เสียงดีใจจากพนักงานไอทีวีที่คลื่นความถี่นี้จะได้ออกอากาศอย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่าเสียดายคือ 48 ชั่วโมงสุดท้ายของพนักงานไอทีวีนั้นกลับเต็มไปด้วยข่าวของตัวเองเกือบทั้งวันทั้งคืน และนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองเพียงด้านเดียว
เจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งนี้ถูกตั้งเงื่อนไขเอาไว้ว่า ต้องเป็นสถานีที่เน้นข่าวและสาระ ปลอดจากทุน และปลอดจากการครอบงำของอำนาจทางการเมือง
เจตนารมณ์ทั้งสามด้านของญาติวีรชนเดือนพฤษภาทมิฬได้ถูกทำลายไปอย่างย่อยยับแล้วด้วยโครงสร้างที่นักการเมืองและนายทุนได้เข้ามาดำเนินการคลื่นความถี่นี้ !
พนักงานยังไม่ได้ใช้โอกาสสุดท้ายในการพูดความจริงถึงความเลวร้ายของทุน และนักการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานสถานีโทรทัศน์แห่งนี้
ไม่ได้พูดความจริงถึงคุณงามความดีในการต่อสู้ของอดีตพนักงานที่ต่อสู้ในสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอจนต้องลาออกและถูกไล่ออกแม้แต่น้อย
ที่สำคัญพนักงานที่ยังเหลืออยู่ตอนนี้ก็ยังไม่แสดงความเสียใจที่ต้องทนทำงานอยู่ภายใต้การครอบงำของทุนและนักการเมืองในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา
แม้แต่การนำเสนอข่าวการหยุดออกอากาศของไอทีวี ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการนำเสนอด้านเดียว ยกย่องพนักงานที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน และเชิญคนเฉพาะที่สนับสนุนตัวเองไม่ให้หยุดการออกอากาศโดยคลื่นความถี่นี้
โดยภาพรวมแล้ว คนทำงานส่วนใหญ่ในไอทีวี “ที่ไม่ได้เกี่ยวกับข่าวการเมือง” ต่างทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างดีและน่าชื่นชม แต่สำหรับผู้บริหาร และ พนักงานที่ทำหน้าที่ควบคุมทิศทางข่าวทางการเมือง นักข่าวที่วิพากษ์วิจารณ์ข่าว “รับใช้ระบอบทักษิณ” ก็คือกลุ่มคนที่ยอมสยบและไม่สนใจเจตนารมณ์ของการตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งนี้แต่ประการใด
คำที่ว่า “รับใช้ระบอบทักษิณ” นั้นต้องขอทบทวนคำพูดของพนักงานไอทีวีรุ่นสุดท้ายบางคนที่จะต้องถูกจารึกไว้เพราะได้เคยพูดกับพนักงาน 21 คน ที่ถูกไล่ออกเพราะทำงานสื่อสารมวลชนว่า:
“จะไปต่อสู้เพื่ออะไร อุดมการณ์กินไม่ได้ สู้ไปก็แพ้ แต่ถ้าจะสู้ไปเพื่ออุดมการณ์ของตัวเอง ก็คงต้องไปขอเงินเดือนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเอาสิ”
การพูดโดยยกย่องตัวเองเพียงอย่างเดียวในช่วง 2 วันสุดท้าย โดยไม่ให้เกียรติต่อการต่อสู้กับพนักงานเหล่านี้ แล้วยังบิดเบือนต่อไปว่าไอทีวีเป็นสื่อเสรีไม่ถูกแทรกแซงนั้น ดูจะไม่ให้ถูกต้องและเป็นธรรมเท่าไรนัก
จึงขอโอกาสนี้ทบทวนสำหรับพนักงานไอทีวีรุ่นสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ว่าได้มีโอกาสต่อสู้อะไรบ้างในเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
1 กุมภาพันธ์ 2543 คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติการขอแก้ไขสัญญาของบริษัทไอทีวี โดยให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทสามารถถือหุ้นได้เกินรายละ 10% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
พฤษภาคม 2543 หลังจากมีข่าว “ชินคอร์ป” จะเข้ามาถือหุ้นในไอทีวีที่กำลังประสบปัญหาทางการเงิน แต่ถูกกลุ่มผู้สื่อข่าว นำโดย นายจิระ ห้องสำเริง บรรณาธิการบริหารขณะนั้น เป็นหัวหอกคัดค้าน
นี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทำให้ไอทีวีกำลังจะตกอยู่ภายใต้การกำกับและการบังคับของนายทุนโดยเฉพาะนายทุนที่กำลังจะมีสายสัมพันธ์กับอำนาจทางการเมืองระหว่างชินคอร์ป กับ ครอบครัวของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
6 มิถุนายน 2543 บริษัท ชินคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ เข้าปรับโครงสร้างหนี้และร่วมทุนในบริษัทไอทีวี และกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
การเข้ามาของชินคอร์ปที่มาซื้อไอทีวีตอนนั้นก็เพื่อทำให้ไอทีวีเป็นกระบอกเสียงสนับสนุนพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนมกราคม 2544 และยังเชื่อว่าอำนาจการเมืองจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานทำให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจเพิ่มขึ้นได้
พฤศจิกายน 2543 เกิดการต่อต้านอย่างหนักจากพนักงานฝ่ายข่าว กลุ่มชินคอร์ปได้เข้ามาถือหุ้นไอทีวี เพราะไม่พอใจที่ถูกผู้บริหารตัวแทนจากชินคอร์ปแทรกแซง ห้ามไม่ให้ทำข่าวที่มีผลด้านลบต่อตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ตัวเก็งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อไม่ให้มีผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 มกราคม 2544
การเข้าแทรกแซงของฝ่ายผู้บริหารได้แก่กรณีดังต่อไปนี้:
1. การสั่งเปลี่ยนตัวนักข่าวที่ไปยิงคำถามแทงใจ พ.ต.ท.ทักษิณ เรื่องการโอนหุ้น มีการสั่งไม่ให้ออกอากาศข่าวเรื่องสนามกอล์ฟ
2. มีความพยายามเข้ามากำหนดและชี้นำประเด็นในฝ่ายข่าวมากขึ้น สั่งห้ามผู้ประกาศข่าวในรายการสายตรงไอทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ลงข่าวเรื่องการโอนหุ้น และที่ดินสนามกอล์ฟ
3. มีเหตุการณ์ที่ผู้บริหารชินคอร์ป สั่งเรียกรถโอบีกลับสถานีขณะกำลังจะไปทำข่าวปราศรัยหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่พรรคไทยรักไทยได้รับอภิสิทธิ์เช่ารถโอบีของบริษัทไอทีวี เพื่อถ่ายทอดการปราศรัยของพรรคไทยรักไทยหลายครั้ง โดยไม่มีหนังสือหรือบันทึกถึงฝ่ายข่าวแม้แต่ครั้งเดียว
4. แทรกแซงยังลามไปถึงโต๊ะข่าวบันเทิง ที่ไม่ได้ไปทำข่าวเปิดตัวนักร้องใหม่ในเครือของค่ายชินคอร์ป ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายบริหาร และมีคำสั่งให้ไปทำข่าวชิ้นนั้นออกอากาศในทันที
5. มีการล้วงลูกสั่งให้กองบรรณาธิการยกเลิกการวิเคราะห์ข่าวของ นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ที่วิเคราะห์พาดพิงถึงหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ติดต่อกัน 3 วัน เกี่ยวกับปัญหาการถือหุ้น
6. มีการสั่งถอดรายการวิเคราะห์ข่าวการเมือง เปรียบเทียบฟอร์มระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ และ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ทำให้พนักงานฝ่ายข่าวไม่พอใจอย่างมาก
ไม่นานนักกลุ่มเนชั่นก็ถูกบีบให้ลาออกพ้นจากช่องไอทีวี!
วันที่ 4 มกราคม 2544 กลุ่มผู้สื่อข่าวไอทีวี ออกแถลงการณ์ถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขอให้ยุติการแทรกแซงการทำข่าว หลังจากนั้นไม่นาน นายจิระ ห้องสำเริง บรรณาธิการบริหารได้ถูกบีบให้ลาออก ฐานเป็นแกนนำในการออกแถลงการณ์ดังกล่าว
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544ผู้บริหารไอทีวี มีคำสั่งปลดพนักงานทั้ง 21 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการครอบงำของชินคอร์ป กลุ่ม 21 กบฏไอทีวีพยายามต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้ตัวเอง และเรียกร้องขอคืนสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน และเรียกร้องค่าเสียหายกับไอทีวีให้ต้องจ่ายให้กับพนักงาน 21 คน และต่อสู้จนถึงชั้นศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานมีคำสั่งให้พนักงานทั้ง 21 คนชนะคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548
4 ปีเศษ 21 กบฎไอทีวี มนุษย์เงินเดือนเหล่านี้ต้องสู้โดยการดึงค่าชดเชย ซึ่งต่างจากพนักงานรุ่นสุดท้ายของไอทีวีชุดนี้อย่างสิ้นเชิง
ปี 2546 ผู้ประกาศและผู้บริหารบางคนถูกเชิญออก ลาออก และไม่ต่อสัญญาจ้างเพราะวางตัวไม่เข้าข้างรัฐบาล เช่น สำราญ รอดเพชร, สุรวิชช์ วีรวรรณ, เติมศักดิ์ จารุปราณ, วสันต์ ภัยหลีกลี้, ฯลฯ
ทั้งหมดนี้คือกระบวนการแทรกแซง รังแก และคุกคามคนที่ทำงานสื่อสารมวลชน ที่ “คนในไอทีวีที่ยังเหลืออยู่” กลับไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้ บางคนยังเคยเยาะเย้ยถากถางกับเพื่อนพนักงานที่ทุกข์ยาก และยังมีบางคนถือโอกาสเชลียร์เจ้านายจนได้ผลตอบแทนก้อนใหญ่และเติบโตในหน้าที่การงาน
“พนักงานไอทีวีที่เหลืออยู่” ก็ยังไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้แม้มีการปรับผังรายการเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิงอันเป็นการผิดต่อเจตนารมณ์ของญาติวีรชนเดือนพฤษภาทมิฬ และเมื่อชินคอร์ป ถูกขายไปให้สิงคโปร์ อีกทั้งมีการทุจริตอีกมากมายที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่แล้ว ข่าวก็ถูกเซ็นเซอร์ตัดตอน...และก็ไม่มีใครลุกขึ้นออกมาสู้อีกเช่นกัน
หลายคนอาจจะบอกว่าที่ผ่านมาไม่ได้สู้ และสู้ไม่ได้ เพราะไม่อยากตกงาน และยังต้องเลี้ยงชีวิตและครอบครัวของตัวเองอยู่ด้วย
แต่ 48 ชั่วโมงสุดท้ายที่เป็นช่วงสุญญากาศจาก “อำนาจรัฐ” และ “อำนาจทุน” ข้ออ้างใดๆ ก็ไม่สามารถฟังขึ้นได้
พนักงาน “ไอทีวี” กลับไม่ใช้โอกาสนี้พูดความจริงในความผิดพลาดและเสียใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในฐานะคนที่ทำวิชาชีพสื่อสารมวลชน
ที่ยังน่าเสียดายไปมากยิ่งขึ้นใน 48 ชั่วโมงสุดท้ายนั้น อดีตพนักงานไอทีวีกลับไม่แสดงความเป็นมืออาชีพในการนำเสนอข่าวเรื่อง “ไอทีวี” ให้ครบรอบด้านกับปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกมิติ
และที่น่าเสียดายที่สุดก็คือพนักงานที่เหลือไม่ได้ใช้โอกาสสุดท้าย ตำหนิและประณามต้นเหตุของการที่ทำให้ไอทีวีต้องถูกปิดตัวลง ซึ่งก็คือ “ผู้บริหารของไอทีวี” และ “ชินคอร์ป” ที่ไม่ยอมจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาลตามสัญญา
แต่เห็นการปลุกระดม ยกย่องตัวเอง จนวินาทีสุดท้าย!
ไม่ว่าพนักงานคนไหนจะมีงานใหม่ทำกับกรมประชาสัมพันธ์หรือไม่ก็ตาม หวังว่าบทเรียนครั้งนี้คงจะมีค่าที่จะทำให้ได้จดจำได้ไปอีกนาน.....
