“ฉันทนไม่ไหวแล้วนะ”
รับสั่งของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ตรัสต่อพล.อ.ณ พล บุญทับ วันสองวันมานี้ ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านรู้สึกอย่างไร
ผมเองรู้สึกมีก้อนอะไรจุกขึ้นมาที่คอหอย และรู้สึกย้อนไปถึงข้อมูลบางประการในประวัติศาสตร์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของประเทศไทย และของโลก ทรงเป็นสมเด็จพระ อัยกาของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในยุคของพระองค์เป็นช่วงเวลาของลัทธิล่าอาณานิคมของฝรั่งตะวันตก แทบจะไม่มีดินแดนส่วนไหนของโลกที่พ้นเงื้อมมือของมหาอำนาจที่ส่ง “เรือปืน” ออกมายึดครอง
ลูกไทยหลานไทยที่ได้อยู่ ได้กิน และได้อาศัยบนแผ่นดินอุดมสมบูรณ์ผืนนี้จะต้องจดจำจารึกเอาไว้ให้มั่น ก็คือ การที่พวกเราชาวไทยสามารถบอกกับคนทั้งโลกได้อย่างภาคภูมิใจว่า...
ประเทศไทยไม่เคยตกเป็น “เมืองขึ้น” ของใคร!
พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ เพื่อพยายามจะรักษาเอกราชของชาติเอาไว้ให้ได้
การเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปแต่ละครั้ง มีเป้าหมายสำคัญคือเพื่อรักษาชาติบ้านเมือง
เสด็จไปเยอรมนี, รัสเซีย ก็เพื่อจะดึงเอา 2 ชาตินี้มาคานอำนาจอังกฤษ, ฝรั่งเศส ที่กำลังจ้องฮุบเอาดินแดนของเราไป
ที่สุดแล้ว -- เราท่านในที่นี้ก็คงได้เรียนรู้มาแล้วว่า สยามประเทศในวันนั้นจำเป็นต้องจำใจยอมตัดดินแดนบางส่วนเพื่อให้ดำรงสถานะของ “ชาติเอกราช” นั่นก็คือรัฐประศาสนโยบาย “ยอมเสียอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต” มีคนรุ่นหลังไม่มากนักที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงดังกล่าวลึกซึ้ง ว่า บรรพบุรุษของเราต้องทนทุกข์เหนื่อยยาก และเจ็บปวดกันมาขนาดไหนเพื่อการดำรงชาติเอาไว้ให้ได้
หลังเหตุการณ์เสียดินแดน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ที่ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสที่ถูกบังคับให้ตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตนั้นเจ็บปวดเพียงไร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทุกข์เทวษเป็นอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์นั้น
ถึงกับทรงพระประชวรหนัก
ประวัติศาสตร์บ่งบอกว่า ถึงกับทรง “ลาสวรรคต” เลยทีเดียว
ไม่เสวยพระโอสถ ไม่โปรดให้บุคคลใกล้ชิดเฝ้า จนเป็นที่ปริวิตกแก่บรรดาเจ้านาย ข้าราชการ และข้าราชบริพาร ที่เฝ้าดูพระอาการของพระองค์อยู่
พระองค์ทรงเปรียบสถานการณ์ในขณะนั้นเหมือนกับครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียให้พม่า เปรียบพระองค์เหมือนกับขุนหลวง 2 พระองค์ (ขุนหลวงหาวัด, ขุนหลวงเอกทัศน์) ที่เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่สามารถรักษาเมืองได้
โดยได้ทรงประพันธ์บทพระราชนิพนธ์ (ฉันท์) ตอนหนึ่งว่า
กลัวเป็นทวิราช บตริป้องอยุธยา
เสียเมือง ต้องนินทาบละเว้นฤวางวาย
คิดใดจะเกี่ยงแก้ ก็บพบซึ่งเงื่อนสาย
สบหน้ามนุษย์อายจึงจะอุดและเลยสูญ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบบทพระราชนิพนธ์นั้น แทนบรรดาเจ้านายและข้าราชการบริพารแวดล้อมที่ประสงค์ให้พระ องค์หายจากพระประชวร เป็นบทนิพนธ์ที่จับใจมาก ว่ากันว่า...ทำให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จกลับมาเสวยพระโอสถอีกครั้ง และเกิดความหวังจะเอาชนะวิกฤตการณ์ร.ศ. 112
พระนิพนธ์ดังกล่าวมีความสำคัญตอนหนึ่งว่า
ดุจเหล่าพละนา-วะเหว่ว้ากะปิตัน
นายท้ายฉงนงันทิศทางก็คลางแคลง
.........
อึดอัดทุกหน้าที่ทุกทวีทุกวันวาร
เหตุห่างบดียานอันเคยไว้น้ำใจชน
กล่าวคือเปรียบเทียบว่า เหตุการณ์บ้านเมืองเหมือนกับเรือที่ขาดกัปตัน ทำให้ลูกเรือทั้งหมดเกิดสับสน ไม่รู้จะเดินไปในทิศทางใด ทุกคนต่างอึดอัดเพราะไม่มีองค์ผู้นำผู้เป็นศูนย์รวมน้ำใจ
ในพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่มีไปถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารในระหว่างที่ทรงไปศึกษาในยุโรปนั้น ได้ทรงพรรณนาถึงความรันทดโศกเศร้าพระทัยเป็นที่ยิ่งว่า ในชีวิตของพระองค์ท่านไม่มีความรันทดโศกเศร้าใดเสมอเหมือนกับการสูญเสียดินแดนที่สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้ก่นสร้างไว้ให้แก่ปวงชนชาวไทยเลย
ทั้งๆ ที่นั่นเป็นการเสียดินแดนให้แก่มหาอำนาจชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม ซึ่งสยามประเทศในยามนั้นไม่มีขีดความสามารถใดๆ ที่จะคุ้มครองป้องกันตัว นอกจากพระปรีชาสามารถแห่งพระมหากษัตริย์ และเป็นการ “สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต” เท่านั้น ก็ยังรันทดโศกเศร้าพระทัยถึงเพียงนั้น
ในที่สุด หลังเหตุการณ์ดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จประพาสยุโรปอีกครั้งหนึ่ง เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งมีพระราชหัตเลขาหลายองค์แสดงถึงความตั้งใจจะเดินทางเพื่อทำงานให้บ้านเมือง แก้ปัญหาที่มีชาติมหาอำนาจ-ลัทธิล่าอาณานิคมมาคุกคาม
พระองค์และบรรดาบรรพบุรุษของเรา ก็ได้พยายามทุกวิถีทางทุ่มเทสติปัญญา และความสามารถเพื่อจะรักษา “ชีวิตของชาติ” ก็คือ “เอกราช” เอาไว้
รัฐบาลไทยวันนี้ แม้จะทำเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่พอครับ
เรามีอำนาจปกครองเหนือดินแดน 3 - 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ปกติดีอยู่หรือทุกวันนี้
คิดดูสิว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงรันทดโศกเศร้าพระราชหฤทัยเพียงไหน หากสถานการณ์ยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น
เราต้องการเช่นนั้นหรือ?
เราจะให้ของขวัญวันครบรอบ 60 ปีแห่งการขึ้นครองสิริราชสมบัติของพระองค์ด้วยพระปฐมบรมราชโอการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประ โยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และของขวัญวันครบรอบพระชนมายุ 80 พรรษา ต้องมีอันเป็นเช่นนี้หรือ?
เราต้องการเช่นนี้หรือ?
ลำพังกลับไปสู่ยุค ศอ.บต.ก่อนปี 2544 ให้ทหารบัญชาการ อาจจะยังไม่พอ!
แต่จะทำอย่างไรกันก็เร่งคิดอ่านกันให้ดี อย่าท่องแต่คาถา “เราเดินมาถูกทางแล้ว” ที่ไม่มีวันจะ “ได้ใจ” ประชาชนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเลย
รับสั่งของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ตรัสต่อพล.อ.ณ พล บุญทับ วันสองวันมานี้ ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านรู้สึกอย่างไร
ผมเองรู้สึกมีก้อนอะไรจุกขึ้นมาที่คอหอย และรู้สึกย้อนไปถึงข้อมูลบางประการในประวัติศาสตร์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของประเทศไทย และของโลก ทรงเป็นสมเด็จพระ อัยกาของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในยุคของพระองค์เป็นช่วงเวลาของลัทธิล่าอาณานิคมของฝรั่งตะวันตก แทบจะไม่มีดินแดนส่วนไหนของโลกที่พ้นเงื้อมมือของมหาอำนาจที่ส่ง “เรือปืน” ออกมายึดครอง
ลูกไทยหลานไทยที่ได้อยู่ ได้กิน และได้อาศัยบนแผ่นดินอุดมสมบูรณ์ผืนนี้จะต้องจดจำจารึกเอาไว้ให้มั่น ก็คือ การที่พวกเราชาวไทยสามารถบอกกับคนทั้งโลกได้อย่างภาคภูมิใจว่า...
ประเทศไทยไม่เคยตกเป็น “เมืองขึ้น” ของใคร!
พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ เพื่อพยายามจะรักษาเอกราชของชาติเอาไว้ให้ได้
การเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปแต่ละครั้ง มีเป้าหมายสำคัญคือเพื่อรักษาชาติบ้านเมือง
เสด็จไปเยอรมนี, รัสเซีย ก็เพื่อจะดึงเอา 2 ชาตินี้มาคานอำนาจอังกฤษ, ฝรั่งเศส ที่กำลังจ้องฮุบเอาดินแดนของเราไป
ที่สุดแล้ว -- เราท่านในที่นี้ก็คงได้เรียนรู้มาแล้วว่า สยามประเทศในวันนั้นจำเป็นต้องจำใจยอมตัดดินแดนบางส่วนเพื่อให้ดำรงสถานะของ “ชาติเอกราช” นั่นก็คือรัฐประศาสนโยบาย “ยอมเสียอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต” มีคนรุ่นหลังไม่มากนักที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงดังกล่าวลึกซึ้ง ว่า บรรพบุรุษของเราต้องทนทุกข์เหนื่อยยาก และเจ็บปวดกันมาขนาดไหนเพื่อการดำรงชาติเอาไว้ให้ได้
หลังเหตุการณ์เสียดินแดน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ที่ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสที่ถูกบังคับให้ตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตนั้นเจ็บปวดเพียงไร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทุกข์เทวษเป็นอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์นั้น
ถึงกับทรงพระประชวรหนัก
ประวัติศาสตร์บ่งบอกว่า ถึงกับทรง “ลาสวรรคต” เลยทีเดียว
ไม่เสวยพระโอสถ ไม่โปรดให้บุคคลใกล้ชิดเฝ้า จนเป็นที่ปริวิตกแก่บรรดาเจ้านาย ข้าราชการ และข้าราชบริพาร ที่เฝ้าดูพระอาการของพระองค์อยู่
พระองค์ทรงเปรียบสถานการณ์ในขณะนั้นเหมือนกับครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียให้พม่า เปรียบพระองค์เหมือนกับขุนหลวง 2 พระองค์ (ขุนหลวงหาวัด, ขุนหลวงเอกทัศน์) ที่เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่สามารถรักษาเมืองได้
โดยได้ทรงประพันธ์บทพระราชนิพนธ์ (ฉันท์) ตอนหนึ่งว่า
กลัวเป็นทวิราช บตริป้องอยุธยา
เสียเมือง ต้องนินทาบละเว้นฤวางวาย
คิดใดจะเกี่ยงแก้ ก็บพบซึ่งเงื่อนสาย
สบหน้ามนุษย์อายจึงจะอุดและเลยสูญ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบบทพระราชนิพนธ์นั้น แทนบรรดาเจ้านายและข้าราชการบริพารแวดล้อมที่ประสงค์ให้พระ องค์หายจากพระประชวร เป็นบทนิพนธ์ที่จับใจมาก ว่ากันว่า...ทำให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จกลับมาเสวยพระโอสถอีกครั้ง และเกิดความหวังจะเอาชนะวิกฤตการณ์ร.ศ. 112
พระนิพนธ์ดังกล่าวมีความสำคัญตอนหนึ่งว่า
ดุจเหล่าพละนา-วะเหว่ว้ากะปิตัน
นายท้ายฉงนงันทิศทางก็คลางแคลง
.........
