“หลังจากมีทหารพรานชุดนี้อยู่ในพื้นที่ เราได้เบาะแสของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมากขึ้น” พล.ต.จำลอง คุณสงค์ เสนาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 (กอ.รมน. ภาค 4) กล่าวถึงประสิทธิภาพของทหารพราน 30 กองร้อยที่ลงปฏิบัติหน้าที่เสริมกำลังทหารหลักในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ชุดแรก 10 กองร้อยเมื่อกลางเดือน ม.ค. และชุดสอง 20 กองร้อยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ความที่เดิมเคยเป็น “ชาวบ้าน” ที่อยู่ในพื้นที่มาก่อน การส่งทหารพรานลงประจำในอำเภอภูมิลำเนาส่งผลประโยชน์ต่อทั้งทางการและความไว้เนื้อเชื่อใจของชาวบ้านได้ไม่น้อย แนวคิดในการเพิ่มกำลังทหารจึงริเริ่มขึ้นอีก
พล.ต.จำลอง เปิดเผยว่า ภายหลังที่กองทัพได้จัดส่งทหารพรานหรือทหารชาวบ้านชุดใหม่ลงพื้นที่ครบตาม 30 กองร้อย เมื่อต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ กอ.รมน.ภาค 4 กำลังอยู่ในระหว่างการหารือเพื่อขอเพิ่มกำลังทหารพรานลงพื้นที่อีก 20 กองร้อย เพื่อสนับสนุนภารกิจของกองทัพที่กำลังรุกคืบอยู่ในพื้นที่
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีกองกำลังทหารพรานอยู่ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น 56 กองร้อยใน 5 กรมทหารพราน กระจายตัวอยู่ในทุกอำเภอๆ ละ 1 กองร้อย หากพื้นที่ไหน “แดง” มากหน่อยก็จะมีประจำมากกว่าปกติ 2 – 3 กองร้อย
เสนาธิการ กอ.รมน.ภาค 4 ระบุต่อว่า การขอกำลังทหารพรานเพิ่มเติม จะต้องขึ้นอยู่กับการประเมินการทำงานของทหารพรานชุดก่อนหน้านี้ว่าสามารถปฏิบัติภารกิจได้ผลมากน้อยเพียงใด อีกทั้งยังต้องประเมินด้วยว่ามีความจำเป็นต้องเพิ่มกำลังเข้าไปอีกหรือไม่ การรวบรวมข้อมูลการประเมินผลและการหารือใน กอ.รมน.ภาค 4 จะดำเนินอีกสักระยะ ก่อนจะส่งเรื่องให้ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้พิจารณาและสั่งการ
“ถ้าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้มันนิ่งและสามารถควบคุมได้ด้วยกำลังที่มีอยู่ ก็คงไม่จำเป็นต้องเพิ่มกำลังทหารพรานอีก” เขากล่าว
อย่างไรก็ตาม เสนาธิการ กอ.รมน.ภาค 4 ระบุว่า รายงานประเมินการทำงานของทหารพรานในเบื้องต้นระบุว่า การทำงานในพื้นที่ของทหารพรานชุดที่เพิ่งส่งลงไปมีประสิทธิภาพดีมาก โดยเฉพาะทหารพรานหญิงที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสลายหรือยุติการชุมนุมของชาวบ้านได้หลายครั้งโดยไม่เกิดความรุนแรง ในขณะที่ทหารพรานส่วนใหญ่สามารถที่จะเข้าไปสนับสนุนอำนาจรัฐในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือ เป็นกองกำลังที่สนับสนุนผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน
“แต่สิ่งที่เห็นชัดเจนก็คือว่าประชาชนให้ความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐมากขึ้น” พล.ต.จำลองกล่าว พร้อมระบุว่าผลงานในด้านยุทธการหรือการปะทะเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่เป้าหมายสำคัญของทหารพรานได้แก่การดูแลประชาชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ให้รู้สึกว่าอบอุ่นและมีที่พึ่ง อันจะนำมาสู่การสนับสนุนต่อทางการ
