"หมอเหวง"นำกลุ่มเครือข่าย 19 กันยาฯ เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงไปบ้าน"ป๋าเปรม" แต่ถูกสกัด เรียกร้องป๋าเปรม หากยังสนับสนุนประชาธิปไตย ให้ปลด"สุรยุทธ์"จากตำแหน่งนายกฯ อ้างเป็นผลพวงของการรัฐประหาร ด้าน"สุริยะใส"จวกกลุ่มผู้ชุมนุมพาดพิง"ป๋า" ระวังมวลชนเข้าใจผิด หวั่นเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย 6 ตุลา 19 เนื่องจากกลุ่มอำนาจเก่า จ้องสวมรอย สร้างเงื่อนไข
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.00 น.วานนี้ (18 มี.ค.)กลุ่ม 19 กันยาต้านรัฐประหาร พร้อมเครือข่าย ได้จัดให้มีการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง โจมตีการทำงานของรัฐบาล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)ต่อต้านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมทั้งโจมตี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังกลุ่มปฏิรูปการปกครองฯ ที่ยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ต่อมาเวลาประมาณ 18.00 น.กลุ่มดังกล่าว ประมาณ 200 คน ได้เคลื่อนขบวน ไปตามถนนราชดำเนิน เมื่อถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก็เลี้ยวซ้ายเข้าถนนประชาธิปไตย โดยมีจุดหมายที่บ้าน สี่เสาเทเวศร์ ซึ่งเป็นบ้านพักของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งช่วงที่มีการเคลื่อนขบวนนี้ มีรถของ พีทีวี และ ทีไอทีวี ได้ออกนำขบวน และ ติดตามทำข่าวอย่างใกล้ชิด
เมื่อขบวนเคลื่อนไปถึงบริเวณ กองบัญชาการกองทัพบก ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากหน่วยอรินทราช พร้อมโล่ กระบอง ประมาณ 100 นาย ตั้งแถวสกัด โดยจุดดังกล่าวอยู่ห่างจากบ้านพักสีเสาเทเวศร์ ประมาณ 1 กม. ทำให้ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มที่เคลื่อนไหว ได้เข้าไปเจรจากับ พ.ต.อ.พชร บุญญสิทธิ์ รอง ผบ.ก.ตปภ. ที่ดูแลหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่ โดยจะขอเดินไปอีกประมาณ 100 เมตร เพื่อไปหยุดปราศัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจก็เปิดทางให้ เมื่อขบวนเดินไปถึง แยก พล.1 ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมโล่ กระบอง ประมาณ 200 นาย มาตั้งแถวรักษา ความปลอดภัย ทำให้กลุ่ม 19 กันยาฯ ต้องหยุดอยู่ที่บริเวณ ดังกล่าว แต่ก็ยังคงมีการปราศรัยโจมตี พล.อ.เปรม และมีการทำพิธีตัดไม้ข่มนาม โดยนำต้นกล้วย 4 ต้น มาฟันให้ขาด แล้ว ให้ตัวแทนนำต้นกล้วยดังกล่าว ไปทิ้งไว้ที่บริเวณห่างจากบ้านสีเสาเทเวศร์ ประมาณ 200 เมตร
ทั้งนี้ นพ.เหวง ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ตนขอเสนอให้พล.อ.เปรม เลือกเอาระหว่างการรัฐประหาร กับประชาธิปไตย ถ้า พล.อ.เปรม เลือกประชาธิปไตย ก็ขอให้ปลด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นนายกฯ ที่มาจากการรัฐประหาร
ขณะที่ น.ส.ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์ แกนนำกลุ่ม 19 กันยาฯ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้ เพื่อแสดงในเชิงสัญลักษณ์อย่างสันติวิธี เพื่อแสดงถึงความต้องการตัดขาด ไม่ยอมรับอำนาจ คมช.และ องคมนตรี และต้องการโค่น 4 เสาหลัก ที่ค้ำจุนอำนาจเผด็จการ ได้แก่ 1. สถาบันทหาร ซึ่งมีองคมนตรีอยู่เบื้องหลัง 2. สถาบันนิติบัญญัติซึ่งถูกแต่งตั้งโดยเผด็จการ 3. องค์กรอิสระซึ่งทำงานอย่างไม่อิสระ 4. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเคลื่อนไหวสนับสนุนให้เกิดรัฐบาล ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
"ทางกลุ่มเราไม่ได้ต้องการจะยื่นหนังสือ หรือสื่อสารกับ พล.อ.เปรม และคมช.แต่เรากำลังจะสื่อสารกับประชาชน ให้ตระหนักถึงอำนาจที่จะกำหนดอนาคตของตนเอง โดยต้องมีการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด และหลังจากนั้นไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ต้องถูกตรวจสอบโดยอำนาจของประชาชน ไม่ใช่ถูกรวบหัวรวบหางโดยอำนาจเผด็จการทหาร " น.ส.ชนกาญจน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนขบวนของกลุ่ม 19 กันยาฯ ครั้งนี้ไม่มีเหตุรุนแรงใด และได้สลายตัวไปเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.
**เชื่อประชาชนแยกแยะเรื่องที่โจมตีได้
ด้าน ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหารรวมตัวกันที่ท้องสนามหลวงและมีการปราศรัยโจมตีรัฐบาล และคมช. ว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ถือเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ หากไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม และเป็นการแสดงออกโดยสงบ คงไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งเรื่องนี้ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)และตำรวจดูแลอยู่ ขณะเดียวกัน ขอฝากประชาชนที่ไปร่วมฟังให้พิจารณาเนื้อหาที่มีการนำเสนอ ซึ่งสิ่งใดที่เป็นข้อชี้แนะให้กับรัฐบาลก็ยินดีรับฟังจากทุกส่วนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหน เพราะเรามีหน้าที่เหมือน"กันชน"ที่จะสร้างความสมานฉันท์และความปรองดองให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง
ส่วนที่มีการพาดพิงถึงรัฐบาลนั้น ก็เป็นเรื่องที่ต้องชี้แจง ซึ่งขอยืนยันว่า การทำงานของรัฐบาลชุดนี้เน้นเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเต็มที่อยู่แล้ว โดยถือเป็นวาระแห่งชาติ ดังนั้น รัฐมนตรีที่เข้ามาทำงานก็ทำด้วยความสุจริตใจและทำเพื่อประเทศชาติอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน ยังได้ให้ทุกกระทรวงใช้กลไกของตัวเองที่มีอยู่ในกระทรวงช่วยดูแลและทำหน้าที่เหมือนกับเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายในกระทรวงเอง และรัฐบาลยังได้แก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. เพื่อให้ ป.ป.ช.และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) สามารถดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดกับผู้ที่ทุจริตได้โดยไม่ต้องรอให้มีผู้มาฟ้องร้อง
"คงต้องชี้แจงกันไป แต่ผมเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นการทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมา พร้อมทั้งวาระแห่งชาติที่เราประกาศชัดเจน และการทำงานที่เรามุ่งเน้นความโปร่งใส เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ ของท่านนายกรัฐมนตรี ก็คงเข้าใจ แต่แน่นอนว่าการชี้แจงก็ต้องทำต่อไป" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว
**ระวังอำนาจเก่าสวมรอย สร้างเงื่อนไข
ขณะที่นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า คมช.ต้องระมัดระวัง ไม่สร้างเงื่อนไขนำไปสู่การเผชิญหน้า และต้องไม่ใช้กำลังปราบปรามอย่างเด็ดขาด เพราะผู้ชุมนุมนั้นชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ อีกทั้ง คมช.เองไม่ควรพูดจาทำนองยั่วยุ ให้เกิดการเผชิญหน้า
อย่างไรก็ตาม การที่ที่แกนนำผู้ชุมพยายามขยายประเด็นไปยัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นั้น ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แกนนำต้องระมัดระวัง เพราะประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมอาจเข้าใจผิด หรืออาจนำไปสู่การเผชิญหน้า เช่นเดียวกับกรณี ตุลาคม2519 เนื่องจากมีความเข้าใจผิดว่า นักศึกษาธรรมศาสตร์เป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์ จนมีการล้อม และปราบปรามอย่างป่าเถื่อน อีกทั้งการขยายประเด็นโดยการเปิดบทบาท พล.อ.เปรม นั้น อาจเป็นช่องให้กลุ่มอำนาจเก่า เข้ามาผสมโรง และสร้างเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยพูดจาโจมตีพล.อ.เปรม หลายครั้ง ดังนั้น แกนนำผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร ต้องระมัดระวังให้มาก อย่าให้คนทั่วไปเข้าใจผิด ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อการชุมนุม
นายสุริยะใส กล่าวว่า ในส่วนของการเดินสายเปิดเวทีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตามจังหวัดต่างๆ นั้นเป็นการเดินสายชี้แจงให้ข้อมูลประชาชน ให้เห็นถึงความผิดพลาดการบริหารงานของรัฐบาลที่แล้ว ทั้งเรื่องคอร์รัปชั่น การปฏิรูประบบราชการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งการเดินสายครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการกดดัน หรือหวังผลทางการเมืองแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.00 น.วานนี้ (18 มี.ค.)กลุ่ม 19 กันยาต้านรัฐประหาร พร้อมเครือข่าย ได้จัดให้มีการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง โจมตีการทำงานของรัฐบาล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)ต่อต้านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมทั้งโจมตี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังกลุ่มปฏิรูปการปกครองฯ ที่ยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ต่อมาเวลาประมาณ 18.00 น.กลุ่มดังกล่าว ประมาณ 200 คน ได้เคลื่อนขบวน ไปตามถนนราชดำเนิน เมื่อถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก็เลี้ยวซ้ายเข้าถนนประชาธิปไตย โดยมีจุดหมายที่บ้าน สี่เสาเทเวศร์ ซึ่งเป็นบ้านพักของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งช่วงที่มีการเคลื่อนขบวนนี้ มีรถของ พีทีวี และ ทีไอทีวี ได้ออกนำขบวน และ ติดตามทำข่าวอย่างใกล้ชิด
เมื่อขบวนเคลื่อนไปถึงบริเวณ กองบัญชาการกองทัพบก ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากหน่วยอรินทราช พร้อมโล่ กระบอง ประมาณ 100 นาย ตั้งแถวสกัด โดยจุดดังกล่าวอยู่ห่างจากบ้านพักสีเสาเทเวศร์ ประมาณ 1 กม. ทำให้ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มที่เคลื่อนไหว ได้เข้าไปเจรจากับ พ.ต.อ.พชร บุญญสิทธิ์ รอง ผบ.ก.ตปภ. ที่ดูแลหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่ โดยจะขอเดินไปอีกประมาณ 100 เมตร เพื่อไปหยุดปราศัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจก็เปิดทางให้ เมื่อขบวนเดินไปถึง แยก พล.1 ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมโล่ กระบอง ประมาณ 200 นาย มาตั้งแถวรักษา ความปลอดภัย ทำให้กลุ่ม 19 กันยาฯ ต้องหยุดอยู่ที่บริเวณ ดังกล่าว แต่ก็ยังคงมีการปราศรัยโจมตี พล.อ.เปรม และมีการทำพิธีตัดไม้ข่มนาม โดยนำต้นกล้วย 4 ต้น มาฟันให้ขาด แล้ว ให้ตัวแทนนำต้นกล้วยดังกล่าว ไปทิ้งไว้ที่บริเวณห่างจากบ้านสีเสาเทเวศร์ ประมาณ 200 เมตร
ทั้งนี้ นพ.เหวง ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ตนขอเสนอให้พล.อ.เปรม เลือกเอาระหว่างการรัฐประหาร กับประชาธิปไตย ถ้า พล.อ.เปรม เลือกประชาธิปไตย ก็ขอให้ปลด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นนายกฯ ที่มาจากการรัฐประหาร
ขณะที่ น.ส.ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์ แกนนำกลุ่ม 19 กันยาฯ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้ เพื่อแสดงในเชิงสัญลักษณ์อย่างสันติวิธี เพื่อแสดงถึงความต้องการตัดขาด ไม่ยอมรับอำนาจ คมช.และ องคมนตรี และต้องการโค่น 4 เสาหลัก ที่ค้ำจุนอำนาจเผด็จการ ได้แก่ 1. สถาบันทหาร ซึ่งมีองคมนตรีอยู่เบื้องหลัง 2. สถาบันนิติบัญญัติซึ่งถูกแต่งตั้งโดยเผด็จการ 3. องค์กรอิสระซึ่งทำงานอย่างไม่อิสระ 4. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเคลื่อนไหวสนับสนุนให้เกิดรัฐบาล ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
"ทางกลุ่มเราไม่ได้ต้องการจะยื่นหนังสือ หรือสื่อสารกับ พล.อ.เปรม และคมช.แต่เรากำลังจะสื่อสารกับประชาชน ให้ตระหนักถึงอำนาจที่จะกำหนดอนาคตของตนเอง โดยต้องมีการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด และหลังจากนั้นไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ต้องถูกตรวจสอบโดยอำนาจของประชาชน ไม่ใช่ถูกรวบหัวรวบหางโดยอำนาจเผด็จการทหาร " น.ส.ชนกาญจน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนขบวนของกลุ่ม 19 กันยาฯ ครั้งนี้ไม่มีเหตุรุนแรงใด และได้สลายตัวไปเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.
**เชื่อประชาชนแยกแยะเรื่องที่โจมตีได้
ด้าน ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหารรวมตัวกันที่ท้องสนามหลวงและมีการปราศรัยโจมตีรัฐบาล และคมช. ว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ถือเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ หากไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม และเป็นการแสดงออกโดยสงบ คงไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งเรื่องนี้ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)และตำรวจดูแลอยู่ ขณะเดียวกัน ขอฝากประชาชนที่ไปร่วมฟังให้พิจารณาเนื้อหาที่มีการนำเสนอ ซึ่งสิ่งใดที่เป็นข้อชี้แนะให้กับรัฐบาลก็ยินดีรับฟังจากทุกส่วนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหน เพราะเรามีหน้าที่เหมือน"กันชน"ที่จะสร้างความสมานฉันท์และความปรองดองให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง
ส่วนที่มีการพาดพิงถึงรัฐบาลนั้น ก็เป็นเรื่องที่ต้องชี้แจง ซึ่งขอยืนยันว่า การทำงานของรัฐบาลชุดนี้เน้นเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเต็มที่อยู่แล้ว โดยถือเป็นวาระแห่งชาติ ดังนั้น รัฐมนตรีที่เข้ามาทำงานก็ทำด้วยความสุจริตใจและทำเพื่อประเทศชาติอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน ยังได้ให้ทุกกระทรวงใช้กลไกของตัวเองที่มีอยู่ในกระทรวงช่วยดูแลและทำหน้าที่เหมือนกับเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายในกระทรวงเอง และรัฐบาลยังได้แก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. เพื่อให้ ป.ป.ช.และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) สามารถดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดกับผู้ที่ทุจริตได้โดยไม่ต้องรอให้มีผู้มาฟ้องร้อง
"คงต้องชี้แจงกันไป แต่ผมเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นการทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมา พร้อมทั้งวาระแห่งชาติที่เราประกาศชัดเจน และการทำงานที่เรามุ่งเน้นความโปร่งใส เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ ของท่านนายกรัฐมนตรี ก็คงเข้าใจ แต่แน่นอนว่าการชี้แจงก็ต้องทำต่อไป" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว
**ระวังอำนาจเก่าสวมรอย สร้างเงื่อนไข
ขณะที่นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า คมช.ต้องระมัดระวัง ไม่สร้างเงื่อนไขนำไปสู่การเผชิญหน้า และต้องไม่ใช้กำลังปราบปรามอย่างเด็ดขาด เพราะผู้ชุมนุมนั้นชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ อีกทั้ง คมช.เองไม่ควรพูดจาทำนองยั่วยุ ให้เกิดการเผชิญหน้า
อย่างไรก็ตาม การที่ที่แกนนำผู้ชุมพยายามขยายประเด็นไปยัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นั้น ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แกนนำต้องระมัดระวัง เพราะประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมอาจเข้าใจผิด หรืออาจนำไปสู่การเผชิญหน้า เช่นเดียวกับกรณี ตุลาคม2519 เนื่องจากมีความเข้าใจผิดว่า นักศึกษาธรรมศาสตร์เป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์ จนมีการล้อม และปราบปรามอย่างป่าเถื่อน อีกทั้งการขยายประเด็นโดยการเปิดบทบาท พล.อ.เปรม นั้น อาจเป็นช่องให้กลุ่มอำนาจเก่า เข้ามาผสมโรง และสร้างเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยพูดจาโจมตีพล.อ.เปรม หลายครั้ง ดังนั้น แกนนำผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร ต้องระมัดระวังให้มาก อย่าให้คนทั่วไปเข้าใจผิด ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อการชุมนุม
นายสุริยะใส กล่าวว่า ในส่วนของการเดินสายเปิดเวทีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตามจังหวัดต่างๆ นั้นเป็นการเดินสายชี้แจงให้ข้อมูลประชาชน ให้เห็นถึงความผิดพลาดการบริหารงานของรัฐบาลที่แล้ว ทั้งเรื่องคอร์รัปชั่น การปฏิรูประบบราชการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งการเดินสายครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการกดดัน หรือหวังผลทางการเมืองแต่อย่างใด