ประธาน คมช.นำทีมรัฐบาล -คตส.-ป.ป.ช.-สตช. แถลงผลงานครบ 6 เดือน ที่มีทั้งด้านการปฏิรูป การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ทุจริตคอร์รัปชั่น รวมทั้งกรณีหมิ่นเบื้องสูง ขณะที่รัฐบาลแจงผลงานรอบ 4 เดือน แจงผลงานดับไฟใต้ยึดแนวสันติ คำขอโทษความรุนแรงในอดีตคือผลงาน คุยโวช่วยประชาชน ประสบภัยน้ำท่วมดีกว่ารัฐบาลในอดีต แก้กม.ติดดาบเอาผิดรมต.ขี้ฉ้อ กันผู้นำในอนาคตมีผลประโยชน์ทับซ้อน
เวลา 10.00 น.วันนี้ (20มี.ค.)ที่หอประชุมกิตติขจร กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)จะเป็นประธานในการแถลงผลงาน และการดำเนินงานด้านต่างๆในรอบ 6 เดือน ภายหลังจากที่มีการปฏิรูปการปกครองเมื่อวันที่ 19 ก.ย.49 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆคือ รัฐบาล สมาชิกสภานิติบัญญัติ(สนช.)คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.)คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)เข้าร่วมชี้แจงผลการดำเนินงานต่างๆด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า พล.อ.สนธิ จะเป็นผู้กล่าวเปิดการแถลงผลงาน และชี้แจงการดำเนินงานในภาพรวมของคมช.จากนั้นผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ จะชี้แจงผลการดำเนินงานต่างๆ ดังนี้ ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนจากรัฐบาล จะแถลงถึงนโยบายและการปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูป และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่น่าสนใจ น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช รองประธาน สนช.จะแถลงถึงการดำเนินงานในการตรวจสอบทุจริต เช่น กรรมาธิการตรวจสอบสนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงกฎหมายที่อยุ่ในความสนใจของประชาชน นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส.และ นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะผู้แทนป.ป.ช.จะแถลงถึงความก้าวหน้าในการดำเนินการตรวจสอบการทุจริต นายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด จะแถลงถึงความในการดำเนินคดีการทุจริต และ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะแถลงถึงความคืบหน้ากรณีทุจริต บริษัทกุหลาบแก้ว และบุกรุกที่ดิน จ.บุรีรัมย์ และ กรณีหมิ่นพระบรมราชานุภาพ
**รัฐบาลแจงยิบผลงาน 4 เดือน
วานนี้(19 มี.ค.) ร.ท.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในการบันทึกเทปรายการพิเศษ "ประโยชน์เพื่อสุขประชาชนตอน "ภารกิจรัฐบาล ตอน ต.ค.49-ก.พ.50 ในการแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 4 เดือนว่า ที่ผ่านมา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ได้ทุ่มเททำงานอย่างหนัก เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชน ทั้งในกรอบนโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร นโยบายเศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และ การรักษาความมั่นคงของรัฐ
ทั้งนี้ หนึ่งในภารกิจสำคัญของรัฐบาล คือ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาซึ่งมีความละเอียดอ่อนและได้ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้แนวทางสันติวิธี พูดคุยปรับความเข้าใจกับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และเยาวชนในพื้นที่ รัฐบาลได้จัดตั้ง ศอ.บต. และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.)ทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้เป็นเอกภาพ รวมทั้งได้มอบให้ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานหลักในการบริหาร รัฐบาลได้จัดตั้งกองกำลังทหารพราน ที่ประกอบขึ้นจากประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีความเข้าใจปัญหาและความต้องการของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ รัฐบาลได้ใช้แนวทางสันติในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญคือ การถอนฟ้องกรณีตากใบ ยกเลิกบัญชีดำอุสตาช ขอโทษต่อการแก้ปัญหาในอดีตที่เคยใช้ความรุนแรงโดยภาครัฐ
นอกจากนี้ ภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลทันทีที่เข้ารับหน้าที่ในเดือนต.ค.49 คือ การช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยใน 47 จังหวัด ทั่วประเทศ รัฐบาลได้อนุมัติแผนงานและงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและบูรณะฟื้นฟูความเสียหาย ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วยอัตราเงินช่วยเหลือที่สูงกว่าในอดีต และเม็ดเงินส่วนใหญ่ได้ถึงมือผู้ประสบอุทกภัยเร็ว ตามที่ได้ประกาศไว้
สำหรับการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร การมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐบาลได้ดำเนินการปฏิรูปการเมืองตามกรอบเวลาที่กำหนด นั่นคือ การสนับสนุนการยกร่างรัฐธรรมนูญ การเตรียมสนับสนุนการจัดทำประชาพิจารณ์ และการเตรียมจัดการเลือกตั้ง รัฐบาลได้ประกาศนโยบายสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยให้ประชาชนเข้ามาร่วมคิด ร่วมจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อจัดระบบสื่อภาครัฐ สื่อภาคเอกชน และสื่อชุมชน ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง
ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์ ซึ่งได้มีการประกาศใช้บังคับมานานแล้ว และบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยจดแจ้งการพิมพ์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการ่วมระหว่างภาคราชการกับสื่อมวลชนเพื่อพิจารณาจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยจดแจ้งการพิมพ์ ที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ ในทุกด้าน และคาดว่าคณะกรรมการชุดนี้จะดำเนินการได้เสร็จเรียบร้อยในระยะเวลาอันใกล้นี้
**สร้างความโปร่งใสในระบบบริหาร
ในด้านความโปร่งใสของทางราชการ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการแก้ไขพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการโดยมีคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ และสำนักงานข้อมูลข่าวสารของราชการ เป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่นี้ นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ คตส. และ ครม.ก็เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 พ.ศ.... ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้ ป.ป.ช.สามารถดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงได้เอง ไม่ว่าจะมีผู้กล่าวหาหรือไม่ก็ตาม
นอกจากนี้ ได้วางแนวทางที่จะก่อให้เกิดความโปร่งใส ในการทำงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในอนาคต ต้องปลอดจากการทุจริตประพฤติมิชอบ ดังนั้น การยกร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับผลประโยชน์ส่วนรวม จึงได้รับการสนับสนุนจากครม.อย่างเต็มที่ ซึ่งครม.ได้อนุมัติและส่งร่างพ.ร.บ.นี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
รัฐบาลยังได้ประกาศวาระแห่งชาติ ด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ และเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมธรรมาภิบาลภาครัฐที่จะมีองค์ประกอบสำคัญคือ สภาธรรมาภิบาลแห่งชาติ และวางยุทธศาสตร์การดำเนินงาน เช่น การสร้างกลุ่มผู้นำและรูปแบบองค์การแห่งสุจริตธรรม การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยม และการพัฒนาข้าราชการ เป็นต้น
**บรรจุ ศก.พอเพียงในแผนฯ10
สำหรับภารกิจของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน และผลักดันให้เกิดการปฏิบัติในสังคมไทย รัฐบาลได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ซึ่งน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำในการพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่งสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนในสังคม รัฐบาลได้เร่งรัดจัดทำ งบประมาณปี 50 และประกาศใช้ได้ในวันที่ 1 ม.ค.50 เร็วกว่าที่คาดไว้ ทำให้มีเม็ดเงินภาครัฐออกสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยได้กำหนด ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำ เน้นการแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาคนและสังคม ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รักษาความมั่นคงและส่งเสริมธรรมาภิบาล
นอกจากนี้ ปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลต้องเข้ามาดำเนินการแก้ไข คือ กรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งขณะนี้องค์กรอิสระกำลังดำเนินการตรวจสอบความโปร่งใสของโครงการต่างๆ และนายกฯยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการดำเนินกิจการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานกรุงเทพ(ดอนเมือง)โดยมีนายกฯ เป็นประธาน ซึ่งเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอว่า ในระหว่างการปรับปรุงซ่อมแซมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สมควรที่จะให้สายการบินภายในประเทศที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ(ดอนเมือง) ตามความสมัครใจ และควรให้มีการศึกษาความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานกรุงเทพ(ดอนเมือง)เพื่อให้บริการสายการบินต่างชาติ และสายการบิน Low Cost Carriers สำหรับเที่ยวบินต่างประเทศต่อไป
การทำงานของรัฐบาลในการสร้างนิติธรรม นิติรัฐ และธรรมาภิบาล ในส่วนอื่นๆกันบ้าง นายกฯมองว่า ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ โดยเฉพาะความแตกแยกในหมู่ประชาชนมีสาเหตุสำคัญคือ"ความไม่เป็นธรรม" รัฐบาลจึงปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปราบปรามคอรัปชั่น ต่อสู้ภัยยาเสพติด พิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน และคุ้มครองพยาน การสร้างความเป็นธรรมในสังคมคือเป้าหมายสำคัญของรัฐบาล การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ จึงเป็นภารกิจเร่งด่วน ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปองค์กรตำรวจที่รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงองคาพยพขององค์กรตำรวจให้สอดรับสถานการณ์ปัจจุบัน แก้ปัญหาระบบการสอบสวนที่ขาดอิสระ และแก้ปัญหาที่กระทบประชาชนเช่นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งละเมิดสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น
เวลา 10.00 น.วันนี้ (20มี.ค.)ที่หอประชุมกิตติขจร กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)จะเป็นประธานในการแถลงผลงาน และการดำเนินงานด้านต่างๆในรอบ 6 เดือน ภายหลังจากที่มีการปฏิรูปการปกครองเมื่อวันที่ 19 ก.ย.49 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆคือ รัฐบาล สมาชิกสภานิติบัญญัติ(สนช.)คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.)คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)เข้าร่วมชี้แจงผลการดำเนินงานต่างๆด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า พล.อ.สนธิ จะเป็นผู้กล่าวเปิดการแถลงผลงาน และชี้แจงการดำเนินงานในภาพรวมของคมช.จากนั้นผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ จะชี้แจงผลการดำเนินงานต่างๆ ดังนี้ ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนจากรัฐบาล จะแถลงถึงนโยบายและการปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูป และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่น่าสนใจ น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช รองประธาน สนช.จะแถลงถึงการดำเนินงานในการตรวจสอบทุจริต เช่น กรรมาธิการตรวจสอบสนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงกฎหมายที่อยุ่ในความสนใจของประชาชน นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส.และ นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะผู้แทนป.ป.ช.จะแถลงถึงความก้าวหน้าในการดำเนินการตรวจสอบการทุจริต นายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด จะแถลงถึงความในการดำเนินคดีการทุจริต และ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะแถลงถึงความคืบหน้ากรณีทุจริต บริษัทกุหลาบแก้ว และบุกรุกที่ดิน จ.บุรีรัมย์ และ กรณีหมิ่นพระบรมราชานุภาพ
**รัฐบาลแจงยิบผลงาน 4 เดือน
วานนี้(19 มี.ค.) ร.ท.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในการบันทึกเทปรายการพิเศษ "ประโยชน์เพื่อสุขประชาชนตอน "ภารกิจรัฐบาล ตอน ต.ค.49-ก.พ.50 ในการแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 4 เดือนว่า ที่ผ่านมา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ได้ทุ่มเททำงานอย่างหนัก เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชน ทั้งในกรอบนโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร นโยบายเศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และ การรักษาความมั่นคงของรัฐ
ทั้งนี้ หนึ่งในภารกิจสำคัญของรัฐบาล คือ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาซึ่งมีความละเอียดอ่อนและได้ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้แนวทางสันติวิธี พูดคุยปรับความเข้าใจกับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และเยาวชนในพื้นที่ รัฐบาลได้จัดตั้ง ศอ.บต. และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.)ทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้เป็นเอกภาพ รวมทั้งได้มอบให้ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานหลักในการบริหาร รัฐบาลได้จัดตั้งกองกำลังทหารพราน ที่ประกอบขึ้นจากประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีความเข้าใจปัญหาและความต้องการของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ รัฐบาลได้ใช้แนวทางสันติในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญคือ การถอนฟ้องกรณีตากใบ ยกเลิกบัญชีดำอุสตาช ขอโทษต่อการแก้ปัญหาในอดีตที่เคยใช้ความรุนแรงโดยภาครัฐ
นอกจากนี้ ภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลทันทีที่เข้ารับหน้าที่ในเดือนต.ค.49 คือ การช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยใน 47 จังหวัด ทั่วประเทศ รัฐบาลได้อนุมัติแผนงานและงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและบูรณะฟื้นฟูความเสียหาย ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วยอัตราเงินช่วยเหลือที่สูงกว่าในอดีต และเม็ดเงินส่วนใหญ่ได้ถึงมือผู้ประสบอุทกภัยเร็ว ตามที่ได้ประกาศไว้
สำหรับการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร การมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐบาลได้ดำเนินการปฏิรูปการเมืองตามกรอบเวลาที่กำหนด นั่นคือ การสนับสนุนการยกร่างรัฐธรรมนูญ การเตรียมสนับสนุนการจัดทำประชาพิจารณ์ และการเตรียมจัดการเลือกตั้ง รัฐบาลได้ประกาศนโยบายสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยให้ประชาชนเข้ามาร่วมคิด ร่วมจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อจัดระบบสื่อภาครัฐ สื่อภาคเอกชน และสื่อชุมชน ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง
ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์ ซึ่งได้มีการประกาศใช้บังคับมานานแล้ว และบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยจดแจ้งการพิมพ์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการ่วมระหว่างภาคราชการกับสื่อมวลชนเพื่อพิจารณาจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยจดแจ้งการพิมพ์ ที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ ในทุกด้าน และคาดว่าคณะกรรมการชุดนี้จะดำเนินการได้เสร็จเรียบร้อยในระยะเวลาอันใกล้นี้
**สร้างความโปร่งใสในระบบบริหาร
ในด้านความโปร่งใสของทางราชการ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการแก้ไขพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการโดยมีคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ และสำนักงานข้อมูลข่าวสารของราชการ เป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่นี้ นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ คตส. และ ครม.ก็เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 พ.ศ.... ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้ ป.ป.ช.สามารถดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงได้เอง ไม่ว่าจะมีผู้กล่าวหาหรือไม่ก็ตาม
นอกจากนี้ ได้วางแนวทางที่จะก่อให้เกิดความโปร่งใส ในการทำงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในอนาคต ต้องปลอดจากการทุจริตประพฤติมิชอบ ดังนั้น การยกร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับผลประโยชน์ส่วนรวม จึงได้รับการสนับสนุนจากครม.อย่างเต็มที่ ซึ่งครม.ได้อนุมัติและส่งร่างพ.ร.บ.นี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
รัฐบาลยังได้ประกาศวาระแห่งชาติ ด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ และเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมธรรมาภิบาลภาครัฐที่จะมีองค์ประกอบสำคัญคือ สภาธรรมาภิบาลแห่งชาติ และวางยุทธศาสตร์การดำเนินงาน เช่น การสร้างกลุ่มผู้นำและรูปแบบองค์การแห่งสุจริตธรรม การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยม และการพัฒนาข้าราชการ เป็นต้น
**บรรจุ ศก.พอเพียงในแผนฯ10
สำหรับภารกิจของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน และผลักดันให้เกิดการปฏิบัติในสังคมไทย รัฐบาลได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ซึ่งน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำในการพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่งสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนในสังคม รัฐบาลได้เร่งรัดจัดทำ งบประมาณปี 50 และประกาศใช้ได้ในวันที่ 1 ม.ค.50 เร็วกว่าที่คาดไว้ ทำให้มีเม็ดเงินภาครัฐออกสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยได้กำหนด ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำ เน้นการแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาคนและสังคม ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รักษาความมั่นคงและส่งเสริมธรรมาภิบาล
นอกจากนี้ ปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลต้องเข้ามาดำเนินการแก้ไข คือ กรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งขณะนี้องค์กรอิสระกำลังดำเนินการตรวจสอบความโปร่งใสของโครงการต่างๆ และนายกฯยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการดำเนินกิจการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานกรุงเทพ(ดอนเมือง)โดยมีนายกฯ เป็นประธาน ซึ่งเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอว่า ในระหว่างการปรับปรุงซ่อมแซมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สมควรที่จะให้สายการบินภายในประเทศที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ(ดอนเมือง) ตามความสมัครใจ และควรให้มีการศึกษาความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานกรุงเทพ(ดอนเมือง)เพื่อให้บริการสายการบินต่างชาติ และสายการบิน Low Cost Carriers สำหรับเที่ยวบินต่างประเทศต่อไป
การทำงานของรัฐบาลในการสร้างนิติธรรม นิติรัฐ และธรรมาภิบาล ในส่วนอื่นๆกันบ้าง นายกฯมองว่า ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ โดยเฉพาะความแตกแยกในหมู่ประชาชนมีสาเหตุสำคัญคือ"ความไม่เป็นธรรม" รัฐบาลจึงปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปราบปรามคอรัปชั่น ต่อสู้ภัยยาเสพติด พิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน และคุ้มครองพยาน การสร้างความเป็นธรรมในสังคมคือเป้าหมายสำคัญของรัฐบาล การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ จึงเป็นภารกิจเร่งด่วน ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปองค์กรตำรวจที่รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงองคาพยพขององค์กรตำรวจให้สอดรับสถานการณ์ปัจจุบัน แก้ปัญหาระบบการสอบสวนที่ขาดอิสระ และแก้ปัญหาที่กระทบประชาชนเช่นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งละเมิดสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น