ในขณะที่ พ.อ.อัคร ทิพย์โรจน์ หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) ทวนผลประเมินการทำงานของทหารพรานให้ฟังว่า โดยภาพรวมประชาชนไทยทั้งประเทศมีความเชื่อมั่นต่อการคลี่คลายปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ โดยเชื่อว่าทหารพรานจะสามารถเข้าถึงประชาชนได้ ในขณะที่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่บริสุทธิ์สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ได้ใกล้ชิดและรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา
เขากล่าวอีกว่า ความสำเร็จอีกประการหนึ่ง คือ บทบาทในการคลี่คลายสถานการณ์ม็อบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิงที่ถูกปลุกระดมให้มีความโกรธแค้น แต่เมื่อทหารพรานหญิงซึ่งพูดจาอ่อนโยน ยิ้มแย้ม ทำให้อารมณ์รุนแรงอันเป็นองค์ประกอบของการชุมนุมปลุกไม่ขึ้น และนำไปสู่การสลายการชุมนุมด้วยสันติในเวลาต่อมา
“การคลี่คลายม็อบในลักษณะนี้ ทำให้เรามั่นใจว่าแนวทางสันติวิธีใช้ได้ผล”
พ.อ.อัคร ยังได้ย้ำถึงจุดเด่นของทหารพรานที่ว่าเป็นคนในพื้นที่ที่มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้คนในเขตดังกล่าว สามารถแยกแยะประชาชนทั่วไปกับแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ว่าใครเป็นมิตรหรือศัตรู ในขณะเดียวกันก็มี “ภูมิคุ้มกัน” ในการทำความเข้าใจด้วยการที่สามารถพูดภาษามลายูได้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นเงื่อนไขสำคัญของการทำงานตามแนวทาง 3 เกาะติดของผู้บัญชาการทหารบก นั่นคือ เกาะติดมวลชน เกาะติดพื้นที่ และเกาะติดผู้ก่อความไม่สงบ
นอกจากนี้ บทบาทสำคัญของทหารพรานหญิงดังที่ได้กล่าวไปแล้วนี่เอง ทำให้เขาขมวดภาพว่า ทหารหญิงที่กระจายอยู่ในกรมทหารพรานทั้ง 5 แห่งในพื้นที่ กรมละ 24 นาย มีลักษณะ four in one หรือ 4 ใน 1 นั่นคือ เป็นทั้งนักรบ พยาบาล ลูกหลานประชาชน และนักประชาสัมพันธ์
นอกจากผลงานในด้านการเมืองแล้ว หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ พตท. ระบุต่อว่า ทหารพรานยังแสดงบทบาทสำคัญในด้านยุทธการต่างๆ ดังกรณีที่โดดเด่นที่สุด คือ การปะทะกับกองกำลังกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบบนเขาตะเว อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2550 โดยชุด ฉก.ทหารพราน 4509 และ ฉก.ทหารพราน 4303 สามารถทลายค่ายฝึกและสังหารสมาชิกของกองกำลังอาร์เคเคได้ 5 ราย พร้อมยึดอาวุธปืนและอุปกรณ์ฝึกไดจำนวนหนึ่ง
นอกจากนี้ บทบาทของทหารพรานในการรวบรวมข่าวสารจากชาวบ้าน ยังผลให้นำไปสู่การปิดล้อมและตรวจค้นแหล่งเก็บกักอาวุธยุทโธปกรณ์ของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบได้หลายรายการ จากการเข้าตรวจค้นมัสยิดบ้านดามานูเวาะ ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งสามารถยึดยึดปืนเอ็ม 16 จำนวน 2 กระบอก ปืนลูกซองยาว 1 กระบอก ปืนสั้น .38 ไทยประดิษฐ์ 1 กระบอก กระสุนจำนวนมาก วิทยุสื่อสารพร้อมแท่นชาร์จ อุปกรณ์ประกอบการทำระเบิด ยารักษาโรค พร้อมทั้งเสื้อลายพรางทหารติดอาร์มที่แขนเป็นรูปมือจับด้ามขวาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มอาร์เคเค
