"บิ๊กแอ้ด"อ้อมแอ้มรัฐบาลไม่มีความขัดแย้งกับคมช.ในเรื่องการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สกัดม็อบป่วนเมือง ยันได้มีการพูดคุยกันด้วยเหตุผลแล้ว ขณะที่"สนธิ"ระบุต้องเคารพการตัดสินใจของนายกฯ เผยคุยกันทุกวัน ยังไม่เป็นอื่น สั่งทหารเตรียมพร้อมเต็มอัตรา "เสรีพิศูทธ์"ลั่นใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดหากกลุ่มผู้ชุมนุมทำผิดกฎหมาย ขู่วุ่นวายเมื่อไรเจอ พ.ร.ก.แน่ ด้าน"อภิรักษ์"ใจอ่อน ยอมให้ม็อบพีทีวี ยึดลานคนเมืองเปิดเวทีโจมตีรัฐบาล และ คมช.
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่รัฐบาลไม่ประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.)การบริหารราชการสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อจัดการกับกลุ่มผู้ชุมนุมใน กทม.ว่า ในการหารือกันนั้นได้พิจารณากันอย่างรอบคอบในทุกๆด้าน และมีมติออกมาว่าจะยังไม่ประกาศใช้ เพราะในความตั้งใจของทุกๆคน ตนคิดว่าอยากจะให้เหตุการณ์ต่างๆที่เรามองว่ามีความรุนแรงลดระดับลง และสามารถที่จะแก้ไขกันได้ โดยที่ไม่มีความรุนแรง
ทั้งนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ ยืนยันว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล และคมช.เพียงแต่อาจจะมีความเห็นต่างกัน แต่ก็ได้มีการพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผลแล้ว เพราะประธาน คมช.ก็ได้ชี้แจงในส่วนของท่าน รวมทั้งหลายๆคนที่เป็นคณะกรรมการ ก็ได้ชี้แจงเหตุผลในส่วนของแต่ละคนด้วย ซึ่งก็ถือว่ามติที่ออกมานั้นเป็นความเห็นที่ทุกคนเห็นด้วยทั้งหมดแล้ว
"ในเรื่องความแตกแยกผมได้พูดกับ พล.อ.สนธิ เมื่อวานนี้ ว่าในส่วนของการทำงานของรัฐบาลนั้นเราพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะให้มีการแก้ไขปัญหาละล่วงไปโดยที่ไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง เราอาจระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์ มีการเตรียมความพร้อมที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ นั่นก็เป็นเรื่องที่หารือกัน ไม่ใช่เป็นการตัดสินใจว่าจะประกาศหรือไม่ประกาศเท่านั้น ก็คุยกันในเรื่องของการเตรียมการที่จะไม่ให้เกิดความรุนแรงด้วย" พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่าท่าทีของรัฐบาลต่อการชุมนุม ค่อนข้างจะสวนทางกับฝ่ายปฏิบัติ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าทำความเข้าใจกันได้ ก็เป็นทางที่รัฐบาลได้มอบลงไป เมื่อวันที่ 29 มี.ค.นั้นพล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รก.ผบ.ตร.)ก็มาประชุมด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายได้เข้าใจในแนวทางกันหมดแล้ว
**"บิ๊กบัง"เคารพการตัดสินใจนายกฯ
ด้านพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.และประธาน คมช.กล่าวถึงการที่นายกรัฐมนตรีไม่ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้สังคมมีการจับตามองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐฐาลกับคมช.มีความขัดแย้งกันว่า "ไม่มี ไม่มี เป็นอย่างอื่น ทางรัฐบาลมีภาระหน้าที่ในการบริหารประเทศ เมื่อ คมช.เสนอแนะไปก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง เมื่อผลการตัดสินใจออกมาเป็นอยางไร ต้องเคารพการตัดสินใจของท่าน และเข้าใจในเหตุผลของนายกฯ ที่ตัดสินใจในเรื่องนี้ดี เพราะเราได้มีการนั่งหารือกันก่อน"
เมื่อถามว่าถ้าไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะรับมือกับม็อบอย่างไร พล.อ.สนธิ กล่าวว่า รับมือได้ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลมาก เมื่อถามว่า พอใจกับข้อสรุปในที่ประชุมเมื่อ วันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมาหรือไม่ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ถูกแล้ว ๆ ดีแล้ว ต้องมีหลายแนวคิด แนวคิดเดียวคงไม่ถูก ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เมื่อถามย้ำว่า เป็นการปล่อยข่าวของฝ่ายตรงข้ามหรือไม่ว่าทั้งสองคนขัดแย้งกัน พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ใช่ คงน่าจะใช่ เมื่อถามว่า ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างไร พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ได้พูดคุยกันทุกวัน วันละชั่วโมง สองชั่วโมง