คลื่นความถี่นี้จะได้มีโอกาสนำมาใช้ประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของประชาชน และญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เดือนพฤษภาทมิฬได้หรือไม่นั้น คงใช้เวลาพิสูจน์กันได้อีกไม่นานกับ “ลูกจ้างตามสัญญารุ่นใหม่” ที่มาจาก “คนรุ่นสุดท้ายของไอทีวี” ที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐอย่างกรมประชาสัมพันธ์
เจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งนี้ถูกตั้งเงื่อนไขเอาไว้ว่า ต้องเป็นสถานีที่เน้นข่าวและสาระ ปลอดจากทุน และปลอดจากการครอบงำของอำนาจทางการเมือง
เจตนารมณ์ทั้งสามด้านของญาติวีรชนเดือนพฤษภาทมิฬได้ถูกทำลายไปอย่างย่อยยับแล้วด้วยโครงสร้างที่นักการเมืองและนายทุนได้เข้ามาดำเนินการคลื่นความถี่นี้ !
พนักงานยังไม่ได้ใช้โอกาสสุดท้ายในการพูดความจริงถึงความเลวร้ายของทุน และนักการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานสถานีโทรทัศน์แห่งนี้
ไม่ได้พูดความจริงถึงคุณงามความดีในการต่อสู้ของอดีตพนักงานที่ต่อสู้ในสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอจนต้องลาออกและถูกไล่ออกแม้แต่น้อย
ที่สำคัญพนักงานที่ยังเหลืออยู่ตอนนี้ก็ยังไม่แสดงความเสียใจที่ต้องทนทำงานอยู่ภายใต้การครอบงำของทุนและนักการเมืองในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา
แม้แต่การนำเสนอข่าวการหยุดออกอากาศของไอทีวี ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการนำเสนอด้านเดียว ยกย่องพนักงานที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน และเชิญคนเฉพาะที่สนับสนุนตัวเองไม่ให้หยุดการออกอากาศโดยคลื่นความถี่นี้
โดยภาพรวมแล้ว คนทำงานส่วนใหญ่ในไอทีวี “ที่ไม่ได้เกี่ยวกับข่าวการเมือง” ต่างทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างดีและน่าชื่นชม แต่สำหรับผู้บริหาร และ พนักงานที่ทำหน้าที่ควบคุมทิศทางข่าวทางการเมือง นักข่าวที่วิพากษ์วิจารณ์ข่าว “รับใช้ระบอบทักษิณ” ก็คือกลุ่มคนที่ยอมสยบและไม่สนใจเจตนารมณ์ของการตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งนี้แต่ประการใด
คำที่ว่า “รับใช้ระบอบทักษิณ” นั้นต้องขอทบทวนคำพูดของพนักงานไอทีวีรุ่นสุดท้ายบางคนที่จะต้องถูกจารึกไว้เพราะได้เคยพูดกับพนักงาน 21 คน ที่ถูกไล่ออกเพราะทำงานสื่อสารมวลชนว่า:
“จะไปต่อสู้เพื่ออะไร อุดมการณ์กินไม่ได้ สู้ไปก็แพ้ แต่ถ้าจะสู้ไปเพื่ออุดมการณ์ของตัวเอง ก็คงต้องไปขอเงินเดือนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเอาสิ”
การพูดโดยยกย่องตัวเองเพียงอย่างเดียวในช่วง 2 วันสุดท้าย โดยไม่ให้เกียรติต่อการต่อสู้กับพนักงานเหล่านี้ แล้วยังบิดเบือนต่อไปว่าไอทีวีเป็นสื่อเสรีไม่ถูกแทรกแซงนั้น ดูจะไม่ให้ถูกต้องและเป็นธรรมเท่าไรนัก
จึงขอโอกาสนี้ทบทวนสำหรับพนักงานไอทีวีรุ่นสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ว่าได้มีโอกาสต่อสู้อะไรบ้างในเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
1 กุมภาพันธ์ 2543 คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติการขอแก้ไขสัญญาของบริษัทไอทีวี โดยให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทสามารถถือหุ้นได้เกินรายละ 10% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