รวมทั้งการบุกค้นร้านสหกรณ์ของมัสยิดดอเฮะ ต.ริโก๋ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยยึดเสื้อ กางเกงลายพรางและสีทึบ ไหมพรมคลุมหน้าไอ้โมง กระสุนปืนขนาด .22 จำนวน 60 นัด เครื่องมือสื่อสารของทางราชการพร้อมเครื่องชาร์จ 8 เครื่อง แผ่นซีดีจำนวนหนึ่ง แผงวิทยุสื่อสาร ตลอดจนรถจักรยานยนต์อีกจำนวน 5 คัน
ผลงานเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า ทหารพรานที่เป็น “คนในพื้นที่” จะเป็นกองกำลังใหม่ที่ให้ความหวังในการรุกรบกลบบทบาทของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ได้ โดยเฉพาะปัญหาความหวาดระแวงระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่และระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกันเอง รวมทั้งยังมีแนวโน้มที่จะยุติเหตุร้ายรายวันที่ยังคงดำรงอยู่ได้ในอนาคต
แม้ผลการประเมินอย่างกว้างๆ จะให้ภาพด้านบวกของกองกำลังทหารพรานในพื้นที่ ทว่าตั้งแต่การประกาศส่งทหารพรานชุดใหม่เข้ามาในพื้นที่กระทั่งถึงห้วงที่กองกำลังชุดดำเหล่านี้เข้าประจำการก็ปรากฏการเคลื่อนไหวต่อต้านทหารพรานด้วยการ “ม็อบ” หลายครั้ง โดยยื่นข้อเรียกร้องให้ทหารพรานย้ายออกนอกพื้นที่
ดังกรณีม็อบที่บ้านฆอรอราแม อ.ยะหา ในวันที่ 21 พ.ย. 2549 บ้านตะเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2550 และที่บ้านควนหรัน อ.สะบ้าย้อย เมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางการเชื่อว่าเป็นการชุมนุมและข้อเรียกร้องที่เป็นการจัดตั้ง
อย่างไรก็ตาม ก็ใช่ว่าจะไม่มีเหตุการณ์ที่ทหารพรานสร้างความคลางแคลงใจต่อชาวบ้านเลยเสียทีเดียว โดยเฉพาะ “กรณีบ้านตาเซะ” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ายังมีคำอธิบายเหตุการณ์อยู่ 2 ชุด กล่าวคือ ด้านหนึ่งเจ้าหน้าที่แจงว่าเกิดเหตุปะทะระหว่างคนร้าย 3 คนกับทหารพรานสังกัด 4202 จนคนร้ายหนีเข้าไปในปอเนาะและสุดท้ายเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 1 คน และหลบหนี 1 คน
ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ชาวบ้าน ญาติ และผู้บาดเจ็บระบุว่า ชาวบ้าน 2 คนถูกทหารพรานยิงโดยไม่ทราบสาเหตุ ก่อนจะหลบหนีมาที่ปอเนาะดังกล่าวเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งในเวลาต่อมาทหารพรานได้นำกำลังมาบุกค้น
แม้ล่าสุดเจ้าหน้าที่ทหารได้ชดเชยค่าเสียหายไปแล้วบางส่วน แต่ทว่าข้อเท็จจริงเรื่องนี้ยังเป็นประเด็นสีเทาและยังไม่คลี่คลาย ในขณะที่คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงของประธานกรรมาธิการวิสามัญเพื่อสอบสวนและศึกษาสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังนำประเด็นดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม หลังการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับเจ้าหน้าที่
