.
ปีหน้า (2551) เป็นวาระ 100 ปีเรืออากาศโท ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน ผู้เขียนหนังสือ “เมืองนิมิตร” และ “ชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง” ม.ร.ว.นิมิตรมงคล จบจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก และไปฝึกเป็นนักบินขับไล่ ต่อมาในปี 2476 ต้องออกจากประจำการถูกศาลพิเศษตัดสินจำคุก 9 ปี ในคดีกบฏบวรเดช ขณะอยู่ในเรือนจำบางขวางได้พบกับ สอ เศรษฐบุตร คุณสอเล่าว่า ม.ร.ว.นิมิตรมงคลได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มเติมจากท่าน นอกเหนือไปจากการฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และลัทธิการเมืองอื่นๆ ต่อมาในปี 2481 ได้ถูกจับอีกครั้งหนึ่ง และได้รับพระราชทานอภัยโทษเมื่อ พ.ศ. 2489 เมื่อออกจากคุกได้สมรสกับคุณบรรจบพันธุ์ มีบุตรชายหนึ่งคน ซึ่งเกิดภายหลัง ม.ร.ว.นิมิตรมงคล ถึงแก่กรรมเพียง 45 วัน
ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน เป็นนักเรียนวชิราวุธฯ รุ่นเดียวกับชัยสิริ น้องชายผม เมื่อ 30 ปีมาแล้ว ชัยนิมิตรหรือ “หน่อ” เรียนอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำต้นฉบับหนังสือที่พ่อเขาเขียนไว้มาให้ผม ต้นฉบับเหล่านี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อไม่ให้ผู้คุมอ่านรู้เรื่อง เมื่อออกจากคุกมาแล้วก็ถอดความเป็นภาษาไทยอีกครั้ง
หนังสือ “เมืองนิมิตร” แต่เดิมชื่อ “ความฝันของนักอุดมคติ” กับหนังสือ “ชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง” ได้รับความสนใจจากคนหนุ่มสาวสมัยก่อน 14 ตุลาฯ มาก
เมื่อได้อ่านหนังสือทั้งสองเล่มนี้แล้ว ก็มีความรู้สึกว่าคณะราษฎรได้กำจัดศัตรูทางการเมืองอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่เฉพาะพวกนิยมเจ้าเท่านั้น แต่เป็นใครก็ได้ที่วิจารณ์การปกครองระบอบใหม่ หนังสือสองเล่มนี้ทำให้ผมข้องใจกับอุดมการณ์ทางการเมืองของคณะราษฎร จนได้เขียนวิจารณ์พฤติกรรมทางการเมืองของคณะราษฎรหลายครั้ง
หากใครได้อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล แล้วก็อดชมไม่ได้ว่าคนสมัยก่อนมีความรู้แค่จบมัธยมปลาย แต่เขียนภาษาอังกฤษได้อย่างงดงาม
ใน “เมืองนิมิตร” ผู้เขียนได้ระบายความรู้สึกของ “รุ้ง” ตัวเอก ทั้งในเชิงปรัชญาแห่งความรัก และในปรัชญาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
เกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล เขียนไว้ว่า “การแก้ปัญหาเศรษฐกิจต้องแก้ที่นิสัยของนักการเมือง ซึ่งส่วนมากดำเนินนโยบายอย่างใจแคบ คิดสั้น หันหลังเข้าหากัน มนุษย์สร้างความยุ่งยากเพิ่มขึ้นเองด้วยการตั้งกำแพงภาษี และตั้งกฎตั้งเกณฑ์กีดขวางชาตินั้น ภาษานี้ แล้วก็มีการแข่งขันค้าขายอย่างเชือดคอตัวเอง ด้วยเหตุนี้พลโลกกึ่งหนึ่งจึงหิวแสบไส้ในเมื่ออีกกึ่งหนึ่งมีกินอย่างอุดม ยุโรปตะวันออกอดอยาก แต่ชาวนาภาคตะวันตกตอนกลางเอาข้าวโพดมาเผาเป็นเชื้อเพลิง” เกี่ยวกับเงิน และกำไรเขาเขียนว่า “เงินคือเสนียดของอำนาจ เมื่อวิเคราะห์ลงไปอีกชั้นหนึ่ง คือกำไร ซึ่งแปลว่า ความได้เปรียบ กำไรเป็นสิ่งที่เพาะวิญญาณของสงคราม ทำให้มนุษย์ใจบาปหยาบช้าคิดล้างผลาญกัน...เพาะนิสัยเห็นแก่ตัว และขัดขวางความเจริญของโลกทุกระยะ...ถ้ามนุษย์สิ้นความปรารถนาจะหากำไร รัฐบาลต่างๆ ก็คงไม่เอาเปรียบกัน และคงปรึกษากันเพื่อสร้างแผนเศรษฐกิจสำหรับพลโลกขึ้น”
ม.ร.ว.นิมิตรมงคลมีทัศนะที่เป็นสากลนิยม เขาเห็นว่า “ทุกชาติควรตกลงกันดำเนินนโยบายการศึกษาในทางที่ให้เห็นว่ามนุษย์ทั้งโลกนี้เป็นพวกเดียวกัน ศัตรูของเราก็คืออุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้เรารวมกันได้ เช่น ระบอบการปกครองของผู้นำ จารีตประเพณีที่ล้าสมัย”
เกี่ยวกับระบอบการปกครอง เขาเขียนว่า “ลัทธิของกษัตริย์โบราณ และลัทธิกษัตริย์ไม่สวมมงกุฎอย่างฮิตเลอร์ ก็คือ การกดขี่คนส่วนมากด้วยคนส่วนน้อย ลัทธิประชาธิปไตยในยุโรปบางประเทศก็คือการกดขี่คนส่วนน้อยโดยคนส่วนมาก การปกครองตามลัทธิคอมมิวนิสต์ในรัสเซียก็คือการกดขี่คนทุกชั้นที่มิใช่กรรมกรโดยหัวหน้ากรรมกร ยังไม่มีการปกครองในประเทศใดที่น่าพอใจ ถ้าหากรัฐบาลได้ตั้งขึ้นโดยประชาชนเพื่อประชาชนจริงแล้ว รัฐบาลเช่นนั้นย่อมจะไม่กดขี่ข่มเหงราษฎรแม้แต่คนเดียว ไม่ทอดทิ้งราษฎรที่ประสบภัยแม้แต่คนเดียว อย่างนี้จึงจะนับว่าเป็นการปกครองตนเอง รัฐบาลขององคาพยพแห่งจุลินทรีย์เป็นรัฐบาลที่น่าจะถือเป็นตัวอย่างอันน่าปรารถนาสำหรับใช้ในองคาพยพของมนุษย์ รัฐบาลของมนุษย์เคยยิงเป้าพลเมืองของตน แต่มันสมองของมนุษย์ไม่เคยสังหารจุลินทรีย์ในร่างกายของตนเอง ถ้าหากจุลินทรีย์แม้แต่ตัวเดียวต้องประสบภัย มันสมองจะจัดการสั่งอวัยวะอื่นให้ช่วยเหลือ มนุษย์จะมีความสุขมาก ถ้ามีรัฐบาลที่ดีอย่างเดียวกับรัฐบาลขององคาพยพแห่งจุลินทรีย์”
ลูกศิษย์เก่าๆ ของผมที่นิด้าคงจำได้ว่าผมได้นำหนังสือเมืองนิมิตรนี้มาใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบวิชาสังคมไทย และได้นำข้อความบางตอนมาออกข้อสอบให้วิจารณ์กัน
อีกไม่นานจะมีการฉลอง 100 ปี ม.ร.ว.นิมิตรมงคล ต้นฉบับภาษาอังกฤษหนังสือสองเล่มอยู่กับผม ผมเพิ่งคืนให้ ม.ล.ชัยนิมิตรไป มีบางเล่มที่สูญหายไป เช่น นวนิยายเรื่องยาว “บุญธรรมกรรมแต่ง” เป็นต้น ในงานจะมีนิทรรศการแสดงประวัติ และต้นฉบับหนังสือมีการอภิปรายผลงานของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคลด้วย
การประกาศตัวของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคลนับว่าสมสมัย นั่นคือ “ข้าพเจ้าเป็นทหารของชาติ และถวายน้ำพิพัฒน์สัตยาต่อพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าไม่ใช่ทหารของรัฐบาลหรือของกลุ่มนักการเมืองใด”
ปีหน้า (2551) เป็นวาระ 100 ปีเรืออากาศโท ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน ผู้เขียนหนังสือ “เมืองนิมิตร” และ “ชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง” ม.ร.ว.นิมิตรมงคล จบจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก และไปฝึกเป็นนักบินขับไล่ ต่อมาในปี 2476 ต้องออกจากประจำการถูกศาลพิเศษตัดสินจำคุก 9 ปี ในคดีกบฏบวรเดช ขณะอยู่ในเรือนจำบางขวางได้พบกับ สอ เศรษฐบุตร คุณสอเล่าว่า ม.ร.ว.นิมิตรมงคลได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มเติมจากท่าน นอกเหนือไปจากการฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และลัทธิการเมืองอื่นๆ ต่อมาในปี 2481 ได้ถูกจับอีกครั้งหนึ่ง และได้รับพระราชทานอภัยโทษเมื่อ พ.ศ. 2489 เมื่อออกจากคุกได้สมรสกับคุณบรรจบพันธุ์ มีบุตรชายหนึ่งคน ซึ่งเกิดภายหลัง ม.ร.ว.นิมิตรมงคล ถึงแก่กรรมเพียง 45 วัน
ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน เป็นนักเรียนวชิราวุธฯ รุ่นเดียวกับชัยสิริ น้องชายผม เมื่อ 30 ปีมาแล้ว ชัยนิมิตรหรือ “หน่อ” เรียนอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำต้นฉบับหนังสือที่พ่อเขาเขียนไว้มาให้ผม ต้นฉบับเหล่านี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อไม่ให้ผู้คุมอ่านรู้เรื่อง เมื่อออกจากคุกมาแล้วก็ถอดความเป็นภาษาไทยอีกครั้ง
หนังสือ “เมืองนิมิตร” แต่เดิมชื่อ “ความฝันของนักอุดมคติ” กับหนังสือ “ชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง” ได้รับความสนใจจากคนหนุ่มสาวสมัยก่อน 14 ตุลาฯ มาก
เมื่อได้อ่านหนังสือทั้งสองเล่มนี้แล้ว ก็มีความรู้สึกว่าคณะราษฎรได้กำจัดศัตรูทางการเมืองอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่เฉพาะพวกนิยมเจ้าเท่านั้น แต่เป็นใครก็ได้ที่วิจารณ์การปกครองระบอบใหม่ หนังสือสองเล่มนี้ทำให้ผมข้องใจกับอุดมการณ์ทางการเมืองของคณะราษฎร จนได้เขียนวิจารณ์พฤติกรรมทางการเมืองของคณะราษฎรหลายครั้ง
หากใครได้อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล แล้วก็อดชมไม่ได้ว่าคนสมัยก่อนมีความรู้แค่จบมัธยมปลาย แต่เขียนภาษาอังกฤษได้อย่างงดงาม
ใน “เมืองนิมิตร” ผู้เขียนได้ระบายความรู้สึกของ “รุ้ง” ตัวเอก ทั้งในเชิงปรัชญาแห่งความรัก และในปรัชญาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
เกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล เขียนไว้ว่า “การแก้ปัญหาเศรษฐกิจต้องแก้ที่นิสัยของนักการเมือง ซึ่งส่วนมากดำเนินนโยบายอย่างใจแคบ คิดสั้น หันหลังเข้าหากัน มนุษย์สร้างความยุ่งยากเพิ่มขึ้นเองด้วยการตั้งกำแพงภาษี และตั้งกฎตั้งเกณฑ์กีดขวางชาตินั้น ภาษานี้ แล้วก็มีการแข่งขันค้าขายอย่างเชือดคอตัวเอง ด้วยเหตุนี้พลโลกกึ่งหนึ่งจึงหิวแสบไส้ในเมื่ออีกกึ่งหนึ่งมีกินอย่างอุดม ยุโรปตะวันออกอดอยาก แต่ชาวนาภาคตะวันตกตอนกลางเอาข้าวโพดมาเผาเป็นเชื้อเพลิง” เกี่ยวกับเงิน และกำไรเขาเขียนว่า “เงินคือเสนียดของอำนาจ เมื่อวิเคราะห์ลงไปอีกชั้นหนึ่ง คือกำไร ซึ่งแปลว่า ความได้เปรียบ กำไรเป็นสิ่งที่เพาะวิญญาณของสงคราม ทำให้มนุษย์ใจบาปหยาบช้าคิดล้างผลาญกัน...