ผู้จัดการรายวัน/ศูนย์ข่าวภูมิภาค – เผย 3 บริษัทเอกชนเครือข่ายผู้บริหาร-นักการเมืองเข้าฮุบลูกค้าร.ส.พ. แถมใช้สำนักงานร.ส.พ.ในภูมิภาคดำเนินธุรกิจต่อ สหภาพแรงงานฯ ระบุเคยทำแผนฟื้นฟู ร.ส.พ. เสนอผู้บริหารแต่ถูกเมินเพราะใบสั่งการเมืองยุคทักษิณให้ยุบทิ้งเพื่อประเคนผลประโยชน์ให้กลุ่มทุนการเมืองเข้าสวมต่อจิ๊กซอร์ธุรกิจลอจิสติกส์ คุมทางบก-น้ำ-น่านฟ้า
การยุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ในปลายยุครัฐบาลทักษิณ เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มธุรกิจขนส่งที่ใกล้ชิดกับอดีตผู้บริหาร-ที่ปรึกษาร.ส.พ.และนักการเมืองอย่างเห็นได้ชัด เพราะหลังจากคณะรัฐมนตรีทักษิณ มีมติยุบเลิกร.ส.พ. ก็มีบริษัทเอกชนเข้ามาสวมแทนทันที ซึ่งเวลานี้บริษัทเอกชนที่เข้ามากวาดเอาลูกค้าของ ร.ส.พ.ไว้ในมือมีอยู่อย่างน้อย 3 บริษัทหลัก
หนึ่ง บริษัทพัสดุภัณฑ์ไทย เข้ามารับงานขนส่งในส่วนของราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และงานขนส่งพัสดุด่วนซึ่งเป็นรายได้หลักของ ร.ส.พ. บริษัทนี้มีนายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบก เป็นประธานบริษัท
ก่อนหน้านี้ นายอภิชาติ มีบริษัทให้บริการรับ-ส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ให้กับ ร.ส.พ. หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นผู้ร่วมกิจการของ ร.ส.พ.ในชื่อบริษัทไดมอนด์ อินทินิตี้ โดยรับส่งสินค้าภายในประเทศและสินค้าข้ามแดน ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อใหม่ เพิ่มทุนจดทะเบียนพร้อมกับเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2549 คล้อยหลังครม.มีมติยุบทิ้ง ร.ส.พ. พร้อมกับตั้งเป้าโกยกำไรในปีแรกก่อตั้ง จำนวน 100 ล้านบาท
บริษัทพัสดุภัณฑ์ไทยจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2548 เปิดตัวเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2549 โดยทำธุรกิจเช่นเดียวกับ ร.ส.พ.และมีการติดต่อไปยัง 83 สถานีของ ร.ส.พ.ทั่วประเทศเพื่อรับพนักงานร.ส.พ.ไปอยู่กับบริษัทดังกล่าวด้วย
นายอภิชาติ เคยให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทได้ลูกค้าเดิมของ ร.ส.พ. จำนวน 30%
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบรายชื่อผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทพัสดุภัณฑ์ไทย เช่น นางอุบล ตันบริภัณฑ์, นางสาวมุจลินท์ กาชัย จะพบว่ามีหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางบกและทางน้ำ เช่น บริษัทเซ็นทรัล มาริไทด์ จำกัด ซึ่งมีที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์เดียวกับบริษัทสตีลเซอร์วิส แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด นั้น เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจนายหน้าตัวแทนเดินเรือทะเลต่างประเทศด้วย
ปัจจุบัน บริษัทพัสดุภัณฑ์ไทย ซึ่งพนักงานร.ส.พ.รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นของผู้ใหญ่คนหนึ่งในรัฐบาลทักษิณ ได้เข้าไปใช้สำนักงานของ ร.ส.พ.ในภูมิภาคโดยเฉพาะในเขตภาคใต้เพื่อประกอบธุรกิจ อีกทั้งยังรับพนักงาน ร.ส.พ. เข้ามาเป็นพนักงานของบริษัทด้วย กล่าวได้ว่า บริษัทนี้กวาดทั้งพนักงานและลูกค้าของร.ส.พ.เข้ามาไว้ในมือ ถือว่าได้ประโยชน์จากเครือข่ายที่ ร.ส.พ.ลงทุนสร้างไว้ ซึ่งมีมูลค่าทางตลาดมหาศาล
สอง บริษัท ดี ดี ของนายมนู ประเสริฐทรัพย์ อดีตหัวหน้ากองการเจ้าหน้าที่ของ ร.ส.พ. และที่ปรึกษานายนิกร จำนง อดีตรมช.คมนาคม โดยนายนิกร ส่งให้เข้ามากำกับดูแล ร.ส.พ. บริษัทนี้จะได้ลูกค้าในส่วนการรับส่งสินค้าย่อยของ ร.ส.พ.เดิม
พนักงานเก่าแก่ของ ร.ส.พ.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทดี.ดีและนายมนู ว่า เขาทำงานที่ร.ส.พ.จนได้ตำแหน่งหัวหน้ากอง จากนั้น นายมนู พร้อมด้วยพนักงานบางส่วนก็ลาออกไปทำงานกับบริษัทเอ็กเซล ซึ่งเจ้าของบริษัทนี้คือ นายอัมฤทธิ์ ปั้นศิริ ผอ.ร.ส.พ.ช่วงประมาณปี 2539 บริษัทดังกล่าวเข้ามาทำธุรกิจร่วมกับร.ส.พ. จนพนักงานมองว่า ผอ.คนดังกล่าว มีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน หลังจากนั้น นายมนู ก็ออกจากบริษัทเอ็กเซล ไปเป็นที่ปรึกษาของนายนิกร จำนง และถูกส่งให้เข้ามาคุม ร.ส.พ. ก่อนที่จะมาตั้งบริษัท ดี.ดี.
สาม บริษัท ทรานเนชั่นไวด์ จำกัด ในเครือนิ่มซีเส็ง ซึ่งเป็นเจ้าพ่อด้านธุรกิจการขนส่งภายในประเทศและข้ามแดน บริษัทนี้จะเข้ากว้านลูกค้าในส่วนของสินค้าข้ามแดนและลูกค้าในส่วนของหน่วยงานราชการ เช่น ออมสิน ศึกษาภัณฑ์
ก่อนนี้ นายสมพงษ์ เจริญผล กรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ส.พ.เปิดเผยว่า ผู้บริหารและพนักงานร.ส.พ. ได้ช่วยกันคิดและวางแผนฟื้นฟูร.ส.พ. โดยจะเริ่มใช้แผนประมาณปี 2547 – 2548 แต่เมื่อนายภูมิธรรม เวชยชัย รมช.คมนาคม เข้ามาดูแล ร.ส.พ. ส่งนายก่อแก้ว พิกุลทอง มาเป็นผอ.ร.ส.พ.ก็สั่งหยุดแผนทันที ทั้งที่แผนดังกล่าว ตัวแทนสหภาพฯ นำเสนอต่อคณะกรรมาธิการคมนาคมและคณะกรรมาธิการรัฐวิสาหกิจ ส.ส. ก็ยอมรับว่า ร.ส.พ. มีโอกาสฟื้นฟูได้
นางชุลีพร ด้วงฉิม อดีตหัวหน้ากองอดีตหัวหน้ากองจัดการขนส่งสินค้าข้ามแดน ฝ่ายการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ของร.ส.พ. บอกว่า ในช่วงปี 2549 สหภาพฯ ขออาสาบริหาร ร.ส.พ.โดยทำแผนฟื้นฟู ร.ส.พ. เสนอต่อบอร์ดและฝ่ายบริหาร ไม่ต้องให้รัฐมาแบกรับภาระ เพียงแต่ขอให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ 50 ล้านบาทเพื่อมาบรรเทาความเดือดร้อนของพนักงานเบื้องต้นเท่านั้นแต่ผู้บริหารก็ไม่รับพิจารณา
นายศิริชัย ไม้งาม เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เคยชี้ว่า การยุบร.ส.พ. เป็นการเข้ามาฮุบของกลุ่มทุนการเมืองเพราะความจริงแล้วร.ส.พ.มีลูกค้าชั้นดีอยู่ในมือ เช่น กฟภ., ทหาร, ท่าเรือ,โรงงานยาสูบ ฯลฯ กรณีนี้จึงเหมือนบริษัทไทยเดินเรือทะเล ไม่มีผิด มีนักการเมืองเตรียมเอารถเข้ามาทำมาหากิน และไม่ฟังเสียงของพนักงานที่ขอให้มีการฟื้นฟูกิจการ
นายศิริชัย ยังบอกว่า การเลิกกิจการ ร.ส.พ. โดยมีบริษัทของกลุ่มทุนการเมืองเข้ามาสวมแทน เป็นการต่อจิ๊กซอร์ในธุรกิจลอจิสต์ติกในทางบก จากก่อนหน้านี้ได้เข้าคุมน่านน้ำแทนบริษัทไทยเดินเรือทะเล ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐ และน่านฟ้าผ่านทางสายการบินโลว์คอสต์
สำหรับความเคลื่อนไหวหลังพนักงานร.ส.พ.ยื่นหนังสือเรียกร้องต่อพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้เข้ามาช่วยเหลือพนักงาน ร.ส.พ.เหมือนพนักงานไอทีวี และขอให้ฟื้นร.ส.พ.กลับคืนมา ยังไม่มีการตอบรับใดๆ จากนายกรัฐมนตรี มีเพียงการให้สัมภาษณ์ของนายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำ และพาณิชย์นาวี ในฐานะอดีตประธานคณะกรรมการ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) และประธานคณะกรรมการ ชำระบัญชี เพื่อปิดกิจการ
นายประสงค์ กล่าวว่าไม่ได้ทอดทิ้งพนักงานตามที่ร้องเรียนและจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานไปครบแล้ว รวมทั้งเงินค้างจ่าย เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร ค่าแรงล่วงเวลา โดยมียอดรวม 1,053 ล้านบาท แต่ที่ยังมีพนักงานบางส่วนออกมาเคลื่อนไหวอ้างว่าไม่ได้เงินชดเชยเนื่องจากมีพนักงานประมาณ 20 คน อยู่ระหว่างสอบสวนทุจริตและติดหนี้ค้างจ่าย กับร.ส.พ.จึงยังไม่ได้เงินชดเชย และยังระบุด้วยว่าคนที่ออกมาชุมนุมเป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอยู่แล้ว ส่วนการจัดหางานที่อ้างว่าจะโอนให้กับหน่วยงานต่างๆ ในกำกับของกระทรวงคมนาคมนั้น ก็ติดปัญหาว่าหน่วยงานเหล่านี้ไม่สามารถรับได้เพราะมีอายุมาก จะไปเทียบกับไอทีวีไม่ได้เพราะพนักงานไอทีวียังเป็นคนหนุ่มสาวและยังมีศักยภาพ
สำหรับการย้าย ร.ส.พ.ออกจากบริเวณ ถ.ศรีอยุธยา นายประสงค์ กล่าวว่า เพื่อแลกกับการที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เจ้าของที่ดินยกหนี้ที่ค้างค่าเช่าให้ และยืนยันว่าไม่ได้ย้ายออกเพื่อเปิดทางให้กับบริษัท คิงเพาเวอร์ จำกัด แต่อย่างใด
ด้าน นายอภิเดช นามมนตรี อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ส.พ. กล่าวยืนยันว่า คนที่ออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลฟื้น ร.ส.พ.นั้นเป็นพนักงานของ ร.ส.พ.ทั้งสิ้น ไม่มีคนนอก แม้ว่าบางคนจะได้รับเงินค่าชดเชยแล้ว แต่ปัญหาใหญ่คือการไม่มีงานทำ ตามที่ผู้บริหารเคยระบุว่าจะโอนสังกัดให้มีงานทำ ต้องถามกลับว่าการที่พวกเราทำงานให้รัฐมาตลอดชีวิตและมีอายุมากขึ้นเป็นความผิดของเราหรือไม่ การยุบเลิก ร.ส.พ.แล้วทิ้งพนักงานเหล่านี้ไปถูกต้องแล้วหรือ
“คนสูงอายุก็เป็นคนเหมือนกัน คุณประสงค์ต้องคิดว่าหากเป็นคนตกงานจะรู้สึกอย่างไร บางคนบ้าน รถ ถูกยึด บางครอบครัวก็เลิกกัน บางคนก็ป่วย ตาย ถ้าลองมาเป็นพวกผมที่เงินเดือนไม่มากและต้องผู้นำครอบครัวด้วย ถ้าคิดอย่างคุณประสงค์คนสูงอายุควรเอาไปฆ่าทิ้งได้เลย” เขากล่าว พร้อมยืนยันว่า ร.ส.พ.สามารถจะฟื้นฟูกิจการได้ แต่สาเหตุที่ต้องยุบเป็นเพราะผลประโยชน์ของนักการเมืองและผู้บริหารบางคน
เขายังกล่าวด้วยว่า แม้พนักงานของ ร.ส.พ.ส่วนใหญ่จะสูงอายุ แต่ยืนยันว่าพนักงาน ร.ส.พ.ทุกคนก็ทำงานจนถึงวัยเกษียร ไม่ได้ไร้ความสามารถอย่างที่นายประสงค์กล่าวอ้าง นอกจากนี้ ยังเชี่ยวชาญการทำงานที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ที่ผ่านมา ร.ส.พ.ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามาโดยตลอด จึงเห็นว่าควรฟื้นหน่วยงานนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพราะนอกจากจะทำให้พวกตนได้งานแล้ว ยังเป็นการทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ โดยถ่วงดุลค่าขนส่งอีกด้วย
นายอภิเดช ยังตั้งข้อสังเกตถึงประเด็นการย้ายสำนักงาน ร.ส.พ.ด้วยว่า ผู้บริหารเคยต่อรองกับสำนักทรัพย์สินฯ ให้ผ่อนผันให้ค่อยทยอยย้ายออกจากที่ดินเดิมก็ได้ เพราะที่ตั้งเดิมจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและลูกค้าที่จะมาติดต่อ แต่ด้วยเครือข่ายของนักการเมืองในขณะนั้นทำให้ต้องย้ายอย่างเร่งรีบและไม่มีความพร้อม แม้แต่ค่าเบี้ยเลี้ยงจากการขนย้ายครั้งดังกล่าวพนักงานก็ยังไม่ได้รับ
อดีตประธานสหภาพฯ กล่าวต่อว่า นายประสงค์กำลังทำให้ประชาชนสับสนจากการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง ตนจึงขอท้าให้นายประสงค์ชี้แจงผ่านสื่อโทรทัศน์พร้อมกับตนในประเด็นของการยุบเลิก ร.ส.พ. เพื่อแจกแจงให้ประชาชนเข้าใจต่อปัญหาต่างๆ
การยุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ในปลายยุครัฐบาลทักษิณ เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มธุรกิจขนส่งที่ใกล้ชิดกับอดีตผู้บริหาร-ที่ปรึกษาร.ส.พ.และนักการเมืองอย่างเห็นได้ชัด เพราะหลังจากคณะรัฐมนตรีทักษิณ มีมติยุบเลิกร.ส.พ. ก็มีบริษัทเอกชนเข้ามาสวมแทนทันที ซึ่งเวลานี้บริษัทเอกชนที่เข้ามากวาดเอาลูกค้าของ ร.ส.พ.ไว้ในมือมีอยู่อย่างน้อย 3 บริษัทหลัก
หนึ่ง บริษัทพัสดุภัณฑ์ไทย เข้ามารับงานขนส่งในส่วนของราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และงานขนส่งพัสดุด่วนซึ่งเป็นรายได้หลักของ ร.ส.พ. บริษัทนี้มีนายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบก เป็นประธานบริษัท
ก่อนหน้านี้ นายอภิชาติ มีบริษัทให้บริการรับ-ส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ให้กับ ร.ส.พ. หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นผู้ร่วมกิจการของ ร.ส.พ.ในชื่อบริษัทไดมอนด์ อินทินิตี้ โดยรับส่งสินค้าภายในประเทศและสินค้าข้ามแดน ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อใหม่ เพิ่มทุนจดทะเบียนพร้อมกับเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2549 คล้อยหลังครม.มีมติยุบทิ้ง ร.ส.พ. พร้อมกับตั้งเป้าโกยกำไรในปีแรกก่อตั้ง จำนวน 100 ล้านบาท
บริษัทพัสดุภัณฑ์ไทยจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2548 เปิดตัวเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2549 โดยทำธุรกิจเช่นเดียวกับ ร.ส.พ.และมีการติดต่อไปยัง 83 สถานีของ ร.ส.พ.ทั่วประเทศเพื่อรับพนักงานร.ส.พ.ไปอยู่กับบริษัทดังกล่าวด้วย
นายอภิชาติ เคยให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทได้ลูกค้าเดิมของ ร.ส.พ. จำนวน 30%
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบรายชื่อผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทพัสดุภัณฑ์ไทย เช่น นางอุบล ตันบริภัณฑ์, นางสาวมุจลินท์ กาชัย จะพบว่ามีหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางบกและทางน้ำ เช่น บริษัทเซ็นทรัล มาริไทด์ จำกัด ซึ่งมีที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์เดียวกับบริษัทสตีลเซอร์วิส แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด นั้น เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจนายหน้าตัวแทนเดินเรือทะเลต่างประเทศด้วย
ปัจจุบัน บริษัทพัสดุภัณฑ์ไทย ซึ่งพนักงานร.ส.พ.รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นของผู้ใหญ่คนหนึ่งในรัฐบาลทักษิณ ได้เข้าไปใช้สำนักงานของ ร.ส.พ.ในภูมิภาคโดยเฉพาะในเขตภาคใต้เพื่อประกอบธุรกิจ อีกทั้งยังรับพนักงาน ร.ส.พ. เข้ามาเป็นพนักงานของบริษัทด้วย กล่าวได้ว่า บริษัทนี้กวาดทั้งพนักงานและลูกค้าของร.ส.พ.เข้ามาไว้ในมือ ถือว่าได้ประโยชน์จากเครือข่ายที่ ร.ส.พ.ลงทุนสร้างไว้ ซึ่งมีมูลค่าทางตลาดมหาศาล
สอง บริษัท ดี ดี ของนายมนู ประเสริฐทรัพย์ อดีตหัวหน้ากองการเจ้าหน้าที่ของ ร.ส.พ. และที่ปรึกษานายนิกร จำนง อดีตรมช.คมนาคม โดยนายนิกร ส่งให้เข้ามากำกับดูแล ร.ส.พ. บริษัทนี้จะได้ลูกค้าในส่วนการรับส่งสินค้าย่อยของ ร.ส.พ.เดิม
พนักงานเก่าแก่ของ ร.ส.พ.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทดี.ดีและนายมนู ว่า เขาทำงานที่ร.ส.พ.จนได้ตำแหน่งหัวหน้ากอง จากนั้น นายมนู พร้อมด้วยพนักงานบางส่วนก็ลาออกไปทำงานกับบริษัทเอ็กเซล ซึ่งเจ้าของบริษัทนี้คือ นายอัมฤทธิ์ ปั้นศิริ ผอ.ร.ส.พ.ช่วงประมาณปี 2539 บริษัทดังกล่าวเข้ามาทำธุรกิจร่วมกับร.ส.พ. จนพนักงานมองว่า ผอ.คนดังกล่าว มีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน หลังจากนั้น นายมนู ก็ออกจากบริษัทเอ็กเซล ไปเป็นที่ปรึกษาของนายนิกร จำนง และถูกส่งให้เข้ามาคุม ร.ส.พ. ก่อนที่จะมาตั้งบริษัท ดี.ดี.
สาม บริษัท ทรานเนชั่นไวด์ จำกัด ในเครือนิ่มซีเส็ง ซึ่งเป็นเจ้าพ่อด้านธุรกิจการขนส่งภายในประเทศและข้ามแดน บริษัทนี้จะเข้ากว้านลูกค้าในส่วนของสินค้าข้ามแดนและลูกค้าในส่วนของหน่วยงานราชการ เช่น ออมสิน ศึกษาภัณฑ์
ก่อนนี้ นายสมพงษ์ เจริญผล กรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ส.พ.เปิดเผยว่า ผู้บริหารและพนักงานร.ส.พ. ได้ช่วยกันคิดและวางแผนฟื้นฟูร.ส.พ. โดยจะเริ่มใช้แผนประมาณปี 2547 – 2548 แต่เมื่อนายภูมิธรรม เวชยชัย รมช.คมนาคม เข้ามาดูแล ร.ส.พ. ส่งนายก่อแก้ว พิกุลทอง มาเป็นผอ.ร.ส.พ.ก็สั่งหยุดแผนทันที ทั้งที่แผนดังกล่าว ตัวแทนสหภาพฯ นำเสนอต่อคณะกรรมาธิการคมนาคมและคณะกรรมาธิการรัฐวิสาหกิจ ส.ส. ก็ยอมรับว่า ร.ส.พ. มีโอกาสฟื้นฟูได้
นางชุลีพร ด้วงฉิม อดีตหัวหน้ากองอดีตหัวหน้ากองจัดการขนส่งสินค้าข้ามแดน ฝ่ายการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ของร.ส.พ. บอกว่า ในช่วงปี 2549 สหภาพฯ ขออาสาบริหาร ร.ส.พ.โดยทำแผนฟื้นฟู ร.ส.พ. เสนอต่อบอร์ดและฝ่ายบริหาร ไม่ต้องให้รัฐมาแบกรับภาระ เพียงแต่ขอให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ 50 ล้านบาทเพื่อมาบรรเทาความเดือดร้อนของพนักงานเบื้องต้นเท่านั้นแต่ผู้บริหารก็ไม่รับพิจารณา
นายศิริชัย ไม้งาม เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เคยชี้ว่า การยุบร.ส.พ. เป็นการเข้ามาฮุบของกลุ่มทุนการเมืองเพราะความจริงแล้วร.ส.พ.มีลูกค้าชั้นดีอยู่ในมือ เช่น กฟภ., ทหาร, ท่าเรือ,โรงงานยาสูบ ฯลฯ กรณีนี้จึงเหมือนบริษัทไทยเดินเรือทะเล ไม่มีผิด มีนักการเมืองเตรียมเอารถเข้ามาทำมาหากิน และไม่ฟังเสียงของพนักงานที่ขอให้มีการฟื้นฟูกิจการ
นายศิริชัย ยังบอกว่า การเลิกกิจการ ร.ส.พ. โดยมีบริษัทของกลุ่มทุนการเมืองเข้ามาสวมแทน เป็นการต่อจิ๊กซอร์ในธุรกิจลอจิสต์ติกในทางบก จากก่อนหน้านี้ได้เข้าคุมน่านน้ำแทนบริษัทไทยเดินเรือทะเล ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐ และน่านฟ้าผ่านทางสายการบินโลว์คอสต์
สำหรับความเคลื่อนไหวหลังพนักงานร.ส.พ.ยื่นหนังสือเรียกร้องต่อพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้เข้ามาช่วยเหลือพนักงาน ร.ส.พ.เหมือนพนักงานไอทีวี และขอให้ฟื้นร.ส.พ.กลับคืนมา ยังไม่มีการตอบรับใดๆ จากนายกรัฐมนตรี มีเพียงการให้สัมภาษณ์ของนายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำ และพาณิชย์นาวี ในฐานะอดีตประธานคณะกรรมการ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) และประธานคณะกรรมการ ชำระบัญชี เพื่อปิดกิจการ
นายประสงค์ กล่าวว่าไม่ได้ทอดทิ้งพนักงานตามที่ร้องเรียนและจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานไปครบแล้ว รวมทั้งเงินค้างจ่าย เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร ค่าแรงล่วงเวลา โดยมียอดรวม 1,053 ล้านบาท แต่ที่ยังมีพนักงานบางส่วนออกมาเคลื่อนไหวอ้างว่าไม่ได้เงินชดเชยเนื่องจากมีพนักงานประมาณ 20 คน อยู่ระหว่างสอบสวนทุจริตและติดหนี้ค้างจ่าย กับร.ส.พ.จึงยังไม่ได้เงินชดเชย และยังระบุด้วยว่าคนที่ออกมาชุมนุมเป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอยู่แล้ว ส่วนการจัดหางานที่อ้างว่าจะโอนให้กับหน่วยงานต่างๆ ในกำกับของกระทรวงคมนาคมนั้น ก็ติดปัญหาว่าหน่วยงานเหล่านี้ไม่สามารถรับได้เพราะมีอายุมาก จะไปเทียบกับไอทีวีไม่ได้เพราะพนักงานไอทีวียังเป็นคนหนุ่มสาวและยังมีศักยภาพ
สำหรับการย้าย ร.ส.พ.ออกจากบริเวณ ถ.ศรีอยุธยา นายประสงค์ กล่าวว่า เพื่อแลกกับการที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เจ้าของที่ดินยกหนี้ที่ค้างค่าเช่าให้ และยืนยันว่าไม่ได้ย้ายออกเพื่อเปิดทางให้กับบริษัท คิงเพาเวอร์ จำกัด แต่อย่างใด
ด้าน นายอภิเดช นามมนตรี อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ส.พ. กล่าวยืนยันว่า คนที่ออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลฟื้น ร.ส.พ.นั้นเป็นพนักงานของ ร.ส.พ.ทั้งสิ้น ไม่มีคนนอก แม้ว่าบางคนจะได้รับเงินค่าชดเชยแล้ว แต่ปัญหาใหญ่คือการไม่มีงานทำ ตามที่ผู้บริหารเคยระบุว่าจะโอนสังกัดให้มีงานทำ ต้องถามกลับว่าการที่พวกเราทำงานให้รัฐมาตลอดชีวิตและมีอายุมากขึ้นเป็นความผิดของเราหรือไม่ การยุบเลิก ร.ส.พ.แล้วทิ้งพนักงานเหล่านี้ไปถูกต้องแล้วหรือ
“คนสูงอายุก็เป็นคนเหมือนกัน คุณประสงค์ต้องคิดว่าหากเป็นคนตกงานจะรู้สึกอย่างไร บางคนบ้าน รถ ถูกยึด บางครอบครัวก็เลิกกัน บางคนก็ป่วย ตาย ถ้าลองมาเป็นพวกผมที่เงินเดือนไม่มากและต้องผู้นำครอบครัวด้วย ถ้าคิดอย่างคุณประสงค์คนสูงอายุควรเอาไปฆ่าทิ้งได้เลย” เขากล่าว พร้อมยืนยันว่า ร.ส.พ.สามารถจะฟื้นฟูกิจการได้ แต่สาเหตุที่ต้องยุบเป็นเพราะผลประโยชน์ของนักการเมืองและผู้บริหารบางคน
เขายังกล่าวด้วยว่า แม้พนักงานของ ร.ส.พ.ส่วนใหญ่จะสูงอายุ แต่ยืนยันว่าพนักงาน ร.ส.พ.ทุกคนก็ทำงานจนถึงวัยเกษียร ไม่ได้ไร้ความสามารถอย่างที่นายประสงค์กล่าวอ้าง นอกจากนี้ ยังเชี่ยวชาญการทำงานที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ที่ผ่านมา ร.ส.พ.ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามาโดยตลอด จึงเห็นว่าควรฟื้นหน่วยงานนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพราะนอกจากจะทำให้พวกตนได้งานแล้ว ยังเป็นการทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ โดยถ่วงดุลค่าขนส่งอีกด้วย
นายอภิเดช ยังตั้งข้อสังเกตถึงประเด็นการย้ายสำนักงาน ร.ส.พ.ด้วยว่า ผู้บริหารเคยต่อรองกับสำนักทรัพย์สินฯ ให้ผ่อนผันให้ค่อยทยอยย้ายออกจากที่ดินเดิมก็ได้ เพราะที่ตั้งเดิมจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและลูกค้าที่จะมาติดต่อ แต่ด้วยเครือข่ายของนักการเมืองในขณะนั้นทำให้ต้องย้ายอย่างเร่งรีบและไม่มีความพร้อม แม้แต่ค่าเบี้ยเลี้ยงจากการขนย้ายครั้งดังกล่าวพนักงานก็ยังไม่ได้รับ
อดีตประธานสหภาพฯ กล่าวต่อว่า นายประสงค์กำลังทำให้ประชาชนสับสนจากการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง ตนจึงขอท้าให้นายประสงค์ชี้แจงผ่านสื่อโทรทัศน์พร้อมกับตนในประเด็นของการยุบเลิก ร.ส.พ. เพื่อแจกแจงให้ประชาชนเข้าใจต่อปัญหาต่างๆ