ขณะนี้ ยังไม่แน่ชัดว่าการประเมินการทำงานของทหารพรานจะนำมาสู่การเพิ่มกำลังทหารพรานในพื้นที่อีกหรือไม่ แต่การสรุปบทเรียนอย่างรอบด้านอาจทำให้ทางการรับมือกับสงครามที่ชี้วัดกันที่มวลชนครั้งนี้ได้อย่างเท่าทันมากที่สุด โดยไม่ตกอยู่ในเงื่อนไขที่ฝ่ายตรงกันข้ามจะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้ในภายหลัง
ความที่เดิมเคยเป็น “ชาวบ้าน” ที่อยู่ในพื้นที่มาก่อน การส่งทหารพรานลงประจำในอำเภอภูมิลำเนาส่งผลประโยชน์ต่อทั้งทางการและความไว้เนื้อเชื่อใจของชาวบ้านได้ไม่น้อย แนวคิดในการเพิ่มกำลังทหารจึงริเริ่มขึ้นอีก
พล.ต.จำลอง เปิดเผยว่า ภายหลังที่กองทัพได้จัดส่งทหารพรานหรือทหารชาวบ้านชุดใหม่ลงพื้นที่ครบตาม 30 กองร้อย เมื่อต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ กอ.รมน.ภาค 4 กำลังอยู่ในระหว่างการหารือเพื่อขอเพิ่มกำลังทหารพรานลงพื้นที่อีก 20 กองร้อย เพื่อสนับสนุนภารกิจของกองทัพที่กำลังรุกคืบอยู่ในพื้นที่
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีกองกำลังทหารพรานอยู่ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น 56 กองร้อยใน 5 กรมทหารพราน กระจายตัวอยู่ในทุกอำเภอๆ ละ 1 กองร้อย หากพื้นที่ไหน “แดง” มากหน่อยก็จะมีประจำมากกว่าปกติ 2 – 3 กองร้อย
เสนาธิการ กอ.รมน.ภาค 4 ระบุต่อว่า การขอกำลังทหารพรานเพิ่มเติม จะต้องขึ้นอยู่กับการประเมินการทำงานของทหารพรานชุดก่อนหน้านี้ว่าสามารถปฏิบัติภารกิจได้ผลมากน้อยเพียงใด อีกทั้งยังต้องประเมินด้วยว่ามีความจำเป็นต้องเพิ่มกำลังเข้าไปอีกหรือไม่ การรวบรวมข้อมูลการประเมินผลและการหารือใน กอ.รมน.ภาค 4 จะดำเนินอีกสักระยะ ก่อนจะส่งเรื่องให้ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้พิจารณาและสั่งการ
“ถ้าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้มันนิ่งและสามารถควบคุมได้ด้วยกำลังที่มีอยู่ ก็คงไม่จำเป็นต้องเพิ่มกำลังทหารพรานอีก” เขากล่าว
อย่างไรก็ตาม เสนาธิการ กอ.รมน.ภาค 4 ระบุว่า รายงานประเมินการทำงานของทหารพรานในเบื้องต้นระบุว่า การทำงานในพื้นที่ของทหารพรานชุดที่เพิ่งส่งลงไปมีประสิทธิภาพดีมาก โดยเฉพาะทหารพรานหญิงที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสลายหรือยุติการชุมนุมของชาวบ้านได้หลายครั้งโดยไม่เกิดความรุนแรง ในขณะที่ทหารพรานส่วนใหญ่สามารถที่จะเข้าไปสนับสนุนอำนาจรัฐในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือ เป็นกองกำลังที่สนับสนุนผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน
“แต่สิ่งที่เห็นชัดเจนก็คือว่าประชาชนให้ความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐมากขึ้น” พล.ต.จำลองกล่าว พร้อมระบุว่าผลงานในด้านยุทธการหรือการปะทะเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่เป้าหมายสำคัญของทหารพรานได้แก่การดูแลประชาชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ให้รู้สึกว่าอบอุ่นและมีที่พึ่ง อันจะนำมาสู่การสนับสนุนต่อทางการ
ในขณะที่ พ.อ.อัคร ทิพย์โรจน์ หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) ทวนผลประเมินการทำงานของทหารพรานให้ฟังว่า โดยภาพรวมประชาชนไทยทั้งประเทศมีความเชื่อมั่นต่อการคลี่คลายปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ โดยเชื่อว่าทหารพรานจะสามารถเข้าถึงประชาชนได้ ในขณะที่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่บริสุทธิ์สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ได้ใกล้ชิดและรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา
เขากล่าวอีกว่า ความสำเร็จอีกประการหนึ่ง คือ บทบาทในการคลี่คลายสถานการณ์ม็อบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิงที่ถูกปลุกระดมให้มีความโกรธแค้น แต่เมื่อทหารพรานหญิงซึ่งพูดจาอ่อนโยน ยิ้มแย้ม ทำให้อารมณ์รุนแรงอันเป็นองค์ประกอบของการชุมนุมปลุกไม่ขึ้น และนำไปสู่การสลายการชุมนุมด้วยสันติในเวลาต่อมา
“การคลี่คลายม็อบในลักษณะนี้ ทำให้เรามั่นใจว่าแนวทางสันติวิธีใช้ได้ผล”
พ.อ.อัคร ยังได้ย้ำถึงจุดเด่นของทหารพรานที่ว่าเป็นคนในพื้นที่ที่มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้คนในเขตดังกล่าว สามารถแยกแยะประชาชนทั่วไปกับแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ว่าใครเป็นมิตรหรือศัตรู ในขณะเดียวกันก็มี “ภูมิคุ้มกัน” ในการทำความเข้าใจด้วยการที่สามารถพูดภาษามลายูได้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นเงื่อนไขสำคัญของการทำงานตามแนวทาง 3 เกาะติดของผู้บัญชาการทหารบก นั่นคือ เกาะติดมวลชน เกาะติดพื้นที่ และเกาะติดผู้ก่อความไม่สงบ
นอกจากนี้ บทบาทสำคัญของทหารพรานหญิงดังที่ได้กล่าวไปแล้วนี่เอง ทำให้เขาขมวดภาพว่า ทหารหญิงที่กระจายอยู่ในกรมทหารพรานทั้ง 5 แห่งในพื้นที่ กรมละ 24 นาย มีลักษณะ four in one หรือ 4 ใน 1 นั่นคือ เป็นทั้งนักรบ พยาบาล ลูกหลานประชาชน และนักประชาสัมพันธ์
นอกจากผลงานในด้านการเมืองแล้ว หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ พตท. ระบุต่อว่า ทหารพรานยังแสดงบทบาทสำคัญในด้านยุทธการต่างๆ ดังกรณีที่โดดเด่นที่สุด คือ การปะทะกับกองกำลังกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบบนเขาตะเว อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2550 โดยชุด ฉก.ทหารพราน 4509 และ ฉก.ทหารพราน 4303 สามารถทลายค่ายฝึกและสังหารสมาชิกของกองกำลังอาร์เคเคได้ 5 ราย พร้อมยึดอาวุธปืนและอุปกรณ์ฝึกไดจำนวนหนึ่ง
นอกจากนี้ บทบาทของทหารพรานในการรวบรวมข่าวสารจากชาวบ้าน ยังผลให้นำไปสู่การปิดล้อมและตรวจค้นแหล่งเก็บกักอาวุธยุทโธปกรณ์ของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบได้หลายรายการ จากการเข้าตรวจค้นมัสยิดบ้านดามานูเวาะ ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งสามารถยึดยึดปืนเอ็ม 16 จำนวน 2 กระบอก ปืนลูกซองยาว 1 กระบอก ปืนสั้น .38 ไทยประดิษฐ์ 1 กระบอก กระสุนจำนวนมาก วิทยุสื่อสารพร้อมแท่นชาร์จ อุปกรณ์ประกอบการทำระเบิด ยารักษาโรค พร้อมทั้งเสื้อลายพรางทหารติดอาร์มที่แขนเป็นรูปมือจับด้ามขวาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มอาร์เคเค