พฤษภาคม 2543 หลังจากมีข่าว “ชินคอร์ป” จะเข้ามาถือหุ้นในไอทีวีที่กำลังประสบปัญหาทางการเงิน แต่ถูกกลุ่มผู้สื่อข่าว นำโดย นายจิระ ห้องสำเริง บรรณาธิการบริหารขณะนั้น เป็นหัวหอกคัดค้าน
นี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทำให้ไอทีวีกำลังจะตกอยู่ภายใต้การกำกับและการบังคับของนายทุนโดยเฉพาะนายทุนที่กำลังจะมีสายสัมพันธ์กับอำนาจทางการเมืองระหว่างชินคอร์ป กับ ครอบครัวของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
6 มิถุนายน 2543 บริษัท ชินคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ เข้าปรับโครงสร้างหนี้และร่วมทุนในบริษัทไอทีวี และกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
การเข้ามาของชินคอร์ปที่มาซื้อไอทีวีตอนนั้นก็เพื่อทำให้ไอทีวีเป็นกระบอกเสียงสนับสนุนพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนมกราคม 2544 และยังเชื่อว่าอำนาจการเมืองจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานทำให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจเพิ่มขึ้นได้
พฤศจิกายน 2543 เกิดการต่อต้านอย่างหนักจากพนักงานฝ่ายข่าว กลุ่มชินคอร์ปได้เข้ามาถือหุ้นไอทีวี เพราะไม่พอใจที่ถูกผู้บริหารตัวแทนจากชินคอร์ปแทรกแซง ห้ามไม่ให้ทำข่าวที่มีผลด้านลบต่อตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ตัวเก็งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อไม่ให้มีผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 มกราคม 2544
การเข้าแทรกแซงของฝ่ายผู้บริหารได้แก่กรณีดังต่อไปนี้:
1. การสั่งเปลี่ยนตัวนักข่าวที่ไปยิงคำถามแทงใจ พ.ต.ท.ทักษิณ เรื่องการโอนหุ้น มีการสั่งไม่ให้ออกอากาศข่าวเรื่องสนามกอล์ฟ
2. มีความพยายามเข้ามากำหนดและชี้นำประเด็นในฝ่ายข่าวมากขึ้น สั่งห้ามผู้ประกาศข่าวในรายการสายตรงไอทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ลงข่าวเรื่องการโอนหุ้น และที่ดินสนามกอล์ฟ
3. มีเหตุการณ์ที่ผู้บริหารชินคอร์ป สั่งเรียกรถโอบีกลับสถานีขณะกำลังจะไปทำข่าวปราศรัยหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่พรรคไทยรักไทยได้รับอภิสิทธิ์เช่ารถโอบีของบริษัทไอทีวี เพื่อถ่ายทอดการปราศรัยของพรรคไทยรักไทยหลายครั้ง โดยไม่มีหนังสือหรือบันทึกถึงฝ่ายข่าวแม้แต่ครั้งเดียว
4. แทรกแซงยังลามไปถึงโต๊ะข่าวบันเทิง ที่ไม่ได้ไปทำข่าวเปิดตัวนักร้องใหม่ในเครือของค่ายชินคอร์ป ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายบริหาร และมีคำสั่งให้ไปทำข่าวชิ้นนั้นออกอากาศในทันที
5. มีการล้วงลูกสั่งให้กองบรรณาธิการยกเลิกการวิเคราะห์ข่าวของ นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ที่วิเคราะห์พาดพิงถึงหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ติดต่อกัน 3 วัน เกี่ยวกับปัญหาการถือหุ้น
6. มีการสั่งถอดรายการวิเคราะห์ข่าวการเมือง เปรียบเทียบฟอร์มระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ และ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ทำให้พนักงานฝ่ายข่าวไม่พอใจอย่างมาก
ไม่นานนักกลุ่มเนชั่นก็ถูกบีบให้ลาออกพ้นจากช่องไอทีวี!
วันที่ 4 มกราคม 2544 กลุ่มผู้สื่อข่าวไอทีวี ออกแถลงการณ์ถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขอให้ยุติการแทรกแซงการทำข่าว หลังจากนั้นไม่นาน นายจิระ ห้องสำเริง บรรณาธิการบริหารได้ถูกบีบให้ลาออก ฐานเป็นแกนนำในการออกแถลงการณ์ดังกล่าว
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544ผู้บริหารไอทีวี มีคำสั่งปลดพนักงานทั้ง 21 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการครอบงำของชินคอร์ป กลุ่ม 21 กบฏไอทีวีพยายามต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้ตัวเอง และเรียกร้องขอคืนสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน และเรียกร้องค่าเสียหายกับไอทีวีให้ต้องจ่ายให้กับพนักงาน 21 คน และต่อสู้จนถึงชั้นศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานมีคำสั่งให้พนักงานทั้ง 21 คนชนะคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548
4 ปีเศษ 21 กบฎไอทีวี มนุษย์เงินเดือนเหล่านี้ต้องสู้โดยการดึงค่าชดเชย ซึ่งต่างจากพนักงานรุ่นสุดท้ายของไอทีวีชุดนี้อย่างสิ้นเชิง
ปี 2546 ผู้ประกาศและผู้บริหารบางคนถูกเชิญออก ลาออก และไม่ต่อสัญญาจ้างเพราะวางตัวไม่เข้าข้างรัฐบาล เช่น สำราญ รอดเพชร, สุรวิชช์ วีรวรรณ, เติมศักดิ์ จารุปราณ, วสันต์ ภัยหลีกลี้, ฯลฯ
ทั้งหมดนี้คือกระบวนการแทรกแซง รังแก และคุกคามคนที่ทำงานสื่อสารมวลชน ที่ “คนในไอทีวีที่ยังเหลืออยู่” กลับไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้ บางคนยังเคยเยาะเย้ยถากถางกับเพื่อนพนักงานที่ทุกข์ยาก และยังมีบางคนถือโอกาสเชลียร์เจ้านายจนได้ผลตอบแทนก้อนใหญ่และเติบโตในหน้าที่การงาน
“พนักงานไอทีวีที่เหลืออยู่” ก็ยังไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้แม้มีการปรับผังรายการเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิงอันเป็นการผิดต่อเจตนารมณ์ของญาติวีรชนเดือนพฤษภาทมิฬ และเมื่อชินคอร์ป ถูกขายไปให้สิงคโปร์ อีกทั้งมีการทุจริตอีกมากมายที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่แล้ว ข่าวก็ถูกเซ็นเซอร์ตัดตอน...และก็ไม่มีใครลุกขึ้นออกมาสู้อีกเช่นกัน
หลายคนอาจจะบอกว่าที่ผ่านมาไม่ได้สู้ และสู้ไม่ได้ เพราะไม่อยากตกงาน และยังต้องเลี้ยงชีวิตและครอบครัวของตัวเองอยู่ด้วย
แต่ 48 ชั่วโมงสุดท้ายที่เป็นช่วงสุญญากาศจาก “อำนาจรัฐ” และ “อำนาจทุน” ข้ออ้างใดๆ ก็ไม่สามารถฟังขึ้นได้
พนักงาน “ไอทีวี” กลับไม่ใช้โอกาสนี้พูดความจริงในความผิดพลาดและเสียใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในฐานะคนที่ทำวิชาชีพสื่อสารมวลชน
ที่ยังน่าเสียดายไปมากยิ่งขึ้นใน 48 ชั่วโมงสุดท้ายนั้น อดีตพนักงานไอทีวีกลับไม่แสดงความเป็นมืออาชีพในการนำเสนอข่าวเรื่อง “ไอทีวี” ให้ครบรอบด้านกับปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกมิติ
และที่น่าเสียดายที่สุดก็คือพนักงานที่เหลือไม่ได้ใช้โอกาสสุดท้าย ตำหนิและประณามต้นเหตุของการที่ทำให้ไอทีวีต้องถูกปิดตัวลง ซึ่งก็คือ “ผู้บริหารของไอทีวี” และ “ชินคอร์ป” ที่ไม่ยอมจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาลตามสัญญา
แต่เห็นการปลุกระดม ยกย่องตัวเอง จนวินาทีสุดท้าย!
ไม่ว่าพนักงานคนไหนจะมีงานใหม่ทำกับกรมประชาสัมพันธ์หรือไม่ก็ตาม หวังว่าบทเรียนครั้งนี้คงจะมีค่าที่จะทำให้ได้จดจำได้ไปอีกนาน.....
คลื่นความถี่นี้จะได้มีโอกาสนำมาใช้ประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของประชาชน และญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เดือนพฤษภาทมิฬได้หรือไม่นั้น คงใช้เวลาพิสูจน์กันได้อีกไม่นานกับ “ลูกจ้างตามสัญญารุ่นใหม่” ที่มาจาก “คนรุ่นสุดท้ายของไอทีวี” ที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐอย่างกรมประชาสัมพันธ์