.
การจัดหารถ-เรือดับเพลิงและอุปกรณ์มูลค่า 6,687,489,000 บาท ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้จัดหางบประมาณมาจ่ายให้ 60% ที่เหลือ 40% เป็นของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะได้รับของไปใช้งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ คตส.ชี้ว่ามีมูลความผิดทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ กำลังจะเข้าสู่กระบวนการอันเป็นผลทางคดี ที่จะส่งเรื่องให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องศาลอาญา หรือว่า คตส.จะฟ้องเองก็ได้ ดำเนินมาถึงขั้นเชิญผู้ถูกระบุว่ามีมูลความผิด ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่สุดในกลุ่มคือ นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลทักษิณ มาให้ปากคำก่อนเป็นคนแรก แล้วจึงจะเป็นนายประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (เลขานุการของนายประชา มาลีนนท์) และพล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร
เรื่องนี้ เริ่มต้นสตาร์ทสมัย นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ทาง คตส.เห็นว่า นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา หรืออาจารย์วันนอร์ เป็นผู้รับข้อเสนอการขายจาก ดร.เฮอร์ แบร์ท ทรักเซิล เอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย ในการเข้าพบเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2546 โดยมีข้อเสนอว่า ทางออสเตรเลียขอรับพันธะการค้าต่างตอบแทนในการซื้อสินค้าการเกษตรจากไทยเต็ม 100% และเป็นการดำเนินการแบบรัฐต่อรัฐ (G TO G) จากนั้น นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา ก็ไม่ได้ดำเนินการอันใดอีก จนกระทั่งพ้นตำแหน่ง แม้ว่าจะเป็นช่วงอยู่ในตำแหน่งการดำเนินการทั้งหลายก็อยู่ในความรับผิดชอบของ นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลงานของกรุงเทพมหานครโดยตรง เช่น การมากระทรวงมหาดไทยของเอกอัครราชทูตออสเตรียอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ก็เป็นการพบกับนายประชา มาลีนนท์
จึงเห็นว่าไม่มีความเกี่ยวข้องในการซื้อขายในเวลาต่อมา โดยไม่รู้รายละเอียดของการตกลงราคาไม่ได้เป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงการทำความเข้าใจ AOU และไม่ได้เป็นผู้นำเรื่องเข้าขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 20 มิถุนายน 2547 และ วันที่ 20 กรกฎาคม 2547 และไม่ได้เป็นผู้อนุมัติให้การจัดซื้อเป็นการจัดซื้อวิธีพิเศษซึ่งอนุมัติเมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2547 โดยที่ คตส.พิจารณาตรงที่ว่า การนำเรื่องเข้า ครม.ครั้งแรกในวันที่ 20 มิถุนายน 2547 เพื่อพิจารณาหลักการ เข้า ครม.ครั้งที่สอง วันที่ 20 กรกฎาคม 2547 มีรายละเอียดไปขออนุมัติจาก ครม.แล้ว เป็นการใช้เวลาห่างกันเดือนเดียว น่าจะเป็นการพิจารณาอย่างไม่รอบคอบ นอกจากจะมีการเตรียมตั้งเรื่องกันไว้ก่อนจึงทำได้ทัน และการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษคือ ไม่ต้องมีการประกวดราคานั้น ก็ไม่ได้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี แต่เป็นการมาอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในภายหลัง คือในเดือนสิงหาคม โดยที่การซื้อโดยวิธีพิเศษนี้ ตามหลักเกณฑ์จะต้องได้รับอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี เพราะเป็นการจัดซื้อที่มีราคาเกือบ 7 พันล้านบาท
นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ต้องรับผิดชอบในประเด็นเหล่านี้
ความเห็นของ คตส.ที่กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของนายโภคิน ว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น ต่อจากนั้นเป็นเรื่องของนายประชา มาลีนนท์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เลขานุการของนายโภคิน
หนังสือลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 ของนายโภคิน ถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตอบหนังสือ กท 0200/1091 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2547 เพื่อขอให้กระทรวงมหาดไทย “มีการทบทวน” เพราะ 1. สัญญาการซื้อต่างตอบแทน ได้ลงนามหลังเซ็นสัญญาการจัดซื้อไม่เป็นไปตามขั้นตอนตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ซึ่งมีขั้นตอนว่าการซื้อต่างตอบแทน หรือ เคาน์เตอร์เทรด (COUNTER TRADE) จะต้องลงนามพร้อมกันในการจัดซื้อของฝ่ายหนึ่ง และการตอบแทนด้วยการซื้อของอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง คือต้องยื่นหมู-ยื่นแมว)
2. วันที่ 27 สิงหาคม 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามในข้อตกลงซื้อขายประกอบบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐออสเตรีย โดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย และบริษัท สไตเออร์-แดรมเลอร์-ปุ๊คฯ เสร็จสิ้นแล้ว ก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่จะมาทำหน้าที่แทนนายสมัคร ที่ครบวาระเพียง 2 วัน คือเลือกตั้งวันที่ 29 สิงหาคม 2547 แต่สัญญาการค้าต่างตอบแทนตามข้อตกลงที่ออสเตร จะต้องซื้อสินค้าการเกษตรจากไทยในมูลค่าเท่ากัน กับที่ซื้อรถ-เรือดับเพลิงอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามในวันที่ 30 กันยายน 2547 เป็นเวลาต่างกัน 1 เดือนเศษ
3. มีผู้ยื่นเรื่องราวต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ขอให้มีการสอบสวนเรื่องนี้ ซึ่งมีเหตุผลอันควรทบทวนทั้งโครงการ
4. กรุงเทพมหานคร ได้แจ้งกับบริษัท สไตเออร์ฯ แล้วแจ้งว่า การทำสัญญาการค้าต่างตอบแทนนั้น ทำกันหลังมีการทำสัญญาการซื้อขายแล้ว อันเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ทางกรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องพิจารณาข้อตกลงการซื้อขายก่อน และไม่อาจจะเปิด L/C ให้ได้ ตามหนังสือที่ กท 0200/5006 วันที่ 12 ตุลาคม 2547
แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น ได้แจ้งกลับมาทางกรุงเทพมหานคร ในสาระว่า
1. สัญญาการค้าต่างตอบแทนถูกต้องแล้ว
2. การร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็เป็นเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะต้องดำเนินการต่อไป
3. การอ้างเหตุว่ามีการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่เป็นธรรมต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทำให้เกิดความเสียหายได้
4. เพื่อไม่ให้กระทบถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ กรุงเทพมหานคร จึงควรดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขใน AOU
หนังสือของกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ ทาง คตส.เห็นว่า เป็นการพิจารณาสั่งการแบบรวบรัดเกินไป เพราะควรจะฟังเหตุผลของทางกรุงเทพมหานคร ที่มีน้ำหนักและเหตุผลพอฟังได้ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าการลงนามการค้าต่างตอบแทนนั้น ทำภายหลังการลงนามซื้อขาย แม้ว่าจะมีการลงนามภายหลังถือว่าสิ้นสุดของการทำตามข้อตกลงแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการผิดต่อประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการค้าต่างตอบแทน การลงนามซื้อขายไปก่อนแล้ว จึงมีการลงนามการค้าต่างตอบแทนภายหลัง ถือว่าเป็นการเสียเปรียบ หรือเสี่ยงต่อการเสียเปรียบคู่ค้า
คตส. ยังได้พิจารณาถึงการลงนามในสัญญาซื้อขายประกอบบันทึกข้อตกลง AOU ในวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ว่า คณะกรรมการจัดซื้อของ กทม.ได้มีหนังสือที่ กท 1800/1087 ขอให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคือ นายสมัคร สุนทรเวช นำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่ออนุมัติจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ นั้น หนังสือของคณะกรรมการ ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2547 และวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ก็ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และในวันเดียวกัน คือวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ก็มีการปฏิบัติหลายอย่างในวันเดียวกัน คือ
1. ปลัดกรุงเทพมหานครมีหนังสือที่ กท 1800/4238 เรียนอัยการสูงสุด “ขอถอนร่างข้อตกลงการจัดซื้อตามโครงการฯ” ซึ่งทางกรุงเทพมหานครส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาตามระเบียบ การถอนร่างจากอัยการสูงสุด เพราะทางอัยการสูงสุด จึงไม่มีผลความเห็นหรือผลการพิจารณากลับมา
2.เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อนุมัติให้กรุงเทพมหานคร จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ก็มีการลงนามซื้อขายกันทันทีในวันนั้น โดยไม่ต้องรอความเห็นจากทางอัยการสูงสุด ที่กำลังพิจารณาข้อตกลงการจัดซื้ออยู่ เท่ากับว่าเป็นการลงนามโดยขาดความเห็นทางอัยการสูงสุด
มีข้อที่พึงต้องตั้งข้อสังเกตว่า การเตรียมลงนามในสัญญาซื้อขายประกอบบันทึกข้อตกลง AOU นั้น มีการเตรียมการไว้ก่อน คือรู้ว่าจะต้องได้รับการอนุมัติให้จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในวันนั้น คือ วันที่ 27 สิงหาคม 2547 หรือไม่? รู้ได้อย่างไรว่า ผลของการพิจารณาจะออกมาอย่างไร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติอย่างไร? เหตุการณ์ในวันนั้นมีความสอดคล้องกับการทำหนังสือ กท 1800/4238 ถึงอัยการสูงสุด ขอถอนร่างการจัดซื้อกลับมาโดยไม่ต้องพิจารณา
นี่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น
ข้อเท็จจริงอยู่ที่การตอบของนายโภคินต่อ คตส.
สิ่งที่เกิดขึ้นในวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ที่มีหลายเหตุการณ์ในวันเดียวกันนั้น มีส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนายโภคิน คือการอนุมัติให้จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ เมื่ออนุมัติไปแล้ว การที่กรุงเทพมหานครถอนเรื่องการพิจารณาข้อตกลงซื้อขายจากอัยการสูงสุด และมีการเซ็นสัญญาซื้อขายประกอบข้อตกลง AOU ก็เป็นเรื่องของกรุงเทพมหานคร ที่อาจทำกันไปโดยนายโภคิน ไม่รู้ว่าเมื่ออนุมัติไปแล้ว จะมีการปฏิบัติอย่างไรต่อไป
สามารถแยกส่วนการปฏิบัติได้ว่า กระทรวงมหาดไทยก็ส่วนหนึ่ง และทางกรุงเทพมหานคร ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง โดยเกิดความสอดคล้องต้องกัน เป็นความบังเอิญอย่างยิ่ง ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กับนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะนั้นมีความคิดตรงและสอดรับกัน ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นได้ และการปฏิบัติของกรุงเทพมหานคร ก็อาจจะเป็นความประสงค์ในการปฏิบัติราชการด้วยความรวดเร็วก็ได้ จึงมีความขยันขันแข็งเป็นพิเศษ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2547
ในประเด็นของการจัดซื้อจัดหาราคาร่วม 7 พันล้านบาท โดยวิธีพิเศษนั้น เหตุใดจึงไม่มีการนำคำว่าการซื้อโดยวิธีพิเศษเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ที่มีการพิจารณาเรื่องนี้ถึง 2 ครั้ง (วันที่ 20 มิถุนายน และวันที่ 20 กรกฎาคม 2547) นั้น อาจจะเป็นเพราะว่า เมื่อเป็นการค้าต่างตอบแทนมูลค่าเต็ม 100% ก็ย่อมเป็นการซื้อโดยวิธีพิเศษโดยปริยายอยู่แล้ว คือไม่ต้องมีการประกวดราคา เพราะเป็นการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี (G TO G) ประเทศคู่ค้าคือออสเตรีย ย่อมเป็นผู้จัดหาสินค้ามาแล้ว แต่ว่าจะเป็นสินค้าของใครในประเทศของเขา จึงไม่ต้องมีการแข่งขันกันในการขาย
แต่แม้ว่าจะเข้าข่ายวิธีพิเศษอยู่แล้วอย่างใด เรื่องของ “ราคา” นั้น เป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นเกณฑ์สำคัญในการตกลงซื้อว่าเป็นราคาที่มีตามสมควรต่อการตกลงใจหรือไม่? การพิจารณาว่า เมื่อเป็นการซื้อต่างตอบแทนเต็ม 100% ราคาจะเป็นเท่าใดก็ได้ เพราะออสเตรียก็ต้องซื้อสินค้าการเกษตรจากไทย เต็มตามมูลค่านั้นอยู่แล้ว ก็เป็นการพิจารณาที่มองข้ามประเด็นสำคัญไป
หากว่านายโภคิน พลกุล จะปฏิเสธการอนุมัติให้จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ โดยแจ้งว่าต้องนำเรื่องเข้าหารือกับคณะรัฐมนตรีก่อน เพราะเป็นการจัดซื้อที่มีมูลค่าสูงถึง 7 พันล้านบาท ก็ย่อมจะทำได้ และเป็นความรอบคอบหรือการพิจารณาที่สวยงาม แต่นายโภคิน กลับอนุมัติการซื้อโดยวิธีพิเศษเอง ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีอะไรมาขีดเส้นเรื่องเวลากับนายโภคินว่า ไม่ควรช้าไปกว่านั้น ช้าไม่ได้อีกแล้ว เพราะว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะมีขั้นในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม 2547 อยู่แล้ว...วันที่ 28 สิงหาคม 2547 ก็เป็นวันเสาร์หยุดราชการ จึงต้องปิดแฟ้มเรื่องนี้ ให้เสร็จภายในวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2547 โดยการทำสัญญาซื้อขายประกอบข้อตกลง MOU ที่กระทรวงมหาดไทยทำ MOU ไว้ก่อน
คำถามดูจะง่าย แต่คงจะตอบยาก-นายโภคิน พลกุล จะตอบกับ คตส.อย่างไรก็ต้องรอให้ถึงวันนั้น
การจัดหารถ-เรือดับเพลิงและอุปกรณ์มูลค่า 6,687,489,000 บาท ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้จัดหางบประมาณมาจ่ายให้ 60% ที่เหลือ 40% เป็นของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะได้รับของไปใช้งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ คตส.ชี้ว่ามีมูลความผิดทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ กำลังจะเข้าสู่กระบวนการอันเป็นผลทางคดี ที่จะส่งเรื่องให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องศาลอาญา หรือว่า คตส.จะฟ้องเองก็ได้ ดำเนินมาถึงขั้นเชิญผู้ถูกระบุว่ามีมูลความผิด ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่สุดในกลุ่มคือ นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลทักษิณ มาให้ปากคำก่อนเป็นคนแรก แล้วจึงจะเป็นนายประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (เลขานุการของนายประชา มาลีนนท์) และพล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร
เรื่องนี้ เริ่มต้นสตาร์ทสมัย นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ทาง คตส.เห็นว่า นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา หรืออาจารย์วันนอร์ เป็นผู้รับข้อเสนอการขายจาก ดร.เฮอร์ แบร์ท ทรักเซิล เอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย ในการเข้าพบเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2546 โดยมีข้อเสนอว่า ทางออสเตรเลียขอรับพันธะการค้าต่างตอบแทนในการซื้อสินค้าการเกษตรจากไทยเต็ม 100% และเป็นการดำเนินการแบบรัฐต่อรัฐ (G TO G) จากนั้น นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา ก็ไม่ได้ดำเนินการอันใดอีก จนกระทั่งพ้นตำแหน่ง แม้ว่าจะเป็นช่วงอยู่ในตำแหน่งการดำเนินการทั้งหลายก็อยู่ในความรับผิดชอบของ นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลงานของกรุงเทพมหานครโดยตรง เช่น การมากระทรวงมหาดไทยของเอกอัครราชทูตออสเตรียอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ก็เป็นการพบกับนายประชา มาลีนนท์
จึงเห็นว่าไม่มีความเกี่ยวข้องในการซื้อขายในเวลาต่อมา โดยไม่รู้รายละเอียดของการตกลงราคาไม่ได้เป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงการทำความเข้าใจ AOU และไม่ได้เป็นผู้นำเรื่องเข้าขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 20 มิถุนายน 2547 และ วันที่ 20 กรกฎาคม 2547 และไม่ได้เป็นผู้อนุมัติให้การจัดซื้อเป็นการจัดซื้อวิธีพิเศษซึ่งอนุมัติเมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2547 โดยที่ คตส.พิจารณาตรงที่ว่า การนำเรื่องเข้า ครม.ครั้งแรกในวันที่ 20 มิถุนายน 2547 เพื่อพิจารณาหลักการ เข้า ครม.ครั้งที่สอง วันที่ 20 กรกฎาคม 2547 มีรายละเอียดไปขออนุมัติจาก ครม.แล้ว เป็นการใช้เวลาห่างกันเดือนเดียว น่าจะเป็นการพิจารณาอย่างไม่รอบคอบ นอกจากจะมีการเตรียมตั้งเรื่องกันไว้ก่อนจึงทำได้ทัน และการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษคือ ไม่ต้องมีการประกวดราคานั้น ก็ไม่ได้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี แต่เป็นการมาอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในภายหลัง คือในเดือนสิงหาคม โดยที่การซื้อโดยวิธีพิเศษนี้ ตามหลักเกณฑ์จะต้องได้รับอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี เพราะเป็นการจัดซื้อที่มีราคาเกือบ 7 พันล้านบาท
นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ต้องรับผิดชอบในประเด็นเหล่านี้
ความเห็นของ คตส.ที่กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของนายโภคิน ว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น ต่อจากนั้นเป็นเรื่องของนายประชา มาลีนนท์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เลขานุการของนายโภคิน
หนังสือลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 ของนายโภคิน ถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตอบหนังสือ กท 0200/1091 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2547 เพื่อขอให้กระทรวงมหาดไทย “มีการทบทวน” เพราะ 1. สัญญาการซื้อต่างตอบแทน ได้ลงนามหลังเซ็นสัญญาการจัดซื้อไม่เป็นไปตามขั้นตอนตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ซึ่งมีขั้นตอนว่าการซื้อต่างตอบแทน หรือ เคาน์เตอร์เทรด (COUNTER TRADE) จะต้องลงนามพร้อมกันในการจัดซื้อของฝ่ายหนึ่ง และการตอบแทนด้วยการซื้อของอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง คือต้องยื่นหมู-ยื่นแมว)
2. วันที่ 27 สิงหาคม 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามในข้อตกลงซื้อขายประกอบบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐออสเตรีย โดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย และบริษัท สไตเออร์-แดรมเลอร์-ปุ๊คฯ เสร็จสิ้นแล้ว ก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่จะมาทำหน้าที่แทนนายสมัคร ที่ครบวาระเพียง 2 วัน คือเลือกตั้งวันที่ 29 สิงหาคม 2547 แต่สัญญาการค้าต่างตอบแทนตามข้อตกลงที่ออสเตร จะต้องซื้อสินค้าการเกษตรจากไทยในมูลค่าเท่ากัน กับที่ซื้อรถ-เรือดับเพลิงอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามในวันที่ 30 กันยายน 2547 เป็นเวลาต่างกัน 1 เดือนเศษ
3. มีผู้ยื่นเรื่องราวต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ขอให้มีการสอบสวนเรื่องนี้ ซึ่งมีเหตุผลอันควรทบทวนทั้งโครงการ
4. กรุงเทพมหานคร ได้แจ้งกับบริษัท สไตเออร์ฯ แล้วแจ้งว่า การทำสัญญาการค้าต่างตอบแทนนั้น ทำกันหลังมีการทำสัญญาการซื้อขายแล้ว อันเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ทางกรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องพิจารณาข้อตกลงการซื้อขายก่อน และไม่อาจจะเปิด L/C ให้ได้ ตามหนังสือที่ กท 0200/5006 วันที่ 12 ตุลาคม 2547
แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น ได้แจ้งกลับมาทางกรุงเทพมหานคร ในสาระว่า
1. สัญญาการค้าต่างตอบแทนถูกต้องแล้ว
2. การร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็เป็นเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะต้องดำเนินการต่อไป
3. การอ้างเหตุว่ามีการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่เป็นธรรมต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทำให้เกิดความเสียหายได้
4. เพื่อไม่ให้กระทบถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ กรุงเทพมหานคร จึงควรดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขใน AOU
หนังสือของกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ ทาง คตส.เห็นว่า เป็นการพิจารณาสั่งการแบบรวบรัดเกินไป เพราะควรจะฟังเหตุผลของทางกรุงเทพมหานคร ที่มีน้ำหนักและเหตุผลพอฟังได้ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าการลงนามการค้าต่างตอบแทนนั้น ทำภายหลังการลงนามซื้อขาย แม้ว่าจะมีการลงนามภายหลังถือว่าสิ้นสุดของการทำตามข้อตกลงแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการผิดต่อประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการค้าต่างตอบแทน การลงนามซื้อขายไปก่อนแล้ว จึงมีการลงนามการค้าต่างตอบแทนภายหลัง ถือว่าเป็นการเสียเปรียบ หรือเสี่ยงต่อการเสียเปรียบคู่ค้า
คตส. ยังได้พิจารณาถึงการลงนามในสัญญาซื้อขายประกอบบันทึกข้อตกลง AOU ในวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ว่า คณะกรรมการจัดซื้อของ กทม.ได้มีหนังสือที่ กท 1800/1087 ขอให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคือ นายสมัคร สุนทรเวช นำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่ออนุมัติจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ นั้น หนังสือของคณะกรรมการ ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2547 และวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ก็ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และในวันเดียวกัน คือวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ก็มีการปฏิบัติหลายอย่างในวันเดียวกัน คือ
1. ปลัดกรุงเทพมหานครมีหนังสือที่ กท 1800/4238 เรียนอัยการสูงสุด “ขอถอนร่างข้อตกลงการจัดซื้อตามโครงการฯ” ซึ่งทางกรุงเทพมหานครส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาตามระเบียบ การถอนร่างจากอัยการสูงสุด เพราะทางอัยการสูงสุด จึงไม่มีผลความเห็นหรือผลการพิจารณากลับมา
2.เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อนุมัติให้กรุงเทพมหานคร จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ก็มีการลงนามซื้อขายกันทันทีในวันนั้น โดยไม่ต้องรอความเห็นจากทางอัยการสูงสุด ที่กำลังพิจารณาข้อตกลงการจัดซื้ออยู่ เท่ากับว่าเป็นการลงนามโดยขาดความเห็นทางอัยการสูงสุด
มีข้อที่พึงต้องตั้งข้อสังเกตว่า การเตรียมลงนามในสัญญาซื้อขายประกอบบันทึกข้อตกลง AOU นั้น มีการเตรียมการไว้ก่อน คือรู้ว่าจะต้องได้รับการอนุมัติให้จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในวันนั้น คือ วันที่ 27 สิงหาคม 2547 หรือไม่? รู้ได้อย่างไรว่า ผลของการพิจารณาจะออกมาอย่างไร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติอย่างไร? เหตุการณ์ในวันนั้นมีความสอดคล้องกับการทำหนังสือ กท 1800/4238 ถึงอัยการสูงสุด ขอถอนร่างการจัดซื้อกลับมาโดยไม่ต้องพิจารณา
นี่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น
ข้อเท็จจริงอยู่ที่การตอบของนายโภคินต่อ คตส.
สิ่งที่เกิดขึ้นในวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ที่มีหลายเหตุการณ์ในวันเดียวกันนั้น มีส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนายโภคิน คือการอนุมัติให้จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ เมื่ออนุมัติไปแล้ว การที่กรุงเทพมหานครถอนเรื่องการพิจารณาข้อตกลงซื้อขายจากอัยการสูงสุด และมีการเซ็นสัญญาซื้อขายประกอบข้อตกลง AOU ก็เป็นเรื่องของกรุงเทพมหานคร ที่อาจทำกันไปโดยนายโภคิน ไม่รู้ว่าเมื่ออนุมัติไปแล้ว จะมีการปฏิบัติอย่างไรต่อไป
สามารถแยกส่วนการปฏิบัติได้ว่า กระทรวงมหาดไทยก็ส่วนหนึ่ง และทางกรุงเทพมหานคร ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง โดยเกิดความสอดคล้องต้องกัน เป็นความบังเอิญอย่างยิ่ง ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กับนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะนั้นมีความคิดตรงและสอดรับกัน ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นได้ และการปฏิบัติของกรุงเทพมหานคร ก็อาจจะเป็นความประสงค์ในการปฏิบัติราชการด้วยความรวดเร็วก็ได้ จึงมีความขยันขันแข็งเป็นพิเศษ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2547
ในประเด็นของการจัดซื้อจัดหาราคาร่วม 7 พันล้านบาท โดยวิธีพิเศษนั้น เหตุใดจึงไม่มีการนำคำว่าการซื้อโดยวิธีพิเศษเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ที่มีการพิจารณาเรื่องนี้ถึง 2 ครั้ง (วันที่ 20 มิถุนายน และวันที่ 20 กรกฎาคม 2547) นั้น อาจจะเป็นเพราะว่า เมื่อเป็นการค้าต่างตอบแทนมูลค่าเต็ม 100% ก็ย่อมเป็นการซื้อโดยวิธีพิเศษโดยปริยายอยู่แล้ว คือไม่ต้องมีการประกวดราคา เพราะเป็นการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี (G TO G) ประเทศคู่ค้าคือออสเตรีย ย่อมเป็นผู้จัดหาสินค้ามาแล้ว แต่ว่าจะเป็นสินค้าของใครในประเทศของเขา จึงไม่ต้องมีการแข่งขันกันในการขาย
แต่แม้ว่าจะเข้าข่ายวิธีพิเศษอยู่แล้วอย่างใด เรื่องของ “ราคา” นั้น เป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นเกณฑ์สำคัญในการตกลงซื้อว่าเป็นราคาที่มีตามสมควรต่อการตกลงใจหรือไม่? การพิจารณาว่า เมื่อเป็นการซื้อต่างตอบแทนเต็ม 100% ราคาจะเป็นเท่าใดก็ได้ เพราะออสเตรียก็ต้องซื้อสินค้าการเกษตรจากไทย เต็มตามมูลค่านั้นอยู่แล้ว ก็เป็นการพิจารณาที่มองข้ามประเด็นสำคัญไป
หากว่านายโภคิน พลกุล จะปฏิเสธการอนุมัติให้จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ โดยแจ้งว่าต้องนำเรื่องเข้าหารือกับคณะรัฐมนตรีก่อน เพราะเป็นการจัดซื้อที่มีมูลค่าสูงถึง 7 พันล้านบาท ก็ย่อมจะทำได้ และเป็นความรอบคอบหรือการพิจารณาที่สวยงาม แต่นายโภคิน กลับอนุมัติการซื้อโดยวิธีพิเศษเอง ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีอะไรมาขีดเส้นเรื่องเวลากับนายโภคินว่า ไม่ควรช้าไปกว่านั้น ช้าไม่ได้อีกแล้ว เพราะว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะมีขั้นในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม 2547 อยู่แล้ว...วันที่ 28 สิงหาคม 2547 ก็เป็นวันเสาร์หยุดราชการ จึงต้องปิดแฟ้มเรื่องนี้ ให้เสร็จภายในวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2547 โดยการทำสัญญาซื้อขายประกอบข้อตกลง MOU ที่กระทรวงมหาดไทยทำ MOU ไว้ก่อน
คำถามดูจะง่าย แต่คงจะตอบยาก-นายโภคิน พลกุล จะตอบกับ คตส.อย่างไรก็ต้องรอให้ถึงวันนั้น