รวมทั้งการบุกค้นร้านสหกรณ์ของมัสยิดดอเฮะ ต.ริโก๋ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยยึดเสื้อ กางเกงลายพรางและสีทึบ ไหมพรมคลุมหน้าไอ้โมง กระสุนปืนขนาด .22 จำนวน 60 นัด เครื่องมือสื่อสารของทางราชการพร้อมเครื่องชาร์จ 8 เครื่อง แผ่นซีดีจำนวนหนึ่ง แผงวิทยุสื่อสาร ตลอดจนรถจักรยานยนต์อีกจำนวน 5 คัน
ผลงานเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า ทหารพรานที่เป็น “คนในพื้นที่” จะเป็นกองกำลังใหม่ที่ให้ความหวังในการรุกรบกลบบทบาทของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ได้ โดยเฉพาะปัญหาความหวาดระแวงระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่และระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกันเอง รวมทั้งยังมีแนวโน้มที่จะยุติเหตุร้ายรายวันที่ยังคงดำรงอยู่ได้ในอนาคต
แม้ผลการประเมินอย่างกว้างๆ จะให้ภาพด้านบวกของกองกำลังทหารพรานในพื้นที่ ทว่าตั้งแต่การประกาศส่งทหารพรานชุดใหม่เข้ามาในพื้นที่กระทั่งถึงห้วงที่กองกำลังชุดดำเหล่านี้เข้าประจำการก็ปรากฏการเคลื่อนไหวต่อต้านทหารพรานด้วยการ “ม็อบ” หลายครั้ง โดยยื่นข้อเรียกร้องให้ทหารพรานย้ายออกนอกพื้นที่
ดังกรณีม็อบที่บ้านฆอรอราแม อ.ยะหา ในวันที่ 21 พ.ย. 2549 บ้านตะเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2550 และที่บ้านควนหรัน อ.สะบ้าย้อย เมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางการเชื่อว่าเป็นการชุมนุมและข้อเรียกร้องที่เป็นการจัดตั้ง
อย่างไรก็ตาม ก็ใช่ว่าจะไม่มีเหตุการณ์ที่ทหารพรานสร้างความคลางแคลงใจต่อชาวบ้านเลยเสียทีเดียว โดยเฉพาะ “กรณีบ้านตาเซะ” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ายังมีคำอธิบายเหตุการณ์อยู่ 2 ชุด กล่าวคือ ด้านหนึ่งเจ้าหน้าที่แจงว่าเกิดเหตุปะทะระหว่างคนร้าย 3 คนกับทหารพรานสังกัด 4202 จนคนร้ายหนีเข้าไปในปอเนาะและสุดท้ายเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 1 คน และหลบหนี 1 คน
ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ชาวบ้าน ญาติ และผู้บาดเจ็บระบุว่า ชาวบ้าน 2 คนถูกทหารพรานยิงโดยไม่ทราบสาเหตุ ก่อนจะหลบหนีมาที่ปอเนาะดังกล่าวเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งในเวลาต่อมาทหารพรานได้นำกำลังมาบุกค้น
แม้ล่าสุดเจ้าหน้าที่ทหารได้ชดเชยค่าเสียหายไปแล้วบางส่วน แต่ทว่าข้อเท็จจริงเรื่องนี้ยังเป็นประเด็นสีเทาและยังไม่คลี่คลาย ในขณะที่คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงของประธานกรรมาธิการวิสามัญเพื่อสอบสวนและศึกษาสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังนำประเด็นดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม หลังการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับเจ้าหน้าที่
ขณะนี้ ยังไม่แน่ชัดว่าการประเมินการทำงานของทหารพรานจะนำมาสู่การเพิ่มกำลังทหารพรานในพื้นที่อีกหรือไม่ แต่การสรุปบทเรียนอย่างรอบด้านอาจทำให้ทางการรับมือกับสงครามที่ชี้วัดกันที่มวลชนครั้งนี้ได้อย่างเท่าทันมากที่สุด โดยไม่ตกอยู่ในเงื่อนไขที่ฝ่ายตรงกันข้ามจะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้ในภายหลัง