ในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เรื่องที่มีผู้สนใจมากเป็นพิเศษก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งขณะนี้ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญในตัวของมันเอง เพราะระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในสมัยใหม่มีปัญหาตรงที่ระบบผู้แทนราษฎรไม่อาจทำหน้าที่ตัวแทนของประชาชนได้ทุกกลุ่ม ดังนั้นในประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยหลายประเทศ จึงหากลไกและกระบวนการเสริมคือให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่ใช่จะมีแต่สิทธิออกเสียงเลือกตั้งแต่เพียงอย่างเดียว
ผลผลิตของระบอบประชาธิปไตยก็คือ นโยบายสาธารณะซึ่งกระบวนการทางประชาธิปไตยย่อมเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในขั้นตอนต่างๆ หลายประเทศมีประสบการณ์ของความขัดแย้งและความรุนแรง และรู้ว่าไม่คุ้มค่าที่จะฝืนทำนโยบายไปโดยไม่ฟังเสียงประชาชน จึงได้เปิดโอกาสให้มีประชาพิจารณ์ และให้ตัวแทนของกลุ่มผู้ได้-เสียสามารถเข้าร่วมในการพิจารณากฎหมายได้
โดยทั่วไปแล้ว นโยบายสาธารณะจะต้องมาจากการตัดสินใจของสถาบันทางการเมือง แต่ในหลายประเทศระบบราชการกลับเป็นฝ่ายจัดทำนโยบายเสียเอง หากฝ่ายการเมืองมีความอ่อนแอ หรือไม่มีแนวทางเศรษฐกิจสังคม การเมืองที่ชัดเจน แต่ถึงอย่างไร ในที่สุดแล้ว นโยบายสาธารณะก็จะต้องผ่านการพิจารณา และได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายการเมือง
นอกจากฝ่ายการเมืองแล้ว ระบบราชการและข้าราชการก็เป็นกลไกสำคัญของการจัดทำนโยบาย สำหรับประเทศไทยการมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ทำให้แผนพัฒนาฯ กลายเป็นที่มาของนโยบายที่ฝ่ายการเมืองนำไปใช้ ยิ่งในสมัยที่มีความไม่ต่อเนื่องทางการเมือง ระบบราชการก็กลายเป็นผู้จัดทำนโยบายเสียเอง
ที่มาของนโยบายสาธารณะในระยะหลังๆ มาจากองค์กรนอกระบบราชการ แรกเริ่มระบบราชการก็ยอมรับบทบาทของภาคเอกชน เช่น สมาคมธนาคาร สภาอุตสาหกรรม และหอการค้า เป็นต้น ต่อมาในภาคสังคม องค์กรเอกชนที่เป็นองค์กรอาสาสมัครได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านสาธารณสุขและการเกษตร
ในยุคโลกาภิวัตน์ นโยบายที่เราต้องจัดทำขึ้นเป็นไปเพื่อสนองต่อกระแสโลกและพันธกรณี หลายเรื่องเกิดจากความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามมาตรฐานใหม่ที่โลกต้องการ
ปัญหาหลักของการเมืองไทยก็คือ การที่ฝ่ายการเมืองกับฝ่ายองค์กรอาสาสมัครเอกชน ต่างทำงานโดยฝ่ายการเมืองไม่สนใจการทำงานขององค์กรอาสาสมัครเอกชนมากเท่าใดนัก ในหลายกรณีกลับขัดแย้งกันด้วยซ้ำไป
ประสบการณ์ของการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนชี้ให้เห็นว่าในส่วนที่ระบบราชการทำงานร่วมกับองค์กรอาสาสมัคร การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงจะเกิดดอกออกผล เช่น การทำงานของแพทย์ชนบทกับองค์กรอาสาสมัคร การจัดตั้งเครือข่ายสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น ได้นำไปสู่การออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ
ดังนั้น แทนที่แต่ละแหล่งผลิตนโยบายจะทำงานแยกร่วมกัน ก็ควรจะมีจุดเชื่อมสัมพันธ์กัน รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ก็ได้มีบทบัญญัติเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมแล้ว การเมืองในระบบรัฐสภากับการเมืองของพลเมือง ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งกันเสมอ
จุดบอดของระบอบประชาธิปไตย ก็คือ พรรคการเมืองมักมุ่งหาคะแนนเสียงจากนโยบายประชานิยม ซึ่งเน้นการแจกจ่ายผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม นโยบายนี้ไม่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะถ้าให้มีส่วนร่วมแล้วก็จะเห็นสิ่งที่แฝงเร้นไว้
การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเนื้อแท้ของระบอบประชาธิปไตย แต่นโยบายสาธารณะในสมัยนี้หลายอย่างเป็นเรื่องที่ไกลตัว และมีลักษณะทางเทคนิคสูง ยากที่ประชาชนจะเข้าใจ เข้าถึง และมีส่วนร่วมได้ บทบาทขององค์กรเอกชนอาสาสมัคร และสื่อมวลชนจะช่วยให้ความรู้ และข้อมูลข่าวสารได้ โดยเฉพาะเรื่องที่มีความซับซ้อน เช่น การทำสัญญาข้อตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ เป็นต้น
ความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายสาธารณะกับการมีส่วนร่วมของประชาชน อยู่ที่การมีกลไกและกระบวนการที่เสริมเข้ามา ไม่ใช่จะอาศัยแต่กลไกและกระบวนการทางรัฐสภาเท่านั้น ประชาธิปไตยสมัยใหม่ไม่ใช่ประชาธิปไตยโดยผู้แทน หากเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง
ผลผลิตของระบอบประชาธิปไตยก็คือ นโยบายสาธารณะซึ่งกระบวนการทางประชาธิปไตยย่อมเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในขั้นตอนต่างๆ หลายประเทศมีประสบการณ์ของความขัดแย้งและความรุนแรง และรู้ว่าไม่คุ้มค่าที่จะฝืนทำนโยบายไปโดยไม่ฟังเสียงประชาชน จึงได้เปิดโอกาสให้มีประชาพิจารณ์ และให้ตัวแทนของกลุ่มผู้ได้-เสียสามารถเข้าร่วมในการพิจารณากฎหมายได้
โดยทั่วไปแล้ว นโยบายสาธารณะจะต้องมาจากการตัดสินใจของสถาบันทางการเมือง แต่ในหลายประเทศระบบราชการกลับเป็นฝ่ายจัดทำนโยบายเสียเอง หากฝ่ายการเมืองมีความอ่อนแอ หรือไม่มีแนวทางเศรษฐกิจสังคม การเมืองที่ชัดเจน แต่ถึงอย่างไร ในที่สุดแล้ว นโยบายสาธารณะก็จะต้องผ่านการพิจารณา และได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายการเมือง
นอกจากฝ่ายการเมืองแล้ว ระบบราชการและข้าราชการก็เป็นกลไกสำคัญของการจัดทำนโยบาย สำหรับประเทศไทยการมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ทำให้แผนพัฒนาฯ กลายเป็นที่มาของนโยบายที่ฝ่ายการเมืองนำไปใช้ ยิ่งในสมัยที่มีความไม่ต่อเนื่องทางการเมือง ระบบราชการก็กลายเป็นผู้จัดทำนโยบายเสียเอง
ที่มาของนโยบายสาธารณะในระยะหลังๆ มาจากองค์กรนอกระบบราชการ แรกเริ่มระบบราชการก็ยอมรับบทบาทของภาคเอกชน เช่น สมาคมธนาคาร สภาอุตสาหกรรม และหอการค้า เป็นต้น ต่อมาในภาคสังคม องค์กรเอกชนที่เป็นองค์กรอาสาสมัครได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านสาธารณสุขและการเกษตร
ในยุคโลกาภิวัตน์ นโยบายที่เราต้องจัดทำขึ้นเป็นไปเพื่อสนองต่อกระแสโลกและพันธกรณี หลายเรื่องเกิดจากความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามมาตรฐานใหม่ที่โลกต้องการ
ปัญหาหลักของการเมืองไทยก็คือ การที่ฝ่ายการเมืองกับฝ่ายองค์กรอาสาสมัครเอกชน ต่างทำงานโดยฝ่ายการเมืองไม่สนใจการทำงานขององค์กรอาสาสมัครเอกชนมากเท่าใดนัก ในหลายกรณีกลับขัดแย้งกันด้วยซ้ำไป
ประสบการณ์ของการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนชี้ให้เห็นว่าในส่วนที่ระบบราชการทำงานร่วมกับองค์กรอาสาสมัคร การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงจะเกิดดอกออกผล เช่น การทำงานของแพทย์ชนบทกับองค์กรอาสาสมัคร การจัดตั้งเครือข่ายสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น ได้นำไปสู่การออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ
ดังนั้น แทนที่แต่ละแหล่งผลิตนโยบายจะทำงานแยกร่วมกัน ก็ควรจะมีจุดเชื่อมสัมพันธ์กัน รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ก็ได้มีบทบัญญัติเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมแล้ว การเมืองในระบบรัฐสภากับการเมืองของพลเมือง ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งกันเสมอ
จุดบอดของระบอบประชาธิปไตย ก็คือ พรรคการเมืองมักมุ่งหาคะแนนเสียงจากนโยบายประชานิยม ซึ่งเน้นการแจกจ่ายผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม นโยบายนี้ไม่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะถ้าให้มีส่วนร่วมแล้วก็จะเห็นสิ่งที่แฝงเร้นไว้
การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเนื้อแท้ของระบอบประชาธิปไตย แต่นโยบายสาธารณะในสมัยนี้หลายอย่างเป็นเรื่องที่ไกลตัว และมีลักษณะทางเทคนิคสูง ยากที่ประชาชนจะเข้าใจ เข้าถึง และมีส่วนร่วมได้ บทบาทขององค์กรเอกชนอาสาสมัคร และสื่อมวลชนจะช่วยให้ความรู้ และข้อมูลข่าวสารได้ โดยเฉพาะเรื่องที่มีความซับซ้อน เช่น การทำสัญญาข้อตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ เป็นต้น
ความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายสาธารณะกับการมีส่วนร่วมของประชาชน อยู่ที่การมีกลไกและกระบวนการที่เสริมเข้ามา ไม่ใช่จะอาศัยแต่กลไกและกระบวนการทางรัฐสภาเท่านั้น ประชาธิปไตยสมัยใหม่ไม่ใช่ประชาธิปไตยโดยผู้แทน หากเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง