"สนธิ"นำทีมแถลงผลงานรอบ 6 เดือน ยืนยันไม่เคยก้าวก่าย ชี้นำองค์กรต่างๆที่ตั้งขึ้นมาทำงาน ย้ำเดินหน้าใน 4 ภารกิจสำคัญ กั๊กสืบทอดอำนาจในตำแหน่งนายกฯ ระบุ"ถ้าทำให้ชาติบ้านเมืองเข้มแข็งก็จะทำ"คตส.เผยผลงานจับโกงครม.ทักษิณทั้งคณะ มั่นใจ 14 คดีทุจริตที่รับเรื่องไว้จะเสร็จภายใน 1 ปี ขณะที่ ป.ป.ช.รับบทหนักทั้งรุกและรับ
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (20 มี.ค.)ที่หอประชุมกิตติขจร กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พร้อมด้วย พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ., พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.สส., พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผบ.ทร.พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร., ในฐานะสมาชิก คมช. พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะเลขาธิการ คมช. พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. ในฐานะ ผช.เลขาธิการ คมช. เข้าร่วมแถลงผลงานการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของ คมช.ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย อาทิ โฆษกรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
พล.อ.สนธิ กล่าวเปิดการแถลงผลงาน ว่า ทุกคนคงจำภาพเหตุการณ์ก่อนวันที่ 19 ก.ย.49 ได้อย่างดี ที่มีคนนับแสนคนออกมาเดินขบวนประท้วง เรียกร้องนานัปการ ทุกข์ของประชาชนทั้งชาติมีมากขึ้น ถือเป็นครั้งแรกของคนในชาติที่มีความขัดแย้ง และทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจของประชาชน ในห้วงที่ผ่านมา ประชาชนต้องการระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเข้ามาบริหารประเทศ แต่ที่ผ่านมา คงคล้ายกับระบอบประชาธิปไตย แต่ความจริงเป็นระบอบเผด็จการทุนนิยม เข้าครอบงำการบริหารประเทศ ทำให้ประชาชน นักธุรกิจ พ่อค้า รับรู้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง และมีความรู้สึกอึดอัด
"คงทราบดีว่า ในวันที่ 20 ก.ย.49 ได้มีการนัดพบกันระหว่างประชาชน 2 กลุ่ม จากข่าวสารจะมีการปะทะกัน และใช้อาวุธ ถือเป็นการเผชิญหน้าที่มีความรุนแรง กองทัพในฐานะรับผิดชอบความสงบเรียบร้อยคงยอมไม่ได้ ที่จะให้เกิดภาพอย่างนั้นขึ้น ในห้วงนั้น คงเห็นว่ามีเหตุการณ์ 4 เรื่องสำคัญ ที่กองทัพและประชาชนเป็นหนึ่งเดียวกันคือ มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง มีการครอบงำองค์กรอิสระ และเกิดความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติทุกภาคส่วนของประเทศ"ประธาน คมช.กล่าว
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า คมช.พยายามอย่างยิ่งที่จะคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด และจะเห็นได้ว่า ได้ใช้เวลาเพียง 12 วัน ในการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว จัดตั้งองค์กรอิสระ ทั้ง กกต.,คตส.,ป.ป.ช. การเลือกนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งรัฐบาล การเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ( ส.ส.ร.)และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เราดำเนินการเรื่องเหล่านี้ตามเวลาที่กำหนด เพื่อคืนประชาธิปไตยให้ประชาชน และคืนอำนาจบริหารให้กับรัฐบาล
"คงเห็นว่า ที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยความยากเย็น ล่าช้า ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงจากระบอบประชาธิปไตยปลอมๆ เผด็จการทุนนิยม เพื่อนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องการคงไม่ง่ายนัก เพราะได้มีการปลูกฝังรากลึกมานานแล้ว ผมตระหนักดีว่า ประชาชนกำลังเฝ้าคอย และต้องการเห็นการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่การดำเนินการของคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เราต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 6 เดือนที่ผ่านมา คมช.ไม่เคยชี้นำองค์กรใดๆ ที่ คมช.จัดตั้งขึ้นมาแม้แต่ครั้งเดียว แต่คงเฝ้าติดตามการดำเนินการของทุกองค์กร เพราะเป็นความรับผิดชอบของ คมช.จนถึงวาระสุดท้าย" ประธาน คมช.กล่าว
