจสอบกระบวนการทางอาญาได้ทุกขั้นตอน เพื่อให้กระบวนการทางอาญานั้นเป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างแท้จริง โดยตราไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน
ทั้งนี้เพื่อให้ศาลและเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต้องดำเนินการตรวจสอบทบทวนการใช้อำนาจรัฐ เมื่อผู้ต้องหา จำเลย หรือประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร้องขอให้ทำการตรวจสอบและแก้ไขการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ชอบนั้นใหม่ได้
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และขอแก้ไขการใช้อำนาจรัฐให้ถูกต้องนั้น เป็นการให้ประชาชนเข้าถึงซึ่งความยุติธรรม (Accessability to Justice) ได้โดยง่ายและรวดเร็ว อันเป็นหลักการที่ยอมรับและปฏิบัติกันในสากลโลก และเป็นหลักขั้นพื้นฐานของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย