โซมาเลียประเทศที่เผชิญสงครามกลางเมืองและการไร้ซึ่งรัฐบาลปกครองมาเป็นเวลาถึง 15 ปี (1991-ปัจจุบัน) ต้องกลายเป็นสมรภูมิให้ประเทศจากภายนอกเข้ามาแทรกแซงและแสวงหาผลประโยชน์ ทำให้สันติภาพ และความมั่นคงในขณะนี้เสมือนตกอยู่ภายในกำมือของต่างชาติ อนาคตของโซมาเลียจึงดูมืดมนและไร้ซึ่งทางออก
กลางปี 2006 สหภาพแห่งศาลอิสลาม (Union of Islam Courts-UIC) สามารถเอาชนะกลุ่มกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่างๆ จนสามารถเข้ายึดครองเมืองหลวงคือ โมกาดิชู (Mogadishu) ได้สำเร็จ หลังจากนั้น UIC จึงได้ขยายอำนาจออกไปทางตอนใต้และตอนกลางจนประชิดชายแดนเอธิโอเปีย นับเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ที่มีกลุ่มพลังอำนาจซึ่งแข็งแกร่งจนสามารถรวบอำนาจการปกครองไว้ได้เกินกว่าพื้นที่กึ่งหนึ่งของประเทศ ประชาชนเริ่มมองเห็นความหวังแห่งความสงบสุขและสันติภาพกลับคืนสู่ประเทศอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การก้าวขึ้นมามีอำนาจของ UIC ในครั้งนี้ กลับสร้างความหวาดวิตกให้แก่ประเทศภายนอกหลายๆ ประเทศด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ และเอธิโอเปีย ความตึงเครียดในบริเวณ “นอของแอฟริกา” (Horn of Africa) ได้เพิ่มมากขึ้น เมื่อ UIC ประกาศใช้กฎหมายอิสลาม (Sharia) เข้าควบคุมและจัดระเบียบทางสังคมอย่างเคร่งครัดเมื่อปลายปี 2006 ถึงขนาดมีการสั่งห้ามซื้อขายและบริโภค “คอต” (Khat) ที่ชาวโซมาเลียนิยมเคี้ยวกินกันแพร่หลาย (แต่สหประชาชาติประกาศให้เป็นพืชที่มีสารเสพติด) หรือการห้ามดูฟุตบอล หรือห้ามดูภาพยนตร์ในที่สาธารณะ เป็นต้น
สหรัฐฯ เริ่มจับตามองสถานการณ์ในโซมาเลียอย่างใกล้ชิดหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 เนื่องจากเกรงว่า สภาพไร้รัฐบาลปกครองประเทศของโซมาเลีย ที่ไม่มีแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลรักษาความปลอดภัย จะทำให้โซมาเลียกลายเป็นสถานที่หลบซ่อนตัวอย่างดีสำหรับวางแผนการโจมตีของสมาชิกกลุ่มการก่อการร้ายอัลเคดา สหรัฐฯ กล่าวหาว่า สมาชิกของ UIC มีสายสัมพันธ์ และให้ที่พักพิงแก่สมาชิกอัลเคดาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบวางระเบิดสถานทูตสหรัฐฯ ที่ประเทศเคนย่า และแทนซาเนียเมื่อปี 1998 และการวางระเบิดโรงแรมแห่งหนึ่งในเคนย่า รวมถึงการโจมตีเครื่องบินพาณิชย์ในประเทศเคนย่าในปี 2002 อีกด้วย ดังนั้นหากปล่อยให้ UIC ขึ้นครองอำนาจ UIC ก็อาจเปลี่ยนโซมาเลียให้เป็นรัฐอิสลามเช่นเดียวกับรัฐบาลตอลิบันที่เคยปกครองอัฟกานิสถาน และ UIC อาจจะยินยอมให้สมาชิกอัลกออิดะห์เข้ามาใช้โซมาเลียเป็นฐานที่มั่นในการส่งออกการก่อการร้ายออกไปทั่วโลก สหรัฐฯ จึงตัดสินใจให้การรับรองและสนับสนุนรัฐบาลกลางเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transitional Federal Government-TFG) ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่างๆ ก่อตั้งขึ้นในปี 2004 และร่วมมือกับเอธิโอเปียในการส่งกำลังทหารเข้ามาช่วย TFG โค่นอำนาจของ UIC รวมทั้งปฏิบัติการไล่ล่าสมาชิกอัลกออิดะห์ที่หลบซ่อนอยู่ในโซมาเลีย
เอธิโอเปียให้การสนับสนุนแก่ TFG ทั้งกำลังทหารและกำลังอาวุธอย่างลับๆ ในการทำสงคราม แย่งชิงอำนาจในโซมาเลียตั้งแต่แรกตั้ง TFG เมื่อ UIC ได้ครองอำนาจในโซมาเลีย ในช่วงแรกเอธิโอเปียพยายามผลักดันให้มีการเจรจาระหว่าง UIC และ TFG แต่ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ UIC ประกาศกร้าวว่าจะต่อต้านการเข้ามาแทรกแซงของกองกำลังต่างชาติ แม้ว่าจะเป็นกองกำลังขององค์การระหว่างประเทศก็ตาม พร้อมกันนี้ ยังได้ขู่ทำสงครามศาสนา (Jihad) กับเอธิโอเปียอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น UIC ยังได้กล่าวถึงแผนการรวบรวมดินแดนที่มีประชาชนที่พูดภาษาโซมาเลีย ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ของประเทศเอธิโอเปีย (จังหวัดโอกาเดน) เคนย่า และจิบูตี รวมถึงพรุนท์แลนด์และโซมาลิแลนด์ (ที่ประกาศตัวเป็นเอกราชหลังเกิดความวุ่นวายในโซมาเลียในปี 1991) กลับคืนเข้ามาอยู่ใน “โซมาเลียอันยิ่งใหญ่” อีกครั้งหลังจากที่ถูกเจ้าอาณานิคมตะวันตกปล้นไปอย่างไม่เป็นธรรมในอดีต
การประกาศท่าทีที่คุกคามของ UIC ต่อเอธิโอเปียดังกล่าว เมื่อมาประกอบกับปัญหาภายในของเอธิโอเปียที่มีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนคอยท้าทายอำนาจของรัฐบาลอยู่หลายกลุ่ม กลุ่มเหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือจาก UIC ในการส่งผ่านอาวุธที่มาจากเอริเทียเพื่อบ่อนทำลายความมั่นคงของเอธิโอเปีย นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างเอธิโอเปียกับเพื่อนบ้านทางตอนเหนือคือ เอริเทีย อันสืบเนื่องมาจากปัญหาพรมแดน ทำให้ทั้งสองประเทศพร้อมจะทำสงครามต่อกันได้ทุกขณะ เอริเทียได้ใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ในโซมาเลียทำ “สงครามตัวแทน” (proxy war) กับเอธิโอเปีย โดยให้การสนับสนุนด้านกำลังทหารและอาวุธแก่ UIC ให้เข้าต่อสู้ช่วงชิงอำนาจการปกครองกับกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ TFG ที่เอธิโอเปียให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ถ้าหาก UIC สามารถกุมอำนาจในโซมาเลียได้สำเร็จ เอธิโอเปียก็ต้องเผชิญกับศึกทั้งสองด้านคือ โซมาเลีย และเอริเทีย
เมื่อ UIC ปฏิบัติการโจมตีฐานที่มั่นของ TFG ที่ไบโดอา (Baidoa) เอธิโอเปียตัดสินใจส่งกองบินและกำลังทหารเข้ามาช่วย TFG จนสามารถรักษาเมืองไบโดกาเอาไว้ได้ นับเป็นครั้งแรกที่เอธิโอเปียเปิดเผยการสนับสนุนด้านกองกำลังแก่ TFG เป็นทางการต่อหน้าประชาคมโลก หลังจากนั้นเอธิโอเปีย (โดยมีสหรัฐฯ ให้การสนับสนุน) จึงเปิดฉากรบกับ UIC ทำให้สถานการณ์ในโซมาเลียกลับคืนสู่สภาวการณ์นองเลือดอีกครั้ง และในที่สุด UIC ต้องแตกแพ้พ่ายไป TFG เข้ายึดครองโมกาดิชูได้เป็นผลสำเร็จ และประกาศให้โมกาดิชูเป็นที่ทำการของรัฐบาลแทนไบโดกา
อนาคตของโซมาเลียในขณะนี้ยังไม่รู้ว่าจะหันเหไปในทิศทางใดหากเอธิโอเปียถอนทหารออกไป เนื่องจากว่า TFG นั้นอ่อนแอเกินกว่าจะไปสู้รบ หรือควบคุมกลุ่มใดๆ ได้หากไม่มีกองกำลังของเอธิโอเปียคอยหนุนหลัง ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ประชาชนชาวโซมาเลียไม่ให้การยอมรับในตัวองค์กรและบุคคลของ TFG ชาวโซมาเลียส่วนใหญ่มองว่า TFG ขาดความชอบธรรมในการเข้าปกครองโซมาเลีย เพราะเป็นเพียงเครื่องมือของเอธิโอเปียที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในโซมาเลียเท่านั้น
หลายฝ่ายเกรงกันว่าโซมาเลียจะกลับคืนสู่สภาพไร้รัฐบาล หรือสภาพอนาธิปไตย (anarchy) เหมือนเช่นที่เคยเป็นมาอีกครั้ง องค์การระหว่างประเทศที่จะเข้าไปฟื้นฟูความหวัง สันติภาพและความมั่นคงในโซมาเลีย จึงเป็นความหวังและตัวแปรสำคัญที่จะช่วยประสานความขัดแย้งของกองกำลังติดอาวุธกลุ่มต่างๆ ให้หันหน้าเข้ามาร่วมกันเจรจาหาทางออกให้กับโซมาเลีย
มีรายงานจากสำนักงานใหญ่ของสหภาพแอฟริกา (African Union) ที่กรุงแอสดิส อาบาบา ประเทศเอธิโอเปียว่า ในวันที่ 21 มกราคม 2007 สหภาพแอฟริกาลงมติเห็นชอบแผนการส่งกองกำลังรักษาความสงบของแอฟริกาไปยังโซมาเลีย คณะดังกล่าวจะปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นจะส่งผ่านความรับผิดชอบให้อยู่ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ (United Nations) พร้อมกันนี้ สหภาพยุโรป (European Union) ประกาศส่งเงินมาช่วยสนับสนุนภารกิจดังกล่าวถึง 15 ล้านยูโร กองกำลังรักษาความสงบฯ จะเข้าไปช่วย TFG จัดตั้งสถาบันที่จำเป็นต่อการรักษาเสถียรภาพและความมั่นคง รวมทั้งจัดการเจรจาที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต
คำถามคือ กองกำลังรักษาสันติภาพดังกล่าวจะมาจากไหน เพราะประเทศที่จะเข้าร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพในครั้งนี้ ควรจะมาจากประเทศที่เป็นกลาง คือไม่มีผลประโยชน์ใดๆ เกี่ยวข้องหรือแอบแฝงกับความขัดแย้งที่เกิดในโซมาเลียอย่างสิ้นเชิง เอธิโอเปีย เคนย่า เอริเทีย และจิบูตี คงหมดสิทธิ์เข้ามาร่วมในกองกำลังดังกล่าว ส่วนประเทศที่มีศักยภาพพอที่จะส่งกองกำลังมาร่วมได้ เช่น แทนซาเนีย ไนจีเรีย รวันดา และแอฟริกาใต้ ยังไม่แสดงท่าทีใดๆ ออกมา เพียงแต่กล่าวว่าขอพิจารณาดูก่อน ขณะนี้มีเพียงอูกันดาประเทศเดียวที่ประกาศเข้าร่วม และพร้อมส่งกำลังมาได้ในทันที
อีกคำถามหนึ่ง คือ หาก TFG เข้าปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ และกองกำลังสันติภาพถอนตัวออกไป เมื่อถึงเวลานั้น TFG จะมีความสามารถเพียงพอที่จะรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศให้คงอยู่ได้ตลอดไปหรือไม่
หมายเหตุ: ผู้สนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Website: http://www.thaiworld.org
กลางปี 2006 สหภาพแห่งศาลอิสลาม (Union of Islam Courts-UIC) สามารถเอาชนะกลุ่มกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่างๆ จนสามารถเข้ายึดครองเมืองหลวงคือ โมกาดิชู (Mogadishu) ได้สำเร็จ หลังจากนั้น UIC จึงได้ขยายอำนาจออกไปทางตอนใต้และตอนกลางจนประชิดชายแดนเอธิโอเปีย นับเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ที่มีกลุ่มพลังอำนาจซึ่งแข็งแกร่งจนสามารถรวบอำนาจการปกครองไว้ได้เกินกว่าพื้นที่กึ่งหนึ่งของประเทศ ประชาชนเริ่มมองเห็นความหวังแห่งความสงบสุขและสันติภาพกลับคืนสู่ประเทศอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การก้าวขึ้นมามีอำนาจของ UIC ในครั้งนี้ กลับสร้างความหวาดวิตกให้แก่ประเทศภายนอกหลายๆ ประเทศด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ และเอธิโอเปีย ความตึงเครียดในบริเวณ “นอของแอฟริกา” (Horn of Africa) ได้เพิ่มมากขึ้น เมื่อ UIC ประกาศใช้กฎหมายอิสลาม (Sharia) เข้าควบคุมและจัดระเบียบทางสังคมอย่างเคร่งครัดเมื่อปลายปี 2006 ถึงขนาดมีการสั่งห้ามซื้อขายและบริโภค “คอต” (Khat) ที่ชาวโซมาเลียนิยมเคี้ยวกินกันแพร่หลาย (แต่สหประชาชาติประกาศให้เป็นพืชที่มีสารเสพติด) หรือการห้ามดูฟุตบอล หรือห้ามดูภาพยนตร์ในที่สาธารณะ เป็นต้น
สหรัฐฯ เริ่มจับตามองสถานการณ์ในโซมาเลียอย่างใกล้ชิดหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 เนื่องจากเกรงว่า สภาพไร้รัฐบาลปกครองประเทศของโซมาเลีย ที่ไม่มีแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลรักษาความปลอดภัย จะทำให้โซมาเลียกลายเป็นสถานที่หลบซ่อนตัวอย่างดีสำหรับวางแผนการโจมตีของสมาชิกกลุ่มการก่อการร้ายอัลเคดา สหรัฐฯ กล่าวหาว่า สมาชิกของ UIC มีสายสัมพันธ์ และให้ที่พักพิงแก่สมาชิกอัลเคดาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบวางระเบิดสถานทูตสหรัฐฯ ที่ประเทศเคนย่า และแทนซาเนียเมื่อปี 1998 และการวางระเบิดโรงแรมแห่งหนึ่งในเคนย่า รวมถึงการโจมตีเครื่องบินพาณิชย์ในประเทศเคนย่าในปี 2002 อีกด้วย ดังนั้นหากปล่อยให้ UIC ขึ้นครองอำนาจ UIC ก็อาจเปลี่ยนโซมาเลียให้เป็นรัฐอิสลามเช่นเดียวกับรัฐบาลตอลิบันที่เคยปกครองอัฟกานิสถาน และ UIC อาจจะยินยอมให้สมาชิกอัลกออิดะห์เข้ามาใช้โซมาเลียเป็นฐานที่มั่นในการส่งออกการก่อการร้ายออกไปทั่วโลก สหรัฐฯ จึงตัดสินใจให้การรับรองและสนับสนุนรัฐบาลกลางเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transitional Federal Government-TFG) ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่างๆ ก่อตั้งขึ้นในปี 2004 และร่วมมือกับเอธิโอเปียในการส่งกำลังทหารเข้ามาช่วย TFG โค่นอำนาจของ UIC รวมทั้งปฏิบัติการไล่ล่าสมาชิกอัลกออิดะห์ที่หลบซ่อนอยู่ในโซมาเลีย
เอธิโอเปียให้การสนับสนุนแก่ TFG ทั้งกำลังทหารและกำลังอาวุธอย่างลับๆ ในการทำสงคราม แย่งชิงอำนาจในโซมาเลียตั้งแต่แรกตั้ง TFG เมื่อ UIC ได้ครองอำนาจในโซมาเลีย ในช่วงแรกเอธิโอเปียพยายามผลักดันให้มีการเจรจาระหว่าง UIC และ TFG แต่ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ UIC ประกาศกร้าวว่าจะต่อต้านการเข้ามาแทรกแซงของกองกำลังต่างชาติ แม้ว่าจะเป็นกองกำลังขององค์การระหว่างประเทศก็ตาม พร้อมกันนี้ ยังได้ขู่ทำสงครามศาสนา (Jihad) กับเอธิโอเปียอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น UIC ยังได้กล่าวถึงแผนการรวบรวมดินแดนที่มีประชาชนที่พูดภาษาโซมาเลีย ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ของประเทศเอธิโอเปีย (จังหวัดโอกาเดน) เคนย่า และจิบูตี รวมถึงพรุนท์แลนด์และโซมาลิแลนด์ (ที่ประกาศตัวเป็นเอกราชหลังเกิดความวุ่นวายในโซมาเลียในปี 1991) กลับคืนเข้ามาอยู่ใน “โซมาเลียอันยิ่งใหญ่” อีกครั้งหลังจากที่ถูกเจ้าอาณานิคมตะวันตกปล้นไปอย่างไม่เป็นธรรมในอดีต
การประกาศท่าทีที่คุกคามของ UIC ต่อเอธิโอเปียดังกล่าว เมื่อมาประกอบกับปัญหาภายในของเอธิโอเปียที่มีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนคอยท้าทายอำนาจของรัฐบาลอยู่หลายกลุ่ม กลุ่มเหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือจาก UIC ในการส่งผ่านอาวุธที่มาจากเอริเทียเพื่อบ่อนทำลายความมั่นคงของเอธิโอเปีย นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างเอธิโอเปียกับเพื่อนบ้านทางตอนเหนือคือ เอริเทีย อันสืบเนื่องมาจากปัญหาพรมแดน ทำให้ทั้งสองประเทศพร้อมจะทำสงครามต่อกันได้ทุกขณะ เอริเทียได้ใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ในโซมาเลียทำ “สงครามตัวแทน” (proxy war) กับเอธิโอเปีย โดยให้การสนับสนุนด้านกำลังทหารและอาวุธแก่ UIC ให้เข้าต่อสู้ช่วงชิงอำนาจการปกครองกับกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ TFG ที่เอธิโอเปียให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ถ้าหาก UIC สามารถกุมอำนาจในโซมาเลียได้สำเร็จ เอธิโอเปียก็ต้องเผชิญกับศึกทั้งสองด้านคือ โซมาเลีย และเอริเทีย
เมื่อ UIC ปฏิบัติการโจมตีฐานที่มั่นของ TFG ที่ไบโดอา (Baidoa) เอธิโอเปียตัดสินใจส่งกองบินและกำลังทหารเข้ามาช่วย TFG จนสามารถรักษาเมืองไบโดกาเอาไว้ได้ นับเป็นครั้งแรกที่เอธิโอเปียเปิดเผยการสนับสนุนด้านกองกำลังแก่ TFG เป็นทางการต่อหน้าประชาคมโลก หลังจากนั้นเอธิโอเปีย (โดยมีสหรัฐฯ ให้การสนับสนุน) จึงเปิดฉากรบกับ UIC ทำให้สถานการณ์ในโซมาเลียกลับคืนสู่สภาวการณ์นองเลือดอีกครั้ง และในที่สุด UIC ต้องแตกแพ้พ่ายไป TFG เข้ายึดครองโมกาดิชูได้เป็นผลสำเร็จ และประกาศให้โมกาดิชูเป็นที่ทำการของรัฐบาลแทนไบโดกา
อนาคตของโซมาเลียในขณะนี้ยังไม่รู้ว่าจะหันเหไปในทิศทางใดหากเอธิโอเปียถอนทหารออกไป เนื่องจากว่า TFG นั้นอ่อนแอเกินกว่าจะไปสู้รบ หรือควบคุมกลุ่มใดๆ ได้หากไม่มีกองกำลังของเอธิโอเปียคอยหนุนหลัง ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ประชาชนชาวโซมาเลียไม่ให้การยอมรับในตัวองค์กรและบุคคลของ TFG ชาวโซมาเลียส่วนใหญ่มองว่า TFG ขาดความชอบธรรมในการเข้าปกครองโซมาเลีย เพราะเป็นเพียงเครื่องมือของเอธิโอเปียที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในโซมาเลียเท่านั้น
หลายฝ่ายเกรงกันว่าโซมาเลียจะกลับคืนสู่สภาพไร้รัฐบาล หรือสภาพอนาธิปไตย (anarchy) เหมือนเช่นที่เคยเป็นมาอีกครั้ง องค์การระหว่างประเทศที่จะเข้าไปฟื้นฟูความหวัง สันติภาพและความมั่นคงในโซมาเลีย จึงเป็นความหวังและตัวแปรสำคัญที่จะช่วยประสานความขัดแย้งของกองกำลังติดอาวุธกลุ่มต่างๆ ให้หันหน้าเข้ามาร่วมกันเจรจาหาทางออกให้กับโซมาเลีย
มีรายงานจากสำนักงานใหญ่ของสหภาพแอฟริกา (African Union) ที่กรุงแอสดิส อาบาบา ประเทศเอธิโอเปียว่า ในวันที่ 21 มกราคม 2007 สหภาพแอฟริกาลงมติเห็นชอบแผนการส่งกองกำลังรักษาความสงบของแอฟริกาไปยังโซมาเลีย คณะดังกล่าวจะปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นจะส่งผ่านความรับผิดชอบให้อยู่ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ (United Nations) พร้อมกันนี้ สหภาพยุโรป (European Union) ประกาศส่งเงินมาช่วยสนับสนุนภารกิจดังกล่าวถึง 15 ล้านยูโร กองกำลังรักษาความสงบฯ จะเข้าไปช่วย TFG จัดตั้งสถาบันที่จำเป็นต่อการรักษาเสถียรภาพและความมั่นคง รวมทั้งจัดการเจรจาที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต
คำถามคือ กองกำลังรักษาสันติภาพดังกล่าวจะมาจากไหน เพราะประเทศที่จะเข้าร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพในครั้งนี้ ควรจะมาจากประเทศที่เป็นกลาง คือไม่มีผลประโยชน์ใดๆ เกี่ยวข้องหรือแอบแฝงกับความขัดแย้งที่เกิดในโซมาเลียอย่างสิ้นเชิง เอธิโอเปีย เคนย่า เอริเทีย และจิบูตี คงหมดสิทธิ์เข้ามาร่วมในกองกำลังดังกล่าว ส่วนประเทศที่มีศักยภาพพอที่จะส่งกองกำลังมาร่วมได้ เช่น แทนซาเนีย ไนจีเรีย รวันดา และแอฟริกาใต้ ยังไม่แสดงท่าทีใดๆ ออกมา เพียงแต่กล่าวว่าขอพิจารณาดูก่อน ขณะนี้มีเพียงอูกันดาประเทศเดียวที่ประกาศเข้าร่วม และพร้อมส่งกำลังมาได้ในทันที
อีกคำถามหนึ่ง คือ หาก TFG เข้าปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ และกองกำลังสันติภาพถอนตัวออกไป เมื่อถึงเวลานั้น TFG จะมีความสามารถเพียงพอที่จะรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศให้คงอยู่ได้ตลอดไปหรือไม่
หมายเหตุ: ผู้สนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Website: http://www.thaiworld.org