**สนช.ผ่านกม.19 ฉบับ 53กระทู้
จากนั้น ตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ได้แถลงผลงาน โดย ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการทำงานของรัฐบาล ตามด้วย น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ซึ่งเน้นไปในเรื่องการออกกฎหมาย โดยในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา สนช. ได้ประชุมไปทั้งสิ้น 31 ครั้ง สามารถประกาศใช้กฎหมายได้ 19 ฉบับ และอยู่ระหว่างพิจารณาอีก 22 ฉบับ มีการตั้งกระทู้ถามเพื่อให้รัฐมนตรีตอบรวม 53 กระทู้ สำหรับกระทู้ที่สำคัญ เช่น การชำรุดในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การลอบวางระเบิดในกทม.และปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นต้น
**คตส.มั่นใจงานเสร็จตามกำหนด
นายสัก กอแสงเรือง กรรมการ คตส.และโฆษกคตส.กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของคตส.จนถึงวันที่ 19 มี.ค.50 คตส.ได้รับเรื่องราวต่างๆไว้พิจารณา 14 เรื่อง แบ่งเป็น กรณีตรวจสอบ และไต่สวนแล้วให้สำนักงานอัยการสูงสุด และกรมสรรพากร ดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ 1 เรื่อง กรณีอยู่ระหว่างการตรวจสอบ 7 เรื่อง และกรณีที่อยู่ระหว่างการไต่สวน 6 เรื่อง
สำหรับเรื่องที่ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุด และกรมสรรพากร คือ กรณีกล่าวหา คุณหญิงพจมาน ชินวัตร นายบรรรพจน์ ดามาพงศ์ นางกาญจนาภา หงส์เหิน กับพวก ร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา37 (1) (2) ล่าสุดสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งฟ้องบุคคลทั้งสาม และนัดส่งตัวไปฟ้องที่ศาลในวันที่ 26 มี.ค.นี้ นอกจากนี้ คตส.ยังได้สรุปผลการตรวจสอบ ส่งให้กรมสรรพากรดำเนินการประเมินเพื่อเรียกภาษีเงินได้จำนวน 546 ล้านบาทเศษ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ โดยวางหลักประกันค่าภาษีและอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทรณ์ของกรรมสรรพากร
ส่วนโครงการที่กำลังดำเนินการไต่สวน ประกอบด้วย การตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบในการเข้าซื้อที่ดินจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถานบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ,กรณีการทุจริตในโครงการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTX 9000 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ,การทุจริตในโครงการก่อสร้างจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายใต้ดินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ,การทุจริตในโครงการจัดซื้อต้นกล้ายาง 90 ล้านต้น ,การทุจริตในการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง กทม.,การออกสลากพิเศษ 3 ตัว 2 ตัว ,กรณีธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวโทษผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ที่อนุมัติสินเชื่อให้กับกลุ่มบริษัทกฤษดามหานคร
สำหรับโครงการที่กำลังดำเนินการตรวจสอบ คือ การทุจริตในโครงการบ้านเอื้ออาทร ,กรณีภาษีการโอนหุ้นชินคอร์ปในแอมเพิลริช,โครงการแอร์พอร์ตลิงค์ ,กรณีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต สำหรับกิจการโทรคมนาคม ,กรณีการทุจริตในโครงการอนุมัติสินเชื่อให้แก่พม่า โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และโครงการจัดจ้างก่อสร้างห้องปฏิบัติการกลาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
"คตส.ขอยืนยันว่าจะยึดหลักกฎหมายในการทำงานและจะทำงานให้โปร่งใส ไม่มีอคติ ไม่มีการตั้งธง และโครงการแต่ละโครงการที่จะตรวจสอบใช้เวลาไม่เกิน 5 เดือน และเชื่อว่าคตส.สามารถดำเนินการตรวจสอบโครงการต่างๆ ได้ตามกรอบระยะเวลา 1 ปี"นายสัก กล่าว
**ป.ป.ช.หนักทั้งรับ ทั้งรุก
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษก ป.ป.ช.กล่าวว่า ป.ป.ช. ชุดนี้เข้ารับหน้าที่เมื่อ 6 ต.ค.49 ซึ่งต้องเข้ามาแก้ปัญหาที่หมักหมมอยู่ในสำนักงาน ป.ป.ช.เป็นจำนวนมาก เนื่องจากใน ปี 47 เกิดอุบัติเหตุไม่มีคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทำให้งานทั้งหมดหยุดชะงัก จนกระทั่งคณะปฏิรูปการปกครองฯออกประกาศ ฉบับที่19 แต่งตั้งกรรมการ ป.ป.ช.ขึ้นมา ตอนที่เราเข้ามาทำงานในปปช. มีงานที่ค้างการสอบสวนอยู่ทั้งหมด 11,459 เรื่อง และมีบัญชีทรัพย์สินที่ค้างการตรวจสอบ 38,865 บัญชี รวมถึงเรื่องที่ร้องเรียนเข้ามาทั้งหมด 1,354 เรื่อง ซึ่งทาง ป.ป.ช. ต้องดำเนินการไต่สวนเอง หรือต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาไต่สวนทุกเรื่อง
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมานั้น ได้ชี้มูลความผิด ส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินคดีไปแล้ว 36 คดี ซึ่งคดีใหญ่ ๆ ได้แถลงไปหมด ซึ่งใน 36 คดีที่ส่งไปแล้วนั้นยังมีคดีที่สำคัญ ๆ อยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่อีกหลายเรื่อง เช่น การทุจริตคลองด่าน ส่วนเรื่องค่าโง่ทางด่วน ขณะนี้อยู่ระหว่างการแจ้งข้อกล่าวหาไปทางสำนักงานการเมือง ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหามา ทางเราก็จะพิจารณาว่าจะมีการไต่สวนเพิ่มเติมหรือไม่
เรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้มีการวินิจฉัยตัดสินว่า การออกพระราชกฤษฎีกา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตนั้นไม่ชอบ ซึ่ง ป.ป.ช.ได้รับคำร้องจากพนักงานกฟผ.ในฐานะผู้เสียหายเพื่อแจ้งความให้ดำเนินคดีกับอดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตคณะรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้เราจับประเด็นตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ว่า ที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าคำสั่ง หรือการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายตรงจุดไหนก็จะจับประเด็นตรงจุดนั้น และ จะไต่สวนลงไปว่าตรงจุดนั้นมีเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกระทำความผิดหรือไม่ และถ้ามีผู้กระทำความผิดผู้นั้นคือใคร และผิดอย่างไร
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องอดีตนักการเมืองที่ค้างการดำเนินการตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มี ป.ป.ช.เป็นเรื่องเกี่ยวกับการถอดถอนอีกประมาณ 10 กว่าเรื่อง ซึ่ง ป.ป.ช. กำลังเร่งรัดอยู่ คาดว่าจะเสร็จเร็ว ๆ นี้ ส่วนเรื่องการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน เราก็ตรวจสอบทรัพย์สินความถูกต้องของทรัพย์สินความมีอยู่จริง ของทรัพย์สิน และหนี้สินทุกคน เท่าเทียมกันหมด เว้นแต่มีบางรายมีการยื่นคำร้องเพิ่มเติมเข้ามาว่าจะมีทรัพย์สินไม่ตรง และมีการซุกซ่อนทรัพย์สินอย่างไร เราก็จะตั้งอนุกรรมการตรวจสอบขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ ซึ่งจะมีคำร้องขึ้นมาว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่มีบุตร แต่ข้อเท็จจริงไม่ทางพฤตินัยมีภริยา มีบุตร ประเด็นนี้ตรงนี้ต้องตรวจสอบไปยังทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องว่ามีจริงหรือไม่ และถ้ามี ได้มาอย่างไร เป็นการซุกซ่อนของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีหรือไม่ ขณะนี้กำลังตรวจสอบอยู่ทุกราย
ส่วนประเด็นของการป้องกันการทุจริตนั้น ปีนี้ ทางรัฐบาลได้จัดตั้งเรื่องการปราบปรามการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ และ ป.ป.ช.ได้ประสานงานกับ นายกรัฐมนตรี และได้กำหนดให้วันที่ 6 เม.ย.ที่เป็นวันจักรี จะเป็นวันที่เราประกาศว่า จะปฏิบัติตัวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะกราบเรียนเชิญ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ในการกล่าวนำคำปฏิญาณ และ จะมีสมุดลงรายชื่อผู้ถวายคำปฏิญาณ เพื่อถวายแด่พระองค์ท่าน โดยจะมีถ้อยคำว่า"ล้างทุจริตให้สิ้นแผ่นดินไทย เพื่อเทิดไท้องค์ราชัน"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อจากนั้น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการ ผบ.ตร.ได้แถลงความคืบหน้าการทำงานของ สตช. ตามด้วยนายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด ที่ได้ชี้แจงถึงความคืบหน้าในการสั่งคดีต่างๆ ตามด้วย นายเดโช สวนานนท์ รองประธาน ส.ส.ร.และ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.ที่พูดถึงความพร้อมในการเตรียมการเลือกตั้ง
**พูดให้ตีความเรื่องไม่สืบทอดอำนาจ
หลังจากนั้น พล.อ.สนธิ ได้กล่าวสรุปผลงาน คมช.รอบ 6 เดือนว่า ผู้ที่รับฟังอยู่ คงจะประจักษ์ชัดถึงความมุ่งมั่นในการทำงาน และคงทำให้พี่น้องประชาชนมีความเชื่อมั่นในการทำงานทุกขั้นตอนของ คมช.และผลสำฤทธิ์ออกมาโดยองค์กร ต่างๆ ซึ่งมีอิสระในการทำงานในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่ความสำเร็จของงาน 4 ประการ ที่ทาง คมช. กำหนดเป็นวัตถุประสงค์