อึดอัดทุกหน้าที่ทุกทวีทุกวันวาร
เหตุห่างบดียานอันเคยไว้น้ำใจชน
กล่าวคือเปรียบเทียบว่า เหตุการณ์บ้านเมืองเหมือนกับเรือที่ขาดกัปตัน ทำให้ลูกเรือทั้งหมดเกิดสับสน ไม่รู้จะเดินไปในทิศทางใด ทุกคนต่างอึดอัดเพราะไม่มีองค์ผู้นำผู้เป็นศูนย์รวมน้ำใจ
ในพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่มีไปถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารในระหว่างที่ทรงไปศึกษาในยุโรปนั้น ได้ทรงพรรณนาถึงความรันทดโศกเศร้าพระทัยเป็นที่ยิ่งว่า ในชีวิตของพระองค์ท่านไม่มีความรันทดโศกเศร้าใดเสมอเหมือนกับการสูญเสียดินแดนที่สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้ก่นสร้างไว้ให้แก่ปวงชนชาวไทยเลย
ทั้งๆ ที่นั่นเป็นการเสียดินแดนให้แก่มหาอำนาจชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม ซึ่งสยามประเทศในยามนั้นไม่มีขีดความสามารถใดๆ ที่จะคุ้มครองป้องกันตัว นอกจากพระปรีชาสามารถแห่งพระมหากษัตริย์ และเป็นการ “สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต” เท่านั้น ก็ยังรันทดโศกเศร้าพระทัยถึงเพียงนั้น
ในที่สุด หลังเหตุการณ์ดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จประพาสยุโรปอีกครั้งหนึ่ง เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งมีพระราชหัตเลขาหลายองค์แสดงถึงความตั้งใจจะเดินทางเพื่อทำงานให้บ้านเมือง แก้ปัญหาที่มีชาติมหาอำนาจ-ลัทธิล่าอาณานิคมมาคุกคาม
พระองค์และบรรดาบรรพบุรุษของเรา ก็ได้พยายามทุกวิถีทางทุ่มเทสติปัญญา และความสามารถเพื่อจะรักษา “ชีวิตของชาติ” ก็คือ “เอกราช” เอาไว้
รัฐบาลไทยวันนี้ แม้จะทำเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่พอครับ
เรามีอำนาจปกครองเหนือดินแดน 3 - 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ปกติดีอยู่หรือทุกวันนี้
คิดดูสิว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงรันทดโศกเศร้าพระราชหฤทัยเพียงไหน หากสถานการณ์ยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น
เราต้องการเช่นนั้นหรือ?
เราจะให้ของขวัญวันครบรอบ 60 ปีแห่งการขึ้นครองสิริราชสมบัติของพระองค์ด้วยพระปฐมบรมราชโอการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประ โยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และของขวัญวันครบรอบพระชนมายุ 80 พรรษา ต้องมีอันเป็นเช่นนี้หรือ?
เราต้องการเช่นนี้หรือ?
ลำพังกลับไปสู่ยุค ศอ.บต.ก่อนปี 2544 ให้ทหารบัญชาการ อาจจะยังไม่พอ!
แต่จะทำอย่างไรกันก็เร่งคิดอ่านกันให้ดี อย่าท่องแต่คาถา “เราเดินมาถูกทางแล้ว” ที่ไม่มีวันจะ “ได้ใจ” ประชาชนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเลย