ผู้จัดการรายวัน – ครม.เหยียบหิมะไร้รอย แค่รับทราบคำตัดสินศาลปกครอง ตามขั้นตอนคุ้มครองแพร่ภาพ ‘ต่อเนื่อง’ ไม่มีถก ผิดข้อกฎหมายใดหรือไม่ ปล่อยให้ข้าราชการประจำหาวิธีเอาเอง ตะแบงตั้งหน่วยงานพิเศษอุ้ม “ทักษิณทีวี” วันนี้ต่อ ส่วนกรณีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเดิมให้อัยการสูงสุดดูแล “สุรยุทธ์” การันตีมาถูกทางแล้ว ‘คุณหญิงทิพาวดี’ยัน1เดือนเรียบร้อย ใจดีให้ ‘ผู้จัดรายการ’โกยเงินกันไปได้ตามใจชอบก่อนแล้วผ่อนใช้รัฐทีหลัง ขณะที่พนักงานเดิมอู้ฟู่บริษัทผู้เบี้ยวสัญญาจ่ายชดเชย 220 ล้านเรียบร้อย
วานนี้(13มี.ค.) คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการบริหารสถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวี ว่า สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)ได้รายงานให้ ครม.ทราบถึงการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง โดยศาลมีคำพิพากษาว่า ในฐานะที่สปน.มีหน้าที่โดยตรงในการจัดให้มีบริการสาธารณะทางด้านกิจการวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ จึงให้ดำเนินการให้บริการสาธารณะดังกล่าวดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยจะดำเนินการหรือมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนในนามของตนเองก็ได้ ดังแต่จะเห็นสมควร ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า วันนี้ได้รายงานการดำเนินงานตามคำพิพากษาโดยแจ้งว่า ขั้นตอนต่อไปในส่วนของกฎหมาย ได้มอบให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ส่วนเรื่องการจัดรูปแบบองค์กร เพื่อรองรับการบริหารจัดการตามที่ศาลมีคำพิพากษา สปน.ได้มอบให้กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยว่า สามารถเข้าไปดำเนินการได้ ฉะนั้น ขั้นตอนต่อไปจะนำเสนอเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)ซึ่งเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ.2548 ในอันที่จะจัดให้มีหน่วยบริการรูปแบบพิเศษเป็นการเฉพาะคราว เพื่อรองรับการดำเนินการตามคำพิพากษาได้ต่อไป ซึ่งทาง ก.พ.ร.จะประชุมกันในวันที่ 14 มี.ค.นี้ เวลา 14.00 น.
ส่วนระยะเวลา 1 เดือน เป็นไปตามมติเดิมที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนและคณะไปพิจารณารับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวางที่สุด เพื่อนำมาประมวลจัดรูปแบบองค์กรการบริหารสถานีวิทยุระบบยูเอชเอฟต่อไป สำหรับตนจะยึดตามเจตนารมณ์ของการมีคลื่นที่จะให้เป็นบริการสาธารณะด้านการข่าว ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามถึงการดำเนินคดีเรียกเงินค่าปรับแสนล้านบาท จากอดีตผู้บริหารไอทีวี คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่อัยการและนักกฎหมายจะเป็นผู้ดำเนินการ โดยจะดำเนินการแบบคู่ขนานไปพร้อมๆ กัน เพราะอัยการสูงสุด มีทีมงานอยู่แล้ว เรื่องนี้เป็นรายละเอียดข้อกฎหมาย ซึ่งตนจะไม่ขอลงในรายละเอียดทางสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนการดำเนินการตั้งหน่วยงานบริการพิเศษเฉพาะกิจเป็นเรื่องที่ สปน.ดำเนินการส่งไปยัง ก.พ.ร.