**ศ.สงครามพิเศษ 1 กองร้อยเข้ากรุง
รายงานข่าวแจ้งว่า พล.อ.สนธิได้สั่งการให้พล.ท.ชัยพัฒน์ ธีรธำรง ผบ.หน่วยบัญชาการศูนย์สงครามพิเศษ จ.ลพบุรี จัดกำลังพล จำนวน 1 กองร้อย เข้ามาผลัดเปลี่ยนกำลังเพื่อดูแลความปลอดภัยในกองบัญชาการกองทัพบก นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้ พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 และพล.ต.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ผบ.พล.1 รอ.จัดเตรียมกำลังพลให้พร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ทันที หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ส่วนพื้นที่บริเวณรอยต่อระหว่าง กทม. กับ ปริมณฑล ให้หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (นปอ.)ดูแลในการสกัดกั้นกลุ่มม็อบที่จะเคลื่อนย้ายเข้ามาร่วมชุมนุมต่อต้าน คมช.และรัฐบาล
ด้านนางปิยะดา บุญยรัตกลิน ภริยา พล.อ.สนธิ ในฐานะนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับกลุ่มผู้ชุมนุมพีทีวีได้นำกรณีที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสซ้อนของ พล.อ.สนธิ มาโจมตี บนเวทีของกลุ่มผู้ชุมนุม เพียงแต่ระบุว่า "ไม่มีปัญหาอะไรค่ะ และพี่ก็ไม่ห่วง เพราะเป็นเรื่องการเมือง ตอนนี้ก็แค่ให้กำลังใจท่านเท่านั้น"
**ข้องใจพีทีวีต้องการอะไรแน่
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงการดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้พื้นที่บริเวณลานคนเมือง ศาลาว่าการกทม.ว่า คิดว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจากได้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้พร้อมหมดแล้ว โดยในช่วงเช้าได้เชิญผู้บัญชาการตำรวจนครบาล หน่วยสอบสวนกลาง ตำรวจตระเวนชายแดน และตำรวจสันติบาลมาพบและมอบนโยบาย ที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ไว้ ว่าให้กลุ่มผู้ชุมนุมสามารถดำเนินการได้ แต่จะไม่ให้ทำผิดกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าทำผิดก็จะใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปดำเนินการ พร้อมกันนี้ตั้งแต่วันจันทร์นี้เป็นต้นไป ตนจะเชิญแกนนำม็อบมาพูดคุยเพื่อสอบถามวัตถุประสงค์การจัดชุมนุมโดยได้มอบหมายผู้บัญชาการตำรวจนครบาลทำการติดต่อประสานงาน
"ไม่ได้ขอร้อง แต่ให้มาคุยให้รู้เรื่อง เพราะม็อบอันนี้มากันหลายวัตถุประสงค์ เพราะฉะนั้นต้องเชิญมาพูดคุยกันว่าอะไรคืออะไร"
เมื่อถามว่าระดับความรุนแรงขนาดไหนจึงจะเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า ไม่ต้องรุนแรง แต่เราต้องเตรียมพร้อมไว้ก่อน ดีกว่าให้เกิดปัญหารุนแรงแล้วมานั่งแก้ไข เพราะฉะนั้นขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเตรียมความพร้อมไว้เต็มอัตรา ทางเจ้าหน้าที่จะไม่มีการยั่วยุ แต่จะพยายามทำความเข้าใจ ซึ่งอยากขอร้องสื่อมวลชนช่วยทำความเข้าใจกับประชาชนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่ามาร่วมชุมนุม ควรรับฟังข่าวสารอยู่ที่บ้านจะเหมาะสมกว่า
**มีปัญหาเมื่อไรใช้ พ.ร.ก.ทันที
ผู้สื่อข่าวถามว่าได้มีการจำแนกกลุ่มผู้ชุมนุมที่ควรจับตาเป็นพิเศษหรือไม่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่าจะมีการดูว่าหากเป็นกลุ่มประชาชนที่มีปัญหาความเดือดร้อนจริงก็จะพยายามช่วยแก้ไขปัญหาให้ แต่หากมีวัตถุประสงค์อื่นก็คงยอมไม่ได้ เมื่อถามต่อถึงกรณีของกลุ่มพีทีวีว่า จะดำเนินการอย่างไร รก.ผบ.ตร. กล่าวว่าตนจะเชิญมาคุยในวันที่ 2 เม.ย. เมื่อถามว่าการที่กลุ่มพีทีวีจะนำประเด็นการจดทะเบียนสมรสซ้อนของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคมช. มาเปิดเผยจะเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ รก.ผบ.ตร.กล่าวว่า ขอเพียงอย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็แล้วกัน เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ก็ไม่รู้
เมื่อถามว่า ได้แจ้งให้นายกฯทราบถึงความต้องการเครื่องมืออะไรก็ได้ สำหรับให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ง่ายขึ้นหรือไม่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่านายกฯ มีความเห็นกับตนในประเด็นนี้ว่า ควรรอให้เกิดเหตุการณ์ก่อนซึ่งเมื่อเกิดแล้วนายกฯ จะพิจารณาประกาศใช้พ.ร.ก.ได้ทันที
"ท่านบอกว่ารอให้มันวุ่นวาย ถ้ามันวุ่นวายแล้วจะเอามาใช้ ขณะนี้ท่านเตรียมพร้อมทุกอย่างหมดแล้ว ซึ่งที่ประชุมก็เตรียมพร้อมไว้หมดแล้วที่ผมพูดถึงมันเป็นความคิดของผมคนเดียว ซึ่งมันยังไม่มีสถานการณ์อะไร แต่นายกฯท่านได้เตรียมพร้อมแล้ว ถ้ามีปัญหาเมื่อไร ก็ทันทีไม่ต้องมานั่งคิดอะไรอีก เซ็นต์ชื่อตัวเดียวออกเลขที่ใช้ได้เลย" พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าว
**แม่ทัพภาค 1 ยันทหารพร้อม
พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 1(ผอ.รมน.ภาค 1 )กล่าวถึงมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยของกลุ่มผู้ชุมนุมว่า การชุมนุมจะต้องอยู่ในกรอบ สิ่งใดที่ไม่ถูกต้องเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนทหารจะเตรียมพร้อมรักษาการอยู่ในที่ตั้ง หากทหารจะต้องนำกำลังเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างๆ ต้องได้รับการอนุมัติ หรือสั่งการจากผู้บังคับบัญชา แต่สถานการณ์ขณะนี้เป็นสถานการณ์ปกติ ไม่ใช่สถานการณ์ที่ทหารจะมาเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
