“ผมเห็นเรื่องไอทีวีแล้วก็ฮึดสู้ขึ้นมาอีกครั้ง เพราะเห็นชัดๆ ว่ารัฐบาลอุ้มพนักงานได้ ก็น่าจะช่วยเราได้ แต่ก็นั่นแหละ ไอทีวีเขาเป็นสื่อ มีกระบอกเสียงของตัวเอง ระดมคนได้ แต่เราไม่มีอย่างนั้น ของเราถูกยุบมาเป็นปี ไอทีวียุบแค่วันเดียว" นภดล พุ่มแจ่ม อดีตพนักงานขับรถยนต์ของ ร.ส.พ. ระบายความคับข้องใจ
หลังจากยุบ ร.ส.พ. ไปเมื่อปลายปี 2548 วิกฤตชีวิตของคนที่เคยทำงานที่องค์การแห่งนี้ประมาณ 1,700 ชีวิตก็ต้องซัดเซไปตามกระแสธารของอุปสรรคชีวิต สำหรับพวกเขาแล้ว หน่วยงานที่มีอายุเกือบ 60 ปี และทำคุณูปการให้กับประเทศชาติในฐานะ “เส้นเลือด” ของระบบขนส่งของชาติมาอย่างต่อเนื่อง การยุบทิ้งองค์กรแห่งนี้แทบจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อเลย
ร.ส.พ.เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีบทบาทเป็นกลไกสำคัญของระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ภารกิจที่ได้รับตลอดระยะเวลาของการดำเนินงาน คนของ ร.ส.พ.เดินสายขนส่งสินค้าและพัสดุทั้งของรัฐและเอกชนไปทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นงานทั่วไปหรืองานด้านความมั่นคง ในขณะเดียวกัน ร.ส.พ.ยังมีบทบาทในการพยุงราคาค่าบริการขนส่งไม่ให้สูงเกินจริง
นอกจากนี้ สำหรับพวกเขาแล้ว ร.ส.พ.อาจไม่ใช่เพียงแค่ “งาน” ที่รับใช้ทั้งปากท้องและสังคมเท่านั้น หากแต่หลายคนเปรียบ ร.ส.พ.เสมือน “บ้าน” ทั้งในด้านความรู้สึกและสำหรับหลายคนที่ใช้รถยนต์สิบล้อของ ร.ส.พ.เป็นบ้านที่อยู่ที่กินจริงๆ ด้วย
พนักงานขับรถยนต์จำนวนไม่น้อยที่ใช้ชีวิตติดกับรถทั้งกิน นอน ทำงานทั้งวันทั้งคืนอยู่ที่รถ อาจเป็นเพราะสวนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด การเดินทางส่งของตามหมายของ ร.ส.พ.แต่ละครั้งก็ทำให้ไม่อยู่กับที่อยู่แล้ว หลายครอบครัวเลยถือรถของ ร.ส.พ.นี่เป็นเหมือนชายคาแหล่งพักพิง
ดังกรณีของ พู ปักษี อดีตพนักงานขับรถ ของ ร.ส.พ. วัย 45 ปี ทำงานมาตั้งแต่ปี 2533 ก่อนยุบทิ้งองค์กรนี้เป็นเวลาหลายปีที่เขาใช้รถสิบล้อของรัฐเป็นบ้าน เขาย้อนความทรงจำอันเจ็บปวดถึงวันที่ 27 ธ.ค.2548 ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีในยุครัฐบาลทักษิณมีมติยุบองค์กรแม่ของเขา บ่ายวันเดียวกัน พนักงานที่อยู่ใน “ย่านกำแพงเพชร” หรือสำนักงานใหญ่ของ ร.ส.พ. แห่งใหม่ ต่างหลั่งน้ำตาแสดงความเสียใจ หลายคนไม่เชื่อว่าองค์การฯ จะต้องถึงขั้นยุบทิ้ง ขนาดลูกค้าของ ร.ส.พ.ก็ยังทยอยมากันมาติดต่อเหมือนเดิม โดยที่ยังไม่รู้ว่า ร.ส.พ.ปิดทำการแล้ว
ที่เจ็บใจกว่านั้น พูเล่าให้ฟังว่า รุ่งขึ้นหลังจากวันที่มีมติยุบ ร.ส.พ. บริษัท พัสดุภัณฑ์ไทย จำกัด ก็ส่งรถมารับสินค้าที่เตรียมรอส่งที่ถึงสำนักงานใหญ่ของ ร.ส.พ. ย่านถนนกำแพงเพชร โดยไม่ได้มีการเซ็นสัญญาอะไร จนเหมือนกับว่า การยุบทิ้ง ร.ส.พ.ในครั้งนี้มีการเตรียมการไว้พร้อมแล้ว ผลสุดท้ายที่เกิดขึ้นคือบริษัทเอกชนเหล่านี้ได้รวบเอาลูกค้าเก่าของ ร.ส.พ.ไปเกือบทั้งหมด
ประมาณ 1 เดือนหลังจากนั้น พนักงานของ ร.ส.พ.จำนวนหลายร้อยคนทยอยกลับบ้านของตนที่ต่างจังหวัดด้วยเพราะไม่อาจคาดหวังกับงานที่ทางการระบุว่าจะโอนย้ายให้หน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงคมนาคมดูจะไม่มีความหวังมากนัก พู เล่าให้ฟังว่า การลาจากครั้งนั้นสะเทือนใจมาก เพราะไม่รู้ว่าจะได้พบเพื่อนร่วมงานกันอีกหรือไม่
เป็นเวลากว่าหลายปีที่พวกเขา คนขับรถสิบล้อของรัฐตระเวนไปตามถนนสายต่างๆ ทั่วประเทศ
เขามั่นใจว่าไม่มีจังหวัดใดที่เขาไม่เคยควบรถ ร.ส.พ.ไปถึง แม้แต่พื้นที่สีแดงอย่าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีแต่พวกเขา – คน ร.ส.พ. เท่านั้นที่เดินทางย่างกรายเข้าไป ในขณะที่บริษัทเอกชนขอปฏิเสธ
ความทรงจำของ พู ย้อนความมาไล่เรียงอีกครั้ง เมื่อครั้งที่เขาต้องไปส่งของที่ อ.เบตง อันเป็นจุดหมายปลายทางสุดถนนหมายเลข 410 หรือถนนสายยะลา – เบตง ประสบอุบัติเหตุบริเวณ ต.แม่หวาด อ.ธารโต แต่ก็สามารถดผ่านพ้นไปได้ด้วยดีจากการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ เพราะเหตุที่เขาเองก็เป็น “คนของรัฐ” คืนนั้นเขาจำได้ว่าถูกขอให้พักแรมที่ สภ.อ.ธารโตก่อนเดินทางสู่จุดหมายในวันรุ่งขึ้น
เขาเป็นหนึ่งในพนักงานขับรถของ ร.ส.พ. ซึ่งมีอยู่หลายร้อยคน เงินเดือนสุดท้ายของเขาอยู่ที่ 5,620 บาท ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับรัฐวิสาหกิจรายอื่นๆ รายได้อีกส่วนที่ได้รับคือค่าเบี้ยเลี้ยงของการขนส่งแต่ละหมาย ซึ่งจะแตกต่างไปตามแต่ระยะทาง เดือนหนึ่งๆ รายได้ก็ตกอยู่ที่ราวหมื่นกว่าบาท นอกจากนี้ก็มีรายได้เล็กๆ น้อยๆ จากค่าจ้างขนของขึ้นลงรถอีกส่วนหนึ่ง เขาบอกว่ารายได้เท่านี้ก็พออยู่กันได้
เขาเป็นคนสุโขทัย ครอบครัวเล็กๆ ของเขามีบุตร 3 คน ซึ่งกำลังอยู่ในวัยเรียน ก่อนการยุบ ร.ส.พ. การเงินค่อนข้างคงที่ แม้ว่าจะมีหนี้จากธนาคารที่กู้มาสร้างบ้านในต่างจังหวัดและหนี้นอกระบบบ้าง ก็พอจะผ่อนส่งได้ครบกำหนดทุกครั้ง แต่ทว่าเมื่อครั้งเกิดเหตุฟ้าผ่าที่ ร.ส.พ. เขาต้องกลายเป็นคนตกงานหลายเดือน เงินชดเชยก็ทยอยจ่ายมาเป็นงวดซึ่งก็ต้องรอ การกู้หนี้มาปะชุนชีวิตให้ไหลลื่นก็นำมาซึ่งหนี้สินเพิ่มเติม และปีที่ผ่านมา เขาไม่มีเงินเพียงพอที่จะผ่อนหนี้สินที่มีอยู่รวมทั้งสิ้นประมาณเกือบ 2 แสนบาท
แม้ว่าเงินชดเชยจากการเลิกจ้างจะได้รับครบแล้ว ซึ่งหักลบกลบหนี้สหกรณ์และค่าพยาบาลเหลือประมาณ 8 หมื่นบาท แต่งานที่รัฐมนตรีและผู้บริหาร ร.ส.พ.เคยระบุว่าจะหามาทดแทนให้เมื่อครั้งประกาศยุบ ร.ส.พ.นั้น ไม่ว่าจะเป็นการโอนย้ายให้กับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) การรถไฟแห่งประเทศไทย ฯลฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงคมนาคมก็ไม่ได้โอนกันง่ายๆ ตามคำกล่าวของผู้ใหญ่
“เราก็ต้องสอบกันตามระเบียบเหมือนคนทั่วไป ค่าสมัคร 120 บาทยังต้องออกกันเองเลย ที่บอกว่าจะดูแลพวกเราก็ไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น ยิ่งคนขับรถ ร.ส.พ.ก็อายุกันมากๆ อย่างนี้ จะให้สมัครงานแข่งกับคนอื่นๆ เขาก็คงไม่รับ” พูเล่า
จากรายงานงบดุลของ ร.ส.พ. ก่อนจะถูกยุบ ระบุว่า ร.ส.พ. มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 1,768 คน มีพนักงานที่มีอายุ 41 - 50 ปี ประมาณ 40 % อายุ 51 – 60 ปี ถึง 52 % หรือกล่าวโดยสรุปคนงานที่ช่วงอายุปลายกลางคนจนถึงวัยเกษียรมีมากถึง 92 %
เมื่อผิดหวังจากงานสำรองซ้ำอีกครั้ง เขาต้องดิ้นรนหางานใหม่ด้วยวัย 45 ปี ในขณะที่บุตรชายคนโตซึ่งเพิ่งเข้าเรียน ม.รามคำแหง ปี 1 ได้ไม่ถึงปี ก็ต้องออกมาหางานทำช่วยแรงครอบครัวอีกทางหนึ่ง จนมาได้งานขับรถสี่ล้อเล็กสายวัดสิงห์ – ตลาดพลู ย่านฝั่งธนฯ แต่ก็ต้องหยุดวิ่งมาเกือบเดือนแล้ว เนื่องถูกระบุว่าวิ่งทับเส้นทางรถเมล์ จนถึงวันนี้เขายังหาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างเหมารถขนส่งบ้างเป็นบางครั้ง
การดิ้นรนของชีวิตคน ร.ส.พ.แต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป นอกจาก พู แล้ว อดีตพนักงาน ร.ส.พ.อีกหลายคนที่ต้องฝ่าฝันอุปสรรคของไร้งานทำอีกหลายราย ในขณะที่บางคนแม้จะได้งานทำก็ยังต้องหวนนึกถึงงานของ ร.ส.พ.อยู่จนถึงวันนี้
**หมดเรี่ยวแรง ไร้งาน
นภดล พุ่มแจ่ม อดีตพนักงานขับรถวัย 45 ปี ก็เป็นอีกคนที่ดิ้นรนหางานใหม่ด้วยวัยที่โรยแรงและความชำนาญอันจำกัด การโอนย้ายไปหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงคมนาคมก็ทำไม่ได้เหมือนพนักงานส่วนใหญ่ของ ร.ส.พ. เขาเริ่มต้นด้วยการขับรถแท็กซี่มิเตอร์ แต่ก็ต้องเลิกไปหลังจากที่ “ขาดทุน” จากการจ่ายค่าปรับตำรวจจราจรอยู่แทบทุกวัน เพราะไม่ถนัดเส้นทางในเมืองหลวง
“เราขับรถต่างจังหวัดมาเกือบทั้งชีวิต ให้ขับในแท็กซี่ในกรุงเทพก็คงไม่ไหว”
อดีตพนักงาน ร.ส.พ.หลายคนไปสมัครกับบริษัทรถโดยสารปรับอากาศ ด้วยหวังว่าจะได้ทำงานที่ตนถนัด แต่บริษัทต่างๆ ก็ไม่รับ นพดลได้คำตอบจากบริษัทนครไชยแอร์ว่า คนขับรถบรรทุกมากว่า 15 ปีอย่างเขาไม่เหมาะสมที่จะหันมาขับรถโดยสาร
ปัจจุบันเขายังชีพอยู่กับการรับจ้างทั่วไปและช่วยภรรยาของเขาเก็บของเก่าขาย ปลูกเพิงเล็กๆ ไว้ในพื้นที่ของอดีตสำนักงาน ร.ส.พ. รวมทั้งปลูกผักไว้กินในแต่ละวัน และยังคาดหวังว่าเขาจะได้งานที่ถนัดกลับมา พร้อมๆ กับการฟื้น ร.ส.พ.ขึ้นมาอีกครั้ง
ที่น่าเศร้ากว่านั้น คือ กรณีของ อรุณ พึ่งจันทร์ อดีตพนักงานขับรถ ร.ส.พ. ในวัยเกือบ 50 ปี ที่ต้องนอนเจ็บอยู่ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ คลอง 16 จ.นครนายก ในขณะนี้ ด้วยอาการอัมพฤตครึ่งตัวขวา หลังจากที่เครียดหนักจนแพทย์ระบุว่าเส้นประสาทในสมองตีบจากอาการเครียด
**หนี้สินรุมเร้า..ป่วยหนัก
ทุกวันนี้ อรุณ พูดไม่ได้และนอนเตียงหมอมากว่าสัปดาห์แล้ว ฉลาด ศรีบัว อดีตพนักงานขับรถอีกคนของ ร.ส.พ. เป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวของอรุณ – เพื่อนของเขาให้ฟังว่า หลังจากถูกเลิกจ้างในต้นปี 2549 อรุณและภรรยา – รุจี พึ่งจันทร์ ก็ถึงกับเครียดหนัก เพราะยังมีค่าใช้จ่ายมหาศาลที่ประเดประดังเข้ามา โดยเฉพาะการผ่อนบ้านที่คลอง 8 ปทุมธานี อีกทั้งยังมีหนี้สินอีกจำนวนหนึ่ง ความเครียดเหล่านี้ส่งผลให้ภรรยาของเขาต้องจากไปอย่างไม่คาดฝัน หลังออกจากงานที่ ร.ส.พ. ได้เพียง 2 เดือน
หลังจากนั้น อรุณก็ตกอยู่ในความเครียดอย่างหนัก แม้จะได้รับเงินค่าชดเชยและบำเหน็จที่หักลบหนี้แล้วเหลือประมาณ 7 – 8 หมื่นบาทก็ยังไม่พอ จึงจำเป็นอยู่เองที่เขาจะตกต้องเป็นลูกหนี้นอกระบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เงินที่จ่ายชดเชยมาจำนวนนี้ ก็จ่ายมาเป็นงวดๆ และล่าช้ามาก
“โดยเฉพาะคนที่ออกมาคัดค้านการยุบ ร.ส.พ. อย่างอรุณ เขาก็จัดการให้ช้ามาก เราก็ว่ามันเป็นการเล่นเกมของผู้บริหารกับพนักงาน ของผมดีหน่อยที่ไม่กี่เดือน แต่ของอรุณเขาต้องรอเกือบปี เลยต้องกู้หนี้ยืมสินมาอุดก่อน ตอนนี้ก็ไม่รู้เป็นหนี้อยู่เท่าไหร” ฉลาด เพื่อนร่วมงานที่มีบ้านใกล้กับอรุณระบุ
ส่วนตัวของฉลาด อาจจะมีทางเลือกมากหน่อย เพราะแม้ไม่สามารถทำงานที่กรุงเทพได้ เพราะอายุก็มากและการโอนย้ายไปหน่วยงานอื่นๆ อย่าง ขสมก. ก็เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เขาจึงเป็นหนึ่งในพนักงาน ร.ส.พ. ที่ต้องย้อนกลับคืนสู่ต่างจังหวัด ปัจจุบันทำสวนอยู่ที่บ้าน – นครศรีธรรมราช
**ยุบ ร.ส.พ. ...ไม่ใช่ความผิดของเรา
อดีตพนักงานเหล่านี้ ต่างยืนยันไม่ต่างกันว่า สาเหตุที่ทำให้ ร.ส.พ.ถูกยุบ ก็เนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของผู้บริหาร รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ไม่ต้องการรักษาองค์กรที่ทำประโยชน์ให้กับสังคมมากมายอย่าง ร.ส.พ. จะด้วยวาระซ่อนเร้นใดๆ ก็แล้วแต่ ทว่าที่แน่ๆ “ความผิดไม่ใช่ของพนักงาน”
พู ตั้งข้อสังเกตว่า อันที่จริงแล้ว ปัญหาของ ร.ส.พ. ไม่น่าจะหนักหนาถึงขั้นต้องยุบองค์กร เพราะงานยังมีอยู่เยอะ เพราะเขาวิ่งรถมากับมือ งานของลูกค้าสำคัญที่ทำกำไรให้กับ ร.ส.พ.จำนวนมากและต่อเนื่อง ก็มีนโยบายจากผู้บริหารให้ตัดเสีย เช่นกรณีงานที่ท่าเรือคลองเตย ขนส่งอุปกรณ์ลานกระบือ โรงงานยาสูบ การประปาและการไฟฟ้า ต่างก็เป็นลูกค้าที่ใช้บริการ ร.ส.พ.เป็นประจำและทำเงินให้จำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการให้ฟื้นตัวได้
“แต่ผู้บริหารชุดนั้น เขาตั้งใจจะยุบอยู่แล้ว” อดีตคนขับรถของ ร.ส.พ.สรุป
เขาบอกว่า รัฐบาลจะต้องฟื้นฟูองค์กรแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ และรับพนักงานที่มีประสบการณ์และถนัดงานด้านนี้ ลับเข้าทำงาน แม้จะต้องปรับปรุงเพื่อลดการขาดทุนเพียงใดเชื่อว่าสามารถทำได้ ที่สำคัญ รัฐบาลต้องคัดสรรบุคคลที่เก่งและจริงใจ ไม่มุ่งหวังประโยชน์จากการทำงานเข้ามาเป็นผู้บริหาร
“เพราะจนถึงวันนี้ เรายังเชื่อว่าลูกค้าของเรายังเชื่อใจ ร.ส.พ.อยู่ และมั่นใจว่าเราจะสามารถทำงานได้ มีความรับผิดชอบ” อดีตคนขับรถสิบล้อของรัฐกล่าวทิ้งท้าย
หลังจากยุบ ร.ส.พ. ไปเมื่อปลายปี 2548 วิกฤตชีวิตของคนที่เคยทำงานที่องค์การแห่งนี้ประมาณ 1,700 ชีวิตก็ต้องซัดเซไปตามกระแสธารของอุปสรรคชีวิต สำหรับพวกเขาแล้ว หน่วยงานที่มีอายุเกือบ 60 ปี และทำคุณูปการให้กับประเทศชาติในฐานะ “เส้นเลือด” ของระบบขนส่งของชาติมาอย่างต่อเนื่อง การยุบทิ้งองค์กรแห่งนี้แทบจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อเลย
ร.ส.พ.เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีบทบาทเป็นกลไกสำคัญของระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ภารกิจที่ได้รับตลอดระยะเวลาของการดำเนินงาน คนของ ร.ส.พ.เดินสายขนส่งสินค้าและพัสดุทั้งของรัฐและเอกชนไปทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นงานทั่วไปหรืองานด้านความมั่นคง ในขณะเดียวกัน ร.ส.พ.ยังมีบทบาทในการพยุงราคาค่าบริการขนส่งไม่ให้สูงเกินจริง
นอกจากนี้ สำหรับพวกเขาแล้ว ร.ส.พ.อาจไม่ใช่เพียงแค่ “งาน” ที่รับใช้ทั้งปากท้องและสังคมเท่านั้น หากแต่หลายคนเปรียบ ร.ส.พ.เสมือน “บ้าน” ทั้งในด้านความรู้สึกและสำหรับหลายคนที่ใช้รถยนต์สิบล้อของ ร.ส.พ.เป็นบ้านที่อยู่ที่กินจริงๆ ด้วย
พนักงานขับรถยนต์จำนวนไม่น้อยที่ใช้ชีวิตติดกับรถทั้งกิน นอน ทำงานทั้งวันทั้งคืนอยู่ที่รถ อาจเป็นเพราะสวนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด การเดินทางส่งของตามหมายของ ร.ส.พ.แต่ละครั้งก็ทำให้ไม่อยู่กับที่อยู่แล้ว หลายครอบครัวเลยถือรถของ ร.ส.พ.นี่เป็นเหมือนชายคาแหล่งพักพิง
ดังกรณีของ พู ปักษี อดีตพนักงานขับรถ ของ ร.ส.พ. วัย 45 ปี ทำงานมาตั้งแต่ปี 2533 ก่อนยุบทิ้งองค์กรนี้เป็นเวลาหลายปีที่เขาใช้รถสิบล้อของรัฐเป็นบ้าน เขาย้อนความทรงจำอันเจ็บปวดถึงวันที่ 27 ธ.ค.2548 ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีในยุครัฐบาลทักษิณมีมติยุบองค์กรแม่ของเขา บ่ายวันเดียวกัน พนักงานที่อยู่ใน “ย่านกำแพงเพชร” หรือสำนักงานใหญ่ของ ร.ส.พ. แห่งใหม่ ต่างหลั่งน้ำตาแสดงความเสียใจ หลายคนไม่เชื่อว่าองค์การฯ จะต้องถึงขั้นยุบทิ้ง ขนาดลูกค้าของ ร.ส.พ.ก็ยังทยอยมากันมาติดต่อเหมือนเดิม โดยที่ยังไม่รู้ว่า ร.ส.พ.ปิดทำการแล้ว
ที่เจ็บใจกว่านั้น พูเล่าให้ฟังว่า รุ่งขึ้นหลังจากวันที่มีมติยุบ ร.ส.พ. บริษัท พัสดุภัณฑ์ไทย จำกัด ก็ส่งรถมารับสินค้าที่เตรียมรอส่งที่ถึงสำนักงานใหญ่ของ ร.ส.พ. ย่านถนนกำแพงเพชร โดยไม่ได้มีการเซ็นสัญญาอะไร จนเหมือนกับว่า การยุบทิ้ง ร.ส.พ.ในครั้งนี้มีการเตรียมการไว้พร้อมแล้ว ผลสุดท้ายที่เกิดขึ้นคือบริษัทเอกชนเหล่านี้ได้รวบเอาลูกค้าเก่าของ ร.ส.พ.ไปเกือบทั้งหมด
ประมาณ 1 เดือนหลังจากนั้น พนักงานของ ร.ส.พ.จำนวนหลายร้อยคนทยอยกลับบ้านของตนที่ต่างจังหวัดด้วยเพราะไม่อาจคาดหวังกับงานที่ทางการระบุว่าจะโอนย้ายให้หน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงคมนาคมดูจะไม่มีความหวังมากนัก พู เล่าให้ฟังว่า การลาจากครั้งนั้นสะเทือนใจมาก เพราะไม่รู้ว่าจะได้พบเพื่อนร่วมงานกันอีกหรือไม่
เป็นเวลากว่าหลายปีที่พวกเขา คนขับรถสิบล้อของรัฐตระเวนไปตามถนนสายต่างๆ ทั่วประเทศ
เขามั่นใจว่าไม่มีจังหวัดใดที่เขาไม่เคยควบรถ ร.ส.พ.ไปถึง แม้แต่พื้นที่สีแดงอย่าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีแต่พวกเขา – คน ร.ส.พ. เท่านั้นที่เดินทางย่างกรายเข้าไป ในขณะที่บริษัทเอกชนขอปฏิเสธ
ความทรงจำของ พู ย้อนความมาไล่เรียงอีกครั้ง เมื่อครั้งที่เขาต้องไปส่งของที่ อ.เบตง อันเป็นจุดหมายปลายทางสุดถนนหมายเลข 410 หรือถนนสายยะลา – เบตง ประสบอุบัติเหตุบริเวณ ต.แม่หวาด อ.ธารโต แต่ก็สามารถดผ่านพ้นไปได้ด้วยดีจากการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ เพราะเหตุที่เขาเองก็เป็น “คนของรัฐ” คืนนั้นเขาจำได้ว่าถูกขอให้พักแรมที่ สภ.อ.ธารโตก่อนเดินทางสู่จุดหมายในวันรุ่งขึ้น
เขาเป็นหนึ่งในพนักงานขับรถของ ร.ส.พ. ซึ่งมีอยู่หลายร้อยคน เงินเดือนสุดท้ายของเขาอยู่ที่ 5,620 บาท ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับรัฐวิสาหกิจรายอื่นๆ รายได้อีกส่วนที่ได้รับคือค่าเบี้ยเลี้ยงของการขนส่งแต่ละหมาย ซึ่งจะแตกต่างไปตามแต่ระยะทาง เดือนหนึ่งๆ รายได้ก็ตกอยู่ที่ราวหมื่นกว่าบาท นอกจากนี้ก็มีรายได้เล็กๆ น้อยๆ จากค่าจ้างขนของขึ้นลงรถอีกส่วนหนึ่ง เขาบอกว่ารายได้เท่านี้ก็พออยู่กันได้
เขาเป็นคนสุโขทัย ครอบครัวเล็กๆ ของเขามีบุตร 3 คน ซึ่งกำลังอยู่ในวัยเรียน ก่อนการยุบ ร.ส.พ. การเงินค่อนข้างคงที่ แม้ว่าจะมีหนี้จากธนาคารที่กู้มาสร้างบ้านในต่างจังหวัดและหนี้นอกระบบบ้าง ก็พอจะผ่อนส่งได้ครบกำหนดทุกครั้ง แต่ทว่าเมื่อครั้งเกิดเหตุฟ้าผ่าที่ ร.ส.พ. เขาต้องกลายเป็นคนตกงานหลายเดือน เงินชดเชยก็ทยอยจ่ายมาเป็นงวดซึ่งก็ต้องรอ การกู้หนี้มาปะชุนชีวิตให้ไหลลื่นก็นำมาซึ่งหนี้สินเพิ่มเติม และปีที่ผ่านมา เขาไม่มีเงินเพียงพอที่จะผ่อนหนี้สินที่มีอยู่รวมทั้งสิ้นประมาณเกือบ 2 แสนบาท
แม้ว่าเงินชดเชยจากการเลิกจ้างจะได้รับครบแล้ว ซึ่งหักลบกลบหนี้สหกรณ์และค่าพยาบาลเหลือประมาณ 8 หมื่นบาท แต่งานที่รัฐมนตรีและผู้บริหาร ร.ส.พ.เคยระบุว่าจะหามาทดแทนให้เมื่อครั้งประกาศยุบ ร.ส.พ.นั้น ไม่ว่าจะเป็นการโอนย้ายให้กับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) การรถไฟแห่งประเทศไทย ฯลฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงคมนาคมก็ไม่ได้โอนกันง่ายๆ ตามคำกล่าวของผู้ใหญ่
“เราก็ต้องสอบกันตามระเบียบเหมือนคนทั่วไป ค่าสมัคร 120 บาทยังต้องออกกันเองเลย ที่บอกว่าจะดูแลพวกเราก็ไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น ยิ่งคนขับรถ ร.ส.พ.ก็อายุกันมากๆ อย่างนี้ จะให้สมัครงานแข่งกับคนอื่นๆ เขาก็คงไม่รับ” พูเล่า
จากรายงานงบดุลของ ร.ส.พ. ก่อนจะถูกยุบ ระบุว่า ร.ส.พ. มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 1,768 คน มีพนักงานที่มีอายุ 41 - 50 ปี ประมาณ 40 % อายุ 51 – 60 ปี ถึง 52 % หรือกล่าวโดยสรุปคนงานที่ช่วงอายุปลายกลางคนจนถึงวัยเกษียรมีมากถึง 92 %
เมื่อผิดหวังจากงานสำรองซ้ำอีกครั้ง เขาต้องดิ้นรนหางานใหม่ด้วยวัย 45 ปี ในขณะที่บุตรชายคนโตซึ่งเพิ่งเข้าเรียน ม.รามคำแหง ปี 1 ได้ไม่ถึงปี ก็ต้องออกมาหางานทำช่วยแรงครอบครัวอีกทางหนึ่ง จนมาได้งานขับรถสี่ล้อเล็กสายวัดสิงห์ – ตลาดพลู ย่านฝั่งธนฯ แต่ก็ต้องหยุดวิ่งมาเกือบเดือนแล้ว เนื่องถูกระบุว่าวิ่งทับเส้นทางรถเมล์ จนถึงวันนี้เขายังหาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างเหมารถขนส่งบ้างเป็นบางครั้ง
การดิ้นรนของชีวิตคน ร.ส.พ.แต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป นอกจาก พู แล้ว อดีตพนักงาน ร.ส.พ.อีกหลายคนที่ต้องฝ่าฝันอุปสรรคของไร้งานทำอีกหลายราย ในขณะที่บางคนแม้จะได้งานทำก็ยังต้องหวนนึกถึงงานของ ร.ส.พ.อยู่จนถึงวันนี้
**หมดเรี่ยวแรง ไร้งาน
นภดล พุ่มแจ่ม อดีตพนักงานขับรถวัย 45 ปี ก็เป็นอีกคนที่ดิ้นรนหางานใหม่ด้วยวัยที่โรยแรงและความชำนาญอันจำกัด การโอนย้ายไปหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงคมนาคมก็ทำไม่ได้เหมือนพนักงานส่วนใหญ่ของ ร.ส.พ. เขาเริ่มต้นด้วยการขับรถแท็กซี่มิเตอร์ แต่ก็ต้องเลิกไปหลังจากที่ “ขาดทุน” จากการจ่ายค่าปรับตำรวจจราจรอยู่แทบทุกวัน เพราะไม่ถนัดเส้นทางในเมืองหลวง
“เราขับรถต่างจังหวัดมาเกือบทั้งชีวิต ให้ขับในแท็กซี่ในกรุงเทพก็คงไม่ไหว”
อดีตพนักงาน ร.ส.พ.หลายคนไปสมัครกับบริษัทรถโดยสารปรับอากาศ ด้วยหวังว่าจะได้ทำงานที่ตนถนัด แต่บริษัทต่างๆ ก็ไม่รับ นพดลได้คำตอบจากบริษัทนครไชยแอร์ว่า คนขับรถบรรทุกมากว่า 15 ปีอย่างเขาไม่เหมาะสมที่จะหันมาขับรถโดยสาร
ปัจจุบันเขายังชีพอยู่กับการรับจ้างทั่วไปและช่วยภรรยาของเขาเก็บของเก่าขาย ปลูกเพิงเล็กๆ ไว้ในพื้นที่ของอดีตสำนักงาน ร.ส.พ. รวมทั้งปลูกผักไว้กินในแต่ละวัน และยังคาดหวังว่าเขาจะได้งานที่ถนัดกลับมา พร้อมๆ กับการฟื้น ร.ส.พ.ขึ้นมาอีกครั้ง
ที่น่าเศร้ากว่านั้น คือ กรณีของ อรุณ พึ่งจันทร์ อดีตพนักงานขับรถ ร.ส.พ. ในวัยเกือบ 50 ปี ที่ต้องนอนเจ็บอยู่ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ คลอง 16 จ.นครนายก ในขณะนี้ ด้วยอาการอัมพฤตครึ่งตัวขวา หลังจากที่เครียดหนักจนแพทย์ระบุว่าเส้นประสาทในสมองตีบจากอาการเครียด
**หนี้สินรุมเร้า..ป่วยหนัก
ทุกวันนี้ อรุณ พูดไม่ได้และนอนเตียงหมอมากว่าสัปดาห์แล้ว ฉลาด ศรีบัว อดีตพนักงานขับรถอีกคนของ ร.ส.พ. เป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวของอรุณ – เพื่อนของเขาให้ฟังว่า หลังจากถูกเลิกจ้างในต้นปี 2549 อรุณและภรรยา – รุจี พึ่งจันทร์ ก็ถึงกับเครียดหนัก เพราะยังมีค่าใช้จ่ายมหาศาลที่ประเดประดังเข้ามา โดยเฉพาะการผ่อนบ้านที่คลอง 8 ปทุมธานี อีกทั้งยังมีหนี้สินอีกจำนวนหนึ่ง ความเครียดเหล่านี้ส่งผลให้ภรรยาของเขาต้องจากไปอย่างไม่คาดฝัน หลังออกจากงานที่ ร.ส.พ. ได้เพียง 2 เดือน
หลังจากนั้น อรุณก็ตกอยู่ในความเครียดอย่างหนัก แม้จะได้รับเงินค่าชดเชยและบำเหน็จที่หักลบหนี้แล้วเหลือประมาณ 7 – 8 หมื่นบาทก็ยังไม่พอ จึงจำเป็นอยู่เองที่เขาจะตกต้องเป็นลูกหนี้นอกระบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เงินที่จ่ายชดเชยมาจำนวนนี้ ก็จ่ายมาเป็นงวดๆ และล่าช้ามาก
“โดยเฉพาะคนที่ออกมาคัดค้านการยุบ ร.ส.พ. อย่างอรุณ เขาก็จัดการให้ช้ามาก เราก็ว่ามันเป็นการเล่นเกมของผู้บริหารกับพนักงาน ของผมดีหน่อยที่ไม่กี่เดือน แต่ของอรุณเขาต้องรอเกือบปี เลยต้องกู้หนี้ยืมสินมาอุดก่อน ตอนนี้ก็ไม่รู้เป็นหนี้อยู่เท่าไหร” ฉลาด เพื่อนร่วมงานที่มีบ้านใกล้กับอรุณระบุ
ส่วนตัวของฉลาด อาจจะมีทางเลือกมากหน่อย เพราะแม้ไม่สามารถทำงานที่กรุงเทพได้ เพราะอายุก็มากและการโอนย้ายไปหน่วยงานอื่นๆ อย่าง ขสมก. ก็เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เขาจึงเป็นหนึ่งในพนักงาน ร.ส.พ. ที่ต้องย้อนกลับคืนสู่ต่างจังหวัด ปัจจุบันทำสวนอยู่ที่บ้าน – นครศรีธรรมราช
**ยุบ ร.ส.พ. ...ไม่ใช่ความผิดของเรา
อดีตพนักงานเหล่านี้ ต่างยืนยันไม่ต่างกันว่า สาเหตุที่ทำให้ ร.ส.พ.ถูกยุบ ก็เนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของผู้บริหาร รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ไม่ต้องการรักษาองค์กรที่ทำประโยชน์ให้กับสังคมมากมายอย่าง ร.ส.พ. จะด้วยวาระซ่อนเร้นใดๆ ก็แล้วแต่ ทว่าที่แน่ๆ “ความผิดไม่ใช่ของพนักงาน”
พู ตั้งข้อสังเกตว่า อันที่จริงแล้ว ปัญหาของ ร.ส.พ. ไม่น่าจะหนักหนาถึงขั้นต้องยุบองค์กร เพราะงานยังมีอยู่เยอะ เพราะเขาวิ่งรถมากับมือ งานของลูกค้าสำคัญที่ทำกำไรให้กับ ร.ส.พ.จำนวนมากและต่อเนื่อง ก็มีนโยบายจากผู้บริหารให้ตัดเสีย เช่นกรณีงานที่ท่าเรือคลองเตย ขนส่งอุปกรณ์ลานกระบือ โรงงานยาสูบ การประปาและการไฟฟ้า ต่างก็เป็นลูกค้าที่ใช้บริการ ร.ส.พ.เป็นประจำและทำเงินให้จำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการให้ฟื้นตัวได้
“แต่ผู้บริหารชุดนั้น เขาตั้งใจจะยุบอยู่แล้ว” อดีตคนขับรถของ ร.ส.พ.สรุป
เขาบอกว่า รัฐบาลจะต้องฟื้นฟูองค์กรแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ และรับพนักงานที่มีประสบการณ์และถนัดงานด้านนี้ ลับเข้าทำงาน แม้จะต้องปรับปรุงเพื่อลดการขาดทุนเพียงใดเชื่อว่าสามารถทำได้ ที่สำคัญ รัฐบาลต้องคัดสรรบุคคลที่เก่งและจริงใจ ไม่มุ่งหวังประโยชน์จากการทำงานเข้ามาเป็นผู้บริหาร
“เพราะจนถึงวันนี้ เรายังเชื่อว่าลูกค้าของเรายังเชื่อใจ ร.ส.พ.อยู่ และมั่นใจว่าเราจะสามารถทำงานได้ มีความรับผิดชอบ” อดีตคนขับรถสิบล้อของรัฐกล่าวทิ้งท้าย