"ขอยืนยันว่าเราจะต้องมีการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา และจะมีความเป็นธรรมทุกประการ นำไปสู่ประชาธิปไตยที่พวกเราต้องการ ความเป็นประชาธิปไตยการที่เรามีวัตถุประสงค์นั้น ผมเชื่อได้ว่าถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างไร พวกท่านจะทำอย่างไรก็แล้วแต่ จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตาม หากประชาชนทุกคนหันมามีส่วนร่วมกำกับดูแลการทำงานของภาครัฐมากขึ้น ดูแลการทำงานของรัฐบาลมากขึ้น ผมเชื่อว่าประชาธิปไตยจะเป็นไปตามแนวทางที่เราต้องการ โดยเฉพาะประชาชนทุกคนมีส่วนในการนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์"
สิ่งแรกที่เราอย่างเห็น คือ ความช่วยเหลือจากประชาชน เกี่ยวกับเรื่องการปราบปรามการทุจริต การสร้างความโปร่งใส สร้างความเป็นธรรม ความสมานฉันท์ ที่สำคัญ เราต้องอยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง นี่คือ แนวทางในความเป็นไปได้ของประชาธิปไตยแบบบ้านเรา ซึ่งเป็นประชาธิปไตยที่คนทั้งชาติต้องมีส่วนร่วม ดังนั้น เราทุกคนต้องระลึกและยึดมั่นเสมอว่าเรามีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นจุดศูนย์รวมในการที่จะทำงานรวมกัน และจะผนึกจิตสำนึกของคนในชาติ นำไปสู่ความยิ่งใหญ่ของคนในชาติ
จากนั้นผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่กลุ่มอำนาจเก่า เปิดสถานีโทรทัศน์ พีทีวี เพื่อกดดันรัฐบาลและ คมช. โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคลื่อนไหวอยู่ต่างประเทศ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า เราไม่ให้ความสำคัญ เพราะถือเป็นปุถุชนคนหนึ่งที่จะออกความคิดเห็นส่วนตัว เป็นเรื่องของท่าน ส่วนเรื่องพีทีวีนั้น สิ่งใดก็ตามที่นำไปสู่ความมั่นคงของประเทศ เรายินดีสนับสนุน แต่อะไรที่ทำให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ ต้องมีการตรวจสอบ เพราะประเทศชาติมีความสำคัญกว่าเรื่องอื่น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ท่านพร้อมแสดงจุดยืน และเจตนารมณ์ที่ชัดเจน ของประธาน คมช.ที่จะไม่สืบทอดอำนาจหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะการเป็นนายกรัฐมนตรี ได้หรือไม่ พล.อ.สนธิ หัวเราะ ก่อนกล่าวว่า"ถามสูงไปหน่อย ผมเป็นคนไทยคนหนึ่ง รักชาติบ้านเมือง คิดว่าอยากจะทำอะไรให้ชาติบ้านเมืองเข้มแข็งก็จะทำ"พล.อ.สนธิ กล่าว
**ให้คะแนนคมช.แค่สอบผ่าน
นายอรรคพล สรสุชาติ สมาชิก สนช.แสดงความเห็นถึงการแถลงข่าวผลงานในรอบ 6 เดือนของ คมช.ว่า หลายๆเรื่องความคืบหน้าน้อยมาก ไล่ไปตั้งแต่ คตส.ที่ทำค่อนข้างล่าช้า แต่ต้องเห็นใจเพราะข้อมูลมีมาก และไม่มีอำนาจในการเป็นผู้กล่าวหาเองได้ เพิ่งมีอำนาจไปเมื่อเร็วๆนี้ เมื่อมีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ที่ให้อำนาจในการเป็นผู้กล่าวหาได้ จึงหวังว่า 3-4 เดือนข้างหน้า คตส.จะมีผลงานที่เป็นรูปธรรมมกว่านี้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ประชาชนยังมีความเห็นใจและคาดหวังการทำงานของ คมช.แต่ลดน้อยลง ดังนั้น คมช.ต้องเร่งรัดผลงานของตัวเองให้ประชาชนได้เห็น โดยเฉพาะระยะเวลาที่เหลือถือเป็นห้วงเวลาที่สำคัญที่สุดที่คมช.จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และลบข้อครหาที่จะสืบทอดอำนาจ
"หากผมให้คะแนนก็แค่ สอบผ่าน สถานการณ์ข้างหน้าจะเข้มข้นมากกว่า โดยเฉพาะคนที่อยู่ตรงข้ามกับคมช.ที่จะมีการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ คมช.จะต้องเตรียมรับมือเพื่อให้บ้านเมืองผ่านช่วงเวลานี้ไปได้"นายอรรคพล กล่าว
ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ ครป.กล่าวว่า ผลงานของ คมช.และองค์กรต่างๆนั้น ยังไม่ได้ระบุปัญหาอุปสรรคถึงความล่าช้า และสิ่งที่ขาดหายไปจากการแถลงครั้งนี้คือ งานสร้างความสมานฉันท์ที่ไม่เป็นรูปธรรม ไม่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลมีแนวคิดหรือวางแผนอย่างไร เพราะงานสมานฉันท์ไปจมที่กองทัพและ กอ.รมน.ทั้งที่งานดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อนควรจะให้ประชาชนและสังคมมีส่วนร่วมมากกว่านี้ จะให้กองทัพทำงานลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยหลายภาคส่วน
ทั้งนี้ 6 เดือนจากนี้ต้องเลือกในการจัดลำดับความสำคัญของการทำงาน แม้จะมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาใหม่ๆ จำนวนมากก็ตาม ซึ่งตนมองว่า เรื่องที่สำคัญต้นๆ คือ นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง การปฏิรูปสื่อทั้งระบบ การปฏิรูปกระบวนกรยุติธรรม การแก้ปัญหาปากท้องประชาชนหรือปัญหาความยากจน ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (20 มี.ค.)ที่หอประชุมกิตติขจร กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พร้อมด้วย พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ., พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.สส., พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผบ.ทร.พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร., ในฐานะสมาชิก คมช. พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะเลขาธิการ คมช. พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. ในฐานะ ผช.เลขาธิการ คมช. เข้าร่วมแถลงผลงานการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของ คมช.ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย อาทิ โฆษกรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
พล.อ.สนธิ กล่าวเปิดการแถลงผลงาน ว่า ทุกคนคงจำภาพเหตุการณ์ก่อนวันที่ 19 ก.ย.49 ได้อย่างดี ที่มีคนนับแสนคนออกมาเดินขบวนประท้วง เรียกร้องนานัปการ ทุกข์ของประชาชนทั้งชาติมีมากขึ้น ถือเป็นครั้งแรกของคนในชาติที่มีความขัดแย้ง และทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจของประชาชน ในห้วงที่ผ่านมา ประชาชนต้องการระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเข้ามาบริหารประเทศ แต่ที่ผ่านมา คงคล้ายกับระบอบประชาธิปไตย แต่ความจริงเป็นระบอบเผด็จการทุนนิยม เข้าครอบงำการบริหารประเทศ ทำให้ประชาชน นักธุรกิจ พ่อค้า รับรู้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง และมีความรู้สึกอึดอัด
"คงทราบดีว่า ในวันที่ 20 ก.ย.49 ได้มีการนัดพบกันระหว่างประชาชน 2 กลุ่ม จากข่าวสารจะมีการปะทะกัน และใช้อาวุธ ถือเป็นการเผชิญหน้าที่มีความรุนแรง กองทัพในฐานะรับผิดชอบความสงบเรียบร้อยคงยอมไม่ได้ ที่จะให้เกิดภาพอย่างนั้นขึ้น ในห้วงนั้น คงเห็นว่ามีเหตุการณ์ 4 เรื่องสำคัญ ที่กองทัพและประชาชนเป็นหนึ่งเดียวกันคือ มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง มีการครอบงำองค์กรอิสระ และเกิดความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติทุกภาคส่วนของประเทศ"ประธาน คมช.กล่าว
พล.อ.สนธิ กล่าวว่า คมช.พยายามอย่างยิ่งที่จะคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด และจะเห็นได้ว่า ได้ใช้เวลาเพียง 12 วัน ในการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว จัดตั้งองค์กรอิสระ ทั้ง กกต.,คตส.,ป.ป.ช. การเลือกนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งรัฐบาล การเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ( ส.ส.ร.)และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เราดำเนินการเรื่องเหล่านี้ตามเวลาที่กำหนด เพื่อคืนประชาธิปไตยให้ประชาชน และคืนอำนาจบริหารให้กับรัฐบาล
"คงเห็นว่า ที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยความยากเย็น ล่าช้า ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงจากระบอบประชาธิปไตยปลอมๆ เผด็จการทุนนิยม เพื่อนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องการคงไม่ง่ายนัก เพราะได้มีการปลูกฝังรากลึกมานานแล้ว ผมตระหนักดีว่า ประชาชนกำลังเฝ้าคอย และต้องการเห็นการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่การดำเนินการของคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เราต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 6 เดือนที่ผ่านมา คมช.ไม่เคยชี้นำองค์กรใดๆ ที่ คมช.จัดตั้งขึ้นมาแม้แต่ครั้งเดียว แต่คงเฝ้าติดตามการดำเนินการของทุกองค์กร เพราะเป็นความรับผิดชอบของ คมช.จนถึงวาระสุดท้าย" ประธาน คมช.กล่าว
**สนช.ผ่านกม.19 ฉบับ 53กระทู้
จากนั้น ตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ได้แถลงผลงาน โดย ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการทำงานของรัฐบาล ตามด้วย น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ซึ่งเน้นไปในเรื่องการออกกฎหมาย โดยในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา สนช. ได้ประชุมไปทั้งสิ้น 31 ครั้ง สามารถประกาศใช้กฎหมายได้ 19 ฉบับ และอยู่ระหว่างพิจารณาอีก 22 ฉบับ มีการตั้งกระทู้ถามเพื่อให้รัฐมนตรีตอบรวม 53 กระทู้ สำหรับกระทู้ที่สำคัญ เช่น การชำรุดในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การลอบวางระเบิดในกทม.และปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นต้น