"ขั้นแรกเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นผู้ดำเนินการเรื่องการเจรจา หรือการดำเนินการต่างๆเกี่ยวกับม็อบ หากเหตุการณ์วุ่นวาย เขาจะร้องขอทหารมาช่วย ซึ่งเป็นขั้นที่สองต้องร้องขอกำลังจากรัฐบาล เพื่อให้มีการอนุมัติในการใช้กำลัง ทั้งนี้ แผนรับมือที่วางไว้ไม่ได้เพื่อรับมือกับใคร แต่เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนและบาดเจ็บ ทั้งนี้ คาดว่าการปฏิบัติงานจะจบในขั้นแรก โดยไม่ต้องถึงขั้นทหารปฏิบัติ" พล.ท.ประยุทธ์ กล่าว
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่ามีกลุ่มม็อบจากภาคใต้เคลื่อนเข้ามาชุมนุมในกรุงเทพฯ พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่มี ขณะนี้ทุกหน่วยพยายามพูดคุย เจรจา หากเขาเข้ามาแสดงว่ามีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ ทั้งนี้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.ได้สั่งการให้ตนดูแลความสงบเรียบร้อยให้ดีที่สุด อย่าให้เกิดผลกระทบกับประชาชนและเศรษฐกิจ หากสถานการณ์บานปลายจำเป็นจะต้องประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล
พล.ท.ประยุทธ์ ยืนยันว่า ไม่มีการส่งทหารนอกเครื่องแบบเข้าไปแทรกในผู้ชุมนุม เพราะทหารนอกเครื่องแบบไม่สามารถทำอะไรได้ ทำได้เพียงงานการข่าว เพราะไม่สามารถพกพาอาวุธได้ ดังนั้น หากมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ขอให้รู้ว่า ไม่ใช่การกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่เป็นใครก็ไม่รู้ ซึ่งไม่ใช่วิธีของเจ้าหน้าที่ เพราะเราไม่ต้องการให้ใครได้รับบาดเจ็บ
ด้าน พล.ต.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองศ์ (พล 1 รอ.)กล่าวว่า ภารกิจที่ พล 1.รอ.ได้รับ คือเป็นหน่วยหลักของกองทัพในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยฝ่ายตำรวจจะเป็นเจ้าภาพหลัก ส่วน พล.1 รอ.จะเป็นหน่วยเสริม ทั้งนี้ ตนได้กำชับให้หน่วยในสังกัดที่อยู่ในพื้นที่ กทม.ไม่ว่าจะเป็น กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ และกองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ จัดเตรียมกำลังให้พร้อม ตามแผนปฐพี 149 หากการชุมนุมบานปลาย และตำรวจรับมือไม่ไหว จะได้เคลื่อนกำลังเข้าระงับเหตุได้ทันที
**กทม.ใจอ่อนยอมให้ใช้ลานคนเมือง
เมื่อเวลา 10.40 น.วานนี้ นายอารี ไกรนรา ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ พีทีวี ได้มายื่นหนังสือขออนุญาตใช้ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการ กทม.จัดปราศรัยเพื่อส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย และต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการ โดยจะขอใช้สถานที่ตั้งแต่เวลา 16.30–24.00 น.ทั้งนี้ นายโกวิท ธารณา ที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม.และนายถนอม อ่อนเกตุพล รองโฆษก กทม.เป็นผู้รับเรื่อง
นายถนอม กล่าวว่า นโยบายของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม.ไม่ขัดขวางในวิธีการที่จะใช้เวทีปราศรัยทางการเมือง แต่ไม่ได้จะสนับสนุนให้ใช้ลานคนเมือง เพราะลานคนเมืองไม่เคยอนุญาตให้จัดกิจกรรมทางการเมืองเนื่องจากบริเวณโดยรอบเป็นชุมชน และมีวัดสุทัศน์ตั้งอยู่ ซึ่งจะเป็นการรบกวนวัด และการพักผ่อนของประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม กทม.จะอนุญาตให้ใช้สถานที่ได้ถึงเวลา 22.30 น. เพื่อไม่ให้รบกวนประชาชนโดยรอบ
ด้านนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม.เปิดเผยภายหลังการประชุมด่วน ร่วมกับ พล.ท.อดิศร นนทรีย์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) และ พล.ต.ดาว์พงษ์ เรืองสุวรณ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ หลังจากที่ กทม.อนุญาตให้กลุ่มพีทีวี ใช้ลานคนเมืองจัดเวทีปราศรัยว่า ได้คุยกันในหลักการขอความร่วมมือให้ชุมนุมด้วยความสงบเรียบร้อย และกทม.เองก็ได้กำหนดจุดพื้นที่สำหรับการชุมนุมโดยให้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะอีกส่วนหนึ่งได้จัดไว้ให้กับประชาชนที่จะมาออกกำลังกายในช่วงเย็นทุกวัน
ทั้งนี้ คาดว่า จะไม่ให้จัดการชุมนุมเกินเวลา 22.30 น.เนื่องจากโดยรอบเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน มีวัดสุทัศน์ฯ ซึ่งได้ขอความร่วมมือให้ปราศรัยอยู่ในกรอบ และหวังว่าพีทีวีจะช่วยทำให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะไม่เป็นบรรทัดฐานสำหรับกลุ่มอื่นที่จะมาขอใช้ลานคนเมืองชุมนุมบ้าง นายอภิรักษ์ กล่าวว่า เราคงต้องดูเป็นกรณี เพราะตนเคยพูดชัดเจนแล้วว่า ปกติ กทม.ไม่เคยอนุญาตให้มีการชุมนุมที่ลานคนเมือง เพียงแต่ว่าเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และในกรอบที่ได้เคยดูว่าในการชุมนุมตามระบอบประชาธิปไตยถ้าไม่ไปละเมิดคนอื่น ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเป็นสิ่งที่ กทม.จะพยายามดูแลให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์แต่ละช่วง
"หากจะชุมนุมเกินกำหนดเวลา ผมคิดว่าต้องคุยกัน แต่ต้องให้เป็นไปตามกติกาที่ตกลงกันไว้คือ 22.30 น.ซึ่งอยากให้เคารพกติกา กฎหมาย เพราะสถานการณ์วันนี้ก็เข้าใจว่าอยากแสดงความคิดเห็นแต่คงพยายามให้เกิดความเรียบร้อยมากที่สุด"
**อดีต ส.ส.ทรท.ร่วมชุมนุม
ผู้สื่อข่าวรายงาน การชุมนุมของกลุ่มพีทีวี ว่าเมื่อเวลา 18.00 น. พล.ต.ต.อภิชาติ เชื้อเทศ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 ได้เดินทางมาร่วมหารือกับตัวแทนผู้ชุมนุม โดยระบุว่า ผู้ชุมนุมจะต้องปฏิบัติตามสัญญาคือจะต้องชุมนุมจนถึงเวลา 22.30 น.เท่านั้นต่อมาเวลาประมาณ 19.00 น.มีกลุ่มผู้ชุมนุมเพิ่มจำนวนขึ้น ประมาณ 1,000 คน ประกอบด้วย กลุ่มชุมนุมอื่น เช่น คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ กลุ่มพิราบขาว รวมทั้งประชาชนที่สนใจทางการเมืองอีกจำนวนหนึ่ง
ทั้งนี้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำม็อบพีทีวี ได้เริ่มปราศรัยโจมตีการทำงานของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.และการที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม.ไม่เปิดให้ใช้สนามหลวงในการชุมนุม ขณะที่นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำพีทีวี อีกคน กล่าวพาดพิง พล.อ.สนธิ ถึงการจดทะเบียนสมรสซ้อน โดยยกตัวอย่างว่า"กรณีที่เคยเกิดในกระทรวงยุติธรรม เมื่อเร็วๆนี้ ในเรื่องของกระบวนการสรรหาศาลฎีกา คนที่สอบได้ที่ 1 ทั้งเนติบัณฑิต และผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่คาดหมายว่า จะได้เป็นประธานศาลฎีกา อย่างแน่นอน แต่กลับพบว่า มีการจดทะเบียนสมรสซ้อนถึง 4 ใบ คนๆนี้ จึงต้องออกจากราชการในช่วงนั้นไป เรื่องนี้ นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรม น่าจะรู้ดีที่สุด ผมไม่อยากจะพูดอะไรมาก กลัวว่าจะมีการนำไปเปรียบเทียบกับใคร"
สำหรับบรรยากาศการชุมนุมครั้งนี้ พบว่ามีอดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทยหลายคนเข้ามาร่วมชุมนุมด้วย เช่น นายธีระชัย แสนแก้ว อดีต สส.อุดรธานี นพ.วัลลภ ยังตรง อดีตส.ส.สมุทรปราการ นายนิสิต สินธุไพร อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด และ นายจิรายุ นวเกตุ อดีตผู้สมัคร ส.ส.สตูล นอกจากนั้น ยังมีการเดินล่ารายชื่อโดยระบุชื่อของ นายนพพร นามเชียงใต้ แกนนำคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ว่าจะนำรายชื่อร่วมทูลเกล้าถวายฎีกา เพื่อให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ออกจากตำแหน่ง ต่อราชเลขาธิการ โดยระบุวันที่จะยื่นหนังสือในวันที่ 5 เม.ย.นี้
**ทรท.ทวงอำนาจด้วยเลือกตั้งหรือม็อบ
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่นายกฯ ส่งสัญญาณเลือกตั้งเพื่อลดความหวาดระแวงในประเด็นเรื่องสืบทอดอำนาจ เพราะการกำหนดช่วงเวลาเลือกตั้งที่ชัดเจนทำให้การเมืองเริ่มมีระเบียบ หากรัฐบาลและ คมช.สามารถจัดทำปฏิทินคืนอำนาจให้ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น วันลงประชามติรัฐธรรมนูญ ช่วงเวลาตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่สำคัญ และกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอน จะสามารถลดความอึมครึมและลดแรงกดดันของกลุ่มต่างๆ ทางการเมือง โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของบรรดานักการเมืองและพรรคการเมือง และถ้าเป็นไปได้ คมช.และรัฐบาลควรผ่อนปรนให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมการเมืองที่ไม่กระทบกับการแก้ปัญหาของประเทศได้
ส่วนการชุมนุมของกลุ่มพีทีวีนั้น เชื่อว่าจะอ่อนกำลังลง เพราะเริ่มมีหลักฐานถูกนำไปเชื่อมโยงกับพรรคไทยรักไทย ซึ่งพรรคไทยรักไทย ก็เรียกร้องว่าให้มีการจัดการเลือกตั้งเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชน และเมื่อครั้งที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่ระบอบทักษิณ บรรดาแกนนำพรรคไทยรักไทยต่างประสานเสียงว่า ให้การเลือกตั้งเป็นตัวตัดสิน หรือคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง วันนี้เมื่อรัฐบาลประกาศวันเลือกตั้งแล้ว ก็อยากถามแกนนำพรรคไทยรักไทยและแกนนำผู้ชุมนุมพีทีวี ว่าจะทวงอำนาจคืนด้วยการเลือกตั้ง หรือการเดินขบวน
ถ้าผู้บริหารพีทีวีสุจริตใจจริงว่าไม่เกี่ยวกับพรรคไทยรักไทย ก็ต้องกล้าประกาศว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งหน้าในนามพรรคไทยรักไทย
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่รัฐบาลไม่ประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.)การบริหารราชการสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อจัดการกับกลุ่มผู้ชุมนุมใน กทม.ว่า ในการหารือกันนั้นได้พิจารณากันอย่างรอบคอบในทุกๆด้าน และมีมติออกมาว่าจะยังไม่ประกาศใช้ เพราะในความตั้งใจของทุกๆคน ตนคิดว่าอยากจะให้เหตุการณ์ต่างๆที่เรามองว่ามีความรุนแรงลดระดับลง และสามารถที่จะแก้ไขกันได้ โดยที่ไม่มีความรุนแรง
ทั้งนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ ยืนยันว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล และคมช.เพียงแต่อาจจะมีความเห็นต่างกัน แต่ก็ได้มีการพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผลแล้ว เพราะประธาน คมช.ก็ได้ชี้แจงในส่วนของท่าน รวมทั้งหลายๆคนที่เป็นคณะกรรมการ ก็ได้ชี้แจงเหตุผลในส่วนของแต่ละคนด้วย ซึ่งก็ถือว่ามติที่ออกมานั้นเป็นความเห็นที่ทุกคนเห็นด้วยทั้งหมดแล้ว
"ในเรื่องความแตกแยกผมได้พูดกับ พล.อ.สนธิ เมื่อวานนี้ ว่าในส่วนของการทำงานของรัฐบาลนั้นเราพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะให้มีการแก้ไขปัญหาละล่วงไปโดยที่ไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง เราอาจระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์ มีการเตรียมความพร้อมที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ นั่นก็เป็นเรื่องที่หารือกัน ไม่ใช่เป็นการตัดสินใจว่าจะประกาศหรือไม่ประกาศเท่านั้น ก็คุยกันในเรื่องของการเตรียมการที่จะไม่ให้เกิดความรุนแรงด้วย" พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่าท่าทีของรัฐบาลต่อการชุมนุม ค่อนข้างจะสวนทางกับฝ่ายปฏิบัติ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าทำความเข้าใจกันได้ ก็เป็นทางที่รัฐบาลได้มอบลงไป เมื่อวันที่ 29 มี.ค.นั้นพล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รก.ผบ.ตร.)ก็มาประชุมด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายได้เข้าใจในแนวทางกันหมดแล้ว
**"บิ๊กบัง"เคารพการตัดสินใจนายกฯ
ด้านพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.และประธาน คมช.กล่าวถึงการที่นายกรัฐมนตรีไม่ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้สังคมมีการจับตามองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐฐาลกับคมช.มีความขัดแย้งกันว่า "ไม่มี ไม่มี เป็นอย่างอื่น ทางรัฐบาลมีภาระหน้าที่ในการบริหารประเทศ เมื่อ คมช.เสนอแนะไปก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง เมื่อผลการตัดสินใจออกมาเป็นอยางไร ต้องเคารพการตัดสินใจของท่าน และเข้าใจในเหตุผลของนายกฯ ที่ตัดสินใจในเรื่องนี้ดี เพราะเราได้มีการนั่งหารือกันก่อน"
เมื่อถามว่าถ้าไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะรับมือกับม็อบอย่างไร พล.อ.สนธิ กล่าวว่า รับมือได้ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลมาก เมื่อถามว่า พอใจกับข้อสรุปในที่ประชุมเมื่อ วันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมาหรือไม่ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ถูกแล้ว ๆ ดีแล้ว ต้องมีหลายแนวคิด แนวคิดเดียวคงไม่ถูก ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เมื่อถามย้ำว่า เป็นการปล่อยข่าวของฝ่ายตรงข้ามหรือไม่ว่าทั้งสองคนขัดแย้งกัน พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ใช่ คงน่าจะใช่ เมื่อถามว่า ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างไร พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ได้พูดคุยกันทุกวัน วันละชั่วโมง สองชั่วโมง
**ศ.สงครามพิเศษ 1 กองร้อยเข้ากรุง
รายงานข่าวแจ้งว่า พล.อ.สนธิได้สั่งการให้พล.ท.ชัยพัฒน์ ธีรธำรง ผบ.หน่วยบัญชาการศูนย์สงครามพิเศษ จ.ลพบุรี จัดกำลังพล จำนวน 1 กองร้อย เข้ามาผลัดเปลี่ยนกำลังเพื่อดูแลความปลอดภัยในกองบัญชาการกองทัพบก นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้ พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 และพล.ต.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ผบ.พล.1 รอ.จัดเตรียมกำลังพลให้พร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ทันที หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ส่วนพื้นที่บริเวณรอยต่อระหว่าง กทม. กับ ปริมณฑล ให้หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (นปอ.)ดูแลในการสกัดกั้นกลุ่มม็อบที่จะเคลื่อนย้ายเข้ามาร่วมชุมนุมต่อต้าน คมช.และรัฐบาล
ด้านนางปิยะดา บุญยรัตกลิน ภริยา พล.อ.สนธิ ในฐานะนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับกลุ่มผู้ชุมนุมพีทีวีได้นำกรณีที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสซ้อนของ พล.อ.สนธิ มาโจมตี บนเวทีของกลุ่มผู้ชุมนุม เพียงแต่ระบุว่า "ไม่มีปัญหาอะไรค่ะ และพี่ก็ไม่ห่วง เพราะเป็นเรื่องการเมือง ตอนนี้ก็แค่ให้กำลังใจท่านเท่านั้น"
**ข้องใจพีทีวีต้องการอะไรแน่
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงการดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้พื้นที่บริเวณลานคนเมือง ศาลาว่าการกทม.ว่า คิดว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจากได้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้พร้อมหมดแล้ว โดยในช่วงเช้าได้เชิญผู้บัญชาการตำรวจนครบาล หน่วยสอบสวนกลาง ตำรวจตระเวนชายแดน และตำรวจสันติบาลมาพบและมอบนโยบาย ที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ไว้ ว่าให้กลุ่มผู้ชุมนุมสามารถดำเนินการได้ แต่จะไม่ให้ทำผิดกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าทำผิดก็จะใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปดำเนินการ พร้อมกันนี้ตั้งแต่วันจันทร์นี้เป็นต้นไป ตนจะเชิญแกนนำม็อบมาพูดคุยเพื่อสอบถามวัตถุประสงค์การจัดชุมนุมโดยได้มอบหมายผู้บัญชาการตำรวจนครบาลทำการติดต่อประสานงาน
"ไม่ได้ขอร้อง แต่ให้มาคุยให้รู้เรื่อง เพราะม็อบอันนี้มากันหลายวัตถุประสงค์ เพราะฉะนั้นต้องเชิญมาพูดคุยกันว่าอะไรคืออะไร"
เมื่อถามว่าระดับความรุนแรงขนาดไหนจึงจะเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า ไม่ต้องรุนแรง แต่เราต้องเตรียมพร้อมไว้ก่อน ดีกว่าให้เกิดปัญหารุนแรงแล้วมานั่งแก้ไข เพราะฉะนั้นขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเตรียมความพร้อมไว้เต็มอัตรา ทางเจ้าหน้าที่จะไม่มีการยั่วยุ แต่จะพยายามทำความเข้าใจ ซึ่งอยากขอร้องสื่อมวลชนช่วยทำความเข้าใจกับประชาชนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่ามาร่วมชุมนุม ควรรับฟังข่าวสารอยู่ที่บ้านจะเหมาะสมกว่า
**มีปัญหาเมื่อไรใช้ พ.ร.ก.ทันที
ผู้สื่อข่าวถามว่าได้มีการจำแนกกลุ่มผู้ชุมนุมที่ควรจับตาเป็นพิเศษหรือไม่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่าจะมีการดูว่าหากเป็นกลุ่มประชาชนที่มีปัญหาความเดือดร้อนจริงก็จะพยายามช่วยแก้ไขปัญหาให้ แต่หากมีวัตถุประสงค์อื่นก็คงยอมไม่ได้ เมื่อถามต่อถึงกรณีของกลุ่มพีทีวีว่า จะดำเนินการอย่างไร รก.ผบ.ตร. กล่าวว่าตนจะเชิญมาคุยในวันที่ 2 เม.ย. เมื่อถามว่าการที่กลุ่มพีทีวีจะนำประเด็นการจดทะเบียนสมรสซ้อนของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคมช. มาเปิดเผยจะเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ รก.ผบ.ตร.กล่าวว่า ขอเพียงอย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็แล้วกัน เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ก็ไม่รู้
เมื่อถามว่า ได้แจ้งให้นายกฯทราบถึงความต้องการเครื่องมืออะไรก็ได้ สำหรับให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ง่ายขึ้นหรือไม่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่านายกฯ มีความเห็นกับตนในประเด็นนี้ว่า ควรรอให้เกิดเหตุการณ์ก่อนซึ่งเมื่อเกิดแล้วนายกฯ จะพิจารณาประกาศใช้พ.ร.ก.ได้ทันที
"ท่านบอกว่ารอให้มันวุ่นวาย ถ้ามันวุ่นวายแล้วจะเอามาใช้ ขณะนี้ท่านเตรียมพร้อมทุกอย่างหมดแล้ว ซึ่งที่ประชุมก็เตรียมพร้อมไว้หมดแล้วที่ผมพูดถึงมันเป็นความคิดของผมคนเดียว ซึ่งมันยังไม่มีสถานการณ์อะไร แต่นายกฯท่านได้เตรียมพร้อมแล้ว ถ้ามีปัญหาเมื่อไร ก็ทันทีไม่ต้องมานั่งคิดอะไรอีก เซ็นต์ชื่อตัวเดียวออกเลขที่ใช้ได้เลย" พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าว
**แม่ทัพภาค 1 ยันทหารพร้อม
พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 1(ผอ.รมน.ภาค 1 )กล่าวถึงมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยของกลุ่มผู้ชุมนุมว่า การชุมนุมจะต้องอยู่ในกรอบ สิ่งใดที่ไม่ถูกต้องเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนทหารจะเตรียมพร้อมรักษาการอยู่ในที่ตั้ง หากทหารจะต้องนำกำลังเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างๆ ต้องได้รับการอนุมัติ หรือสั่งการจากผู้บังคับบัญชา แต่สถานการณ์ขณะนี้เป็นสถานการณ์ปกติ ไม่ใช่สถานการณ์ที่ทหารจะมาเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
