xs
xsm
sm
md
lg

จดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 ถึงสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ตอนที่2)

เผยแพร่:   โดย: ปราโมทย์ นาครทรรพ

ผมขอเสนอวิธีตัดเชื้อโรคกงจักรกับน้ำเน่าดังนี้

1. การตัดน้ำเชื้อซึ่งระบาดอยู่ใน ส.ส.ร.และ คมช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรอบคิดที่จะยึดรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นสรณะ กับแบบแผนและกรอบที่กรรมาธิการร่างฯ ดำเนินมาอยู่ในขณะนี้ เป็นการวนเวียนอยู่ในอ่าง เรื่องใครจะเป็นอะไรที่ไหนอย่างไร หรือเรื่องการวางหมาก วางเกมต่อสู้ชิงอำนาจ เหมือนการร่างรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหารทั่วไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันไปสู่กรอบรัฐธรรมนูญนิยมราชประชาสมาสัยคือ (1) ระบุการจำกัดอำนาจรัฐบาล ห้ามมีการสงวนอำนาจรัฐบาลโดยใช้คำว่า ทั้งนี้หรือยกเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (2) ย่อและสรุปสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนโดยไม่ต้องจาระไนทุกอย่าง โดยถือว่าสิ่งที่มิได้ห้ามไว้และมิได้ระบุลงไป ถือว่าสงวนไว้เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งสิ้น จะจำกัดไว้ล่วงหน้า โดยคำว่า ทั้งนี้หรือยกเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ (3) การแบ่งแยกคานอำนาจและกลไกของอธิปไตยทั้งสาม ให้มีประสิทธิภาพและพอเพียง ไม่จำต้องไปอาศัยองค์กรตรวจสอบอิสระให้เข้ามาเป็นอำนาจอธิปไตยที่ 4 จนเกินขอบเขตและความจำเป็น (4) จัดระบบพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยให้ถูกต้องตามจารีตประชาธิปไตยสากลและนิติราชประเพณีของไทย

ในระหว่างที่มีการร่างฯ จะต้องให้มีทางเดินข้อมูลข่าวสารและการร่วมพิจารณาหลักการและมาตรการต่างๆ โดยสภา สถาบันต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งพระบรมราชวินิจฉัยอีกด้วย

ผมขอกล่าวย้ำถึงความสำคัญในข้อ (4) ผมยังไม่เห็นความผลงานของ ส.ส.ร.(หรือแม้แต่ คมช.) ที่จะให้มีการศึกษารวบรวมข้อคิดทฤษฎี กรณีศึกษาเปรียบเทียบและภาคปฏิบัติของเรื่องพระราชอำนาจให้จริงจังเป็นระบบเลย

2. ขยายการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของประชาชน ผมเสนอแล้วว่าให้เริ่มต้นได้อย่างง่ายๆมีระบบและประหยัด และค่อยๆ ขยาย วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นสถาบัน “สมัชชาประชาธิปไตยแห่งชาติ” โดยไม่ต้องขี่ช้างจับตั๊กแตนออกกฎหมายหรืองบประมาณ การจัดตั้งส่วนราชการ หรือองค์กรมหาชนใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ ส.ส.ร.และคณะกรรมาธิการร่างฯ ทุกคนกรอกแบบฟอร์มที่เหมือนกัน 3 หมวด แต่ละหมวดให้ทุกคนเสนอความเห็นของตน 10 ถึง 15 ข้อ ว่าต้องเขียนอะไร ไม่ต้องเขียนอะไร และต้องไม่เขียนอะไรลงไปในรัฐธรรมนูญ เสร็จแล้วหรือพร้อมๆ กัน ก็รีบจัดให้ประชาชนและสถาบันต่างๆ โรงเรียน มหาวิทยาลัย วัด รวมทั้งกลุ่มการเมืองกรอกแบบฟอร์มอย่างเดียวกัน

ตารางและคำอธิบายการเก็บ ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูล ร่างรัฐธรรมนูญที่สามารถกระทำได้พร้อมกันทั้งประเทศ

ข้อมูลที่ได้มาจะนำมาเปรียบเทียบวิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์และไอทีช่วยได้ในเวลาที่รวดเร็วเป็นจักรผัน อย่าด่วนตัดสินว่าความคิดของใครผิดของใครถูก ขอให้เคารพในความคิดเห็นซึ่งกันและกัน แต่ต้องตระหนักว่าการสร้างสถาบันที่จะให้มีความมั่นคงด้วย และเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศด้วย ย่อมจะต้องมีมาตรการ มาตรฐาน ความคิดและทฤษฎีที่จำเป็นหรือเป็นแนวทางในการปรับและปรุงแต่ง มิใช่จะใช้อำนาจบาตรใหญ่หรือดีกรีสูงๆ เอาสีข้างเข้าถู เช่นเดียวกับธนาคาร หากเปิดปิดไม่เป็นเวลา กำหนดอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยนตามใจ หลอกฮุบโครงการของลูกค้า หรือคอยกินกำไรจากใต้โต๊ะ ไม่ทำตามมาตรฐานที่เป็นสากล ก็คงจะดำเนินการอยู่ไม่ได้ หรือเรียกว่าธนาคารไม่ได้ ฉันใดฉันนั้น

ข้อมูลทั้งหมด อาจนำมาประมวลโดยรวมทั้งประเทศ และ แยกกันเป็นหมวดหมู่ เช่น ความเห็นของ ส.ส.ร. ความเห็นของสมัชชาประชาชน ความเห็นของสถาบันศาสนา ของครู ของนักเรียน ของพรรคการเมือง ตัวอย่างและตารางข้างล่างนี้ บรรจุข้อมูลสมมุติ มิใช่ความเห็นของผม เช่น สมมติว่าเป็นความเห็นของ ส.ส.ร. 100 ท่าน ถ้าหากทุกคนเห็นตรงกันหมดก็จะมีข้อมูลหมวดละแค่ 15 ข้อ ถ้าต่างกันหมดทุกๆ ข้อ ก็อาจจะมีข้อมูล= 100X15 ข้อ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ทั้ง 2 กรณี ความเห็นกลุ่มอื่นๆ ก็จับกลุ่ม แตกกลุ่ม หรือกระจายเป็นหรือไม่เป็นสัดส่วนต่างๆ กัน แล้วแต่ขนาดของกลุ่ม แต่เรามีวิธีทางสถิติที่จะวิเคราะห์ได้ง่ายๆ ผมรับรองว่ามีวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยเราให้ตัดสินใจเลือกได้ดีและถูกต้องที่สุด

(1) ประเด็นที่ต้องเขียนลงไปในรัฐธรรมนูญชื่อของกลุ่มหรือสถาบันและจำนวนผู้เลือกหัวข้อนี้หลักคิดและทฤษฎีสากล กรณีศึกษาในต่างประเทศหลักกฎหมายและจารีตประเพณี และกรณีศึกษาการเมืองไทย

ข้อมูลข้อเท็จจริงเอกสารสถิติและหลักเปรียบเทียบ

1. นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง

ชื่อ/ส.ส.ร.จำนวนเต็มผู้ออกเสียง/100 จำนวนผู้เลือก ข้อนี้เสียง/ 63

2. ต้องระบุศาสนาประจำชาติชื่อ/ศูนย์พุทธก้าวหน้า จำนวนเต็มผู้ออกเสียง/500,500 จำนวนผู้เลือกข้อนี้/500,108

3.ส.ส.ต้องสังกัดพรรค

ชื่อ/กรรมาธิการร่างจำนวนเต็มผู้ออกเสียง/35จำนวนผู้เลือกข้อนี้/18

15. เลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงชื่อ/กลุ่มรักไทจำนวนเต็มผู้ออกเสียง/16 ล้าน จำนวนผู้เลือก
ข้อนี้/12 ล้าน

(2) ประเด็นที่เขียนหรือไม่เขียนลงในรัฐธรรมนูญก็ได้

1. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ

ชื่อ/ยุวพุทธสมาคมจำนวนเต็มผู้ออกเสียง/ 5,000 จำนวนผู้เลือก ข้อนี้/ 2,501

2. บุรุษ สตรี กะเทย และคนพิการมีสิทธิเท่าเทียมกัน

ชื่อ/สมาคมสตรีจำนวนเต็มผู้ออกเสียง/100 จำนวนผู้เลือกข้อนี้/ 50

3. ให้พุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

ชื่อ/พุทธผู้เบิกบานสมาคมจำนวนเต็มผู้ออกเสียง/5,000 จำนวนผู้เลือกข้อนี้/ 4,999

4. รัฐต้องส่งเสริม ระบบเศรษฐกิจพอเพียงชื่อ/อบต.ทักษิณจำนวนเต็มผู้ออกเสียง/5,000
จำนวนผู้เลือกข้อนี้/4,999

12. พระราชอำนาจพิเศษในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีชื่อ/กลุ่ม ม.7จำนวนเต็มผู้ออกเสียง/ 1,000 จำนวนผู้เลือกข้อนี้/1,000

(3) ประเด็นที่ต้องไม่เขียนลงในรัฐธรรมนูญ

1. ให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติชื่อ/กลุ่มศิษย์ระวีจำนวนเต็มผู้ออกเสียง/2,000
จำนวนผู้เลือกข้อนี้/2,000

2. ให้ไทยใช้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมชื่อ/ราษฎรอาวุโส จำนวนเต็มผู้ออกเสียง/1,100
จำนวนผู้เลือกข้อนี้/1,099

3. ภิกขุพุทธศาสนานอกจากมหานิกายและธรรมยุตินิกายไม่มีสิทธิเป็นสังฆราช

15. บุคคลเพศเดียวกันแต่งงานกันไม่ได้ชื่อ/กลุ่มอะไรก็ได้จำนวนเต็มผู้ออกเสียง/เท่าใดก็ได้จำนวนผู้เลือกข้อนี้/เท่าใดก็ได้

จะมีหมายเหตุ เพิ่มเติมหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไรก็ได้ หรือแยกวิเคราะห์แต่ละกลุ่มทุกหมวดก็ได้ ด้วยเนื้อที่จำกัดจึงคละๆ ให้ดูพอเป็นตัวอย่าง

ถ้าหากบุคคลหรือกลุ่มต้องการประชุมปรึกษาหารือกันหรือติดตามการมีส่วนร่วมและไปพร้อมกันกับ ส.ส.ร.หรือกรรมาธิการด้วย ก็สามารถจัดให้มีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ทีวี วิทยุ โทรศัพท์ และข้อมูลต่างๆ ไว้ที่ประชุม อบต. อบจ. เทศบาล อำเภอ และจังหวัดได้ทั่วประเทศ ซึ่งไม่ต้องตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ โดยท้องถิ่นกับรัฐจัดงบประมาณและอุปกรณ์สมทบเท่าที่จำเป็น ใช้ส่วนที่รัฐธรรมนูญเคยบังคับให้กระจายงบไปท้องถิ่นก็ยังได้ และขอให้เข้าใจว่าสามารถทำให้เป็นราชประชาสมาสัยได้ด้วย โดยการขอพระราชทานและบริจาคสมทบโดยตรงหรือผ่านมูลนิธิราชประชาสมาสัยที่มีอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มวัตถุประสงค์เข้าไป และจัดกลุ่มที่สนใจพระราชอำนาจศึกษาเรื่องนี้ให้จริงจัง แม้กระทั่งการกราบบังคมทูลขอพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่องสำคัญๆ ก็อาจกระทำได้

สำหรับท่านที่ยังงงอยู่ ผมขออธิบายต่อว่า การขอความคิดเห็นประชาชนอย่างกว้างขวางอย่างนี้จะได้กรอบใหญ่ กรอบใหม่และกรอบเปรียบเทียบที่บรรจุความคิดเห็นของประเทศไทยอย่างแท้จริง ความเห็นที่ไม่ตรงกันนั้นก็อาจจะต่อรอง อธิบาย ประนีประนอมและชี้แจงให้เกิดความเข้าใจร่วมกันได้ โดยมีหลักคิดทฤษฎีทั้งสากลและไทย ตลอดจนหลักฐานสถิติและข้อเปรียบเทียบที่มิได้เกิดจากอัจฉริยะหรือวาทศิลป์ของใคร ไม่มีใครแอบอ้างใคร การเลือกก็ต้องกระทำด้วยเหตุผลมีหลักยึดถือว่านี่คือสิ่งที่ใกล้เคียงกับประชาธิปไตยอันมีพระมหหากษัตริย์เป็นประมุขมากที่สุด มีหลักฐานอ้างอิงและสถิติข้อมูลที่น่าเชื่อถือเป็นกลาง

การกระทำประชามติในขั้นต่อไปก็จะเป็นเรื่องง่ายประหยัด หวังผลได้ สงบและสมานฉันท์

ด้วยความเคารพและหวังดีอย่างจริงใจ

ปราโมทย์ นาครทรรพ
กำลังโหลดความคิดเห็น