สุดสลดสังคมยุคนี้ ลักพาตัวคนแก่ ผู้หญิง และเด็ก เพื่อนำไปขายบริการ ขายแรงงานและขายอวัยวะ รมช.พัฒนาสังคมฯ แฉเองแก๊งลักพาตัวมนุษย์มีจริง หายไปแล้ว 800 คน ระบุอีสานหนักสุด แถมเหิมขู่ฆ่าเจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมฯ เตรียมหารือกระทรวงยุติธรรม และตำรวจ เพื่อวางแผนทำงานแบบบูรณาการ ขณะที่ ครม.ผ่านกฎหมายขยายอายุเด็ก ที่กระทำผิดโดยไม่ต้องถูกลงโทษจากเดิม 7 ปี เป็น 12 ปี ถ้าไม่เกิน 15 ปี ก็จะไม่ถูกลงโทษ แต่ให้ใช้วิธีเพื่อความปลอดภัยแก่เด็ก สำหรับเด็กที่อายุไม่เกิน 18 ปี กระทำผิดให้ใช้วิธีทำทัณฑ์บน ส่วนกฎหมายครองครัว เปิดโอกาสให้คู่สมรสทดลองแยกกันอยู่ 3 ปี หากไปไม่รอดหย่าได้ พร้อมผ่าน กม.คดีผู้บริโภค ให้จัดตั้งแผนกคดีผู้บริโภคในศาลแพ่ง ศาลจังหวัดและศาลแขวง
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รมช.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาแก็งค์ลักพาตัวเด็ก ซึ่งกำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ว่า ยอมรับว่าปัญหานี้มีจริงและเมื่อย้อนหลังไปดูสถิติพบว่ามีเด็กหายประมาณ 700-800 คนและยังมีลักลอบขายแรงงาน โดยมีการตรวจสอบพบว่ามีการไปดักจับที่ สถานีรถโดยสารหมอชิต โดยผู้ถูกจับตัวพอตื่นขึ้นมาอีกทีก็อยู่บนเรือประมงแล้วและอยู่มา 6-7 เดือน
นอกจากนั้นยังมีการลักพาตัวคนแก่ด้วย แต่ตนไม่แน่ใจว่านำไปขายอวัยวะหรือไม่ เห็นข้อมูลเหล่านี้แล้วรู้สึกตกใจ ว่าเดี๋ยวนี้ใจคอของมนุษย์เป็นขนาดนี้แล้วหรือ ถ้าเราไล่จับนกหรือหนูก็เป็นอีกแบบหนึ่ง แต่นี่ไล่จับมนุษย์
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าเมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้นมาทำให้สังคมเกิดการตื่นตระหนก เพราะมีการแจ้งผ่านอีเมลล์ไปยังประชาชนทั่วไป แต่คิดว่าไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนกขนาดนั้น แต่ทุกคนจะต้องตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาและดูแลตัวเอง หากพบเห็นว่า เกิดคดีแบบนี้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่เราคงจะหวังความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ทุกคนจะต้องช่วยกันคือเคลื่อนพลังสังคมไปช่วยเหลือเจ้าหน้าที่
“พื้นที่จ.อีสานจะมีการลักเด็กผู้หญิงเพื่อนำไปขายบริการเป็นจำนวนมาก เช่นพื้นที่ จ.อุดรธานี ซึ่งเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเดินทางไป จ.อุดรธานี พบว่าประเด็นนี้แรงมากและมีอิทธิพลสูง ขนาดเจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ยังถูกขู่ฆ่า ด้วยการส่งลูกปืนมาให้ ส่วนพื้นที่อื่นก็ยังมีปัญหาการลักเด็ก โดยบางส่วนนำไปเป็นขอทาน บางส่วนนำไปขายชายแดนไทย-มาเลเซีย ทั้งนี้ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ผมจะจัดประชุมร่วมกับกระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกทม.เพื่อวางแผนการทำงานอย่างบูรณาการ” นายแพทย์พลเดช กล่าว
นอกจากนี้กระทรวงพัฒนาสังคมฯ จะจัดงานสมัชชาครอบครัว ในวันที่ 5-6 เม.ย.นี้ ที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดี เพราะครอบครัวถือว่าเป็นส่วนสำคัญกับทุกปัญหา เช่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการค้ามนุษย์ พฤติกรรมเสี่ยง ของเด็ก แต่ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เราละเลยความสำคัญสถาบันครอบครัวไปมากเพราะเราไปมุ่งหาเงินเลี้ยงชีพสร้างฐานะทางครอบครัว หากความผูกพันในครอบครัวเหนียวแน่นไม่ว่าเด็กจะไปอยู่ที่ไหนก็จะเป็นภูมิคุ้มกันให้เด็กได้
ครม.ผ่านกม.คดีผู้บริโภค
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรม แถลงภายหลังการประชุมครม.ว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบผ่านร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค โดยจะให้มีการจัดตั้งแผนกคดีผู้บริโภคขึ้นในศาลแพ่ง ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัดและศาลแขวง
นอกจากนี้ยังมีแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ให้ครบทุกแห่งด้วย ซึ่งในกรณีที่มีการฟ้องคดีโดยผู้บริโภคเป็นผู้ฟ้องผู้ประกอบการ ก็ให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม ทั้งนี้เพราะต้องการจะคุ้มครองผู้บริ โภคให้ได้รับความสะดวก ให้ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายมากยิ่งขึ้น การพิจารณาคดีก็จะเร็วขึ้นและจะมีวิธีพิจารณาโดยเฉพาะ ทั้งนี้เมื่อศาลได้รับเรื่องมาแล้วก็จะมีการไกล่เกลี่ยก่อนหากตกลงกันได้ ก็จะได้ทำสัญญาประนีประนอมกัน นอกจากนี้เมื่อศาลชั้นต้นตัดสินแล้วก็สามารถอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไปยังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคได้ หากคดีนั้นมีมูลทรัพย์เกิน 3 แสนบาท
“กฎหมายฉบับนี้มีความพิเศษตรงที่ว่าศาลอุทธรณ์เมื่อได้รับเรื่องไว้แล้ว ก็ต้องตัดสินให้เสร็จภายใน 6 เดือน และหาก 6 เดือนยังไม่เสร็จก็สามารถขยายไปได้ ครั้งละ 1 เดือน และเมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินแล้วก็เป็นอันว่าคดีสิ้นสุด แต่จะมียกเว้นให้กรณีข้อกฎหมายที่สำคัญให้ฎีกาขึ้นไปยังศาลฎีกาได้ ซึ่งตรงนี้จะแปลกกว่าวิธีที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้กฎหมายฉบับนี้จะให้อำนาจศาล ในการปรับผู้ประกอบการที่กระทำโดยไม่สุจริตให้มากยิ่งขึ้น แม้ว่าผู้บริโภคฟ้องคดีจะขอมาน้อย แต่หากศาลเห็นว่าความเสียหายนั้นยังน้อยเกินไปและผู้ประกอบการกระทำโดยไม่สุจริตศาลก็สามารถเพิ่มค่าเสียหายได้อีก” นายชายชัย กล่าว
เด็กอายุไม่เกิน 12 ทำผิดไม่ถูกลงโทษ
รมว.ยุติธรรม กล่าวด้วยว่า สำหรับประมวลกฎหมายอาญา ก็จะมีการเพิ่มอายุผู้กระทำความผิด โดยกฎหมายเดิมหากเป็นเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี ไม่ต้องได้รับโทษ แต่จะคุ้มครองเด็กให้มากขึ้นโดยจะเพิ่มอายุให้มากขึ้นไปอีกเป็น 12 ปี คือถ้าเด็กอายุ 12 ปี กระทำความผิดก็ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งการที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อต้องการ ให้เด็กได้รับการคุ้มครองมากขึ้น ถือว่าเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติ
นายชาญชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังเพิ่มอายุเด็กที่เกิน 12 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปีที่กระทำความผิด ก็เสนอให้ศาลไม่ต้องลงโทษ แต่ให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่เด็กได้ ของเก่าเรากำหนดถึงอายุ 14 ปี และยังมีการกำหนดว่าเด็กที่อายุไม่เกิน 18 ปีไปกระทำความผิดเราก็ไม่ให้ใช้วิธีกักกันและไม่ให้ใช้วิธีทำทัณฑ์บน ซึ่งกฎหมายเดิมกำหนดอายุไว้ 17 ปี แต่ตอนนี้เราเพิ่มไปอีกปีหนึ่งเป็น 18 ปี ทั้งนี้ก็เพื่อคุ้มครองเด็ก
คู่ไหนอยากหย่าให้ลองแยกกันอยู่ 3 ปี
ส่วนกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวนั้น นายชาญชัย กล่าวว่า จะมีการเพิ่มเติม 7 อย่างคือในกรณีที่คู่สมรสอยู่ด้วยกันแล้วไม่มีความสุข ก็อาจจะให้ทดลองแยกกันอยู่ก่อน หากคู่สมรสใดไม่ยอมแยกกันโดยสมัครใจก็ให้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้แยกกันอยู่ และในระหว่างแยกกันอยู่นี้หากอยู่แล้วมีความสุขและครบ 3 ปีแล้วอีกฝ่ายหนึ่งสามารถมาขอให้ฟ้องหย่าได้ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานว่าเด็กที่เกิดจากหญิงใดก็ให้ถือว่าเป็นบุตรของหญิงนั้น เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เช่นอาจเป็นเด็กที่เกิดจากการผสมเทียม ในไข่ของหญิงอื่น หรือเป็นเด็กที่เกิดจากเชื้ออสุจิชายอื่นที่ไม่ใช่สามี จึงเปิดทางเพื่อให้มีการพิสูจน์ได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจากกฎหมายเดิมขึ้นมา
นายชาญชัย กล่าวว่า และผลของการเป็นบุตรที่เดิมกำหนดว่าตั้งแต่วันที่จดทะเบียนรับรองบุตร หรือวันที่ศาลมีคำพิพากษา ก็จะเปลี่ยนใหม่ว่าให้ความเป็นบุตรเริ่มตั้งแต่วันคลอด เพราะโดยธรรมชาติเป็นอย่างนั้น แต่ก็มีข้อยกเว้นว่านิติกรรม ที่เราทำไปแล้วตั้งแต่คลอดจนวันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือวันจดทะเบียนสมรส ถ้าทำโดยสุจริตก็ให้เป็นไปตามหน้าที่ ไม่ถือว่าเป็นโมฆะอะไร
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รมช.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาแก็งค์ลักพาตัวเด็ก ซึ่งกำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ว่า ยอมรับว่าปัญหานี้มีจริงและเมื่อย้อนหลังไปดูสถิติพบว่ามีเด็กหายประมาณ 700-800 คนและยังมีลักลอบขายแรงงาน โดยมีการตรวจสอบพบว่ามีการไปดักจับที่ สถานีรถโดยสารหมอชิต โดยผู้ถูกจับตัวพอตื่นขึ้นมาอีกทีก็อยู่บนเรือประมงแล้วและอยู่มา 6-7 เดือน
นอกจากนั้นยังมีการลักพาตัวคนแก่ด้วย แต่ตนไม่แน่ใจว่านำไปขายอวัยวะหรือไม่ เห็นข้อมูลเหล่านี้แล้วรู้สึกตกใจ ว่าเดี๋ยวนี้ใจคอของมนุษย์เป็นขนาดนี้แล้วหรือ ถ้าเราไล่จับนกหรือหนูก็เป็นอีกแบบหนึ่ง แต่นี่ไล่จับมนุษย์
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าเมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้นมาทำให้สังคมเกิดการตื่นตระหนก เพราะมีการแจ้งผ่านอีเมลล์ไปยังประชาชนทั่วไป แต่คิดว่าไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนกขนาดนั้น แต่ทุกคนจะต้องตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาและดูแลตัวเอง หากพบเห็นว่า เกิดคดีแบบนี้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่เราคงจะหวังความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ทุกคนจะต้องช่วยกันคือเคลื่อนพลังสังคมไปช่วยเหลือเจ้าหน้าที่
“พื้นที่จ.อีสานจะมีการลักเด็กผู้หญิงเพื่อนำไปขายบริการเป็นจำนวนมาก เช่นพื้นที่ จ.อุดรธานี ซึ่งเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเดินทางไป จ.อุดรธานี พบว่าประเด็นนี้แรงมากและมีอิทธิพลสูง ขนาดเจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ยังถูกขู่ฆ่า ด้วยการส่งลูกปืนมาให้ ส่วนพื้นที่อื่นก็ยังมีปัญหาการลักเด็ก โดยบางส่วนนำไปเป็นขอทาน บางส่วนนำไปขายชายแดนไทย-มาเลเซีย ทั้งนี้ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ผมจะจัดประชุมร่วมกับกระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกทม.เพื่อวางแผนการทำงานอย่างบูรณาการ” นายแพทย์พลเดช กล่าว
นอกจากนี้กระทรวงพัฒนาสังคมฯ จะจัดงานสมัชชาครอบครัว ในวันที่ 5-6 เม.ย.นี้ ที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดี เพราะครอบครัวถือว่าเป็นส่วนสำคัญกับทุกปัญหา เช่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการค้ามนุษย์ พฤติกรรมเสี่ยง ของเด็ก แต่ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เราละเลยความสำคัญสถาบันครอบครัวไปมากเพราะเราไปมุ่งหาเงินเลี้ยงชีพสร้างฐานะทางครอบครัว หากความผูกพันในครอบครัวเหนียวแน่นไม่ว่าเด็กจะไปอยู่ที่ไหนก็จะเป็นภูมิคุ้มกันให้เด็กได้
ครม.ผ่านกม.คดีผู้บริโภค
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรม แถลงภายหลังการประชุมครม.ว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบผ่านร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค โดยจะให้มีการจัดตั้งแผนกคดีผู้บริโภคขึ้นในศาลแพ่ง ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัดและศาลแขวง
นอกจากนี้ยังมีแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ให้ครบทุกแห่งด้วย ซึ่งในกรณีที่มีการฟ้องคดีโดยผู้บริโภคเป็นผู้ฟ้องผู้ประกอบการ ก็ให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม ทั้งนี้เพราะต้องการจะคุ้มครองผู้บริ โภคให้ได้รับความสะดวก ให้ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายมากยิ่งขึ้น การพิจารณาคดีก็จะเร็วขึ้นและจะมีวิธีพิจารณาโดยเฉพาะ ทั้งนี้เมื่อศาลได้รับเรื่องมาแล้วก็จะมีการไกล่เกลี่ยก่อนหากตกลงกันได้ ก็จะได้ทำสัญญาประนีประนอมกัน นอกจากนี้เมื่อศาลชั้นต้นตัดสินแล้วก็สามารถอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไปยังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคได้ หากคดีนั้นมีมูลทรัพย์เกิน 3 แสนบาท
“กฎหมายฉบับนี้มีความพิเศษตรงที่ว่าศาลอุทธรณ์เมื่อได้รับเรื่องไว้แล้ว ก็ต้องตัดสินให้เสร็จภายใน 6 เดือน และหาก 6 เดือนยังไม่เสร็จก็สามารถขยายไปได้ ครั้งละ 1 เดือน และเมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินแล้วก็เป็นอันว่าคดีสิ้นสุด แต่จะมียกเว้นให้กรณีข้อกฎหมายที่สำคัญให้ฎีกาขึ้นไปยังศาลฎีกาได้ ซึ่งตรงนี้จะแปลกกว่าวิธีที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้กฎหมายฉบับนี้จะให้อำนาจศาล ในการปรับผู้ประกอบการที่กระทำโดยไม่สุจริตให้มากยิ่งขึ้น แม้ว่าผู้บริโภคฟ้องคดีจะขอมาน้อย แต่หากศาลเห็นว่าความเสียหายนั้นยังน้อยเกินไปและผู้ประกอบการกระทำโดยไม่สุจริตศาลก็สามารถเพิ่มค่าเสียหายได้อีก” นายชายชัย กล่าว
เด็กอายุไม่เกิน 12 ทำผิดไม่ถูกลงโทษ
รมว.ยุติธรรม กล่าวด้วยว่า สำหรับประมวลกฎหมายอาญา ก็จะมีการเพิ่มอายุผู้กระทำความผิด โดยกฎหมายเดิมหากเป็นเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี ไม่ต้องได้รับโทษ แต่จะคุ้มครองเด็กให้มากขึ้นโดยจะเพิ่มอายุให้มากขึ้นไปอีกเป็น 12 ปี คือถ้าเด็กอายุ 12 ปี กระทำความผิดก็ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งการที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อต้องการ ให้เด็กได้รับการคุ้มครองมากขึ้น ถือว่าเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติ
นายชาญชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังเพิ่มอายุเด็กที่เกิน 12 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปีที่กระทำความผิด ก็เสนอให้ศาลไม่ต้องลงโทษ แต่ให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่เด็กได้ ของเก่าเรากำหนดถึงอายุ 14 ปี และยังมีการกำหนดว่าเด็กที่อายุไม่เกิน 18 ปีไปกระทำความผิดเราก็ไม่ให้ใช้วิธีกักกันและไม่ให้ใช้วิธีทำทัณฑ์บน ซึ่งกฎหมายเดิมกำหนดอายุไว้ 17 ปี แต่ตอนนี้เราเพิ่มไปอีกปีหนึ่งเป็น 18 ปี ทั้งนี้ก็เพื่อคุ้มครองเด็ก
คู่ไหนอยากหย่าให้ลองแยกกันอยู่ 3 ปี
ส่วนกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวนั้น นายชาญชัย กล่าวว่า จะมีการเพิ่มเติม 7 อย่างคือในกรณีที่คู่สมรสอยู่ด้วยกันแล้วไม่มีความสุข ก็อาจจะให้ทดลองแยกกันอยู่ก่อน หากคู่สมรสใดไม่ยอมแยกกันโดยสมัครใจก็ให้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้แยกกันอยู่ และในระหว่างแยกกันอยู่นี้หากอยู่แล้วมีความสุขและครบ 3 ปีแล้วอีกฝ่ายหนึ่งสามารถมาขอให้ฟ้องหย่าได้ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานว่าเด็กที่เกิดจากหญิงใดก็ให้ถือว่าเป็นบุตรของหญิงนั้น เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เช่นอาจเป็นเด็กที่เกิดจากการผสมเทียม ในไข่ของหญิงอื่น หรือเป็นเด็กที่เกิดจากเชื้ออสุจิชายอื่นที่ไม่ใช่สามี จึงเปิดทางเพื่อให้มีการพิสูจน์ได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจากกฎหมายเดิมขึ้นมา
นายชาญชัย กล่าวว่า และผลของการเป็นบุตรที่เดิมกำหนดว่าตั้งแต่วันที่จดทะเบียนรับรองบุตร หรือวันที่ศาลมีคำพิพากษา ก็จะเปลี่ยนใหม่ว่าให้ความเป็นบุตรเริ่มตั้งแต่วันคลอด เพราะโดยธรรมชาติเป็นอย่างนั้น แต่ก็มีข้อยกเว้นว่านิติกรรม ที่เราทำไปแล้วตั้งแต่คลอดจนวันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือวันจดทะเบียนสมรส ถ้าทำโดยสุจริตก็ให้เป็นไปตามหน้าที่ ไม่ถือว่าเป็นโมฆะอะไร