เพาะนิสัยเห็นแก่ตัว และขัดขวางความเจริญของโลกทุกระยะ...ถ้ามนุษย์สิ้นความปรารถนาจะหากำไร รัฐบาลต่างๆ ก็คงไม่เอาเปรียบกัน และคงปรึกษากันเพื่อสร้างแผนเศรษฐกิจสำหรับพลโลกขึ้น”
ม.ร.ว.นิมิตรมงคลมีทัศนะที่เป็นสากลนิยม เขาเห็นว่า “ทุกชาติควรตกลงกันดำเนินนโยบายการศึกษาในทางที่ให้เห็นว่ามนุษย์ทั้งโลกนี้เป็นพวกเดียวกัน ศัตรูของเราก็คืออุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้เรารวมกันได้ เช่น ระบอบการปกครองของผู้นำ จารีตประเพณีที่ล้าสมัย”
เกี่ยวกับระบอบการปกครอง เขาเขียนว่า “ลัทธิของกษัตริย์โบราณ และลัทธิกษัตริย์ไม่สวมมงกุฎอย่างฮิตเลอร์ ก็คือ การกดขี่คนส่วนมากด้วยคนส่วนน้อย ลัทธิประชาธิปไตยในยุโรปบางประเทศก็คือการกดขี่คนส่วนน้อยโดยคนส่วนมาก การปกครองตามลัทธิคอมมิวนิสต์ในรัสเซียก็คือการกดขี่คนทุกชั้นที่มิใช่กรรมกรโดยหัวหน้ากรรมกร ยังไม่มีการปกครองในประเทศใดที่น่าพอใจ ถ้าหากรัฐบาลได้ตั้งขึ้นโดยประชาชนเพื่อประชาชนจริงแล้ว รัฐบาลเช่นนั้นย่อมจะไม่กดขี่ข่มเหงราษฎรแม้แต่คนเดียว ไม่ทอดทิ้งราษฎรที่ประสบภัยแม้แต่คนเดียว อย่างนี้จึงจะนับว่าเป็นการปกครองตนเอง รัฐบาลขององคาพยพแห่งจุลินทรีย์เป็นรัฐบาลที่น่าจะถือเป็นตัวอย่างอันน่าปรารถนาสำหรับใช้ในองคาพยพของมนุษย์ รัฐบาลของมนุษย์เคยยิงเป้าพลเมืองของตน แต่มันสมองของมนุษย์ไม่เคยสังหารจุลินทรีย์ในร่างกายของตนเอง ถ้าหากจุลินทรีย์แม้แต่ตัวเดียวต้องประสบภัย มันสมองจะจัดการสั่งอวัยวะอื่นให้ช่วยเหลือ มนุษย์จะมีความสุขมาก ถ้ามีรัฐบาลที่ดีอย่างเดียวกับรัฐบาลขององคาพยพแห่งจุลินทรีย์”
ลูกศิษย์เก่าๆ ของผมที่นิด้าคงจำได้ว่าผมได้นำหนังสือเมืองนิมิตรนี้มาใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบวิชาสังคมไทย และได้นำข้อความบางตอนมาออกข้อสอบให้วิจารณ์กัน
อีกไม่นานจะมีการฉลอง 100 ปี ม.ร.ว.นิมิตรมงคล ต้นฉบับภาษาอังกฤษหนังสือสองเล่มอยู่กับผม ผมเพิ่งคืนให้ ม.ล.ชัยนิมิตรไป มีบางเล่มที่สูญหายไป เช่น นวนิยายเรื่องยาว “บุญธรรมกรรมแต่ง” เป็นต้น ในงานจะมีนิทรรศการแสดงประวัติ และต้นฉบับหนังสือมีการอภิปรายผลงานของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคลด้วย
การประกาศตัวของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคลนับว่าสมสมัย นั่นคือ “ข้าพเจ้าเป็นทหารของชาติ และถวายน้ำพิพัฒน์สัตยาต่อพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าไม่ใช่ทหารของรัฐบาลหรือของกลุ่มนักการเมืองใด”