เมื่อถามถึงกรณีที่ภาคประชาชนยื่นคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตรวจสอบรัฐบาลที่เข้าไปอุ้มพนักงานไอทีวี คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ยินดีที่จะให้ข้อเท็จจริงหากถูกเรียกไปชี้แจง เมื่อถามว่า ยืนยันว่า การดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายใช่หรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า การดำเนินการทุกขั้นตอนมีนักกฎหมายของรัฐ ทั้งจากสำนักงานอัยการสูงสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้อำนวยการกองกฎหมาย ฉะนั้น ขั้นตอนการดำเนินงานที่รัฐบาลดำเนินการได้ดูละเอียด รอบคอบตามขั้นตอนกฎหมายทุกประการ เราทำงานกันเป็นทีม มีคณะกรรมการด้านกฎหมาย ด้านการเงินและการบริหาร มีถึง 5 คณะ ในการดำเนินการ ยืนยันว่าทำงานอย่างเป็นระบบ และมีการวางแผนอย่างเป็นระเบียบ
เมื่อถามว่าระหว่างนี้จะให้เป็นการบริหารแบบใด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนได้อ่านคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ดังนั้น ตามคำพิพากษาดังกล่าวถือเป็นหน้าที่ของ สปน.ที่จะต้องดำเนินการให้บริการสาธารณะ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ดังนั้น ระหว่างนี้ถือเป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง
"เท่ากับว่าศาลปกครองได้สั่งการ มีคำพิพากษาให้ สปน.ดำเนินการ อันนี้ได้รับการคุ้มครองตามคำพิพากษานี้อยู่แล้ว ส่วนเรื่องการฟ้อง เป็นการดำเนินการตามข้อกฎหมาย เรามีคณะทำงานด้านกฎหมายอยู่ ถ้าอยากจะสัมภาษณ์เขา เดี๋ยวจะจัดให้ ดิฉันจะพูดแต่เรื่องนโยบายเท่านั้น" คุณหญิงทิพาวดี กล่าว พร้อมกับหมุนตัวหนีคำถามผู้สื่อข่าวที่ยังคงสงสัยอีกหลายประเด็น
เมื่อถามว่า เรื่องงบประมาณการดำเนินการคุณหญิงทิพาวดี หันกลับมาชี้แจงว่า ไม่มี ยืนยันไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการในชั้นนี้ เป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ที่พิพากษาให้ สปน.ดำเนินการให้มีการบริหารสาธารณะด้านกิจการวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟต่อไปอย่างต่อเนื่อง เรื่องงบประมาณเวลานี้ใช้ลักษณะเครดิต (ตอบแบบอ้ำอึ้ง)พร้อมกับอ้างคำพิพากษาศาลปกครองกลางในการเข้าไปดำเนินการ โดยยืนยันว่า การดำเนินการเป็นการชั่วคราว สำหรับรัฐบาลมองว่าภายใน 1 เดือนนี้ จะมีความชัดเจนที่สุด เรามอบให้สำนักงานสถิติดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนด้วย โดยจะฟังข้อคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตาม เจตนารมย์ของการมีคลื่นนี้ กำหนดไว้ว่าเพื่อให้ทางเลือกแก่ประชาชนสำหรับเป็นข่าวสาธารณะ ดังนั้น ตนจะยึดตามแนวทางเจตนารมณ์ของคลื่นนี้
**ครม.ไม่ถกผิดข้อกฎหมาย-ยกเว้นระเบียบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่คุณหญิงทิพาวดี แถลงข่าว ผู้สื่อข่าวได้พยายามซักถามถึงแนวทางการบริหารงานทีไอทีวี งบประมาณ และข้อกฎหมาย แต่คุณหญิงทิพาวดี ไม่ขอชี้แจงรายละเอียด อ้างขอแจงแค่นโยบาย และทุกคำถามจะได้รับคำตอบว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองกลาง
ทั้งนี้คุณหญิงทิพาวดี กล่าวก่อนหน้านี้ว่า จะนำเรื่องประเด็นต่างๆเข้าสู่การประชุมครม.วันอังคารที่ 13 หลายเรื่องเช่น ปัญหาในข้อกฎหมาย ไม่ขอดำเนินการตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง การว่าจ้างพนักงานเดิมของไอทีวี การตรวจนับทรัพย์สิน รวมทั้งคำท้วงติงจากทั้งสื่อ ประชาชน และนักวิชาการ เรื่องการฟ้องร้องและการบริหารจัดการ รวมทั้งกระบวนการค่าปรับ 1 แสนล้านบาทด้วย ทั้งหมดไม่ได้นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม.
**ศาลปกครองชี้ไม่ถูกต้องก็ฟ้องได้
ก่อนหน้านี้ นายอักขราทร จุฬารัตน์ ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวถึงกรณีศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ให้สามารถออกอากาศได้ต่อไป ว่า คำสั่งให้มีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่องนั้น ศาลไม่ได้บอกว่า คำว่า “ต่อเนื่อง” นั้นให้ทำอย่างไร หรือมอบให้ใครทำ ตรงนั้นเป็นเรื่องของเจ้าของคลื่นต้องไปพิจารณา คือ สำนักงานสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)ว่าต้องทำอย่างไร โดยวิธีการจะถูกหรือไม่ ศาลไม่เกี่ยว เพราะตรงนั้นก็ยังเป็นปัญหาที่จะต้องไปถกเถียงกันว่า สัญญาที่ถูกเป็นอย่างไร และอะไรที่ไม่ถูก โดยการดำเนินการของสปน.นับจากนี้ หากมีการใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องก็สามารถถูกฟ้องร้องดำเนินการได้
นายอักขราทร กล่าวด้วยว่า แม้กฤษฏีกาจะวินิจฉัยว่ากรมประชาสัมพันธ์สามารถเข้าไปบริหารไอทีวีได้ และนายกฯจะให้มีการแพร่ภาพอย่างต่อเนื่องไม่ให้หยุดชะงัก ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องของพนักงานของไอทีวี ที่ให้มีการเพิกถอนมติครม.ที่สั่งไอทีวีระงับการออกอากาศเป็นการชั่วคราว โดยเนื้อคดีหลักศาลก็ต้องมาพิจารณา ไม่ใช่ว่าพอสั่งให้มีการเปิดดำเนินการแล้ว คดีที่ฟ้องอยู่ก็เป็นอันจบไป เพราะเป็นเรื่องของคดีความที่จะมาฮั้วกันไม่ได้
**อธิบดีกรมกร๊วกโยนทิพาวดีชี้แจง
ด้านนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวถึงกรณีที่สมัชชาประชาชนภาคอีสาน ยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ที่เข้าไปดำเนินการทีไอทีวี ต่อคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นคนแถลงข่าว ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าอะไร ยังคงดำเนินการต่อไปและจะแจ้งผู้บังคับบัญชาอีกครั้ง โดยยืนยันว่า ทำหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ระเบียบข้าราชการ ในฐานะเจ้าพนักงานทุกประการ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ขอให้คุณหญิงทิพาวดี เป็นผู้ชี้แจง
เมื่อถามว่า การบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ที่อาจจะไม่ต้องส่งรายได้ให้แก่รัฐ เป็นอย่างไร นายปราโมช กล่าวว่า เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติ ต้องศึกษาขั้นตอนรายละเอียดอีกครั้ง ขณะนี้กำลังดำเนินการ ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ เพราะต้องรอมติที่ประชุม พิจารณาด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการต่างๆ มีนักวิชาการ นักกฎหมายมาช่วยศึกษา ขณะนี้ยืนยันว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ไม่ใช่ของรัฐ และไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณสนับสนุนใดๆ ทั้งสิ้น และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นดำเนินด้านสัญญาการหน้าที่ของตนนั้นเพียงแค่ปฏิบัติ ส่วนการสรรหาคณะกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เป็นหน้าที่ของ คุณหญิงทิพาวดี เป็นผู้พิจารณา
อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า กรณี พีทีวี แกนนำพรรคไทยรักไทยเข้าแจ้งความกับกองปราบปราม ร้องทุกข์กล่าวโทษ นายธีรภัทร เสรีรังสรรค์ รับมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และตน จะมีการฟ้องร้องกลับอย่างแน่นอน
**สุรยุทธระบุมาถูกทาง
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม.แจ้งว่า คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานต่อที่ประชุมในวาระเพื่อทราบถึงการคำสั่งของศาลปกครองกลางให้สถานทีโทรทัศน์ไอทีวีออกอากาศต่อไป โดยให้ยึดหลักผลประโยชน์ของสาธารณะ ทั้งนี้คุณหญิงทิพาวดียังได้แจกคำสั่งของศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งคุ้มครองฯ ให้กับรัฐมนตรีทุกคนได้นำไปศึกษาอีกด้วย
จากนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ ได้กล่าวว่า สิ่งที่คุณหญิงทิพาวดีรายงานนั้นถือเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ซึ่งถือว่า เป็นการดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้นเมื่อมีการส่งคืนทรัพย์สินแล้วคาดว่าจะมีการรายงานต่อ ครม.เพื่อฟ้องร้องอีกครั้ง เมื่อนั้นเราก็จะยื่นฟ้องดำเนินการต่อไป
แหล่งข่าวอีกว่า หลังจากที่ได้รับทราบมติที่คุณหญิงทิพาวดีรายงานแล้ว ที่ประชุมได้หยิบยกวาระเพื่อทราบจรของกระทรวงแรงงานมาสอบถาม โดยเฉพาะเรื่องที่จะรับสมัครพนักงานไอทีวีเดิมเข้ามาเป็นพนักงานของทีไอทีวีได้อย่างไร รวมทั้งนโยบายการบริหารจัดการสถานีทีไอทีวี โดยคุณหญิงทิพาวดี นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัด สปน.และนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับปากที่จะนำข้อเสนอที่จะให้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อให้เข้ามาบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เข้าสู่การหารือเพื่อหาข้อสรุปในการประชุมของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ที่จะมีการประชุมขึ้นในวันนี้ (14 มี.ค.)