**คตส.มั่นใจงานเสร็จตามกำหนด
นายสัก กอแสงเรือง กรรมการ คตส.และโฆษกคตส.กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของคตส.จนถึงวันที่ 19 มี.ค.50 คตส.ได้รับเรื่องราวต่างๆไว้พิจารณา 14 เรื่อง แบ่งเป็น กรณีตรวจสอบ และไต่สวนแล้วให้สำนักงานอัยการสูงสุด และกรมสรรพากร ดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ 1 เรื่อง กรณีอยู่ระหว่างการตรวจสอบ 7 เรื่อง และกรณีที่อยู่ระหว่างการไต่สวน 6 เรื่อง
สำหรับเรื่องที่ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุด และกรมสรรพากร คือ กรณีกล่าวหา คุณหญิงพจมาน ชินวัตร นายบรรรพจน์ ดามาพงศ์ นางกาญจนาภา หงส์เหิน กับพวก ร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา37 (1) (2) ล่าสุดสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งฟ้องบุคคลทั้งสาม และนัดส่งตัวไปฟ้องที่ศาลในวันที่ 26 มี.ค.นี้ นอกจากนี้ คตส.ยังได้สรุปผลการตรวจสอบ ส่งให้กรมสรรพากรดำเนินการประเมินเพื่อเรียกภาษีเงินได้จำนวน 546 ล้านบาทเศษ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ โดยวางหลักประกันค่าภาษีและอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทรณ์ของกรรมสรรพากร
ส่วนโครงการที่กำลังดำเนินการไต่สวน ประกอบด้วย การตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบในการเข้าซื้อที่ดินจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถานบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ,กรณีการทุจริตในโครงการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTX 9000 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ,การทุจริตในโครงการก่อสร้างจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายใต้ดินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ,การทุจริตในโครงการจัดซื้อต้นกล้ายาง 90 ล้านต้น ,การทุจริตในการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง กทม.,การออกสลากพิเศษ 3 ตัว 2 ตัว ,กรณีธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวโทษผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ที่อนุมัติสินเชื่อให้กับกลุ่มบริษัทกฤษดามหานคร
สำหรับโครงการที่กำลังดำเนินการตรวจสอบ คือ การทุจริตในโครงการบ้านเอื้ออาทร ,กรณีภาษีการโอนหุ้นชินคอร์ปในแอมเพิลริช,โครงการแอร์พอร์ตลิงค์ ,กรณีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต สำหรับกิจการโทรคมนาคม ,กรณีการทุจริตในโครงการอนุมัติสินเชื่อให้แก่พม่า โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และโครงการจัดจ้างก่อสร้างห้องปฏิบัติการกลาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
"คตส.ขอยืนยันว่าจะยึดหลักกฎหมายในการทำงานและจะทำงานให้โปร่งใส ไม่มีอคติ ไม่มีการตั้งธง และโครงการแต่ละโครงการที่จะตรวจสอบใช้เวลาไม่เกิน 5 เดือน และเชื่อว่าคตส.สามารถดำเนินการตรวจสอบโครงการต่างๆ ได้ตามกรอบระยะเวลา 1 ปี"นายสัก กล่าว
**ป.ป.ช.หนักทั้งรับ ทั้งรุก
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษก ป.ป.ช.กล่าวว่า ป.ป.ช. ชุดนี้เข้ารับหน้าที่เมื่อ 6 ต.ค.49 ซึ่งต้องเข้ามาแก้ปัญหาที่หมักหมมอยู่ในสำนักงาน ป.ป.ช.เป็นจำนวนมาก เนื่องจากใน ปี 47 เกิดอุบัติเหตุไม่มีคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทำให้งานทั้งหมดหยุดชะงัก จนกระทั่งคณะปฏิรูปการปกครองฯออกประกาศ ฉบับที่19 แต่งตั้งกรรมการ ป.ป.ช.ขึ้นมา ตอนที่เราเข้ามาทำงานในปปช. มีงานที่ค้างการสอบสวนอยู่ทั้งหมด 11,459 เรื่อง และมีบัญชีทรัพย์สินที่ค้างการตรวจสอบ 38,865 บัญชี รวมถึงเรื่องที่ร้องเรียนเข้ามาทั้งหมด 1,354 เรื่อง ซึ่งทาง ป.ป.ช. ต้องดำเนินการไต่สวนเอง หรือต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาไต่สวนทุกเรื่อง
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมานั้น ได้ชี้มูลความผิด ส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินคดีไปแล้ว 36 คดี ซึ่งคดีใหญ่ ๆ ได้แถลงไปหมด ซึ่งใน 36 คดีที่ส่งไปแล้วนั้นยังมีคดีที่สำคัญ ๆ อยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่อีกหลายเรื่อง เช่น การทุจริตคลองด่าน ส่วนเรื่องค่าโง่ทางด่วน ขณะนี้อยู่ระหว่างการแจ้งข้อกล่าวหาไปทางสำนักงานการเมือง ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหามา ทางเราก็จะพิจารณาว่าจะมีการไต่สวนเพิ่มเติมหรือไม่
เรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้มีการวินิจฉัยตัดสินว่า การออกพระราชกฤษฎีกา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตนั้นไม่ชอบ ซึ่ง ป.ป.ช.ได้รับคำร้องจากพนักงานกฟผ.ในฐานะผู้เสียหายเพื่อแจ้งความให้ดำเนินคดีกับอดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตคณะรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้เราจับประเด็นตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ว่า ที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าคำสั่ง หรือการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายตรงจุดไหนก็จะจับประเด็นตรงจุดนั้น และ จะไต่สวนลงไปว่าตรงจุดนั้นมีเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกระทำความผิดหรือไม่ และถ้ามีผู้กระทำความผิดผู้นั้นคือใคร และผิดอย่างไร
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องอดีตนักการเมืองที่ค้างการดำเนินการตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มี ป.ป.ช.เป็นเรื่องเกี่ยวกับการถอดถอนอีกประมาณ 10 กว่าเรื่อง ซึ่ง ป.ป.ช. กำลังเร่งรัดอยู่ คาดว่าจะเสร็จเร็ว ๆ นี้ ส่วนเรื่องการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน เราก็ตรวจสอบทรัพย์สินความถูกต้องของทรัพย์สินความมีอยู่จริง ของทรัพย์สิน และหนี้สินทุกคน เท่าเทียมกันหมด เว้นแต่มีบางรายมีการยื่นคำร้องเพิ่มเติมเข้ามาว่าจะมีทรัพย์สินไม่ตรง และมีการซุกซ่อนทรัพย์สินอย่างไร เราก็จะตั้งอนุกรรมการตรวจสอบขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ ซึ่งจะมีคำร้องขึ้นมาว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่มีบุตร แต่ข้อเท็จจริงไม่ทางพฤตินัยมีภริยา มีบุตร ประเด็นนี้ตรงนี้ต้องตรวจสอบไปยังทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องว่ามีจริงหรือไม่ และถ้ามี ได้มาอย่างไร เป็นการซุกซ่อนของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีหรือไม่ ขณะนี้กำลังตรวจสอบอยู่ทุกราย
ส่วนประเด็นของการป้องกันการทุจริตนั้น ปีนี้ ทางรัฐบาลได้จัดตั้งเรื่องการปราบปรามการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ และ ป.ป.ช.ได้ประสานงานกับ นายกรัฐมนตรี และได้กำหนดให้วันที่ 6 เม.ย.ที่เป็นวันจักรี จะเป็นวันที่เราประกาศว่า จะปฏิบัติตัวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะกราบเรียนเชิญ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ในการกล่าวนำคำปฏิญาณ และ จะมีสมุดลงรายชื่อผู้ถวายคำปฏิญาณ เพื่อถวายแด่พระองค์ท่าน โดยจะมีถ้อยคำว่า"ล้างทุจริตให้สิ้นแผ่นดินไทย เพื่อเทิดไท้องค์ราชัน"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อจากนั้น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการ ผบ.ตร.ได้แถลงความคืบหน้าการทำงานของ สตช. ตามด้วยนายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด ที่ได้ชี้แจงถึงความคืบหน้าในการสั่งคดีต่างๆ ตามด้วย นายเดโช สวนานนท์ รองประธาน ส.ส.ร.และ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.ที่พูดถึงความพร้อมในการเตรียมการเลือกตั้ง
**พูดให้ตีความเรื่องไม่สืบทอดอำนาจ
หลังจากนั้น พล.อ.สนธิ ได้กล่าวสรุปผลงาน คมช.รอบ 6 เดือนว่า ผู้ที่รับฟังอยู่ คงจะประจักษ์ชัดถึงความมุ่งมั่นในการทำงาน และคงทำให้พี่น้องประชาชนมีความเชื่อมั่นในการทำงานทุกขั้นตอนของ คมช.และผลสำฤทธิ์ออกมาโดยองค์กร ต่างๆ ซึ่งมีอิสระในการทำงานในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่ความสำเร็จของงาน 4 ประการ ที่ทาง คมช. กำหนดเป็นวัตถุประสงค์
"ขอยืนยันว่าเราจะต้องมีการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา และจะมีความเป็นธรรมทุกประการ นำไปสู่ประชาธิปไตยที่พวกเราต้องการ ความเป็นประชาธิปไตยการที่เรามีวัตถุประสงค์นั้น ผมเชื่อได้ว่าถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างไร พวกท่านจะทำอย่างไรก็แล้วแต่ จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตาม หากประชาชนทุกคนหันมามีส่วนร่วมกำกับดูแลการทำงานของภาครัฐมากขึ้น ดูแลการทำงานของรัฐบาลมากขึ้น ผมเชื่อว่าประชาธิปไตยจะเป็นไปตามแนวทางที่เราต้องการ โดยเฉพาะประชาชนทุกคนมีส่วนในการนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์"
สิ่งแรกที่เราอย่างเห็น คือ ความช่วยเหลือจากประชาชน เกี่ยวกับเรื่องการปราบปรามการทุจริต การสร้างความโปร่งใส สร้างความเป็นธรรม ความสมานฉันท์ ที่สำคัญ เราต้องอยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง นี่คือ แนวทางในความเป็นไปได้ของประชาธิปไตยแบบบ้านเรา ซึ่งเป็นประชาธิปไตยที่คนทั้งชาติต้องมีส่วนร่วม ดังนั้น เราทุกคนต้องระลึกและยึดมั่นเสมอว่าเรามีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นจุดศูนย์รวมในการที่จะทำงานรวมกัน และจะผนึกจิตสำนึกของคนในชาติ นำไปสู่ความยิ่งใหญ่ของคนในชาติ
จากนั้นผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่กลุ่มอำนาจเก่า เปิดสถานีโทรทัศน์ พีทีวี เพื่อกดดันรัฐบาลและ คมช. โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคลื่อนไหวอยู่ต่างประเทศ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า เราไม่ให้ความสำคัญ เพราะถือเป็นปุถุชนคนหนึ่งที่จะออกความคิดเห็นส่วนตัว เป็นเรื่องของท่าน ส่วนเรื่องพีทีวีนั้น สิ่งใดก็ตามที่นำไปสู่ความมั่นคงของประเทศ เรายินดีสนับสนุน แต่อะไรที่ทำให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ ต้องมีการตรวจสอบ เพราะประเทศชาติมีความสำคัญกว่าเรื่องอื่น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ท่านพร้อมแสดงจุดยืน และเจตนารมณ์ที่ชัดเจน ของประธาน คมช.ที่จะไม่สืบทอดอำนาจหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะการเป็นนายกรัฐมนตรี ได้หรือไม่ พล.อ.สนธิ หัวเราะ ก่อนกล่าวว่า"ถามสูงไปหน่อย ผมเป็นคนไทยคนหนึ่ง รักชาติบ้านเมือง คิดว่าอยากจะทำอะไรให้ชาติบ้านเมืองเข้มแข็งก็จะทำ"พล.อ.สนธิ กล่าว
**ให้คะแนนคมช.แค่สอบผ่าน
นายอรรคพล สรสุชาติ สมาชิก สนช.แสดงความเห็นถึงการแถลงข่าวผลงานในรอบ 6 เดือนของ คมช.ว่า หลายๆเรื่องความคืบหน้าน้อยมาก ไล่ไปตั้งแต่ คตส.ที่ทำค่อนข้างล่าช้า แต่ต้องเห็นใจเพราะข้อมูลมีมาก และไม่มีอำนาจในการเป็นผู้กล่าวหาเองได้ เพิ่งมีอำนาจไปเมื่อเร็วๆนี้ เมื่อมีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ที่ให้อำนาจในการเป็นผู้กล่าวหาได้ จึงหวังว่า 3-4 เดือนข้างหน้า คตส.จะมีผลงานที่เป็นรูปธรรมมกว่านี้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ประชาชนยังมีความเห็นใจและคาดหวังการทำงานของ คมช.แต่ลดน้อยลง ดังนั้น คมช.ต้องเร่งรัดผลงานของตัวเองให้ประชาชนได้เห็น โดยเฉพาะระยะเวลาที่เหลือถือเป็นห้วงเวลาที่สำคัญที่สุดที่คมช.จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และลบข้อครหาที่จะสืบทอดอำนาจ
"หากผมให้คะแนนก็แค่ สอบผ่าน สถานการณ์ข้างหน้าจะเข้มข้นมากกว่า โดยเฉพาะคนที่อยู่ตรงข้ามกับคมช.ที่จะมีการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ คมช.จะต้องเตรียมรับมือเพื่อให้บ้านเมืองผ่านช่วงเวลานี้ไปได้"นายอรรคพล กล่าว
ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ ครป.กล่าวว่า ผลงานของ คมช.และองค์กรต่างๆนั้น ยังไม่ได้ระบุปัญหาอุปสรรคถึงความล่าช้า และสิ่งที่ขาดหายไปจากการแถลงครั้งนี้คือ งานสร้างความสมานฉันท์ที่ไม่เป็นรูปธรรม ไม่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลมีแนวคิดหรือวางแผนอย่างไร เพราะงานสมานฉันท์ไปจมที่กองทัพและ กอ.รมน.ทั้งที่งานดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อนควรจะให้ประชาชนและสังคมมีส่วนร่วมมากกว่านี้ จะให้กองทัพทำงานลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยหลายภาคส่วน
ทั้งนี้ 6 เดือนจากนี้ต้องเลือกในการจัดลำดับความสำคัญของการทำงาน แม้จะมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาใหม่ๆ จำนวนมากก็ตาม ซึ่งตนมองว่า เรื่องที่สำคัญต้นๆ คือ นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง การปฏิรูปสื่อทั้งระบบ การปฏิรูปกระบวนกรยุติธรรม การแก้ปัญหาปากท้องประชาชนหรือปัญหาความยากจน ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้