"ขั้นแรกเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นผู้ดำเนินการเรื่องการเจรจา หรือการดำเนินการต่างๆเกี่ยวกับม็อบ หากเหตุการณ์วุ่นวาย เขาจะร้องขอทหารมาช่วย ซึ่งเป็นขั้นที่สองต้องร้องขอกำลังจากรัฐบาล เพื่อให้มีการอนุมัติในการใช้กำลัง ทั้งนี้ แผนรับมือที่วางไว้ไม่ได้เพื่อรับมือกับใคร แต่เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนและบาดเจ็บ ทั้งนี้ คาดว่าการปฏิบัติงานจะจบในขั้นแรก โดยไม่ต้องถึงขั้นทหารปฏิบัติ" พล.ท.ประยุทธ์ กล่าว
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่ามีกลุ่มม็อบจากภาคใต้เคลื่อนเข้ามาชุมนุมในกรุงเทพฯ พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่มี ขณะนี้ทุกหน่วยพยายามพูดคุย เจรจา หากเขาเข้ามาแสดงว่ามีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ ทั้งนี้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.ได้สั่งการให้ตนดูแลความสงบเรียบร้อยให้ดีที่สุด อย่าให้เกิดผลกระทบกับประชาชนและเศรษฐกิจ หากสถานการณ์บานปลายจำเป็นจะต้องประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล
พล.ท.ประยุทธ์ ยืนยันว่า ไม่มีการส่งทหารนอกเครื่องแบบเข้าไปแทรกในผู้ชุมนุม เพราะทหารนอกเครื่องแบบไม่สามารถทำอะไรได้ ทำได้เพียงงานการข่าว เพราะไม่สามารถพกพาอาวุธได้ ดังนั้น หากมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ขอให้รู้ว่า ไม่ใช่การกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่เป็นใครก็ไม่รู้ ซึ่งไม่ใช่วิธีของเจ้าหน้าที่ เพราะเราไม่ต้องการให้ใครได้รับบาดเจ็บ
ด้าน พล.ต.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองศ์ (พล 1 รอ.)กล่าวว่า ภารกิจที่ พล 1.รอ.ได้รับ คือเป็นหน่วยหลักของกองทัพในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยฝ่ายตำรวจจะเป็นเจ้าภาพหลัก ส่วน พล.1 รอ.จะเป็นหน่วยเสริม ทั้งนี้ ตนได้กำชับให้หน่วยในสังกัดที่อยู่ในพื้นที่ กทม.ไม่ว่าจะเป็น กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ และกองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ จัดเตรียมกำลังให้พร้อม ตามแผนปฐพี 149 หากการชุมนุมบานปลาย และตำรวจรับมือไม่ไหว จะได้เคลื่อนกำลังเข้าระงับเหตุได้ทันที
**กทม.ใจอ่อนยอมให้ใช้ลานคนเมือง
เมื่อเวลา 10.40 น.วานนี้ นายอารี ไกรนรา ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ พีทีวี ได้มายื่นหนังสือขออนุญาตใช้ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการ กทม.จัดปราศรัยเพื่อส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย และต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการ โดยจะขอใช้สถานที่ตั้งแต่เวลา 16.30–24.00 น.ทั้งนี้ นายโกวิท ธารณา ที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม.และนายถนอม อ่อนเกตุพล รองโฆษก กทม.เป็นผู้รับเรื่อง
นายถนอม กล่าวว่า นโยบายของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม.ไม่ขัดขวางในวิธีการที่จะใช้เวทีปราศรัยทางการเมือง แต่ไม่ได้จะสนับสนุนให้ใช้ลานคนเมือง เพราะลานคนเมืองไม่เคยอนุญาตให้จัดกิจกรรมทางการเมืองเนื่องจากบริเวณโดยรอบเป็นชุมชน และมีวัดสุทัศน์ตั้งอยู่ ซึ่งจะเป็นการรบกวนวัด และการพักผ่อนของประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม กทม.จะอนุญาตให้ใช้สถานที่ได้ถึงเวลา 22.30 น. เพื่อไม่ให้รบกวนประชาชนโดยรอบ
ด้านนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม.เปิดเผยภายหลังการประชุมด่วน ร่วมกับ พล.ท.อดิศร นนทรีย์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) และ พล.ต.ดาว์พงษ์ เรืองสุวรณ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ หลังจากที่ กทม.อนุญาตให้กลุ่มพีทีวี ใช้ลานคนเมืองจัดเวทีปราศรัยว่า ได้คุยกันในหลักการขอความร่วมมือให้ชุมนุมด้วยความสงบเรียบร้อย และกทม.เองก็ได้กำหนดจุดพื้นที่สำหรับการชุมนุมโดยให้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะอีกส่วนหนึ่งได้จัดไว้ให้กับประชาชนที่จะมาออกกำลังกายในช่วงเย็นทุกวัน
ทั้งนี้ คาดว่า จะไม่ให้จัดการชุมนุมเกินเวลา 22.30 น.เนื่องจากโดยรอบเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน มีวัดสุทัศน์ฯ ซึ่งได้ขอความร่วมมือให้ปราศรัยอยู่ในกรอบ และหวังว่าพีทีวีจะช่วยทำให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะไม่เป็นบรรทัดฐานสำหรับกลุ่มอื่นที่จะมาขอใช้ลานคนเมืองชุมนุมบ้าง นายอภิรักษ์ กล่าวว่า เราคงต้องดูเป็นกรณี เพราะตนเคยพูดชัดเจนแล้วว่า ปกติ กทม.ไม่เคยอนุญาตให้มีการชุมนุมที่ลานคนเมือง เพียงแต่ว่าเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และในกรอบที่ได้เคยดูว่าในการชุมนุมตามระบอบประชาธิปไตยถ้าไม่ไปละเมิดคนอื่น ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเป็นสิ่งที่ กทม.จะพยายามดูแลให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์แต่ละช่วง
"หากจะชุมนุมเกินกำหนดเวลา ผมคิดว่าต้องคุยกัน แต่ต้องให้เป็นไปตามกติกาที่ตกลงกันไว้คือ 22.30 น.ซึ่งอยากให้เคารพกติกา กฎหมาย เพราะสถานการณ์วันนี้ก็เข้าใจว่าอยากแสดงความคิดเห็นแต่คงพยายามให้เกิดความเรียบร้อยมากที่สุด"
**อดีต ส.ส.ทรท.ร่วมชุมนุม
ผู้สื่อข่าวรายงาน การชุมนุมของกลุ่มพีทีวี ว่าเมื่อเวลา 18.00 น. พล.ต.ต.อภิชาติ เชื้อเทศ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 ได้เดินทางมาร่วมหารือกับตัวแทนผู้ชุมนุม โดยระบุว่า ผู้ชุมนุมจะต้องปฏิบัติตามสัญญาคือจะต้องชุมนุมจนถึงเวลา 22.30 น.เท่านั้นต่อมาเวลาประมาณ 19.00 น.มีกลุ่มผู้ชุมนุมเพิ่มจำนวนขึ้น ประมาณ 1,000 คน ประกอบด้วย กลุ่มชุมนุมอื่น เช่น คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ กลุ่มพิราบขาว รวมทั้งประชาชนที่สนใจทางการเมืองอีกจำนวนหนึ่ง
ทั้งนี้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำม็อบพีทีวี ได้เริ่มปราศรัยโจมตีการทำงานของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.และการที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม.ไม่เปิดให้ใช้สนามหลวงในการชุมนุม ขณะที่นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำพีทีวี อีกคน กล่าวพาดพิง พล.อ.สนธิ ถึงการจดทะเบียนสมรสซ้อน โดยยกตัวอย่างว่า"กรณีที่เคยเกิดในกระทรวงยุติธรรม เมื่อเร็วๆนี้ ในเรื่องของกระบวนการสรรหาศาลฎีกา คนที่สอบได้ที่ 1 ทั้งเนติบัณฑิต และผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่คาดหมายว่า จะได้เป็นประธานศาลฎีกา อย่างแน่นอน แต่กลับพบว่า มีการจดทะเบียนสมรสซ้อนถึง 4 ใบ คนๆนี้ จึงต้องออกจากราชการในช่วงนั้นไป เรื่องนี้ นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรม น่าจะรู้ดีที่สุด ผมไม่อยากจะพูดอะไรมาก กลัวว่าจะมีการนำไปเปรียบเทียบกับใคร"
สำหรับบรรยากาศการชุมนุมครั้งนี้ พบว่ามีอดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทยหลายคนเข้ามาร่วมชุมนุมด้วย เช่น นายธีระชัย แสนแก้ว อดีต สส.อุดรธานี นพ.วัลลภ ยังตรง อดีตส.ส.สมุทรปราการ นายนิสิต สินธุไพร อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด และ นายจิรายุ นวเกตุ อดีตผู้สมัคร ส.ส.สตูล นอกจากนั้น ยังมีการเดินล่ารายชื่อโดยระบุชื่อของ นายนพพร นามเชียงใต้ แกนนำคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ว่าจะนำรายชื่อร่วมทูลเกล้าถวายฎีกา เพื่อให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ออกจากตำแหน่ง ต่อราชเลขาธิการ โดยระบุวันที่จะยื่นหนังสือในวันที่ 5 เม.ย.นี้
**ทรท.ทวงอำนาจด้วยเลือกตั้งหรือม็อบ
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่นายกฯ ส่งสัญญาณเลือกตั้งเพื่อลดความหวาดระแวงในประเด็นเรื่องสืบทอดอำนาจ เพราะการกำหนดช่วงเวลาเลือกตั้งที่ชัดเจนทำให้การเมืองเริ่มมีระเบียบ หากรัฐบาลและ คมช.สามารถจัดทำปฏิทินคืนอำนาจให้ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น วันลงประชามติรัฐธรรมนูญ ช่วงเวลาตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่สำคัญ และกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอน จะสามารถลดความอึมครึมและลดแรงกดดันของกลุ่มต่างๆ ทางการเมือง โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของบรรดานักการเมืองและพรรคการเมือง และถ้าเป็นไปได้ คมช.และรัฐบาลควรผ่อนปรนให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมการเมืองที่ไม่กระทบกับการแก้ปัญหาของประเทศได้
ส่วนการชุมนุมของกลุ่มพีทีวีนั้น เชื่อว่าจะอ่อนกำลังลง เพราะเริ่มมีหลักฐานถูกนำไปเชื่อมโยงกับพรรคไทยรักไทย ซึ่งพรรคไทยรักไทย ก็เรียกร้องว่าให้มีการจัดการเลือกตั้งเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชน และเมื่อครั้งที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่ระบอบทักษิณ บรรดาแกนนำพรรคไทยรักไทยต่างประสานเสียงว่า ให้การเลือกตั้งเป็นตัวตัดสิน หรือคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง วันนี้เมื่อรัฐบาลประกาศวันเลือกตั้งแล้ว ก็อยากถามแกนนำพรรคไทยรักไทยและแกนนำผู้ชุมนุมพีทีวี ว่าจะทวงอำนาจคืนด้วยการเลือกตั้ง หรือการเดินขบวน
ถ้าผู้บริหารพีทีวีสุจริตใจจริงว่าไม่เกี่ยวกับพรรคไทยรักไทย ก็ต้องกล้าประกาศว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งหน้าในนามพรรคไทยรักไทย