เอเจนซี - ผู้เชี่ยวชาญแนะวิธีง่ายๆ ในการทดสอบว่าลูกมีแนวโน้มเป็นเด็กออทิสติกหรือไม่ ด้วยการทดสอบเรียกชื่อตั้งแต่ลูกอายุแค่หนึ่งขวบ โดยเด็กปกติจะมีปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ
พ่อแม่ของเด็กออทิสติกครึ่งหนึ่งเริ่มเป็นกังวลตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก แต่มักไม่ได้ใส่ใจจริงจัง นักวิจัยอเมริกันชี้ว่า ไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกอายุ 3-4 ขวบถึงจะตรวจรู้ว่าเป็นออทิสติกหรือไม่ ในทางตรงข้าม การขานชื่อให้ผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้ค่อนข้างสูง
ทั้งนี้ ออทิสซึมคือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อสาร ซึ่งจะมีผลตลอดชีวิต
ในการทดลอง นักวิจัยจะยืนหลังกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเด็กอายุ 1 ขวบ และเรียกชื่อเด็กทีละคน หากเด็กไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองภายใน 3 วินาที นักวิจัยจะเรียกชื่อใหม่อีก 2 ครั้ง
ผลปรากฏว่า 89% ของเด็กที่ไม่ได้เป็นออทิสติก และ 94% ของเด็กที่ไม่มีปัญหาด้านพัฒนาการในระยะ 2 ปี ตอบสนองต่อการเรียกชื่อตั้งแต่ครั้งแรกหรือครั้งที่สอง
ขณะที่เด็ก 3 ใน 4 ที่ไม่ผ่านการทดสอบ และน่าเชื่อว่ามีความเสี่ยงในการเป็นเด็กออทิสติก เนื่องจากพี่น้องทุกคนเป็นโรคนี้ ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสซึมเมื่ออายุ 2 ขวบ และเด็กที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ในภายหลังนั้น มีถึงครึ่งหนึ่งที่ไม่ตอบสนองต่อการเรียกชื่อ ขณะที่ 39% ของเด็กที่ถูกระบุว่ามีพัฒนาการช้า ไม่ผ่านการทดสอบ
ดร.อพาร์นา นาดิก จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิสในซาคราเมนโต สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย กล่าวว่าการรู้แต่เนิ่นๆ ว่าลูกเป็นเด็กออทิสติก จะช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ในการหาวิธีแก้ไขให้ปัญหาทุเลาเบาบางลง
รายงานที่ตีพิมพ์อยู่ในอาร์ไคฟ์ส ออฟ เพเดียทริกส์ แอนด์ อะโดเลสเซนต์ เมดิซิน สรุปว่า การทดสอบเรียกชื่อเป็นวิธีการที่ง่ายและใช้ทรัพยากรน้อยมาก โดยเด็กที่มีแนวโน้มสูงที่จะมีความผิดปกติบางอย่าง ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีบำบัด
จูดิต กูลด์ ผู้อำนวยการแผนกวินิจฉัยโรคของเนชันแนล ออทิสติก โซไซตี้ มองว่างานวิจัยนี้มีประโยชน์ในแง่ที่ทำให้รู้และหาวิธีการบำบัดแต่เนิ่นๆ ซึ่งเป็นผลดีต่อพัฒนาการของเด็ก กระนั้น ไม่ได้หมายความว่า เด็กที่ไม่ตอบสนองต่อการขานชื่อ จะเป็นเด็กออทิสติกเสมอไป ทว่า จำเป็นต้องมีการทดสอบด้านอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น การสบตา การชี้ และการแสดงออก เป็นต้น
พ่อแม่ของเด็กออทิสติกครึ่งหนึ่งเริ่มเป็นกังวลตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก แต่มักไม่ได้ใส่ใจจริงจัง นักวิจัยอเมริกันชี้ว่า ไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกอายุ 3-4 ขวบถึงจะตรวจรู้ว่าเป็นออทิสติกหรือไม่ ในทางตรงข้าม การขานชื่อให้ผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้ค่อนข้างสูง
ทั้งนี้ ออทิสซึมคือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อสาร ซึ่งจะมีผลตลอดชีวิต
ในการทดลอง นักวิจัยจะยืนหลังกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเด็กอายุ 1 ขวบ และเรียกชื่อเด็กทีละคน หากเด็กไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองภายใน 3 วินาที นักวิจัยจะเรียกชื่อใหม่อีก 2 ครั้ง
ผลปรากฏว่า 89% ของเด็กที่ไม่ได้เป็นออทิสติก และ 94% ของเด็กที่ไม่มีปัญหาด้านพัฒนาการในระยะ 2 ปี ตอบสนองต่อการเรียกชื่อตั้งแต่ครั้งแรกหรือครั้งที่สอง
ขณะที่เด็ก 3 ใน 4 ที่ไม่ผ่านการทดสอบ และน่าเชื่อว่ามีความเสี่ยงในการเป็นเด็กออทิสติก เนื่องจากพี่น้องทุกคนเป็นโรคนี้ ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสซึมเมื่ออายุ 2 ขวบ และเด็กที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ในภายหลังนั้น มีถึงครึ่งหนึ่งที่ไม่ตอบสนองต่อการเรียกชื่อ ขณะที่ 39% ของเด็กที่ถูกระบุว่ามีพัฒนาการช้า ไม่ผ่านการทดสอบ
ดร.อพาร์นา นาดิก จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิสในซาคราเมนโต สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย กล่าวว่าการรู้แต่เนิ่นๆ ว่าลูกเป็นเด็กออทิสติก จะช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ในการหาวิธีแก้ไขให้ปัญหาทุเลาเบาบางลง
รายงานที่ตีพิมพ์อยู่ในอาร์ไคฟ์ส ออฟ เพเดียทริกส์ แอนด์ อะโดเลสเซนต์ เมดิซิน สรุปว่า การทดสอบเรียกชื่อเป็นวิธีการที่ง่ายและใช้ทรัพยากรน้อยมาก โดยเด็กที่มีแนวโน้มสูงที่จะมีความผิดปกติบางอย่าง ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีบำบัด
จูดิต กูลด์ ผู้อำนวยการแผนกวินิจฉัยโรคของเนชันแนล ออทิสติก โซไซตี้ มองว่างานวิจัยนี้มีประโยชน์ในแง่ที่ทำให้รู้และหาวิธีการบำบัดแต่เนิ่นๆ ซึ่งเป็นผลดีต่อพัฒนาการของเด็ก กระนั้น ไม่ได้หมายความว่า เด็กที่ไม่ตอบสนองต่อการขานชื่อ จะเป็นเด็กออทิสติกเสมอไป ทว่า จำเป็นต้องมีการทดสอบด้านอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น การสบตา การชี้ และการแสดงออก เป็นต้น