ทั้งนี้นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังได้ทำหนังสือด่วนที่สุดเลขที่รง 0507/766 เพื่อรายงานต่อที่ประชุมครม.ในวาระทราบจรถึงค่าการชดเชยภายหลังที่เอกชนเลิกจ้างพนักงานมีใจความว่า หลังจากที่ สปน.ยกเลิกสัญญาสัมปทาน กรณีที่ บมจ.ไอทีวีไม่สามารถชำระหนี้ได้ภายในวันที่ 6 มี.ค.นั้น กระทรวงแรงงานได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด คือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานประกันสังคม กรมการจัดหางาน เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือลูกจ้าง บมจ.ไอทีวี ตามอำนาจหน้าที่
หนังสือยังระบุอีกว่า โดยหน่วยงานเหล่านี้ได้หารือเกี่ยวกับการปิดกิจการและการเลิกจ้างเพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และได้แจ้งให้ บมจ.ไอทีวีทราบว่า หากปิดกิจการในวันที่ 7 มี.ค.50 นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค.-20 เม.ย.50 ค่าจ้างค้างจ่ายระหว่างวันที่ 1-7 มี.ค.ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่คงเหลือ และเงินอื่น ๆ เช่นพิธีกร ค่าเสี่ยงภัย ค่ายานพาหนะ เป็นต้น ทั้งนี้ขอให้ บมจ.ไอทีวี พิจารณาจ่ายเงินให้ลูกจ้างภายในวันที่ 9 มี.ค.50 นี้
โดยหนังสือระบุว่า บมจ.ไอทีวี ได้กำหนดจ่ายสิทธิประโยชน์ให้ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 เป็นเงิน 220 ล้านบาท มีกำหนดให้ลูกจ้างส่วนกลางจำนวน 900 คน ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค.และลูกจ้างส่วนภูมิภาค 110 คน จ่ายตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. โดยจ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค ทั้งนี้กระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานได้เตรียมความพร้อมโดยหาตำแหน่งว่างประเภทเดียวกับตำแหน่งที่มีในบริษัท ไอทีวี จำกัดเพื่อรองรับลูกจ้างบริษัทไอทีวี ไว้แล้ว
**อสส.พร้อมประสานดำเนินคดีกับไอทีวี
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง โฆษกอัยการสูงสุด กล่าวถึงการดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายกับบริษัทไอทีวีและผู้บริหาร ว่า ทางอัยการสูงสุด พร้อมดำเนินการทุกเมื่อหากได้รับการประสานจากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอให้บอกมาว่าจะให้ทำอะไร โดยเบื้องเรื่องที่ สปน.ส่งมาที่อัยการก่อนหน้านี้คือเรื่อง หนี้สินตามสัญญา และเรื่องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องจำนวนหนี้สินที่คำนวน เพราะการคิดค่าเสียหายมันเกิดขึ้นต่อเนื่อง และเพื่อความชัดเจน ส่วนเรื่องการดำเนินคดีกับผู้บริหารไอทีวีนั้น ยังไม่มีการส่งมาจาก สปน.
แหล่งข่าวจากคณะสื่อมวลชนที่เข้าพบคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะสื่อฯที่เข้าพบเป็นตัวแทนจากสมาคมวิชาชีพสื่อต่างๆที่ได้รับการทาบทามให้เป็นผู้นำเสนอความเห็นในการบริหารสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ทั้งนี้คุณหญิงทิพาวดีได้ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการจากตัวแทนวิชาชีพสื่อมวลชนต่างๆเพื่อเป็นผู้รับฟังความคิดเห็นจากสื่อมวลชนทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามมีการเสนอความเห็นอย่างกว้างขวาง โดยคณะกรรมการที่จะบริหารสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีจะต้องไม่ใช่คนของกรมประชาสัมพันธ์หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
รายงานข่าวแจงว่าสำหรับตัวแทนสื่อฯ ที่เข้าร่วมหารือกับคุณหญิงทิพาวดีในครั้งนี้ประกอบด้วย นายก่อเขต จันทรเลิศลักษณ์ บรรณาธิการเครือเดอะเนชั่น นายประสาน หวังรัตนะปราณี นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ เป็นต้น
วานนี้(13มี.ค.) คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการบริหารสถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวี ว่า สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)ได้รายงานให้ ครม.ทราบถึงการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง โดยศาลมีคำพิพากษาว่า ในฐานะที่สปน.มีหน้าที่โดยตรงในการจัดให้มีบริการสาธารณะทางด้านกิจการวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ จึงให้ดำเนินการให้บริการสาธารณะดังกล่าวดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยจะดำเนินการหรือมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนในนามของตนเองก็ได้ ดังแต่จะเห็นสมควร ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า วันนี้ได้รายงานการดำเนินงานตามคำพิพากษาโดยแจ้งว่า ขั้นตอนต่อไปในส่วนของกฎหมาย ได้มอบให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ส่วนเรื่องการจัดรูปแบบองค์กร เพื่อรองรับการบริหารจัดการตามที่ศาลมีคำพิพากษา สปน.ได้มอบให้กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยว่า สามารถเข้าไปดำเนินการได้ ฉะนั้น ขั้นตอนต่อไปจะนำเสนอเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)ซึ่งเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ.2548 ในอันที่จะจัดให้มีหน่วยบริการรูปแบบพิเศษเป็นการเฉพาะคราว เพื่อรองรับการดำเนินการตามคำพิพากษาได้ต่อไป ซึ่งทาง ก.พ.ร.จะประชุมกันในวันที่ 14 มี.ค.นี้ เวลา 14.00 น.
ส่วนระยะเวลา 1 เดือน เป็นไปตามมติเดิมที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนและคณะไปพิจารณารับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวางที่สุด เพื่อนำมาประมวลจัดรูปแบบองค์กรการบริหารสถานีวิทยุระบบยูเอชเอฟต่อไป สำหรับตนจะยึดตามเจตนารมณ์ของการมีคลื่นที่จะให้เป็นบริการสาธารณะด้านการข่าว ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามถึงการดำเนินคดีเรียกเงินค่าปรับแสนล้านบาท จากอดีตผู้บริหารไอทีวี คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่อัยการและนักกฎหมายจะเป็นผู้ดำเนินการ โดยจะดำเนินการแบบคู่ขนานไปพร้อมๆ กัน เพราะอัยการสูงสุด มีทีมงานอยู่แล้ว เรื่องนี้เป็นรายละเอียดข้อกฎหมาย ซึ่งตนจะไม่ขอลงในรายละเอียดทางสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนการดำเนินการตั้งหน่วยงานบริการพิเศษเฉพาะกิจเป็นเรื่องที่ สปน.ดำเนินการส่งไปยัง ก.พ.ร.
เมื่อถามถึงกรณีที่ภาคประชาชนยื่นคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตรวจสอบรัฐบาลที่เข้าไปอุ้มพนักงานไอทีวี คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ยินดีที่จะให้ข้อเท็จจริงหากถูกเรียกไปชี้แจง เมื่อถามว่า ยืนยันว่า การดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายใช่หรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า การดำเนินการทุกขั้นตอนมีนักกฎหมายของรัฐ ทั้งจากสำนักงานอัยการสูงสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้อำนวยการกองกฎหมาย ฉะนั้น ขั้นตอนการดำเนินงานที่รัฐบาลดำเนินการได้ดูละเอียด รอบคอบตามขั้นตอนกฎหมายทุกประการ เราทำงานกันเป็นทีม มีคณะกรรมการด้านกฎหมาย ด้านการเงินและการบริหาร มีถึง 5 คณะ ในการดำเนินการ ยืนยันว่าทำงานอย่างเป็นระบบ และมีการวางแผนอย่างเป็นระเบียบ
เมื่อถามว่าระหว่างนี้จะให้เป็นการบริหารแบบใด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนได้อ่านคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ดังนั้น ตามคำพิพากษาดังกล่าวถือเป็นหน้าที่ของ สปน.ที่จะต้องดำเนินการให้บริการสาธารณะ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ดังนั้น ระหว่างนี้ถือเป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง
"เท่ากับว่าศาลปกครองได้สั่งการ มีคำพิพากษาให้ สปน.ดำเนินการ อันนี้ได้รับการคุ้มครองตามคำพิพากษานี้อยู่แล้ว ส่วนเรื่องการฟ้อง เป็นการดำเนินการตามข้อกฎหมาย เรามีคณะทำงานด้านกฎหมายอยู่ ถ้าอยากจะสัมภาษณ์เขา เดี๋ยวจะจัดให้ ดิฉันจะพูดแต่เรื่องนโยบายเท่านั้น" คุณหญิงทิพาวดี กล่าว พร้อมกับหมุนตัวหนีคำถามผู้สื่อข่าวที่ยังคงสงสัยอีกหลายประเด็น
เมื่อถามว่า เรื่องงบประมาณการดำเนินการคุณหญิงทิพาวดี หันกลับมาชี้แจงว่า ไม่มี ยืนยันไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการในชั้นนี้ เป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ที่พิพากษาให้ สปน.ดำเนินการให้มีการบริหารสาธารณะด้านกิจการวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟต่อไปอย่างต่อเนื่อง เรื่องงบประมาณเวลานี้ใช้ลักษณะเครดิต (ตอบแบบอ้ำอึ้ง)พร้อมกับอ้างคำพิพากษาศาลปกครองกลางในการเข้าไปดำเนินการ โดยยืนยันว่า การดำเนินการเป็นการชั่วคราว สำหรับรัฐบาลมองว่าภายใน 1 เดือนนี้ จะมีความชัดเจนที่สุด เรามอบให้สำนักงานสถิติดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนด้วย โดยจะฟังข้อคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตาม เจตนารมย์ของการมีคลื่นนี้ กำหนดไว้ว่าเพื่อให้ทางเลือกแก่ประชาชนสำหรับเป็นข่าวสาธารณะ ดังนั้น ตนจะยึดตามแนวทางเจตนารมณ์ของคลื่นนี้
**ครม.ไม่ถกผิดข้อกฎหมาย-ยกเว้นระเบียบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่คุณหญิงทิพาวดี แถลงข่าว ผู้สื่อข่าวได้พยายามซักถามถึงแนวทางการบริหารงานทีไอทีวี งบประมาณ และข้อกฎหมาย แต่คุณหญิงทิพาวดี ไม่ขอชี้แจงรายละเอียด อ้างขอแจงแค่นโยบาย และทุกคำถามจะได้รับคำตอบว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองกลาง
ทั้งนี้คุณหญิงทิพาวดี กล่าวก่อนหน้านี้ว่า จะนำเรื่องประเด็นต่างๆเข้าสู่การประชุมครม.วันอังคารที่ 13 หลายเรื่องเช่น ปัญหาในข้อกฎหมาย ไม่ขอดำเนินการตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง การว่าจ้างพนักงานเดิมของไอทีวี การตรวจนับทรัพย์สิน รวมทั้งคำท้วงติงจากทั้งสื่อ ประชาชน และนักวิชาการ เรื่องการฟ้องร้องและการบริหารจัดการ รวมทั้งกระบวนการค่าปรับ 1 แสนล้านบาทด้วย ทั้งหมดไม่ได้นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม.
**ศาลปกครองชี้ไม่ถูกต้องก็ฟ้องได้
ก่อนหน้านี้ นายอักขราทร จุฬารัตน์ ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวถึงกรณีศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ให้สามารถออกอากาศได้ต่อไป ว่า คำสั่งให้มีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่องนั้น ศาลไม่ได้บอกว่า คำว่า “ต่อเนื่อง” นั้นให้ทำอย่างไร หรือมอบให้ใครทำ ตรงนั้นเป็นเรื่องของเจ้าของคลื่นต้องไปพิจารณา คือ สำนักงานสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)ว่าต้องทำอย่างไร โดยวิธีการจะถูกหรือไม่ ศาลไม่เกี่ยว เพราะตรงนั้นก็ยังเป็นปัญหาที่จะต้องไปถกเถียงกันว่า สัญญาที่ถูกเป็นอย่างไร และอะไรที่ไม่ถูก โดยการดำเนินการของสปน.นับจากนี้ หากมีการใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องก็สามารถถูกฟ้องร้องดำเนินการได้
นายอักขราทร กล่าวด้วยว่า แม้กฤษฏีกาจะวินิจฉัยว่ากรมประชาสัมพันธ์สามารถเข้าไปบริหารไอทีวีได้ และนายกฯจะให้มีการแพร่ภาพอย่างต่อเนื่องไม่ให้หยุดชะงัก ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องของพนักงานของไอทีวี ที่ให้มีการเพิกถอนมติครม.ที่สั่งไอทีวีระงับการออกอากาศเป็นการชั่วคราว โดยเนื้อคดีหลักศาลก็ต้องมาพิจารณา ไม่ใช่ว่าพอสั่งให้มีการเปิดดำเนินการแล้ว คดีที่ฟ้องอยู่ก็เป็นอันจบไป เพราะเป็นเรื่องของคดีความที่จะมาฮั้วกันไม่ได้
**อธิบดีกรมกร๊วกโยนทิพาวดีชี้แจง
ด้านนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวถึงกรณีที่สมัชชาประชาชนภาคอีสาน ยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ที่เข้าไปดำเนินการทีไอทีวี ต่อคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นคนแถลงข่าว ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าอะไร ยังคงดำเนินการต่อไปและจะแจ้งผู้บังคับบัญชาอีกครั้ง โดยยืนยันว่า ทำหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ระเบียบข้าราชการ ในฐานะเจ้าพนักงานทุกประการ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ขอให้คุณหญิงทิพาวดี เป็นผู้ชี้แจง
เมื่อถามว่า การบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ที่อาจจะไม่ต้องส่งรายได้ให้แก่รัฐ เป็นอย่างไร นายปราโมช กล่าวว่า เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติ ต้องศึกษาขั้นตอนรายละเอียดอีกครั้ง ขณะนี้กำลังดำเนินการ ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ เพราะต้องรอมติที่ประชุม พิจารณาด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการต่างๆ มีนักวิชาการ นักกฎหมายมาช่วยศึกษา ขณะนี้ยืนยันว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ไม่ใช่ของรัฐ และไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณสนับสนุนใดๆ ทั้งสิ้น และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นดำเนินด้านสัญญาการหน้าที่ของตนนั้นเพียงแค่ปฏิบัติ ส่วนการสรรหาคณะกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เป็นหน้าที่ของ คุณหญิงทิพาวดี เป็นผู้พิจารณา
อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า กรณี พีทีวี แกนนำพรรคไทยรักไทยเข้าแจ้งความกับกองปราบปราม ร้องทุกข์กล่าวโทษ นายธีรภัทร เสรีรังสรรค์ รับมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และตน จะมีการฟ้องร้องกลับอย่างแน่นอน
**สุรยุทธระบุมาถูกทาง
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม.แจ้งว่า คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานต่อที่ประชุมในวาระเพื่อทราบถึงการคำสั่งของศาลปกครองกลางให้สถานทีโทรทัศน์ไอทีวีออกอากาศต่อไป โดยให้ยึดหลักผลประโยชน์ของสาธารณะ ทั้งนี้คุณหญิงทิพาวดียังได้แจกคำสั่งของศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งคุ้มครองฯ ให้กับรัฐมนตรีทุกคนได้นำไปศึกษาอีกด้วย
จากนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ ได้กล่าวว่า สิ่งที่คุณหญิงทิพาวดีรายงานนั้นถือเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ซึ่งถือว่า เป็นการดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้นเมื่อมีการส่งคืนทรัพย์สินแล้วคาดว่าจะมีการรายงานต่อ ครม.เพื่อฟ้องร้องอีกครั้ง เมื่อนั้นเราก็จะยื่นฟ้องดำเนินการต่อไป
แหล่งข่าวอีกว่า หลังจากที่ได้รับทราบมติที่คุณหญิงทิพาวดีรายงานแล้ว ที่ประชุมได้หยิบยกวาระเพื่อทราบจรของกระทรวงแรงงานมาสอบถาม โดยเฉพาะเรื่องที่จะรับสมัครพนักงานไอทีวีเดิมเข้ามาเป็นพนักงานของทีไอทีวีได้อย่างไร รวมทั้งนโยบายการบริหารจัดการสถานีทีไอทีวี โดยคุณหญิงทิพาวดี นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัด สปน.และนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับปากที่จะนำข้อเสนอที่จะให้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อให้เข้ามาบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เข้าสู่การหารือเพื่อหาข้อสรุปในการประชุมของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ที่จะมีการประชุมขึ้นในวันนี้ (14 มี.ค.)
ทั้งนี้นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังได้ทำหนังสือด่วนที่สุดเลขที่รง 0507/766 เพื่อรายงานต่อที่ประชุมครม.ในวาระทราบจรถึงค่าการชดเชยภายหลังที่เอกชนเลิกจ้างพนักงานมีใจความว่า หลังจากที่ สปน.ยกเลิกสัญญาสัมปทาน กรณีที่ บมจ.ไอทีวีไม่สามารถชำระหนี้ได้ภายในวันที่ 6 มี.ค.นั้น กระทรวงแรงงานได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด คือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานประกันสังคม กรมการจัดหางาน เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือลูกจ้าง บมจ.ไอทีวี ตามอำนาจหน้าที่
หนังสือยังระบุอีกว่า โดยหน่วยงานเหล่านี้ได้หารือเกี่ยวกับการปิดกิจการและการเลิกจ้างเพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และได้แจ้งให้ บมจ.ไอทีวีทราบว่า หากปิดกิจการในวันที่ 7 มี.ค.50 นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค.-20 เม.ย.50 ค่าจ้างค้างจ่ายระหว่างวันที่ 1-7 มี.ค.ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่คงเหลือ และเงินอื่น ๆ เช่นพิธีกร ค่าเสี่ยงภัย ค่ายานพาหนะ เป็นต้น ทั้งนี้ขอให้ บมจ.ไอทีวี พิจารณาจ่ายเงินให้ลูกจ้างภายในวันที่ 9 มี.ค.50 นี้
โดยหนังสือระบุว่า บมจ.ไอทีวี ได้กำหนดจ่ายสิทธิประโยชน์ให้ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 เป็นเงิน 220 ล้านบาท มีกำหนดให้ลูกจ้างส่วนกลางจำนวน 900 คน ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค.และลูกจ้างส่วนภูมิภาค 110 คน จ่ายตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. โดยจ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค ทั้งนี้กระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานได้เตรียมความพร้อมโดยหาตำแหน่งว่างประเภทเดียวกับตำแหน่งที่มีในบริษัท ไอทีวี จำกัดเพื่อรองรับลูกจ้างบริษัทไอทีวี ไว้แล้ว
**อสส.พร้อมประสานดำเนินคดีกับไอทีวี
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง โฆษกอัยการสูงสุด กล่าวถึงการดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายกับบริษัทไอทีวีและผู้บริหาร ว่า ทางอัยการสูงสุด พร้อมดำเนินการทุกเมื่อหากได้รับการประสานจากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอให้บอกมาว่าจะให้ทำอะไร โดยเบื้องเรื่องที่ สปน.ส่งมาที่อัยการก่อนหน้านี้คือเรื่อง หนี้สินตามสัญญา และเรื่องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องจำนวนหนี้สินที่คำนวน เพราะการคิดค่าเสียหายมันเกิดขึ้นต่อเนื่อง และเพื่อความชัดเจน ส่วนเรื่องการดำเนินคดีกับผู้บริหารไอทีวีนั้น ยังไม่มีการส่งมาจาก สปน.
แหล่งข่าวจากคณะสื่อมวลชนที่เข้าพบคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะสื่อฯที่เข้าพบเป็นตัวแทนจากสมาคมวิชาชีพสื่อต่างๆที่ได้รับการทาบทามให้เป็นผู้นำเสนอความเห็นในการบริหารสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ทั้งนี้คุณหญิงทิพาวดีได้ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการจากตัวแทนวิชาชีพสื่อมวลชนต่างๆเพื่อเป็นผู้รับฟังความคิดเห็นจากสื่อมวลชนทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามมีการเสนอความเห็นอย่างกว้างขวาง โดยคณะกรรมการที่จะบริหารสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีจะต้องไม่ใช่คนของกรมประชาสัมพันธ์หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
รายงานข่าวแจงว่าสำหรับตัวแทนสื่อฯ ที่เข้าร่วมหารือกับคุณหญิงทิพาวดีในครั้งนี้ประกอบด้วย นายก่อเขต จันทรเลิศลักษณ์ บรรณาธิการเครือเดอะเนชั่น นายประสาน หวังรัตนะปราณี นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ เป็นต้น